เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 04:56:40 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 15 16 17 [18] 19 20 21 ... 82
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ในเมื่อใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งบาดเจ็บอีกฝ่ายหนึ่งกลับมาอีกครั้ง  (อ่าน 227118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 57 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Choltit
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 143
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16292



« ตอบ #255 เมื่อ: มกราคม 06, 2008, 10:25:59 PM »

 ไหว้  ขอให้ทุกท่านแข็งแรง    ไหว้
บันทึกการเข้า

BSW
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #256 เมื่อ: มกราคม 08, 2008, 08:13:43 AM »

อ่านแล้วได้ความรู้ด้านสุขภาพครับ  ขอบพระคุณครับ Grin Cheesy Grin
บันทึกการเข้า
จันทร์เจ้า
Sr. Member
****

คะแนน 23
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 815



« ตอบ #257 เมื่อ: มกราคม 08, 2008, 10:11:48 AM »



ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้พี่อารมณ์ดีค่ะ   ไหว้



บันทึกการเข้า

...จะเก็บดาวมาร้อยมาลา...เก็บจันทรามาให้เจ้าชม....
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #258 เมื่อ: มกราคม 08, 2008, 07:25:52 PM »

อ่านแล้วได้ความรู้ด้านสุขภาพครับ  ขอบพระคุณครับ Grin Cheesy Grin

ต้องคอยสังเกตุตัวเองด้วยครับ



ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้พี่อารมณ์ดีค่ะ   ไหว้

ขอบคุณครับพี่ จันทร์เจ้า

วันนี้ไปพบอาจารย์ตามนัดตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ตรวจดูทวารเทียมที่หน้าท้องแล้วชี้ให้แพทย์ฝึกหัดดูพร้อมพูดถึงวิธีการผ่าตัดเป็นศัพท์ทางแพทย์ เสร็จแล้วก็หันมาบอกผมว่า สะอาดดี ผมก็เรียนท่านไปว่าทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือฆ่าเชื่อโรควันละสองครั้งซึ่งแกก็ยิ้ม
เดือนหน้าจะเริ่มการตรวจต่อเนื่องด้วยการเจาะเลือด ทำอัลตร้าซาวด์อวัยวะช่องท้องด้านบนทั้งหมดและเอ๊กซเรย์ปอดครับ

ในใบสั่งยาเดือนนี้ท่านเบิกอุปกรณ์ที่ต้องใช้ให้อีกครับ



มารู้จักโรคที่รักษาให้หายได้ถ้าตรวจพบในระยะแรกๆ กันต่อครับ

มะเร็งลำไส้เล็ก
     
     มะเร็งลำไส้เล็ก พบได้น้อย และเป็นบ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

สาเหตุ
     ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่พบอุบัติการณ์ของโรคนี้สูงในกลุ่มคนที่ชอบบริโภคอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ไขมันในปริมาณสูง ดื่มสุรา และมีการอักเสบระคายเคือง หรือมีแผลเรื้อรังในบริเวณลำไส้เล็ก รวมถึงผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้เล็ก

อาการแสดง
     ส่วนใหญ่มักมาด้วยอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายดำ น้ำหนักลด เป็นไข้ หรือมีภาวะลำไส้อุดตัน คือ จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อาจคลำได้ก้อนในบริเวณช่องท้อง

การวินิจฉัย
     ในระยะเริ่มแรกไม่จำเป็นต้องมีอาการ ซึ่งยากที่จะทราบได้ถ้าไม่ตรวจเช็คแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะในบุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งแตกต่างกันไปในมะเร็งแต่ละชนิด บางชนิดสามารถตรวจเช็คทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจเอ็กซเรย์ได้ เช่น มะเร็งลำไส้ ตรวจเลือดซ่อนเร้นในอุจจาระ (stool occult blood) ส่วนในผู้ป่วยที่มีอาการ อาจเป็นอาการที่ไม่จำเพาะเจาะจง เช่น เบื่ออาหาร ผอมลง อ่อนเพลีย ต้องเริ่มวิเคราะห์จากอาการที่เป็น ซึ่งในบางอาการ อาจพอที่จะระบุได้ว่าเป็นอวัยวะใด แต่มักไม่จำเพาะว่าต้องเป็นมะเร็ง จำเป็นต้องทำการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม

     ด้วยความก้าวหน้าในระบบไฟเบอร์ออปติก (Fiberoptic) แพทย์สามารถใช้กล้องส่องดูระบบทางเดินอาหารบริเวณ ลำไส้เล็กส่วนบน ลำไส้เล็ก และมีการนำระบบอุลตราซาวด์มาใช้กับกล้องได้ด้วย ได้แก่

การส่องกล้องดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนบน (Esophagogastroduodenoscopy)
การส่องกล้องดูลำไส้เล็ก (Enteroscopy)
การใช้ระบบอุลตราซาวน์กับการส่องกล้อง (Endoscopic Ultrasonography)

การรักษา
     ในระยะแรกของโรค จะใช้การผ่าตัด แต่หากไม่สามารถเอารอยโรคออกได้หมด จะใช้การฉายรังสีและการให้เคมีบำบัด ร่วมด้วย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการรักษา การทำการผ่าตัดรักษา อาจต้องตัดลำไส้ออกเป็นจำนวนมาก ขึ้นกับความรุนแรง และระยะของโรค ถ้าเป็นการผ่าตัด ส่วนของลำไส้เล็กส่วนปลาย จะเรียกว่า ileostomy ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคการผ่าตัดที่สำคัญของศัลยกรรมระบบทางเดินอาหาร ซึ่งได้แก่การตัดต่อลำไส้ และการผ่าตัดยกลำไส้มาเปิดที่ผนังหน้าท้อง ระหว่างการผ่าตัดลำไส้เล็ก ศัลยแพทย์อาจต้องทำการตัดต่อลำไส้และนำลำไส้ส่วนปลายมาเปิดไว้ที่ผนังหน้าท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดการอุดตันของลำไส้ส่วนปลายหรือเกิดการอักเสบเน่าตายของผนังลำไส้ที่รุนแรงและกินบริเวณ กว้างขวาง
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
CT_Pro4
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 537
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4869



« ตอบ #259 เมื่อ: มกราคม 08, 2008, 08:03:42 PM »

...เรื่องเป็นประโยชน์ทั้งนั้นเลยครับพี่ RroamD ยังไงขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงนะครับ ผมเริ่มกลับมาเป็นปกติแล้วครับ แต่ยังต้องอยู่ในความควบคุมของหมออย่างใกล้ชิดเหมือนกันครับ...

 Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

Every problem contains the seeds of its own solution.- Stanley Arnold
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #260 เมื่อ: มกราคม 10, 2008, 09:51:22 PM »

...เรื่องเป็นประโยชน์ทั้งนั้นเลยครับพี่ RroamD ยังไงขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงนะครับ ผมเริ่มกลับมาเป็นปกติแล้วครับ แต่ยังต้องอยู่ในความควบคุมของหมออย่างใกล้ชิดเหมือนกันครับ...

 Grin Grin Grin

ขอบคุณและเช่นกันครับ
ขอให้พี่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจดีตลอดเวลาครับ



มะ้เร็งลำไส้ใหญ่***
     
     สาเหตุของการเกิดมะเร็งลำไส้ เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้

การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำหรืออาหารที่มีปริมาณแคลเซียม (Calcium) น้อย ทำให้เกิดอาการท้องผูก/ท้องเสียบ่อยๆและเป็นเวลานาน
เกิดก้อนเนื้องอกขึ้นในระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะที่บริเวณลำไส้ ซึ่งอาจเกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้
อาการที่สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้มาก่อนก็จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้สูงขึ้น
รับประทานอาหารที่มีไขมันในปริมาณสูง
มีการรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายและไปตกค้างที่ลำไส้
เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณลำไส้เกิดการเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่นไป ทำให้เลือดไม่สามารถเข้าไปเลี้ยงที่บริเวณลำไส้ได้อย่างเพียงพอ
อาการและอาการแสดงของโรค
     มะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจไม่มีอาการอะไรเลยก็ได้ จนกว่าก้อนมะเร็งจะโตมาก โดยอาการแรกที่จะพบได้ คือ เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสามารถเหตุ ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือมูกปนเลือด ส่วนน้อยที่จะมีอาการท้องอืด อาเจียน จากลำไส้อุดตัน มะเร็งของลำไส้ใหญ่ทุกส่วนมีโอกาสมีเลือดออกมาทั้งเลือดสด ๆ หรือเลือดเก่า จึงขอให้สังเกตดู หากมีลักษณะสีของอุจจาระเปลี่ยนไปขอให้ปรึกษาแพทย์ทันที !!

การตรวจวินิจฉัย
     จากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจโดยใช้นิ้วตรวจทางทวารหนักร่วมกับการส่องกล้องภายในลำไส้

เมื่อไรต้องเริ่มทำการตรวจหามะเร็ง
     เมื่อมีอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด แต่การตรวจหามะเร็งก่อนที่จะมีอาการจะได้ผลดีที่สุดได้แก่ ผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี หรือผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นมะเร็ง โดยทำการตรวจหาเลือดในอุจจาระทุกปี

การเจาะเลือดเพื่อตรวจหาสารมะเร็ง(CEA)
หรือการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ชนิดยาว(Colonocope)
การตรวจหาเลือดในอุจจาระที่ได้ผลดี ต้องงดการรับประทานอาหารหรือยาที่มีสารเหล็ก เป็นส่วนประกอบอยู่อย่างน้อย 3 วันได้แก่ เลือด ตับ อวัยวะภายในของสัตว์ ยาที่มีธาตุเหล็กเช่นยาเพิ่มเลือด

การรักษา
การรักษาโดยการผ่าตัด
การรักษาโดยการให้เคมีบำบัดและรังสีรักษา ใช้ประกอบกับการผ่าตัดเพื่อลดโอกาสกำเริบของมะเร็งและโอกาสรอดชีวิตยืนยาวขึ้น
หลังการผ่าตัดแล้ว จะต้องพบแพทย์เป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามดูว่าไม่มีเนื้องอกกำเริบหรือกลับเป็นใหม่
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #261 เมื่อ: มกราคม 11, 2008, 06:21:16 PM »

มะเร็งไต
     อุบัติการณ์พบว่า ในปี 1990 มีผู้ป่วยถูกวินิจฉัยเป็นมะเร็งของไตในประเทศไทย 462 ราย (ชาย 245 ราย, หญิง 217 ราย) และในปี 1995 ผู้ป่วยถูกวินิจฉัยเป็นมะเร็งของไตที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 10 ราย (ชาย 6 ราย, หญิง 4 ราย) ซึ่งอายุโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยอยู่ระหว่าง 50-60 ปี, พบผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 40 ปีน้อย

ปัจจัยเสี่ยง
การสูบบุหรี่
กลุ่มโรคบางโรค เช่น von Hippel-Lindau, Tuberous sclerosis
โลหะหนัก เช่น แคดเมียม, ตะกั่ว
รังสีจากสาร Thoratrast
การรับประทานวิตามินเอน้อยเกินไป
อาจจะมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงที่ Eshort arm of chromosome 3(3p)

อาการและอาการแสดง
     อาการที่พบบ่อยเรียงตามลำดับ คือ ปัสสาวะเป็นเลือด (56%), ปวด (38%), คลำได้ก้อน (36%), น้ำหนักลด และอ่อนเพลีย (27%), ไข้ (11%), พบโดยบังเอิญจากการตรวจเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ (6%) อาจจะพบอาการเนื่องจากการกระจายของมะเร็งไปที่ตำแหน่งอื่น เช่น การกระจายของมะเร็งไปที่ปอด, กระดูก, ตับ, สมอง และตำแหน่งอื่นซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก ได้แก่ผิวหนัง, ถุงน้ำดี, iris, epididymis, corpus cavernosum อาการเนื่องจาก Paraneoplastic syndrome, ประมาณ 30% ของผู้ป่วยจะมีอาการของ Paraneoplastic syndrome ได้แก่Eanemia, erythrocytosis, thrombocytosis, hypertension, hypercalcemia, gynecomastia, Cushing's syndrome, nephrotic syndrome, amyloidosis, polymyositis, dermatomyositis and hepatic dysfunction without metastases (Stauffer's syndrome)

การวินิจฉัย
     การตรวจเพื่อการวินิจฉัย อาจทำได้โดยการตรวจปัสสาวะซึ่งจะพบเม็ดเลือดแดง อาจพบเซลล์ผิดปกติอื่นๆ การตรวจเอ็กซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะโดยการฉีดสารทึบรังสี เข้าทางหลอดเลือดดำ ( Intravenous pyelography หรือ IVP ), การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ( CT scan ) , การตรวจด้วยอุลตราซาวนด์ จนถึงเอมอาร์ไอ ( Magnetic resonance imaging ) ซึ่งจะเห็นเป็นก้อนเนื้อ หรืออาจมีลักษณะเป็นซิสต์ที่บริเวณไต

การพยากรณ์โรค
     สำหรับการพยากรณ์โรคนั้น ผลการรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะโรค โดยหากอยู่ในระยะที่ 1 คือ ก้อนเนื้องอกอยู่เฉพาะในไต จะมีอัตราการอยู่รอดที่ 5 ปีถึงร้อยละ 95 แต่จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 18 ในระยะที่ 3 คือมีการลุกลามในหลอดเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง

การรักษา
     การรักษาโรคมะเร็งไต ยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะมักตรวจพบช้า การรักษาที่ใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดเพื่อเอารอยโรคออก ซึ่งจะได้ผลดีเฉพาะในรอยโรคขนาดเล็กและยังไม่มีการลุกลาม การฉายรังสีและเคมีบำบัด เป็นเพียงการรักษาเสริมเพื่อให้การควบคุมโรคดีขึ้น หรือเป็นการบรรเทาอาการใน ระยะลุกลามหรือแพร่กระจาย
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #262 เมื่อ: มกราคม 14, 2008, 12:05:59 PM »

มะเร็งกระดูก
     เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยมาก แต่ถ้าเกิดเป็นแล้วอาการมักจะรุนแรง และกระจายไปสู่อวัยวะอื่นได้รวดเร็วมาก ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุต่ำกว่า 35 ปี โดยเฉพาะในช่วงอายุ 10-20 ปี พบได้มากที่สุด

สาเหตุ
     ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่มีสาเหตุบางประการซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดมะเร็งของกระดูกได้ เช่น มะเร็งของกระดูกมักเป็นหลังจากกระดูกได้รับอันตราย เช่น หกล้มกระแทกถูกกระดูกบริเวณนั้นมาก่อน พอมาเอกซเรย์ก็จะพบว่าเป็นมะเร็งของกระดูก ซึ่งเชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงมาก่อนแล้ว แต่ยังไม่มีอาการอะไรแสดง ออกมา หรือในรายผู้ที่ได้รับสารกัมมันตรังสีบางอย่าง เช่น เรเดียม สตรอนเซียม จะมีโอกาสเป็นมะเร็งของกระดูกได้มากกว่าคนธรรมดา เป็นต้น

อาการ
     จะพบว่ามีก้อนแข็ง หรือปุ่มยื่นออกมาจากกระดูก และจะไม่เจ็บในระยะแรก ก้อนจะโตเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดอาการปวดกระดูก ผิวหนังที่หุ้มกระดูกบริเวณที่เป็นมะเร็งจะบวมขึ้น ตึง เส้นเลือดรอบ ๆ จะโป่งพอง และมีความร้อนสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ บางรายเมื่อเป็นมากขึ้น จะตามมาด้วยอาการกระดูกหักแตกได้ง่ายจากการกระทบกระเทือนเพียงเบา ๆ เล็กน้อย

การวินิจฉัย
     แพทย์จะตรวจร่างกายอย่างละเอียด มักต้องอาศัยเอกซ์เรย์ร่วมด้วย บางรายแพทย์อาจตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูทาง พยาธิวิทยา เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องแม่นยำ และวางแผนการรักษาต่อไป โดยสังเกตจากอาการดังกล่าว

ถ่ายภาพเอกซเรย์
ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค

การรักษา
     โดยทั่วไปอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก อาจใช้การฉายแสง หรือยาเคมีบำบัดร่วมด้วยในบางราย ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษา การผ่าตัด โดยตัดเอากระดูกชิ้นที่เป็นมะเร็งออกทั้งอัน เช่น ผ่าตัดแขน หรือขาทิ้ง หรือตัดกระดูกขากรรไกรออกแล้วทำศัลยกรรมตกแต่งภายหลัง การรักษาด้วยรังสี หรือให้ยาเคมี เป็นวิธีรักษาในรายที่เป็นมะเร็งบริเวณกระดูก ซึ่งไม่สามารถตัดได้ เช่น มะเร็งของกระโหลกศีรษะหรือในราย ที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นเป็นการรักษาเพื่อประคับประคอง ทุเลา ความเจ็บปวด ลดขนาดของมะเร็งลง การรักษาโดยการผสมผสานกันหลาย ๆ วิธี เช่นการผ่าตัดร่วมกับฉายรังสี หรือการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมี ทั้งนี้ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะ พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

การป้องกัน
      เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งกระดูก การป้องกันที่สามารถทำได้คือ การป้องกันสาเหตุเสริม ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคมะเร็งกระดูก คือ ระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดกับกระดูก เช่น หกล้ม การเล่นกีฬา ฯลฯ พยายามหลีกเลี่ยงหรือหาทางป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสีต่าง ๆ
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
CT_Pro4
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 537
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4869



« ตอบ #263 เมื่อ: มกราคม 14, 2008, 08:21:32 PM »

...พี่ RroamD มีเรื่องดีๆ มาฝากพวกเราเสมอ ขอบคุณครับ...  ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า

Every problem contains the seeds of its own solution.- Stanley Arnold
หินเหล็กไฟ
ถึงตายไปก็ช่างมัน...ขอให้ชีวิตยังอยู่ก็พอ..
Hero Member
*****

คะแนน 1319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12901



« ตอบ #264 เมื่อ: มกราคม 14, 2008, 09:12:05 PM »

ขอให้หายไวๆนะครับ เอาใจช่วยครับ
บันทึกการเข้า

[img]http://i7.tinypic.com/333hiqw.jpg[/img
หินเหล็กไฟ
ถึงตายไปก็ช่างมัน...ขอให้ชีวิตยังอยู่ก็พอ..
Hero Member
*****

คะแนน 1319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12901



« ตอบ #265 เมื่อ: มกราคม 14, 2008, 09:22:48 PM »

อ้าวพอผมมาหลุดเลย ตกใจ ตกใจ
บันทึกการเข้า

[img]http://i7.tinypic.com/333hiqw.jpg[/img
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #266 เมื่อ: มกราคม 15, 2008, 02:40:24 PM »

ขอให้หายไวๆนะครับ เอาใจช่วยครับ

ตอนนี้ใกล้จะเป็นปกติแล้วครับ มีแต่ความรู้สึกตึงๆ ที่ท้องน้อยด้านขวาเพราะมีแป้นกาวสำหรับติดถุงปัสสาวะอยู่ครับ
เดือนหน้าก็จะได้รับการตรวจละเอียดตามที่ได้เรียนให้ทราบเป็นครั้งแรกหลังจากผ่าตัดครับ
ขอบคุณครับพี่

มะเร็งกล่องเสียง
     พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิงด้วยอัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง เป็น 10 ต่อ 1 ซึ่งพบประมาณ 2.8% ของมะเร็งทั้งหมดโดยจะพบบ่อยในผู้สูงอายุ อายุเฉลี่ยประมาณ 50-65 ปี

สาเหตุ
     พบว่าสาเหตุสำคัญที่บ่งชี้ได้ชัดเจน คือ การสูบบุหรี่ และจะพบมากขึ้นในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
การสูบบุหรี่จัด
การดื่มสุราเป็นประจำ
เคยได้รับรังสี หรือเคยได้รับการฉายแสงบริเวณคอ เป็นต้น
อาการแสดง
เสียงแหบเรื้อรัง
กลืนอาหารลำบาก สำลัก
มีเสมหะปนเลือด
หายใจขัด ลำบาก
มีก้อนโตที่คอ
เจ็บคอเรื้อรัง มีความรู้สึกเหมือนก้างติดคอ

การวินิจฉัย
     สำหรับการวินิจฉัย อาจทำได้โดยวิธีการดังนี้ คือ

การใช้กระจกส่องลงไปตรวจที่กล่องเสียง เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกบริเวณกล่องเสียงหรือไม่
การส่องกล้อง และการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิสภาพ
การตรวจเลือด
การเอกซ์เรย์ 5.
การตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา
การผ่าตัด
รังสีรักษา
เคมีบำบัด
การรักษาแบบผสมผสาน

ข้อควรปฏิบัติและป้องกัน
     ข้อควรปฏิบัติและป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ

งดเว้นการดื่มสุราและสูบบุหรี่
รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง อย่าปล่อยให้เป็นหวัดหรือเจ็บคอเรื้อรังอยู่บ่อย ๆ
ถ้ามีอาการเจ็บคอเรื้อรัง รู้สึกเหมือนมีก้างปลาติดคออยู่เกือบตลอดเวลา หรือมีเสียงแหบ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัด
เมื่อมีอาการเสียงแหบเกินกว่า 2 สัปดาห์ โดยเฉพาะเมื่อไม่มีอาการผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ อาการไอ และเจ็บคอ ควรพบแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับหู คอ จมูก หรือแพทย์ผู้ชำนาญทางโรคมะเร็ง เพื่อส่องตรวจดูในคอบริเวณกล่องเสียง ไม่ใช่เพียงการตรวจคอตามปกติ
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #267 เมื่อ: มกราคม 17, 2008, 11:19:32 AM »

มะเร็งต่อมธัยรอยด์
     มีลักษณะเหมือนผีเสื้ออยู่ที่คอใต้ลูกกระเดือก ขนาด 1-2 เซนติเมตร ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เพื่อควบคุมการเผาผลาญของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ระดับไขมันในเลือด รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึก

อาการและอาการแสดง
     ผู้ป่วยมะเร็งต่อมธัยรอยด์ มักจะมาพบแพทย์ด้วยเรื่อง ก้อนที่คอโดยที่ไม่มีอาการปวด แต่ก็มีบางรายที่มาด้วยเรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต หรืออาการเสียงแหบเนื้อจากก้อนไปกดเส้นประสาท ดังนั้นมะเร็งต่อมธัยรอยด์ในระยะแรก มักไม่มีอาการ จะพบเพียงก้อนที่ต่อมธัยรอยด์ ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของลำคอเคลื่อนขึ้นลงตามการกลืนเท่านั้น บางรายจะมีก้อนอยู่นานหลายปีก่อนที่จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะลุกลามอาจพบก้อนบริเวณด้านข้างลำคอ ด้วย ซึ่งเกิดจากมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้อาจพบมะเร็งแพร่กระจายไปที่กระดูก ทำให้ กระดูกหัก หรือมีก้อนขึ้นตามกระดูกในที่ต่างๆ เช่น กะโหลกศีรษะ ไหปลาร้า กระดูกซี่โครง กระดูกเชิงกราน เป็นต้น อาจพบมีอาการเสียงแหบ หรือกลืนลำบาก

การวินิจฉัยแยกโรค
     การตรวจร่างกาย ไม่สามารถแยกระหว่างมะเร็งและเนื้องอกธรรมดาต้องใช้การตรวจพิเศษ ดังนี้คือ

การตรวจธัยรอยด์สแกน (thyroid scan) เพื่อตรวจต่อมธัยรอยด์
การเจาะชิ้นเนื้อต่อมธัยรอยด์ เพื่อส่องกล้องจุลทรรศน์ โดยการใช้เข็มเจาะดูดทั้งเนื้อและน้ำส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
การได้ชิ้นเนื้อจากการผ่าตัดมาพิสูจน์
ปัจจัยเสี่ยง
ได้รับการฉายรังสีในบริเวณคอมาก่อน
มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งชนิดนี้

การรักษา
     การรักษาขึ้นกับชนิดของเนื้องอก โดยหากผลการทำสแกน (scan) พบว่าเป็นชนิด cold nodules และผลชิ้นเนื้อ สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง การรักษาต้องตัดผ่าตัดเอาก้อนนั้นออก หากการตรวจพบว่าเป็นชนิด warm หรือ hot nodule การรักษาอาจจะให้แค่ยารับประทาน พวกเนื้องอกธรรมดา และได้ยาฮอร์โมนธัยรอยด์รักษา ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจซ้ำทุก 6 เดือน หากก้อนไม่โตขึ้น ก็ไม่ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม แต่หากก้อนใหญ่ขึ้น ก็พิจารณาผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนหลายก้อน และมีขนาดของ ต่อมธัยรอยด์โตมาก ต้องรักษาโดยการผ่าตัด

      จึงสรุปได้ว่า การผ่าตัดเป็นการรักษาหลัก หากเป็นมะเร็งชนิดที่แพร่กระจาย ก็อาจจะต้องต่อมตัดธัยรอยด์ทิ้งทั้งหมด แต่หากเป็นชนิดที่ไม่แพร่กระจาย อาจจะตัดเนื้อต่อมธัยรอยด์บางส่วนออก รวมถึงการให้ไอโอดีน 131

     มะเร็งต่อมธัยรอยด์ จัดเป็นมะเร็งที่ได้ผลดีในการรักษา หากเป็นมะเร็งในระยะแรก สามารถใช้การผ่าตัดรักษา และตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิต ...หากมะเร็งเป็นในระยะลุกลามมักจะต้องใช้การผ่าตัดร่วมกับการกินสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 และตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิตนั่นเอง

การพยากรณ์โรค
   
มะเร็งต่อมธัยรอยด์ จัดเป็นมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคดีมากที่สุดอันดับ 1 ในมะเร็งทั้งหลาย ในผู้ป่วยที่เป็นไม่มาก และได้รับการรักษาที่ถูกต้องสามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรคอีก10-20 ปี สูงถึง 80-90%
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #268 เมื่อ: มกราคม 20, 2008, 10:10:34 AM »

มะเร็งปอด
     
     เป็นมะเร็งที่พบมากในประเทศไทย โดยพบมากเป็นอันดับ 2 ในชาย อันดับ 4 ในหญิง

สาเหตุของมะเร็งปอด
     สารก่อมะเร็งที่สำคัญที่สุด คือ โพลีนิวเคลียร์ อโรมาติค ไฮโดรคาร์บอน (polynuclear aromatic hydrocarbon) ในบุหรี่ ผู้ที่มีความเสี่ยงอีกกลุ่มก็คือ ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องสูดดมฝุ่น ควัน สารระเหย หรืออากาศที่ไม่สะอาดอยู่เป็นประจำ รวมถึงผู้ที่เคยเป็นมะเร็งบริเวณ หู คอ จมูก มีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากเช่นกัน

อาการและอาการแสดง
     ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค ทั้งรอยโรคปฐมภูมิและตำแหน่งที่มีการแพร่กระจาย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง รวมถึงการกระจายไปในตำแหน่งที่ห่างไกล...ผู้ป่วยบางรายไม่มีอาการ แต่อาการที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ ไอเป็นเลือด เสียงผิดปกติขึ้นภายในปอด เช่น เสียงวี้ดซิ่ง (wheezing) เสียงสไตรดอร์ (stridor) รวมถึงเกิดภาวะปอดแฟบ (atelectasis)

วิธีการตรวจวินิจฉัย
การวิเคราะห์ขั้นต้นที่สำคัญที่สุด คือ เอกซเรย์ปอด ..
การซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การตรวจเสมหะ
ภาพเอกซเรย์เพิ่มเติม
การตัดชิ้นเนื้อบริเวณต่อมน้ำเหลือง (Lymph node biopsy) ไปส่งตรวจทางพยาธิ
การทำสแกน (scan)

การรักษา
     การรักษามะเร็งปอดมีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ คือ การผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด ซึ่งอาจใช้ร่วมกัน

การผ่าตัด (Surgery) ควรทำเฉพาะในรายที่คาดว่ายังมีหวังตัดมะเร็งออกได้หมด และปอดที่เหลืออยู่ยังเพียงพอ
รังสีรักษา หรือการฉายแสง (Radiation therapy) ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ผ่าตัดไม่ได้ และในรายที่ผ่าตัดแล้วแต่ตัดมะเร็งออกไม่หมดหรือคาดว่ามะเร็งจะงอกขึ้นมาอีก
เคมีบำบัด (Chemotherapy) มีบทบาทสำคัญในการรักษามะเร็งปอด ในปัจจุบันนิยมใช้ยาหลายตัวสลับกันเป็นระยะ (cyclical treatment) เพราะได้ผลดีกว่าการใช้ยาตัวเดียว ผลการรักษามักจะดีในผู้ป่วยที่สภาพร่างกายสมบูรณ์และมีมะเร็งในร่างกายน้อย ยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง
การพยากรณ์โรค (Prognosis)
     มะเร็งปอดมีการพยากรณ์โรคไม่ดี เพียงประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยทั้งหมดมีโอกาสรอดชีวิตถึง 5 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งปอดสามารถทำผ่าตัดได้ และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับการผ่าตัด สามารถทำ ให้การรักษาแบบประคับประคองต่อได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ (ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยทั้งหมด) มีโอกาสอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 30
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #269 เมื่อ: มกราคม 20, 2008, 08:46:37 PM »

ดีใจด้วยครับที่ดีขึ้น    หาหมอตามนัดด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
หน้า: 1 ... 15 16 17 [18] 19 20 21 ... 82
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 22 คำสั่ง