เรียนพี่ RroamD ครับ...
พี่ใจเย็นและอดทนดีมากครับ...
ต้องถือเป็นคนไข้ตัวอย่างครับ...
ยังเอาใจช่วยอยู่เสมอครับ...
ผมก็ีอีกคนครับ ขอให้พี่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
เข้ามาร่วมเป็นกำลังใจให้พี่ อารมณ์ดี อีกครั้งครับ...
ขอบพระคุณพี่หมอรุตมากๆ ที่ให้คำปรึกษากับผมมาตลอดหลังการผ่าตัดจนถึงทุกวันนี้ ผมใจเย็นและอดทนมากขึ้นส่วนหนึ่งจากกำลังใจของพี่หมอและพี่ๆ ทุกท่านที่เว๊บบอร์ด อวป. แห่งนี้ อีกส่วนหนึ่งจากครอบครัวและพี่น้องของผมด้วยครับ
ขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่านอีกครั้งครับ
ที่พี่เอารูปมาลง พ่อใช้มาหมดแล้วค่ะ จากที่กินไม่ได้
ต้องให้ทางอาหารทางจมูก โดยการสอดสายยางลงไป
จากนั้นร่างกายไม่รับ ต้องเปลี่ยนมาให้ทางท้องนี่แหละค่ะ
แล้วถุงนี้ก็ไว้เก็บกากอาหารที่ขับถ่าย เห็นแล้วสงสารค่ะ
ทรมาน
เป็นทางที่ผมเลือกตั้งแต่แรกเรื่องการผ่าตัดทำทวารเทียมเพื่อถ่ายปัสสาวะทางหน้าท้องแทนการทำระบบลำไส้ฝังในแทนที่กระเพาะปัสสาวะที่ถูกตัดออก ทำให้ผมไม่เครียดนักเมื่อมีอาการเลือดออกปนกับปัสสาวะอย่างที่พบอยู่เพราะอาจารย์ท่านตรวจแล้วบอกว่าไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงมาก วันที่ 29 เดือนนี้จะตรวจปัสสาวะแล้วรอดูผลอีกครั้งว่าจะต้องตรวจเพิ่มด้วยการส่องกล้องหรือไม่หลังจากที่การฉีดสีเอ๊กซเรย์ไม่พบอะไรผิดปกติครับ
ส่วนของคุณพ่อของพี่ก็เป็นการผ่าตัดใหญ่เพื่อบำบัดรักษาโรคนี้ซึ่งคุณแม่ผมไม่ได้ทำการผ่าตัดลำไส้ใหญ่แต่ใช้เคมีบำบัดได้เพียงครั้งเดียวท่านก็มีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว (อายุ 72 ปี เมื่อปี พ.ศ.2542) และจากไปหลังจากการให้เคมีสองเดือนครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
โภชนบำบัดสำหรับมะเร็งกระเพาะอาหารมะเร็งกระเพาะอาหารสามารถเกิดขึ้นที่ส่วนใดของกระเพาะอาหารก็ได้ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นเซลล์ชนิด adenocarcinoma ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก การสูบบุหรี่ การติดเชื้อ Helicobacter pyroli การมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง เพศชายจะเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า การป่วยเป็นโรคโลหิตจางชนิด Pernicious anemia Hereditary nonpolyposis (HNPCC หรือ lynch syndrome) , familial adenomatous polyposis (FAP) และโรคอ้วน เหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
อาการของโรคบางครั้งผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด หรือมีอาการท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนก็ได้ การวินิจฉัยอาจทำการส่องกล้องหรือกลืนแป้งเพื่อดูชิ้นเนื้อที่เป็นอยู่ การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อร้าย การกระจายไปอวัยวะอื่นๆ หรือไม่ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย ในหลายกรณี คณะแพทย์ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์ อายุรแพทย์โรคมะเร็ง และแพทย์รังสีรักษา ต้องปรึกษากันเพื่อวางแผนการรักษาที่ดีที่สุด
โภชนบำบัด
ข้าวแป้ง
ผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารคงต้องหันมาให้ความสำคัญต่อการควบคุมคาร์โบไฮเดรตร่วมด้วย เนื่องจากพบว่า หากคาร์โบไฮเดรตมากไปอาจทำให้เกิดผลเสียต่อโรคมะเร็งที่เป็นอยู่ได้ พลังงานจากอาหารหมู่นี้ยังคงได้รับเท่าเดิม คือ 55-60% ของพลังงานทั้งหมด แต่การได้รับนั้นควรกระจายให้มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตเท่ากันทุกมื้ออาหาร ยกเว้นในกรณีที่เพิ่งผ่าตัดกระเพาะออกไปบางส่วน ควรแบ่งมื้ออาหารและลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้น้อยเท่าที่ทำได้ เพื่อลดอาการไม่สบายท้องรวมไปถึงคลื่นไส้อาเจียน ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย วันไหนเบื่ออาหารประเภทข้าวอาจจะเปลี่ยนเป็นขนมปัง หรือก๋วยเตี๋ยวราดหน้าบ้างก็ได้
เนื้อสัตว์
การรับประทานเนื้อสัตว์มากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเนื้อสัตว์ที่ติดมันมาก หรือในกรณีที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี เช่น ในเนื้อหมูอาจจะมีไขมันอยู่เยอะ และมีการปนเปื้อนของสารเร่งเนื้อแดง ดังนั้น ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและจากแหล่งหรือร้านที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีการปนเปื้อนสารเคมี ควรได้รับโปรตีนวันละ 15% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งโปรตีนที่ดีที่สุด คือ ไข่ไก่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีกรดอะมิโนครบทุกชนิด
ไขมัน
ไขมันยังคงเป็นสิ่งที่ควรจำกัด และดูแลเป็นพิเศษ ควรงดเว้นของทอด กะทิ และอาหารอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบไขมันสูง การปรุงประกอบอาหารโดยใช้น้ำมันมะกอกจะสามารถส่งผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังมีรายงานของการรับประทานอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งจะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหาร พบว่าอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงมีข้อมูลว่าน้ำมันมะกอกให้ผลดีต่อผู้ป่วย แต่ไม่ได้หมายถึงการรับประทานไขมันมากๆ และจะส่งผลดีต่อร่างกายดังนั้นควรลดการรับประทานไขมันเท่าที่เป็นไปได้
ผัก
พืชในกลุ่มผักที่มีสาร Isoflavone มีรายงานทั้งช่วยควบคุมเซลล์มะเร็งและไม่มีผลต่อการควบคุมมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตาม สารเหล่านี้ก็ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ จึงถือว่าการรับประทานผักกลุ่มกะหล่ำ บร็อคโคลี่ ยังให้ผลดีในการต้านอนุมูลอิสระอยู่ ควรรับประทานผักให้ได้วันละ 5 ทัพพี ขึ้นไป และมีรายงานถึงเห็ดหัวลิง ว่าสามารถให้ผลดีในการลดการเกิดมะเร็งกระเพาะรวมไปถึงแผลในกระเพาะอาหารได้
ผลไม้
ผลไม้สามารถรับประทานได้ทุกชนิด แต่ให้ระมัดระวังในกรณีของการผ่าตัดกระเพาะแล้วเท่านั้น หลังจากนั้นสามารถเลือกรับประทานผลไม้ที่ไม่มีเนื้อหยาบเกินไปได้ตามต้องการ อาทิ มะละกอสุก ส้ม เป็นต้น ตัวอย่างรายการอาหารเช้า ข้าวต้มทรงเครื่อง 1 ถ้วยใส่ไก่สับ
น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว
กลางวัน ข้าวสวย 2-3 ทัพพี แกงจืดผักกาดขาวใส่อกไก่สับ
ผัดเห็ดหัวลิงน้ำมันหอย
ส้ม 1 ผล
น้ำผัก 1 แก้ว
เย็น ข้าวสวย 2-3 ทัพพี
ต้มจับฉ่ายโดยไม่ต้องนำผักไปผัดก่อนต้ม
น้ำพริกอ่องใช้เนื้อไก่สับแทนหมูบด
น้ำผลไม้ 1 แก้ว