เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 18, 2024, 09:36:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: +++ แนวความคิด เทคนิคเครื่องบินต่อสู้ และปรับสู่ชีวิตประจำวันครับ+++  (อ่าน 8826 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 22 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
(( สองคุง ))
กับชีวิต มันก็แค่เนี๊ย..!
Hero Member
*****

คะแนน 196
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1769


สู้ตายค๊าาา !


« เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:04:27 AM »

 หลงรัก  สวัสดีครับ  ผมได้ข้อมูลตัวนี้มาครับ  ก็เลยอยากพี่ๆ ได้อ่านเล่นๆกันครับ หลงรัก

                    Grin ;Dจอห์น บอยด์...OODA loop  และ F-16
   ชื่อข้างต้นดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันหากผู้อ่านไม่เคยสนใจเรื่องราวของนักบินขับไล่  กระบวนการตัดสินใจใช้อาวุธและเครื่องบินขับไล่มาก่อน  แต่แท้จริงแล้วมันเกี่ยวกัน ทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันด้วยคือท้องฟ้าเหนือเวียตนามเหนือ
   เรื่องเริ่มขึ้นในวันหนึ่งของเดือนเมษายนปี 1965 ขณะเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯคือF-105 “ธันเดอร์ชีฟ”4 เครื่อง กำลังปฏิบัติภารกิจทำลายสะพานธานห์หัว   จุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ถูกขนานนามว่า”ขากรรไกรมังกร”  ระหว่างกำลังเข้าสู่ที่หมายนั้นพลันเครื่องบิน MiG-17ของเวียตนามเหนือจำนวนหนึ่งได้พุ่งเข้ามากลางวง  ไม่ได้แค่สร้างความประหลาดใจแต่ยังยิงเครื่องบินอเมริกันตกไปสองเครื่องรวด  เครื่องที่สามเสียหายหนักและพยายามหนี   นักบินในF-105เครื่องที่สี่พยายามช่วยเพื่อนแต่กลับพบว่ามีมิกอีกเครื่องมาจี้ท้าย!
                      (F - 105 ครับ)



   F-105 เป็นเครื่องบินหนึ่งในรุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศขณะนั้น  อยู่ใน”Century Series”   หรือเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 2 ที่ออกแบบในทศวรรษ 1950  ส่วนMiG-17 คือเครื่องบินขับไล่ใหม่ของค่ายโซเวียตที่มาทดแทน MiG-15 เดิมตั้งแต่ครั้งสงครามเกาหลี   มันขับง่ายกว่า MiG-15 แต่ยังช้ากว่าเจ้า”ธัด”ของสหรัฐฯที่ทำความเร็วได้ 1,300 ไมล์/ช.ม.  เทียบกันปอนด์ต่อปอนด์เครื่องบินอเมริกันเร็วกว่าหลุดลุ่ย
              ( MIG - 17 ครับ )


   แต่สถานการณ์ในตอนนี้ความเร็วช่วยอะไรไม่ได้  ถ้าจะเร่งหนี”ธัด”ต้องเปิดสันดาปท้าย  เร็วจริงแต่เปลืองน้ำมันจนอาจกลับไม่ถึงบ้าน  ทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่คือเข้าคลุกวงในกับMiGแบบยอมแลก  นักบินอเมริกันพยายามหลบด้วยท่าทางการบินตามแต่จะนึกออก  แต่MiGก็เลี้ยวได้แคบกว่าทุกที  มันเลี้ยวดักทางได้ทุกท่วงท่าชนิดที่นักบินอเมริกันไม่มีทางสะบัดหลุด  กลับมาอยู่ในตำแหน่งยิงเบื้องหลังได้ทุกครั้งชนิดเป้าหมายหมดทางสู้

   พอหมดหนทางเข้านักบิน F-105 ก็นึกถึงคำบรรยายของเรืออากาศเอกคนหนึ่งผู้เคยมาเยือน”Fighter Weapon School”หรือโครงการฝึกนักบินขับไล่ขั้นสูง ณ ฐานทัพอากาศเนลลิส เนวาดา  นายเรืออากาศเอกผู้นั้นเคยบรรยายถึงกลยุทธการป้องกันตัวเองยามเข้าต่อตีระยะประชิดกับข้าศึก  เป็นยุทธวิธีที่น่าจะเหมาะกับนักบิน F-105 ด้วยเมื่อคับขัน  คือการดึงคันบังคับเข้าหาตัวอย่างแรงและโยกหลบซ้าย  เหยียบกระเดื่องบังคับแพนหางตั้งเบนซ้ายแล้วกลับลำเครื่องฉับพลัน
      (การบังคับทิศทางของเครื่องบินเบื้องต้นครับ)
 
 

   เริ่มแรกการทำเช่นนี้ดูจะช่วยอะไรไม่ได้  ใครๆก็รู้ว่า F-105 นั้นใหญ่อุ้ยอ้าย  เอี้ยวตัวไปทางไหนแต่ละครั้งข้าศึกรู้ทางหมด MiGที่เล็กกว่าย่อมกลับลำได้เร็วกว่า  แต่นักบินอเมริกันไม่มีอะไรจะเสีย  ได้ลองยังดีกว่ายอมถูกยิงร่วง  เขาทำตามคำของครู  ดึงคันบังคับเข้าหาตัวแล้วหักซ้าย เหยียบกระเดื่อง เครื่องบินหมุนแล้วลดความเร็วลงได้เหลือเชื่อจนMiGพุ่งแซงหน้า  นักบินF-105แทบไม่เชื่อสายตากับสิ่งที่เห็น แทนที่จะเหนี่ยวไกลั่นกระสุนเมื่อเป้าพุ่งผ่านศูนย์ปืนเขากลับงงเป็นไก่ตาแตก จะเหนี่ยวไกยิงก็ช้าเกิน  และการทำลายเครื่องบินข้าศึกก็ไม่ใช่ภารกิจหลัก คิดได้จึงตีวงหักหนีกลับบ้านไปแทนการไล่อัดMiGจนน้ำมันหมด
   
                เรืออากาศเอกคนดังกล่าวคือจอห์น บอยด์  หรือสุดยอดนักบินขับไล่ผู้มีฉายา”บอยด์ 40วิ” จากการชนะพนันระหว่างฝึกรบกลางอากาศ  บอยด์จะเริ่มด้วยการปล่อยให้เพื่อนมาไล่จี้ท้ายหาตำแหน่งยิง  แล้วภายใน 40 วินาทีเขาก็จะกลับทิศทางมาเป็นฝ่ายสังหารจ่อท้ายเครื่องของเพื่อนได้สำเร็จ  บอยด์วางเงินเดิมพัน 40 ดอลลาร์เริ่มแรกเสมอ   แต่เขาไม่เคยเสียมันไปเลยแม้แต่ครั้งเดียว


   ประสบการณ์ของบอยด์ทำให้เขาถูกแต่งตั้งมาเป็นครูการบินใน Fighter Weapon School และจากความช่างคิดเช่นกันที่ทำเขาให้สรุปการดำเนินกลยุทธขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้นักบินพาตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งดีที่สุดในการทำลายเป้าหมาย  แนวความคิดทั้งหมดของบอยด์ปรากฏในหนังสือ Aerial Attack Study ซึ่งกลายเป็นบทเรียนยุทธวิธีเบื้องต้นสำหรับการรบทางอากาศทั้งในสหรัฐฯและต่างประเทศ  ด้วยนิสัยห่ามและชอบท้าทายกรอบความคิดแบบเดิมทำให้บอยด์คิดอะไรแปลกๆได้เสมอ     แนวความคิดที่เขาตั้งข้อสงสัยคือเรื่อง”ความเร็ว”ที่พวกนักออกแบบเครื่องบินรบสมัยนั้นพากันคลั่งไคล้

   ความเร็วคือสิ่งที่เครื่องบินรบอเมริกันต้องทำให้ได้ในทศวรรษ 1950  เครื่องบินที่ผลิตออกมาในช่วงนี้จึงเน้นความเร็วเป็นหลักด้วยความคิดว่ายิ่งเร็วยิ่งดี  แต่ประสบการณ์จริงบอกบอยด์ไปคนละเรื่อง  เจออะไรไม่เข้าท่าบ่อยครั้งเข้าเขาจึงเก็บข้อมูลไว้  ก่อนจะพบว่าเครื่องบินที่ถูกตราหน้าว่าห่วยอย่าง MiG-15และMiG-17 ที่ทั้งช้าทั้งสั้นม่อต้อและเหมือนพ้นสมัย กลับยิงเครื่องบินอเมริกันที่เร็วกว่าตกเป็นว่าเล่น   ปัญหาที่บอยด์ขบแตกคือถึงจะเก่าและช้ากว่า แต่เจ้าMiGพวกนั้นคล่องตัวกว่าเครื่องบินอเมริกันที่เร็วและ”ดูเหมือน”ดีกว่า
                    (MIG - 15)                                                                           (MIG - 17 )
   
   MiGเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วกว่า  เทียบกันโค้งต่อโค้งเห็นได้ชัดว่าวงเลี้ยวแคบกว่า นักบินอเมริกันจะหลบหรือสาดโค้งยังไงก็สะบัดไม่หลุดพาตัวเองเข้าไปอยู่ในศูนย์ปืนข้าศึกทุกที  สถิติเป็นตัวยืนยันว่าบอยด์ถูก  เขาชี้เปรี้ยงว่าระหว่างพันตูกันกลางหาวนั้นเน้นเร็วอย่างเดียวก็สูญเปล่า  ยิ่งมีข้อมูลเครื่องบินโซเวียตเพิ่มขึ้นบอยด์ยิ่งมั่นใจว่าทฤษฎีของตนถูก  ลำพังความเร็วย่อมไม่มีทางได้เปรียบความคล่องตัว เมื่อนำข้อมูลทางวิศวกรรมและประสบการณ์ของนักบินสองค่ายมาเทียบกัน  ผลสรุปก็ยิ่งน่าตกใจ  หากปล่อยให้ยังดวลกันอย่างนี้ต่อไปรับรองได้ว่าเครื่องบินอเมริกันถูกสอยร่วงไม่เหลือ

   คำถามของบอยด์ต่อกองทัพอากาศ  คือ”กองทัพอากาศเอาแต่ออกแบบเครื่องบินที่แพ้ข้าศึกวันยังค่ำได้ยังไง? หรือหากจะถามแบบบอยด์ก็คือ”นักบินขับไล่ของเราโดนไอ้พวกป่าเถื่อนนั่นยิงตกได้ไงวะ?”  นอกจากเร็วเกินแล้วเครื่องบินในCentury Series ยังใหญ่ ควันขาวเห็นแต่ไกล นักบินมองเห็นไม่รอบตัว  คนถูกยิงที่สะพานธานห์หัวไม่รู้ด้วยซ้ำว่าMiGพุ่งมาจากไหน  เห็นได้ชัดว่านักบินMiGมองเห็นเครื่องบินอเมริกันก่อน ปรับตัว ตัดสินใจและใช้อาวุธได้ก่อน จึงมีโอกาสชนะมากกว่า
ข้อมูลที่รวบรวมได้ผนวกประสบการณ์ส่วนตัวทำให้บอยด์สรุปกระบวนการตัดสินใจเข้าต่อตีเป็นอักษรสี่ตัวคือ OODA(Observe สังเกต,Orient ปรับตัว,Decide ตัดสินใจ และ Act ใช้อาวุธ) กระบวนการตัดสินใจเป็นวงรอบซ้ำไปมานี้ถูกรวมเรียกง่ายๆว่า”OODA loop”  นักบินผู้ดำเนินกระบวนการ”อูดา”นี้ได้เร็วกว่าข้าศึกย่อมชนะ   จุดใหญ่ใจความคือผู้ประมวลผลข้อมูลได้ดีกว่าคือผู้ชนะ


   สมมุติว่าเครื่องบินของฝ่ายเราบินเลี้ยวได้แคบกว่าข้าศึก 10 หรือ 20  เปอร์เซ็นต์  ไม่ว่าจะได้เปรียบอย่างไรก็ตามมันจะไม่มีประโยชน์ถ้ายังไม่ได้ทิ้งโค้ง  แต่ถ้าข้าศึกหักเลี้ยวได้เร็วกว่าเราซึ่งกำลังคิดและหาทางใช้อาวุธ  ลงมือยิงก่อน  ความได้เปรียบของเราก็ไร้ค่า จากตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เห็นก่อน ปรับตัวได้ก่อน ตัดสินใจและใช้อาวุธได้เร็วกว่าย่อมเป็นฝ่ายชนะ  ใครก็ตามที่เข้าสู่”วงรอบอูดา”ได้ก่อนและเสร็จสิ้นเร็วกว่า จะทำลายเป้าหมายได้ก่อน 


   ความหัวแข็ง ยึดมั่นในความคิดและไม่ยอมใครของบอยด์ทำให้อยู่ยากในกองทัพ  หลังจากรู้ว่าตัวเองไม่มีทางเป็นนายพลเขาจึงลาออกในปี 1975 พร้อมแนวความคิดการสร้างเครื่องบินเพื่อช่วยให้นักบินจบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็ว  ทั้งที่เป็นพลเรือนแล้วแต่ยังทำงานให้กระทรวงกลาโหม ทฤษฎีของบอยด์ก่อให้เกิดเครื่องบินขับไล่แบบใหม่คือ F-15 ที่เน้นความคล่องตัวระหว่างคลุกวงใน  แต่ถูกพัฒนาออกไปอีกหลังจากหลุดพ้นกองทัพ  F-16 คือเครื่องบินขับไล่ประสบความสำเร็จสูงทั้งด้านการตลาดและสมรรถนะจากหัวคิดของบอยด์  สิ่งที่ดีอยู่อยู่แล้วใน F-15 ได้ถูกปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นใน F-16 มันคล่องตัวกว่าและทัศนวิสัยของนักบินก็ดีกว่า  ด้วยฝาครอบห้องนักบินกระจกชิ้นเดียวไร้รอยต่อเหนือลำตัว ที่นั่งยกสูงและเอน  เป็นเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ที่ย้อนยุคไปใช้แนวความคิดเดิมของเครื่องบินรุ่นเก่าอย่าง F-84”ธันเดอร์เจ็ต” และ F-86 “เซเบอร์”เพื่อออกแบบห้องนักบินและฝาครอบทรงกลม เอื้ออำนวยต่อการเข้าสู่วงรอบ”อูดา”ของนักบินให้เร็วที่สุด
                                                                ( F - 15 )               
 


                                                                ( f - 16 )


ความสามารถของ F -16  คลิกที่นี่ครับ  http://www.youtube.com/watch?v=7r1TF9MoFbk&feature=related

   นอกจากคล่องตัวและทัศนวิสัยยอดเยี่ยม  มันต้องเบาและไม่แพงจนกองทัพอากาศสามารถซื้อไว้ใช้ได้ทีละมากๆ  บอยด์เชื่อว่าสงครามเวหาในอนาคตต้องการเครื่องบินความคล่องตัวสูงเยี่ยงนี้ เพราะเป็นสงครามที่วัดผลแพ้ชนะกันด้วยข้อมูลข่าวสาร ใครมีข้อมูลมากและดีกว่า จบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็วกว่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ

   หลังจากหมดภารกิจในกระทรวงกลาโหมปี 1988 บอยด์ย้ายไปใช้ชีวิตในฟลอริดา  “OODA loop”ของเขามีประโยชน์มากกว่าแค่ใช้สอนนักบิน  ดัดแปลงให้ดีมันใช้ได้ด้วยกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  นักบาสเก็ตบอลที่จบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็วกว่าฝ่ายตรงข้ามจะดักทางเคลื่อนไหวตัดลูกได้ถูก  กองกำลังภาคพื้นดินที่ดำเนินกระบวนการ”อูดา”เร็วกว่าจะยึดที่หมายได้ก่อนและสูญเสียน้อย 
แม้ในเชิงการค้าถ้าธุรกิจใด”รู้เขา”(Observe),”รู้เรา(Orient),ตัดสินใจ(Decide) และดำเนินกลยุทธการตลาด(Act)ได้เร็วกว่า  ก็ย่อมทำกำไรได้มากกว่าและกันคู่แข่งออกจากตลาดได้

   มีคนรู้น้อยเหลือเกินว่าบางแนวความคิดในการทำธุรกิจ  แท้จริงมีต้นตอจากแค่นักบินอเมริกันคนหนึ่งพยายามหาทางยิง MiGข้าศึกให้ร่วงเท่านั้น!


บทความ ของคุณสรศักดิ์  สุบงกช
ภาพประกอบ โดย  สอง....
อ้างอิงจาก http://www.thaiairsoftgun.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27&PHPSESSID=159bebe0b4c26daea6483d2c9dfe5b7a

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 27, 2007, 08:42:55 PM โดย ( ^สอง^ ) » บันทึกการเข้า


((( คิดได้ช่วยคิด  คิดไม่ได้ช่วยทำ  ทำไม่ได้ช่วยเป็นกำลังใจ  เป็นกำลังใจไม่ได้ก็ "นิ่งเสีย..!" )))
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:10:42 AM »

ขอบคุณครับ  ไหว้

เยี่ยมครับ   เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า

kiat999
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:13:07 AM »

หลงรัก  สวัสดีครับ  ผมได้ข้อมูลตัวนี้มาครับ  ก็เลยอยากพี่ๆ ได้อ่านกันครับ หลงรัก

                    Grin ;Dจอห์น บอยด์...OODA loop  และ F-16
   ชื่อข้างต้นดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกันหากผู้อ่านไม่เคยสนใจเรื่องราวของนักบินขับไล่  กระบวนการตัดสินใจใช้อาวุธและเครื่องบินขับไล่มาก่อน  แต่แท้จริงแล้วมันเกี่ยวกัน ทั้งหมดมีจุดเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันด้วยคือท้องฟ้าเหนือเวียตนามเหนือ
   เรื่องเริ่มขึ้นในวันหนึ่งของเดือนเมษายนปี 1965 ขณะเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศสหรัฐฯคือF-105 “ธันเดอร์ชีฟ”4 เครื่อง กำลังปฏิบัติภารกิจทำลายสะพานธานห์หัว   จุดยุทธศาสตร์สำคัญที่ถูกขนานนามว่า”ขากรรไกรมังกร”  ระหว่างกำลังเข้าสู่ที่หมายนั้นพลันเครื่องบิน MiG-17ของเวียตนามเหนือจำนวนหนึ่งได้พุ่งเข้ามากลางวง  ไม่ได้แค่สร้างความประหลาดใจแต่ยังยิงเครื่องบินอเมริกันตกไปสองเครื่องรวด  เครื่องที่สามเสียหายหนักและพยายามหนี   นักบินในF-105เครื่องที่สี่พยายามช่วยเพื่อนแต่กลับพบว่ามีมิกอีกเครื่องมาจี้ท้าย!



   F-105 เป็นเครื่องบินหนึ่งในรุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศขณะนั้น  อยู่ใน”Century Series”   หรือเครื่องบินขับไล่รุ่นที่ 2 ที่ออกแบบในทศวรรษ 1950  ส่วนMiG-17 คือเครื่องบินขับไล่ใหม่ของค่ายโซเวียตที่มาทดแทน MiG-15 เดิมตั้งแต่ครั้งสงครามเกาหลี   มันขับง่ายกว่า MiG-15 แต่ยังช้ากว่าเจ้า”ธัด”ของสหรัฐฯที่ทำความเร็วได้ 1,300 ไมล์/ช.ม.  เทียบกันปอนด์ต่อปอนด์เครื่องบินอเมริกันเร็วกว่าหลุดลุ่ย


   แต่สถานการณ์ในตอนนี้ความเร็วช่วยอะไรไม่ได้  ถ้าจะเร่งหนี”ธัด”ต้องเปิดสันดาปท้าย  เร็วจริงแต่เปลืองน้ำมันจนอาจกลับไม่ถึงบ้าน  ทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่คือเข้าคลุกวงในกับMiGแบบยอมแลก  นักบินอเมริกันพยายามหลบด้วยท่าทางการบินตามแต่จะนึกออก  แต่MiGก็เลี้ยวได้แคบกว่าทุกที  มันเลี้ยวดักทางได้ทุกท่วงท่าชนิดที่นักบินอเมริกันไม่มีทางสะบัดหลุด  กลับมาอยู่ในตำแหน่งยิงเบื้องหลังได้ทุกครั้งชนิดเป้าหมายหมดทางสู้

   พอหมดหนทางเข้านักบิน F-105 ก็นึกถึงคำบรรยายของเรืออากาศเอกคนหนึ่งผู้เคยมาเยือน”Fighter Weapon School”หรือโครงการฝึกนักบินขับไล่ขั้นสูง ณ ฐานทัพอากาศเนลลิส เนวาดา  นายเรืออากาศเอกผู้นั้นเคยบรรยายถึงกลยุทธการป้องกันตัวเองยามเข้าต่อตีระยะประชิดกับข้าศึก  เป็นยุทธวิธีที่น่าจะเหมาะกับนักบิน F-105 ด้วยเมื่อคับขัน  คือการดึงคันบังคับเข้าหาตัวอย่างแรงและโยกหลบซ้าย  เหยียบกระเดื่องบังคับแพนหางตั้งเบนซ้ายแล้วกลับลำเครื่องฉับพลัน
 


   เริ่มแรกการทำเช่นนี้ดูจะช่วยอะไรไม่ได้  ใครๆก็รู้ว่า F-105 นั้นใหญ่อุ้ยอ้าย  เอี้ยวตัวไปทางไหนแต่ละครั้งข้าศึกรู้ทางหมด MiGที่เล็กกว่าย่อมกลับลำได้เร็วกว่า  แต่นักบินอเมริกันไม่มีอะไรจะเสีย  ได้ลองยังดีกว่ายอมถูกยิงร่วง  เขาทำตามคำของครู  ดึงคันบังคับเข้าหาตัวแล้วหักซ้าย เหยียบกระเดื่อง เครื่องบินหมุนแล้วลดความเร็วลงได้เหลือเชื่อจนMiGพุ่งแซงหน้า  นักบินF-105แทบไม่เชื่อสายตากับสิ่งที่เห็น แทนที่จะเหนี่ยวไกลั่นกระสุนเมื่อเป้าพุ่งผ่านศูนย์ปืนเขากลับงงเป็นไก่ตาแตก จะเหนี่ยวไกยิงก็ช้าเกิน  และการทำลายเครื่องบินข้าศึกก็ไม่ใช่ภารกิจหลัก คิดได้จึงตีวงหักหนีกลับบ้านไปแทนการไล่อัดMiGจนน้ำมันหมด
   
                เรืออากาศเอกคนดังกล่าวคือจอห์น บอยด์  หรือสุดยอดนักบินขับไล่ผู้มีฉายา”บอยด์ 40วิ” จากการชนะพนันระหว่างฝึกรบกลางอากาศ  บอยด์จะเริ่มด้วยการปล่อยให้เพื่อนมาไล่จี้ท้ายหาตำแหน่งยิง  แล้วภายใน 40 วินาทีเขาก็จะกลับทิศทางมาเป็นฝ่ายสังหารจ่อท้ายเครื่องของเพื่อนได้สำเร็จ  บอยด์วางเงินเดิมพัน 40 ดอลลาร์เริ่มแรกเสมอ   แต่เขาไม่เคยเสียมันไปเลยแม้แต่ครั้งเดียว


   ประสบการณ์ของบอยด์ทำให้เขาถูกแต่งตั้งมาเป็นครูการบินใน Fighter Weapon School และจากความช่างคิดเช่นกันที่ทำเขาให้สรุปการดำเนินกลยุทธขั้นพื้นฐานขึ้น เพื่อให้นักบินพาตัวเองไปอยู่ในตำแหน่งดีที่สุดในการทำลายเป้าหมาย  แนวความคิดทั้งหมดของบอยด์ปรากฏในหนังสือ Aerial Attack Study ซึ่งกลายเป็นบทเรียนยุทธวิธีเบื้องต้นสำหรับการรบทางอากาศทั้งในสหรัฐฯและต่างประเทศ  ด้วยนิสัยห่ามและชอบท้าทายกรอบความคิดแบบเดิมทำให้บอยด์คิดอะไรแปลกๆได้เสมอ     แนวความคิดที่เขาตั้งข้อสงสัยคือเรื่อง”ความเร็ว”ที่พวกนักออกแบบเครื่องบินรบสมัยนั้นพากันคลั่งไคล้

   ความเร็วคือสิ่งที่เครื่องบินรบอเมริกันต้องทำให้ได้ในทศวรรษ 1950  เครื่องบินที่ผลิตออกมาในช่วงนี้จึงเน้นความเร็วเป็นหลักด้วยความคิดว่ายิ่งเร็วยิ่งดี  แต่ประสบการณ์จริงบอกบอยด์ไปคนละเรื่อง  เจออะไรไม่เข้าท่าบ่อยครั้งเข้าเขาจึงเก็บข้อมูลไว้  ก่อนจะพบว่าเครื่องบินที่ถูกตราหน้าว่าห่วยอย่าง MiG-15และMiG-17 ที่ทั้งช้าทั้งสั้นม่อต้อและเหมือนพ้นสมัย กลับยิงเครื่องบินอเมริกันที่เร็วกว่าตกเป็นว่าเล่น   ปัญหาที่บอยด์ขบแตกคือถึงจะเก่าและช้ากว่า แต่เจ้าMiGพวกนั้นคล่องตัวกว่าเครื่องบินอเมริกันที่เร็วและ”ดูเหมือน”ดีกว่า


   MiGเปลี่ยนทิศทางได้รวดเร็วกว่า  เทียบกันโค้งต่อโค้งเห็นได้ชัดว่าวงเลี้ยวแคบกว่า นักบินอเมริกันจะหลบหรือสาดโค้งยังไงก็สะบัดไม่หลุดพาตัวเองเข้าไปอยู่ในศูนย์ปืนข้าศึกทุกที  สถิติเป็นตัวยืนยันว่าบอยด์ถูก  เขาชี้เปรี้ยงว่าระหว่างพันตูกันกลางหาวนั้นเน้นเร็วอย่างเดียวก็สูญเปล่า  ยิ่งมีข้อมูลเครื่องบินโซเวียตเพิ่มขึ้นบอยด์ยิ่งมั่นใจว่าทฤษฎีของตนถูก  ลำพังความเร็วย่อมไม่มีทางได้เปรียบความคล่องตัว เมื่อนำข้อมูลทางวิศวกรรมและประสบการณ์ของนักบินสองค่ายมาเทียบกัน  ผลสรุปก็ยิ่งน่าตกใจ  หากปล่อยให้ยังดวลกันอย่างนี้ต่อไปรับรองได้ว่าเครื่องบินอเมริกันถูกสอยร่วงไม่เหลือ

   คำถามของบอยด์ต่อกองทัพอากาศ  คือ”กองทัพอากาศเอาแต่ออกแบบเครื่องบินที่แพ้ข้าศึกวันยังค่ำได้ยังไง? หรือหากจะถามแบบบอยด์ก็คือ”นักบินขับไล่ของเราโดนไอ้พวกป่าเถื่อนนั่นยิงตกได้ไงวะ?”  นอกจากเร็วเกินแล้วเครื่องบินในCentury Series ยังใหญ่ ควันขาวเห็นแต่ไกล นักบินมองเห็นไม่รอบตัว  คนถูกยิงที่สะพานธานห์หัวไม่รู้ด้วยซ้ำว่าMiGพุ่งมาจากไหน  เห็นได้ชัดว่านักบินMiGมองเห็นเครื่องบินอเมริกันก่อน ปรับตัว ตัดสินใจและใช้อาวุธได้ก่อน จึงมีโอกาสชนะมากกว่า
ข้อมูลที่รวบรวมได้ผนวกประสบการณ์ส่วนตัวทำให้บอยด์สรุปกระบวนการตัดสินใจเข้าต่อตีเป็นอักษรสี่ตัวคือ OODA(Observe สังเกต,Orient ปรับตัว,Decide ตัดสินใจ และ Act ใช้อาวุธ) กระบวนการตัดสินใจเป็นวงรอบซ้ำไปมานี้ถูกรวมเรียกง่ายๆว่า”OODA loop”  นักบินผู้ดำเนินกระบวนการ”อูดา”นี้ได้เร็วกว่าข้าศึกย่อมชนะ   จุดใหญ่ใจความคือผู้ประมวลผลข้อมูลได้ดีกว่าคือผู้ชนะ


   สมมุติว่าเครื่องบินของฝ่ายเราบินเลี้ยวได้แคบกว่าข้าศึก 10 หรือ 20  เปอร์เซ็นต์  ไม่ว่าจะได้เปรียบอย่างไรก็ตามมันจะไม่มีประโยชน์ถ้ายังไม่ได้ทิ้งโค้ง  แต่ถ้าข้าศึกหักเลี้ยวได้เร็วกว่าเราซึ่งกำลังคิดและหาทางใช้อาวุธ  ลงมือยิงก่อน  ความได้เปรียบของเราก็ไร้ค่า จากตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้เห็นก่อน ปรับตัวได้ก่อน ตัดสินใจและใช้อาวุธได้เร็วกว่าย่อมเป็นฝ่ายชนะ  ใครก็ตามที่เข้าสู่”วงรอบอูดา”ได้ก่อนและเสร็จสิ้นเร็วกว่า จะทำลายเป้าหมายได้ก่อน 


   ความหัวแข็ง ยึดมั่นในความคิดและไม่ยอมใครของบอยด์ทำให้อยู่ยากในกองทัพ  หลังจากรู้ว่าตัวเองไม่มีทางเป็นนายพลเขาจึงลาออกในปี 1975 พร้อมแนวความคิดการสร้างเครื่องบินเพื่อช่วยให้นักบินจบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็ว  ทั้งที่เป็นพลเรือนแล้วแต่ยังทำงานให้กระทรวงกลาโหม ทฤษฎีของบอยด์ก่อให้เกิดเครื่องบินขับไล่แบบใหม่คือ F-15 ที่เน้นความคล่องตัวระหว่างคลุกวงใน  แต่ถูกพัฒนาออกไปอีกหลังจากหลุดพ้นกองทัพ  F-16 คือเครื่องบินขับไล่ประสบความสำเร็จสูงทั้งด้านการตลาดและสมรรถนะจากหัวคิดของบอยด์  สิ่งที่ดีอยู่อยู่แล้วใน F-15 ได้ถูกปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นใน F-16 มันคล่องตัวกว่าและทัศนวิสัยของนักบินก็ดีกว่า  ด้วยฝาครอบห้องนักบินกระจกชิ้นเดียวไร้รอยต่อเหนือลำตัว ที่นั่งยกสูงและเอน  เป็นเครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ที่ย้อนยุคไปใช้แนวความคิดเดิมของเครื่องบินรุ่นเก่าอย่าง F-84”ธันเดอร์เจ็ต” และ F-86 “เซเบอร์”เพื่อออกแบบห้องนักบินและฝาครอบทรงกลม เอื้ออำนวยต่อการเข้าสู่วงรอบ”อูดา”ของนักบินให้เร็วที่สุด



   นอกจากคล่องตัวและทัศนวิสัยยอดเยี่ยม  มันต้องเบาและไม่แพงจนกองทัพอากาศสามารถซื้อไว้ใช้ได้ทีละมากๆ  บอยด์เชื่อว่าสงครามเวหาในอนาคตต้องการเครื่องบินความคล่องตัวสูงเยี่ยงนี้ เพราะเป็นสงครามที่วัดผลแพ้ชนะกันด้วยข้อมูลข่าวสาร ใครมีข้อมูลมากและดีกว่า จบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็วกว่าจะเป็นฝ่ายได้เปรียบ

   หลังจากหมดภารกิจในกระทรวงกลาโหมปี 1988 บอยด์ย้ายไปใช้ชีวิตในฟลอริดา  “OODA loop”ของเขามีประโยชน์มากกว่าแค่ใช้สอนนักบิน  ดัดแปลงให้ดีมันใช้ได้ด้วยกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  นักบาสเก็ตบอลที่จบกระบวนการ”อูดา”ได้เร็วกว่าฝ่ายตรงข้ามจะดักทางเคลื่อนไหวตัดลูกได้ถูก  กองกำลังภาคพื้นดินที่ดำเนินกระบวนการ”อูดา”เร็วกว่าจะยึดที่หมายได้ก่อนและสูญเสียน้อย 
แม้ในเชิงการค้าถ้าธุรกิจใด”รู้เขา”(Observe),”รู้เรา(Orient),ตัดสินใจ(Decide) และดำเนินกลยุทธการตลาด(Act)ได้เร็วกว่า  ก็ย่อมทำกำไรได้มากกว่าและกันคู่แข่งออกจากตลาดได้

   มีคนรู้น้อยเหลือเกินว่าบางแนวความคิดในการทำธุรกิจ  แท้จริงมีต้นตอจากแค่นักบินอเมริกันคนหนึ่งพยายามหาทางยิง MiGข้าศึกให้ร่วงเท่านั้น!


บทความ ของคุณสรศักดิ์  สุบงกช
ภาพประกอบ โดย  สอง....
อ้างอิงจาก http://www.thaiairsoftgun.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=27&PHPSESSID=159bebe0b4c26daea6483d2c9dfe5b7a
ความสามารถของ F -16  http://www.youtube.com/watch?v=7r1TF9MoFbk&feature=related

บันทึกการเข้า
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:25:21 AM »

ข้อมูลมีประโยชน์ ครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

(( สองคุง ))
กับชีวิต มันก็แค่เนี๊ย..!
Hero Member
*****

คะแนน 196
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1769


สู้ตายค๊าาา !


« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:29:35 AM »

 Grin Grinสวัสดี คุณ Kiat999 ครับ  รบกวนช่วยกรุณา อธิบายหน่อยครับว่า  กีอป ข้อมูลของผมลงมาทำไมครับ  ไม่เห็นแสดงความคิดเห็นเลยครับ  หรือว่าเป็นกระทู้แรก  เลยยังใช้งานไม่คล่องเท่าไหร่ครับ  ส่ง PM มาสอบถามวิธีปฏิบัติในเว็บได้นะครับ  แบบว่ามันดูแล้วซ้ำๆ กับข้างบนอยู่ครับ  พี่ๆคนอื่นๆเข้ามาดูแล้วจะ งง  นะครับ....ขอบคุณครับ หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า


((( คิดได้ช่วยคิด  คิดไม่ได้ช่วยทำ  ทำไม่ได้ช่วยเป็นกำลังใจ  เป็นกำลังใจไม่ได้ก็ "นิ่งเสีย..!" )))
pscn
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:42:46 AM »

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:50:01 AM »

หนึ่งแต้ม เยี่ยม
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #7 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 09:51:59 AM »

เอ แต่อันนี้มันน่าจะอยู่หลังแนวยิงหรือเปล่าครับคุณสอง
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
(( สองคุง ))
กับชีวิต มันก็แค่เนี๊ย..!
Hero Member
*****

คะแนน 196
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1769


สู้ตายค๊าาา !


« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 10:09:49 AM »

เอ แต่อันนี้มันน่าจะอยู่หลังแนวยิงหรือเปล่าครับคุณสอง
  Grin Grinลงผิดที่ครับพี่...  แต่ไม่รู้จะย้ายไปยังไง  เดี๋ยว RO  คงดำเนินการย้ายให้มั้งครับ  รบกวนเขาอีกแล้ว หลงรัก หลงรัก   
 ไหว้ สวัสดีครับพี่...ไม่ค่อยแม่น
บันทึกการเข้า


((( คิดได้ช่วยคิด  คิดไม่ได้ช่วยทำ  ทำไม่ได้ช่วยเป็นกำลังใจ  เป็นกำลังใจไม่ได้ก็ "นิ่งเสีย..!" )))
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 10:12:29 AM »

สวัสดีจ้ะ Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2007, 10:14:31 AM โดย ไม่ค่อยแม่น » บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
ตั้มเม้ง...ScopegunS.com
แท้มแท่มแท้ม
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 42
ออฟไลน์

กระทู้: 558


10/22 50m^__^


« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 10:38:03 AM »

ชอบครับ เหินฟ้า ขอบคุณมากครับ
ผมชอบ F-86 “เซเบอร์ มากอ่ะ ตรงหัวมันเท่ห์ดี
บันทึกการเข้า

==>www.SCOPEGUNS.comจำหน่ายกล้องเล็ง และ อุปกรณ์ครับ<==
Mongkol Onwarn ธ.กรุงไทย สาขา มีนบุรี ออมทรัพย์  เลขที่ 261-1-11509-5
thewan
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 19
ออฟไลน์

กระทู้: 162


« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 11:32:15 AM »

ชอบมากครับ สงสัยนำมาปรับกับการใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตัวก็น่าจะได้เหมือนกัน OODA loop หรือกระบวนการ”อูดา” นี่ เยี่ยม
บันทึกการเข้า

ใช้ปัญญา ไม่ใช้ความรุนแรง
nuy_rc 3D Extreme
คุดไห่เลิ้ก..ก๊นไห่เถิง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1325



« ตอบ #12 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 12:12:38 PM »

เป็นข้อมูลที่อ่านแล้วได้สาระดีมากครับ  หวนกลับมาคิดถึงตัวเองว่าการใช้อาวุธปืนที่มีอยู่นั้น  เราเองสามารถเค้นเอาประสิทธิภาพของอาวุธมาใช้ได้มากน้อยเพียงใด  ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
chanin
จะทำความดี ตามรอยพ่อ จะเพียงและพอจากหัวใจ
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 16
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 344


ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป


« ตอบ #13 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 12:30:01 PM »

สนุกดีครับ ขอบคุณมาก หลงรัก หลงรัก
บันทึกการเข้า
(( สองคุง ))
กับชีวิต มันก็แค่เนี๊ย..!
Hero Member
*****

คะแนน 196
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1769


สู้ตายค๊าาา !


« ตอบ #14 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2007, 08:58:02 PM »

 ไหว้ขอบคุณครับพี่ๆทุกคน ที่ชอบเรื่องแหวกแนวอย่างนี้ครับ  หลงรัก หลงรัก ผมมีอีกเรื่องครับ สนุกพอๆกัน  แต่เคยลงไปแล้วก่อนที่เว็บจะหยุดยาวหน่ะครับ  เรื่อง วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์การกำเนิดชุดพราง  แต่ว่า มาเปิดวันนี้ไม่เห็นครับ (แถมแต้ม ลบ ไปอีกตั้ง 3 แต้มแหน่ะ หัวเราะร่าน้ำตาริน)   พี่ๆพอรู้บ้างไหมครับ  จะลงใหม่ก็กลัวจะซ้ำของเก่าครับ  เลือกปุ่มค้นหาพิเศษก็ไม่เจอครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน หัวเราะร่าน้ำตาริน  ผมจะทำยังไงต่อไปดีครับ  ขอความเห้นพี่ๆด้วยครับ หลงรัก หลงรัก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2007, 09:22:56 PM โดย ( ^สอง^ ) » บันทึกการเข้า


((( คิดได้ช่วยคิด  คิดไม่ได้ช่วยทำ  ทำไม่ได้ช่วยเป็นกำลังใจ  เป็นกำลังใจไม่ได้ก็ "นิ่งเสีย..!" )))
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.145 วินาที กับ 22 คำสั่ง