มีใครเคยใช้ถังออกซิเจน แบบใช้ในโรงพยาบาลบ้างมั้ยครับ (ถังเขียว)ผมจำได้ว่า WP150 อัดเต็มที่ไม่เกิน 250 หรือท่านใดใช้อยู่ ช่วยลงรูประกอบหน่อยได้มั้ยครับเพื่อเป็นแนวทาง
รบกวนถามเพื่อนสมาชิกครับ ถ้าเราไม่ใช่ถังดำน้ำในการอัดอากาศเราสามารถหาถังอย่างอื่นมาใช้แทนได้มั้ยครับ เ่ช่น
ถังออกซิเจน(เล็ก)
ถังNGV
ถังเขียวที่เห็นตามภาพ WP150 ครับ คือ ไม่ควรเกิน 150 bar มีมาตราฐานการทดสอบเช่นเดียวกับถังอื่นๆ แต่pressure ที่ใช่ทดสอบจะอยู่ที่ 225-250bar ตามมาตราฐาน มอก. 250 (ถ้าจำ มอก.ไม่ผิดนะครับ x 1.5 จาก WP) และต้องไม่แตกที่2.5 เท่า ใช้ได้เหมือนกันครับแต่เรื่อง valve ที่ใช้ต้องแปลงหรือเปลี่ยนให้เข้ากับกระบอกลมของปืนอีกทีแต่ไม่ควรใช้ oxygen ในการเติมนะครับ ควรเป็น air หรือ อากาศธรรมดาครับ และเวลาเติมถังต้องบอกร้านที่เติมไม่ให้เกิน150 bar ครับ
ส่วนตัวที่ติดอยู่กับถังเขียวคือ regulator ใช้ในการปรับลดแรงให้เป็นไปตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่ที่เห็นขายกัน มักจะสามารถปรับตั้งได้ไม่เกิน 15 bar (input 200bar output 15bar) ถ้า input 300 up จะราคาประมาณ 2x,xxx up ครับ อุปกรณ์สำหรับ hi pressure ค้อนข้างมีราคาสูง เพราะต้องการ ความปลอดภัยเป็นพื้นฐานสำคัญ อย่าลืมนะครับว่ามีแรงกระทำ= 200kg ต่อ ตารางเซนติเมตร ที่ 200 bar
ส่วนถังดำน้ำจะมีwp200bar ทดสอบที่300bar หรือ 3:5 ครับ ไม่แตกที่2.5เท่าครับ 500bar
ถัง NGV working pressure (WP) 200bar แต่ safety factor (400bar)และไม่แตกที่2.5เท่าครับ สูงกว่าถังดำน้ำ (300 bar)ไม่แตกที่2.5เท่าเช่นกัน เนื่องจากจะต้องเพื่อเกิดอุบัติเหตุชนกันของรถยนต์ จึงต้องมีsafety factorได้สูงกว่าครับ แต่ก็เติมกันที่200bar เช่นกัน
ถัง NGV ที่ใส่ในรถยนต์ขนาดบรรจุ100kg ngv = 20 ltr ปริมาตร อากาศ ครับ
การเติมอากาศไม่ควรเติมเกินกว่า wp ครับ แม้ว่าจะไม่แตกเพราะถังทนได้สูงกว่าตามค่าsafety แต่จะทำให้ ถังหมดสภาพเร็วขึ้น เนื่องจากต้องรับแรงดันมากกว่าที่ออกแบบ ที่ผู้ผลิตต้องทำให้ถังทนแรงดันได้สูงกว่าเพราะป้องกันfactor อื่นๆ เช่น อุณหภูมิ การตกกระแทก การชนอย่างแรง
การเติมลมไม่ควรเติมด้วยความเร็วเกินกว่า 40 bar ต่อ นาที หรือ 600psi ต่อนาที ครับ เพราะ เติมเร็วมากจะทำให้ถังมีอุณหภูมิสูง เกิดเป็น heat treated กับโลหะที่ใช้ทำถังและเปลี่ยนคุณสมบัติของการรับแรงดันไปครับ
ปกติขณะเติม ถังอุณหภูมิจะราวๆ 40- 50c ครับ
การทดสอบตามมาตราฐานจะใช้ Compressed Gas Associations (CGA) และ Department Of Transport (DOT) ของ อเมริกาเป็นแนวทางครับ
-ถังดำน้ำทดสอบ Hydrostatic pressure ด้วยน้ำ ที่ 3:5 แรงดัน เช่น wp 200 bar จะทดสอบที่ 300 bar ถ้าผ่านจะทำการตอกเครื่องหมายผู้ทดสอบและวันเดือนปีที่ทดสอบและนำไปใช้ได้ ทดสอบทุก 5ปี
ทดสอบเพื่อดูขีดจำกัดจะสุ่มเลือกจากถังที่ผลิตในแต่ละล๊อต ทดสอบด้วยน้ำจะต้องไม่แตกที่2.5เท่า หรือ 500 bar แต่ห้ามนำกลับมาใช้อีกเนื่องจากเนื้อถังบางลงจากการขยายตัวแต่หดกลับไม่เท่าเดิมครับ
เครื่องอัดอากาศ หรือ compressor ของดับเพลิง หรือ ดำน้ำคือ แบบเดียวกัน แต่ตั้งค่า safetyไม่เท่ากัน compressor สามารถอัดได้ถึง 225bar, 330 bar, 450bar แล้วการตั้งค่าsafety แต่บล็อคของcompressor สามารถอัดให้ถึงได้ครับ
วันนี่เอาแค่นี้แล้วกันนะครับ น่าจะพอเป็นแนวทาง search กันต่อได้ง่ายขึ้น
ถังดำน้ำ aluminum ส่วนใหญ่ในโลกมาจาก 2บริษัทนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็น Mares, Coltri-Sub หรือ Scubapro
http://www.luxfercylinders.com/products/scuba/http://www.catalinacylinders.com/tsd.htmlถ้าเป็นถังดำน้ำเหล็ก
http://www.faber-italy.com/light/fra.htmhttp://www.worthingtoncylinders.com/high_pressure.html