ตามที่คุณสิทธาว่าก็ถูกต้องครับ มันมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในการจัดการแข่งขันอยู่แล้ว แต่การแข่งขันครั้งนี้แค่พบปะสังสรรค์ได้เจอหน้าค่าตากันเป็นประเด็นหลัก ไหนๆ ก็มารับปืนที่กรุงเทพฯ ในวันเดียวกันแล้วก็ตามกันมารวมพลที่บ้านคุณkonputhai คงจะไม่เสียค่าน้ำมันรถเพิ่มมากเท่าไหร่ครับ อุปกรณ์การประลองยุทธก็เป็นสมบัติของเจ้าของบ้านที่ท่านจะเก็บไว้ใช้เองหลังการแข่งขัน เป้าและอุปกรณ์ต่างๆ ก็หามาจากวัสดุที่มีอยู่แล้วเพื่อเป็นการประหยัด และเงินค่าสมัครจริงๆ แล้วควรจะเรียกว่าเงินลงขันกันมากว่าที่กำหนดคนละ 500 บาท ก็ประมาณการขั้นต่ำไปก่อนถ้ามันไม่พอก็ค่อยลงขันกันเพิ่ม ค่ารางวัลประมาณการคร่าวๆ ก็ราวๆ 4,000 บาท ถ้ามากัน 10 คนก็ได้ 5,000 บาท ขาดเกินก็คงไม่มากเท่าไหร่
จากที่เพื่อนในวงการยิงธนูเล่าให้ฟังถึงการก่อตั้งชมรมฯ แรกๆ ก็มีคนยิงธนูกันแค่ 2-3 คนเป็นเพื่อนกันชวนกันมาเล่น เมื่อมีคนมาเห็นก็อยากลองยิงดูบ้างพอยิงแล้วก็ติดใจ ซื้ออุปกรณ์มายิงด้วยกัน จำนวนคนก็มาขึ้นเรื่อยๆ จาก 3 เป็น 5 จาก 5 เป็น 10 จากนั้นก็จัดให้มีการแข่งขันในหมู่นักธนูที่มีกันแค่ 10 กว่าคน และต่อมาได้จัดตั้งชมรม TOAC ขึ้นและได้กำเนิดสนามยิงธนูของเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ที่สนาม Archerythai และมีกิจกรรมกันมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันก็มีการประชาสัมพันธ์ออกบู๊ทตามงานต่างๆ เพื่อชักชวนผู้สนใจให้มายิงธนูกันมากขึ้นในตลอดเวลา 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มจากจุดๆ เล็กแล้วขยายใหญ่ขึ้น ปัจจุบันก็ยังมีสมาชิกไม่ถึง 100 ครอบครัว ผมเป็นสมาชิกลำดับที่ 79 เท่านั้นเอง มีการจัดการแข่งขันกันทุกเดือน มีแมทช์ระดับนานาชาติของชิงถ้วยพระราชทานมาแล้ว 2 ปี มีนักกีฬายิงธนูมาร่วมแข่งขันมากถึง 9 ประเทศก็ยังสามารถทำได้ ทั้งๆ ที่ทุกอย่างเริ่มมาจากศูนย์แต่ก็สามารถเติบโตขึ้นมาได้
แล้วพอย้อนกลับมาดูวงการปืนอัดลม ซึ่งมีคนมากมายในประเทศไทยที่มีปืนอัดลมอยู่ในครอบครอง มีจำนวนนับแสนกระบอกเลยทีเดียวถ้าหากมีกลุ่มคนสักกลุ่มทำการรวบรวมสมาชิกผู้ใช้ปืนอัดลมทั่วประเทศเข้ามาจัดตั้งเป็นสมาคมได้แค่ 1 เปอร์เซ็นต์หรือเท่ากับ 100 คนแค่นี้มันก็ยิ่งใหญ่มากแล้วและมันจะขายตัวออกไปเรื่อยๆ เราไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์เพราะคนจำนวนมากมีปืนอัดลมกันอยู่แล้วเพียงแต่ไม่มีคนนำทางที่จะรวบรวมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเท่านั้น ไม่มีอะไรที่เริ่มต้นจากร้อยหรอกครับ ถ้าไม่ก้าวเดินก้าวแรกจะมีก้าวต่อไปได้อย่างไร ถ้าไม่นับ 1 แล้วจะไปถึง 10 ได้อย่างไร เรามาเริ่มจากจุดเล็กๆ กันก่อนดีกว่าแค่ 5-10 คนก่อนจากนั้นมันจะขยายตัวไปเรื่อยๆ ชมรมยิงธนูเขาก็มีกิจการส่วนตัว มีหน้าที่การงานที่รับผิดชอบเหมือนกันก็ยังสมารถมารวมตัวกันจัดกิจกรรมได้ทุกเดือน ทำไมชาวปืนลมจะทำอย่างนั้นกันบ้างไม่ได้ จริงอยู่ทุกคนต้องหาเลี้ยงชีพ หาเลี้ยงครอบครัว แต่ก็ควรจะมีอะไรที่เป็นเวลาส่วนตัวของเราบ้าง คนเราไม่ใช่เครื่องจักรที่จะทำแต่งาน งาน แล้วก็งาน มาเริ่มต้นกันเถอะครับเราไม่ได้นับจากศูนย์แต่เรานับจากสิบซึ่งมันเป็นข้อได้เปรียบอยู่แล้ว
การเริ่มต้นแข่ง Mini Sniping เริ่มแรกก็มาจากคนแค่ 3-4 คนที่ชวนกันมายิงปืนที่สวนหลังบ้านตั้งแต่ปี 1984 ปัจจุบันมีการรับรองโดยสมาคมระดับโลก มีการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ อย่างเป็นสากล เพื่อเป็นข้อบังคับให้สามารถใช้กันได้ทั่วโลก
การแข่ง Field Target ก็เริ่มจากการรวมตัวกันของคนเพียง 30 คนที่มารวมกันเพื่อทำการแข่งขันเป็นครั้งแรกในฟาร์มแห่งหนึ่งที่ประเทศอังกฤษ แล้วปัจจุบันก็แพร่ขยายไปทั่วโลก
แล้วทำไมชาวปืนอัดลมจะทำไม่ได้ ถึงแม้ครั้งนี้จะมีคนร่วมพบปะกันเพียง 5 คนผมก็จะไปและจะดำเนินกิจกรรมให้แล้วเสร็จ เพราะมันคือจุดเริ่มต้น
กลุ่มกรุงเทพและปริมณฑลน่าจะรวมตัวกันง่ายครับ เดินทางไม่เกิน 50 โลก็ได้
สร้างกิจกรรมกันแล้ว แต่สมาชิกต่างจังหวัดคิดหนัก ต้องคิดเผื่อเดินทางกลับ
เห็นคุณ TropyX บอกว่า ครั้งนี้เป็นแค่ลงขันกันคนละ 500 บาท หรือจะ 1000 บาทก็ดีนะ
แล้วก็ยิงเก็บคะแนนชิงขันทองคำ ผมก็สนใจนะแข่งแบบนี้ ไม่ต้องมีพิธีรีตรอง
เพียงแค่เปลี่ยนอุปกรณ์จากไพ่+ดวง มาเป็น ปืนอัดลม + ฝีมือ เข้าท่า เข้าท่า
เมื่อก่อนผมก็ยิงกินตังค์กันแบบนี้หละครับ เบาสุดแพ้ไปเปลี่ยนเป้า มากสุดก็แต้มสิบบาท
ใช้ปืนกระบอกเดียวกัน เลือกกระสุนเอาเอง เป็นกระสุนขนาด .223 ไม่ต้องซื้อมีเป็นลัง
ใครหมดตัวร่วมยิงได้แต่ไม่มีผลนับคะแนน
กิจกรรมการแข่งขันปืนฟิลด์ทาเก็ตทำได้ไม่ง่ายเหมือนธนูนะครับ
ถ้านัดดวลธนูกันเขาใหญ่ก็ทำได้เลย ไม่มีธนูก็ไปซื้อวันนั้นพรุ่งนี้เอาไปแข่งได้
แต่ปืนทำไม่ได้ มีเงินก็ซื้อไม่ได้ ถ้าไม่ได้ขอนุญาติ ถ้าอายุไม่ถึง
ถึงแม้ว่า อายุถึง แล้วขอปอ 3 ได้ ก็ต้องหาปืนที่โดนใจในราคาที่เหมาะสมอีก
ธนูสะพายไปสนามแข่งก็ได้ เอาขึ้นรถเมล์ก็ได้
หากเปลี่ยนเป็นปืนทำไม่ได้อีกแล้ว คงต้องมีรถยนต์ อุปสรรคมันมีมากกว่ากัน
เอามาเปรียบเทียบเลียนแบบกันไม่ได้
การเอาธนูใส่รถไม่เหมือนเอาปืนใส่รถนะครับ ถ้าโดนค้นชีวิตอาจยุ่งเหยิง
ดังนั้นการพาปืนไปแข่งมันไม่ง่ายเหมือนพาธนูไปแข่ง
แล้วการระแวดระวังของ ถ้าเป็นธนูหายก็ช่างมันซื้อใหม่ได้
ถ้าปืนหายหละชีวิตต้องวุ่นวายอีกสักพัก
หันมามองอายุคนยิงปืนกับธนู มันค่อนข้างตรงข้ามกันเลยนะ
พวกยิงธนูก็เป็นพวกยังสด ๆ ซิง ๆ กำลังวังชายังดี
ถ้าเป็นคนมีอายุยิงธนูได้ต้องมีสุขภาพแข็งแรง สายตาดี ฝึกกล้ามเนื้อมาดีแล้ว
ส่วนคนยิงปืนส่วนใหญ่ต้องเป็นคนมีอายุ มีฐานะ มีเงิน จึงขอซื้อปืนได้
เรื่องเรี่ยวแรงไม่ต้องไปพูดถึง ขอให้มองดูตัวเองก็ได้ สายตาเป็นอย่างไร แล้ว
ส่วนใหญ่ก็มีอายุมีพุงโย้ ตกเย็นซัดเบียร์ก่อนอาหารอีกต่างหาก
คำว่าร้อยเปอร์เซนต์ของผมคือ ต้องทำให้ได้ตามแผน ตัวอย่างเช่น คิดค่าใช้จ่ายแล้วมันมีเท่านี้
ก็ต้องหาค่าลงทะเบียนเข้าแข่งขันให้ได้ตามเป้าเพื่อจะได้นำมาจ่ายตามรายการที่มี
ก็ต้องคิดให้ดีว่าคะลงทะเบียนเข้าแข่งขันจะต้องกำหนดไว้ที่เท่าไหร่จึงจะไม่แพงเกินไป
จะต้องมีผู้แข่งขันกี่คนจึงจะมีรายได้ลงตัวกับรายจ่าย ถ้าทุกอย่างสมดุลย์ก็ถือว่าได้ร้อย
เปอร์เซนต์ แม้จะมีผู้เข้าแข่งขันไม่ถึง 50 คนก็ตาม แต่ถ้ามีเงินเหลือก็ถือว่าเกินร้อย
ผมเองยังอยากให้แข่งปีละครั้ง แข่งครั้งละ 2 วัน เอาคะแนน 2 วันมารวมกัน
จากการจัดแบบนี้ จึงทำให้มีสมาชิกยิงปืนอัดลมส่วนหนึ่งนอนเต้นท์ รอบกองไฟกัน
คืนนี้ดวลแก้วกันก่อนดวลปืนกันในวันพรุ่ง พอบ่ายแก่ ๆ ก็อำลาจากกันไป
คิดแล้วเป็นโปรแกรมดีครับ แต่ก็มีข้อจำกัดของสมาชิกส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถค้างคืน
ก็น่าจะมีรางวัลสำหรับคะแนนสูงสุดในวันเดียวเสริมให้สมาชิกกลุ่มนี้มีโอกาสได้รางวัลด้วย