เมื่อก่อนผมเล่นหุ้นรายวัน ต้องคอยดูตลอดทุก ครึ่งชั่วโมง ช่วงหลัง ๆ เริ่มเปลี่ยน ทฤษฏีการเล่นใหม่ครับ เล่นรายปี กำไรปีละครั้ง สองครั้ง ในหุ้นตัวเดิมที่เรารู้จัก พอ ครับ ช่วงนี้จะตามข่าวติด ๆ
ซื้อช้า ดีกว่า ซื้อเร็ว ขายเร็ว ดีกว่า ไม่ได้ขาย ติดดอย เข็ดแล้วจริง ๆ ครับ
จริง ๆ แล้ว เงินไม่ค่อยมีแล้วครับ แบ่งเอาไปทำอย่างอื่นหมดแล้วครับ เหลือหุ้นติดพอร์ท ไว้ เป็นเหมือนเงินประกันครับ ไม่งั้นเดียวคราวหน้าโอกาสดี จะโทรไปสั่งซื้อแล้วเขาจะให้วางเงินต้องเสียเวลาอีกครับ
ตรงข้ามนายสมชายครับ, เมื่อเริ่มเล่นหุ้นใหม่ๆ ก็คิดแบบนี้แหละครับ เอาเงินซื้อหุ้นเหมือนลงทุน กะว่าเล่นเป็นรอบๆ ซื้อที่จุดต่ำๆของปีนั้นแล้วขายเมื่อถึงจุดสูงสุดของปีนั้น ปีนึงเล่นแค่รอบเดียวหรือสองรอบ... ปรากฏว่าขาดทุนครับ เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงจุดต่ำสุด ตอนซื้อก็ว่าต่ำแล้ว แต่ถือไปเรื่อยๆมันต่ำลงเรื่อยๆ อดทนถือเพราะหวังว่ามันจวนจะก้นกะทะแล้ว แต่มันก็ไม่ขึ้นเสียที, ครั้นเวลาขายได้ไม่นานมันก็ขึ้น ทั้งที่ถือมาตั้งนานก็ไม่ขึ้น...
นายสมชายมาพบตอนหลังว่าราคาหุ้นมันไม่มีวงรอบที่แน่นอนเป็นรูป Sine Wave ครับ, แต่มันมีรูปแบบเฉพาะตัวคล้ายทฤษฎีอีเลียตเวฟ... คือสรุปว่ามันขึ้นๆลงๆคาดการณ์ไม่ได้ โดยเฉพาะที่คิดว่าขึ้นปลายปี ลงกลางปี(หรือลงปลายปี ขึ้นต้นปี), คือมันมีหมดทั้งลงทั้งปี ขึ้นทั้งปี หรือขึ้นๆลงๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้(ที่จริงมันเป็นไปตามอีเลียตเวฟ - ซึ่งเป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์มาก)...
ถัดมานายสมชายหลังจากขาดทุนหนักๆ ก็ศึกษาอีเลียตเวฟ ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปก็แล้ว(ดีที่สุดคือ ELWAVE -
www.prognosis.nl), ใช้เอ็นจิ้น AI - Artificial Intelligence (จาก NeuroDimension
http://www.nd.com/) เขียนหน้ากากครอบก็แล้ว, ใช้เอ็นจิ้น AI ที่ส่วนราชการแห่งหนึ่งใช้สำหรับพยากรณ์ Grey Area ในบางเรื่องก็แล้ว... ได้ผลลัพธ์ไม่แม่นยำอย่างที่คิดครับ แต่ได้ความรู้ว่า AI มันสามารถจับรูปแบบคลื่นกราฟราคาหุ้น(Pattern Recognition -
http://en.wikipedia.org/wiki/Pattern_recognition) ได้ตามทฤษฎีอีเลียตเวฟจริงๆ เพียงแต่ทฤษฎีอีเลียตมันต้องมีการคลี่คลายรูปคลื่นทุกวัน(มันวัดความสูงคลื่นแล้วเฉลยว่าคือคลื่นไหน ชื่อว่าคลืนอะไร) ทำให้มีปัญหาอย่างเดิมคือมันเฉลยย้อนหลังได้ แต่พยากรณ์ล่วงหน้าไม่ได้แม่นดังใจ...
หมดท่าเข้าก็กลับมาหาเบสิก คือแนวรับ/แนวต้าน... ทะลุแนวต้านซื้อ/ไม่พ้นแนวต้านขาย กับเด้งที่แนวรับซื้อ/หลุดแนวรับขาย, ปรากฎว่าได้ผลอย่างที่เห็นในกระทู้นี้แหละครับ คือรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อไหร่จะไปจอดป้ายไหนที่สูงต่ำเท่าไหร่(แม้แต่ตัว Set เองก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ - ซึ่งมหัศจรรย์มาก เพราะ Set คือค่าเฉลี่ยจากหุ้นหลายตัว)...
แต่ปัญหาคือทุกคนก็รู้เหมือนกันหมดทั้งตลาด, ดังนั้นเลยซื้อหุ้นที่ใกล้เคียงแนวรับแนวต้านได้ยาก เวลาหุ้นผ่านแนวรับแนวต้านมักวิ่งจู๊ดจนซื้อไม่ทัน หรือไม่ก็หลุดแนวรับแล้วรูดจนขายไม่ทัน... เลยเป็นที่มาของการ"นั่งเฝ้าจอ"ไงครับ... แฮ่ๆ...