ค่อยๆ อ่านข้อความค่อข้างยาวเพราะผมไม่อยากให้ขาดตอนครับ สาเหตุของการเกิดมะเร็ง
สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งมีได้หลายประการ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1 กัมมันตรังสีต่างๆ การที่ส่วนของร่างกาย หรืออวัยวะ หรือเนื้อเยื่อถูกสัมผัสกับรังสีต่างๆ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา และสารกัมมันตรังสีต่างๆ อานุภาพของรังสีเหล่านี้สามารถทำให้เกิด "การก่อกลายพันธุ์" (mutation) ขึ้นได้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่โมเลกุลของหน่วยพันธุกรรม คือ DNA ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่นิวคลีอิกเบสตัวใดตัวหนึ่งภายในโมเลกุลของ DNA เพียงตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งก็ได้ ทำให้ DNA มีองค์ประกอบของนิวคลีอิกเบสผิดไปจากเดิม
2 สารเคมีต่างๆ สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดมะเร็ง แบ่งออกได้เป็นกลุ่ม คือ
1 สารเริ่มก่อมะเร็ง(initiator) เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างถาวร การเกิดนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ เรียกสารเคมีเหล่านี้ว่าเป็น สารเริ่มก่อมะเร็ง (ดูตาราง)
2 สารเร่งการเกิดมะเร็ง (Promoters) สารเคมีหลายชนิดเป็นตัวเร่งเซลล์มะเร็งให้แบ่งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น การทำงานของสารเร่งการเกิดมะเร็งเป็นแบบไม่ถาวร ตัวมันเองไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่มันจะเป็นตัวเสริมหลังจากที่เซลล์ได้รับสสารเริ่มก่อมะเร็งแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็งได้เร็วขึ้น (ดูตาราง)
3 กลไกการออกฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งที่ทำให้เซลล์ที่ดีกลายเป็นเวลล์มะเร็งได้นั้น มีสารก่อมะเร็งบางชนิดที่ทราบการไกการออกฤทธิ์แล้ว เช่น อะฟลาทอกซิน ซึ่งทราบแน่ชัดแล้วว่า มันเข้าไปรวมตัวกับเบากัวนีนในโมเลกุลของ DNA ที่เซลล์ตับ ตรงตำแหน่ง N-7 ของเบสกัวนีน
4 สารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรง ส่วนใหญ่พบว่าตับเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ตับมีหน้าที่เปลี่ยนสารที่ร่างกายไม่ต้องการให้เป็นเอสเทอร์ของกลูคูโรไนด์ ซึ่งถูกสังเคราะห์มาจากน้ำตาลกลูโคส ทำให้สารนั้นหมดฤทธิ์ที่จะเป็นพิษต่อร่างกาย และขับออกจากร่างกายผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ หากอัตราการสร้างสารก่อมะเร็งเร็วกว่าอัตราการเปลี่ยนเป็นกลูคูโรไนด์เอสเทอร์ จะทำให้สารก่อมะเร็งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดมะเร็งได้
3 ไวรัส เมื่อเซลล์ปกติเกิดการติดเชื้อไวรัส จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของเซลล์ปกติ เนื่องจากมีบางส่วนของไวรัส DNA จะเข้าไปรวมกับ DNA ของเซลล์ปกติ ทำให้โมเลกุลของ DNA ปกติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดนี้เรียกว่า transduction คือเป็นการสอดหน่วยพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปใน DNA ของเซลล์ปกติ
4 เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซม ในบางครั้งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมได้ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือสลับตำแหน่งที่ชิ้นส่วนของโครงสร้างโครโมโวม หรืออาจมีการพลิกกลับของชิ้นส่วนของโครโมโซม ทำให้ลักษณะของเซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นผิดไปจากเดิม หรืออาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการสูญเสียส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซมไป หรือมีการสร้างโครโมโซมมากกว่าปกติ เช่น มีโครโมโซมซ้ำซ้อน ทำให้เกิดโครโมโซมมากกว่าปกติ และเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น นอกจากนั้นเซลล์บางชนิดอาจมีการปลดปล่อยหน่วยพันธุกรรมที่หยุดทำงานให้กลับทำงานได้ใหม่อีก ทำให้เซลล์ใหม่มีลักษณะผิดไปจากเดิม เช่น การสร้างแอลฟา-ฟีโตโปรตีน เป็นต้น
5 สาเหตุอื่นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งอีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งแวดล้อม เช่น สภาพภูมิประเทศ แหล่งที่อยู่อาศัย สารพิษในอากาส บริโภคนิสัย ขนบธรรมเนียมประเพณี อาชีพการงาน อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเชื้อชาติและกรรมพันธุ์ ภาวะการผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ ถุนยาสูบ กินหมาก กินอาหารร้อนๆ เป็นประจำ จะทำให้เกิดการระคายเคือง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น มะเร็งในช่องปากและบริเวณกระพุ้งแก้มของคนที่กินหมาก มะเร็งในหลอดคอของคนที่ชอบดื่มน้ำชาร้อนๆ หรือเครื่องดื่มร้อนๆ เป็นประจำทุกวันการจำแนกชนิดของสารเคมีก่อมะเร็ง และสาเหตุ สารเคมีก่อมะเร็งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
Genotoxic agent เป็นสารเคมีก่อมะเร็งที่มีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่สารพันธุกรรม คือ มีการเปลี่ยนแปลงเบสที่เป็นโครงสร้างโมเลกุลของ DNA
Epigenetic (nongenotoxic) agent เป็นสารเคมีก่อมะเร็งที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นิวคลีอิกเบสที่เป็นโครงสร้างในโมเลกุลของ DNA
อาการของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ มะเร็งปากมดลูกได้แก่ อาการมีเลือดออกจากช่องคลอดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติ อาการเจ็บปวดและมี เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น การตรวจโดยขูดเนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้
มะเร็งมดลูกได้แก่ อาการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ หรือมีอาการบวมในช่องท้อง
มะเร็งรังไข่ ได้แก่ อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือการมีอาการเจ็บปวดหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย น้ำหนักลด และมีอาการปวดหลัง
มะเร็งเม็ดเลือด (ลูคีเมีย)ได้แก่ อาการเหนื่อยง่ายและมีอาการซีดเซียวกว่าปกติ มักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือด ออกทางผิวหนังได้ง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ และมักจะเกิดร่วมกับอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย บางครั้งจะท้องอืด และเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง
มะเร็งปอดได้แก่ อาการมักมีอาการไอบ่อย ๆ มีเลือดและมีเสมหะปนมากับน้ำลาย น้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก หรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
มะเร็งตับได้แก่ อาการปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาและผิวเป็นสีออกเหลือง และ เหลืองจัดจนเห็นได้ชัด
มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ***ได้แก่ อาการมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
มะเร็งสมองได้แก่ อาการปวดศีรษะนาน ๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หรือการผิดปกติของการมองเห็นตาพร่า และเห็นแสงเขียว ๆ แดง ๆ ลอยไปมาเวลา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือการเป็นลมโดยกะทันหัน อวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงาน เช่น มีอาการชาและเป็นอัมพาตชั่วคราว
มะเร็งช่องปากได้แก่ อาการมีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือที่ลิ้นเป็นเวลานาน มีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับ การรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือก เนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือเป็นเวลานาน
มะเร็งในลำคอได้แก่ อาการเสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันที ทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้
มะเร็งกระเพาะอาหารได้แก่ อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือด ท้องอืด หรืออาหารไม่ ย่อยบ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง หรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ
มะเร็งทรวงอกได้แก่ อาการมีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนม บวม หรือผิวเนื้อทรวง อกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิว เกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานาน ควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คน จะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอกโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนังที่เรียกว่า ซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้นให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกันแน่
มะเร็งลำไส้ได้แก่ อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้องอย่างมากและระบบการย่อย ผิดปกติ อุจจาระมีขนาดเล็กลงหรือแบน มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้แก่ อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้ หรือใต้ขาหนีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้เกิด อาการติดเชื้อในบางส่วนของร่างกาย
มะเร็งผิวหนังได้แก่ อาการมีแผลหรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานานตลอดจน ไฝหรือหูดที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เมลาโนม่า (Melanoma) คือ เนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระ จุดด่าง หรือไฝ ถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนคุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น ๆ
การรักษาโรคมะเร็ง
การผ่าตัด
โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาเงื่อนไขหลาย ๆ ด้านของผู้ป่วย รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย เปอร์เซนต์การทุเลามีโอกาสมากเพียงใด จึงจะสามารถตัดสินใจว่าจะผ่าตัด การผ่าตัดมี 2 ลักษณะ คือ ผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก หรือผ่าตัดอวัยวะออก บางครั้งหากก้อนเนื้อใหญ่เกินไป ก็ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี หรือเคมีบำบัดให้ก้อนเนื้อเล็กลงก่อน วัตถุประสงค์การผ่าตัดก็คือ เพื่อการบำบัดและผ่าตัดเพื่อเป็นการรักษาอาการ ไม่ให้เลวร้ายลง แม้บางอวัยวะไม่ควรผ่าตัดออกก็ตาม แต่เพื่อให้สามารถขับถ่ายหรือรับประทานอาหารได้ หรือให้หายใจสะดวก แพทย์ก็ต้องตัดสินใจผ่าตัด การผ่าตัดเป็นทางเลือกแรกในการรักษา แต่การลงมีดกับร่างกายผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป อวัยวะส่วนหนึ่งก็หายไปด้วย ดังนั้นยิ่งผ่าตัดใหญ่เท่าใด ร่างกายก็จะได้รับความเสียหายมากขึ้นเท่านั้น ยังผลให้พลังชีวิตและภูมิคุ้มกันเสียไป แม้ผ่าตัดเนื้องอกออกไปได้ แต่ก็ใช้เวลานานกว่าที่สภาพร่างกายจะฟื้นฟู กลับคืน
การฉายรังสี
ในช่วงต้นของการรักษาโดยวิธีนี้จะใช้ในเพื่อทำให้เนื้องอกขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัดออก แต่วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มะเร็งที่เป็นในขั้นแรกบางส่วน ใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีเพียงอย่างเดียว ก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประกอบ ทำให้ลำแสงของรังสีมีพลังงานสูงมาก สามารถทะลุทะลวงเข้าถึงอวัยวะในส่วนลึกที่เป็นเนื้อร้ายได้ และสามารถควบคุมให้กระจายความเข้มของรังสีได้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้อุปกรณ์นำเอาวัตถุรังสีใส่เข้าไปในอวัยวะที่เป็นมะเร็งโดยตรง ซึ่งการแผ่รังสีอานุภาพสูงในระยะใกล้ ทำให้การรักษาได้ผลดีมากขึ้น แต่เมื่อต้องอาบรังสีปริมาณมาก แม้จะทำให้ก้อนเนื้องอกฝ่อตัวลง แต่ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันก็จะได้รับผลเสียด้วย คุณภาพชีวิตก็ลดลงด้วยเช่นกัน
การเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัด ก็คือยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่เซลล์แตกตัว แล้วมีผลทำให้เซลล์ตายลง เซลล์มะเร็งมีลักษณะที่สามารถ แตกตัวและเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายในเวลาอันสั้น จึงนำเอาคุณลักษณะนี้มาใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และทำให้เนื้องอกหดตัวลง แต่ในร่างกายของเราไม่ได้มีแต่เซลล์มะเร็งที่แตกตัวและเพิ่มจำนวนเท่านั้น ยังมีเซลล์อื่น ๆ ที่แตกตัวและผลัดเปลี่ยนเซลล์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นยาพวกนี้ก็ออกฤทธิ์กับเซลล์ปกติด้วยเช่นกัน เมื่อใช้ยาเคมีจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผมร่วง กระเพาะและลำไส้ไม่ดี เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานลดลงทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นต้น เพราะในจำนวนเซลล์ปกติในร่างกาย จะมีเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ในส่วนของเซลล์ผนังกระเพาะและลำไส้ หรือเซลล์รากขน รวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาว) เมื่อให้ยาเคมีเข้าไปในร่างกายแล้ว เซลล์ปกติเหล่านี้จึงได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว
วิธีการรักษาเสริมอื่น ๆ
มีผู้ป่วยโรคมะเร็งบางรายต้องได้รับการรักษาเสริม เพื่อเป็นการรักษาร่วมตามเงื่อนไขสภาพร่างกายเช่น การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน การเสริมภูมิคุ้มกัน หรือ การฉีดแอลกอฮอล์เข้าในตับ และวิธีการรักษาแบบอุดหลอดเลือดแดง ปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วย 3 วิธีหลักของแพทย์แผนตะวันตก ยังเป็นการรักษาโดยตรงที่สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาก็ทิ้งความเจ็บปวดทั้งกายและใจแก่ผู้ป่วยไม่น้อย ดังนั้นจึงเริ่มมีการบำบัดร่วมกันระหว่างแพทย์แผนตะวันตก กับแพทย์ทางเลือก เช่น แผนจีน กับ แผนตะวันตก และไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาอย่างเดียว ประเด็นเรื่องภูมิคุ้มกัน การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจก็ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น