เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 30, 2024, 05:37:49 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 604 605 606 [607] 608 609 610 ... 1105
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: *** หุ้ น 2 5 5 7 ***  (อ่าน 988750 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9090 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 12:12:23 PM »

เอาปืนมาเช็ดน้ำมันได้แล้วครับ เตรียมลุยครับ... Set ขึ้นไปทดสอบแนว 1080 ค่อนข้างแน่ครับ, หากไม่ทดสอบวันพรุ่งนี้ก็ไม่น่าเกิน 2 - 3 วันทำการครับ...

หุ้นรายตัวทำ New High แล้ววิ่งให้เห็นประปราย, มีหุ้นหลักเช่น Bank กับพลังงานยังอยู่ในขาลงเพราะยังไม่ทำ New High (หรือยังไม่ทะลุแนวร้อยพวง) แต่ถ้ามันทดสอบแล้วทะลุในชั่วโมง มันจะวิ่งครับ... ถ้าหากมันวิ่งแล้วซื้อไม่ทันไม่ต้องไล่ตาม ให้จ้องตัวใหม่ที่กำลังจะขึ้นไปทดสอบครับ...

ฝีมือเล่นหุ้นมันอยู่ตรงนี้ด้วย, ฝีมือดีจะต้องซื้อใกล้แนว New High ให้มากที่สุดโดยต้องชัวร์ว่ายืนติดแน่ๆ เพราะหากมันยืนไม่ติดก็ต้องขายทิ้งเมื่อหลุดแนวที่ว่า... แต่ปัญหาคือถ้าไม่ซื้อเมื่อมันทะลุตั้งแต่หัววัน ก็กลัวมันจะวิ่งหนี(หรือถ้าซื้อไปก็กลัวหลุดแนวเอาเมื่อใกล้ปิดตลาด), แต่ครั้นหากเราคอยซื้อเอาใกล้ปิดตลาด เกิดมันวิ่งจู๊ดขึ้นไปก็ตกรถ...

นายสมชายถนัดจ้องซื้อเอาใกล้ปิดตลาดครับ... ถ้ามันวิ่งไปก่อนก็หาตัวใหม่ แต่ถ้ามันหลุดไปก็จะได้ไม่ต้องเจ็บตัวครับ... เฮ้อ...

ส่งสัยวันนี้ไม่ได้ยิงปืนออกจากลำกล้องแน่เลยครับพี่สมชาย ยังมองไม่เห็น 1080 จุดเลยครับ Grin
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9091 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 12:13:20 PM »

วันนี้ PAO โหดมากครับ ลากไป 1.25 บาทตอนนี้ต่ำกว่า 1 บาทแล้วครับ Grin
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #9092 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 12:21:58 PM »

จ้องพวกที่ปริ่มจะ New High เอาไว้ครับ, ลองดู TMB ซิครับ มันพรวดเมื่อใกล้ 10.30, เร็วจนซื้อไม่ทัน... ช่วงหลังรอให้มันเลิกวูบวาบแถวๆ 11.00 น., ปรากฎว่า 10.30 น. มันวิ่งจู๊ดไปแล้ว... ฮา...

ยังเหลือตัวอื่นอีกครับ กลุ่ม Bank ก็น่าจ้อง...
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9093 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 02:36:11 PM »

จ้องพวกที่ปริ่มจะ New High เอาไว้ครับ, ลองดู TMB ซิครับ มันพรวดเมื่อใกล้ 10.30, เร็วจนซื้อไม่ทัน... ช่วงหลังรอให้มันเลิกวูบวาบแถวๆ 11.00 น., ปรากฎว่า 10.30 น. มันวิ่งจู๊ดไปแล้ว... ฮา...

ยังเหลือตัวอื่นอีกครับ กลุ่ม Bank ก็น่าจ้อง...

ขอบคุณครับพี่สมชาย  ไหว้ ผมยังไม่ได้เข้าเลยครับ รอจังหวะอยู่ครับ
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9094 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 05:48:55 PM »

ต่างชาติกลับมาขายอีกครั้งแล้วครับ  ตกใจ
........................................

สรุปการซื้อขาย ณ วันที่ 9 ก.ย. 2554 
หน่วย: ล้านบาท


นักลงทุน ซื้อ ขาย สุทธิ
มูลค่า  %  มูลค่า  %  มูลค่า  % 
สถาบันในประเทศ 1,608.84 6.82  1,569.28 6.66  39.56   
บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 3,194.85 13.55  3,458.43 14.67  -263.58   
นักลงทุนต่างประเทศ 4,227.79 17.93  4,686.53 19.88  -458.74   
นักลงทุนทั่วไปในประเทศ 14,542.27 61.69  13,859.50 58.79  682.77 
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9095 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 05:49:46 PM »

วันหยุดพักผ่อนเต็มที่ มาลุยกันต่อวันจันทร์ครับพี่ๆทุกคน Grin
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9096 เมื่อ: กันยายน 09, 2011, 08:50:05 PM »

วันนี้ PAO โหดมากครับ ลากไป 1.25 บาทตอนนี้ต่ำกว่า 1 บาทแล้วครับ Grin

เพิ่งเปิดดูในสินธรครับ เค้าเล่นไรกัน กระทู้โอดโอย ด่าทอPAOหลายสิบกะทู้ สงสัยเม่าไม่มีไรเล่น ไปเล่นหุ้นแบบนี้ เจ้ามือรวยไปหลายล้านเลย เวงกำจริงๆ เอาเงินมาทิ้งในตลาดหุ้น  หุ้นดีๆเป็นร้อย ไม่เล่น มาเล่นหุ้นเน่าๆ หุ้นโนเนมวอลุ่มอันดับ1วันนี้ 3พันกว่าล้าน Tongue

บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
carrera
กินลูกเดียวเที่ยวสองลูก
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2329
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 84478


« ตอบ #9097 เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 09:14:53 AM »

หุ้นดีๆเป็นร้อย ไม่เล่น มาเล่นหุ้นเน่าๆ

จริงครับ Grin Grin Grin หาเรื่องสุด
บันทึกการเข้า

เนื้อร้ายตัดทิ้ง
www.ipscthailand.com
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9098 เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 02:18:51 PM »

หุ้นดีๆเป็นร้อย ไม่เล่น มาเล่นหุ้นเน่าๆ

จริงครับ Grin Grin Grin หาเรื่องสุด



ใครซื้อ 1.25 บาทไปขาย 0.68 บาทน่าสงสารมากเลยครับพี่เบิ้ม พี่ Carrera Grin
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9099 เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 02:21:13 PM »

ข่าววิกฤตยุุโรปล่าสุดครับ Grin

....................................................

โซรอส'เตือนวิกฤติยุโรป เลวร้ายกว่าเลแมนล้ม
วันที่ 10 กันยายน 2554 10:13
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"จอร์จ โซรอส"เตือนวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ไร้องค์กรกลาง ที่น่าเชื่อถือรับมือ ส่งอาจเลวร้ายกว่าวิกฤติสินเชื่อเลแมน บราเดอร์ส ล้ม

นายจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดังระดับโลก ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งยังคงลุกลามและไม่จบลงง่ายๆ ผ่านสำนักข่าวซีเอ็นบีซีวานนี้ (8 ก.ย.) ว่า มีความเป็นไปได้ที่วิกฤติหนี้รัฐในยุโรป จะเลวร้ายและรุนแรงกว่าวิกฤติสินเชื่อซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากเลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจสหรัฐล้มและต้องปิดตัวเมื่อปี 2551

นายโซรอสเจ้าของฉายาพ่อมดการเงิน อธิบายว่าการขาดองค์กรกลางของกลุ่มประเทศยุโรป ที่จะจัดการและรับมือวิกฤติภาคธนาคารที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากความรุนแรงของวิกฤติหนี้รัฐครั้งนี้ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปัญหาจึงดูเลวร้ายรุนแรงมากขึ้น เขาชี้ว่ายุโรปจำเป็นต้องเผชิญวิกฤติเพื่อสร้างความมุ่งมั่นทางการเมือง เพื่อก่อตั้งองค์กรเป็นหน่วยงานกลางคอยจัดการวิกฤติเกิดในภาคธนาคาร แต่ตอนนี้กลับยังไม่มีการทำความเข้าใจในสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐของกลุ่มประเทศยุโรปจะต้องทำเลย

 ทั้งนี้ซีเอ็นบีซีวิเคราะห์ว่า กลุ่มประเทศยุโรปอาจเดินรอยตามวิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นหลังเลแมน บราเดอร์สล้ม ในเมื่อยุโรปกำลังดิ้นรนสู้กับปัญหาวิกฤติหนี้ภาครัฐ ขณะที่ความหวาดกลัวอย่างที่สุดคือหนึ่งในธนาคารชั้นนำรายใหญ่ของยุโรปอาจล้ม จนกลายเป็นชนวนสร้างความตื่นตระหนกทางการเงิน อย่างที่ปัญหาล้มละลายของเลแมน บราเดอร์ส เคยเป็นชนวนวิกฤติสินเชื่อมาแล้วเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2551 ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายของกลุ่มประเทศยุโรป ต่างมุ่งจะเลี่ยงหายนภัย ด้วยการเตรียมตัวใช้เงินทุนหลายพันล้านยูโร เพื่อเป็นเงินกองทุนช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ธนาคารขนาดใหญ่รายใดรายหนึ่งในภูมิภาคต้องล้ม

แต่คำถามที่ยังค้างคากลับอยู่ที่ความสามารถของกลุ่มธนาคารในยุโรป จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร ในเมื่อธนาคารบางแห่งกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากกับการรับประกันความเสี่ยงสินเชื่อ ที่เกิดจากการทำธุรกิจในแต่ละวัน ส่วนสถาบันการเงินในสหรัฐก็หาทางสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยการระวังเพิ่มขึ้นในการปล่อยกู้ระยะสั้นล็อตใหม่ และพากันถอนตัวจากทำธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่นในยุโรป ความเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจก่อเกิดปัญหาแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มธนาคารยุโรปมากขึ้น

ความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ข้างต้น สะท้อนให้เห็นได้จากตลาดเงินทางฝั่งตะวันตกเมื่อวันอังคาร (6 ก.ย.) หุ้นในตลาดสหรัฐและยุโรปพร้อมใจกับปรับลดลงไม่น้อยกว่า 1% โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรปร่วงอย่างหนัก 5% หรือมากกว่านี้ หลังจากหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้เคยดิ่งลงอย่างหนักมาแล้ว และตอนนี้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรป อยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.ปี 2552 ซึ่งช่วงเวลานั้นภาคธนาคารทั่วโลกต้องสั่นสะเทือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก ภายหลังจากเลแมน บราเดอร์สประกาศล้มละลายและปิดตัวลง


บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9100 เมื่อ: กันยายน 10, 2011, 05:33:44 PM »

ข่าววิกฤตยุุโรปล่าสุดครับ Grin

....................................................

โซรอส'เตือนวิกฤติยุโรป เลวร้ายกว่าเลแมนล้ม
วันที่ 10 กันยายน 2554 10:13
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"จอร์จ โซรอส"เตือนวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ไร้องค์กรกลาง ที่น่าเชื่อถือรับมือ ส่งอาจเลวร้ายกว่าวิกฤติสินเชื่อเลแมน บราเดอร์ส ล้ม

นายจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดังระดับโลก ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งยังคงลุกลามและไม่จบลงง่ายๆ ผ่านสำนักข่าวซีเอ็นบีซีวานนี้ (8 ก.ย.) ว่า มีความเป็นไปได้ที่วิกฤติหนี้รัฐในยุโรป จะเลวร้ายและรุนแรงกว่าวิกฤติสินเชื่อซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากเลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจสหรัฐล้มและต้องปิดตัวเมื่อปี 2551

นายโซรอสเจ้าของฉายาพ่อมดการเงิน อธิบายว่าการขาดองค์กรกลางของกลุ่มประเทศยุโรป ที่จะจัดการและรับมือวิกฤติภาคธนาคารที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากความรุนแรงของวิกฤติหนี้รัฐครั้งนี้ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปัญหาจึงดูเลวร้ายรุนแรงมากขึ้น เขาชี้ว่ายุโรปจำเป็นต้องเผชิญวิกฤติเพื่อสร้างความมุ่งมั่นทางการเมือง เพื่อก่อตั้งองค์กรเป็นหน่วยงานกลางคอยจัดการวิกฤติเกิดในภาคธนาคาร แต่ตอนนี้กลับยังไม่มีการทำความเข้าใจในสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐของกลุ่มประเทศยุโรปจะต้องทำเลย

 ทั้งนี้ซีเอ็นบีซีวิเคราะห์ว่า กลุ่มประเทศยุโรปอาจเดินรอยตามวิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นหลังเลแมน บราเดอร์สล้ม ในเมื่อยุโรปกำลังดิ้นรนสู้กับปัญหาวิกฤติหนี้ภาครัฐ ขณะที่ความหวาดกลัวอย่างที่สุดคือหนึ่งในธนาคารชั้นนำรายใหญ่ของยุโรปอาจล้ม จนกลายเป็นชนวนสร้างความตื่นตระหนกทางการเงิน อย่างที่ปัญหาล้มละลายของเลแมน บราเดอร์ส เคยเป็นชนวนวิกฤติสินเชื่อมาแล้วเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2551 ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายของกลุ่มประเทศยุโรป ต่างมุ่งจะเลี่ยงหายนภัย ด้วยการเตรียมตัวใช้เงินทุนหลายพันล้านยูโร เพื่อเป็นเงินกองทุนช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ธนาคารขนาดใหญ่รายใดรายหนึ่งในภูมิภาคต้องล้ม

แต่คำถามที่ยังค้างคากลับอยู่ที่ความสามารถของกลุ่มธนาคารในยุโรป จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร ในเมื่อธนาคารบางแห่งกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากกับการรับประกันความเสี่ยงสินเชื่อ ที่เกิดจากการทำธุรกิจในแต่ละวัน ส่วนสถาบันการเงินในสหรัฐก็หาทางสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยการระวังเพิ่มขึ้นในการปล่อยกู้ระยะสั้นล็อตใหม่ และพากันถอนตัวจากทำธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่นในยุโรป ความเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจก่อเกิดปัญหาแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มธนาคารยุโรปมากขึ้น

ความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ข้างต้น สะท้อนให้เห็นได้จากตลาดเงินทางฝั่งตะวันตกเมื่อวันอังคาร (6 ก.ย.) หุ้นในตลาดสหรัฐและยุโรปพร้อมใจกับปรับลดลงไม่น้อยกว่า 1% โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรปร่วงอย่างหนัก 5% หรือมากกว่านี้ หลังจากหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้เคยดิ่งลงอย่างหนักมาแล้ว และตอนนี้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรป อยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.ปี 2552 ซึ่งช่วงเวลานั้นภาคธนาคารทั่วโลกต้องสั่นสะเทือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก ภายหลังจากเลแมน บราเดอร์สประกาศล้มละลายและปิดตัวลง




น่ากลัวครับ ยังติดตาตอนวิกฤติแฮมเบอเกอร์ หุ้นตกทุกวัน เป็นเดือน ยุโรปมีทั้งประเทศร่ำรวยกะประเทศจน แต่หนี้ท่วมหัว จะให้ประเทศรวยมาช่วยประเทศจน ประชาชนเขาจะยอมเหรอครับ ติดตามชมกันต่อไป   อ๋อย
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9101 เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 11:19:25 PM »

ข่าววิกฤตยุุโรปล่าสุดครับ Grin

....................................................

โซรอส'เตือนวิกฤติยุโรป เลวร้ายกว่าเลแมนล้ม
วันที่ 10 กันยายน 2554 10:13
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"จอร์จ โซรอส"เตือนวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ไร้องค์กรกลาง ที่น่าเชื่อถือรับมือ ส่งอาจเลวร้ายกว่าวิกฤติสินเชื่อเลแมน บราเดอร์ส ล้ม

นายจอร์จ โซรอส มหาเศรษฐีนักลงทุนชื่อดังระดับโลก ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิกฤติหนี้สาธารณะในยุโรป ซึ่งยังคงลุกลามและไม่จบลงง่ายๆ ผ่านสำนักข่าวซีเอ็นบีซีวานนี้ (8 ก.ย.) ว่า มีความเป็นไปได้ที่วิกฤติหนี้รัฐในยุโรป จะเลวร้ายและรุนแรงกว่าวิกฤติสินเชื่อซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากเลแมน บราเดอร์ส วาณิชธนกิจสหรัฐล้มและต้องปิดตัวเมื่อปี 2551

นายโซรอสเจ้าของฉายาพ่อมดการเงิน อธิบายว่าการขาดองค์กรกลางของกลุ่มประเทศยุโรป ที่จะจัดการและรับมือวิกฤติภาคธนาคารที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาจากความรุนแรงของวิกฤติหนี้รัฐครั้งนี้ เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมปัญหาจึงดูเลวร้ายรุนแรงมากขึ้น เขาชี้ว่ายุโรปจำเป็นต้องเผชิญวิกฤติเพื่อสร้างความมุ่งมั่นทางการเมือง เพื่อก่อตั้งองค์กรเป็นหน่วยงานกลางคอยจัดการวิกฤติเกิดในภาคธนาคาร แต่ตอนนี้กลับยังไม่มีการทำความเข้าใจในสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐของกลุ่มประเทศยุโรปจะต้องทำเลย

 ทั้งนี้ซีเอ็นบีซีวิเคราะห์ว่า กลุ่มประเทศยุโรปอาจเดินรอยตามวิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นหลังเลแมน บราเดอร์สล้ม ในเมื่อยุโรปกำลังดิ้นรนสู้กับปัญหาวิกฤติหนี้ภาครัฐ ขณะที่ความหวาดกลัวอย่างที่สุดคือหนึ่งในธนาคารชั้นนำรายใหญ่ของยุโรปอาจล้ม จนกลายเป็นชนวนสร้างความตื่นตระหนกทางการเงิน อย่างที่ปัญหาล้มละลายของเลแมน บราเดอร์ส เคยเป็นชนวนวิกฤติสินเชื่อมาแล้วเมื่อเดือน ก.ย.ปี 2551 ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายของกลุ่มประเทศยุโรป ต่างมุ่งจะเลี่ยงหายนภัย ด้วยการเตรียมตัวใช้เงินทุนหลายพันล้านยูโร เพื่อเป็นเงินกองทุนช่วยเหลือป้องกันไม่ให้ธนาคารขนาดใหญ่รายใดรายหนึ่งในภูมิภาคต้องล้ม

แต่คำถามที่ยังค้างคากลับอยู่ที่ความสามารถของกลุ่มธนาคารในยุโรป จะสามารถฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้อย่างไร ในเมื่อธนาคารบางแห่งกำลังเผชิญช่วงเวลาที่ยากลำบากกับการรับประกันความเสี่ยงสินเชื่อ ที่เกิดจากการทำธุรกิจในแต่ละวัน ส่วนสถาบันการเงินในสหรัฐก็หาทางสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ให้ปลอดภัยจากความเสี่ยงที่มีมากขึ้น ด้วยการระวังเพิ่มขึ้นในการปล่อยกู้ระยะสั้นล็อตใหม่ และพากันถอนตัวจากทำธุรกิจกับสถาบันการเงินอื่นในยุโรป ความเคลื่อนไหวเช่นนี้อาจก่อเกิดปัญหาแหล่งเงินทุนสำหรับกลุ่มธนาคารยุโรปมากขึ้น

ความกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ข้างต้น สะท้อนให้เห็นได้จากตลาดเงินทางฝั่งตะวันตกเมื่อวันอังคาร (6 ก.ย.) หุ้นในตลาดสหรัฐและยุโรปพร้อมใจกับปรับลดลงไม่น้อยกว่า 1% โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรปร่วงอย่างหนัก 5% หรือมากกว่านี้ หลังจากหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้เคยดิ่งลงอย่างหนักมาแล้ว และตอนนี้ราคาหุ้นกลุ่มธนาคารในตลาดยุโรป อยู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.ปี 2552 ซึ่งช่วงเวลานั้นภาคธนาคารทั่วโลกต้องสั่นสะเทือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก ภายหลังจากเลแมน บราเดอร์สประกาศล้มละลายและปิดตัวลง




น่ากลัวครับ ยังติดตาตอนวิกฤติแฮมเบอเกอร์ หุ้นตกทุกวัน เป็นเดือน ยุโรปมีทั้งประเทศร่ำรวยกะประเทศจน แต่หนี้ท่วมหัว จะให้ประเทศรวยมาช่วยประเทศจน ประชาชนเขาจะยอมเหรอครับ ติดตามชมกันต่อไป   อ๋อย

ถ้าเกิดวิกฤตจริงๆ เราต้องตั้งรับให้ทันกันนะครับ ถ้าผมรู้ข่าวอะไรด่วนๆ จะรีบมาบอกพี่ๆทุกคนนะครับ แต่จริงหรือไม่จริงเดี๋ยวมาช่วยกันกรองอีกทีครับ Grin
บันทึกการเข้า
HOW
Hero Member
*****

คะแนน 92
ออฟไลน์

กระทู้: 1467


« ตอบ #9102 เมื่อ: กันยายน 11, 2011, 11:22:12 PM »

อนาคตของอเมริกาอาจเหมือนซิมบับเว ถ้าไม่หยุดพิมพ์แบงค์ครับ.....Grin

................................

มหากาพย์เงินเฟ้อซิมบับเว (Hyperinflation)

" ไม่มีที่ไหนในโลก เหมือน “ซิมบับเว” (Zimbabwe)
ไม่ใช่เพราะมีน้ำตก วิคตอเรีย อันสวยงาม ไม่ใช่เพราะมีเหมืองขุดเพชร ขนาดใหญ่
หรือเพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ แต่ที่นี่ชาวซิมบับเว

ทุกคนคือ “เศรษฐีพันล้าน” (Billionaire)


ย้อนกลับไป 5 ปีก่อน ประเทศนี้ก้ไม่ได้ต่างจากประเทศอื่นๆทั่วไป
หากแต่การบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเข้าใจ ของผู้นำรัฐบาล กลับสร้างหายนะอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนทุกคน
ชนิดที่ โลกต้องจารึกไว้เป็นอีกบทนึงของประวัติศาสตร์การเงินโลกกันเลยทีเดียว

ประชากรชาว ซิมบับเว มีทั้ง “คนผิวขาวและคนผิวดำ” อาศัยอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพา
คนผิวขาวที่ย้ายมาตั้งรกราก เป็นเจ้าของที่ดินและฟาร์มเกษตร ส่วนคนผิวดำ เป็นชนชั้นแรงงาน

คนขาว รับหน้าที่ เป็นผู้บริหารชั้นดี

ส่วนคนดำเป็นแรงงานมีฝีมือ

ทุกอย่างลงตัว .......

จนกระทั่งช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ในยุคสมัยของนายกรัฐมนตรี โรเบิร์ต มูกาเบ้ (Robert Mugabe)
รัฐบาลออกกฎหมาย ใหม่ปฎิวัติการจัดการที่ดินทำกิน (Land Reform)
เนื้อหาสำคัญก็คือ ช่วยคนผิวดำซึ่งเป็นคนพื้นเมือง ให้มีที่ดินเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตกเป็นลูกจ้างของคนผิวขาวอีกต่อไป
เกิดการยึดคืนที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธ์ของคนผิวขาวแล้วเอาไปแจก ให้กับคนผิวดำ

......เท่านั้นเองปัญหาเกิด

จากคนผิวดำ ซึ่งเคยเป็นกรรมกร บัดนี้ได้เลื่อนขั้นกลายเป็นเจ้าของที่ดิน จำเป็นต้องมาบริหาร
จากคนผิวขาวที่เคยบริหารกลับสูญสิ้นทุกอย่างที่เคยเป็นของตัวเอง จำเป็นต้องรับสภาพ กรรมกร !
เหมือนใช้คนไม่ถูกกับประเภทงาน ด้วยความที่ด้อยการศึกษาและขาดทักษะบริหารจัดการ
ไม่นานระบบเศรษฐกิจที่เคยรุ่งเรืองของ ซิมบับเว ก็ดิ่งลงเหว เกิดปัญหาสังคมตามมามากมาย
สุดท้ายไม่วายเป็นหนี้ IMF

ในปี 2006 ปัญหาหนี้สินของประเทศ เกินเยียวยา
ผู้ว่าการธนาคารกลางในขณะนั้นเกิด ปิ๊งไอเดีย (ง่ายๆแต่ไม่ฉลาด) ในการใช้หนี้คืน นั่นก็คือ “การพิมพ์เงิน” (คุ้นๆมั๊ยครับ?)

สกุลเงิน ซิมบับเวียนดอลล่าห์ (Zimbabwean Dollar : ZWD) มีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ประมาณ
1.59 Zim-Dollar แลกได้ 1 US-Dollar

ในเมื่อประเทศเราเป็นหนี้ IMF ในสกุลเงินดอลล่าห์ เราก็แค่ พิมพ์เงินประเทศเราเอาไปซื้อดอลล่าห์
เสร็จแล้วก็ เอาไปใช้หนี้คืน ง่ายๆ ไม่น่าจะมีอะไรยาก

16 กพ 2006 : ธนาคารกลางซิมบับเว จึงจัดพิมพ์เงินครั้งใหญ่
มูลค่า 21 Trillion (21,000,000,000,000 ZWD) เพื่อสะสางปัญหา

ได้ผล ! หนี้หายวับไปกับตา แต่ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า “โหดร้ายมากกว่าเป็นหนี้หลายเท่าตัว”


เงิน 21T ออกไปเที่ยว ตปท ได้ไม่นานก็หมุนเวียนกลับเข้ามาในระบบศก.ของซิมบับเวเอง
สกุลเงิน ZWD เจือจางลงอย่างรวดเร็ว สินค้าทุกอย่างปรับขึ้นราคาตามในทันที
เดือดร้อนถึง นายกโรเบิร์ต มูกาเบ้ ที่ต้องรีบสั่งการให้ ธนาคารกลางแก้ไข ปัญหาโดยด่วน
ซึ่งแน่นอน อาวุธคู่กายธนาคารกลางทุกประเทศมีแค่ สองอย่าง แต่สำหรับ ซิมบับเว

พิมพ์ พิมพ์ พิมพ์ และ ก็พิมพ์ คือ คำตอบสุดท้าย


ในเดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน ปริมาณเงินอีก 60T ! ถูกอัดฉีดเข้าระบบ
วัตถุประสงค์ก็เพื่อจ่ายเพิ่มเป็นเงินเดือนให้กับบรรดา ทหาร ตำรวจและข้าราชการ เพราะข้าวของแพงเหลือเกิน
แต่กลับยิ่งทำให้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงเข้าไปอีก
เพื่อเป็นการยับยั้งและจัดระเบียบกันใหม่ ให้เงินสกุล ZWD ยังคงดูน่าเชื่อถือต่อไป
สิงหาคมในปีนั้น ธนาคารกลางตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบ ธนบัตรใหม่ทั้งหมด
โดยขอร้องให้ประชาชนนำ ธนบัตรรุ่นเดิมมาแลก

แต่ภายใต้ข้อแม้ว่า 1000 ZWD เก่า แลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่ (ตัด 0 ออกสามตัว)

หากคุณมีเงินฝากในธนาคาร 1 ล้าน วันรุ่งขึ้นยอดเงินฝากจะลดลงเหลือเพียง 1 พัน เท่านั้น !!
ทำกันถึงขนาดนั้น แต่ปัญหาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะบรรเทา ......

ปี 2007 อัตราเงินเฟ้อยังคงพุ่งต่อเนื่อง ผลที่ตามมาคือสินค้าขึ้นราคาราวกับติดจรวด
รัฐบาลของมูกาเบ้ ตัดสินใจใช้มุกใหม่ (แต่เป็นแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ)
ออกกฎหมายควบคุมราคาสินค้าทุกอย่าง (Price control) ร้านค้าใดหากไม่ทำตามถือว่ามีความผิด

ผลที่ตามมากลับกลายเป็นว่า ในเมื่อขึ้นราคาสินค้าไม่ได้ก็ “ไม่ขาย”
สินค้าใน ซุปเปอร์มาร์เก็ต เริ่มถูกเก็บลงจากชั้นวาง เหลือแต่ความว่างเปล่า
การกำหนดราคาขายสินค้าอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เริ่มกำหนดกันเองในตลาดมืด พร้อมๆกับการกักตุนสินค้า
เงิน ZWD กลายเป็น “เงินร้อน” ประชาชนรีบใช้มันทันทีเมื่อได้มันมา
ทำให้ปริมาณเงินในระบบเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราเงินเฟ้อ จึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

มกราคม 2008
- รัฐบาลออกธนบัตรใหม่ชนิดราคา 200,000 ใช้เป็นครั้งแรก !
แต่ยังไม่ทันจะสิ้นเดือน ธนบัตรชนิดราคา 10,000,000 ก็ถูกผลิตขึ้นมา
ถือเป็นแบงค์ที่มูลค่าแพงที่สุดในขณะนั้น แต่หากคิดเทียบเป็นเงินบาทไทย คงใช้ซื้อข้าวผัดกระเพราได้เพียงแค่ 4 จาน (120 บาท)

เมษายน 2008
รัฐบาลออกธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000 ออกสู่สาธารณะ

มิถุนายน 2008
ธนบัตร ชนิดราคา 100,000,000 และ 250,000,000 ก็ถูกผลิตออกมา
แต่แค่เพียง สิบวันหลังจากนั้น ชนิดราคา 500,000,000 ก็ออกตามมาติดๆ

กรกฎาคม 2008
ธนาคารกลางวางแผน จะออกธนบัตรชนิดราคา 100,000,000,000 ออกสู่ตลาด
แต่พอถึงปลายเดือน ประธานธนาคารกลางเลือกที่จะขอปรับค่าเงินกันใหม่ (Redenominated)
โดยคราวนี้ ตัด 0 ข้างหลังออก 10 ตัว !!!!!!
(10,000,000,000 ZWD เก่าแลกได้เพียง 1 ZWD ใหม่)

อัตราเงินเฟ้อในขณะนั้นคือ 11,250,000 % !
ราคาของเบียร์ 1 ขวดในขณะนั้น 100,000,000,000 แต่เพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงถัดมา
ราคาก็ปรับขึ้นเป็น 150,000,000,000

ความคิดของรัฐบาลและธนาคารกลางที่ จะแก้ปัญหาโดยการพิมพ์เงินอัดฉีดเข้าระบบ ไม่สัมฤทธิ์ผล
สาเหตุก็เพราะ

ความเชื่อถือในระบบธนบัตรของประชาชนชาวซิมบับเว ลดลงเร็วกว่า ความสามารถในการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์

ไม่ว่าจะเร่งสปีดพิมพ์เพิ่มออกมามากขนาดไหน ไม่สำคัญว่าจะใส่ 0 ไปอีกซักกี่ตัว
เมื่อ กระดาษก็คือกระดาษ ความน่าเชื่อถือหากหมดไปจากกระดาษ ก็คือ จบ...

มูกาเบ้ ไม่เข้าใจความจริงในข้อนี้ เค้าเลือกที่จะสู้หลังพิงฝากับเงินเฟ้อ

มกราคม ปี 2009
ในเมื่อไม่มีอะไรจะเสีย ประชาชนชาวซิมบับเว จึงได้เห็น ธนบัตร ชนิดราคา 50,000,000,000 ออกใช้

16 มกราคม 2009
วันที่โลกต้องจดจำ รัฐบาลของมูกาเบ้ ประกาศจะพิมพ์ ธนบัตร ชนิดราคา

10,000,000,000,000 - อ่านว่า สิบ ล้านล้าน
20,000,000,000,000 - อ่านว่า ยี่สิบ ล้านล้าน
50,000,000,000,000 - อ่านว่า ห้าสิบ ล้านล้าน
100,000,000,000,000 - อ่านว่า หนึ่งร้อย ล้านล้าน

ออกใช้.....

แต่ไม่มีความหมายอีกต่อไป ประชาชนเลิกพกเงินเป็นกระสอบๆ เพื่อไปจ่ายตลาด
เงินสกุล ซิมบับเว ไม่มีใครเชื่อถือและอยากใช้ การซื้อขายทั่วไป
ถูกกำหนดราคากันใหม่ด้วย เงินสกุลเงินตราต่างประเทศ เช่น US.Dollar
หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการซื้อขายกันด้วย

“ทองคำ”

ประชาชนชาว ซิมบับเว บางส่วน (ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ย้อนกลับไปสู่ยุคโบราญ
เอากะทะไปร่อนหาเศษทองในแม่น้ำ เพื่อเอามาแลกกับ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช หรือ ขนมปัง ประทังชีวิตไปวันๆ
ใคร ที่ยังเก็บทองคำติดตัวเอาไว้ ยังสามารถซื้อของได้เท่าเดิม แต่ผู้ที่เก็บเงินออมไว้ในรูปแบบของ “ธนบัตร” ซิมบับเวเผื่อไว้ใช้ยามแก่
กลับพบว่าเงินทั้งหมดแทบไม่พอที่จะจ่ายแม้แค่ “อาหารเช้าเพียง 1 มื้อ”


เมษายน ปี 2009
สกุลเงิน ZWD ตายสนิท รัฐบาล ปล่อยให้ตลาดเป็นคนกำหนด ราคาและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันเอง
เงิน ZWD ประกาศหยุดพิมพ์เพิ่ม อย่างน้อย 1 ปีหลังจากนั้น
เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาด้วยตัวของมันเอง

ระบบเศรษฐกิจนั้นเมื่อเกิดปัญหา กลไกของตลาดจะมีวิธีจัดการแก้ไขได้ด้วยตัวของมัน
ภาษาทางเศรษฐศาสตร์เรียกว่า “มือที่มองไม่เห็น” (Invisible Hand)
หน้าที่ของรัฐบาล เพียงแค่สนับสนุนให้ มือที่มองไม่เห็นนี้ ทำงานไปอย่างเป็นธรรมชาติ
ไม่มีอะไรมาขัดขวาง

แต่รัฐบาลในหลายๆประเทศไม่ว่าจะเป็นประเทศที่เจริญแล้วหรือกำลังพัฒนา
กลับพยายามที่จะทำตัวเป็นมือที่มองไม่เห็นนี้ซะเอง ใช้อำนาจ เข้าจุ้นจ้าน-เข้าแก้ไข
สุดท้ายก็พัง

..............................

เปรียบเทียบง่ายๆ

-เหมือนร่างกายคนเรา ต้องมี “วิญญาณ” หาก วิญญาณ ออกจากร่าง
เมื่อไหร่ เราก็ตาย

-เงินก็เช่นกัน อยู่ได้ด้วย “ความเชื่อถือ” เมื่อความเชื่อถือ หมดไป เงินก็ตายได้เช่นกัน

ทั้งวิญญาณและความเชื่อถือ ถึงแม้เรามองมันไม่เห็น แต่เชื่อผมเถอะครับว่า “มันมีอยู่จริง!”


เงินสกุลต่างๆ พยายามพัฒนาระบบ เปลี่ยนรูปเปลี่ยนร่าง อยู่ตลอดก็เพื่อคงความเชื่อถือ
ให้ยังคงอยู่ ผิดกับ “ทองคำ” ที่ ความเชื่อถือ คงอยู่ในตัวมัน
ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานได้ หลายพันปี หากจะพูดว่าเป็น “อมตะ” ก็คงจะไม่ผิด

มีบางช่วงเวลา ในหน้าประวัติศาสตร์ที่เราอาจะหลงลืมมันไปบ้าง เพราะโดนหลอกตาและได้รับการสั่งสอนมาแบบผิดๆ
แต่ ทุกครั้งมื่อทุกคนคิดได้ ทองคำก็จะได้กลับมาทำหน้าที่ “เงินที่แท้จริง”ทุกครั้งไป.

ปล. เหตุการณ์เงินเฟ้อรุนแรง เคยเกิดขึ้นในหลายๆประเทศ มีลักษณะไม่ต่างกัน ไม่ใช่หนังหรือละคร แต่ มันเป็นเหตุการณ์จริง
เช่นที่ ยูโกสลาเวีย, เยอรมัน, อาเจนติน่า
แต่ที่ผมเลือก ซิมบับเวเพราะ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ คือในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น
ถือว่าเป็น Modern Hyperinflation

ที่สำคัญ มูกาเบ้ เคยทำยังไงเอาไว้ บุช, โอบาม่า, เบน เบอร์นันเก้ กำลังดำเนินรอยตาม!
หากยังไม่หักดิบเปลี่ยน นโยบาย เส้นทางที่สหรัฐอเมริกากำลังเดินไป
จุดหมายคือ Hyperinflation อย่างแน่นอน

ไม่สำคัญว่า จะเป็น ซิมบับเวียน ดอลล่าห์ หรือ US ดอลล่าห์
เมื่อกระทำ“เหตุ” อย่างเดียวกัน ก็ย่อม ให้ “ผล” ที่ไม่ต่างกัน.


ที่มา : http://www.klongjan.com/fr/view.php?id=92
บันทึกการเข้า
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9103 เมื่อ: กันยายน 12, 2011, 12:39:35 PM »

วันนี้ยุ่งๆ แอบแวบมาดูหุ้น จึ๊ยยยสสสส์ แดงเถือกก คันมือจังเรย  น้ำลายหก Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
เบิ้ม
"ชีวิตคนนั้นแสนสั้น ความดีนั้นจักคงทน"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6424
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 50462



« ตอบ #9104 เมื่อ: กันยายน 12, 2011, 04:09:29 PM »

เอาไงดีครับ ลบ23-24จุด  Grin
บันทึกการเข้า

"ศรัทธาของท่าน ความเชื่อของท่าน ก็เป็นของท่าน ความเชื่อของเรา ศรัทธาของเรา ก็เป็นของเรา"
หน้า: 1 ... 604 605 606 [607] 608 609 610 ... 1105
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 22 คำสั่ง