เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 19, 2024, 09:40:20 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความรู้เรื่องสุขภาพครับ  (อ่าน 4746 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:40:02 PM »


      อยากทราบว่า " ไขมันกับโฆเลสเตอรอลต่างกันอย่างไร? "

บันทึกการเข้า

                
jommy
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 95


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:48:12 PM »

คอเรสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งน่ะครับ คือไขมันมีหลายชนิด เป็นสิบๆชนิดเลย คอเรสเตอรอลก็เป็นหนึ่งในนั้นแค่นั้นเองครับ
บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:48:46 PM »

ไขมัน (Lipids) หมายถึง
สารอินทรีย์กลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ละลายน้ำ ปรากฏอยู่ในรูปของแข็งและของเหลวที่ได้จากพืชและสัตว์

ประเภทของไขมัน (แบ่งตามโครงสร้างทางเคมี)

1. กรดไขมันอิสระ (Free fatty acids)

2. คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

3. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

4. ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
 
 
 


กรดไขมัน (Fatty Acids)  กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids)
หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถจับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้
และไม่สามารถจะจับกับสารใด ๆ ได้อีก
ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ
เช่น เนยแข็ง น้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น
โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว


2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids)
หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้

กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว
ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด
เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนลา เป็นต้น

2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก
ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย
มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด
เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด


คอเลสเตอรอล (Cholesterol)
ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดี
ซึ่งช่วยย่อยอาหาร
ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดง
ทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น
เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์
และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดง



ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์
นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท
เช่น น้ำตาล

ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไป
จะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้
ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด
ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

 
ฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)
เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน  
 

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
บันทึกการเข้า
หลวงริน - รักในหลวง
ถ้าวันนี้ทำดี...เรื่องพรุ่งนี้ก็ไม่ต้องกังวล
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 688
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8829


อยู่คนเดียวให้ระวังความคิดอยู่กับมิตรให้ระวังวาจา


« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:52:52 PM »

จะตอบซะหน่อยพิมพ์ช้า

ให้ท่าน 51 เค้าได้หน้าไปคนเดียวก็แล้วกัน เยี่ยม
บันทึกการเข้า
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:54:03 PM »

คิดอะไรไม่ออก  บอกน้องห้า-หนึ่ง....ครับ คริ คริ

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...

บันทึกการเข้า
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 02:56:25 PM »

ชนิดของไขมัน

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat)
สังเกตง่าย ๆ คือ ไขมันที่มีแนวโน้มแข็งตัวหรือเป็นไขเมื่ออุณหภูมิเย็นลง เช่น เนยต่าง ๆ มาร์การีน ไขมันสัตว์ น้ำมันพืชบางชนิด น้ำมันปาล์ม ฯลฯ
มีประโยชน์ในการใช้เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย แต่ถ้ารับประทานมากจะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้ ดังนั้นจึงต้องจำกัดการรับประทานไม่ควรเกิน
10% ของพลังงาน หรือน้อยกว่า 22 กรัม ต่อวัน หรือ 1½ ช้อนโต๊ะ สำหรับผู้ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fat)
มี 2 จำพวก คือ
1. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFA)
2. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (MUFA) หรือ กรดโอเลอิก

• ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
คนทั่วไปรู้จักดี มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโอเมก้า 3 (กรดไลโนเลนิก) และ กลุ่มโอเมก้า 6 (กรดไลโนเลอิก) ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มจัดเป็นกรดไขมันจำเป็นสำหรับร่างกาย
การรับประทานไขมันกลุ่มนี้ มีประโยชน์จะช่วยลด โคเลสเตอรอลได้  แต่การรับประทานมากเกินกว่า 10% อาจจะลดไขมันที่ดี คือ HDL ซึ่งเป็นตัวลดโคเลสเตอรอล ในเลือด

• ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว หรือ MUFA
เป็นสารอาหารที่แพทย์ นักกำหนดอาหารนักโภชนาการ แนะนำให้รับประทานเพราะสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์
นอกจากนี้ยังช่วยให้น้ำเลือดไม่หนืดข้น ซึ่งให้ผลดีต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด และยังพบว่ายังมีส่วนช่วยเพิ่ม HDL ช่วยในการลดโคเลสเตอรอลในเลือด
ขนาดที่แนะนำให้รับประทาน คือสามารถให้ได้ถึง 20% ของพลังงาน แหล่งที่มี MUFA สูง คือ น้ำมันดอกทานตะวันชนิดเฉพาะที่มีกรด โอเลอิกสูง
ไม่ใช่น้ำมันดอกทานตะวันที่มีขายทั่วไป อย่างใดก็ตาม จำนวนไขมันทั้งหมดที่เรารับประทานก็ไม่ควรเกิน 30% ของพลังงานที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวัน

เลสเตอรอล คืออะไร
         โคเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นสำหรับร่างกายในการสร้างฮอร์โมนและเซล กระแสเลือดจะนำโคเลสเตอรอลไปสู่ส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย

ร่างกายได้โคเลสเตอรอลมาจากไหน
         ร่างกายสามารถผลิต โคเลสเตอรอลขึ้นเองได้ที่ตับและได้รับเพิ่มจากการกินอาหารบางชนิดที่มีโคเลสเตอรอล อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง กุ้ง ปู ปลาหมึก หอย สมองหมู ตับ ไต และน้ำมันหมู เป็นต้น

ทำไมโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินปกติ จึงอันตราย
         โคเลสเตอรอลที่มีอยู่ในกระแสเลือดนั้น ถ้ามีระดับสูงเกินกว่าปกติ(มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร) โคเลสเตอรอลจะไปเกาะตามผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแคบลง เลือดจึงไหลไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไม่เพียงพอ อาจเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด หัวใจอาจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลันได้

เราจะทราบได้อย่างไรว่า ระดับโคเลสเตอรอล ในเลือดสูงเกินกว่าปกติหรือไม่
         แพทย์เท่านั้นที่จะสามารถบอกำด้อย่างถูกต้องว่าท่านมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินปกติหรือไม่ โดยการตรวจเลือดเพียงเล็กน้อย ง่าย ๆ และ ไม่เจ็บ ท่านอาจมีโอกาสมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินปกติได้มากถ้าท่านมีน้ำหนักเกินปกติ ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่ ชอบทานอาหารมัน มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นโรคหัวใจหรือท่านออกกำลังกายน้อยหรือไม่เพียงพอ ท่านควรจะปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจหาระดับโคเลสเตอรอลในเลือดเสียแต่วันนี้

ถ้าระดับโคเลสเตอรอลสูงเกินปกติ เราจะลดระดับโคเลสเตอรอลได้อย่างไร
         ท่านสามารถลดระดับโคเลสเตอรอลได้ โดยการลดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว นมพร่องไขมัน ผักสด ผลไม้ เป็นต้น นอกจากนั้นท่านควรจะลดการปรุงอาหารโดยการใช้น้ำมันทอดโดยเปลี่ยนไป ต้ม นึ่ง หรือย่างแทน หรือถ้าทอด ก็ควรใช้น้ำมันพืชที่ทำจากถั่วเหลือง
         ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาช่วยลดปริมาณโคเลสเตอรอลแพทย์จะเป็นผู้ตัดสินใจให้ท่าน ควบคู่ไปกับการลดสาเหตุที่ทำให้โคเลสเตอรอลสูง



                             
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
Ramsjai
^ป้าแรมส์ใจดี^
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1075
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 7191


"ชีวิตมีคนที่เกลียดไม่กี่คน ที่เหลือรำคาญ"


« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 03:00:42 PM »

ไขมันในอาหารคือการที่สารอาหารชนิดนี้เป็นแหล่งของกรดไขมันจำเป็นเช่น linoeic acid และ linolenic acid ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การรักษาสมดุลของผิวหนัง ควบคุมการเผาผลาญคอเลสเทอรอล และยังเป็นสารตั้งต้นในการผลิต postagladin ที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย ไขมันยังมีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ A, D, E และ K รวมทั้ง carotenoids ด้วย ในบางกรณีไขมันจากอาหารยังเป็นวิตามินเองด้วย เช่น น้ำมันถั่วเหลืองเป็นแหล่งสำคัญของ วิตามิน E

ร่างกายมนุษย์สะสมไขมันไว้ภายในเซลล์ไขมัน (adipose cell) แต่ก็สามารถพบไขมันบางส่วนในเลือดและเซลล์อื่นๆได้ด้วย การสะสมไขมันในร่างกายมิใช่เพื่อสร้างความอบอุ่นให้ร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย

นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่มีต่อร่างกายแล้ว ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อ, และรสชาติของอาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต. ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว

โดยหลักการ ไขมันมิได้ถูกแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ แต่อย่างใด เพราะไขมันก็ประกอบขึ้นด้วยธาตุสามชนิดเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ คาร์บอน, ไฮโดรเจน, และออกซิเจน อย่างไรก็ตาม ไขมันจะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไฮโดรเจนมาก และมีออกซิเจนน้อย ซึ่งทำให้ไขมันมีพลังงานต่อมวลมากถึง 9 แคลอรีต่อกรัม ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานเพียง 4 แคลอรีต่อกรัม

โคเลสเตอรอล(cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายใช้สร้างเป็นเยื่อบุเซลล์ สร้างเป็นฉนวนหุ้มเส้นประสาท สร้างฮอร์โมนต่างๆ ที่สำคัญคือฮอร์โมนเพศ นอกจากนี้ ยังใช้สร้างเกลือน้ำดี ซึ่งช่วยในการย่อยอาหาร ร่างกายได้รับโคเลสเตอรอลจาก 2 ทางคือ

   1.จากอาหารที่มาจากสัตว์ ทั้งนี้อาหารที่มาจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอล อาหารที่มีโคลอสเตอรอลมากได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง และสัตว์ที่มีกระดอง เป็นต้น

   2. ร่างกายสร้างขึ้นเองที่ตับ เมื่อตับได้รับโคเลสเตอรอลจากอาหารมาก การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลในตับจะลดลง ในทางกลับกันถ้าลดปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร ตับจะสร้างโคเลสเตอรอลขึ้นมาเอง

ไม่ว่าจะเป็นโคเลสเตอรอลที่ตับสร้างขึ้นเองหรือได้จากอาหาร ตับจะส่งโคเลสเตอรอลไปสู่เนื้อเยื่ออื่นๆของร่างกาย โดยส่งรวมกับกรดไขมันและไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมากเรียก วีแอลดีแอล(VLDL) ซึ่งสร้างจากตับ เมื่อวีแอลดีแอลส่งกรดไขมันไปให้เนื้อเยื่อไขมันแล้ว ตัวมันเองจะมีความหนาแน่นมากขึ้นกลายเป็นไลโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำเรียกว่า แอลดีแอล(LDL) ซึ่งมีโคเลสเตอรอลเกาะอยู่ เนื้อเยื่ออื่นๆของร่างกายจะรับโคเลสเตอรอลไปได้ต้องมีตัวรับแอลดีแอล(LDL receptor) จากนั้นแอลดีแอลจะถูกพาเข้าเซลล์ แล้วถูกย่อยสลาย เซลล์จะนำโคเลสเตอรอลไปใช้สร้างหรือซ่อมแซมเยื่อเซลล์ของเนื้อเยื่อนั้น

เอสดีแอล(HDL) ทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับแอลดีแอล คือ ขนส่งโคเลสเตอรอลที่มากเกินพอในเซลล์กลับไปยังตับ

โคเลสเตอรอล : สาเหตุสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด

ในปัจจุบันโรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุของการตายอันดับต้นๆของคนไทย ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันสูง และการสูบบุหรี่ ซึ่งทั้งหมดเป็นปัจจัยที่ท่านสามารถควบคุมได้

   โดยทั่วไปเมื่อคนเราอายุมากขึ้น ผนังของหลอดเลือดแดงจะแข็งตัวขึ้นทำให้ขาดความยืดหยุ่น ถ้ามีแผ่นคราบไขมันซึ่งส่วนใหญ่เป็นโคเลสเตอรอลมาเกาะติดที่ผนังด้านในจะทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง(atherosclerosis) เมื่อเป็นมากขึ้น เลือดจะไหลผ่านไม่ดี เกิดเป็นก้อนอุดตันได้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด(coronary heart discase)

   จากการศึกษาในประชากรทั่วโลกพบว่า ผู้ใหญ่ที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่า 260 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จะมีอุบัติการณ์ของโรคหัวใจขาดเลือดสูงกว่าคนที่มีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 220 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ประมาณ 3-5 เท่า การที่มีระดับโคเลสเตอรอลรวม(total cholesterol) ในเลือดสูง ส่วนใหญ่เกิดจากการมีระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอลสูง(LDL-C)

   การมีระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอลมากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง เราจึงถือว่า แอลดีแอลโคเลสเตอรอลเป็นโคเลสเตอรอลเหลว ส่วนเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเป็นโคเลสเตอรอลดี เพราะทำหน้าที่ขนถ่ายโคเลสเตอรอลจากผนังหลอดเลือดแดงที่แอลดีแอลไปปล่อยไว้กลับคืนสู่ตับ ซึ่งตับจะเผาผลาญโคเลสเตอรอลเป็นน้ำดีแล้วขับออกจากร่างกายทางอุจจาระ เรายังพบว่า คนที่มีปริมาณระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอล(HDL-C)น้อยกว่า 35 มก./ดล. จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่มีเอชดีแอลโคเลสเตอรอลสูง

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด จะมีอาการเจ็บป่วย 3 แบบ ได้แก่

   1. มีอาการหัวใจวายเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วน

   2. มีอาการของโรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ(anginapectoris) คือมีอาการเจ็บหน้าอกแบบบีบรัดแน่นหน้าอก และปวดร้าวขึ้นคอ ขากรรไกร หรือไหล่ ซึ่งจะหายไปเองในช่วงเวลาสั้นๆ(มักไม่เกิน 5 นาที)

   3. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย(myocardiai infarction) ผู้ป่วยจะเจ็บกลางหน้าอกรุนแรง เจ็บร้าวลามไปถึงแขน คอและไหล่ มักเจ็บติดต่อนานเป็นชั่วโมงๆขึ้นไปร่วมกับอาการอ่อนเปลี้ย หอบเหนื่อย

ป้องกันโคเลสเตอรอลสูง

   ดังนั้น เรามีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดปริมาณโคเลสเตอรอลสูงในเลือดได้อย่างไร เพราะสุดท้ายแล้ว อาหารคือตัวเรา(you are what you eat)

   1. กินโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม ทำได้โดยลดหรือเลิกกินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง โดยเฉพาะเครื่องในสัตว์ สมองหมู หนังสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังเป็ด หนังหมู ไข่แดง(ไข่ขาวไม่มีโคเลสเตอรอล) ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม เป็นต้น เลือกกินเฉพาะเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมพร่องไขมัน

   2. ใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร

   3. ไม่ควรกินอาหารทอดเป็นประจำ เช่นกล้วยแขก ปลาท่องโก๋ ไก่ทอด รวมทั้งแกงกะทิด้วย

ปล.ขอบคุณข้อมูลจาก www.healthsquare.org ด้วยค่ะ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

ถ้าเป็นความทรงจำที่มีค่าล่ะก็..ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะคนตายจะมีชีวิตอยู่ในความทรงจำของเราเท่านั้น..
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #7 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 03:22:08 PM »

เคยอ่านเจอครับน้ำมันพืชควรเป็นน้ำมันถั่วเหลือง  หรือจากดอกทานตะวันเพราะ  น้ำมันปาล์มมีไตรกรีเซอไรล์
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 03:43:31 PM »

จะตอบซะหน่อยพิมพ์ช้า

ให้ท่าน 51 เค้าได้หน้าไปคนเดียวก็แล้วกัน เยี่ยม

พี่ต้อยรึ จะสู้ท่าน51 รายนั้น เค้ามีพยาบาลส่วนตั๊ว...ส่วนตัว....
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

MP 436
Hero Member
*****

คะแนน 186
ออฟไลน์

กระทู้: 1766



« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 04:08:55 PM »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ 
ผมตรวจสุขภาพครั้งล่าสุด คลอเรสเตอรอลอยู่ที่ 230 /
แพทย์บอกยังไม่ต้องใช้ยา  แนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอและควบคุมอาหารดีๆครับ
บันทึกการเข้า
VENDY
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1482
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6755



« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 04:29:26 PM »

ไม่ต้องตอบแล้ว   Grin  ไขมันมีทั้งที่เป็นดีและไม่ดีค่ะ  ตรวจสุขภาพประจำก็จะดีค่ะ
บันทึกการเข้า
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 04:39:20 PM »

พี่ปูคงทราบละเอียดแล้วครับ...

เทียบง่ายๆ...

ไขมัน เป็นชื่อกลุ่ม เหมือน คาร์โบไฮเดรต...

ฆอเลสเทอรอล เป็น ไขมัน ชนิดหนึ่ง เหมือน แป้งที่เป็น คาร์โบไฮเดรต ชนิดหนึ่งครับ...Cheesy
บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #12 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 05:03:48 PM »

ไม่ต้องตอบแล้ว   Grin  ไขมันมีทั้งที่เป็นดีและไม่ดีค่ะ  ตรวจสุขภาพประจำก็จะดีค่ะ

ก็ไม่ยอมกลับบ้านไปตรวจนานแล้วนี่ ...... อ้างแต่งานยุ่ง

พี่ปูคงทราบละเอียดแล้วครับ...
เทียบง่ายๆ...
ไขมัน เป็นชื่อกลุ่ม เหมือน คาร์โบไฮเดรต...
ฆอเลสเทอรอล เป็น ไขมัน ชนิดหนึ่ง เหมือน แป้งที่เป็น คาร์โบไฮเดรต ชนิดหนึ่งครับ...Cheesy

ขอบคุณครับคุณพ่อน้องแตงกวา

ขอถามคุณพ่อน้องข้าวหอมอีกอย่างครับว่า

ไขมันแบบโฆเลสเตอรอลทำไมถึงมีโทษมหันต์หนักหนา เป็นบ่อเกิดสารพัดโรคที่อันตรายถึงชีวิต

และการกำจัดรักษาทำไมถึงยากเย็นนักครับ ..... การออกกำลังกายเข้าใจว่าช่วยได้เพียงเล็กน้อย

ต้องอาศัยการรักษาด้วยการให้ยาเป็นหลัก ถูกต้องหรือไม่ครับน้าหมอ

บันทึกการเข้า

                
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #13 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 05:17:10 PM »

ไขมันมันมีอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวครับ     มีพวกอิ่มตัวมากๆเลือดก็ข้นหนืด     แนะนำให้ทานแป้งและไขมันสัตว์ให้น้อยสุดครับ   เพราะที่สะสมมาจนปูนนี้มันก็เยอะแล้ว     หมอสาวๆชอบบอกให้งดของมันๆ(ตีความเองนะครับ)    ผมจะใช้วิธีทานผักในตอนเช้าและเที่ยง
มื้อเย็นก็ตามสะดวก    อย่างน้อยสุดผักมันก็ช่วยดูดซึมไขมันต่างๆไว้    และขับออกทางอุจจาระทางคนทานถ่านไม้ป่นเพื่อดูดซับไขมันก็มีและมียา    XENICAL   ของ  ROCHE   ทานพร้อมอาหารพวกไขมันๆจะไม่ถูกดูดซึม   และขับถ่ายออกไปพร้อมอุจจาระ   ผมก็ใช้ยานี้แหละเวลาเจอมื้อหนักๆมันๆ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
supreme
Hero Member
*****

คะแนน 127
ออฟไลน์

กระทู้: 1187



« ตอบ #14 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2007, 07:46:17 PM »

ไตไม่ดีก็ทำให้โคเลสเตอรอลสูงได้เช่นกันครับ  ส่วนการรักษาโรคพวกนี้ผมว่าเราต้องดูแลตัวเองคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป ฯลฯ ก็จะเป็นภูมิคุ้มกันให้เราดีที่สุดและแก้ปัญหาได้ตรงจุดที่สุด  ส่วนการทานยามันปลายเหตุแล้วครับ  พูด(พิมพ์)เหมือนเก่งแต่ผมก็ทำไม่ได้๑๐๐% ก็เลยออกกำลังบ้างไม่ประจำ กินยาบ้างบางวัน  Grin Grin
บันทึกการเข้า

การศึกษาโดยไม่คิด ไร้ประโยชน์    การคิดโดยไม่ศึกษา เป็นอันตราย
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.103 วินาที กับ 21 คำสั่ง