เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 03:47:14 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 298 299 300 [301] 302 303 304 ... 807
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: (((รวมนานาสาระปืนอัดลม))) สารบัญหน้าที่ 1  (อ่าน 3830410 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 14 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
coko
Sr. Member
****

คะแนน 287
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 667



« ตอบ #4500 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2009, 11:47:49 PM »

......เคยยิงไป 2 นัดเท่านั้น ใช้น้ำหนักของกระสุน 5.3 กับ 10.6 เกรน ทดสอบสอบเสียง เท่านั้นครับ.
>>>เรื่องกลุ่มกระสุน ยังไม่ได้ยิงกับเป้าเลยครับ เพราะพึ่งได้ขากล้องมา. 
>>>ส่วนความเร็วกระสุน ของกระบอกนี้ ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ  ทราบแต่ตามสเปกพลังงาน 16 จูน.
>>>น้ำหนักไก เมื่อเทียบกับ HW100   LG110 ไกเบากว่าครับ.    เยี่ยม
***  LG110 FT  มีปรับความเร็วของกระสุนอยู่ด้านท้ายลำกล้อง ด้วยนะครับ (ตามรูป)

ไม่ทราบว่าตัวหมุนปรับความแรงนี่หมุนได้ 360 องศาหรือปรับโยกไปซ้ายขวาได้นิดเดียวครับ
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #4501 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2009, 11:53:42 PM »

ส่วนที่ติดอยู่กับเกจวัด จะมีตัวดูดความชื้นอยู่ด้านใน.

คุณ airlove ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมสักหน่อยครับ


ผมมีคำถามดังนี้ครับ ไม่เห็นของจริงเลยวิเคราะห์จากภาพครับ
1. จากภาพเหล็กสีเทาหมุนเกลียวยีดติดกับฐานใช่หรือเปล่า
2. รูที่เห็นบนเหล็กสีเทาเป็นรูอะไรครับ หรือว่าเป็นรูสกรูสำหรับยึดปลอกนอกสุด
3. ตอนนี้ผมค่อนข้างแน่ใจว่า เหล็กสีเทาจะอยู่กับที่ แต่เหล็กสีทองจะเลื่อนขึ้นลงตามที่เราสูบ ใช่หรือเปล่าครับ
4. เหล็กสีทองจะยึดติดกับปลอกเหล็กชั้นที่2 ที่อยู่ด้านในปลอกนอกสุดใช่หรือเปล่าครับ
5. ปลอกชั้นที่ 2 จะมีรูตรงกลางเป็นที่อยู่แท่งเหล็กที่ต้องหมุนเกลียวยีดติดบนเหล็กสีเทาใช่หรือเปล่าครับ  
6. แท่งเหล็กที่ยึดติดกับเหล็กสีเทาด้วยเกลียวซึ่งมีซีลที่ขาดและเป็นต้นเหตุทำให้อัดลมไม่ได้ใช่หรือไม่ครับ
    ผมคิดว่าซีลตัวเล็กๆ วงนี้เป็นซีลกักลมในห้องแรงดันสูงนะครับ พอมันฉีกลมก็รั่วย้อนกลับเลยอัดลมไม่ได้
7. ผิวหน้าของเหล็กสีทองด้านประกบกับเหล็กสีเทามีรูสำหรับให้อากาศย้อนกลับขึ้นไปในกระบอกชั้นที่ 2 ใช่หรือเปล่าครับ
8.  เหล็กแท่งที่สอดอยู่กลางเหล็กสีทอง ไม่ใช้เหล็กตันแต่มีรูเล็ก ๆ ตรงกลางยาวตลอดหรือเปล่าครับ


ถ้าสูบมันเป็นแบบนี้คุณ komatsu คงจะเหนื่อยมากกว่าเก่าแน่ แต่เห็น่ว่าจะใช้ไฮดรอลิก
ทำงานแทน ก็คิดว่าคงจะเป็นสูบราคาหลักแสนแน่ๆ ผมขอเดาการทำงานมันนะ

1. เมื่อเรายกสูบขึ้นสุด ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวขึ้นมาพร้อมกับดึงลูกสูบทองเหลืองขึ้นมาด้วย
    เป็นการเพิ่มปริมาณช่องว่างทำให้เกิดแรงดันน้อยกว่าชั้นบรรยากาศ   ลูกสูบทองเหลืองจะให้ลม
    จากปลอกชั้น 1 ผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 เข้ามาในช่องว่างระหว่างลูกสูบทองเหลืองกับ
    เหล็กสีเทาด้านล่าง

2. เมื่อเรากดสูบลง ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวลงทำให้ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนลง
    วาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 กั้นลมไม่ให้ย้อนกลับ  ปริมาณช่องว่างน้อยลงทำให้แรงอัดเพิ่มขึ้น
     อากาศอัดไม่สามารถไปทางไหนได้จึง อัดตัวย้อนขึ้นผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 2 ที่อยู่ใน
     ลูกสูบทองเหลืองเข้าไปในปลอกชั้นที่สอง

3.  อากาศในปลอกชั้นที่ 2 จะมีแรงดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งที่ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนขึ้นลง
4.  เมื่อแรงดันในปลอกชั้นที่ 2 จะไหลลงไปตามรูของเหล็กที่สอดตรงกลางสูบทองเหลือง โดยลง
      ไปสู่ห้องแรงดันด้านล่างตรงฐานสูบผ่านซีลกันลมย้อนกลับ (ตัวที่ฉีกนั้นหละครับ)
5.  อากาศแรงดันสูงในฐานสูบผ่านวัสดุกรองความชื้นก่อนเข้าสู่กระบอกลมปืนต่อไป

อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ ผมเดาเล่น ๆ เพราะมันไม่ได้เห็นของจริง อาจจะผิดก็ได้ แต่วิธีที่ผมอธิบาย
ก็มีความเป็นไปได้ในการสร้างสูบแรงดันสูงครับ

ตามวิธีที่อธิบาย ผมทึ่งในเทคนิกการเอาชนะแรงดันสูงระดับหลายร้อยกิโลต่อตารางนิ้ว
ซึ่งแรงดันขนาดนี้รับรองว่าเรากดสูบกันลงตรง ๆ ไม่ได้แน่นอน  ผมเดาว่าเขาใช้วิธี
การแทนที่ในปลอกสูบชั้นที่ 2 ด้วยแท่งเหล็กที่หมุนเกลียวยึดติดกับเหล็กสีเทา
คือเมื่อเราดันปลอกสูบชั้นที่ 2 ลง ทำให้แท่งเหล็กดังกล่าวเลื่อนตัวเข้าไปแทนที่อากาศ
อันที่จริงมันอยู่เฉย ๆ นะ แต่เราเลื่อนปลอกสูบชั้นที่ 2 ลงไปหามัน ดังนั้นเมื่อแท่งเหล็ก
เข้าไปแทนที่ปริมาณอากาศมันไม่มีที่อยุ่จึงหาทางรีดตัวเองออกไป จะออกไปทางไหนได้ละ
ก็รูท่อเล็ก ๆ ที่อยุ่ตรงกลางแท่งเหล็กไหลไปจนถึงฐานสูบด้านล่าง

การที่แท่งเหล็กสอดเข้าไปเบียดปริมาณอากาศแรงดันสูง มันทำให้ได้เปรียบในพื้นที่รับแรง
อย่างมาก คือถ้าเราคิดพื้นที่ผิวของแท่งเหล็กก็จะเป็นพื้นที่ที่มากกว่าหัวสุบทองเหลืองเสียอีก
หัวสูบมีแรงดันเท่าไหร่ ก็เอาไปคูณจำนวนพื้นทีผิวเท่าที่คิดได้จากผิวแท่งเหล็ก ก็หมายความว่า
ในปลอกสูบที่ 2 จะมีแรงดันมากกว่าแรงดันหัวลูกสูบทองเหลือง ยิ่งดันลงไปลึกแรงดันในปลอกสูบที่ 2
ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะพื้นผิวแท่งเหล็กมันเลื่อนเข้ามายาวขึ้นเรื่อย ๆ  กู๊ดไอเดียครับ

ทั้งหมดนี้ผมเดานะครับ เดาเล่น ๆ แต่มีความเป็นไปได้จริงแน่นอน "ลุยเลย"

บันทึกการเข้า
dnt
Full Member
***

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 102


สุขเลิกเหล้า


« ตอบ #4502 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 12:39:28 AM »

เอารูป ปั๊มมืออัดอากาศ  มาฝากท่านสมาชิกที่อาจจะสนใจครับ .   Smiley
ภาพนี้ พร้อมใช้งานครับ  ด้านล่างของปั้ม จะมีช่องเป็นกระเปาะสำหรับใส่เซลิก้า เพื่อดูดความชื้น. ก่อนที่อากาศจะผ่านเข้ากระบอกเก็บ.


ตัวกระบอกเป็นอะไรครับ เหล็กหรืออลูมิเนียมครับ
รบกวนช่วยถ่ายตรงเกย์วัดให้ดูหน่อยครับ




รูปนี้พอใช้ได้ไหมครับ.  Smiley
ขอบคุณครับ
  ไหว้ ใช้ได้ครับ ถ้าได้เห็นตัวจริงเป็นๆคงจะเข้าใจหลักการทำงานของมือสูบอีกมากเลยครับ
ผมว่าคนไทยก็ทำได้ไม่ยากถ้ามีแบบแปลน ใครมีฝีมือลองทำดูครับเพื่อนสมาชิกจะได้ใช้ของไทยสบายกระเป๋า คิก คิก คิก คิก
บันทึกการเข้า

ปล. พุทธองค์พูดว่าเพื่อนที่ดีไม่ควรขาดการติดต่อ
Terk Kung
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1836



เว็บไซต์
« ตอบ #4503 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 01:19:51 AM »

ต่อท่ออากาศตรงเข้ากับกระบอกลมเลยแบบนี้ก็อันตรายอยู่นะครับ แบบนี้เวลาเราเติมลมเข้าไปเต็มเเล้วคงจะหมุนออกยากน่าดูเลยครับเนื่องจากมีแรงดันลมค้างอยู่ในท่อ ถ้าจะให้ดีควรจะต่อเกย์วัดลมเพิ่มเข้าไปอีก สังเกตุตรงเกย์ข้างล่างจะมีที่หมุนเพื่อเปิดวาวปล่อยลมที่ค้างอยู่ในท่อออกก่อนที่จะหมุนกระบอกลมออก ทำให้หมุนออกได้ง่ายตามปกติ

ถ้าแรงดันลมเต็มที่ก็หมุนตึงมืออยู่ครับ เสียงลมฟืดออกมาก็ดังน่ากลัว
ทุกวันนี้ผมเติมแค่ 100 bar ก็เลยหมุนออกง่าย  ในอนาคตก็คิดว่าจะทำแบบนี้เหมือนกัน
แต่ก็ไม่รู้ว่าอุปกรณ์เกจวัดแรงดันสูงหาซื้อได้ที่ไหน คงต้องขอคำแนะนำบ้างครับ
ขอบคุณมากมากครับ
ตัวนี้ผมซื้อกับอาจารย์ถนอมศักดิ์ที่สนามกีฬาหัวหมากครับ เห็นเขาบอกว่าที่ร้านขายอุปกรณ์ดำน้ำก็มีครับ ส่วนตัวผมเติมลมทุกครั้ง อัดเต็มที่ครับ 190 - 200 Bar พอเติมลมได้ที่ก็ปิดวาวจากถังลมแล้วก็ค่อยมาปล่อยลมจากวาวเกย์อีกทีหนึ่งจึงค่อยหมุนเอาหลอดลมออกได้ครับ หายห่วงเรื่องแรงดัดลมได้เลยครับ


[แบบนี้ผมคิดว่าการอัดลมเข้ากระบอกใช้แรงดันลมจากถังดันอัดผ่านวาวล์กระบอกลมเข้าไปโดยไม่ต้องกดวาวล์
ดังนั้นเมื่อปล่อยลมออกจากเกจ แรงดันลมจากกระบอกสูบจึงไม่ไหลออกมา


เออ ตรงนี้ผมไม่เคยฉุกคิดมาก่อน เพราะเคยดูแต่เกลียวปล่อยลม เมื่อหมุนเข้าไปมันจะปล่อยลมออกจาก
กระบอกลมปืน  ผมก็เลยนึกว่าเกลียวสำหรับอัดลมของผมมันก็ดันวาวล์ให้เปิดเพื่ออัดลมเข้าไปในกระบอกลมได้
ดังนั้นหากใช้วิธีแบบคุณ Terk Kung ผมยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้

[
อันนี้เป็นเกลียวปล่อยลมครับเมื่อสวมแล้วจะเป็นอย่างนี้ มันจะระบายลมออกจากท่อจนหมด


ด้านในมีเดือยกดวาวล์ให้ปล่อยลมเมื่อหมุนเข้าไปจนสุด ลมจะระบายออกตรงรูเล็ก ๆ ที่เห็น



อันนี้เป็นเกลียวสำหรับอัดลมเมือประกอบเป็นอย่างนี้ ตอนนี้กระบอกอัดลมไม่มีลม ถ้ามีลมผมไม่แน่ใจ
ว่าลมจะสวนออกมาหรือเปล่าเอาไว้ต้องลองดูอีกครั้ง

ดูด้านในเกลียวอัดลมมีเดือยเหมือนกัน แต่คราวนี้มีซีลกันรั่วด้วย และมีรูสำหรับส่งลมเข้ากระบอกลม


ดังนั้นถ้าหากเกลียวอัดลมของผมทำหน้าที่เหมือนเกลียวปล่อยลมด้วยแล้ว ก็ไม่อาจทำแบบคุณ Terk Kung ได้
แต่ถ้าหากผมลองหมุนดูแล้วลมไม่ออกก็หมายความว่าผมคงต้องเสาะหาอุปกรณ์แบบคุณ Terk Kung  มาใช้แล้ว
หละครับ เคยอัดแรงลม 190 บาร์ หมุนออกแข็งมาก แต่พอออกมาสักเกลียวลมก็รั่วออกตรงรูระบายแล้วจึงหมุนได้
สะดวกครับ แต่ก็ไม่เคยหมุนออกเกลียวเดียวแล้วแช่ไว้ เพราะกลัวแรงลมบาดซีลขาดครับ

ขอบคุณมากครับ
แสดงว่าระบบการอัดลมของกระบอกลมไม่เหมือนกันครับของ Anschutz ไม่มีปุ่มกดเปิดวาวในขณะที่กำลังเติมลมครับ อาศัยใช้แรงดัดจากลมในถังที่มากกว่าอัดเข้าไปดันวาวให้เปิดเองครับ


* DSC00529.JPG (60.02 KB, 500x375 - ดู 2016 ครั้ง.)

* DSC00530.JPG (54.37 KB, 500x375 - ดู 2066 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
Terk Kung
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1836



เว็บไซต์
« ตอบ #4504 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 01:26:18 AM »

อันนี้เป็นหัววาล์วไว้สำหรับปล่อยลมออกจากกระบอกลมก็คล้ายๆกันครับ
อีกรูปก็จะเป็นกระบอกลม


* DSC00533.JPG (55.82 KB, 500x375 - ดู 1879 ครั้ง.)

* DSC00538.JPG (53.75 KB, 500x375 - ดู 1979 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า
airarm
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4505 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 07:43:32 AM »


[/quote]
ไม่ทราบว่าตัวหมุนปรับความแรงนี่หมุนได้ 360 องศาหรือปรับโยกไปซ้ายขวาได้นิดเดียวครับ
[/quote]

ยังไม่ทราบเหมือนกันครับ ว่าโยก หรือ หมุนได้แค่ไหน เพราะรุ่น ของผมไม่มีครับ   Smiley   ต้องเป็นรุ่น 110 FT ถึงจะมีเจ้าตัวปรับนี้.

บันทึกการเข้า
airarm
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4506 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 07:59:18 AM »

ส่วนที่ติดอยู่กับเกจวัด จะมีตัวดูดความชื้นอยู่ด้านใน.

คุณ airlove ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมสักหน่อยครับ


ผมมีคำถามดังนี้ครับ ไม่เห็นของจริงเลยวิเคราะห์จากภาพครับ
1. จากภาพเหล็กสีเทาหมุนเกลียวยีดติดกับฐานใช่หรือเปล่า
     ใช่ครับ.
2. รูที่เห็นบนเหล็กสีเทาเป็นรูอะไรครับ หรือว่าเป็นรูสกรูสำหรับยึดปลอกนอกสุด
     รูน๊อตยึดปลอกนอก ใช่แล้วครับ
3. ตอนนี้ผมค่อนข้างแน่ใจว่า เหล็กสีเทาจะอยู่กับที่ แต่เหล็กสีทองจะเลื่อนขึ้นลงตามที่เราสูบ ใช่หรือเปล่าครับ
           ถูกอีกครับ.
4. เหล็กสีทองจะยึดติดกับปลอกเหล็กชั้นที่2 ที่อยู่ด้านในปลอกนอกสุดใช่หรือเปล่าครับ
         ใช่อีกแล้วครับ.
5. ปลอกชั้นที่ 2 จะมีรูตรงกลางเป็นที่อยู่แท่งเหล็กที่ต้องหมุนเกลียวยีดติดบนเหล็กสีเทาใช่หรือเปล่าครับ  
           ใช่ครับ
6. แท่งเหล็กที่ยึดติดกับเหล็กสีเทาด้วยเกลียวซึ่งมีซีลที่ขาดและเป็นต้นเหตุทำให้อัดลมไม่ได้ใช่หรือไม่ครับ
    ผมคิดว่าซีลตัวเล็กๆ วงนี้เป็นซีลกักลมในห้องแรงดันสูงนะครับ พอมันฉีกลมก็รั่วย้อนกลับเลยอัดลมไม่ได้
         ใช่ครับ. 
7. ผิวหน้าของเหล็กสีทองด้านประกบกับเหล็กสีเทามีรูสำหรับให้อากาศย้อนกลับขึ้นไปในกระบอกชั้นที่ 2 ใช่หรือเปล่าครับ
         อันนี้ไม่แน่ใจครับ จำไม่ได้ ต้องไปถอดดูก่อนครับ
8.  เหล็กแท่งที่สอดอยู่กลางเหล็กสีทอง ไม่ใช้เหล็กตันแต่มีรูเล็ก ๆ ตรงกลางยาวตลอดหรือเปล่าครับ
         ใช่อีกแล้วครับ
           โอว....รู้งี้นะผมส่งให้คุณ sitta ช่วยซ่อมไปแล้วล่ะ    ไหว้

ถ้าสูบมันเป็นแบบนี้คุณ komatsu คงจะเหนื่อยมากกว่าเก่าแน่ แต่เห็น่ว่าจะใช้ไฮดรอลิก
ทำงานแทน ก็คิดว่าคงจะเป็นสูบราคาหลักแสนแน่ๆ ผมขอเดาการทำงานมันนะ

1. เมื่อเรายกสูบขึ้นสุด ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวขึ้นมาพร้อมกับดึงลูกสูบทองเหลืองขึ้นมาด้วย
    เป็นการเพิ่มปริมาณช่องว่างทำให้เกิดแรงดันน้อยกว่าชั้นบรรยากาศ   ลูกสูบทองเหลืองจะให้ลม
    จากปลอกชั้น 1 ผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 เข้ามาในช่องว่างระหว่างลูกสูบทองเหลืองกับ
    เหล็กสีเทาด้านล่าง

2. เมื่อเรากดสูบลง ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวลงทำให้ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนลง
    วาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 กั้นลมไม่ให้ย้อนกลับ  ปริมาณช่องว่างน้อยลงทำให้แรงอัดเพิ่มขึ้น
     อากาศอัดไม่สามารถไปทางไหนได้จึง อัดตัวย้อนขึ้นผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 2 ที่อยู่ใน
     ลูกสูบทองเหลืองเข้าไปในปลอกชั้นที่สอง

3.  อากาศในปลอกชั้นที่ 2 จะมีแรงดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งที่ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนขึ้นลง
4.  เมื่อแรงดันในปลอกชั้นที่ 2 จะไหลลงไปตามรูของเหล็กที่สอดตรงกลางสูบทองเหลือง โดยลง
      ไปสู่ห้องแรงดันด้านล่างตรงฐานสูบผ่านซีลกันลมย้อนกลับ (ตัวที่ฉีกนั้นหละครับ)
5.  อากาศแรงดันสูงในฐานสูบผ่านวัสดุกรองความชื้นก่อนเข้าสู่กระบอกลมปืนต่อไป

อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ ผมเดาเล่น ๆ เพราะมันไม่ได้เห็นของจริง อาจจะผิดก็ได้ แต่วิธีที่ผมอธิบาย
ก็มีความเป็นไปได้ในการสร้างสูบแรงดันสูงครับ

ตามวิธีที่อธิบาย ผมทึ่งในเทคนิกการเอาชนะแรงดันสูงระดับหลายร้อยกิโลต่อตารางนิ้ว
ซึ่งแรงดันขนาดนี้รับรองว่าเรากดสูบกันลงตรง ๆ ไม่ได้แน่นอน  ผมเดาว่าเขาใช้วิธี
การแทนที่ในปลอกสูบชั้นที่ 2 ด้วยแท่งเหล็กที่หมุนเกลียวยึดติดกับเหล็กสีเทา
คือเมื่อเราดันปลอกสูบชั้นที่ 2 ลง ทำให้แท่งเหล็กดังกล่าวเลื่อนตัวเข้าไปแทนที่อากาศ
อันที่จริงมันอยู่เฉย ๆ นะ แต่เราเลื่อนปลอกสูบชั้นที่ 2 ลงไปหามัน ดังนั้นเมื่อแท่งเหล็ก
เข้าไปแทนที่ปริมาณอากาศมันไม่มีที่อยุ่จึงหาทางรีดตัวเองออกไป จะออกไปทางไหนได้ละ
ก็รูท่อเล็ก ๆ ที่อยุ่ตรงกลางแท่งเหล็กไหลไปจนถึงฐานสูบด้านล่าง

การที่แท่งเหล็กสอดเข้าไปเบียดปริมาณอากาศแรงดันสูง มันทำให้ได้เปรียบในพื้นที่รับแรง
อย่างมาก คือถ้าเราคิดพื้นที่ผิวของแท่งเหล็กก็จะเป็นพื้นที่ที่มากกว่าหัวสุบทองเหลืองเสียอีก
หัวสูบมีแรงดันเท่าไหร่ ก็เอาไปคูณจำนวนพื้นทีผิวเท่าที่คิดได้จากผิวแท่งเหล็ก ก็หมายความว่า
ในปลอกสูบที่ 2 จะมีแรงดันมากกว่าแรงดันหัวลูกสูบทองเหลือง ยิ่งดันลงไปลึกแรงดันในปลอกสูบที่ 2
ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะพื้นผิวแท่งเหล็กมันเลื่อนเข้ามายาวขึ้นเรื่อย ๆ  กู๊ดไอเดียครับ

ทั้งหมดนี้ผมเดานะครับ เดาเล่น ๆ แต่มีความเป็นไปได้จริงแน่นอน "ลุยเลย"


บันทึกการเข้า
sathu 28
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 165
ออฟไลน์

กระทู้: 480



« ตอบ #4507 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 08:34:39 AM »

หลงรัก  เอารูปมาฝากท่านสมาชิกแก้เหงา ระหว่างรอ AA S410 กันครับ.   Smiley :

ด้านขวา   Smiley    หลังจากใช้เวลาติดขากล้อง กับกล้อง อยู่ 3 ชม.   ยิ้มีเลศนัย
ขาเตี้ยของมิลเลต  กล้องจีน Tasco 10-40x50

เยี่ยมเลยครับ 
บันทึกการเข้า
kreangkri
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4508 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 09:41:12 AM »

ขอบคุณ คุณ tui086 ที่แนะนำ เดี๋ยวจะไปตรวจสอบดูก่อน ที่ผ่านมาไม่ได้ตรวจดูเลยครับ(ปืนติดกล้อง)ผมทำงานที่ลำพูนแต่บ้านเกิดอยู่เชียงใหม่ครับ ก็มี.22 กับอัดลมสปริงที่ซื้อก็เพราะดูแลง่ายไม่มีอุปกรณ์เยอะความคิดอีกอย่างคืออยู่ไกลกรุงเทพฯจะหาอะไหล่อุปกรณ์แต่ละอย่างก็ลำบาก  (  อิจฉาพี่ๆที่อยู่ในกรุงจังเลยใกล้ร้านใกล้แหล่งอุปกรณ์ ... ) และก็ได้มาทอ่งเที่ยวในเวปนี้ ชอบมากได้ความรู้และอะไรใหม่ๆกับสิ่งที่เราชอบ คุณเต้ยได้จุดประกาย..ความอยากได้...ของใหม่..พี่ๆก็ให้ความรู้มากมาย ครับ ก็เป็นที่มาของการเข้าร่วมโครงการ. 6 อันดับที่ 13 รอด้วยความหวังและใจรัก ครับ
บันทึกการเข้า
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #4509 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 03:25:07 PM »

ส่วนที่ติดอยู่กับเกจวัด จะมีตัวดูดความชื้นอยู่ด้านใน.

คุณ airlove ผมขอข้อมูลเพิ่มเติมสักหน่อยครับ


ผมมีคำถามดังนี้ครับ ไม่เห็นของจริงเลยวิเคราะห์จากภาพครับ
1. จากภาพเหล็กสีเทาหมุนเกลียวยีดติดกับฐานใช่หรือเปล่า
     ใช่ครับ.
2. รูที่เห็นบนเหล็กสีเทาเป็นรูอะไรครับ หรือว่าเป็นรูสกรูสำหรับยึดปลอกนอกสุด
     รูน๊อตยึดปลอกนอก ใช่แล้วครับ
3. ตอนนี้ผมค่อนข้างแน่ใจว่า เหล็กสีเทาจะอยู่กับที่ แต่เหล็กสีทองจะเลื่อนขึ้นลงตามที่เราสูบ ใช่หรือเปล่าครับ
           ถูกอีกครับ.
4. เหล็กสีทองจะยึดติดกับปลอกเหล็กชั้นที่2 ที่อยู่ด้านในปลอกนอกสุดใช่หรือเปล่าครับ
         ใช่อีกแล้วครับ.
5. ปลอกชั้นที่ 2 จะมีรูตรงกลางเป็นที่อยู่แท่งเหล็กที่ต้องหมุนเกลียวยีดติดบนเหล็กสีเทาใช่หรือเปล่าครับ  
           ใช่ครับ
6. แท่งเหล็กที่ยึดติดกับเหล็กสีเทาด้วยเกลียวซึ่งมีซีลที่ขาดและเป็นต้นเหตุทำให้อัดลมไม่ได้ใช่หรือไม่ครับ
    ผมคิดว่าซีลตัวเล็กๆ วงนี้เป็นซีลกักลมในห้องแรงดันสูงนะครับ พอมันฉีกลมก็รั่วย้อนกลับเลยอัดลมไม่ได้
         ใช่ครับ. 
7. ผิวหน้าของเหล็กสีทองด้านประกบกับเหล็กสีเทามีรูสำหรับให้อากาศย้อนกลับขึ้นไปในกระบอกชั้นที่ 2 ใช่หรือเปล่าครับ
         อันนี้ไม่แน่ใจครับ จำไม่ได้ ต้องไปถอดดูก่อนครับ
8.  เหล็กแท่งที่สอดอยู่กลางเหล็กสีทอง ไม่ใช้เหล็กตันแต่มีรูเล็ก ๆ ตรงกลางยาวตลอดหรือเปล่าครับ
         ใช่อีกแล้วครับ
           โอว....รู้งี้นะผมส่งให้คุณ sitta ช่วยซ่อมไปแล้วล่ะ    ไหว้

ถ้าสูบมันเป็นแบบนี้คุณ komatsu คงจะเหนื่อยมากกว่าเก่าแน่ แต่เห็น่ว่าจะใช้ไฮดรอลิก
ทำงานแทน ก็คิดว่าคงจะเป็นสูบราคาหลักแสนแน่ๆ ผมขอเดาการทำงานมันนะ

1. เมื่อเรายกสูบขึ้นสุด ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวขึ้นมาพร้อมกับดึงลูกสูบทองเหลืองขึ้นมาด้วย
    เป็นการเพิ่มปริมาณช่องว่างทำให้เกิดแรงดันน้อยกว่าชั้นบรรยากาศ   ลูกสูบทองเหลืองจะให้ลม
    จากปลอกชั้น 1 ผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 เข้ามาในช่องว่างระหว่างลูกสูบทองเหลืองกับ
    เหล็กสีเทาด้านล่าง

2. เมื่อเรากดสูบลง ปลอกชั้นที่ 2 จะเลื่อนตัวลงทำให้ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนลง
    วาวล์ทางเดียวตัวที่ 1 กั้นลมไม่ให้ย้อนกลับ  ปริมาณช่องว่างน้อยลงทำให้แรงอัดเพิ่มขึ้น
     อากาศอัดไม่สามารถไปทางไหนได้จึง อัดตัวย้อนขึ้นผ่านวาวล์ทางเดียวตัวที่ 2 ที่อยู่ใน
     ลูกสูบทองเหลืองเข้าไปในปลอกชั้นที่สอง

3.  อากาศในปลอกชั้นที่ 2 จะมีแรงดันสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามจำนวนครั้งที่ลูกสูบทองเหลืองเลื่อนขึ้นลง
4.  เมื่อแรงดันในปลอกชั้นที่ 2 จะไหลลงไปตามรูของเหล็กที่สอดตรงกลางสูบทองเหลือง โดยลง
      ไปสู่ห้องแรงดันด้านล่างตรงฐานสูบผ่านซีลกันลมย้อนกลับ (ตัวที่ฉีกนั้นหละครับ)
5.  อากาศแรงดันสูงในฐานสูบผ่านวัสดุกรองความชื้นก่อนเข้าสู่กระบอกลมปืนต่อไป

อย่าเพิ่งเชื่อนะครับ ผมเดาเล่น ๆ เพราะมันไม่ได้เห็นของจริง อาจจะผิดก็ได้ แต่วิธีที่ผมอธิบาย
ก็มีความเป็นไปได้ในการสร้างสูบแรงดันสูงครับ

ตามวิธีที่อธิบาย ผมทึ่งในเทคนิกการเอาชนะแรงดันสูงระดับหลายร้อยกิโลต่อตารางนิ้ว
ซึ่งแรงดันขนาดนี้รับรองว่าเรากดสูบกันลงตรง ๆ ไม่ได้แน่นอน  ผมเดาว่าเขาใช้วิธี
การแทนที่ในปลอกสูบชั้นที่ 2 ด้วยแท่งเหล็กที่หมุนเกลียวยึดติดกับเหล็กสีเทา
คือเมื่อเราดันปลอกสูบชั้นที่ 2 ลง ทำให้แท่งเหล็กดังกล่าวเลื่อนตัวเข้าไปแทนที่อากาศ
อันที่จริงมันอยู่เฉย ๆ นะ แต่เราเลื่อนปลอกสูบชั้นที่ 2 ลงไปหามัน ดังนั้นเมื่อแท่งเหล็ก
เข้าไปแทนที่ปริมาณอากาศมันไม่มีที่อยุ่จึงหาทางรีดตัวเองออกไป จะออกไปทางไหนได้ละ
ก็รูท่อเล็ก ๆ ที่อยุ่ตรงกลางแท่งเหล็กไหลไปจนถึงฐานสูบด้านล่าง

การที่แท่งเหล็กสอดเข้าไปเบียดปริมาณอากาศแรงดันสูง มันทำให้ได้เปรียบในพื้นที่รับแรง
อย่างมาก คือถ้าเราคิดพื้นที่ผิวของแท่งเหล็กก็จะเป็นพื้นที่ที่มากกว่าหัวสุบทองเหลืองเสียอีก
หัวสูบมีแรงดันเท่าไหร่ ก็เอาไปคูณจำนวนพื้นทีผิวเท่าที่คิดได้จากผิวแท่งเหล็ก ก็หมายความว่า
ในปลอกสูบที่ 2 จะมีแรงดันมากกว่าแรงดันหัวลูกสูบทองเหลือง ยิ่งดันลงไปลึกแรงดันในปลอกสูบที่ 2
ก็จะมากขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะพื้นผิวแท่งเหล็กมันเลื่อนเข้ามายาวขึ้นเรื่อย ๆ  กู๊ดไอเดียครับ

ทั้งหมดนี้ผมเดานะครับ เดาเล่น ๆ แต่มีความเป็นไปได้จริงแน่นอน "ลุยเลย"



ส่งให้คุณ coko ดีกว่าครับ ผมไม่มีความชำนาญสักนิดเลย ชอบดูมากกว่า ไม่ชอบลงมือเอง
ถ้าจะลงมือเองก็ต้องเป็นเรื่องหยั่งว่า เพราะไอ้เรื่องหยั่งว่ามันมีความรู้สึกเสียวสนุกมาเกี่ยวข้องด้วย ฮ่า ฮ่า

ไม่เห็นหรือครับ พอรู้ว่าว่าปืนคุณ airlove มีที่ปรับความเร็วกระสุน ก็คันไม้คันมือรีบถามด้วยความสงสัย
อยากปรับหมุนน๊อตตัวนั้นซะแล้ว Cheesy  ผมเองก็สงสัยไม่น่อย แต่น่าเสียดายนะที่ปืนคุณ airlove ไม่มีที่ปรับ






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2009, 03:46:08 PM โดย sitta » บันทึกการเข้า
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #4510 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 04:36:30 PM »

ขอบคุณครับพี่sitta ผมจะติดตามข่าวต่อไปครับ ใจร้อนอยากได้มากๆครับ ตอนนี้เดียน่า 48 ของผมสปริงหัก ยิงไม่ได้เครียดนิดๆครับ เชียงใหม่หาสปริงไม่มีครับ โทรไปที่กรุงเทพมีขายแต่ทางร้านไม่ส่งทางไปรษณีย์ จ๋อยเลยครับ
พี่ถามซื้อสปริงที่ร้านอะไรหรือครับ รบกวนขอเบอร์โทรได้นะครับ ยังไงถ้าผมซื้อจะซื้อให้พี่และส่งให้ครับ ปืนผมก็แรงน้อยครับ กำลังหาสปริงแข็งๆอยู่ครับแต่ไม่รู้ที่ขาย
บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
Rapin paiwan
Sr. Member
****

คะแนน 21
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



เว็บไซต์
« ตอบ #4511 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 04:37:25 PM »

ขอบคุณครับพี่sitta ผมจะติดตามข่าวต่อไปครับ ใจร้อนอยากได้มากๆครับ ตอนนี้เดียน่า 48 ของผมสปริงหัก ยิงไม่ได้เครียดนิดๆครับ เชียงใหม่หาสปริงไม่มีครับ โทรไปที่กรุงเทพมีขายแต่ทางร้านไม่ส่งทางไปรษณีย์ จ๋อยเลยครับ
พี่ถามซื้อสปริงที่ร้านอะไรหรือครับ รบกวนขอเบอร์โทรได้นะครับ ยังไงถ้าผมซื้อจะซื้อให้พี่และส่งให้ครับ ปืนผมก็แรงน้อยครับ กำลังหาสปริงแข็งๆอยู่ครับแต่ไม่รู้ที่ขาย
บันทึกการเข้า

สุดท้ายมนุษย์ก็เป็นเพียงแค่ละอองดาว
www.silacarborundum.com
sitta.
Hero Member
*****

คะแนน 488
ออฟไลน์

กระทู้: 7275


« ตอบ #4512 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 05:59:56 PM »

ขอบคุณครับพี่sitta ผมจะติดตามข่าวต่อไปครับ ใจร้อนอยากได้มากๆครับ ตอนนี้เดียน่า 48 ของผมสปริงหัก ยิงไม่ได้เครียดนิดๆครับ เชียงใหม่หาสปริงไม่มีครับ โทรไปที่กรุงเทพมีขายแต่ทางร้านไม่ส่งทางไปรษณีย์ จ๋อยเลยครับ
พี่ถามซื้อสปริงที่ร้านอะไรหรือครับ รบกวนขอเบอร์โทรได้นะครับ ยังไงถ้าผมซื้อจะซื้อให้พี่และส่งให้ครับ ปืนผมก็แรงน้อยครับ กำลังหาสปริงแข็งๆอยู่ครับแต่ไม่รู้ที่ขาย

ผมขอปรมมือให้กับน้ำใจของคุณ Rapin paiwan คุณ kreangkri คงสบายใจได้แล้วครับ

เออคุณ kreangkri ทำยังไงสปริงถึงหักครับ ช่วยเล่าเป็นประสบการณ์ให้กับเพื่อนๆสมาชิกปืนลมได้ทราบบ้าง
แล้วอาการปืนอัดลมสปริงหักมันเป็นยังไงครับ เวลาง้างมันรู้สึกอย่างไร แล้วตอนยิงมันเป็นยังไง
มีเสียงพิกลอย่างไรบ้าง ช่วยเล่าสักนิดนะครับ
บันทึกการเข้า
komatsu
Hero Member
*****

คะแนน 319
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4139


How far is near??


« ตอบ #4513 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 06:48:06 PM »

ว่าแต่ทำไมเจ้า AA S410 ถึงได้ยิงไกลและแม่นเป็นร้อยเมตรครับ  Huh

ปัญหานี้แหละที่ทำไห้อยากที่จะได้เห็นของจริงๆ  ก่อนที่จะลงโครงการ 6 กับเขา  แต่ถ้าจะไห้ดีต้องตามไปยิงของพวกท่านที่จะได้ในอีกไม่กี่เดือนนี้ดูก่อน  ว่าของเขาดีตามคำกล่าวขานไหม  คงรออีกไม่นานแล้วนะที่จะได้เห็นนางเอกของพวกท่านทั้งหลาย  แต่จะหาที่ที่ไหนลองได้ตั้ง  ร้อยกว่าเมตร
ไม่ยากครับอย่างน้อยก็บ้านพี่ Konputhai ที่คุณเต้ยไปทดสอบไงครับ Grin
บันทึกการเข้า

Terk Kung
คนดีถือปืนเป็นศรีแก่ตัว คนไม่ดีถือปืนเป็นภัยต่อคนอื่น
Moderator
Hero Member
*****

คะแนน 188
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1836



เว็บไซต์
« ตอบ #4514 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2009, 06:55:39 PM »

ปืนอัดลมสปริงของผมก็หักเช่นกันครับ หักออกเป็น 3 ท่อน กลางกับท้าย อาการของปืนผมก็คือ
1.เสียงของปืนที่ยิงไปนัดแรกถ้าฟังดูดีๆมันจะมีเสียงดังกิ้ง หรือดัง ปิ๊ก สั่นๆ ก็เอะใจเเล้วครับ
2.ความเร็วของกระสุนเบาลงอย่างเห็นได้ชัด
3.เวลาขึ้นลำในบางจังหว่ะรู้สึกมีเสียงเหมือนสปริงพันกันดัง แกะๆๆ คลืกๆ

ของผมคิดว่าเกิดจากสปริงมีอายุการใช้งานมาก มีสนิมขึ้น และที่ผมคิดๆอยู่ไม่รู้จริงหรือไม่อย่างไรก็ไม่แน่ใจนะครับ คือสปริงมันหักตอนที่ผมเก็บไว้นานๆแล้วช่วงนั้นอาการก็หนาวเย็นด้วยเป็นช่วงฤดูหนาว พอเวลามายิงผมคิดว่าอากาศเย็นทำให้สปริงมันเปาะ ช่วงที่เวลาเราขึ้นลำจนสุดเเล้วสปริงก็ยังคงเย็นอยู่เมื่อเรายิงออกไปสปริงเกิดการดีดตัวกลับอย่างแรงทำให้เกิดความร้อนกระทันหัน เหล็กขยายตัวไม่ทันก็เลยแตกหัก ถ้าว่าตามหลักเเล้วเหล็กเย็นๆมาเจอร้อนกระทันหันก็ทำให้เหล็กเปาะแตกได้ ผมคิดว่ามันเป็นเช่นนี้ครับ สปริงส่วนที่แตกหักมีลักษณะที่คมมากตอนผมแกะออกมาดูตกใจสปริงหัก 3 ท่อน เอามาจับๆดูแล้วก็ได้เรื่องเลยมันบาดนิ้วครับคมมาก  หัวเราะร่าน้ำตาริน


* DSC00539.JPG (31.73 KB, 500x375 - ดู 1299 ครั้ง.)

* DSC00540.JPG (31.46 KB, 500x375 - ดู 1404 ครั้ง.)

* DSC00541.JPG (31.94 KB, 500x375 - ดู 1355 ครั้ง.)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2009, 07:00:03 PM โดย Terk Kung » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 298 299 300 [301] 302 303 304 ... 807
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.135 วินาที กับ 25 คำสั่ง