เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 02:40:20 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 13 14 15 [16] 17 18 19 ... 82
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ในเมื่อใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งบาดเจ็บอีกฝ่ายหนึ่งกลับมาอีกครั้ง  (อ่าน 226429 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 49 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #225 เมื่อ: ธันวาคม 14, 2007, 09:57:48 PM »

ขอให้หายป่วยไวๆครับ    ทำใจให้สบาย
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
หรอย
การไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 618
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6416



« ตอบ #226 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 12:43:36 PM »

สวัสดีครับ...ขอให้คุณอารมณ์ดี  และทั้ง 2 ท่านหายป่วย โดยไวครับ  เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ
ขอขอบคุณข้อมูลที่ดีด้วยครับ.....อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากครับผม
บันทึกการเข้า
wasanami
Hero Member
*****

คะแนน 272
ออฟไลน์

กระทู้: 4804



« ตอบ #227 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 03:57:45 PM »

ขอให้พี่ RroamD  คุณCT_Pro4 และ คุณwasanami   หายเป็นปกติโดยเร็วที่สุดทุกท่านนะครับ
โดยเฉพาะคุณCT_Pro4  เรื่องเครียด ๆ ของงานขอให้พยายามปล่อยวางบ้างนะครับ  ทำเท่าที่ทำได้   แค่พอประมาณก็พอ  ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด    อิ อิ ..ไม่รู้ว่าเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า   แต่ออกจากใจจริงครับ

ขอบคุณมากครับ...  ไหว้

อาการป่วยของผมนี่เล็กน้อยครับ...ช่วงนี้ทำตัวไม่เครียด..ทานยาตามหมอสั่ง...

มีโอกาสก็ทำบุญบ้างตามกำลัง...อาการดีขึ้นจนผมรู้สึกว่าเป็นปกติแล้วครับ....

ขอให้ คุณRroamD และ คุณCT_Pro4 หายเป็นปกติโดยเร็วนะครับ
บันทึกการเข้า

มาใช้ dropbox กันเถอะ
https://www.dropbox.com/link/39.XpsLIhKCKt?lk=564ddba31492c671
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #228 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2007, 09:37:08 AM »

สวัสดีครับ...ขอให้คุณอารมณ์ดี  และทั้ง 2 ท่านหายป่วย โดยไวครับ  เป็นกำลังใจให้ทุกท่านครับ
ขอขอบคุณข้อมูลที่ดีด้วยครับ.....อ่านแล้วเป็นประโยชน์มากครับผม

ผมจะพยายามนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาเพิ่มให้ครับ
ขอบคุณครับ

ขอให้พี่ RroamD  คุณCT_Pro4 และ คุณwasanami   หายเป็นปกติโดยเร็วที่สุดทุกท่านนะครับ
โดยเฉพาะคุณCT_Pro4  เรื่องเครียด ๆ ของงานขอให้พยายามปล่อยวางบ้างนะครับ  ทำเท่าที่ทำได้   แค่พอประมาณก็พอ  ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด    อิ อิ ..ไม่รู้ว่าเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า   แต่ออกจากใจจริงครับ

ขอบคุณมากครับ...  ไหว้

อาการป่วยของผมนี่เล็กน้อยครับ...ช่วงนี้ทำตัวไม่เครียด..ทานยาตามหมอสั่ง...

มีโอกาสก็ทำบุญบ้างตามกำลัง...อาการดีขึ้นจนผมรู้สึกว่าเป็นปกติแล้วครับ....

ขอให้ คุณRroamD และ คุณCT_Pro4 หายเป็นปกติโดยเร็วนะครับ

ยินดีด้วยครับ พยายามรักษาร่างกายและควบคุมอาการของโรคให้ได้ตลอด จะได้ไม่อันตรายครับ

...ขอบพระคุณทุกท่านที่ให้กำลังใจครับ ผมยังพอมีโชคอยู่บ้างอาจารย์ที่ดูเคสผม ท่านช่วยติดต่อซื้อเครื่อง CPAP จากเพื่อนอาจารย์ทำให้ราคาถูกลงมาก ท่านอยากให้ผมมีคุณภาพในการนอนที่ดีขึ้น พยายามลดความเครียดที่มีอยู่ ประกอบกับรักษาอาการปลายประสาทอักเสบที่เป็นอยู่ ก็คงจะดีขึ้นครับ ความเครียดทำให้ร่างกายผมทรุดลงอย่างไม่น่าเชื่อ ผมถือว่าเป็นกรรมเก่าที่ต้องมาชดใช้ในชาตินี้ ผมเชื่ออย่างนั้นครับ...  ไหว้ ไหว้ ไหว้

ดีใจด้วยที่ได้เครื่อง CPAP แล้ว  ขอให้พักผ่อนนอนหลับได้ยาวและนานต่อเนื่องเหมือนผมหลังผ่าตัด  เรื่องความเครียดคงมาจากงานของพี่ อย่างที่เรียนแล้วต้องปล่อยให้ผู้ช่วยทำบ้างแล้วครับ 
กรรมเก่าจากหนักจะกลายเป็นเบาได้ด้วยการทำบุญ
ลองดูเพราะทำให้จิตใจสบายขึ้นครับ

จากการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะที่เกิดขึ้นกับผม ขั้นตอนการตรวจการรักษาจนถึงการพักฟื้นทำให้ผมมีอาการดีขึ้น แต่ก็ยังไม่หายเป็นปกติ 100% เพราะยังต้องใช้เวลาปรับตัวกับระบบทวารเทียมที่หน้าท้องซึ่งใช้แทนการระบายปัสสาวะเดิมที่ถูกปิดถาวร การเดินเป็นการออกกำลังที่ช่วยลำไส้และระบบถ่ายหนักแต่ถ้าเดินมากเกินไปกลับมีผลทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อในระบบลำไส้ที่ทวารเทียมทำให้ปวดที่หน้าท้องไปถึงเอวด้านซ้ายซึ่งได้ทราบจากอาจารย์ว่าท่อไตด้านซ้ายสั้นกว่าด้านขวาเนื้องจากตัดก้อนเนื้อที่พบด้านในออกมีผลในระยะแรกๆ จะหายดีในช่วง 4-6 เดือนครับ

ผมขออนุญาตนำขัอความที่อ่านพบและเห็นว่าเป็นประโยชน์เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง มาฝากพี่ๆ ครับ


รู้จักเนื้องอกและมะเร็ง
     โดยทั่วไปการเจริญเติบโตของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย จะถูกควบคุมเพื่อรักษาภาวะสมดุล ระหว่างอัตราการแบ่งตัวและอัตราการสลายตัวของเซลล์ มีผลทำให้อวัยวะนั้น ๆ มีขนาดคงที่ หากส่วนของเนื้อเยื่อมีการเจริญเติบโตของเซลล์มากเกินกว่าปกติ และขาดความสัมพันธ์กับเซลล์ปกติ จะมีอัตราการแบ่งตัวของเซลล์เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วไม่หยุดยั้ง และไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของร่างกาย ทำให้มีจำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้นเกิดเป็นก้อนโตขึ้น เรียกว่า ก้อนเนื้องอกหรือทูเมอร์ (tumor) เนื้องอกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1.  เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (benign tumor) เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่งอกขยาย และเจริญเติบโตเป็นก้อนเนื้อที่นูนขึ้นมา แต่มีรูปร่างเหมือนเนื้อเยื่อปกติ ไม่รุกรานเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียง และไม่ลุกลามไปที่อื่น
2.  เนื้องอกชนิดร้ายแรง (malignant tumor) เป็นส่วนของเนื้อเยื่อที่งอกขยายเจริญเติบโต เป็นก้อนเนื้อที่มีรูปร่างผิดแปลกไปจากเนื้อเยื่อปกติ และมักรุกรานเนื้อเยื่อที่อยู่ข้างเคียง โดยการเบียดแทรกเข้าไปในเซลล์ที่อยู่รอบด้าน เซลล์ชนิดนี้จะไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของร่างกาย แต่จะลุกลามเข้าไปในหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลือง ทำให้กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ และเกิดเนื้องอกขึ้นใหม่ที่เนื้อเยื่อบริเวณอื่น ซึ่งห่างจากเนื้องอกตำแหน่งแรก ทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะอื่น ๆ เกิดความผิดปกติไปด้วย เนื้องอกใดที่สามารถ ทำให้เกิดเนื้องอกขึ้นใหม่ได้อีกบริเวณหนึ่งที่ห่างจากตัวมันเอง เรียกว่า metastasizing tumor ซึ่งจัดเป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรง และเรียกชื่อใหม่ว่า มะเร็ง (cancer) หากเป็นมะเร็งที่อวัยวะสำคัญของร่างกาย ก็จะทำให้ผู้นั้นเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

     ดังนั้น เนื้องอก จึงหมายถึง การบวมโตที่เกิดขึ้นเนื่องจากได้รับสารก่อมะเร็ง และอาจมีการอักเสบหรือติดเชื้อ

เนื้องอกที่เกิดจากการขยายตัวของเซลล์ เรียกว่า นีโอพลาซึม (neoplasm)
เนื้องอกที่ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ และแผ่ขยายไปทั่วร่างกายได้ เรียกว่า มะเร็ง
เนื้องอกชนิดร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับเซลล์ของเยื่อบุผิว (epithelial cells) เรียกว่า คาร์ซิโนมา (carcinoma)
เนื้องอกชนิดร้ายแรงเกิดขึ้นกับเซลล์ของเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น เซลล์ของเนื้อเยื่อโครงร่างและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เรียกว่า ซาร์โคมา (sarcoma)
สารเคมีที่ทำให้เกิดเนื้องอก เรียกว่า tumorigenic agents
สารที่ทำให้เกิดเนื้องอกชนิดร้ายแรงหรือเป็นมะเร็งได้ เรียกว่า สารก่อมะเร็ง ( carcinogenic agents หรือ carcinogens)

     โดยปกติในอวัยวะหนึ่ง ๆ เซลล์ของเนื้อเยื่อประมาณ 99% จะไม่มีการแบ่งตัว แต่จะมีเซลล์เพียง 1% เท่านั้นที่มีการแบ่งตัว การแบ่งตัวแต่ละครั้ง จำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้นใหม่จะเท่ากับจำนวนเซลล์ที่สลายไป ทำให้มีจำนวนเซลล์อยู่เท่าเดิม ในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นเพียง 1 เซลล์ เมื่อเซลล์มะเร็งแบ่งตัวไปแล้ว เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะเป็นเซลล์มะเร็งทั้งหมด และสามารถแบ่งตัวไปได้เรื่อย ๆ โดยไม่ถูกควบคุม จะทำให้จำนวนของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ถ้าเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้นใหม่ สามารถแบ่งตัวได้เพียง 25% การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งก็จะเกิดช้าลง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 17, 2007, 06:31:00 PM โดย RroamD » บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #229 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2007, 07:51:06 PM »

การเจริญเติบโตของเนื้องอก
     การเจริญเติบโตโดยทั่วๆ ไปของเนื้องอกแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะเริ่มแรก : เซลล์จะเพิ่มสารอาหารขึ้นภายในเซลล์ โดยการดูดซึมสารอาหารจากของเหลวที่อยู่ระหว่างเซลล์ ซึ่งอยู่รอบ ๆ เซลล์นั้น
ระยะที่สอง : จะเกิดการขยายตัวของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงเซลล์ที่ผิดปกติ ซึ่งเซลล์เหล่านี้ จะพาสารอาหารผ่านผนังเซลล์เข้าสู่ภายในเซลล์ได้ดีกว่าเซลล์ปกติ เช่น การพากรดอะมิโน น้ำตาล นิวคลีโอไซด์ และสารอื่น ๆ เนื้องอกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร มักจะมีลักษณะกลม และสามารถเจริญเติบโตได้โดยไม่จำเป็นต้องมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่ม แต่ถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้ จะต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้น ดังนั้น ปริมาณสารอาหารจะเป็นตัวจำกัดอัตราการขยายตัว หากขาดสารอาหารจะทำให้เซลล์ตายได้ อย่างไรก็ตาม เนื้องอกที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มิลลิเมตร จะปล่อยสาร angiogenesis factors ซึ่งไปกระตุ้นให้เส้นเลือดขยายใหญ่ขึ้น เส้นเลือดใหม่นี้จะแทงทะลุทะลวงออกมาอยู่ชั้นนอกของเซลล์ ทำให้เนื้องอกเจริญเติบโตและขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เซลล์มะเร็งอาจแบ่งตัวได้ทั้งหมด หรือแบ่งตัวได้เพียง 25% แต่เซลล์ปกติแบ่งตัวเพียง 1%
     ตัวอย่างเช่น อวัยวะหนึ่งมี 100 เซลล์ โดยปกติแล้ว 99 เซลล์จะไม่แบ่งตัว มีเพียง 1 เซลล์เท่านั้นที่แบ่งตัว ในการแบ่งตัวแต่ละครั้ง ก็จะเกิดเซลล์ใหม่เพียง 1 เซลล์ ที่จะแบ่งตัวต่อไปได้เท่านั้น ทำให้จำนวนเซลล์ที่เพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนเวลล์ที่สลายไป จึงมีจำนวนเซลล์ทั้งหมดอยู่คงที่ ในกรณีที่มีเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นเพียงหนึ่งเซลล์ และเมื่อมันแบ่งตัวแล้ว เซลล์ที่เกิดใหม่ก็เป็นเซลล์มะเร็งทั้งหมด ซึ่งเซลล์ทุกเซลล์ก็สามารถแบ่งตัวได้ จึงทำให้มีจำนวนเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นในเนื้อเยื่อ และเป็นการเพิ่มแบบเท่าตัว แต่ถ้าเซลล์ที่เกิดใหม่มีเพียง 25% เป็นเซลล์ที่แบ่งตัวได้จาก 1 เป็น 2 การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อ ก็จะช้ากว่าในกรณีที่เซลล์ใหม่ทุกเซลล์เป็นเซลล์มะเร็ง และแบ่งได้ทั้งหมด

การลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังเนื้อเยื่ออื่น
     เซลล์มะเร็งที่เริ่มเกิดในอวัยวะหนึ่ง จะเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไป ซึ่งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งที่จุดเริ่มต้น และเกิดการถ่ายทอดไปยังเซลล์ใหม่ เรียกว่า metastatic cells ระยะแรกของการแพร่กระจาย คือ การที่เซลล์มะเร็งลุกลามไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ และในระยะต่อมา ก็จะลุกลามเข้าไปในระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด

     ท่อน้ำเหลืองมีหน้าที่เป็นตัวพาของเหลวที่อยู่ภายนอกเซลล์ไปตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เมื่อเซลล์มะเร็งแตกตัวออกมาจากเนื้อเยื่อ และลุกลามเข้าไปสู่ระบบน้ำเหลืองได้ มันจะถูกกักไว้ที่ตาข่ายของปุ่มน้ำเหลือง เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการแบ่งตัวขยายเพิ่มมากขึ้น จะทำให้ปุ่มน้ำเหลืองมีขนาดโตกว่าปกติ เรียกว่า โรคต่อมน้ำเหลือง หากมีการขยายตัวของเซลล์มะเร็งไปเรื่อย ๆ จะทำให้เซลล์มะเร็งหลุดเข้าไปยังท่อน้ำเหลืองส่วนนำออก ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง จากปุ่มน้ำเหลืองหนึ่งไปยังอีกปุ่มน้ำเหลืองหนึ่ง ที่อยู่เหนือขึ้นไปเรื่อย ๆ หลังจากนั้น เซลล์มะเร็งก็มีโอกาสจะแพร่กระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองใหญ่ ที่เรียกว่า thoracic duct ซึ่งเป็นท่อน้ำเหลืองที่บรรจบรวมกับเส้นเลือดดำใหญ่ ก่อนที่จะนำเลือดเข้าสู่หัวใจ จึงทำให้เซลล์มะเร็งมีโอกาสแพร่กระจายเข้าไปสู่กระแสเลือดได้ เซลล์มะเร็งที่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดเหล่านี้ จะทำให้เกิดเซลล์มะเร็งขึ้นใหม่ในอวัยวะที่ห่างออกไปจากจุดเริ่มต้น เรียกว่า hematogenous metastasis หมายถึงเกิดมาจากเลือด

     ถ้าเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายได้และมาหยุดอยู่ที่ปลายเส้นเลือดฝอย อาจทำให้เกิดการลุกลามย้อนกลับไปยังช่องว่างภายนอกเซลล์ ทำให้มีจุดเริ่มต้นของเซลล์มะเร็งเพิ่มขึ้นใหม่ได้อีกด้วย

     การที่ทราบว่าเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปทางท่อน้ำเหลือง หรือทางกระแสเลือด จะช่วยในการป้องกันและรักษามะเร็งเป็นอันมาก เช่น มะเร็งเต้านม ที่เซลล์มะเร็งมาตามท่อน้ำเหลืองด้านใต้ของเต้านมผ่านรักแร้ หรือเซลล์มะเร็งอาจจะเกิดมาจากส่วนกลางของเต้านม แล้วแผ่ไปตามท่อน้ำเหลืองที่อยู่ใต้ซี่โครงอันที่ถัดไปจากกระดูกอก หากเป็นในกรณีที่ลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด เซลล์มะเร็งก็จะกระจายอยู่ทั่วร่างกาย การรักษาโดยใช้วิธีผ่าตัดหรือฉายแสงจะทำได้ยาก ฉะนั้นมะเร็งที่เกิดในกระแสเลือด จึงรักษายากกว่าที่เกิดในระบบน้ำเหลือง และเซลล์มะเร็งที่มีอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะมีการแพร่กระจายมากขึ้นด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและความรุนแรงของเซลล์มะเร็ง
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #230 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2007, 06:55:16 PM »

ค่อยๆ อ่านข้อความค่อข้างยาวเพราะผมไม่อยากให้ขาดตอนครับ Wink

สาเหตุของการเกิดมะเร็ง
     สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งมีได้หลายประการ จัดแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

1  กัมมันตรังสีต่างๆ การที่ส่วนของร่างกาย หรืออวัยวะ หรือเนื้อเยื่อถูกสัมผัสกับรังสีต่างๆ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา และสารกัมมันตรังสีต่างๆ อานุภาพของรังสีเหล่านี้สามารถทำให้เกิด "การก่อกลายพันธุ์" (mutation) ขึ้นได้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่โมเลกุลของหน่วยพันธุกรรม คือ DNA ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่นิวคลีอิกเบสตัวใดตัวหนึ่งภายในโมเลกุลของ DNA เพียงตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่งก็ได้ ทำให้ DNA มีองค์ประกอบของนิวคลีอิกเบสผิดไปจากเดิม

2  สารเคมีต่างๆ สารเคมีที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดมะเร็ง แบ่งออกได้เป็นกลุ่ม คือ
    1  สารเริ่มก่อมะเร็ง(initiator) เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ที่เซลล์เป้าหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างถาวร การเกิดนี้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ เรียกสารเคมีเหล่านี้ว่าเป็น สารเริ่มก่อมะเร็ง (ดูตาราง)
    2  สารเร่งการเกิดมะเร็ง (Promoters) สารเคมีหลายชนิดเป็นตัวเร่งเซลล์มะเร็งให้แบ่งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็วขึ้น การทำงานของสารเร่งการเกิดมะเร็งเป็นแบบไม่ถาวร ตัวมันเองไม่ได้เป็นสารก่อมะเร็ง แต่มันจะเป็นตัวเสริมหลังจากที่เซลล์ได้รับสสารเริ่มก่อมะเร็งแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็งได้เร็วขึ้น (ดูตาราง)
    3  กลไกการออกฤทธิ์ของสารก่อมะเร็งที่ทำให้เซลล์ที่ดีกลายเป็นเวลล์มะเร็งได้นั้น มีสารก่อมะเร็งบางชนิดที่ทราบการไกการออกฤทธิ์แล้ว เช่น อะฟลาทอกซิน ซึ่งทราบแน่ชัดแล้วว่า มันเข้าไปรวมตัวกับเบากัวนีนในโมเลกุลของ DNA ที่เซลล์ตับ ตรงตำแหน่ง N-7 ของเบสกัวนีน
   4  สารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารก่อมะเร็งที่รุนแรง ส่วนใหญ่พบว่าตับเป็นอวัยวะที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้ ตับมีหน้าที่เปลี่ยนสารที่ร่างกายไม่ต้องการให้เป็นเอสเทอร์ของกลูคูโรไนด์ ซึ่งถูกสังเคราะห์มาจากน้ำตาลกลูโคส ทำให้สารนั้นหมดฤทธิ์ที่จะเป็นพิษต่อร่างกาย และขับออกจากร่างกายผ่านทางไตออกมากับปัสสาวะ หากอัตราการสร้างสารก่อมะเร็งเร็วกว่าอัตราการเปลี่ยนเป็นกลูคูโรไนด์เอสเทอร์ จะทำให้สารก่อมะเร็งมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดมะเร็งได้

3  ไวรัส เมื่อเซลล์ปกติเกิดการติดเชื้อไวรัส จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโมเลกุลของเซลล์ปกติ เนื่องจากมีบางส่วนของไวรัส DNA จะเข้าไปรวมกับ DNA ของเซลล์ปกติ ทำให้โมเลกุลของ DNA ปกติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดนี้เรียกว่า transduction คือเป็นการสอดหน่วยพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปใน DNA ของเซลล์ปกติ

4  เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซม ในบางครั้งอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครโมโซมได้ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง หรือสลับตำแหน่งที่ชิ้นส่วนของโครงสร้างโครโมโวม หรืออาจมีการพลิกกลับของชิ้นส่วนของโครโมโซม ทำให้ลักษณะของเซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นผิดไปจากเดิม หรืออาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีการสูญเสียส่วนใดส่วนหนึ่งของโครโมโซมไป หรือมีการสร้างโครโมโซมมากกว่าปกติ เช่น มีโครโมโซมซ้ำซ้อน ทำให้เกิดโครโมโซมมากกว่าปกติ และเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น นอกจากนั้นเซลล์บางชนิดอาจมีการปลดปล่อยหน่วยพันธุกรรมที่หยุดทำงานให้กลับทำงานได้ใหม่อีก ทำให้เซลล์ใหม่มีลักษณะผิดไปจากเดิม เช่น การสร้างแอลฟา-ฟีโตโปรตีน เป็นต้น

5  สาเหตุอื่นๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งอีกอย่างหนึ่ง คือ สิ่งแวดล้อม เช่น สภาพภูมิประเทศ แหล่งที่อยู่อาศัย สารพิษในอากาส บริโภคนิสัย ขนบธรรมเนียมประเพณี อาชีพการงาน อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเชื้อชาติและกรรมพันธุ์ ภาวะการผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง นอกจากนั้นการสูบบุหรี่ ถุนยาสูบ กินหมาก กินอาหารร้อนๆ เป็นประจำ จะทำให้เกิดการระคายเคือง สิ่งเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น มะเร็งในช่องปากและบริเวณกระพุ้งแก้มของคนที่กินหมาก มะเร็งในหลอดคอของคนที่ชอบดื่มน้ำชาร้อนๆ หรือเครื่องดื่มร้อนๆ เป็นประจำทุกวัน


การจำแนกชนิดของสารเคมีก่อมะเร็ง และสาเหตุ
สารเคมีก่อมะเร็งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

Genotoxic agent เป็นสารเคมีก่อมะเร็งที่มีผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่สารพันธุกรรม คือ มีการเปลี่ยนแปลงเบสที่เป็นโครงสร้างโมเลกุลของ DNA
Epigenetic (nongenotoxic) agent เป็นสารเคมีก่อมะเร็งที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นิวคลีอิกเบสที่เป็นโครงสร้างในโมเลกุลของ DNA



อาการของการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ

• มะเร็งปากมดลูก

ได้แก่ อาการมีเลือดออกจากช่องคลอดทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติ อาการเจ็บปวดและมี เลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น การตรวจโดยขูดเนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้

• มะเร็งมดลูก

ได้แก่ อาการมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ หรือมีอาการบวมในช่องท้อง

• มะเร็งรังไข่

ได้แก่ อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือการมีอาการเจ็บปวดหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ อาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย น้ำหนักลด และมีอาการปวดหลัง

• มะเร็งเม็ดเลือด (ลูคีเมีย)

ได้แก่ อาการเหนื่อยง่ายและมีอาการซีดเซียวกว่าปกติ มักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือด ออกทางผิวหนังได้ง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ และมักจะเกิดร่วมกับอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย บางครั้งจะท้องอืด และเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง

• มะเร็งปอด

ได้แก่ อาการมักมีอาการไอบ่อย ๆ มีเลือดและมีเสมหะปนมากับน้ำลาย น้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บหน้าอกและหายใจลำบาก หรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

• มะเร็งตับ

ได้แก่ อาการปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาและผิวเป็นสีออกเหลือง และ เหลืองจัดจนเห็นได้ชัด

• มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ***

ได้แก่ อาการมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

• มะเร็งสมอง

ได้แก่ อาการปวดศีรษะนาน ๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน หรือการผิดปกติของการมองเห็นตาพร่า และเห็นแสงเขียว ๆ แดง ๆ ลอยไปมาเวลา ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หรือการเป็นลมโดยกะทันหัน อวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงาน เช่น มีอาการชาและเป็นอัมพาตชั่วคราว

• มะเร็งช่องปาก

ได้แก่ อาการมีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือที่ลิ้นเป็นเวลานาน มีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับ การรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือก เนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือเป็นเวลานาน

• มะเร็งในลำคอ

ได้แก่ อาการเสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันที ทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้

• มะเร็งกระเพาะอาหาร

ได้แก่ อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือด ท้องอืด หรืออาหารไม่ ย่อยบ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้อง หรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ

• มะเร็งทรวงอก

ได้แก่ อาการมีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนม บวม หรือผิวเนื้อทรวง อกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิว เกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานาน ควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คน จะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอกโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนังที่เรียกว่า ซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมนั้นให้ชัดเจนเสียก่อนว่าคืออะไรกันแน่

• มะเร็งลำไส้

ได้แก่ อาการน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้องอย่างมากและระบบการย่อย ผิดปกติ อุจจาระมีขนาดเล็กลงหรือแบน มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ

• มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ได้แก่ อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้ หรือใต้ขาหนีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้เกิด อาการติดเชื้อในบางส่วนของร่างกาย

• มะเร็งผิวหนัง

ได้แก่ อาการมีแผลหรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานานตลอดจน ไฝหรือหูดที่โตขึ้นและมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่าง ขนาด นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เมลาโนม่า (Melanoma) คือ เนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระ จุดด่าง หรือไฝ ถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนคุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่น ๆ

การรักษาโรคมะเร็ง

การผ่าตัด
โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาเงื่อนไขหลาย ๆ ด้านของผู้ป่วย รวมทั้งตำแหน่งและขนาดของเนื้อร้าย เปอร์เซนต์การทุเลามีโอกาสมากเพียงใด จึงจะสามารถตัดสินใจว่าจะผ่าตัด การผ่าตัดมี 2 ลักษณะ คือ ผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออก หรือผ่าตัดอวัยวะออก บางครั้งหากก้อนเนื้อใหญ่เกินไป ก็ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี หรือเคมีบำบัดให้ก้อนเนื้อเล็กลงก่อน วัตถุประสงค์การผ่าตัดก็คือ เพื่อการบำบัดและผ่าตัดเพื่อเป็นการรักษาอาการ ไม่ให้เลวร้ายลง แม้บางอวัยวะไม่ควรผ่าตัดออกก็ตาม แต่เพื่อให้สามารถขับถ่ายหรือรับประทานอาหารได้ หรือให้หายใจสะดวก แพทย์ก็ต้องตัดสินใจผ่าตัด การผ่าตัดเป็นทางเลือกแรกในการรักษา แต่การลงมีดกับร่างกายผ่าตัดเอาเนื้องอกออกไป อวัยวะส่วนหนึ่งก็หายไปด้วย ดังนั้นยิ่งผ่าตัดใหญ่เท่าใด ร่างกายก็จะได้รับความเสียหายมากขึ้นเท่านั้น ยังผลให้พลังชีวิตและภูมิคุ้มกันเสียไป แม้ผ่าตัดเนื้องอกออกไปได้ แต่ก็ใช้เวลานานกว่าที่สภาพร่างกายจะฟื้นฟู กลับคืน

การฉายรังสี
ในช่วงต้นของการรักษาโดยวิธีนี้จะใช้ในเพื่อทำให้เนื้องอกขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัดออก แต่วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบัน ทำให้มะเร็งที่เป็นในขั้นแรกบางส่วน ใช้วิธีการรักษาด้วยรังสีเพียงอย่างเดียว ก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีการเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประกอบ ทำให้ลำแสงของรังสีมีพลังงานสูงมาก สามารถทะลุทะลวงเข้าถึงอวัยวะในส่วนลึกที่เป็นเนื้อร้ายได้ และสามารถควบคุมให้กระจายความเข้มของรังสีได้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้อุปกรณ์นำเอาวัตถุรังสีใส่เข้าไปในอวัยวะที่เป็นมะเร็งโดยตรง ซึ่งการแผ่รังสีอานุภาพสูงในระยะใกล้ ทำให้การรักษาได้ผลดีมากขึ้น แต่เมื่อต้องอาบรังสีปริมาณมาก แม้จะทำให้ก้อนเนื้องอกฝ่อตัวลง แต่ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันก็จะได้รับผลเสียด้วย คุณภาพชีวิตก็ลดลงด้วยเช่นกัน

การเคมีบำบัด
ยาเคมีบำบัด ก็คือยาที่ออกฤทธิ์ในช่วงเวลาที่เซลล์แตกตัว แล้วมีผลทำให้เซลล์ตายลง เซลล์มะเร็งมีลักษณะที่สามารถ แตกตัวและเพิ่มจำนวนได้อย่างมากมายในเวลาอันสั้น จึงนำเอาคุณลักษณะนี้มาใช้ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง และทำให้เนื้องอกหดตัวลง แต่ในร่างกายของเราไม่ได้มีแต่เซลล์มะเร็งที่แตกตัวและเพิ่มจำนวนเท่านั้น ยังมีเซลล์อื่น ๆ ที่แตกตัวและผลัดเปลี่ยนเซลล์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นยาพวกนี้ก็ออกฤทธิ์กับเซลล์ปกติด้วยเช่นกัน เมื่อใช้ยาเคมีจะทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ผมร่วง กระเพาะและลำไส้ไม่ดี เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานลดลงทำให้ติดเชื้อง่าย เป็นต้น เพราะในจำนวนเซลล์ปกติในร่างกาย จะมีเซลล์ที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ในส่วนของเซลล์ผนังกระเพาะและลำไส้ หรือเซลล์รากขน รวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาว) เมื่อให้ยาเคมีเข้าไปในร่างกายแล้ว เซลล์ปกติเหล่านี้จึงได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็ว

วิธีการรักษาเสริมอื่น ๆ
มีผู้ป่วยโรคมะเร็งบางรายต้องได้รับการรักษาเสริม เพื่อเป็นการรักษาร่วมตามเงื่อนไขสภาพร่างกายเช่น การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน การเสริมภูมิคุ้มกัน หรือ การฉีดแอลกอฮอล์เข้าในตับ และวิธีการรักษาแบบอุดหลอดเลือดแดง ปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วย 3 วิธีหลักของแพทย์แผนตะวันตก ยังเป็นการรักษาโดยตรงที่สัมฤทธิ์ผลมากที่สุด แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาก็ทิ้งความเจ็บปวดทั้งกายและใจแก่ผู้ป่วยไม่น้อย ดังนั้นจึงเริ่มมีการบำบัดร่วมกันระหว่างแพทย์แผนตะวันตก กับแพทย์ทางเลือก เช่น แผนจีน กับ แผนตะวันตก และไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาอย่างเดียว ประเด็นเรื่องภูมิคุ้มกัน การฟื้นฟูร่างกายและจิตใจก็ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
จินตา <Jinta>
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 89
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2373


« ตอบ #231 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2007, 08:52:29 PM »

เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้... อ่านหน้าแรกๆ รู้สึกตกใจมากๆ อ่านหน้าต่อๆมาก็ค่อยโล่งใจขึ้น... ขอเป็นกำลังใจให้พี่ RroamD หายจากอาการเจ็บป่วย ดีขึ้นทุกวันคืนครับ  ไหว้ ไหว้ ไหว้

ขอให้พี่ CT_Pro4 และพี่ Wasanami สุขภาพดีขึ้นเช่นกันครับ...

ผมยังอายุไม่เยอะ ( คิก คิก  ขำก๊าก ) อ่านแล้วก็ได้ข้อคิดให้รู้จักดูแลตัวเองให้ดี... เบียร์ สุรา นี่ดื่มทุกวันครับ... บุหรี่เลิกแล้ว... พยายามออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๔ วัน ครั้งละประมาณ ๒ ชม ถ้าหากไม่เดินทาง... แต่ถ้าหากเดินทางก็กินๆอย่างเดียว ตกใจหน้าซีด หัวเราะร่าน้ำตาริน เครียด กิน อ้วน  Grin เศร้า อ๋อย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2007, 08:54:24 PM โดย จินตา <Jinta> » บันทึกการเข้า
รัตตรา
"อร่อย..อารมณ์"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 506
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6849


08-21491911 08-59591911


« ตอบ #232 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2007, 10:24:53 PM »

ขอบคุณที่ให้ความรู้ เอาใจช่วยครับ... เยี่ยม
บันทึกการเข้า


"จงคิดว่า มีใคร ได้มองอยู่...เฝ้ามองดู ตัวเรา อย่างเฝ้าจ้อง
ทำสิ่งใด รู้ได้ สายตามอง...อย่างน้อยต้อง รู้ละอาย ในหมายทำ"
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #233 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2007, 10:52:08 PM »

เพิ่งได้เข้ามาอ่านกระทู้นี้... อ่านหน้าแรกๆ รู้สึกตกใจมากๆ อ่านหน้าต่อๆมาก็ค่อยโล่งใจขึ้น... ขอเป็นกำลังใจให้พี่ RroamD หายจากอาการเจ็บป่วย ดีขึ้นทุกวันคืนครับ  ไหว้ ไหว้ ไหว้

ขอให้พี่ CT_Pro4 และพี่ Wasanami สุขภาพดีขึ้นเช่นกันครับ...

ผมยังอายุไม่เยอะ ( คิก คิก  ขำก๊าก ) อ่านแล้วก็ได้ข้อคิดให้รู้จักดูแลตัวเองให้ดี... เบียร์ สุรา นี่ดื่มทุกวันครับ... บุหรี่เลิกแล้ว... พยายามออกกำลังกายสัปดาห์ละ ๔ วัน ครั้งละประมาณ ๒ ชม ถ้าหากไม่เดินทาง... แต่ถ้าหากเดินทางก็กินๆอย่างเดียว ตกใจหน้าซีด หัวเราะร่าน้ำตาริน เครียด กิน อ้วน  Grin เศร้า อ๋อย

ผมคิดว่าเรื่องการดื่มไม่ว่าเบียร์หรือเหล้าอยู่ทีความเคยชินของแต่ละท่าน  อย่างผมดิ่มเบียร์มาตั้งแต่สมัยเรียน ปวช. ปี 3 อาทิตย์ละวัน ทำงานแล้วก็เพิ่มเป็น 2 วัน  ทำกิจการส่วนตัวแล้วก็เริ่มดิ่มมากวันขึ้น อายุ 30 ปี เบียร์ 2-3 ขวดทุกคืน อย่างที่เรียนให้ทราบถ้าทานมื้อเย็นกับเพือนก็เหล้าก่อนตามด้วยเบียร์อีก 2 เมื่อถึงบ้าน จะให้บอกว่าไม่มีผลต่อโรคที่ผมเป็นก็ไม่ได้แต่อาจารย์เน้นเรื่องโทษร้ายแรงจากบุหรี่กับ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะสูบจัดก่อนนอนเพราะสารพิษจะตกค้างภายในอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะเพราะเมื่อหลับแล้วไม่ได้ปัสสาวะจนกว่าจะตื่น  ดีใจด้วยที่พี่ไม่สูบบุหรีแล้ว ผมก็เช่นเดียวกันครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ เอาใจช่วยครับ... เยี่ยม

ขอบคุณพี่ rattra ครับ

มะเร็งเต้านม

" มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบบ่อย เป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย รองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ อัตราการเป็นมะเร็งเต้านม พบมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณว่า 1 ใน 10 ของผู้หญิง มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิต.. "

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ การมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุยังน้อย, การหมดประจำเดือนช้า, ไม่มีลูก หรือมีลูกคนแรก เมื่ออายุเกิน 30 ปี, มีประวัติครอบครัว มีเนื้อเยื่อเต้านมที่ผิดปกติ การรับประทานอาหารไขมันมาก, การดื่มเหล้า ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้พบเพียง 25% ของผู้ป่วย ขณะที่ 3 ใน 4 ของผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง กล่าวคือ... ผู้หญิงทุกคนล้วนเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ !!

การรักษา

การรักษาหลักของมะเร็งเต้านม คือ การผ่าตัด อาจร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง หรือการให้ยาฮอร์โมน มะเร็งเต้านม ...เนื่องจากเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งเต้านม และผู้ป่วยส่วนใหญ่ ก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมา

การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการค้นพบให้เร็วที่สุด ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 อย่างคือ ..

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง : แนะนำให้เริ่มตรวจเมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป โดยตรวจเป็นประจำทุกเดือน
การตรวจเต้านมโดยแพทย์ : แนะนำในอายุ 20-40 ปี ควรตรวจทุก 3 ปี อายุมากกว่า 40 ปี ควรตรวจทุกปี
การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม : ควรเริ่มทำเมื่ออายุ 35 ปี และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจทุก 1-2 ปี

อาการและอาการแสดง

มีก้อนหรือเนื้อเต้านมที่หนาตัวขึ้น คลำดูแข็งแต่ไม่เจ็บปวด
ก้อนโตเร็ว
แข็งขอบไม่ชัดเจน ติดแน่นกับเนื้อเยื่อรอบข้าง
มีเลือดออกทางหัวนม
หัวนมปอด /มีหัวนมบุ๋มลงไป
รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป เช่น ข้างหนึ่งสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง เวลามองดูในกระจก
มีรอยบุ๋มปรากฏบนผิวหนังที่เต้านม
มีรอยแดงหรือผิวหนังเปลี่ยนไปมีลักษณะคล้ายผิวส้ม
มีต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้โตร่วมด้วย
ถ้ามีอะไรที่สงสัยว่าผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ทันที
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
rockguns
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #234 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2007, 11:11:17 PM »

              พิมพ์ยาวจัง   ว่างหรือเปล่าครับเห็นชื่อหลายกระทู้ก็ดีใจด้วย เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #235 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2007, 11:19:09 PM »

 ไหว้วันนี้เป็นยังไงมั่งครับ      ทำใจให้สบายพักผ่อนให้เพียงพอทานอาหารที่มีประโยชน์     หาหมอตามนัดอาการคงจะดีขึ้นนะครับ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #236 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2007, 11:52:06 PM »

ขอให้หาย เจ้บป่วย ครับ ผมว่าเรื่องแอลกอล์ฮอล เลิกดื่มก้ดีครับ เพราะ ผมเองเลิกดื่ม มา5ปีแล้วครับ พี่ สุขภาพดีขึ้นครับ
บันทึกการเข้า
หรอย
การไม่เป็นโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 618
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6416



« ตอบ #237 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 09:09:55 AM »

สวัสดีครับ.....อรุณสวัสดิ์ครับ......คุณอารมณ์ดี และคุณ CT_PRO 430 หายป่วยไวๆด้วยครับ
บันทึกการเข้า
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #238 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:45:12 PM »

              พิมพ์ยาวจัง   ว่างหรือเปล่าครับเห็นชื่อหลายกระทู้ก็ดีใจด้วย เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม

ยังไหวเพราะผมพักผ่อนได้มาก
ขอบคุณครับพี่

ไหว้วันนี้เป็นยังไงมั่งครับ      ทำใจให้สบายพักผ่อนให้เพียงพอทานอาหารที่มีประโยชน์     หาหมอตามนัดอาการคงจะดีขึ้นนะครับ

ไม่ค่อยสบายเพราะเข้าเว๊บ อวป ไม่ได้หลายวัน ขอบคุณที่แนะนำครับ อาจารย์นัดตรวจผมอีกครั้ง 8 มกราคม 2551 ครับ

ขอให้หาย เจ้บป่วย ครับ ผมว่าเรื่องแอลกอล์ฮอล เลิกดื่มก้ดีครับ เพราะ ผมเองเลิกดื่ม มา5ปีแล้วครับ พี่ สุขภาพดีขึ้นครับ

เรื่องแอลกอฮอลเลิกไม่ยากขนาดผมดื่มมานานมากอย่างที่ได้เรียนให้ทราบ ตอนนี้ร่างกายเริ่มฟื้นตัวผมเกิดความอยากสูบบุหรีมาก แต่ก็เอาชนะได้ไม่ตามใจตัวเอง
ยินดีกับพี่ด้วยเรื่องการเลิกดิ่มครับ

สวัสดีครับ.....อรุณสวัสดิ์ครับ......คุณอารมณ์ดี และคุณ CT_PRO 430 หายป่วยไวๆด้วยครับ

สวัสดีประจำวันครับพี่หรอย...อย่าเปลี่ยนชื่อให้พี่ CT_PRO 4 สิครับ Cheesy

***มะเร็งปากมดลูก
     
***เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในหญิงไทย พบมากในช่วงอายุ 35 - 50 ปี

สาเหตุ

ปัจจุบันเชื่อว่า มะเร็งปากมดลูกเกิดจากไวรัส HPV พบในกลุ่มสตรีที่มีประวัติการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก

ภาวะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก

สตรีที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย (ต่ำกว่า 18 ปี)
มีคู่นอนหลายคน
มีประวัติเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
มีโรคเรื้อรัง หรือโรคที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น โรคเอดส์
เคยมีความผิดปกติของปากมดลูกจากการตรวจภายใน และทำ แป๊ปเสมียร์ (Pap Smear)
มีการอักเสบติดเชื้อระหว่างคลอด หรือหลังคลอด หรือมีการติดเชื้อช่องคลอดบ่อยครั้ง
อาการแสดง
ในระยะเริ่มแรก อาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เลย มักตรวจพบเมื่อได้รับการตรวจภายในประจำปี หรือเมื่อมาตรวจเพื่อรับการคุมกำเนิด และจากการตรวจภายหลังคลอด
มีเลือดออกจากช่องคลอดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือหลังการร่วมเพศ
ประจำเดือนมาผิดปกติไปจากเดิม อาจมีเศษเนื้อปนออกมา ปวดท้องน้อยร่วมด้วย
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น มีเลือดออกกะปริบกะปรอย
ตกขาวมีกลิ่น ปริมาณมาก สีผิดปกติ หรืออาจปนเลือด

การรักษา

ในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัด หรือการฉายรังสี แม้ในระยะลุกลาม ซึ่งไม่สามารถ ผ่าตัดได้ ก็สามารถใช้วิธีการฉายรังสีในการรักษา ซึ่งมีโอกาสหายถึงร้อยละ 50 จึงอาจกล่าวได้ว่า โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้อย่างแน่นอนในระยะเริ่ม

การป้องกัน

ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายหาสิ่งผิดปกติหลังอายุ 35 ปีขึ้นไป หรืออายุต่ำกว่านั้นในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้มีบุตรยาก มีการอักเสบเรื้อรังของปากมดลูก หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย
หากมีประวัติตกขาวบ่อย ๆ มีเลือดออกหลังร่วมเพศ หรือประจำเดือนผิดปกติ ควรไปพบแพทย์ตรวจร่างกายเป็นประจำตามความเหมาะสม
แนะนำให้ตรวจภายในทุก 1 - 3 ปี
ไม่สูบบุหรี่
ใช้ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #239 เมื่อ: ธันวาคม 27, 2007, 07:23:11 PM »

ยังอยู่ในส่วนของสุภาพสตรีครับ

มะเร็งมดลูก
     มะเร็งมดลูกพบได้น้อยกว่ามะเร็งปากมดลูก พบมากในสตรีที่อายุ 40-60 ปี และมักพบภายหลังหมดประจำเดือนแล้ว รวมทั้งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั้นเยื่อบุมดลูก จึงเรียกว่า มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

สาเหตุ
     ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีผู้เสนอว่า อาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนสาเหตุ หรือปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดมะเร็งมดลูก ได้แก่

สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรเมื่ออายุมาก
สตรีที่เคยได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน หรือเคยได้รับการฉายรังสีที่บริเวณเชิงกราน
กรรมพันธุ์
มักพบร่วมกันโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

อาการ
มีเลือดออกทางช่องคลอดในสตรีวัยหมดประจำเดือนแล้ว หรือมีเลือดออกผิดปกติในสตรีที่ยังคงมีประจำเดือนอยู่
คลำพบก้อนที่บริเวณท้องน้อย
ปวดท้องน้อย ปวดหลัง เนื่องจากมดลูกโตไปกดแผงประสาท

การวินิจฉัย
     การวินิจฉัยจำเป็นต้องใช้การตรวจหลายอย่างประกอบกัน ดังนี้คือ

ศึกษาประวัติของผู้ป่วย
การตรวจภายใน เพื่อดูขนาดและรูปร่างของมดลูก อาจเห็นมีเลือดออกจากโพรงมดลูก คลำได้มดลูกโต
การทำแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ซึ่งปกติจะใช้ตรวจหามะเร็งปากมดลูก แต่บางครั้งอาจจะใช้วินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้ ถ้ามีเซลล์ผิดปกติหลุดลอกออกมาจากโพรงมดลูก
การขูดมดลูก เพื่อนำชิ้นเนื้อที่บุโพรงมดลูก มาตรวจทางพยาธิวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์
การตรวจสอบจากเลือด เอกซ์เรย์ อัลตราซาวด์ และเอกซ์เรย์ชนิดพิเศษ เมื่อพบว่ามีเซลล์มะเร็งแล้ว แพทย์จะต้องค้นหาว่า โรคได้ลุกลามแพร่กระจายออกนอกมดลูกไปยังอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายหรือไม่ โดยใช้การตรวจดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
การรักษามะเร็งมดลูก
การผ่าตัดเอามดลูก พร้อมทั้งรังไข่ และท่อนำไข่ทั้งสองข้างออกทางหน้าท้อง
การฉายรังสี และใส่เรเดียม แพทย์บางท่านแนะนำให้ใช้รังสีรักษาก่อนการผ่าตัด เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดชะงักการเจริญเติบโต การใช้รังสีรักษา มีทั้งการฉายแสงจากภายนอก และการฝังแร่ภายในร่างกาย ถ้าผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำอีก หรือมีการแพร่กระจายภายหลังการใช้รังสีรักษา แพทย์ก็จะใช้ฮอร์โมน (กลุ่ม progesterone) หรือเคมีบำบัดเพื่อการรักษาต่อไป
เคมีบำบัด ใช้ในรายที่มะเร็งกระจายไกลออกไปจากช่องเชิงกรานแล้ว

การป้องกัน
     เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งมดลูก ดังนั้นการป้องกันจึงอาจทำได้โดย

ระวังเรื่องโรคอ้วน เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
สตรีวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับการตรวจร่างกาย และตรวจภายในอย่างน้อยปีละครั้ง
ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนรักษาอาการหมดประจำเดือนอย่างระมัดระวัง
รีบปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการเลือดออกผิดปกติ
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
หน้า: 1 ... 13 14 15 [16] 17 18 19 ... 82
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.152 วินาที กับ 22 คำสั่ง