- ลำพังผู้ฟ้องคดีที่เห็นว่าการที่นายอำเภอไม่อนุมัติ หรือไม่อนุญตินั้น จริงๆ แล้วเป็นการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 9 หากเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบ ผู้ฟ้องคดีก็่สามารถจะฟ้องร้องได้ แต่ต้องเป็นผู้เสียหายหรืออาจได้รับความเสียหายจากการออกหรือมีคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 42 และการฟ้องคดีให้นายอำเภอออกใบอนุญาตให้ต้องสามารถบังคับได้ตามาตรา 72 แห่ง พรบ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกรอง ด้วย
- แต่หากลำพังการไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนกระบอกที่ 2 หรือ 3 นั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่สามารถพิสูจน์หรือชี้แจงให้ศาลปกครองเห็นได้ว่าต้องเสียหายหรืออาจได้รับความเสียหายอย่างไรแล้ว ผู้ฟ้องคดีย่อมไม่มีอำนาจฟ้องคดี
- การจำกัดสิทธิของบุคคลบางประการตามรัฐธรรมนูญไทยเกือบทุกฉบับ สามารถจะกระทำได้หากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ทั้งนี้อยู่บนหลักการพื้นฐานกฎหมายปกครองคือ ไม่มีกฎหมายให้อำนาจย่อมไม่สามารถกระทำได้ หากแต่กลับกันเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจแล้วกลับไม่กระทำการตามอำนาจที่ให้ไว้นั้น ถือเป็นการกระทำทางปกครองที่ไม่ชอบ
- แต่มีข้อที่น่าสังเกตก็คือการพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตนั้น เป็นการใช้ดุลยพินิจโดยแท้ ซึ่งถือตามหลักของวิญญูชนโดยทั่วไปว่ามีประการใด อย่างไรในเมื่อมีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ อนุญาตดังกล่าว ซึ่งแน่นอนตามหลักการปกครองการใช้ดุลยพินิจนั้นต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่
- ทำนองเดียวกันเหตุใดร้านค้าอาวุธปืนจึงต้องมีการควบคุมการจำหน่าย การนำเข้า หรือเหตุใดการสะสมปุ๋ยบางประเภทที่สามารถเป็นตัวเร่งปฏิกิิริยาของระเบิดบางประเภท ฯลฯ เหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับการอนุญาตหรืออนุมัติของผู้มีอำนาจก่อน คำตอบสุดท้ายก็คือเป็นไปเพ่ื่อประโชน์สุขของประชาชนส่วนใหญ่...เป็นหลักครับ เช่นเดียวกันกับฝ่ายใช้อำนาจตุลาการคือศาลก็ต้องยึดถือตามหลักการนี้เช่่นกัน คือการบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ นั่นเอง
- แต่ที่อำเภอของผมซึ่งผมเองเป็นผู้กลั่นกรองคำขอ ป.1 ในเบื้องต้นส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาดังกล่าวนี้ เพราะสามารถชี้แจงให้กับผู้ยื่นคำขอได้ตลอดเวลา..ครับ
รัฐธรรมนูญประเทศไทยฉบับไหนครับ ........
อ้างข้างๆคูๆ รึเปล่า........
เพราะทั้งฉบับปี 40 และฉบับปัจจุบัน เขียนไว้ในมาตราเดียวกัน ว่า....
มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน
ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้...............
ผมไม่แปลกใจกับความคิดความเห็นนี้ของคนมท. เพราะก่อนนี้ผมได้ยินกับหูที่วังไชยาว่า.... ดุลพินิจของนายทะเบียนฯอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ