ส่วนที่ติดอยู่กับเกจวัด จะมีตัวดูดความชื้นอยู่ด้านใน.
คุณ airlove ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมสักหน่อยครับ
ผมมีคำถามดังนี้ครับ ไม่เห็นของจริงเลยวิเคราะห์จากภาพครับ
1. จากภาพเหล็กสีเทาหมุนเกลียวยีดติดกับฐานใช่หรือเปล่า
2. รูที่เห็นบนเหล็กสีเทาเป็นรูอะไรครับ หรือว่าเป็นรูสกรูสำหรับยึดปลอกนอกสุด
3. ตอนนี้ผมค่อนข้างแน่ใจว่า เหล็กสีเทาจะอยู่กับที่ แต่เหล็กสีทองจะเลื่อนขึ้นลงตามที่เราสูบ ใช่หรือเปล่าครับ
4. เหล็กสีทองจะยึดติดกับปลอกเหล็กชั้นที่2 ที่อยู่ด้านในปลอกนอกสุดใช่หรือเปล่าครับ
5. ปลอกชั้นที่ 2 จะมีรูตรงกลางเป็นที่อยู่แท่งเหล็กที่ต้องหมุนเกลียวยีดติดบนเหล็กสีเทาใช่หรือเปล่าครับ
6. แท่งเหล็กที่ยึดติดกับเหล็กสีเทาด้วยเกลียวซึ่งมีซีลที่ขาดและเป็นต้นเหตุทำให้อัดลมไม่ได้ใช่หรือไม่ครับ
ผมคิดว่าซีลตัวเล็กๆ วงนี้เป็นซีลกักลมในห้องแรงดันสูงนะครับ พอมันฉีกลมก็รั่วย้อนกลับเลยอัดลมไม่ได้
7. ผิวหน้าของเหล็กสีทองด้านประกบกับเหล็กสีเทามีรูสำหรับให้อากาศย้อนกลับขึ้นไปในกระบอกชั้นที่ 2 ใช่หรือเปล่าครับ
8. เหล็กแท่งที่สอดอยู่กลางเหล็กสีทอง ไม่ใช้เหล็กตันแต่มีรูเล็ก ๆ ตรงกลางยาวตลอดหรือเปล่าครับ
ถ้าสูบมันเป็นแบบนี้คุณ komatsu คงจะเหนื่อยมากกว่าเก่าแน่ แต่เห็น่ว่าจะใช้ไฮดรอลิก
ทำงานแทน ก็คิดว่าคงจะเป็นสูบราคาหลักแสนแน่ๆ ผมขอเดาการทำงานมันนะ
1. เมื่อเรายกสูบขึ้นสุด ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวขึ้นมาพร้อมกับดึงลูกสูบทองเหลืองขึ้นมาด้วย
เป็นการเพิ่มปริมาณช่องว่างทำให้เกิดแรงดันน้อยกว่าชั้นบรรยากาศ ลูกสูบทองเหลืองจะให้ลม
จากปลอกชั้น 1 ผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 เข้ามาในช่องว่างระหว่างลูกสูบทองเหลืองกับ
เหล็กสีเทาด้านล่าง
2. เมื่อเรากดสูบลง ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวลงทำให้ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนลง
วาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 กั้นลมไม่ให้ย้อนกลับ ปริมาณช่องว่างน้อยลงทำให้แรงอัดเพิ่มขึ้น
อากาศอัดไม่สามารถไปทางไหนได้จึง อัดตัวย้อนขึ้นผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 2 ที่อยู่ใน
ลูกสูบทองเหลืองเข้าไปในปลอกชั้นที่สอง
3. อากาศในปลอกชั้นที่ 2 จะมีแรงดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งที่ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนขึ้นลง
4. เมื่อแรงดันในปลอกชั้นที่ 2 จะไหลลงไปตามรูของเหล็กที่สอดตรงกลางสูบทองเหลือง โดยลง
ไปสู่ห้องแรงดันด้านล่างตรงฐานสูบผ่านซีลกันลมย้อนกลับ (ตัวที่ฉีกนั้นหละครับ)
5. อากาศแรงดันสูงในฐานสูบผ่านวัสดุกรองความชื้นก่อนเข้าสู่กระบอกลมปืนต่อไป
อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ ผมเดาเล่น ๆ เพราะมันไม่ได้เห็นของจริง อาจจะผิดก็ได้ แต่วิธีที่ผมอธิบาย
ก็มีความเป็นไปได้ในการสร้างสูบแรงดันสูงครับ
ตามวิธีที่อธิบาย ผมทึ่งในเทคนิกการเอาชนะแรงดันสูงระดับหลายร้อยกิโลต่อตารางนิ้ว
ซึ่งแรงดันขนาดนี้รับรองว่าเรากดสูบกันลงตรง ๆ ไม่ได้แน่นอน ผมเดาว่าเขาใช้วิธี
การแทนที่ในปลอกสูบชั้นที่ 2 ด้วยแท่งเหล็กที่หมุนเกลียวยึดติดกับเหล็กสีเทา
คือเมื่อเราดันปลอกสูบชั้นที่ 2 ลง ทำให้แท่งเหล็กดังกล่าวเลื่อนตัวเข้าไปแทนที่อากาศ
อันที่จริงมันอยู่เฉย ๆ นะ แต่เราเลื่อนปลอกสูบชั้นที่ 2 ลงไปหามัน ดังนั้นเมื่อแท่งเหล็ก
เข้าไปแทนที่ปริมาณอากาศมันไม่มีที่อยุ่จึงหาทางรีดตัวเองออกไป จะออกไปทางไหนได้ละ
ก็รูท่อเล็ก ๆ ที่อยุ่ตรงกลางแท่งเหล็กไหลไปจนถึงฐานสูบด้านล่าง
การที่แท่งเหล็กสอดเข้าไปเบียดปริมาณอากาศแรงดันสูง มันทำให้ได้เปรียบในพื้นที่รับแรง
อย่างมาก คือถ้าเราคิดพื้นที่ผิวของแท่งเหล็กก็จะเป็นพื้นที่ที่มากกว่าหัวสุบทองเหลืองเสียอีก
หัวสูบมีแรงดันเท่าไหร่ ก็เอาไปคูณจำนวนพื้นทีผิวเท่าที่คิดได้จากผิวแท่งเหล็ก ก็หมายความว่า
ในปลอกสูบที่ 2 จะมีแรงดันมากกว่าแรงดันหัวลูกสูบทองเหลือง ยิ่งดันลงไปลึกแรงดันในปลอกสูบที่ 2
ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะพื้นผิวแท่งเหล็กมันเลื่อนเข้ามายาวขึ้นเรื่อย ๆ กู๊ดไอเดียครับ
ทั้งหมดนี้ผมเดานะครับ เดาเล่น ๆ แต่มีความเป็นไปได้จริงแน่นอน "ลุยเลย"