เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 19, 2024, 05:21:27 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้รู้กฎหมายสรุป คำพิพากษาคดี ป.ต.ท. ให้หน่อย  (อ่าน 3390 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
scott
Jr. Member
**

คะแนน 5
ออฟไลน์

กระทู้: 20


« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2007, 01:28:01 PM »

ผู้รู้กฎหมายสรุป -วิเคราะห์ คำพิพากษาคดี  ป.ต.ท.   ให้หน่อย    ขยายความให้ที
       เช่นที่ว่า ให้ที่ดินทีผ่านการเวนคืน กลับมาเป็น ของแผ่นดิน   ...  ท่อก๊าซ  กลับมาเป็นของแผ่นดิน 

หรือ อะไร บ้าง 

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
BSW
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 09:08:59 AM »

ไม่ได้เป็นผู้รู้กฏหมายครับ    แต่เห็นว่า  ตั้งกระทู้นานแล้ว   จึงเอาบทความมาให้อ่านและลองพิจารณาครับ Grin Cheesy Grin




@@@@@@@@




PTT ยังลูกผีลูกคน



 

 

              วิบากกรรมยังไม่พ้นไปจาก PTT แม้ศาลฯตัดสินให้เป็นบจ.ต่อไป แต่สั่งโอนท่อก๊าซคืนให้คลังเพราะเป็นสมบัติของชาติ วงการชี้ข้อมูลยังไม่ชัด ระบุหากต้องโอนฟรีๆมูลค่าหุ้นวูบเฉียด 100 บาท แต่หากคลังจ่ายเงิน จะกระทบมูลค่าหุ้นแค่ 5 บาท เท่านั้น ด้าน "ประเสริฐ" ลั่นไม่กระทบมากอย่างที่คิด ยันยังได้สิทธิในท่อก๊าซเหมือนเดิม งานนี้ถือว่ายังยืนอยู่บนปากเหว และต้องลุ้นว่าสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร เหตุจะกระเทือนดัชนีตลาดฯตั้งแต่ 2-40 จุด


            ในที่สุดคดีประวัติศาสตร์ของประเทศไทยก็ผ่านพ้นไปด้วยดี หลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดลงมติให้ บมจ.ปตท.(PTT) ยังคงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่อไป แต่สั่งให้มีการโอนท่อก๊าซและที่ดินที่เวนคืนมากลับไปเป็นของรัฐ เนื่องจากถือเป็นสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะเป็นประเด็นที่ต้องติดต่อไปต่อการเจรจาระหว่าง PTTและ กระทรวงการคลัง ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้เองทำให้เมฆหมอกยังไม่ได้หายไปจาก PTT ไปซะทีเดียว เพราะหากเจาะลึกลงไปแล้ว จะพบว่าประเด็นการโอนท่อก๊าซให้กับกระทรวงการคลังซึ่งยังต้องอาศัยการ "เจรจา" นั้นยังเป็นประเด็นที่คลุมเครืออยู่มาก ว่าข้อสรุปจะออกมาเป็นอย่างไร เนื่องจากผลกระทบที่จะเกิดจากข้อสรุปของการเจรจาดังกล่าวจะส่งผลต่อหุ้น PTT และต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ต่างกันแบบสุดขั้ว
          
          
               การที่ตลาดหลักทรัพย์ตัดสินใจขึ้นเครื่อง SP ห้ามการซื้อขายหุ้น PTT ในช่วงวันศุกร์ที่ 14 ธ.ค. ที่ผ่านมาจึงถือเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องทีเดียว เพราะไม่อย่างนั้นจะทำให้ราคาหุ้น PTT ผันผวนมากไปตามการตีความของแต่ละค่าย แต่ละคน และย่อมส่งผลกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์โดยรวม เพราะ PTT มีมาร์เก็ตแคปคิดเป็นกว่า 16% ของตลาดหุ้นโดยรวม โดยในส่วนของนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ PTT คาดว่าตลาดหลักทรัพย์จะปลดเครื่องหมาย SP ให้ซื้อขายหุ้นได้ตามปกติในวันพุธ (19 ธ.ค.) แต่คนในวงการหุ้นต่างคาดการณ์ว่า ตลาดหลักทรัพย์น่าจะปล่อยให้ซื้อขายหุ้น PTT ได้ในช่วงบ่ายของวันอังคารหลังจากได้รับอนุมัติจากที่ประชุม ครม. เพราะตลาดหลักทรัพย์เองไม่ต้องการให้ขึ้น SP นานเกินไป เพรราะจะกระทบต่อบรรยากาศการซื้อขายโดยรวม
          

             ในส่วนของความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้จะสามารถยืนในแดนบวกได้ แต่ก็ค่อนข้างผันผวนและปิดการซื้อขายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย 3.31 จุด เท่านั้น โดยดัชนีฯปิดที่ 836.40 จุด ในช่วงที่มีการตัดสินคดี ปตท. ออกมา ตลาดหุ้นปรับตัวรับข่าวไปกว่า 10 จุด แต่สุดท้ายเจอแรงขายทำกำไรออกมา เพราะในที่สุดแล้วคดีของ PTT ก็ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นอย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าจะมากหรือน้อยเท่านั้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติแสดงยอดขายสุทธิกว่า 2,680 ล้านบาท
          

                ขั้นตอนจากนี้ไปคือการเจรจาระหว่างกระทรวงการคลัง ในฐานะเจ้าของทรัพย์สินของแผ่นดิน และยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ PTT ว่าจะตัดสินใจอย่างไรในกรณีของการโอนท่อก๊าซ และจากนั้น PTT จะต้องชี้แจงผลกระทบที่เกิดขึ้น และความชัดเจนของการสูญเสียจากการต้องโอนท่อก๊าซกลับคืนเป็นของรัฐ ตลาดหลักทรัพย์จึงจะปลดเครื่องหมาย SP ให้ซื้อขายได้ตามปกติ โดยในส่วนของกระทรวงพลังงานเตรียมที่จะเสนอเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารนี้ (18 ธ.ค.50) ในขณะที่การจัดตั้งคณะกรรมการกิจการพลังงานจะแต่งตั้งเสร็จสิ้นภายใน 120 วัน นับจากวันที่ 11 ธ.ค. ที่ พ.ร.บ. กิจการพลังงานมีผลบังคับใช้ ซึ่งหมายความว่าในอนาคตจะมีหน่วยงานรัฐเข้ามาดูแลกิจการพลังงานอย่างถูกต้อง และไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนมากเกินไป จนทำให้ประเทศชาติเสียผลประโยชน์ และยังเป็นสัญญาณว่าในอนาคตสามารถมีบริษัทอื่นๆ เข้ามาทำธุรกิจแข่งขันกับ ปตท. ได้ ในกรณีการสร้างท่อส่งก๊าซเส้นใหม่



**"ประเสริฐ" ยันกระทบมูลค่าหุ้นไม่มาก
          
        นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงข่ายท่อก๊าซและที่ดินของปตท. ตามมูลค่าตามบัญชีอยู่ที่ 100,000 ล้านบาทคิดเป็น 10% ของมูลค่าสินทรัพย์ของปตท.ที่มีอยู่ประมาณ 8-9 แสนล้านบาท โดยเบื้องต้นยังไม่ได้พิจารณาว่าจะโอนท่อส่วนไหนให้กระทรวงการคลังบ้าง ซึ่งในมูลค่าดังกล่าวมีท่อบางส่วน ซึ่งเป็นท่อทางทะเลที่ไม่ต้องรอนสิทธิ
          
        ทั้งนี้กระทรวงการคลังไม่ต้องจ่ายเงินให้ปตท. แม้ว่าบริษัทจะโอนท่อก๊าซไปให้ เนื่องจากการโอนท่อก๊าซครั้งนี้เป็นไปตามคำสั่งศาลฯ สำหรับการสร้างท่อก๊าซใหม่ในอนาคตจะต้องถูกกำกับดูแลภายใต้พ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงาน
          
          'ใจจริงก็อยากขอค่าลงทุนท่อก๊าซจากกระทรวงการคลังเหมือนกัน แต่ศาลฯสั่งให้โอนก็ต้องทำตามนั้น ส่วนการสร้างท่อก๊าซในอนาคต ต้องทำภายใต้พ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงานที่ออกมา'นายประเสริฐ กล่าว
        
            อย่างไรก็ดี ในเบื้องต้นคาดว่าจะเสียภาษีการโอนท่อก๊าซและภาษีอสังหาฯ รวมทั้งภาษีอื่นๆ สูงสุดไม่เกิน 10,000 ล้านบาท โดยโครงข่ายท่อก๊าซและที่ดินมูลค่า 100,000 ล้านบาทนั้นอาจโอนให้กระทรวงการคลังเพียงบางส่วนเท่านั้น อีกทั้งในปีนี้บริษัทฯ จะมีรายได้จากค่าผ่านท่อก๊าซ 2 หมื่นล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับยอดขายของปีนี้ที่คาดว่าจะทำได้ 1.4 ล้านล้านบาท
          
            'ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นยังไม่แน่ว่าจะลงบัญชีภายในปีนี้หรือไตรมาส 1 ปีหน้า ขึ้นอยู่กับว่าจะโอนท่อก๊าซให้คลังเสร็จเมื่อไร แต่ขอยืนยันว่าการเสียค่าใช้จ่ายในการโอนท่อก๊าซจะไม่กระทบเงินปันผลของปตท. งวดปี 50 แต่อาจกระทบรายได้ของปตท.เล็กน้อย'นายประเสริฐ กล่าว
          

ส่วนกรณีที่มีนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าภายหลังจากปตท.โอนท่อก๊าซให้คลังจะทำให้มูลค่าหุ้นลดลง 70-80 บาทนั้น
          
            นายประเสริฐ กล่าวว่า มูลค่าหุ้นของปตท. ไม่ได้ลดลงมากอย่างที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เพราะปตท.ยังดำเนินธุรกิจท่อก๊าซตามปกติ โดยทรัพย์สินยังเป็นของปตท. แต่การใช้ท่อก๊าซจะต้องขออนุญาตคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการพลังงาน
          
            'มูลค่าหุ้นที่นักวิเคราะห์ตีว่าจะหายไป 70-80 บาทนั้นเขาคงตีว่าจะเอาท่อก๊าซของปตท. ไปเป็นท่อประปา คือ ปตท.เลิกธุรกิจท่อก๊าซไปแล้ว แต่จริง ๆ ไม่ใช่ ปตท.ยังทำธุรกิจท่อก๊าซต่อได้ เอาก๊าซมาส่งตามปกติ เพียงแต่มีภาระจ่ายค่าตอบแทนให้กับกระทรวงการคลังเท่านั้น'นายประเสริฐ กล่าว
          
            หุ้น ปตท.น่าจะเปิดการซื้อขายได้ตามปกติในวันพุธหน้า (19ธ.ค.) ภายหลังจากที่ครม.มีการพิจารณาเรื่องการโอนท่อก๊าซ ค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนที่ปตท.จะดำเนินการให้กระทรวงการคลังเรียบร้อยในวันอังคาร (18 ธ.ค.)
          
            ทั้งนี้คาดว่าภายหลังจากที่ ครม.พิจารณาการโอนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังเสร็จเรียบร้อยในวันอังคารนี้ หุ้น PTT ก็น่าจะเปิดเทรดในวันพุธที่ 19 ธ.ค.นี้
          
             ด้านนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่มีการหารือเรื่องการโอนท่อก๊าซว่าจะมีการโอนส่วนใด จะเก็บภาษีค่าโอนท่ออย่างไร และเรื่องการโอนที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินเนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ประเด็นทั้งหลายเหล่านี้จะนำเข้าหารือกับกระทรวงการคลัง จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเรื่องทั้งหมดในวันอังคารนี้
          
            "หลังจากนี้คงจะต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งจะต้องดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 120 วัน นับตั้งแต่กฎหมายมีผลใช้บังคับ คือวันที่ 11 ธ.ค. 2550 ส่วนการโอนท่อก๊าซน่าจะเสร็จสิ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน"
          
              อย่างไรก็ดี ให้โอนท่อก๊าซไปให้กระทรวงการคลัง ในส่วนของท่อก๊าซเส้นเดิมนั้น ปตท. ยังเป็นผู้ใช้บริการตามปกติ โดยจะไม่เปิดให้เอกชนรายใหม่มาเช่าเพิ่ม แต่ในส่วนของท่อก๊าซเส้นใหม่นั้นจะเปิดให้เอกชนที่สนในเข้าประมูลอย่างเสรี
        
              เขากล่าวต่อว่า หลังจากมีพ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงานออกมา ภายหลังจากการโอนท่อก๊าซให้กระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของท่อก๊าซและเหล็กจะเป็นของปตท. แต่อำนาจในการรอนสิทธิจะเป็นของรัฐ
          
             อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคดีแปรรูปปตท.นี้ จะไม่กระทบการแปรรูปกิจการไฟฟ้าอื่นๆ โดยคำสั่งศาลฯครั้งนี้ทำให้ทุกอย่างมีความชัดเจนมากขึ้น ทั้งแนวทางการปฏิบัติในอนาคต รวมทั้งการให้ความสำคัญกับพ.ร.บ.กำกับกิจการพลังงาน


**ลุ้นท่อก๊าซถูกยึดหรือซื้อคืน
          
           นักวิเคราะห์ บล.ฟินันซ่า ให้ความเห็นว่า ยังต้องรอความชัดเจนว่าในส่วนของท่อก๊าซที่ต้องคืนให้กระทรวงการคลัง จะเป็นแบบการขายหรือถูกยึดคืน ซึ่งผลกระทบที่จะมีต่อราคาหุ้น PTT จะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ระหว่าง 5 บาท และ 99 บาท แต่ถือเป็นเรื่องดีที่ PTT ไม่ถูกเพิกถอนออกไปจากตลาดหุ้น
          
            ทั้งนี้ในกรณีที่แยกท่อก๊าซ และขายคืนให้รัฐ แล้วกลับมาเช่าแทน จะกระทบต่อมูลค่าหุ้น PTT ให้ลดลง 5 บาท จากราคาปิดล่าสุด 368 บาท เหลือ 365 บาท และส่งผลต่อ SET INDEX 1.8 จุด ภายใต้สมมติฐานที่ว่าราคาหุ้นตัวอื่นๆไม่มีการเคลื่อนไหว
          
            แต่หากรัฐยึดคืนท่อก๊าซโดยไม่จ่ายเงินซักบาท จะกระทบมูลค่าหุ้นของ PTT ถึง 98.5 บาท หรือ 26.8% ทำให้ราคาหุ้น PTT ลดลงเหลือ 269.50 บาท ซึ่งจะกระทบต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ถึง 35.8 จุด ทำให้ดัชนีฯลดลงมาเหลือ 797 จุด
          
             นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยังต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจาก ปตท. จึงจะสามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นได้



**กิมเอ็งมองดีสุดโต่ง ยืนยันเป้าหมายที่ 420 บาท
          
              บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ในที่สุดศาลปกครองสูงสุดก็ได้มีคำตัดสินในกรณีที่กลุ่มบุคคลประกอบด้วยมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคกับพวกรวม 5 คน ('ผู้ฟ้องคดี') ได้ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ('ผู้ถูกฟ้องคดี') ต่อศาลปกครองสูงสุดและขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 ซึ่งเกี่ยวกับการแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ('พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ') โดยตัดสินให้ PTT พ้นข้อกล่าวหา ซึ่งส่งผลให้ PTT จะไม่ถูกเพิกถอนออกจากตลาดฯ แต่จะต้องโอนคืนท่อส่งก๊าซให้กับกระทรวงการคลัง ทำให้ราคาหุ้นจะไม่ถูกกดดันจากปัจจัยดังกล่าวอีกและสามารถปรับตัวไปตามปัจจัยพื้นฐานได้
          
              เราเห็นว่ามีปัจจัยบวกอยู่หลายประการที่จะสนับสนุนผลการดำเนินงานและราคาหุ้นของบริษัทในปีหน้าประกอบไปด้วย 1) ปริมาณการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติที่คาดว่าจะเติบโต 10% หลังจากท่อก๊าซเส้นที่ 3 เริ่มเปิดใช้งานตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา 2) การเดินเครื่องเต็มที่ของโรงแยกก๊าซ 5 แห่งของ PTT กำลังการผลิตรวม 4.2 ล้านตัน/ปี 3) การลอยตัวก๊าซ LPG (ผลิตได้ 2.2 ล้านตัน/ปี) จะทำให้ราคาจำหน่ายในประเทศสูงขึ้นส่งผลให้ผลกำไรเพิ่มขึ้นด้วย 4) การรับรู้ผลกำไรจาก PTTEP ที่จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการจำหน่ายปิโตรเลียมที่คาดว่าจะเติบโต 28% yoy จากโครงการอาทิตย์และโครงการเวียดนาม 9-2 บวกกับราคาจำหน่ายปิโตรเลียมที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันด้วย 5) ส่วนแบ่งผลกำไรจาก PTTCH ที่จะสูงขึ้นตามกำลังการผลิตโอเลฟินส์ที่เพิ่มขึ้น 12% เป็น 1.7 ล้านตันและการเดินเครื่องเต็มกำลังการผลิตหลังจากที่ปีนี้มีหยุดซ่อมบำรุงไปหลายวัน 6) ส่วนแบ่งผลกำไรของ PTTAR (บริษัทที่เกิดจากการรวมกิจการของ ATC และ RRC) ที่คาดว่าจะดีขึ้นหลังจากรวมกิจการกัน 7) ส่วนแบ่งผลกำไรจาก TOP ที่จะดีขึ้นจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นอีก 50,000 บาร์เรล/วัน เป็น 275,000 บาร์เรล/วัน Cool กำไรพิเศษที่คาดว่าจะเกิดจากการนำหุ้นของ โรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมรีไฟน์นิ่ง (SPRC) ที่ PTT ถือหุ้นอยู่ 36% เข้าจดทะเบียนในตลาดฯ
          
              ราคาหุ้นของ PTT ได้ปรับตัวลดลงมา 16% นับจากขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 440 บาท ในปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จากความกังวลของคำตัดสินของศาลว่าจะต้อง
ถูกเพิกถอนหรือไม่ ซึ่งหลังจากที่มีความชัดเจนแล้วว่าไม่ถูกเพิกถอน เราคาดว่าราคาหุ้นของบริษัทจะมีการฟื้นตัวได้อย่างดีเนื่องจากราคาหุ้นที่ยังมีราคาต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐานอยู่มาก โดยซื้อขายอยู่ที่ PER 10.2 เท่า เทียบกับกลุ่มพลังงานที่ซื้อขายที่ PER 12.6 เท่าและตลาดฯ ที่ซื้อขายที่ PER 12.1 เท่า และมี upside อยู่ 14% จากราคาเป้าหมาย ของเราที่ 420 บาท (กรณีโอนคืนท่อส่งก๊าซให้กระทรวงการคลัง) เราคงคำแนะนำ ซื้อลงทุน สำหรับ PTT



**SCIBS ดีดลูกคิดกรณีแย่ที่สุดลดลงไม่เกิน 60 บ. แนะซื้ออ่อนตัวที่ราคาต่ำกว่า 330 บ./หุ้น
          
           บทวิเคราะห์ บล.นครหลวงไทย ระบุว่า หลังศาลปกครองสูงสุดได้สรุปผลการพิจารณาคดีของ PTT ได้ดังนี้
          
           1. ขั้นตอนการแปรรูปนั้นถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมาย โดยคุณสมบัติของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง PTT หลังการแปรรูป PTT เป็นบริษัทมหาชน รวมถึงขั้นตอนการแปรรูปถูกต้องตามขั้นตอนทางกฎหมาย
          
           2. สำหรับกรณีการแยกท่อก๊าซนั้น ศาลฯ มีความเห็นให้แก้ไขประเด็นต่างๆ ที่ขัดต่อกฎหมายโดยเฉพาะการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปยังกระทรวงการคลังเพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ซึ่งจะเป็นประเด็นที่ต้องติดต่อไปต่อการเจรจาระหว่าง PTTและ กระทรวงการคลัง

            3.ประเด็นสำคัญของการพิจารณาถอดถอน PTT ออกจากตลาดนั้น ศาลฯ ได้พิจารณายกคำร้องทำให้ PTT ยังคงสภาพการเป็นบริษัทจดทะเบียนต่อไปผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับ PTT
          
            บทวิเคราะห์ระบุว่า มูลค่าตลาดบัญชี (Book valued) ของหุ้น PTT คาดว่าจะลดลงประมาณ 14 บาทต่อหุ้น เนื่องจากการคืนสินทรัพย์ในส่วนของที่ดินและท่อก๊าซบางส่วนให้กับกระทรวงการคลัง
          
            ส่วน ผลการดำเนินงานของ PTT ในส่วนของรายได้คงเดิม เนื่องจาก PTT ยังคงเป็นผู้ดำเนินงานธุรกิจท่อก๊าซต่อไป แต่กำไรสุทธิมีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก PTT จะต้องจ่ายค่าเช่าสินทรัพย์ให้กับกระทรวงการคลัง ซึ่งปัจจุบันยังคงไม่ทราบว่าจะตกลงกันที่อัตราเท่าไร ขณะที่มูลค่ากิจการ (NAV) ลดลงตามกำไรของธุรกิจท่อก๊าซ
          
           ทั้งนี้ SCIBS ประเมินในกรณีที่แย่ที่สุดไว้ที่ 60 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นกรณีที่คืนสินทรัพย์ทั้งหมดและไม่มีกำไรจากธุรกิจท่อก๊าซเลย แต่ในความเป็นจริงคาดว่าธุรกิจท่อก๊าซจะยังคงมีกำไร เพียงแต่ยังคงไม่ชัดเจนพอที่จะประเมินมูลค่าได้ ส่งผลให้มูลค่าเหมาะสมของ PTT จะลดลงจาก 395 บาท เหลือ ไม่ต่ำกว่า 335 บาท ผลการพิจารณาดังกล่าวนั้นถือเป็น Positive ต่อภาวการณ์ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนั้น SCIBS แนะนำกลยุทธ์การลงทุนดังต่อไปนี้
          
          “ซื้อ” หุ้นในกลุ่มพลังงาน และหุ้นขนาดใหญ่ (Big Cap) อย่าง PTTEP / TOP / RRC / KBANK/BAY / SCC / LH / QH รวมถึง TDEX
          
           สำหรับ PTT นั้น SCIBS แนะนำว่า “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” หากราคาต่ำกว่า 330 บาท/หุ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงจากการเวนคืนที่ดิน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน จะยังเป็นปัจจัยกดดันการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นPTT จนกว่าจะไดข้อสรุประหว่าง PTT - กระทรวงการคลัง



**ASP ประเมินกระทบไม่เกิน 100 บ.
          
            นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด บล.เอเซียพลัส ได้กล่าวถึงผลกระทบหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินให้บมจ. ปตท.(PTT) ต้องโอนที่ท่อก๊าซ และที่ดินเวนคืนให้กลับไปเป็นของรัฐ แต่ไม่ต้องถูกเพิกถอนให้พ้นสภาพการเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ว่า ในเชิงเพื้นฐานย่อมมีผลกระทบต่อ PTT อย่างแน่นอน
          
            'เราจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบอย่างละเอียดอีกครั้งก่อนที่จะสรุปเพื่อ ลดระดับราคาพื้นฐานที่เหมาะสม' นายภูวดล กล่าว
          

            อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นประเมินว่าผลการตัดสินครั้งนี้จะกระทบต่อมูลค่าราคาหุ้นที่เหมาะสมของPTT ไม่เกิน 100 บาท
 ทั้งนี้บทวิเคราะห์ ล่าสุดของบล.เอเซีย พลัส ได้เคยให้ราคาพื้นฐานเหมาะสมของ PTT ที่ 425.92 บาท



**บัวหลวง ยังมองตลาดหุ้นผันผวน
        
          นายเผดิมภพ สงเคราะห์ รองกรรมการผู้จัดการ บล.บัวหลวง ได้กล่าวถึงภาวะตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ซึ่งเป็นสัปดาห์ก่อนการเลือกตั้งว่าจะมีความผันผวนไม่ต่างจากสัปดาห์ก่อน ทั้งนี้ยังคงประเมินแนวโน้มภาพรวมยังเป็นเชิงลบ แม้ศาลปกครองสูงสุดจะมีการตัดสินคดีความบมจ.ปตท.(PTT)ไปแล้ว แต่ตามขั้นตอนยังคงต้องให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเรื่องท่อก๊าซที่ทาง PTT จะต้องจัดการโอนคืนประกอบด้วย
          
           ขณะที่ในส่วนของการเลือกตั้งนักลงทุนบางส่วนยังกังวลว่า หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้งแล้ว ภาพการเมืองก็มีโอกาสที่จะไม่นิ่ง ประกอบกับกระแสเงินลงทุนจากต่างประเทศที่จะยังไม่เข้าไปลงทุนในตลาดทุนทันที จากการที่พบว่าระยะหลังนักลงทุนเริ่มหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากตลาดหุ้นและนำเงินไปพัก หรือลงทุนในพันธบัตรแทนมากขึ้น
          
          "ต้นสัปดาห์คงยังไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น หุ้นขนาดใหญ่ยังน่าจะมีแรงซื้อเข้ามาน้อยอยู่ มองภาพรวมหุ้นมีโอกาสลงมากกว่าขึ้น อีกทั้งพวกกองทุนต่างประเทศอาจมีการขายหุ้นไทยเพื่อปิดสถานะก่อนสิ้นปีในบ้านเรา"นายเผดิมภพ กล่าว
          
          กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ซื้อหุ้นที่มีอัตราปันผลน่าสนใจเช่น บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC), บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) รวมถึงหุ้นขนาดเล็ก ที่นักลงทุนจะเก็งกำไรเป็นช่วงสั้นๆในสัปดาห์หน้า
          
          ขณะที่หุ้นกลุ่มน้ำมัน รวมถึง PTT คาดว่าในระยะสั้นจะยังไม่ปรับขึ้นมากนัก ในช่วงนี้หรือรับผลบวกเต็มที่ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับขึ้นแรง
          
          ทั้งนี้ประเมินกรอบดัชนีฯสัปดาห์นี้ที่แนวรับ 832 จุด แนวต้าน 855 จุด



**ก.ล.ต. แนะ นลท.ติดตามข้อมูลและมูลค่าหุ้น PTT หลังศาลฯ ให้โอนทรัพย์สินคืนรัฐ
          
            สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) แยกทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโอนคืนให้รัฐ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหยุดการซื้อขายหุ้น ปตท. เป็นการชั่วคราว โดยตลาดหลักทรัพย์ฯจะเปิดให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์อีกครั้ง เมื่อ ปตท. ชี้แจงข้อมูลรวมทั้งแจ้งถึงผลกระทบและขั้นตอนการดำเนินการของบริษัทอย่างชัดเจน เพียงพอ มายังตลาดหลักทรัพย์ฯและข้อมูลดังกล่าวได้รับการเผยแพร่แก่ผู้ลงทุนในวงกว้างแล้ว เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีเวลารับทราบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์รวมทั้งผลกระทบต่าง ๆ
          
           ก.ล.ต. ขอชี้แจงว่า คำพิพากษาดังกล่าวมิได้มีผลกระทบต่อสถานการณ์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ของ ปตท. แต่อย่างใด อย่างไรก็ดี การที่ปตท.แยกทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโอนคืนให้รัฐ อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าของ ปตท. ขณะนี้ปตท. อยู่ระหว่างพิจารณาผลกระทบดังกล่าว และจะได้ชี้แจงให้ทราบต่อไป
        
           สำหรับกรณีกองทุนรวม ผู้ลงทุนยังคงซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมได้ตามปกติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากกรณีดังกล่าวมีผลกระทบต่อมูลค่าหุ้นของ ปตท.และตลาดหลักทรัพย์ฯ หยุดการซื้อขายหุ้น ปตท. เป็นการชั่วคราวซึ่งอาจมีผลกระทบทำให้ไม่สามารถคำนวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ มูลค่าหน่วยลงทุนราคาขายและราคารับซื้อคืนหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีการลงทุนในหุ้น ปตท. ได้
          
            ก.ล.ต. จะได้ติดตามความคืบหน้าและชี้แจงให้ผู้ลงทุนทราบต่อไป ก.ล.ต.จึงขอให้ผู้ลงทุนติดตามคำชี้แจงของปตท. บทวิเคราะห์หุ้น ปตท. จากบริษัทหลักทรัพย์และการประกาศเปิดให้มีการซื้อขายหุ้น ปตท. อีกครั้งของตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ก่อนตัดสินใจในการลงทุน ทั้งนี้หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีข้อสงสัยประการใดสามารถติดต่อกับ ก.ล.ต. ได้ที่ศูนย์ Hot Line โทร. 0-2695-9696 หรือที่ โทร. 0-2695-9999 กด 9



จาก........E-Finance Thai.    14/12/2007


@@@@@@@@@@@@@@@@






บันทึกการเข้า
BSW
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 09:09:43 AM »

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด PTT ฉบับสมบูรณ์
« เมื่อ: 14/12/07 21:35:47 »   

--------------------------------------------------------------------------------
ครั้งที่ 49/2550
       ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษาคดีแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
       
          วันนี้เวลา 10.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 2 นายจรัญ หัตถกรรม ตุลาการหัว หน้าคณะศาลปกครองสูงสุด นายธงชัย ลำดับวงศ์ นายเกษม คมสัตย์ธรรม นายชาญ ชัย แสวงศักดิ์ และนายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลปกครองสูงสุดในองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550 ซึ่งเป็นคดีที่มูลนิธิ เพื่อผู้บริโภคกับพวกยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรีกับพวกต่อศาลปกครองสูงสุด ว่า กระบวน การและขั้นตอนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิ ชอบ ขอให้ศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ์ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนด เงื่อนเวลายกเลิกกฏหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ. ศ. 2542 เป็นกฏหมายพิเศษที่ฝ่ายนิติบัญญัติมอบให้ฝ่ายบริหารดำเนินการเปลี่ยน สภาพหรือเปลี่ยนสถานะของรัฐวิสาหกิจจากประเภทองค์การของรัฐตามที่กฏหมาย จัดตั้งขึ้นเป็นรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดได้ โดยไม่ต้องเสนอ กฏหมายต่อฝ่ายนิติบัญญัติ หากรัฐบาลมีนโยบายที่จะนำทุนบางส่วนหรือทั้งหมดของ รัฐวิสาหกิจใดมาเปลี่ยนสภาพเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทให้กระทำได้ตามพระราช บัญญัตินี้ การดำเนินการเริ่มต้นแปรรูปรัฐวิสาหกิจตามมาตรา 13 กำหนดให้คณะ กรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้เปลี่ยนทุนของ รัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทแล้ว จึงไปสู่ขั้นตอนการแต่งตั้งคณะกรรมการ เตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งรวมถึงการแต่งตั้งและดำเนินการของคณะกรรมการรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน ดังนั้นการดำเนินการในทุกขั้นตอนจึงมีความสำคัญ เมื่อ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นในแต่ละขั้นตอนโดยชอบด้วยกฏหมายแล้วจึงจะดำเนินการใน ขั้นตอนสุดท้าย คือ การตราพระราชกฤษฎีกาที่มีผลเป็นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่อไปได้
       

            ในขั้นต่อก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาแปรรูป ปตท. ทั้งสองฉบับดังกล่าวมีปัญหาที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดจั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการดำเนินการของคณะกรรมการจัดทำรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า กรรมการผู้ทรง คุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัททั้งสามคนที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่ง ประกอบด้วย นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณ่และนายธีระ วิภูชนิน รองกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกแบละนำเข้าแห่งประเทศ ไทย เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ความรู้ ประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับ การดำเนินกิจการของปตท. และทางการเงินและบัญชี อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 16 วรรคสอง แล้วการที่นายปิยสวัสดิ์ และนาย เชิดพงษ์ มีสถานะเป็นข้าราชการระดับสูงในองค์กรของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับกิจการของปตท. บุคคลทั้งสองได้รับมอบหมายจากทางราชการให้เข้าไป เป็นกรรมการหรือประธานกรรมการในนิติบุคคลที่เป็นผู้ร่วมทุนกับภาครัฐเพื่อ ประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัวของนายปิยสวัสดิ์ และนาย เชิดพงษ์ จึงไม่อาจถือว่านายปิยสวัสดิ์ และนายเชิดพงษ์เป็นผู้มีส่วนได้เสียอันมี คุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฏหมายกำหนด การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ กรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจึงชอบด้วยมาตรา 16 ส่วนกรณีที่นายวิเศษจูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และนายมนู เลี่ยวไพ รัตน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าถือหุ้นของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าข้อยก เว้นมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่กำหนดมิให้นำ ข้อห้ามการถือครองหุ้นหรือการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการในบริษัทที่ จะจัดตั้งขึ้นจากการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้น มาใช้บังคับกับกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจและข้าราชการประจำที่ได้รับมอบหมายจากทาง ราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และการเข้าถือหุ้นของนายวิเศษ และนายมนูเกิด ขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ.ปตท. จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการ เปลี่ยนสภาพของปตท.


            ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น    คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทจัดให้มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับ การเปลี่ยนสภาพปตท.ในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกัน 6 ฉบับ ฉบับละ 1 วัน ได้แก่ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 21 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับ วันที่ 22 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2544 หนังสือ พิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม 2544 หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น ฉบับวัน ที่ 25 สิงหาคม 2544 และหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2544 และจัด ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 8 กันยายน 2544 ที่ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทค โดยได้แจกเอกสารประกอบการับฟังความคิดเห็น รวมถึงร่าง พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นด้วย มีผู้ลง ทะเบียน 1,877 คน ผู้ลงทะเบียนหน้างาน 263 คน มีผู้เข้าร่วมประชุม 733 คน และจัด ให้มีการถ่ายทอดเสียงทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานี วิทยุโทรทัศน์ช่อง 11 แม้ว่าการดำเนินการประกาศทางหนังสือพิมพ์จะมิได้ประกาศลง ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามข้อ 9 (1) ของระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่การประกาศใน หนังสือพิมพ์รายวันที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายถึง 6 ฉบับ และฉบับภาษา อังกฤษอีก 2 ฉบับ แต่ละฉบับมีกลุ่มผู้มีอ่านแตกต่างกันออกไป และหนังสือพิมพ์ดัง กล่าวมียอดตีพิมพ์ของแต่ละฉบับในแต่ละวัน คือ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 876,544 ฉบับ เดลินิวส์ 600,000 ฉบับ มติชน 450,000 ฉบับ กรุงเทพธุรกิจ 105,000 ฉบับ บางกอก โพสต์ 70,000 ฉบับ และเดอะ เนชั่น 58,000 ฉบับ เมื่อพิจารณาถึงจำนวนการตีพิมพ์เฉพาะหนังสือพิมพ์รายวันฉบับภาษาไทย ที่มีการประชาสัมพันธ์และกลุ่มเป้าหมายของการประชาสัมพันธ์แล้ว ศาลเห็นว่า การ ประชาสัมพันธ์มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับ ทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึงแล้ว การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วย กฎหมาย ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่ได้กระทำก่อนการตราพระ ราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
       

                       ในส่วนของบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนด เงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 นั้น มี ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยว่า ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ในขณะที่ปตท. มีสถานะเป็น องค์การของรัฐ นั้น ปตท. ได้ใช้เงินทุนจากรัฐและใช้อำนาจมหาชนของรัฐเวนคืน ที่ดิน มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศง2521 เพื่อ ให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการของรัฐ ที่ดินที่เวนคืนดังกล่าวจึงกลับมา เป็นของรัฐหรือของแผ่นดิน ตามมาตรา 16 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 เมื่อปตท. ได้เวนคืนที่ดินตามแนวท่อก๊าซ ธรรมชาติจากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการก่อสร้างระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อของปตท. ซึ่งเป็นกิจการของ รัฐ ที่ดินที่เวนคืนจึงเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือของแผ่นดินที่ใช้เพื่อกิจการของรัฐ และ เป็นสาธารณะของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดย เฉพาะ ตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราช พัสดุตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชพัสดุ พ.ศ.2518 โดยมีปตท.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนรัฐและเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยไม่เสียค่าตอบแทนให้รัฐ ส่วน การที่ปตท. ใช้อำนาจรัฐเหนือที่ดินของเอกชนเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทาง ท่อ ซึ่งเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปเพื่อกิจการของรัฐนั้น ปตท.กระทำ การในฐานะที่เป็นองค์การของรัฐ บังคับแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชน และจ่ายเงิน ค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ ดังนั้น สิทธิเหนือทรัพย์สินของเอกชนที่เกิด จากการใช้อำนาจของ ปตท. จึงเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 อันเป็นทรัพย์ สิทธิของรัฐและเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อใช้ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และจัดเป็นที่ราชพัสดุ 
       

              ต่อมา เมื่อ ปตท.เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด คือ บมจ.ปตท. ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลเอกชนแล้ว บมจ.ปตท. จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชน ของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแทนรัฐได้ จึงต้องโอนสาธารณสมบัติของ แผ่นดินดังกล่าวกลับไปเป็นของรัฐ ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่แยกสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินดังกล่าวออก และโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐให้ เสร็จสิ้นก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ตามบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระ ราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 และปรากฎข้อเท็จจริงว่า ในขั้นตอนการ พิจารณาของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการมีข้อสังเกตเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีว่า หากจะมีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจัดตั้งเป็นบริษัทแยก ออกจากบริษัทจัดซื้อและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติในลักษณะการแบ่งแยกตาม กฎหมาย ตั้งแต่แรกจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควรศึกษาแนว ทางที่จะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซก่อนจะทำการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย มิฉะนั้นอาจจะแยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ยาก หากไม่สามารถ แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ก็ ให้แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายใน 1 ปี หลังการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทรับข้อสังเกตนี้ไปประกอบ การพิจารณา แต่ปรากฎว่า คณะรัฐมนตรีกลับมีมติอนุมัติให้โอนกิจการ อำนาจ สิทธิ รวม ทั้งสินทรัพย์และทุนทั้งหมดของปตท.ไปให้ บมจ.ปตท.ทั้งหมด และพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ. ศ.2544 ก็มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิ อำนาจ และทรัพย์สินที่ บมจ.ปตท.ได้ มาโดยอำนาจมหาชนของรัฐแต่อย่างใด ต่อมา บมจ.ปตท.มีหนังสือที่ 530/20/63 ลง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ มาโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อ พ.ศ.2529 ให้กระทรวงการคลัง

           ดังนั้น โดยอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทุน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 คณะรัฐมนตรีจึงต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท.ที่เป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ให้กระทรวงการ คลัง โดย บมจ.ปตท. ยังคงมีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ ปตท. เคยมีอยู่ต่อไป โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
       

        สำหรับในส่วนของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่า ด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้น ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.ไปเป็น บมจ.ปตท. และได้นำหุ้นของ บมจ.ปตท. เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2544 หากมีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ทรัพย์สินและสิทธิทั้งหลายที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชนของรัฐ กลับ ไปเป็นของปตท.ดังเดิม ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่า อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะความมั่น คงด้านพลังงาน ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนรวมถึงตลาดเงิน และบุคคล ภายนอกที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ.ปตท. ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วย เมื่พิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งฝ่ายนิติบัญญัติโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติดำเนินการตราพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550 ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการ ประกอบกิจการพลังงานรวมทั้งกิจการก๊าซธรรมชาติด้วย และออกในอุญาตประกอบ กิจการพลังงาน ทั้งเป็นผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบการวางระบบโครงข่ายพลังงาน โดยในบทบัญญัติมาตรา 104 มาตรา 105 และมาตรา 106 ได้บัญญัติสาระสำคัญ เกี่ยวกับการใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์ในกิจการพลังงาน และการใช้อำนาจ มหาชนของรัฐของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไว้ และในบทเฉพาะกาล ได้ บัญญัติให้คณะกรรมการกำกับการใช้อำนาจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเป็นผู้ใช้อำนาจมหาชนของรัฐแทนคณะกรรมการ กำกับกิจการพลังงานเป็นการชั่วคราวแล้ว
     

        อีกทั้งคำฟ้องในประเด็นการโอนที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ ทรัพย์สินและสิทธิการใช้ที่ดินในระบบการขนส่งปิโตรเลียม ทางท่อ รวมทั้งอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐที่โอนให้แก่บมจ. ปตท. ซึ่งเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีผลโดยตรงต่อความไม่ชอบด้วย กฎหมายของบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรค 2 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 จึงเป็นหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ที่จะต้องกระทำการแก้ไข การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น ให้ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ พิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาและบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการ พลังงาน พ.ศ. 2550 รวมทั้งวิธีการแก้ไขความไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่จำเป็นต้อง เพิกถอนบทบัญญัติในมาตรา 4 วรรค 2 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อีกทั้งเหตุแห่ง ความไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นว่านั้น มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระ ราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2544 ตามคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้ง5 พิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 4 ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทาง ท่อ รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจ และสิทธิของบมจ.ปตท. ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการ พลังงานตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ส่วนคำขอตาม คำฟ้องของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ที่ขอให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิและ ประโยชน์บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกา กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฏหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 นั้น ให้ยก

สำนักงานศาลปกครอง
วันที่ 14 ธันวาคม 2550   
 


ที่มา... SetTrade   14/12/2007


$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$



ขออภัยด้วยนะครับ  ถ้าทำให้ตาลาย.......... คิก คิก คิก คิก คิก คิก
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 11:35:26 AM »

ตาลายจริง ๆ ครับ Grin Grin

ผมขอถอดความ และสรุปตามความเข้าใจให้อ่านกันครับ .... ควรมิควร ท่านนักกฏหมายก็ช่วยแนะนำด้วยครับ

คดีระหว่าง : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับพวก ยื่นฟ้อง คณะรัฐมนตรีกับพวก

เรื่อง : กระบวนการและขั้นตอนการแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นไปโดยมิชอบ

ขอให้ศาลสั่ง : เพิกถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ์ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ. 2544 และพระราชกฤษฎีกากำหนด เงื่อนเวลายกเลิกกฏหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544 .... { พูดง่าย ๆ คือขอให้ยกเลิกกฏหมายแปรรูป ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท. (รัฐวิสาหกิจ -> เอกชน) }

ศาลพิเคราะห์ตามลำดับ

๑.
๑.๑การแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการจัดจั้งบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
๑.๒และการดำเนินการของคณะกรรมการจัดทำรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่

พบว่า :
๑.๑.๑กรรมการจัดตั้งทั้งสามคน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ และนายธีระ วิภูชนิน เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ อันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว ของบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งตามมาตรา 16 วรรคสอง

๑.๑.๒แล้วการที่นายปิยสวัสดิ์ และนาย เชิดพงษ์ มีสถานะเป็นข้าราชการระดับสูง แต่ได้รับมอบหมายจากทางราชการ เพื่อ ประโยชน์ขององค์กรของรัฐ มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะตัว จึงไม่อาจถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย อันมีคุณสมบัติต้องห้ามตามที่กฏหมายกำหนด

๑.๑.๓ส่วนกรณีที่นายวิเศษจูภิบาล ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท. และนายมนู เลี่ยวไพ รัตน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าถือหุ้นของบริษัทปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าข้อยก เว้นมาตรา 18 ประกอบกับมาตรา 12 และการเข้าถือหุ้นของนายวิเศษ และนายมนูเกิด ขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนสภาพมาเป็น บมจ.ปตท. จึงไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการ เปลี่ยนสภาพของปตท.

๑.๒ส่วนในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

๑.๒.๑มีการประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในหนังสือพิมพ์รายวันติดต่อกัน 6 ฉบับ ฉบับละ 1 วัน

๑.๒.๒และจัด ประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในวันที่ 8 กันยายน 2544 ที่ศูนย์นิทรรศการ และการประชุมไบเทค มีผู้ลง ทะเบียน 1,877 คน ผู้ลงทะเบียนหน้างาน 263 คน มีผู้เข้าร่วมประชุม 733 คน และจัดให้มีการถ่ายทอดเสียง ทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 11

แม้ว่าการดำเนินการประกาศทางหนังสือพิมพ์จะมิได้ประกาศลง ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยฉบับเดียวกันติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ตามข้อ 9 (1) ของระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่การประกาศใน หนังสือพิมพ์รายวันที่มีการจำหน่ายอย่างแพร่หลายถึง 6 ฉบับ และฉบับภาษา อังกฤษอีก 2 ฉบับ แต่ละฉบับมีกลุ่มผู้มีอ่านแตกต่างกันออกไป

ศาลเห็นว่า การประชาสัมพันธ์มีความหลากหลายและเป็นระยะเวลาเพียงพอเพื่อให้ประชาชนรับ ทราบข้อมูลได้อย่างทั่วถึงแล้ว การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจึงชอบด้วย กฎหมาย

สรุป ๑.
ดังนั้น ศาลจึงเห็นว่า กระบวนการและขั้นตอนที่ได้กระทำก่อนการตราพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

๒.
๒.๑ในส่วนของบทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และ ประโยชน์ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2544
๒.๒และพระราชกฤษฎีกากำหนด เงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2544
 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า

๒.๑ ขณะที่ปตท. มีสถานะเป็น องค์การของรัฐ ปตท. ได้ใช้เงินทุนจากรัฐและใช้อำนาจมหาชนของรัฐเวนคืน ที่ดิน มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 ที่ดินที่เวนคืนดังกล่าวจึงกลับมา เป็นของรัฐหรือของแผ่นดิน ตามมาตรา 16 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่า ด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530

เมื่อปตท. ได้เวนคืนที่ดินตามแนวท่อก๊าซ ธรรมชาติจากจังหวัดระยองมายังจังหวัดสมุทรปราการ เนื้อที่ประมาณ 32 ไร่ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการก่อสร้างระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อของปตท. ซึ่งเป็นกิจการของ รัฐ ที่ดินที่เวนคืนจึงเป็นทรัพย์สินของรัฐหรือของแผ่นดินที่ใช้เพื่อกิจการของรัฐ และ เป็นสาธารณะของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน โดย เฉพาะ ตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นที่ราช พัสดุตามมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติราชพัสดุ พ.ศ.2518 โดยมีปตท.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนรัฐและเป็นผู้ใช้ประโยชน์โดยไม่เสียค่าตอบแทนให้รัฐ

ส่วน การที่ปตท. ใช้อำนาจรัฐเหนือที่ดินของเอกชนเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทาง ท่อ ซึ่งเป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปเพื่อกิจการของรัฐนั้น ปตท.กระทำ การในฐานะที่เป็นองค์การของรัฐ บังคับแก่อสังหาริมทรัพย์ของเอกชน และจ่ายเงิน ค่าทดแทนโดยอาศัยทรัพย์สินของรัฐ

ดังนั้น สิทธิเหนือทรัพย์สินของเอกชนที่เกิด จากการใช้อำนาจของ ปตท. จึงเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่ก่อตั้งขึ้นด้วยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2521 อันเป็นทรัพย์ สิทธิของรัฐและเป็นอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพื่อใช้ ประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ ตามมาตรา 1304 (3) แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และจัดเป็นที่ราชพัสดุ

ต่อมา เมื่อ ปตท.เปลี่ยนสภาพไปเป็นบริษัทมหาชนจำกัด บมจ.ปตท. จึงไม่อาจมีอำนาจมหาชนของรัฐ ไม่อาจถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของปตท. ที่ได้มาจากการใช้อำนาจมหาชน ของรัฐอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแทนรัฐได้ จึงต้องโอนสาธารณสมบัติของ แผ่นดินดังกล่าวกลับไปเป็นของรัฐ

ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีหน้าที่แยกสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินดังกล่าวออก และโอนให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนรัฐให้ เสร็จสิ้นก่อนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ตามบทบัญญัติในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระ ราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542

และปรากฎข้อเท็จจริงว่า ในขั้นตอนการ พิจารณาของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการมีข้อสังเกตเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีว่า หากจะมีการแยกกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจัดตั้งเป็นบริษัทแยก ออกจากบริษัทจัดซื้อและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติในลักษณะการแบ่งแยกตาม กฎหมาย ตั้งแต่แรกจะทำให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากไม่สามารถ แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติได้ก่อนการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนเป็นการทั่วไป ก็ ให้แยกบริษัทท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายใน 1 ปี หลังการขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป

ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทรับข้อสังเกตนี้ไปประกอบ การพิจารณา

แต่ปรากฎว่า คณะรัฐมนตรีกลับมีมติอนุมัติให้โอนกิจการ อำนาจ สิทธิ รวม ทั้งสินทรัพย์และทุนทั้งหมดของปตท.ไปให้ บมจ.ปตท.ทั้งหมด

และพระราชกฤษฎีกากำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) พ. ศ.2544 ก็มิได้มีบทบัญญัติที่เป็นการจำกัดสิทธิ อำนาจ และทรัพย์สินที่ บมจ.ปตท.ได้ มาโดยอำนาจมหาชนของรัฐแต่อย่างใด

{ กรณีนี้ ผมเห็นว่ารัฐบาลทักษิโนมิกไม่ได้ทำตามกฏหมายครับ .... ซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของรัฐบาลชุดนี้ }

ต่อมา บมจ.ปตท.มีหนังสือที่ 530/20/63 ลง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ถึงปลัดกระทรวงการคลัง เรื่อง ขอยกกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ได้ มาโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เมื่อ พ.ศ.2529 ให้กระทรวงการคลัง

สรุป ๒.๑
ดังนั้น โดยอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติทุน รัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 คณะรัฐมนตรีจึงต้องโอนสินทรัพย์ของ ปตท.ที่เป็นสาธารณ สมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน ให้กระทรวงการ คลัง โดย บมจ.ปตท. ยังคงมีสิทธิในการใช้ที่ราชพัสดุหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ที่ ปตท. เคยมีอยู่ต่อไป โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายได้แผ่นดินตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

๒.๒สำหรับในส่วนของพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่า ด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 นั้น

ได้มีการเปลี่ยนสภาพ ปตท.ไปเป็น บมจ.ปตท. และได้นำหุ้นของ บมจ.ปตท. เข้าจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2544

หากมีการเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว อาจก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะความมั่น คงด้านพลังงาน ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนรวมถึงตลาดเงิน และบุคคล ภายนอกที่มีนิติสัมพันธ์กับ บมจ.ปตท. ทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้ กฎหมายตามมาอีกนานัปการด้วย

สรุป ๒.๒
เมื่พิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว ประกอบกับการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พยายามแก้ไขปัญหา รวมทั้งฝ่ายนิติบัญญัต ดำเนินการตราพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฏหมายตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550

ดังนั้นเมื่อ พิเคราะห์เหตุแห่งการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ เพิกถอนพระราชกฤษฎีกาและบทบัญญัติ มิได้มีความร้ายแรงถึงขนาดที่จะเพิกถอนพระ ราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศ ไทย พ.ศ. 2544

ผมสรุปเองว่า
๑. ขั้นตอนก่อนการแปรรูป (การตั้งกรรมการการ และการรับฟังความคิดเห็น) ชอบด้วยกฏหมาย
๒. พรก. กำหนดอำนาจและสิทธิ์ฯ ก็มีการปฏิบัติตามที่กำหนดใน พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจแล้ว (น่าจะกำลังดำเนินการ - คือการคืนท่อกาซ และกำหนดรูปแบบการบริหาร และ บมจ.ปตท.ก็ต้องจ่ายค่าเช่าให้หลวงต่อไป)
๓. พรก. ยกเลิก ปตท. ศาลเห็นว่าถ้ายกเลิก (เพื่อให้ ปตท. เลิกเป็นบริษัท) จะมีผลกระทบเป็นวงกว้าง และเมื่อดูเหตุแห่งการเพิกถอนแล้วเห็นว่าไม่ร้ายแรง จึงยกฟ้อง

บันทึกการเข้า

Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 11:49:51 AM »

อ่านเอายัง ต้องทำใจ สรุปอีกไม่ไหว  ท่านใดช่วย จขกท.ได้ ต้องขอบคุณ อย่างมากครับ.  Smiley

การเคลื่อนไหว ของคน ปตท..เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มตน..
เท่ากับ ยิ่งเพิ่มความชอบธรรมที่จะใช้เท้ายัน คนจำพวกนี้ไปให้พ้น.
ไม่ควรให้เท้ามันติดดิน. อยู่บนผืนแผ่นดินนี้.  มันจะได้สูบผลกำไร จากคนไทยน้อยลง Smiley

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2007, 03:13:49 PM โดย Ro@d » บันทึกการเข้า

andaman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 11:52:11 AM »

แล้วท่านๆทั้งหลาย  ต้องการหรืออยากให้ ปตท. อยู่ในสภาพเช่นไรครับ  เป็น รัฐวิสาหกิจ หรือเป้นบริษัทมหาชน( บริษัทในกำกับของรัฐบาล)  และมีผลดีผลเสียต่างกันอย่างไร
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 01:43:14 PM »

ผมว่า ปตท. ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ครับ .... วันก่อนมี "สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท." ออกมาบอกว่าจะฟ้องมูลนิธิฯ ....

อยากทราบว่าท่านทั้งหลาย อยากให้ ปตท. เป็นเช่นไร เช่นกัน ....

อยากใ้ห้เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือไม่ .... ของแบบนี้เจ้าของบริษัทจัดให้ได้ .... Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า

ออด
Hero Member
*****

คะแนน 17
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2870


« ตอบ #7 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 01:51:34 PM »

      ปตท. แปรรูปแล้วประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้อะไร ผมยังมองไม่คอยเห็น หรือว่าผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้หว่า... ใครพอจะทราบว่าเมื่อ ปตท. แปรรูปแล้วมันมีอะไรที่เป็นผลดีบ้างครับสำหรับประชาชนทั่ว ๆ ไป ช่วยบอกผมหน่อยครับ ผมถามจริง ๆ นะไม่ใช่น้อยใจ ผมไม่มีหุ้น ปตท., ผมใช้แก๊สสำหรับหุ้งต้ม+ถังที่ใช้ก็ยังตีตราว่า ปตท. ที่บ้านใช้เดือนละประมาณ 1 ถัง (ถังละ 15-16 กก.) และเติมน้ำมันรถจากปั๊ม ปตท. ราคาที่ขายก็เท่ากับปั๊มอื่น ๆ, ไม่ได้ใช้แก๊ส NGV ในการหุ้งต้มหรือไม่มีรถสำหรับใช้แก๊ส NGV หรือ LPG...
บันทึกการเข้า

"..รักปืน ชอบปืน หมั่นฝึกซ้อมและดูแลรักษาให้ดี.."
                    "..มีปืน ต้องมีสติ.."
A B A C U S รั ก ใ น ห ล ว ง
สัตว์ โลก เดิน ไป ตาม แรง กรรม ดี ชั่ว อยู่ ที่ ใจ ตน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 206
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6399


มี ศัตรู เป็น บัณฑิต ดีกว่ามี มิตร เป็น ค น พ า ล


เว็บไซต์
« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 03:06:20 PM »

 น้ำลายหก
ครับ
ตาราย
ไม่อ่านครับ
 หลงรัก
บันทึกการเข้า

jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 04:05:45 PM »

      ปตท. แปรรูปแล้วประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้อะไร ผมยังมองไม่คอยเห็น หรือว่าผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องนี้หว่า... ใครพอจะทราบว่าเมื่อ ปตท. แปรรูปแล้วมันมีอะไรที่เป็นผลดีบ้างครับสำหรับประชาชนทั่ว ๆ ไป ช่วยบอกผมหน่อยครับ

ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ แต่รู้สึกดังนี้ ..... "ทำไมต้องได้อะไรด้วย .... "

And so, my fellow Americans: ask not what your country can do for you - ask what you can do for your country. - John F. Kennedy - January 20th 1961

ไม่ได้จะมาเทียบอะไรหรอก แต่ผมว่า main idea ของประโยคนี้ คือการเสียสละเพื่อประเทศชาติ

แล้วมาดู ปตท. ว่ามันเกี่ยวอะไรกัน ... ก็ไม่เกี่ยวหรอกครับ  Cheesy ... ปตท. ไม่ได้กำลังเสียสละเพื่อใคร และประชาชนก็ไม่ได้เสียสละอะไรให้ ปตท. ....

สมมติเด็กอยากได้ของเล่น เห็นพ่อแม่มีเงินพอซื้อ ก็จะขอเงินนั้นไปซื้อ พ่อแม่อาจจะบอกว่าไม่ได้ เงินก้อนนี้เก็บไว้ทำทุน เด็กอาจจะถามว่า พ่อแม่เอาไปทำทุนแล้วหนูได้อะไร พ่อแม่อาจจะอธิบายยืดยาว แต่เด็กอาจจะบอกว่า ไม่เข้าใจ หนูรู้แต่ว่าตอนนี้หนูอยากได้ของเล่น ...  ขำก๊าก ขำก๊าก

สมมติผมถามคำถามเดียวกันกับการไฟฟ้า .... ว่าการไฟฟ้าเป็นรัฐวิสาหกิจแล้วผมได้อะไร Huh คนการไฟฟ้าอาจจะมานั่งอธิบายยืดยาว .... ผมคงงงตึ๊บ แล้วอาจจะบอกเขาไปว่า อยากใช้ไฟราคาถูกลงอีกครึ่ง โดยไม่ต้องพยายามประหยัดให้ได้ ๑๐% จากเดือนที่แล้ว  ยิ้มีเลศนัย

สมมติ ปตท. จะลงทุนสร้างแท่นขุดเจาะกาซมาใช้ .... ถ้าเป็นของรัฐฯ เวลาจะกู้เงินมาสร้าง ต้องผ่าน ครม. หรือไม่ ต้องมีการค้ำประกันเงินกู้หรือไม่ แล้วถ้ามีหน่วยงานบริหารหนี้อะไรเนี่ย ออกมาบอกว่า คลังไปค้ำใครไม่ได้แล้ว เกินวงเงิน (ที่สร้างตัวเลขเพื่อฐานะการคลังที่ดี) ... และจะทำอย่างไร ... จะไม่ขุดกาซมาใช้แล้ว ซื้อเขาอย่างเดียวหรือไม่ .... .... .... ผมว่าเขาคงให้ shell หรือ Caltex ขุดให้แทน .... ได้ใช้กาซเหมือนกัน แต่ต้องเสียค่าต๋งให้ต่างชาติสักหน่อย  ขำก๊าก ขำก๊าก

ผมคิดว่า ปตท. มาเป็น บมจ.ปตท. ประชาชนไม่ได้อะไร แต่บริษัทน้ำมันอย่าง Q8, Jet (Conoco) ก็แย่หน่อย ต้องถอยออกจากประเทศเรา กลับไปเลียแผลที่บ้าน ....  ยิ้มีเลศนัย

อ้อ!!!
ปล. ผมเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ บมจ.ปตท. เพราะผมมีความเป็นเจ้าของอยู่ประมาณ ๑ คูณ ๑๐ ยกกำลังลบ ๗ หรือลบ ๘ เปอร์เซ็นนี่ล่ะ  ขำก๊าก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

andaman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 04:14:18 PM »

ไม่อยากให้เป็นรัฐวิสาหกิจ   ที่มีพนักงานล้นงาน รักษาและปกป้องผลประโยชน์ให้ตัวเอง อยากให้เป็นบริษัทของรัฐดำเนินกิจการด้านพลังงาน ที่มีความแข็งแกร่ง สามารถแข่งขันกับบริษัทต่างชาติได้ และสามารถขยายกิจการออกไปยังต่างประเทศได้
บันทึกการเข้า
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2007, 05:03:37 PM »

ผมอยากให้เหมือนตอน.....ซัมมิต
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 22 คำสั่ง