ผมขออนุญาต เสนอความเห็น คือผมมีข้อสังเกตว่าพี่ๆ ที่มีประสบการณ์หลายท่าน ยกแต่ข้อกฎหมายของ พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 ในความเห็นน่าจะเริ่มต้นจากต้นเหตุ คือ พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยมีมาตราที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ มาตรา 3 , 5 (1) , 30 , 33 , 34 , 36 , 37 , 40 , 44 , 45 ฯลฯ
ในส่วนของการอุทธรณ์ ปรากฎใน ส่วนที่ 5 มาตรา 44 , 45
มาตรา 44 ... กรณีคำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายใน 15 วัน นับแต่วันทีตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
ผมจำไม่ได้ว่า ใน พรบ.อาวุธปืนฯ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้มีการกำหนด ระยะเวลา ตำแหน่ง(ผู้พิจาณาอุทธรณ์) ไว้หรือไม่ ? ถ้าไม่มีกำหนดไว้ ก็ต้องยื่นอุทธรณ์ตามมาตรา 44 ครับ อีกกรณีถ้า พรบ.อาวุธปืนฯ และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้คำสั่งของนายทะเบียนอาวุธปืนฯ เป็นที่สุด (กล่าวคือไม่ต้องไปอุทธรณ์ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปอีก) คู่กรณี(ผู้ยื่นคำร้องขอ) ก็สามารถไปฟ้องศาลปกครอง(ในพื้นที่รับผิดชอบ)ได้เลยครับ
ผมต้องเรียนก่อนว่าไม่มีเจตนาทำให้สับสน เพียงแต่อยากจะชี้ช่องตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เอาไว้ผมจะไปรื้อตำราเก่าเกี่ยวกับกฎหมายอาวุธปืน แล้วจะมาฟันธงจะๆ ว่า เวลาเจอนายทะเบียนไม่เหมาะสมกับยุคสมัย ต้องมัดตราสัง ยังไง เอาให้อยู่หมัด ครับ
นี่ละครับ ทำให้สับสนแล้ว
เพราะว่า พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ จะมีวิธีการอุทธรณ์เฉพาะของตัวเอง จึงต้องทำตามกฎหมายเฉพาะเรื่อง
ส่วน วิ ปกครอง ก็นำมาใช้ในส่วนที่นายทะเบียน ละเว้น หรือละเลยพิธีการและขั้นตอนการออกคำสั่งทางปกครอง เช่นไม่แจ้งสิทธิตามมาตรา ๒๗, ละเลยขั้นตอนตาม มาตรา ๒๙, ไม่ให้โอกาสตาม มาตรา ๓๐, คำสั่งไม่มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗, ไม่แจ้งสิทธิตามมาตรา ๔๐ และก็ไม่ใช่จะใช้แต่ วิปกครอง แต่ต้องนำ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ มาใช้ด้วย
ซึ่งเรื่องนี้จะอยู่ในขั้นตอนของการเตรียมคดี ตั้งแต่ชั้นยื่นอุทธรณ์ ที่คงไม่ใช่เรื่องที่เจ้าตัวจะปรับข้อเท็จจริงเข้ากับข้อกฎหมายได้เอง ตามปกติแล้วทาง สพป.จะดำเนินการให้