เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 04:37:11 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 16 17 18 [19] 20 21 22 ... 82
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ในเมื่อใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้ ฝ่ายหนึ่งบาดเจ็บอีกฝ่ายหนึ่งกลับมาอีกครั้ง  (อ่าน 226775 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 29 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #270 เมื่อ: มกราคม 21, 2008, 06:25:03 PM »

ดีใจด้วยครับที่ดีขึ้น    หาหมอตามนัดด้วยนะครับ

ปลายเดือนนี้ตรวจอวัยวะส่วนบนของท้องทั้งหมดด้วยอัลตร้าซาวด์
ต้นเดือนหน้าเจ็บข้อพับแขนขวาเพราะเจาะเลือด
ฉายรังสี X ผ่านปอดลงฟิล์มด้วยครับ
ขอบคุณครับพี่



มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
     โดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนันฮ๊อดกิ๊น (Non-Hodgkin'S Lymphoma : NHL) พบได้ในผู้ใหญ่ และพวกติดเชื้อโรคเอดส์ ซึ่งในประเทศไทยจะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้มากที่สุด
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮ๊อดกิ๊น ( Hodgkin's disease : HD) ซึ่งมักมีอาการร่วมคล้าย ๆ กัน คือ มีต่อมน้ำเหลืองโตเป็นหลัก แต่ชนิด Non-Hodgkin'S Lymphoma (NHL) อาจมีก้อนโตที่อวัยวะอื่น ๆ ได้บ่อยกว่า เช่น ลำไส้ , ปอด , สมอง เป็นต้น ทั้งสองชนิดอาจมีตับม้ามโตได้จากมะเร็งไปแทรกในอวัยวะ
     
สำหรับอาการที่สำคัญของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้แก่

ต่อมน้ำเหลืองโต หรือมีก้อนโตเร็ว ไม่เจ็บบริเวณคอ ขาหนีบ รักแร้ นานกว่า 3 สัปดาห์
ปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง
แผลเรื้อรังที่กระพุ้งแก้ม โพรงจมูก รักแร้
มีก้อนที่เต้านม
เลือดออกทางช่องคลอด

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
     ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สำหรับหลักการรักษา คือ การรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีรักษา และการผ่าตัด กล่าวโดยสรุป มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่แรก โดยจะพบว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮ๊อดกิ๊น สามารถรักษาให้หายได้โดยง่ายด้วยเคมีบำบัด หรือร่วมกับการฉายแสง สำหรับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนันฮ๊อดกิ๊น มีหลายแบบทั้งแบบโตช้า หรือแบบโตเร็ว โดยที่แบบโตช้า อาจไม่ต้องรักษา ถ้าไม่มีอาการ หรืออาจให้ยาเคมีบำบัดขนาดอ่อน ๆ หรือฉายแสง เพื่อควบคุมการเติบโตของเนื้องอก ถ้าก้อนโต กดอวัยวะอื่น สำหรับแบบโตเร็ว ถ้าไม่รักษาจะมีอันตรายถึงแก่ชีวิตอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องได้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้ง 2 ชนิด ถ้ารักษาแล้วตอบสนองไม่ดี อาจพิจารณาทำการปลูกถ่ายไขกระดูก

การพยากรณ์โรค
     มีปัจจัยบางประการ สัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย ได้แก่

ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ขอบเขตการแพร่กระจายของโรค (tumor burden) ผู้ป่วยที่อยู่ในขั้นการดำเนินโรคที่สูง มักจะมีการแพร่กระจายไปที่ไขกระดูกหรือระบบประสาทส่วนกลางตั้งแต่ต้น ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี
ระดับสารบางอย่างที่เซลล์มะเร็งปล่อยออกมา หรือสะสมในเลือดเมื่อเซลล์มะเร็งตาย มีความสัมพันธ์กับขอบเขตการแพร่กระจายของโรคด้วย ดังนั้นผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนันฮ๊อดกิ๊น จะพยากรณ์โรคไม่ดี ถ้าตรวจเลือดพบระดับ serum LDH เกิน 1,000 U/L, soluble interleukin-2 receptor (SIL-2R) เกิน 1,000 U/ml, และ uric acid เกิน 7.1 mg/dl เป็นต้น

ลักษณะทางจุลกายวิภาคศาสตร์ของเนื้อเยื่อ (histology) ของก้อนมะเร็งมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรค อยู่บ้าง แต่ยังไม่สำคัญเท่ากับยาเคมีบำบัดที่ใช้
ปัจจัยที่สำคัญมาก คือ ชนิดของเคมีบำบัดและความเข้มข้น (dose intensity) การใช้ยาขนาดสูงในระยะเวลาสั้นจะได้ผลดีกว่า
อายุ เช่น เด็กเล็กมีพยากรณ์โรคดีกว่าเด็กโต หรือผู้ใหญ่
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #271 เมื่อ: มกราคม 22, 2008, 12:27:47 PM »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว
     
     เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสร้างเซลล์เม็ดเลือดผิดปกติในไขกระดูก พบว่าเซลล์เม็ดเลือดจะเจริญเติบโตนอกเหนือการควบคุมของร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการตับและม้ามโตร่วมด้วย

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด
     มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ ลิมโฟไซม์ (lymphocyte) และไมอีลอยด์ (myeloid) และแบ่งการดำเนินของโรคเป็น 2 ชนิดเช่นกัน คือ ชนิดเฉียบพลัน (acute) โรคเกิดเร็ว หรือดำเนินเร็ว โดยที่มีเซลล์ตัวอ่อน (blast cell) จำนวนมาก ส่วนชนิดเรื้อรัง (chronic) โรคจะดำเนินช้า เซลล์ตัวอ่อนไม่มาก ซึ่งสามารถแบ่งย่อยอย่างละเอียดออกได้เป็นดังนี้คือ

Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte มักพบในเด็ก
Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่

สาเหตุของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
     สรุปสาเหตุที่อาจทำให้เกิดมะเร็ง คือ

สารเคมีที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของยีน และข้อมูลพันธุกรรมภายในเซลล์ (Chemical carcinogens)
รังสี (Ionizing radiation) ทำให้สารพันธุกรรม คือ ดีเอ็นเอ (DNA) เกิดการแตกหัก จึงอาจทำให้เกิดข้อมูลผิดพลาดในระหว่างการซ่อมแซมเส้นดีเอ็นเอ
ความผิดพลาดในการสร้างโครโมโซม (Chromosomal aberration) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวตามปกติ
ไวรัสบางชนิด (Viruses ) ทำให้เกิดการสอดแทรกของยีนของไวรัสไปในระหว่างยีนต่างๆ ของเซลล์เม็ดเลือดขาวจึงทำให้ข้อมูลทางพันธุกรรมผิดปกติไป

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด
การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่นระเบิดปรมาณู
การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน
ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีเช่น benzene

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือด
     อาการต่าง ๆ เกิดจากเม็ดเลือดเสียหน้าที่เช่น เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ผู้ป่วยจะมีการติดเชื้อง่าย มีไข้ เซลล์มะเร็งมีมากจะทำให้เม็ดเลือดแดง และเกร็ดเลือดมีน้อย ทำให้เกิดอาการซีดและเลือดออกง่าย นอกจากนี้ยังเกิดอาการต่าง ๆ ตามที่เซลล์มะเร็งไปอยู่ เช่น ปวดศีรษะ

สรุปอาการที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
ไข้หนาวสั่น บางครั้งเหมือนหวัด
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
มีการติดเชื้อบ่อย
บวมและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม
เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง ไรฟัน ตา
ปวดกระดูก

วิธีการรักษา
เคมีบำบัด (Chemotherapy) สามารถให้ได้ทั้งการฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าทางไขสันหลัง
รังสีรักษา (Radiotherapy) สามารถให้ได้ 2 กรณี คือ ให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่น ม้าม อัณฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัว เพื่อเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone marrow transplantation) โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสี เพื่อทำลายเซลล์ หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาล จนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้
การสร้างภูมิคุ้มกัน (Biological therapy) โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด
การรักษาอื่นๆ ที่จำเป็น.. เนื่องจากการรักษามะเร็งเม็ดเลือดมีโรคแทรกซ้อนมาก ดังนั้นการรักษาอื่น ๆก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ป่วยอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อง่าย ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีคนมากโดยเฉพาะช่วงที่เกิดการระบาดของโรค ถ้าได้รับการติดเชื้อที่รุนแรง จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotic)
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #272 เมื่อ: มกราคม 24, 2008, 12:16:39 PM »

มะเร็งต่อมน้ำลาย
     บริเวณเพดานปาก เป็นเนื้องอกของต่อมน้ำลายบ่อยที่สุด และมีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูง

อาการและธรรมชาติของโรค
     ต่อมน้ำลายใต้หู (parotid glands) ต่อมพาโรติก หรือต่อมน้ำลายใต้หู เป็น 1 ในจำนวน 3 ต่อมน้ำลายที่มีอยู่ในร่างกายคน ต่อมพาโรติกเป็นน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ตรงกกหูด้านล่าง ไม่ติดกับกระดูกขากรรไกรมีท่อน้ำลายเรียกว่า Stensen's ducts มาเปิดเข้าด้านในของแก้ม บริเวณฟันกรามบนซี่ที่ 2 ต่อมน้ำลายชนิดนี้ประกอบด้วย เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างน้ำลาย ถ้าต่อม นี้อักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียกว่า คางทูม (Mump)

การวินิจฉัยโรค
     ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ก็คือ การทำ Biopsy หรือการตัดชิ้นเนื้อนั้นมาตรวจ

การรักษา
     วิธีการรักษามักจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ยกเว้นในกรณีที่ก้อนเนื้อนั้น มีขนาดใหญ่มากหรือตำแหน่งของก้อนเนื้อนั้นอยู่ชิดกับกระดูกขากรรไกร แพทย์ผู้รักษาจึงจะใช้วิธีการฉายรังสี

การฉายรังสีสำหรับมะเร็งต่อมน้ำลาย มีข้อบ่งชี้ ดังนี้คือ
มะเร็งชนิด High grade
มะเร็งที่ลุกลามไปเนื้อเยื่อข้างเคียง
มะเร็งลามไปต่อมน้ำเหลือง
Recurrence หลังผ่าตัด
มะเร็งลุกลามไปที่ deep lobe ของต่อม parotid
ผ่าตัดออกไม่หมด
     
สำหรับวิธีการให้เคมีบำบัดนั้น จะใช้สำหรับรายที่มีการแพร่กระจายของโรค ในมะเร็งชนิด Adenocarcinoma
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
Choltit
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 143
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16292



« ตอบ #273 เมื่อ: มกราคม 25, 2008, 11:35:32 AM »

ขอบคุณครับ  ไม่ทราบว่าพี่ RroamD เช้านี้เป็นอย่างไรบ้าง
กิจวัตรประจำวันตอนนี้เป็นอย่างไรครับ  เสาร์-อาทิตย์ลูกสาวอยู่ด้วย ผมว่าช่วยได้มากเลย
บันทึกการเข้า

RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #274 เมื่อ: มกราคม 26, 2008, 10:50:20 PM »

ขอบคุณครับ  ไม่ทราบว่าพี่ RroamD เช้านี้เป็นอย่างไรบ้าง
กิจวัตรประจำวันตอนนี้เป็นอย่างไรครับ  เสาร์-อาทิตย์ลูกสาวอยู่ด้วย ผมว่าช่วยได้มากเลย


ช่วงเช้าบรรยากาศตอนนอนอยู่ที่ห้องพิเศษของ รพ. ต่างกับการพักฟื้นที่บ้านมากครับ
ช่วงสองเดือนหลังผ่าตัดจนถึงวันนี้แทบจะไม่ได้ตื่นเช้าอีกเลยเพราะร่างกายเริ่มเข้าที่ น้ำหนักเริ่มขึ้นมาเรื่อยๆ คืนไหนนอนดึกก็จะตื่นสายเป็นประจำเหมือนเดิม
กิจวัตรประจำวันก็เหมือนเดิม ไปทำงานแล้วเมื่อก่อน จันทร์-เสาร์   เจริญอาหารแต่ต้องงดของมันและรสจัด ตอนนี้เพิ่มวันหยุดเป็น เสาร์-อ่าทิตย์
ผมดีใจที่ได้ลูกสาวคนนี้เพราะคอยดูแลผมได้ตั้งแต่ไปเยี่ยมผมตอนโรงเรียนเลิกทุกวัน วันศุกร์-เสาร์ก็นอนค้างเป็นเพื่อนผมกับแฟนที่ รพ. กลับมาบ้านแล้วก็คอยเตือนเรื่องกินยามื้อเย็น
ยิ่งเวลาผมทำความสะอาดส่วนนี้ของท้องด้านขวาด้วยแล้ว

จะมาช่วยนำสำลีฆ่าเชื้อโรคแล้วชุบน้ำเกลือส่งให้ผม บางทีก็ลงมือเช็ดทำความสะอาดให้เพราะเคยเห็นแฟนผมทำให้ดู
อีกสองเดือน 9 ขวบเต็มครับ


ขอบคุณพี่ Choltit (พี่อ๋อง) ครับ
ด้วยความเคารพ
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #275 เมื่อ: มกราคม 29, 2008, 12:18:38 PM »

มะเร็งต่อมน้ำลาย
     บริเวณเพดานปาก เป็นเนื้องอกของต่อมน้ำลายบ่อยที่สุด และมีโอกาสเป็นมะเร็งได้สูง

อาการและธรรมชาติของโรค
     ต่อมน้ำลายใต้หู (parotid glands) ต่อมพาโรติก หรือต่อมน้ำลายใต้หู เป็น 1 ในจำนวน 3 ต่อมน้ำลายที่มีอยู่ในร่างกายคน ต่อมพาโรติกเป็นน้ำลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ตรงกกหูด้านล่าง ไม่ติดกับกระดูกขากรรไกรมีท่อน้ำลายเรียกว่า Stensen's ducts มาเปิดเข้าด้านในของแก้ม บริเวณฟันกรามบนซี่ที่ 2 ต่อมน้ำลายชนิดนี้ประกอบด้วย เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างน้ำลาย ถ้าต่อม นี้อักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียกว่า คางทูม (Mump)

การวินิจฉัยโรค

     ทางเดียวที่จะรู้ได้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือไม่ ก็คือ การทำ Biopsy หรือการตัดชิ้นเนื้อนั้นมาตรวจ

การรักษา
     วิธีการรักษามักจะใช้การผ่าตัดเป็นหลัก ยกเว้นในกรณีที่ก้อนเนื้อนั้น มีขนาดใหญ่มากหรือตำแหน่งของก้อนเนื้อนั้นอยู่ชิดกับกระดูกขากรรไกร แพทย์ผู้รักษาจึงจะใช้วิธีการฉายรังสี

การฉายรังสีสำหรับมะเร็งต่อมน้ำลาย มีข้อบ่งชี้ ดังนี้คือ
มะเร็งชนิด High grade
มะเร็งที่ลุกลามไปเนื้อเยื่อข้างเคียง
มะเร็งลามไปต่อมน้ำเหลือง
Recurrence หลังผ่าตัด
มะเร็งลุกลามไปที่ deep lobe ของต่อม parotid
ผ่าตัดออกไม่หมด
     สำหรับวิธีการให้เคมีบำบัดนั้น จะใช้สำหรับรายที่มีการแพร่กระจายของโรค ในมะเร็งชนิด Adenocarcinoma
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #276 เมื่อ: มกราคม 30, 2008, 12:14:34 PM »

มะเร็งในคอ

      การมีก้อนที่ลำคอ มักเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ก่อนได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเสมอ ๆ ก้อนที่คอนี้อาจเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อาจเป็นมะเร็งหรือไม่เป็นก็ได้ หรืออาจเป็นต่อมธัยรอยด์ หรือความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ

อุบัติการณ์ของโรค

      เนื้องอกของต่อมน้ำเหลือง (Lymph node tumor) พบได้ค่อนข้างบ่อยตาม internal jugalar vein และต้องให้การวินิจฉัยแยกจากกรณีดังต่อไปนี้คือ

ก้อนอื่น ๆ ของลำคอ เช่น ต่อมธัยรอยด์ thyroglossal duct cyst ต่อมน้ำลาย carotid body tumor และ branchial cyst
ต่อมน้ำเหลืองโตจากการอักเสบเฉียบพลันของจมูก ไซนัส เหงือก และฟัน
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง เช่น วัณโรค

อาการแสดง

     ผู้ป่วยส่วนมากมักมาด้วยก้อนที่ด้านข้างของคอใต้มุมกระดูกขากรรไกร อาการมักจะมีน้อย ยกเว้นถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ ซึ่งอาจไปกดเส้นประสาทหรือเส้นเลือดใกล้เคียง ก้อนมีลักษณะแข็ง จับโยกไปหน้าหลังได้ แต่โยกขึ้นลงไม่ได้ ก้อนมักจะเต้นตามจังหวะชีพจร และอาจฟังได้ bruit ถ้าเส้นเลือดแดงถูกรัดจนตีบ

การวินิจฉัย

... การวินิจฉัยก้อนในคอ ต้องอาศัยการซักประวัติและการตรวจร่างกายอย่างละเอียด รวมทั้งส่องดูจมูก ปาก และกล่องเสียง ทั้งนี้เพื่อวินิจฉัยแยกจากก้อนต่าง ๆ ใต้มุมกระดูกขากรรไกร
การตรวจด้วยอุลตราซาว์ด หรือเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) มักจะเห็นก้อนชัดเจน แต่ควรยืนยันด้วยการสวนดูหลอดเลือดที่คอ (Carotid angiogram)
การวินิจฉัยยืนยันอาศัยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา (biopsy) หรือ การเจาะดูดเซลล์ไปตรวจทางเซลล์วิทยา (aspiration cytology) ของต่อมน้ำเหลืองที่ผิดปกติ
การรักษา... การรักษาขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง พบว่า การรักษาโดยการผ่าตัด ในรายที่ทำได้ ... ในรายที่ผ่าตัดไม่ได้ หรือผ่าตัดลำบาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง อาจต้องทำ shunt ก่อนที่จะตัดก้อน เพื่อป้องกันสมองขาดเลือด

ข้อควรสังเกต

1) เนื่องจากอวัยวะส่วนใหญ่ ไม่สามารถตรวจดูได้ด้วยตา หรือการคลำ จากภายนอก ต้องอาศัยการแสดงเป็นตัวช่วย ดังนี้


เสียงแหบเกินกว่า 2 สัปดาห์ อาจมีหรือไม่มีอาการเจ็บคอร่วมด้วย จะต้องระวังโรคมะเร็งของกล่องเสียง ซึ่งพบมากในเพศชายในช่วงอายุ 50-65 ปี
กลืนอาหารลำบาก อาจมีอาการเจ็บคล้ายก้างปลาติดคอ หรือสำลักเวลากลืน การกลืนลำบากที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จากอาหารแข็งเป็นอาหารเหลว และในที่สุดแม้แต่น้ำก็กลืนไม่ได้ ซึ่งแสดงว่า อาจเป็นมะเร็งของคอหอย หรือหลอดอาหารส่วนต้น
อาจมีอาการอาเจียน หรือไอเป็นเลือดในรายที่เป็นมา

2) การมีก้อนที่ลำคอ มักเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ ก้อนที่คอนี้อาจเป็นต่อมน้ำเหลือง
ที่อาจเป็นมะเร็งหรือไม่เป็นก็ได้ หรืออาจเป็นต่อมธัยรอยด์ หรือความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและการตรวจพบอื่น ๆ ร่วมด้วย

3) ต่อไปเป็นการตรวจโดยการคลำ ซึ่งการคลำด้วยตนเองนั้นอาจจะดูเหมือนยาก แต่หากคลำไปตามตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองก็อาจทำได้โดยไม่ยากนัก ... โดยเริ่มไปตามลำดับ ตั้งแต่หลังหูเรื่อยมาตามคอและไหปลาร้า รวมทั้งหน้าหู ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้ อาจไม่ใช่จากโรคมะเร็งเสมอไป ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยคือ มีการอักเสบในช่องปากหรือลำคอ ซึ่งมักทำให้เกิดการโตของ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้ต่อขากรรไกร และที่คอตอนบน แต่จะมีลักษณะนุ่มและกดเจ็บ ในขณะที่ต่อมน้ำเหลืองในโรคมะเร็งจะค่อนข้างแข็งไม่เจ็บ และอาจยึดติดกับเนื้อเยื่อรอบข้าง หากมีความรู้สึกว่าไม่เหมือนกันทั้งสองข้าง หรือพบความผิดปกติอย่างไร ควรรีบมาปรึกษาแพทย์
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #277 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2008, 01:40:43 PM »

เมื่อวานนี้ไม่ได้เข้ามาเพราะไปทำอัลตร้าซาวด์อวัยวะส่วนบนของท้องทั้งหมดตามนัดที่อาจารย์สั่ง ครบ 3 เดือนหลังผ่าตัดแล้ว วันที่ 5 เดือนนี้เจาะเลือดและเอ๊กซเรย์ปอดแล้วดูผลอีกครั้งครับ

มะเร็งหลังโพรงจมูก

     มะเร็งหลังโพรงจมูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมด เป็นมะเร็งที่พบในกลุ่มอายุที่ค่อนข้างน้อย และมักจะอยู่ในวัยอายุประมาณ 30-50 ปี โอกาสหายของโรคมีความสัมพันธ์ชัดเจนกับระยะของโรค

สาเหตุ ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งหลังโพรงจมูก แต่มีปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเพิ่มอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูก ได้แก่


คนที่ดื่มเหล้ามาก ๆ เป็นเวลานาน
มะเร็งหลังโพรงจมูกมีความสัมพันธ์กับเชื้อชาติ คือ พบมากในประเทศจีนทางตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทย พบว่า อุบัติการณ์ของโรคนี้ในคนเชื้อสายจีน สูงกว่าคนไทย
ไวรัส Ebsuein - Barr โดยตรวจพบอนุภาคของไวรัสในเซลล์มะเร็ง และตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ในเลือดของผู้ป่วย
สารไนโตรซามีน ซึ่งพบในอาหารประเภทปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารหมักดอง
การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น สารระเหย ควันเขม่า ควันธูป และกำยาน เป็นต้น

อาการและอาการแสดง

     ส่วนใหญ่ มักพบอาการทั่ว ๆ ไป ได้แก่ มีเลือดกำเดาหรือเลือดออกในโพรงจมูก หายใจคัดจมูก แน่นจมูก ปวดหรือชาบริเวณฟันและแก้ม บางรายมีก้อนที่คอจากต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่มีโรคกระจายมา นอกจากนี้ยังพบอาการปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อหรือหูตึง ซึ่งมักเป็นข้างเดียว บางรายอาจมีอาการทางระบบประสาท คือ ตาเข บางครั้งอาจมีลักษณะบวมที่บริเวณโหนกแก้มหรือจมูก โดยอาจมีหรือไม่มีอาการเจ็บก็ได้

การวินิจฉัย

1) การตรวจร่างกาย แพทย์จะทำการตรวจบริเวณคอและศีรษะอย่างละเอียด โดยสำรวจเยื่อบุภายในโพรงจมูกด้วยกล้องส่องจมูก (Nasal speculum) และส่องหู (Otoscope) บางรายอาจต้องส่องกล้องพิเศษพร้อมตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ
2) การเอกซ์เรย์ และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ รวมถึงการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติม ช่วยในการวินิจฉัยโรคว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปบริเวณอื่น ๆ หรือไม่ เช่น กระดูก สมอง หรือตับ
3) การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา เพื่อทราบการวินิจฉัยได้แน่นอน
4) การตรวจเลือดดูค่า IgG หรือภูมิคุ้มกันต่อไวรัส Ebsuein - Barr จะช่วยในการวินิจฉัย และการติดตามภายหลังการรักษาได้เป็นอย่างดี

การรักษา

      โดยทั่วไปการรักษาหลักมักใช้วิธีการฉายรังสีที่บริเวณโพรงจมูก และที่ต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากมะเร็งบริเวณนี้ทำศัลยกรรมหรือผ่าตัดได้ลำบากมาก ซึ่งการทำการรักษาด้วยการฉายรังสีนี้จะให้ผลการรักษาที่ดีในระยะแรก ๆ ของโรค อาจรักษาให้หายขาดได้ แต่ในระยะลุกลาม อาจมีการใช้เคมีบำบัดร่วมในการรักษาด้วย ทั้งนี้เพื่อลดขนาดของก้อนลงก่อนเริ่มการฉายรังสี
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #278 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2008, 05:57:21 PM »

ตื่นนอนเวลา 6.00 น. แป้นและถุงติดหน้าท้องครบ 6 วันพอดี ได้เวลาเปลี่ยนแล้วอาบน้ำแต่งตัวไป รพ.

ออกจากบ้าน 6.45 น. นั่งแท๊กซี่เพราะที่จอดรถของ รพ. มีน้อยมาก  7.20 น. หยิบใบนัดไปลงทะเบียนที่เคาเตอร์เวชระเบียนเสร็จแล้วรอเรียกชื่อเพื่อรับใบสั่งยา

ไปตรวจปัสสาวะ เจาะเลือดตามด้วยเอ๊กซเรย์ปอด ใช้เวลาที่สองแผนก 1 ชั่วโมงเศษ แล้วกลับไปที่แผนกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ วันนี้มาเช้ามาแต่ก็ยังได้บัตรคิวเบอร์ 11

พี่พยาบาลที่แผนกแซวว่าวันนี้เช้าผิดปกติผมจึงบอกว่าไปสองแผนกมาก่อนแล้ว แกก็บอกว่าไปหาข้าวกินเพราะเพิ่งเจาะเลือด อาจารย์จะมาถึงห้องตรวจประมาณ 9.00 น.


เกาเหลาเลือดหมูเจ้าเดิมที่บางรักพร้อมน้ำกระเจี๊ยบหนึ่งขวดอิ่มท้องแล้วกลับมาที่แผนกของ รพ. เห็นอาจารย์นั่งโต๊ะตรวจคนไข้นอกแล้ว

ผมก็นั่งรอพร้อมกับผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่นัดตรวจวันนี้ เป็นเรื่องปกติที่จะได้พบผู้ป่วยทั้งหน้าเก่าและใหม่ที่พูดคุยสอบถามอาการกัน

ลุงที่ผมพบเป็นครั้งที่ 4 ตั้งแต่มาตรวจหลังผ่าตัดได้บัตรคิวเบอร์ 3 ก็ถามผมว่าวันนี้มาเร็วได้คิวเท่าไหร่ ผมบอก 11 ครับ

แกก็บอกว่าโดนแซงคิวเพราะรอผลตรวจปัสสาวะ ผมก็บอกว่าเหมือนกันครับเพราะเท่าที่ทราบผลจะส่งมาทางคอมพิวเตอร์ประมาณ 10.00 น.



ผมก็ไม่ได้เอะใจ จนพี่พยาบาลแจ้งว่าผลตรวจปัสสาวะมาที่คอมแล้ว ฟิล์มอัลตร้าซาวด์+เอ๊กซเรย์ปอด อยู่ที่ไหน Huh

โถ่...ถัง นึกว่าจะส่งมาที่แผนก ต้องลงไปตามฟิล์มด้วยตัวเองที่แผนกรังสียื่นบัตรประจำตัวผู้ป่วยให้ที่แผนกนั่งรอนานพอสมควร

ดูเวลา...11.15 น. แล้ว วันนี้จะได้ตรวจหรือเปล่าที่ช่องรับฟิล์มเรียกชื่อ ผมรีบไปรับฟิล์มแล้วกลับไปแผนกยื่นฟิล์มให้พี่พยาบาล

โอ้...เดินกลับไปอีกรอบเพราะลืมขอฟิล์มอัลตร้าซาวด์อีก Angry


ภายใน รพ. อากาศก็เย็นเพราะแอร์แต่ผมเหงื่อตกครับ

ได้ฟิล์มอัลตร้าซาวด์เรียบร้อย เข้าห้องตรวจยกมือไหว้อาจารย์...ท่านแซว...นึกว่าไม่มาซะแล้ววันนี้ บอกให้ผมนอนบนเตียง

มีแพทย์ประจำบ้านมาใหม่อีกสองท่าน อาจารย์ให้ผมปลดกางเกงแล้วอธิบายและชี้ให้ดูทวารเทียมสำหรับปัสสาวะที่หน้าท้อง

ลงจากเตียงตรวจแล้วให้ผมนั่งพร้อมหยิบ ฟิล์มอัลตร้าซาวด์+เอ๊กซเรย์ปอด



ใจผมเต้นแรงแต่ไม่ใช่เพราะเดินหลายรอบนะครับ ตื่นเต้นกับการดูและรอฟังผลครับ
อาจารย์ท่านพูดถึงการเจ็บป่วยของผมให้แพทย์ประจำบ้านฟัง การผ่าตัด CA Bladder นำฟิล์มออกมาติดบนบอร์ดข้างโต๊ะตรวจ
พูดศัพท์ทางการแพทย์ที่ผมไม่ทราบความหมายอยู่ประมาณสิบนาที แล้วถามผมว่า...ฉี่ขุ่นบ้างหรือเปล่าครับ
ผมก็ตอบว่า...ไม่มีครับ...ขอดูอีกครั้ง...แล้วก็ยิ้มพร้อมพูดว่า...ดีมากครับ

ผมถามว่า...ผลเป็นยังไงบ้างครับ 
ท่านก็บอกว่า ตอนนี้ยังไม่พบอะไรผิดปกติ Angry
ดูจากผลเลือด
ปอดก็ปกติดี
อวัยวะส่วนบนของข่องท้องทั้งหมดเป็นปกติ
แต่ต้องตรวจค่อนข้างถึ่คือทุกสามเดือนในช่วงปีนี้ครับ

ให้แพทย์ประจำบ้านเขียนเบิกอุปกรณ์ในใบสั่งยา แล้วนัดให้ผมมาตรวจอีกครั้ง 4 มีนาคม 2551

ขอบคุณพี่ๆ ที่สละเวลาอ่านครับ
ด้วยความเคารพทุกท่าน
บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
tip1976 - รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 35
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 789



« ตอบ #279 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2008, 09:03:54 PM »

น่ากลัวจังครับ
มีเจาะใส่ท่อออกจากตัวด้วย
(ไม่เคยมีประสบการณ์ในโรงพยาบาล,ไม่เคยไปเฝ้าใครในโรงพยาบาล)
บันทึกการเข้า
CT_Pro4
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 537
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4869



« ตอบ #280 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2008, 11:35:11 PM »

...ยังคอยเป็นกำลังใจให้พี่ RroamD เสมอครับ...  Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

Every problem contains the seeds of its own solution.- Stanley Arnold
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #281 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2008, 11:40:12 PM »

ยินดีกับผลการตรวจรอบสามเดือนครั้งนี้ครับพี่...

หวังว่าจะสอบผ่านอย่างนี้ไปเรื่อยๆทุกครั้งนะครับ...Cheesy
บันทึกการเข้า
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #282 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2008, 12:43:57 PM »

น่ากลัวจังครับ
มีเจาะใส่ท่อออกจากตัวด้วย
(ไม่เคยมีประสบการณ์ในโรงพยาบาล,ไม่เคยไปเฝ้าใครในโรงพยาบาล)

เป็นสิ่งน่ากลัวที่ต้องยอมรับเพราะช่วยปลดความเจ็บปวดทรมานแสนสาหัสออกจากร่างกาย
ไม่ใช่ท่อออกจากตัวแต่เป็นส่วนของลำไส้เล็กครับ Cheesy

...ยังคอยเป็นกำลังใจให้พี่ RroamD เสมอครับ...  Grin Grin Grin

เป็นกำลังใจให้พี่ CT_Pro4 ให้มีสุขภาพดีขึ้นเช่นกันครับ
ขอบคุณครับ

ยินดีกับผลการตรวจรอบสามเดือนครั้งนี้ครับพี่...

หวังว่าจะสอบผ่านอย่างนี้ไปเรื่อยๆทุกครั้งนะครับ...Cheesy

คงยังหวังอะไรแน่นอนไม่ได้นอกจากรอเวลาและผลการตรวจตามเวลาที่อาจารย์บอกไว้ อีกอย่างก็คงต้องคอยสังเกตุตัวเองด้วยน่ะครับ

เรียนถามพี่หมอ rute ครับ
เพื่อนผมเข้าทำการผ่าตัดมะเร็งทรวงอก ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ด้านขวาก่อนผมประมาณสามเดือน (กรกฎาคม พ.ศ.2550) มาถึงขณะนี้ได้ทำเคมีบำบัดมาถึงครั้งที่เจ็ดและต้องทำทั้งหมดแปดครั้งตามแผนการรักษา สุขภาพโดยทั่วไปดีทานอาหารและพักผ่อนได้เพียงแต่ผมร่วง
ที่ผมสงสัยนิดหนึ่งเท่าที่ได้คุยกันทำไมยังต้องรักษาต่อด้วยการฉายรังสีอีกสามสิบครั้งครับ Shocked

ขอบคุณพี่หมอ rute ที่ให้กำลังใจและคำปรึกษากับผมมาตลอดตั้งแต่พักฟื้นครับ
ด้วยความเคารพครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2008, 12:51:21 PM โดย RroamD » บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
pee308+รักในหลวง+
สวัสดีครับพี่
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 101
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1102



« ตอบ #283 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2008, 03:01:39 PM »

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ สู้ต่อไป ครับ

ผมเคยเข้านอน หนักๆ รพ. 3 ครั้ง รวม 65 วัน


   
บันทึกการเข้า

ทำตัวให้สบาย อย่าคิดมาก
RroamD
Colt 1911 Semi Auto & Single Action Only
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 205
ออฟไลน์

กระทู้: 4102



« ตอบ #284 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2008, 11:15:05 AM »

ขอเป็นกำลังใจให้ครับ สู้ต่อไป ครับ

ผมเคยเข้านอน หนักๆ รพ. 3 ครั้ง รวม 65 วัน


  


เป็นเพราะไม่สบายหรือเกิดอุบัติเหตุ ถ้าพอจะนำมาเล่าเพื่อเป็นวิทยาทานได้จะดีมากครับ
ขอบคุณสำหรับกำลังใจครับ รับไป 1 แต้ม Wink

รอพี่หมอ rute มาให้ความรู้เพิ่ม
ดูและอ่านกันต่อครับ

มะเร็งช่องปาก

     อวัยวะในช่องปาก อาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นปากใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และส่วนบนของลำคอ

สาเหตุ

     ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของมะเร็งช่องปาก แต่มีปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งเสริมและเพิ่มอุบัติการณ์ของมะเร็ง เช่น กินหมาก สูบบุหรี่ ดื่มสุรา รวมถึงผู้ที่มีฟันเก กดเบียดลิ้นในตำแหน่งเดิมอยู่เสมอ ๆ และผู้ที่ใช้ฟันปลอมที่หลวม ทำให้มีการกดกระแทกเหงือกจากการขยับเขยื้อนอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค

พบว่าประมาณ 90% ของผู้ป่วยมะเร็งในช่องปาก เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มสุรา
การรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่ร้อนจัดเกิน
หมากพลู พบว่าในหมากพลูนี้ จะมีสารก่อมะเร็ง ส่วนปูนที่ใช้ทานกับหมากก็จะกัดเนื้อเยื่อในช่องปาก
สุขภาพในช่องปากไม่ดี เช่น ฟันผุเรื้อรัง รวมถึงการระคายเคืองจากฟันที่แหลมคมผู้ที่ที่มีฟันแตก ฟันบิ่น ขอบฟันที่คม
แสงแดดทำให้เกิดมะเร็งที่บริเวณริมฝีปาก
โรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ซิฟิลิส วัณโรค
การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น แผลจากฟันปลอม
เคยได้รับรังสีเอกซเรย์
     
     อาการและอาการแสดง โดยมากที่พบ คือ มีก้อนหรือแผลที่ตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บในระยะแรก ๆ แต่เมื่อเป็นมากขึ้น โดยเฉพาะในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการกลืน เช่น ลิ้น เพดานปาก และในลำคอ จะมีอาการเจ็บเวลากลืน หากเป็นมะเร็งของลิ้น อาจมีอาการพูดไม่ชัด หรือแลบลิ้นได้ไม่เต็มที่

การรักษา

     การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และตำแหน่งของมะเร็ง รวมทั้งระยะของโรค สำหรับรอยโรคขนาดเล็ก อาจผ่าตัดออกได้โดยไม่ทำให้เกิดการผิดรูปของใบหน้า แต่สำหรับในบางตำแหน่ง เช่น ริมฝีปาก การใช้รังสีรักษา จะให้ผลการรักษาที่ดีเท่ากันกับการผ่าตัด แต่มีข้อดีที่เหนือกว่า คือ ยังสามารถรักษาโครงสร้างและการทำงานปกติไว้ได้ ส่วนในระยะลุกลาม จะใช้การรักษาร่วมระหว่างการผ่าตัด และการฉายรังสี ส่วนเคมีบำบัดนั้น อาจมีบทบาทร่วมในการลดขนาดก้อนที่ใหญ่มากก่อนเริ่มการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือฉายรังสี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2008, 11:18:52 AM โดย RroamD » บันทึกการเข้า

ปลายทางของการปะทะกันด้วยปืนคือเชิงตะกอนกับเรือนจำ
หน้า: 1 ... 16 17 18 [19] 20 21 22 ... 82
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 22 คำสั่ง