เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 28, 2024, 08:58:42 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 17 18 19 [20] 21 22 23 ... 37
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: มีกระสุนไว้ในความครอบครองเกินกฎหมายกำหนด...เกือบจะเป็นผู้ต้องหา  (อ่าน 316950 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 18 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PRIVACY
I don't want to survive, I want to live
Full Member
***

คะแนน 36
ออฟไลน์

กระทู้: 400


"Knowledge speaks, but wisdom listens."


« ตอบ #285 เมื่อ: เมษายน 21, 2009, 06:20:42 PM »

ตำรวจ = ผู้ที่บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชนจริงหรือ?

คำตอบ คือ จริงส่วนนึง


แต่กับผมแล้ว...  Huh (ไม่พูดดีกว่า) อิอิ


เอาเป็นว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ดีครับ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
nongbe
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 23


« ตอบ #286 เมื่อ: เมษายน 24, 2009, 01:11:35 PM »

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ Smiley
บันทึกการเข้า
SSUPRTEE
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #287 เมื่อ: เมษายน 24, 2009, 06:29:18 PM »

 มีกระสุนไว้ในความครอบครองเกินจากใบอนุญาติกำหนด....จะเป็นผู้ต้องหา พอเข้าใจ !!!   เนื่องจากใบอนุญาติไม่กำหนดจำนวน Magazinครอบครอง อยากทราบว่าหากมี mag มากกว่าปืน ผิดพรบ. หรือไม่

บันทึกการเข้า
dot357
ชาว อวป.
Jr. Member
****

คะแนน 33
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 40


คนล่าฝัน


« ตอบ #288 เมื่อ: เมษายน 25, 2009, 08:14:00 AM »

ขอแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ ผมเห็นด้วยกับการแก้ไข พรบ.อาวุธปืน ผมเองก็เป็นตำรวจเหมือนกันอยู่ฝ่ายสืบสวน ตอนนี้มีอาวุธปืนอยู่ 2 กระบอก เป็น cz 75B และ s&w M60 cz ในใบ ป.4 ระบุไว้แค่ 12 นัด ส่วน s&w ระบุไว้แค่ 10 (นายทะเบียนท้องที่ในเขตบ้านนอกครับ) สรุปแล้วผมพกปืนออกปฏิบัติหน้าที่ 2 กระบอก มีกระสุนรวมเพียง 22 นัด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ล่อซื้อยาจำนวนหลายพันเม็ด ปรากฎว่าปะทะครับ นานประมาณ 10 นาที คนร้ายมันงัดอาวุธออกมาจากไหนไม่รู้เล่นเอาเงยหัวไม่ได้เลยครับใส่เข้ามาเป็น 100 นัด หมอบกันเป็นแถวครับ ทางเรามีแค่ ปืนสั้นนับรวมกระสุนแล้วไม่น่าเกิน 40 นัด โชคยังดีที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษเค้าเอาปืนยาวมาช่วยสนับสนุนได้ทัน หวุดหวิดรอดตายมาได้ อยากให้ชาว อวป.ได้ให้ความเห็นหน่อยครับ สำหรับผมแล้ว อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับชีวิตผม เพราะไม่รู้จะโดนยิงเมื่อไหร่ ตัวปืนสำรอง M60 ไม่เท่าไหร่หรอกครับ เอาไว้ยามฉุกเฉิน แต่ cz นี่สิ น่าจะมีได้สักสองแมกเป็นอย่างน้อย (แต่หลังจากเหตุการณ์วันนั้นผมก็ไม่สนใจว่าใครจะว่าไงผมก็ยัดเข้าไปเต็มที่เลย 2 แม็ก 30 นัด อิอิ อุ่นใจไว้ก่อน)
บันทึกการเข้า

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด
จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง
จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
vinchy
มโนธรรม คือ มิตรแท้เตือนใจ
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 125
ออฟไลน์

กระทู้: 554


« ตอบ #289 เมื่อ: เมษายน 27, 2009, 12:55:55 PM »

ขอแสดงความคิดเห็นบ้างนะครับ ผมเห็นด้วยกับการแก้ไข พรบ.อาวุธปืน ผมเองก็เป็นตำรวจเหมือนกันอยู่ฝ่ายสืบสวน ตอนนี้มีอาวุธปืนอยู่ 2 กระบอก เป็น cz 75B และ s&w M60 cz ในใบ ป.4 ระบุไว้แค่ 12 นัด ส่วน s&w ระบุไว้แค่ 10 (นายทะเบียนท้องที่ในเขตบ้านนอกครับ) สรุปแล้วผมพกปืนออกปฏิบัติหน้าที่ 2 กระบอก มีกระสุนรวมเพียง 22 นัด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ล่อซื้อยาจำนวนหลายพันเม็ด ปรากฎว่าปะทะครับ นานประมาณ 10 นาที คนร้ายมันงัดอาวุธออกมาจากไหนไม่รู้เล่นเอาเงยหัวไม่ได้เลยครับใส่เข้ามาเป็น 100 นัด หมอบกันเป็นแถวครับ ทางเรามีแค่ ปืนสั้นนับรวมกระสุนแล้วไม่น่าเกิน 40 นัด โชคยังดีที่หน่วยปฏิบัติการพิเศษเค้าเอาปืนยาวมาช่วยสนับสนุนได้ทัน หวุดหวิดรอดตายมาได้ อยากให้ชาว อวป.ได้ให้ความเห็นหน่อยครับ สำหรับผมแล้ว อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับชีวิตผม เพราะไม่รู้จะโดนยิงเมื่อไหร่ ตัวปืนสำรอง M60 ไม่เท่าไหร่หรอกครับ เอาไว้ยามฉุกเฉิน แต่ cz นี่สิ น่าจะมีได้สักสองแมกเป็นอย่างน้อย (แต่หลังจากเหตุการณ์วันนั้นผมก็ไม่สนใจว่าใครจะว่าไงผมก็ยัดเข้าไปเต็มที่เลย 2 แม็ก 30 นัด อิอิ อุ่นใจไว้ก่อน)

           สวัสดีครับ คุณ วินยู ไหว้ ผมก็เป็นตำรวจฝ่ายสืบสวนเหมือนกันครับ

ในกระทู้นี้มีท่านผู้รู้หลายๆท่านได้กล่าวสรุปถึงเรื่อง จำนวนกระสุนที่
ครอบครองตามกฎหมาย พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ได้นั้นว่า หากเรา มี ป.๔ อาวุธปืนขนาดใด

ก็สามารถมีกระสุนปืนขนาดนั้นๆได้ไม่จำกัดจำนวนครับ
แต่ต้องมีไว้เพื่อใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
           
         
บันทึกการเข้า
vinchy
มโนธรรม คือ มิตรแท้เตือนใจ
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 125
ออฟไลน์

กระทู้: 554


« ตอบ #290 เมื่อ: เมษายน 27, 2009, 01:00:46 PM »

     เมื่อเร็วๆนี้ บ้านเพื่อนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนำหมายค้นของศาล เข้าทำการค้นบ้าน

พบ อาวุธปืน ยาว 2 กระบอก เป็น ลูกซอง ขนาด 12 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุน 70 นัด

และ .22 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุน 250 นัด โดยอาวุธปืนทั้ง 2 กระบอก มีใบ ป.4 ถูกต้อง

แต่ช่วงที่เจ้าหน้าที่เข้าค้นอยู่ เจ้าของบ้านไม่อยู่ ไปต่างจังหวัด คนในบ้านมีเพียงสำเนาใบ ป.4

ที่ถ่ายเอกสารไว้แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตรวจยึด อาวุธปืนดังกล่าวมาเก็บไว้ที่

สถานีตำรวจ วันต่อมา เจ้าของปืนกลับมาบ้าน จึงรีบนำใบ ป.4 ไปแสดงที่ สถานีตำรวจ เพื่อขอรับอาวุธปืนคืน

ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำแหน่ง รอง ผกก.สส. เป็นคนตรวจสอบใบ ป.4 และแจ้งว่า อาวุธปืนถูกต้อง จะคืนให้

และแจ้งข้อกล่าวหา ว่ามีเครื่องกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไว้เกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด ท่านแจ้งว่า

ลูกซองขนาด 12 ให้มีได้ 25 นัด และ .22 ให้มีได้ 100 นัด  (จำนวนตามใบ ป.3 ที่ให้ซื้อในครั้งแรก) แต่เพื่อนได้ให้เหตุผลว่า

ตนเองเป็นนักกีฬายิงปืน และเข้าใจว่ากฎหมายไม่ได้กำหนด จำนวนกระสุนที่ให้มีไว้โดยเฉพาะ แต่กำหนดเรื่องการ ให้ซื้อกระสุนไว้ว่า

คราวละกี่นัด ถ้าซื้อหลายคราวแล้วยังยิงไม่หมดแต่ซื้อเพิ่มอีก ก็จะทำให้มีกระสุนเกินจำนวน ตาม ใบ ป.3 กำหนดไว้

ก็ให้เหตุผลท่านว่า ผมซื้อหลายครั้ง ทำให้มีกระสุนเกินจำนวน แต่ท่านรองฯ แจ้งว่า ถ้าคุณซื้อหลายครั้งจริง

คุณต้องไปให้นายทะเบียนอาวุธปืน (นายอำเภอ) ส่งเอกสารต้นขั้วใบอนุญาตขอซื้อกระสุนปืนของคุณมา ว่าขอมากี่ครั้ง

ครั้งละจำนวนกี่นัด แล้วรวมถึงปัจจุบัน คุณจะมีกระสุนทั้งหมดกี่นัด ถึงตรงนี้ เพื่อนผมก็เลยต้องยอมโดยสวัสดิภาพ

เพราะไม่เคยไปขออนุญาตซื้อกระสุนเลยสักครั้ง..(ซักครู่นะครับเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังต่อ)  

                ต่อนะครับ- ตั้งแต่เข้าไปคุยกันอยู่ในห้องท่านรองฯ มีพ่อของเพื่อนรวมอยู่ด้วย

(พ่อแท้ๆของคนที่กำลังจะเป็นผู้ต้องหากระสุนเกินฯ) ท่านเป็นคนไม่ค่อยพูดจนกระทั่ง

ท่านได้เอ่ยกับท่านรองฯว่าขอให้อลุ่มอล่วยให้หน่อยได้ไหม แต่ท่านรองฯท่านพูดอย่างสุภาพว่า

ถ้าทำแบบนั้น ถือว่า ท่านละเว้นฯผิด อาญา พ่อของเพื่อนเลยบอกต่อไปว่า ถ้าอย่างนั้น

ถ้าจะไม่ผิดก็ต้อง มีปืนตามจำนวนที่เพียงพอกับจำนวนกระสุน ใช่หรือไม่ ท่านรองฯตอบว่า

ต้องเป็นอย่างนั้นและปืนกระบอกนั้นๆต้องเป็นของคนที่อยู่ในบ้านนั้นด้วย

(มีชื่อในทะเบียนบ้านที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าค้นตามหมายค้นของศาล)

ถ้าเข้าหลักเกณฑ์แบบนี้ท่านจะอนุโลมไม่ดำเนินคดีข้อหานี้ หลังจากที่ท่านรองฯบอกมาแบบนี้

พ่อเพื่อนก็เลยเปิดกระเป๋าเอกสารที่ท่านถือมาด้วย หยิบเอา ใบ ป.4 ของอาวุธปืน ลูกซองขนาด 12

ออกมา 2 ใบ และ ของ .22 อีก 2 ใบ ออกมา รวมกับใบ ป.4 ของเพื่อนผม ที่เอาออกมาแสดงก่อนแล้ว 2 ใบ

เป็น 6 ใบ (ลูกซองขนาด 12- 3 กระบอก .22 - 3 กระบอก)  และแจ้งให้ท่านรองฯทราบว่า ลูกซอง 3 กระบอก

ก็มีกระสุนได้ 75 นัด กระบอกละ 25 นัด ส่วน .22 มี 3 กระบอก ก็มีกระสุนได้ 300 นัด ซึ่งทำให้

กระสุนที่ยึดมาจากบ้านเพื่อนผม ไม่เกินกฎหมายกำหนด สรุปรอดเพราะมีปืนมาคุมกระสุนครับ

แต่ท่านคืนให้แต่อาวุธปืน 2 กระบอก ก่อน ส่วนกระสุนนั้น ท่านบอกว่า ขอพิจารณาอีกที ว่า

กรณีที่พบวางอยู่กับปืนเพียงกระบอกเดียว จะเอาปืนกระบอกอื่น มาแบ่งยอดของกระสุนได้ไหม (ท่านรองฯท่านละเอียดจริงๆ)

แล้วท่านรองฯก็นัดให้มาพบในวันอื่นอีกครั้ง (ยังไม่ถึงกำหนดครับ ถ้าไปพบแล้ว ผลเป็นประการใดผมจะมาแจ้งให้ทุกๆท่านทราบครับ)

อันนี้ขอแถมส่วนตัวนิดนะครับ แล้วเจ้าหน้าที่ฯที่มาทำงานกันเต็มสถานี ฯที่พกอาวุธปืนส่วนตัวมาทำงาน

แล้วมีกระสุนเกินกฎหมายกำหนด (ถ้าจำไม่ผิด ปืนสั้นชนวนกลาง ในใบ ป.3 ให้ซื้อ 12 นัด) ล่ะครับ

ถ้ามีใครชี้ให้ท่านรองฯ จับ แล้วท่านไม่ จับ ท่านรองฯจะผิดละเว้นฯ หรือไม่ หรือมีกฎหมายอื่น

ยกเว้นให้กับเจ้าหน้าที่ฯในกรณีนี้ ท่านใดทราบ ช่วย บอกหน่อยครับ .... 


คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2518  พิพากษาว่า  จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 11 มม.จากนายทะเบียนท้องที่ตามใบอนุญาตที่ 1876/2515 กระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลางขนาด 11 มม. (จำนวน 128 นัด กับ 30 ปลอก ) ใช้กับอาวุธปืนของจำเลยได้ดังนี้  การมีกระสุนปืนรวมทั้งปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงแล้ว  หากมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่เป็นความผิดตามนัยแห่งมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490  ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  จึงถือได้ว่ากระสุนปืนกับปลอกกระสุนปืน  จำเลยมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนของจำเลย ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ เป็นการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัวโดยไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ จำเลยจึงไม่มีความผิด


บันทึกการเข้า
vinchy
มโนธรรม คือ มิตรแท้เตือนใจ
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 125
ออฟไลน์

กระทู้: 554


« ตอบ #291 เมื่อ: เมษายน 27, 2009, 01:06:57 PM »

     เมื่อเร็วๆนี้ บ้านเพื่อนมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนำหมายค้นของศาล เข้าทำการค้นบ้าน พบ อาวุธปืน ยาว 2 กระบอก เป็น ลูกซอง ขนาด 12 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุน 70 นัดและ .22 จำนวน 1 กระบอก พร้อมกระสุน 250 นัด โดยอาวุธปืนทั้ง 2 กระบอก มีใบ ป.4 ถูกต้อง แต่ช่วงที่เจ้าหน้าที่เข้าค้นอยู่ เจ้าของบ้านไม่อยู่ ไปต่างจังหวัด คนในบ้านมีเพียงสำเนาใบ ป.4 ที่ถ่ายเอกสารไว้แสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงตรวจยึด อาวุธปืนดังกล่าวมาเก็บไว้ที่ สถานีตำรวจ วันต่อมา เจ้าของปืนกลับมาบ้าน จึงรีบนำใบ ป.4 ไปแสดงที่ สถานีตำรวจ เพื่อขอรับอาวุธปืนคืน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำแหน่ง รอง ผกก.สส. เป็นคนตรวจสอบใบ ป.4 และแจ้งว่า อาวุธปืนถูกต้อง จะคืนให้ และแจ้งข้อกล่าวหา ว่ามีเครื่องกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไว้เกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด  ท่านแจ้งว่า ลูกซองขนาด 12 ให้มีได้ 25 นัด และ .22 ให้มีได้ 100 นัด  (จำนวนตามใบ ป.3 ที่ให้ซื้อในครั้งแรก) แต่เพื่อนได้ให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นนักกีฬายิงปืน และเข้าใจว่ากฎหมายไม่ได้กำหนด จำนวนกระสุนที่ให้มีไว้โดยเฉพาะ แต่กำหนดเรื่องการ ให้ซื้อกระสุนไว้ ว่า คราวละกี่นัด ถ้าซื้อหลายคราวแล้วยังยิงไม่หมดแต่ซื้อเพิ่มอีก ก็จะทำให้มีกระสุนเกินจำนวน ตาม ใบ ป.3 กำหนดไว้ ก็ให้เหตุผลท่านว่า ผมซื้อหลายครั้ง ทำให้มีกระสุนเกินจำนวน แต่ท่านรองฯ แจ้งว่า ถ้าคุณซื้อหลายครั้งจริง คุณต้องไปให้นายทะเบียนอาวุธปืน (นายอำเภอ) ส่งเอกสารต้นขั้วใบอนุญาตขอซื้อกระสุนปืนของคุณมา ว่าขอมากี่ครั้ง ครั้งละจำนวนกี่นัด แล้วรวมถึงปัจจุบัน คุณจะมีกระสุนทั้งหมดกี่นัด ถึงตรงนี้ เพื่อนผมก็เลยต้องยอมโดยสวัสดิภาพ เพราะไม่เคยไปขออนุญาตซื้อกระสุนเลยสักครั้ง..(ซักครู่นะครับเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังต่อ)  


เรื่องนี้.. อ่านแล้วควันออกหู . Huh

ใน พรบ.อาวุธปืนไม่มีข้อหา "มีเครื่องกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตไว้เกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด"  

คราวหน้า ถ้าคุยไม่ร้เรื่องขอให้ เจ้าพนักงานรายนั้น นำ พรบ.อาวุธปืนฯ แล้วเปิดดูว่ามีข้อหานี้ไหม  และ่เจ้าหน้าที่ยืนยันทำบันทึกการจับกุม ก็ปล่อยเขาไป และไม่ต้องประกันตัว ครับ ยอมนอนโรงพักซะหนึ่งคืน

แล้วรุ่งขึ้นให้ร้องทุกข์ ในข้อหาเ้ป็็๋นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ทำให้ได้รับความเสียหาย .. กับเจ้าหน้า่ีั่ีที่เกี่ยวข้อง รายนั้น 
เพื่อให้มีการดำเนิืนคดี ไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง .. ในทางที่ผิดอีกต่อไป. ครับ Smiley



ก่อนจะดูคำพิพากษาศาลฎีกา  ควรศึกษาหลักกฎหมายเสียก่อน

๑  ใบ ป.๔  จะออกให้กับอาวุธปืนเท่านั้น  ไม่ออกกับชิ้นส่วน หรือกระสุนปืน   ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๙ วรรคสอง "ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก"
๒  ตารางค่าธรรมเนียม ท้าย พ.ร.บ.  ก็มีเฉพาะ ป.๓ ปืน,  ป.๓ กระสุน และ ป.๔ ปืน  แต่ไม่มี ป.๔ กระสุน
๓  มาตรา ๘  เขียนว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"  ซึ่งมีความหมายเหมือนกับว่า เปิดไฟเขียวให้กับกระสุนปืนที่ใช้ได้กับปืนที่ได้รับ ป.๔
ก่อนจะดูคำพิพากษาศาลฎีกา  ควรศึกษาหลักกฎหมายเสียก่อน

๑  ใบ ป.๔  จะออกให้กับอาวุธปืนเท่านั้น  ไม่ออกกับชิ้นส่วน หรือกระสุนปืน   ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๙ วรรคสอง "ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก"
๒  ตารางค่าธรรมเนียม ท้าย พ.ร.บ.  ก็มีเฉพาะ ป.๓ ปืน,  ป.๓ กระสุน และ ป.๔ ปืน  แต่ไม่มี ป.๔ กระสุน
๓  มาตรา ๘  เขียนว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"  ซึ่งมีความหมายเหมือนกับว่า เปิดไฟเขียวให้กับกระสุนปืนที่ใช้ได้กับปืนที่ได้รับ ป.๔
การบเรียนผู้การสุพินท์  ครับ ช่วยขยายความให้คนไม่มีความรู้ในภาษากฏหมายอย่างผมด้วยครับ ไหว้
ก่อนจะดูคำพิพากษาศาลฎีกา  ควรศึกษาหลักกฎหมายเสียก่อน

๑  ใบ ป.๔  จะออกให้กับอาวุธปืนเท่านั้น  ไม่ออกกับชิ้นส่วน หรือกระสุนปืน   ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๙ วรรคสอง "ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก"
๒  ตารางค่าธรรมเนียม ท้าย พ.ร.บ.  ก็มีเฉพาะ ป.๓ ปืน,  ป.๓ กระสุน และ ป.๔ ปืน  แต่ไม่มี ป.๔ กระสุน
๓  มาตรา ๘  เขียนว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้"  ซึ่งมีความหมายเหมือนกับว่า เปิดไฟเขียวให้กับกระสุนปืนที่ใช้ได้กับปืนที่ได้รับ ป.๔
การบเรียนผู้การสุพินท์  ครับ ช่วยขยายความให้คนไม่มีความรู้ในภาษากฏหมายอย่างผมด้วยครับ ไหว้

หมายความว่า  มี ป.๔ ปืนแล้ว  ไม่ต้องมี ป.๔ กระสุนอีก  ป.๔ คุ้มครองไปถึงกระสุนที่ใช้กับปืนได้  (กฎหมายไม่ได้เขียนว่าขนาดเดียวกัน  แต่เขียนว่า "สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาต")  ดังนั้นถ้ามี ป.๔ ปืน.๓๕๗ ก็มีกระสุนได้ทั้ง.๓๘ และ.๓๕๗
และต่อให้อยากมี ป.๔ กระสุน   นายทะเบียนก็ออกให้ไม่ได้

ดังนั้น ตำรวจจึงตั้งข้อหา "มีเครื่องกระสุนปืนไว้โดยไม่มีใบอนุญาต"  ไม่ได้ เพราะกฎหมายบอกว่ามี ป.๔ ปืนแล้ว  ไม่ต้องมี ป.๔ กระสุนอีก
ส่วนที่อ้างว่า จะต้องไปเอาต้นขั้วใบ ป.๓ ซื้อกระสุนมาแสดง   อันนั้นเป็นข้ออ้างแบบมั่ว ๆ    เพราะประเทศไทยใช้กฎหมายระบบกล่าวหา    ผู้กล่าวหามีหน้าที่พิสูจน์ว่าข้อกล่าวหาของตนเองเป็นความจริง   ไม่ใช่ตั้งข้อหาลอย ๆ แล้วให้ผู้ถูกกล่าวหา ไปหาหลักฐานว่าตัวเองไม่ได้ทำความผิด

                  ผมขออนุญาตยกกระทู้เรื่องนี้มารวมให้อ่านหน้านี้นะครับ
เพราะมีสมาชิกหลายท่านไม่ได้อ่านต่อเนื่อง เลยอาจจะเข้าใจผิดในเรื่อง
การครอบครองกระสุน..
  ไหว้
บันทึกการเข้า
harnwat
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #292 เมื่อ: เมษายน 29, 2009, 02:35:12 PM »

เพิ่งได้ปืนและศึกษาเรื่องปืน ไม่ได้เป็นตำรวจ ไม่ได้เป็นทหาร ไม่ได้จบกฎหมาย แต่เป็นนักอ่านกฎหมายขอวิเคราะห์และแสดงความเห็นบ้างนะครับ..เป็นความเห็นส่วนตัว...
คำว่าหลักกฎหมายแปลว่าความเป็นธรรม มีเหตุ มีผล มีความเหมาะสมแก่กรณี
ซึ่งหลักกฎหมายโดยทั่วไป(หากเป็นธรรม)ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ประเทศอังกฤษใช้หลักจารีตประเพณี(หรือคอมมอนลอร์) หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็ให้ศาลตัดสินโดยใช้หลักความเป็นธรรมและแนวคำพิพากษาก่อน ๆ
แต่ประเทศไทยนั้นใช้หลักกฎหมายลายลักษณ์อักษร(หรือซีวิลลอร์) ซึ่งบังคับใช้ตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด ศาลจะตัดสินจากข้อเท็จจริงและความเป็นธรรม ทั้งนี้ ไม่ผูกพันธ์กับคำพิพากษาในคดีอื่นๆ อาจะตัดสินไปคนละแนวก็ได้(แต่ใช้เป็นแนวทางได้)  หากในเรื่องนั้นข้อกฎหมายไม่ชัด ก็ต้องอุดช่องโหว่กฎหมายด้วยการตีความ ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์การออกกฎหมาย เนื้อหาของบทบัญญัตินั้น ๆ และพิจาณาไปตามข้อเท็จจริง ความเป็นธรรม ดังนั้น เรื่องนี้ต้องมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เด่นชัดก่อน
ในข้อเท็จจริง..(ผมเห็นว่าข้อเท็จจริงบางเรื่องไม่ชัดเจนต้องค้นหาให้ชัดก่อน) โดยสรุปจากการเล่านั้น...มีชาวบ้านร้องเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีการยิงปืนในที่ดินในกรรมสิทธิ์ของคน ๆหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยและถูกลูกหลงได้(ไม่ชัดเจนว่าใครยิง ยิงจากปืนใด ด้วยวัตถุประสงค์ใด)...ตำรวจจึงขอหมายค้น(ไม่ชัดเจนว่าใครออกหมายฯมีเหตุอย่างไรจึงอนุมัติ..ทะแม่งนะแค่ถูกร้องเรียนก็โดนออกหมายค้นมันน่าจะมีอะไรมากกว่านี้นะ)...และจากการตรวจค้นพบปืนและเครื่องกระสุน โดยปืนเป็นปืนที่ได้รับใบอนุญาติตามกฎหมาย แต่ในส่วนลูกกระสุนพบจำนวนมาก

ตามข้อกฎหมาย     หากมีลูกกระสุนอย่างเดียวผิดแน่(ตามมาตรา.7..ห้ามมี..) แต่จากข้อเท็จจริงเจอทั้งปืนและกระสุน จึงต้องพิจารณาทั้งสองประกอบกันคือ ตัวปืน ...มีทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายได้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง....จบไม่ต้องพิจารณา
                          ส่วนลูกกระสุน...ต้องพิจารณาว่าใช้ได้กับปืนหรือไม่ หากใช้ไม่ได้ก็ผิดแน่(ตามมาตรา 8..ห้ามมีกระสุนที่ใช้ไม่ได้กับปืนที่ได้รับอนุญาต..) แต่หากใช้ได้ต้องมาพิจารณาว่ามีใบอนุญาติหรือไม่...หากมีใบอนุญาติแต่เกิน และมีกฎหมายบัญญัติให้ผิดหรือไม่ เช่น
ม.72 ฝ่าฝืนโดยทำ(กระสุน) ซื้อ มี นำเข้า....(ตามมาตรา7).จำคุกไม่เกิน10 ปีปรับไม่เกิน2หมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
ม.72ทวิ ฝ่าฝืนโดยมี(กระสุน) ที่มิใช่ใช้กับปืนที่ตนได้รับอนุญาตให้มีให้ใช้..(ตามมาตรา8).+กรณีได้รับอนุญาติให้เก็บปืนแต่ดันเอาปืนไปยิงหรือมีลูกกระสุนสำหรับปืนที่ให้เก็บ(ตาม ม.12).จำคุกไม่เกิน10 ปีปรับไม่เกิน2หมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
ม.78 ฝ่าฝืนโดยทำ ประกอบ ซื้อ มี ซ่อมแซม ...(กระสุน)ที่กฎหมายไม่อนุญาติ..(ตามมาตรา55) จำคุก2ปีถึงตลอดชีวิต(ถ้าค้า..หนักหน่อยยี่สิบปีถึงตลอดชีวิต)

ดังนั้น..กระบวนการพิจารณาก็เริ่มจากตำรวจ...อัยการ..ศาล
ถ้าให้ความเป็นธรรมกับตำรวจ ตำรวจต้องพิจารณาให้รอบคอบว่ามีประเด็นความผิดข้อกฎหมายใด ๆ หรือไม่...ซึ่งตามข้อเท็จจริงต้องพิจารณาจากคำว่ามี "ใบอนุญาติ" ว่าจะพิจารณาอย่างไร มีระเบียบหลักเกณฑ์ใด อาศัยข้อกฎหมายใด ซึ่งบางส่วนกำหนดไว้บางส่วนก็ต้องใช้ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นธรรม สมเหตุ สมผล เหมาะสมกับกรณี ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการรวบรวมข้อเท็จจริงให้ได้ว่าใครเป็นคนยิงปืนในที่ดิน ใช้ปืนกระบอกใด ยิงด้วยเหตุผลใด เพราะมีผู้ร้องเรียน  การมีกระสุนอยู่จำนวนมากจะเข้ากรณีค้าหรือไม่(หรือตำรวจมีข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มเติมเช่นเป็นผู้มีอิทธิพล ค้ายา ค้าอาวุธ ฯลฯ) มีข้อเท็จจริงอื่นร่วมหรือไม่ จะผิดประเด็นใด ๆ หรือไม่ ซึ่งตำรวจต้องใช้ความพยายามในการรวบรวมข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด และเกี่ยวข้องกับกรณีนี้หรือไม่ อย่างไรซึ่งท้ายที่สุดยังอยู่ในชั้น...ตำรวจ..ว่าจะดำเนินการอย่างไร(ภายใต้เจตนารมณ์ที่ดี หรือไม่ดีของตำรวจคนนั้น) หากเห็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอ หรือไม่มีข้อกฎหมายใดๆ ดำเนินการก็พอแล้ว แต่เห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ก็ส่งให้อัยการพิจารณา อัยการเห็นด้วยก็ฟ้องศาล ไม่เห็นด้วยก็ไม่ฟ้องหรือให้รวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่ม และหากถึงศาล ศาลก็จะตัดสินจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มี(หากรับฟ้อง) ทั้งนี้ศาลอาจจะมีความเห็นแตกต่างไปจากคดีอื่นๆ ได้ไม่ผูกพันกันแต่อย่างใด....สรุปสุดท้ายอยู่ที่การใช้กฎหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องถึงจะมีแนวฏีกาเรื่องกระสุนไว้ แต่หากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นตำรวจ อัยการ...เห็นว่าข้อเท็จจริงคนละกรณีกับแนวฏีกาฯ และศาลรับฟ้องพร้อมกับตัดสินว่าการมีกระสุนไว้เกินในกรณีดังกล่วมันผิด ก็ตัองยอมรับคำตัดสินของศาลครับ

ความเห็นส่วนตัว  การที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องปืนและการใช้ไว้เพื่อมิให้มีและใช้เกินความจำเป็นและสมควร ดังนั้น การยิงปืนในที่ดินของตนเองโดยไม่มีเหตุอันสมควร และอาจจะเกิดลูกหลงไปยังผู้อื่นได้ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นเรื่อง ๆ ไป ส่วนการมีลูกกระสุนจำนวนมากไว้ในครอบครองในส่วนตัวเห็นว่าเกินสมควรแก่กรณีครับ เขาให้มีปืนไว้ป้องกันตัวและทรัพย์สินคงไม่ต้องยิงเป็นสิบเป็นร้อยนัดหรอกครับ อาจจะยิงขู่ก็ได้เราไม่ได้เจตนาเอาให้ตาย ส่วนที่อ้างว่ายิงเพื่อการกีฬา มันต้องนำพิสูจน์อีกเยอะครับว่ากีฬาอย่างไร ใช้ลูกอะไร แข่งขันอะไร เกี่ยวข้องอย่างไร ฯลฯ หรือ ซื้อตุนไว้เพราะได้ถูก ขึ้เกียจซื้ออีกหลายครั้ง หรืออื่น ๆ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้ครอบครองครับ และคนมีปืนและถือปืนผมว่าต้องมีวิจารณญาณและสติสัมปชัญญะที่สูงกว่าคนอื่นอยู่แล้วครับ...ขอบคุณครับ(ส่วนกรณีตำรวจขอไม่กล่าวถึงนะครับแล้วแต่คนครับ...ทั้งนี้ระบบคดีอาญาเป็นกรณีกล่าวหา..หากตำรวจกล่าวหาเรา..ก็ต้องพิสูจน์ว่าเราผิดอย่างไร ส่วนเราก็มีสิทธิแย้งหรือแก้ต่างได้ครับ...แต่ถ้าให้ดีหากในเบื้องต้นเราพิสูจน์ตัวเองโดยชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ โปร่งใส(ไม่รวมกรณีใต้ดินนะครับ)ก็จะไม่เกิดกรณีถูกฟ้องศาลฯ ครับ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2009, 06:48:41 AM โดย harnwat » บันทึกการเข้า
uzo
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6


« ตอบ #293 เมื่อ: เมษายน 29, 2009, 10:14:10 PM »

ขอบคุณมากๆ ครับ ได้ความรู้เยอะมากๆ
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #294 เมื่อ: เมษายน 30, 2009, 01:01:08 AM »




ขอบคุณมากครับ แต่ความเห็นของ คุณ harnwat ถูกบ้าง-ผิดบ้าง ปะปนกัน
ยังจับหลักของฎหมายไม่ถูกนะครับ ประมาณ จับแกะสีขาวมา ชนแกะสีดำ. 

คำแนะนำจากนักกฎหมายคนหนึ่ง นะครับ ย้อนอ่านความเห็นก่อนหน้า
ซึ่งมีแนวทางชัดเจน แล้วครับ.  เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2009, 10:47:35 PM โดย Ro@d » บันทึกการเข้า

harnwat
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #295 เมื่อ: เมษายน 30, 2009, 09:52:17 PM »

เพิ่งได้ปืนและศึกษาเรื่องปืน ไม่ได้เป็นตำรวจ ไม่ได้เป็นทหาร ไม่ได้จบกฎหมาย แต่เป็นนักอ่านกฎหมายขอวิเคราะห์และแสดงความเห็นบ้างนะครับ..เป็นความเห็นส่วนตัว...
คำว่าหลักกฎหมายแปลว่าความเป็นธรรม มีเหตุ มีผล มีความเหมาะสมแก่กรณี
ซึ่งหลักกฎหมายโดยทั่วไป(หากเป็นธรรม)ก็ไม่จำเป็นต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ประเทศอังกฤษใช้หลักจารีตประเพณี(หรือคอมมอนลอร์) หากมีปัญหาเกิดขึ้นก็ให้ศาลตัดสินโดยใช้หลักความเป็นธรรมและแนวคำพิพากษาก่อน ๆ
แต่ประเทศไทยนั้นใช้หลักกฎหมายลายลักษณ์อักษร(หรือซีวิลลอร์) ซึ่งบังคับใช้ตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด ศาลจะตัดสินจากข้อเท็จจริงและความเป็นธรรม ทั้งนี้ ไม่ผูกพันธ์กับคำพิพากษาในคดีอื่นๆ อาจะตัดสินไปคนละแนวก็ได้(แต่ใช้เป็นแนวทางได้)  หากในเรื่องนั้นข้อกฎหมายไม่ชัด ก็ต้องอุดช่องโหว่กฎหมายด้วยการตีความ ซึ่งก็ต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์การออกกฎหมาย เนื้อหาของบทบัญญัตินั้น ๆ และพิจาณาไปตามข้อเท็จจริง ความเป็นธรรม ดังนั้น เรื่องนี้ต้องมีทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เด่นชัดก่อน
ในข้อเท็จจริง..(ผมเห็นว่าข้อเท็จจริงบางเรื่องไม่ชัดเจนต้องค้นหาให้ชัดก่อน) โดยสรุปจากการเล่านั้น...มีชาวบ้านร้องเรียนไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีการยิงปืนในที่ดินในกรรมสิทธิ์ของคน ๆหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยและถูกลูกหลงได้(ไม่ชัดเจนว่าใครยิง ยิงจากปืนใด ด้วยวัตถุประสงค์ใด)...ตำรวจจึงขอหมายค้น(ไม่ชัดเจนว่าใครออกหมายฯมีเหตุอย่างไรจึงอนุมัติ..ทะแม่งนะแค่ถูกร้องเรียนก็โดนออกหมายค้นมันน่าจะมีอะไรมากกว่านี้นะ)...และจากการตรวจค้นพบปืนและเครื่องกระสุน โดยปืนเป็นปืนที่ได้รับใบอนุญาติตามกฎหมาย แต่ในส่วนลูกกระสุนพบจำนวนมาก

ตามข้อกฎหมาย     หากมีลูกกระสุนอย่างเดียวผิดแน่ แต่จากข้อเท็จจริงเจอทั้งปืนและกระสุน จึงต้องพิจารณาทั้งสองประกอบกันคือ ตัวปืน ...มีทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายได้ตรวจสอบแล้วถูกต้อง....จบไม่ต้องพิจารณา
                          ส่วนลูกกระสุน...ต้องพิจารณาว่าใช้ได้กับปืนหรือไม่ หากใช้ไม่ได้ก็ผิดแน่ แต่หากใช้ได้ต้องมาพิจารณาว่ามีใบอนุญาติหรือไม่...หากมีใบอนุญาติแต่เกิน และมีกฎหมายบัญญัติให้ผิดหรือไม่ เช่น
ม.72 ฝ่าฝืนโดยทำ(กระสุน) ซื้อ มี นำเข้า....(ตามมาตรา7).จำคุกไม่เกิน10 ปีปรับไม่เกิน2หมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
ม.72ทวิ ฝ่าฝืนโดยมี(กระสุน) ที่มิใช่ใช้กับปืนที่ตนได้รับอนุญาตให้มีให้ใช้..(ตามมาตรา8).+กรณีได้รับอนุญาติให้เก็บปืนแต่ดันเอาปืนไปยิงหรือมีลูกกระสุนสำหรับปืนที่ให้เก็บ(ตาม ม.12).จำคุกไม่เกิน10 ปีปรับไม่เกิน2หมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
ม.78 ฝ่าฝืนโดยทำ ประกอบ ซื้อ มี ซ่อมแซม ...(กระสุน)ที่กฎหมายไม่อนุญาติ..(ตามมาตรา55) จำคุก2ปีถึงตลอดชีวิต(ถ้าค้า..หนักหน่อยยี่สิบปีถึงตลอดชีวิต)

ดังนั้น..กระบวนการพิจารณาก็เริ่มจากตำรวจ...อัยการ..ศาล
ถ้าให้ความเป็นธรรมกับตำรวจ ตำรวจต้องพิจารณาให้รอบคอบว่ามีประเด็นความผิดข้อกฎหมายใด ๆ หรือไม่...ซึ่งตามข้อเท็จจริงต้องพิจารณาจากคำว่ามี "ใบอนุญาติ" ว่าจะพิจารณาอย่างไร มีระเบียบหลักเกณฑ์ใด อาศัยข้อกฎหมายใด ซึ่งบางส่วนกำหนดไว้บางส่วนก็ต้องใช้ดุลพินิจของผู้ใช้กฎหมาย ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้ความเป็นธรรม สมเหตุ สมผล เหมาะสมกับกรณี ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการรวบรวมข้อเท็จจริงให้ได้ว่าใครเป็นคนยิงปืนในที่ดิน ใช้ปืนกระบอกใด ยิงด้วยเหตุผลใด เพราะมีผู้ร้องเรียน  การมีกระสุนอยู่จำนวนมากจะเข้ากรณีค้าหรือไม่(หรือตำรวจมีข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มเติมเช่นเป็นผู้มีอิทธิพล ค้ายา ค้าอาวุธ ฯลฯ) มีข้อเท็จจริงอื่นร่วมหรือไม่ จะผิดประเด็นใด ๆ หรือไม่ ซึ่งตำรวจต้องใช้ความพยายามในการรวบรวมข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด และเกี่ยวข้องกับกรณีนี้หรือไม่ อย่างไรซึ่งท้ายที่สุดยังอยู่ในชั้น...ตำรวจ..ว่าจะดำเนินการอย่างไร(ภายใต้เจตนารมณ์ที่ดี หรือไม่ดีของตำรวจคนนั้น) หากเห็นว่าไม่มีข้อเท็จจริงเพียงพอ หรือไม่มีข้อกฎหมายใดๆ ดำเนินการก็พอแล้ว แต่เห็นว่ามีข้อเท็จจริงเพียงพอมีข้อกฎหมายกำหนดไว้ก็ส่งให้อัยการพิจารณา อัยการเห็นด้วยก็ฟ้องศาล ไม่เห็นด้วยก็ไม่ฟ้องหรือให้รวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่ม และหากถึงศาล ศาลก็จะตัดสินจากข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มี(หากรับฟ้อง) ทั้งนี้ศาลอาจจะมีความเห็นแตกต่างไปจากคดีอื่นๆ ได้ไม่ผูกพันกันแต่อย่างใด....สรุปสุดท้ายอยู่ที่การใช้กฎหมายของผู้ที่เกี่ยวข้องถึงจะมีแนวฏีกาเรื่องกระสุนไว้ แต่หากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นตำรวจ อัยการ...เห็นว่าข้อเท็จจริงคนละกรณีกับแนวฏีกาฯ และศาลรับฟ้องพร้อมกับตัดสินว่าการมีกระสุนไว้เกินในกรณีดังกล่วมันผิด ก็ตัองยอมรับคำตัดสินของศาลครับ

ความเห็นส่วนตัว  การที่มีกฎหมายกำหนดเรื่องปืนและการใช้ไว้เพื่อมิให้มีและใช้เกินความจำเป็นและสมควร ดังนั้น การยิงปืนในที่ดินของตนเองโดยไม่มีเหตุอันสมควร และอาจจะเกิดลูกหลงไปยังผู้อื่นได้ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเป็นเรื่อง ๆ ไป ส่วนการมีลูกกระสุนจำนวนมากไว้ในครอบครองในส่วนตัวเห็นว่าเกินสมควรแก่กรณีครับ เขาให้มีปืนไว้ป้องกันตัวและทรัพย์สินคงไม่ต้องยิงเป็นสิบเป็นร้อยนัดหรอกครับ อาจจะยิงขู่ก็ได้เราไม่ได้เจตนาเอาให้ตาย ส่วนที่อ้างว่ายิงเพื่อการกีฬา มันต้องนำพิสูจน์อีกเยอะครับว่ากีฬาอย่างไร ใช้ลูกอะไร แข่งขันอะไร เกี่ยวข้องอย่างไร ฯลฯ หรือ ซื้อตุนไว้เพราะได้ถูก ขึ้เกียจซื้ออีกหลายครั้ง หรืออื่น ๆ ดังนั้น ขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของผู้ครอบครองครับ และคนมีปืนและถือปืนผมว่าต้องมีวิจารณญาณและสติสัมปชัญญะที่สูงกว่าคนอื่นอยู่แล้วครับ...ขอบคุณครับ(ส่วนกรณีตำรวจขอไม่กล่าวถึงนะครับแล้วแต่คนครับ...ทั้งนี้ระบบคดีอาญาเป็นกรณีกล่าวหา..หากตำรวจกล่าวหาเรา..ก็ต้องพิสูจน์ว่าเราผิดอย่างไร ส่วนเราก็มีสิทธิแย้งหรือแก้ต่างได้ครับ...แต่ถ้าให้ดีหากในเบื้องต้นเราพิสูจน์ตัวเองโดยชี้แจงแก่เจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ โปร่งใส(ไม่รวมกรณีใต้ดินนะครับ)ก็จะไม่เกิดกรณีถูกฟ้องศาลฯ ครับ)


ขอบคุณมากครับ แต่ความเห็นของ คุณ harnwat ถูกบ้าง-ผิดบ้าง ปะปนกัน
ยังจับหลักของฎหมายไม่ถูกนะครับ ประมาณ จับแกะสีขาวมา ชนแกะสีดำ. 

คำแนะนำจากนักกฎหมายคนหนึ่ง นะครับ ย้อนอ่านความเห็นก่อนหน้า
ซึ่งมีแนวทางชัดเจน แล้วครับ.  เยี่ยม

ไม่เป็นไรครับเป็นเรื่องความเห็น...ไม่มีใครตอบได้หรอกครับว่าอันไหนถูกอันไหนผิด...ผมถึงพูดกลางๆ ว่าขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมาย แต่การฟันธงว่าความเห็นนี้ถูก นั้นถูกไม่เสมอไปนะครับ(ของผมอาจจะผิดทั้งหมดก็ได้..พอดีไม่ใช่นักกฎหมายแต่ใช้กฎหมายและทำคดีทุกวัน(รวบรวมพยานหลักฐาน)..งง..เหมือนกันเนาะทำไมถึงทำคดีได้..เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพิเศษครับไม่ต้องงง) คนที่ตัดสินสุดท้ายคือศาลฎีกาคดีนั้น ๆ ผมถึงกล่าวว่าหากมีตำรวจคนไหนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับที่ท่านว่าน่าจะถูก(เช่นกรณีนี้หากตำรวจเขาคิดว่า ณ ปัจจุบันที่เจอกระสุนยังไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ผิด...แต่ตำรวจกำลังค้นหาข้อเท็จจริงว่า ณ ขณะซื้อ หรือมี หรือได้มาซึ่งกระสุนตอนนั้นมีใบอนุญาติหรือไม่ ถ้ามีกำหนดไว้กี่นัด เกินกี่นัด ไอ้ที่เกินมีใบอนุญาตหรือไม่...ขาดอายุความหรือยังซึ่งเป็นคนละกรณีกันนะครับ ต่างที่ ต่างเวลากันนะซึ่งอาจจะผิดตามมาตรา 7,8(ซึ่งห้ามมี ห้ามซื้อ เว้นแต่มีใบอนุญาติ..ซึ่ง "ใบอนุญาต"จะพิจารณาอย่างไร ขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมยอย่างที่กล่าวและให้ความเห็นมาแล้ว) หรือยกตัวอย่างอีกกรณีมีใบอนุญาติให้เก็บปืน(ชำรุดหรือเสียหาย)ไม่ได้ให้ใช้ปืนเขาให้เก็บแต่ดันมีกระสุนสำหรับปืนที่ให้เก็บอันนี้ก็ผิดตามมาตรา 12 ซึ่งตำรวจต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป) แล้วอัยการเชื่อ ศาลเชื่อ ศาลอาจจะตัดสินขัดกับที่ท่านคิดก็ได้นะครับ...ยกตัวอย่างในเรื่องการตัดสินคดีหนึ่งของประเทศ...สารขัน(ผมไม่ได้บอกว่าคดีไหน...ของประเทศไหนนะครับ..เป็นการยกตัวอย่าง) ที่ให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งทุกตำรา ทุกประเทศ เขาเรียน เขาเรียนกันมานาน มีหลักว่าคดีที่เป็นโทษจะไม่มีผลย้อนหลังนะครับ แต่ก็มีการตัดสินมาแล้วว่าให้ย้อนหลังได้...ซึ่งขัดกับการศึกษาที่ผ่านมาและขัดกับจิตใจเราอย่างยิ่ง ผมเลยเห็นว่าในมุมที่เห็นว่ามีใบ ป.4 หรือมีเอกสารอนุญาติใด ๆ เรื่องปืนไว้แล้วจะถือว่าได้รับอนุญาติเรื่องกระสุนอัตโนมัติหรือจะมีกระสุนเท่าไหร่ก็ได้นั้น...ไม่ผิด หรือ แม้กระทั่งมีแนวทางฏีกาออกมาแล้วว่ามีป.4แล้วมีกระสุนไม่ผิด หากวันใดวันหนึ่งถ้าตำรวจท่านใดเห็นตรงข้าม อัยการเห็นตรงข้าม และศาลท่านใดตัดสินตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผ่านมาข้างต้นแล้วอาจจะทำให้ไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิดก็ได้นะครับ ขอบคุณคุณ Ro@d ที่ให้ความเห็นไว้ ซึ่งผมบอกไว้ตั้งแต่ต้นว่าเป็นความเห็นส่วนตัวครับ...แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน หรือใครๆ ก็สามารถวิพากวิจารณ์ได้ครับ ขอบคุณครับ..(แต่ถ้าให้แนะนำกรณีการมีกระสุนแล้วนำไปไปซ้อมยิงที่สนาม ควรจะไปซื้อที่สนามที่เราเป็นสมาชิกจะซื้อที่นัดก็ได้ ไม่เห็นมีใครว่าและมาดู แล้วก็ยิงให้เกือบหมด..ถ้ามีตังค์ซะอย่าง เหลือกลับบ้านตามที่ป.3 ระบุไว้ เช่น 12 นัดเพื่อไว้ป้องกันตัวประมาณนี้(หากป.3ใครไม่ได้ระบุลูกไว้ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์เหนือคนอื่นให้มีได้เป็นร้อย ๆ นัดนะ ไม่งั้นก็ขอ ป.3 แบบไม่ระบุกระสุนกันหมด หน่วยงานรัฐจะต้องมีหลักการกำหนดไว้ว่าปืนชนิดไหนควรมีได้กี่นัด ไม่งั้นตำรวจจะเอากฎเกณฑ์มาจากไหน) ก็จะไม่มีความเสี่ยงเรื่องถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกระสุนเยอะนะครับ...ถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐกลั่นแกล้งว่ามีเจตนาไว้ค้าละ..ซวยเลย..ส่วนการมีไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นของรัฐกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้บังคับนะครับตามมาตรา 5 และมาตรา 8ทวิ ฉะนั้น หากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกค้นเจอ ถ้าอ้างไว้ก่อนว่าเป็นของรัฐหรือใช้ปฏิบัติหน้าที่..ก้อมีทางออก..ส่วนผู้ใดถ้าไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่...ก็ต้องไปพิจารณาองค์ประกอบว่าผิดหรือเปล่าข้างต้น)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2009, 07:09:57 AM โดย harnwat » บันทึกการเข้า
wealthyman
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 1



« ตอบ #296 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2009, 10:41:57 AM »

ผมเพิ่งเป็นสมาชิกในช่วงเช้าวันนี้ และเป็นครั้งแรกที่ผมใช้เวลาอ่านนานนับชั่วโมง ตั้งแต่หน้าแรกจนหน้าสุดท้าย
ได้ความรู้จากหัวข้อนี้มากๆ เลยครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #297 เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2009, 12:08:35 PM »


ไม่เป็นไรครับเป็นเรื่องความเห็น...ไม่มีใครตอบได้หรอกครับว่าอันไหนถูกอันไหนผิด...ผมถึงพูดกลางๆ ว่าขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมาย แต่การฟันธงว่าความเห็นนี้ถูก นั้นถูกไม่เสมอไปนะครับ(ของผมอาจจะผิดทั้งหมดก็ได้..พอดีไม่ใช่นักกฎหมายแต่ใช้กฎหมายและทำคดีทุกวัน(รวบรวมพยานหลักฐาน)..งง..เหมือนกันเนาะทำไมถึงทำคดีได้..เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพิเศษครับไม่ต้องงง) คนที่ตัดสินสุดท้ายคือศาลฎีกาคดีนั้น ๆ ผมถึงกล่าวว่าหากมีตำรวจคนไหนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับที่ท่านว่าน่าจะถูก(เช่นกรณีนี้หากตำรวจเขาคิดว่า ณ ปัจจุบันที่เจอกระสุนยังไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ผิด...แต่ตำรวจกำลังค้นหาข้อเท็จจริงว่า ณ ขณะซื้อ หรือมี หรือได้มาซึ่งกระสุนตอนนั้นมีใบอนุญาติหรือไม่ ถ้ามีกำหนดไว้กี่นัด เกินกี่นัด ไอ้ที่เกินมีใบอนุญาตหรือไม่...ขาดอายุความหรือยังซึ่งเป็นคนละกรณีกันนะครับ ต่างที่ ต่างเวลากันนะซึ่งอาจจะผิดตามมาตรา 7,8(ซึ่งห้ามมี ห้ามซื้อ เว้นแต่มีใบอนุญาติ..ซึ่ง "ใบอนุญาต"จะพิจารณาอย่างไร ขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมยอย่างที่กล่าวและให้ความเห็นมาแล้ว) หรือยกตัวอย่างอีกกรณีมีใบอนุญาติให้เก็บปืน(ชำรุดหรือเสียหาย)ไม่ได้ให้ใช้ปืนเขาให้เก็บแต่ดันมีกระสุนสำหรับปืนที่ให้เก็บอันนี้ก็ผิดตามมาตรา 12 ซึ่งตำรวจต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป) แล้วอัยการเชื่อ ศาลเชื่อ ศาลอาจจะตัดสินขัดกับที่ท่านคิดก็ได้นะครับ...ยกตัวอย่างในเรื่องการตัดสินคดีหนึ่งของประเทศ...สารขัน(ผมไม่ได้บอกว่าคดีไหน...ของประเทศไหนนะครับ..เป็นการยกตัวอย่าง) ที่ให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งทุกตำรา ทุกประเทศ เขาเรียน เขาเรียนกันมานาน มีหลักว่าคดีที่เป็นโทษจะไม่มีผลย้อนหลังนะครับ แต่ก็มีการตัดสินมาแล้วว่าให้ย้อนหลังได้...ซึ่งขัดกับการศึกษาที่ผ่านมาและขัดกับจิตใจเราอย่างยิ่ง ผมเลยเห็นว่าในมุมที่เห็นว่ามีใบ ป.4 หรือมีเอกสารอนุญาติใด ๆ เรื่องปืนไว้แล้วจะถือว่าได้รับอนุญาติเรื่องกระสุนอัตโนมัติหรือจะมีกระสุนเท่าไหร่ก็ได้นั้น...ไม่ผิด หรือ แม้กระทั่งมีแนวทางฏีกาออกมาแล้วว่ามีป.4แล้วมีกระสุนไม่ผิด หากวันใดวันหนึ่งถ้าตำรวจท่านใดเห็นตรงข้าม อัยการเห็นตรงข้าม และศาลท่านใดตัดสินตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผ่านมาข้างต้นแล้วอาจจะทำให้ไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิดก็ได้นะครับ ขอบคุณคุณ Ro@d ที่ให้ความเห็นไว้ ซึ่งผมบอกไว้ตั้งแต่ต้นว่าเป็นความเห็นส่วนตัวครับ...แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน หรือใครๆ ก็สามารถวิพากวิจารณ์ได้ครับ ขอบคุณครับ..(แต่ถ้าให้แนะนำกรณีการมีกระสุนแล้วนำไปไปซ้อมยิงที่สนาม ควรจะไปซื้อที่สนามที่เราเป็นสมาชิกจะซื้อที่นัดก็ได้ ไม่เห็นมีใครว่าและมาดู แล้วก็ยิงให้เกือบหมด..ถ้ามีตังค์ซะอย่าง เหลือกลับบ้านตามที่ เช่น ป.3 ระบุไว้ 12 นัดเพื่อไว้ป้องกันตัวประมาณนี้(หากป.3ใครไม่ได้ระบุลูกไว้ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์เหนือคนอื่นให้มีได้เป็นร้อย ๆ นัดนะ ไม่งั้นก็ขอ ป.3 แบบไม่ระบุกระสุนกันหมด หน่วยงานรัฐจะต้องมีหลักการกำหนดไว้ว่าปืนชนิดไหนควรมีได้กี่นัดไม่งั้นตำรวจจะเอากฎเกณฑ์มาจากไหน) ก็จะไม่มีความเสี่ยงเรื่องถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกระสุนเยอะนะครับ...ถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐกลั่นแกล้งว่ามีเจตนาไว้ค้าละ..ซวยเลย..ส่วนการมีไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นของรัฐกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้บังคับนะครับตามมาตรา 5 และมาตรา 8ทวิ ฉะนั้น หากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกค้นเจอ ถ้าอ้างไว้ก่อนว่าเป็นของรัฐหรือใช้ปฏิบัติหน้าที่..ก้อมีทางออก..ส่วนผู้ใดถ้าไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่...ก็ต้องไปพิจารณาองค์ประกอบว่าผิดหรือเปล่าข้างต้น)

ขอเติมใ้นส่วนที่ผมทิ้งแถบไว้ครับ  ส่วนอื่น ผมยังไม่ขอร่วมสนทนาด้วย นะครับ
ท่านอาจเข้ามาใหม่ในเวปนี้ จะยังไม่ทราบว่า นักกฎหมาย ในเวปนี้ ได้สนทนา อะไรกันมาบ้าง

ก่อนอื่นต้องขออภัยด้วย และขอทำความเข้าใจกับ คุณ harnwat ว่า การสนทนาในเรื่องกฎหมาย นั้น
แตกต่างจากการสนทนา ในเรื่องสัพเพเหระ อย่างอื่น
เหตุเพราะ ถ้าคุยอย่างไม่รู้จริง ผลในทางกฎหมายทางลบจะมีตามมา ฉะนั้น จึงจะปล่อยให้ ออกความเห็นไปตามอำเภอใจ ไม่ได้ครับ

ท่านที่มาออกความเห็น จะต้องทราบ และเข้าใจตนเองว่า อยู่ในฐานะใด.. มาเพื่อรับ ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ไม่ให้ต้องเดือดร้อน 

หรือเข้ามา แบบนักกฎหมายที่มีความรู้จริง.. เข้ามาเพื่อใ้ห้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องนี้ มีฐานข้อมูลที่ถูกต้องรองรับ  ไม่ใช่แค่้ว่า ตนเองคิดได้ว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น
ถ้าปล่อยให้ผู้ที่คิดได้เอง โดยไม่อิงข้อกฎหมาย สังคมอาจจะวุ่นวาย ก็เพราะการให้ความเห็นที่ผิดเพี้ยน

มาให้ความเห็นทางกฎหมาย..   ท่านทราบไหม ผู้ที่เข้ามาอ่าน ที่รู้ภาษาไทย จดจำไป แบบผิด ๆ เขาจะเป็นเช่นไร
การมาอย่างผู้ให้ จะต้องให้ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่มาออกความเห็นแล้วปล่อยให้ เชื่อหรือไม่..

จะเชื่อหรือไม่ นักกฎหมายเราจะใช้ เมื่อเหลือจะเข็น กับบางท่าน เท่านั้น. นะครับ

ขอเข้าเรื่อง  ป.๓  เรื่องนี้ถือเป็นพื้นในเรื่องความเข้าใจในข้อกฎหมาย .ใช้อ่านคนที่ให้ความเห็นได้เลยว่า รู้และเข้าใจกฎหมาย หรือไม่ 

ป.๓ ระบุ ๑๒ นัด เป็นการอนุญาตให้ซื้อ เครื่องกระสุนปืน ในครั้งนั้นครั้งเดียวได้ ๑๒  ไม่ใช่ใช่อนุญาตให้มี ๑๒ นัด
และใน พรบ.อาวุธปืนฯ  ไม่มีข้อกฎหมายมาตราใด ห้าม และระบุจำนวน การครอบครองของเครื่องกระสุนปืนเอาไว้

ฉะนั้น การครอบครองเครื่องกระสุนปืน ที่สามารถใช้ได้กับอาวุธปืน ตาม ป.๔  จึงไม่้มีความผิด

การซื้อกระสุนปืน กฎหมาย กำหนดให้ ต้องขออนุญาต ซื้อ แต่อย่าไปตีความเกินเลยถึงจำนวนกระสุนที่มีครอบครอง
การขออนุญาตซื้อกระสุนปืน คือช่องโหว่ ของกฎหมาย ที่ไม่อาจปฎิบัติได้จริง .. จะจับคนซื้อ ต้องเอาคนขายมาเป็นพยาน คนขาย จะต้องมีความผิดด้วย   แล้วคนขายที่ไหน ละจะเป็นพยานให้

การครอบครอง เป็นสิทธิ ไม่จำต้องบอกก็ได้ว่า ได้มาอย่างไร หรือจะบอกว่า เพื่อนให้ แลกเปลี่ยน
เก็บได้ นี้ล้วนไม่ใช่การซื้อ

เมื่อพิจารณาจากการขออนุญาตซื้อ ต้องใช้เวลา และจำนวนจี๊ดเดีียว กับการเดินเข้าไปถือในมือ ห่อกระดาษ ๑ กล่อง
เดินออกมา ถ้าจะจับว่าซื้อโดยไม่อนุญาต ตำรวจ จะต้อง นำคนขายมายัน .. และก็จะเข้าครรลอง ที่ได้บอกมาข้างต้น

ท่านจะต้องไม่ใช้มุมมอง อย่างตำรวจ มามองอย่างเป็น การวินิจฉัย ผิด-ถูก

การวินิจฉัย ผิด-ถูก คือมุมมองของศาล อัยการ ทนายความ ที่มีตัวบทกฎหมาย มีกฎหมายวิธีพิจารณาความ
เป็นกรอบให้อย่างเคร่งครัด จะละเมิดไม่ได้  ครับ.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 01, 2009, 12:11:54 PM โดย Ro@d » บันทึกการเข้า

harnwat
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #298 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 09:09:38 AM »


ไม่เป็นไรครับเป็นเรื่องความเห็น...ไม่มีใครตอบได้หรอกครับว่าอันไหนถูกอันไหนผิด...ผมถึงพูดกลางๆ ว่าขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมาย แต่การฟันธงว่าความเห็นนี้ถูก นั้นถูกไม่เสมอไปนะครับ(ของผมอาจจะผิดทั้งหมดก็ได้..พอดีไม่ใช่นักกฎหมายแต่ใช้กฎหมายและทำคดีทุกวัน(รวบรวมพยานหลักฐาน)..งง..เหมือนกันเนาะทำไมถึงทำคดีได้..เป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายพิเศษครับไม่ต้องงง) คนที่ตัดสินสุดท้ายคือศาลฎีกาคดีนั้น ๆ ผมถึงกล่าวว่าหากมีตำรวจคนไหนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับที่ท่านว่าน่าจะถูก(เช่นกรณีนี้หากตำรวจเขาคิดว่า ณ ปัจจุบันที่เจอกระสุนยังไม่มีข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายให้ผิด...แต่ตำรวจกำลังค้นหาข้อเท็จจริงว่า ณ ขณะซื้อ หรือมี หรือได้มาซึ่งกระสุนตอนนั้นมีใบอนุญาติหรือไม่ ถ้ามีกำหนดไว้กี่นัด เกินกี่นัด ไอ้ที่เกินมีใบอนุญาตหรือไม่...ขาดอายุความหรือยังซึ่งเป็นคนละกรณีกันนะครับ ต่างที่ ต่างเวลากันนะซึ่งอาจจะผิดตามมาตรา 7,8(ซึ่งห้ามมี ห้ามซื้อ เว้นแต่มีใบอนุญาติ..ซึ่ง "ใบอนุญาต"จะพิจารณาอย่างไร ขึ้นอยู่กับคนใช้กฎหมยอย่างที่กล่าวและให้ความเห็นมาแล้ว) หรือยกตัวอย่างอีกกรณีมีใบอนุญาติให้เก็บปืน(ชำรุดหรือเสียหาย)ไม่ได้ให้ใช้ปืนเขาให้เก็บแต่ดันมีกระสุนสำหรับปืนที่ให้เก็บอันนี้ก็ผิดตามมาตรา 12 ซึ่งตำรวจต้องพิจารณาเป็นเรื่องๆ ไป) แล้วอัยการเชื่อ ศาลเชื่อ ศาลอาจจะตัดสินขัดกับที่ท่านคิดก็ได้นะครับ...ยกตัวอย่างในเรื่องการตัดสินคดีหนึ่งของประเทศ...สารขัน(ผมไม่ได้บอกว่าคดีไหน...ของประเทศไหนนะครับ..เป็นการยกตัวอย่าง) ที่ให้มีผลย้อนหลัง ซึ่งทุกตำรา ทุกประเทศ เขาเรียน เขาเรียนกันมานาน มีหลักว่าคดีที่เป็นโทษจะไม่มีผลย้อนหลังนะครับ แต่ก็มีการตัดสินมาแล้วว่าให้ย้อนหลังได้...ซึ่งขัดกับการศึกษาที่ผ่านมาและขัดกับจิตใจเราอย่างยิ่ง ผมเลยเห็นว่าในมุมที่เห็นว่ามีใบ ป.4 หรือมีเอกสารอนุญาติใด ๆ เรื่องปืนไว้แล้วจะถือว่าได้รับอนุญาติเรื่องกระสุนอัตโนมัติหรือจะมีกระสุนเท่าไหร่ก็ได้นั้น...ไม่ผิด หรือ แม้กระทั่งมีแนวทางฏีกาออกมาแล้วว่ามีป.4แล้วมีกระสุนไม่ผิด หากวันใดวันหนึ่งถ้าตำรวจท่านใดเห็นตรงข้าม อัยการเห็นตรงข้าม และศาลท่านใดตัดสินตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผ่านมาข้างต้นแล้วอาจจะทำให้ไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิดก็ได้นะครับ ขอบคุณคุณ Ro@d ที่ให้ความเห็นไว้ ซึ่งผมบอกไว้ตั้งแต่ต้นว่าเป็นความเห็นส่วนตัวครับ...แล้วแต่วิจารณญาณของผู้อ่าน หรือใครๆ ก็สามารถวิพากวิจารณ์ได้ครับ ขอบคุณครับ..(แต่ถ้าให้แนะนำกรณีการมีกระสุนแล้วนำไปไปซ้อมยิงที่สนาม ควรจะไปซื้อที่สนามที่เราเป็นสมาชิกจะซื้อที่นัดก็ได้ ไม่เห็นมีใครว่าและมาดู แล้วก็ยิงให้เกือบหมด..ถ้ามีตังค์ซะอย่าง เหลือกลับบ้านตามที่ เช่น ป.3 ระบุไว้ 12 นัดเพื่อไว้ป้องกันตัวประมาณนี้(หากป.3ใครไม่ได้ระบุลูกไว้ก็ไม่น่าจะมีสิทธิ์เหนือคนอื่นให้มีได้เป็นร้อย ๆ นัดนะ ไม่งั้นก็ขอ ป.3 แบบไม่ระบุกระสุนกันหมด หน่วยงานรัฐจะต้องมีหลักการกำหนดไว้ว่าปืนชนิดไหนควรมีได้กี่นัดไม่งั้นตำรวจจะเอากฎเกณฑ์มาจากไหน) ก็จะไม่มีความเสี่ยงเรื่องถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกระสุนเยอะนะครับ...ถ้าหากเจ้าหน้าที่รัฐกลั่นแกล้งว่ามีเจตนาไว้ค้าละ..ซวยเลย..ส่วนการมีไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐหรือเป็นของรัฐกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช้บังคับนะครับตามมาตรา 5 และมาตรา 8ทวิ ฉะนั้น หากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ถูกค้นเจอ ถ้าอ้างไว้ก่อนว่าเป็นของรัฐหรือใช้ปฏิบัติหน้าที่..ก้อมีทางออก..ส่วนผู้ใดถ้าไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่...ก็ต้องไปพิจารณาองค์ประกอบว่าผิดหรือเปล่าข้างต้น)

ขอเติมใ้นส่วนที่ผมทิ้งแถบไว้ครับ  ส่วนอื่น ผมยังไม่ขอร่วมสนทนาด้วย นะครับ
ท่านอาจเข้ามาใหม่ในเวปนี้ จะยังไม่ทราบว่า นักกฎหมาย ในเวปนี้ ได้สนทนา อะไรกันมาบ้าง

ก่อนอื่นต้องขออภัยด้วย และขอทำความเข้าใจกับ คุณ harnwat ว่า การสนทนาในเรื่องกฎหมาย นั้น
แตกต่างจากการสนทนา ในเรื่องสัพเพเหระ อย่างอื่น
เหตุเพราะ ถ้าคุยอย่างไม่รู้จริง ผลในทางกฎหมายทางลบจะมีตามมา ฉะนั้น จึงจะปล่อยให้ ออกความเห็นไปตามอำเภอใจ ไม่ได้ครับ

ท่านที่มาออกความเห็น จะต้องทราบ และเข้าใจตนเองว่า อยู่ในฐานะใด.. มาเพื่อรับ ทราบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
เป็นประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา ไม่ให้ต้องเดือดร้อน 

หรือเข้ามา แบบนักกฎหมายที่มีความรู้จริง.. เข้ามาเพื่อใ้ห้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง

ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องนี้ มีฐานข้อมูลที่ถูกต้องรองรับ  ไม่ใช่แค่้ว่า ตนเองคิดได้ว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น
ถ้าปล่อยให้ผู้ที่คิดได้เอง โดยไม่อิงข้อกฎหมาย สังคมอาจจะวุ่นวาย ก็เพราะการให้ความเห็นที่ผิดเพี้ยน

มาให้ความเห็นทางกฎหมาย..   ท่านทราบไหม ผู้ที่เข้ามาอ่าน ที่รู้ภาษาไทย จดจำไป แบบผิด ๆ เขาจะเป็นเช่นไร
การมาอย่างผู้ให้ จะต้องให้ในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่เพียงแต่มาออกความเห็นแล้วปล่อยให้ เชื่อหรือไม่..

จะเชื่อหรือไม่ นักกฎหมายเราจะใช้ เมื่อเหลือจะเข็น กับบางท่าน เท่านั้น. นะครับ

ขอเข้าเรื่อง  ป.๓  เรื่องนี้ถือเป็นพื้นในเรื่องความเข้าใจในข้อกฎหมาย .ใช้อ่านคนที่ให้ความเห็นได้เลยว่า รู้และเข้าใจกฎหมาย หรือไม่ 

ป.๓ ระบุ ๑๒ นัด เป็นการอนุญาตให้ซื้อ เครื่องกระสุนปืน ในครั้งนั้นครั้งเดียวได้ ๑๒  ไม่ใช่ใช่อนุญาตให้มี ๑๒ นัด
และใน พรบ.อาวุธปืนฯ  ไม่มีข้อกฎหมายมาตราใด ห้าม และระบุจำนวน การครอบครองของเครื่องกระสุนปืนเอาไว้

ฉะนั้น การครอบครองเครื่องกระสุนปืน ที่สามารถใช้ได้กับอาวุธปืน ตาม ป.๔  จึงไม่้มีความผิด

การซื้อกระสุนปืน กฎหมาย กำหนดให้ ต้องขออนุญาต ซื้อ แต่อย่าไปตีความเกินเลยถึงจำนวนกระสุนที่มีครอบครอง
การขออนุญาตซื้อกระสุนปืน คือช่องโหว่ ของกฎหมาย ที่ไม่อาจปฎิบัติได้จริง .. จะจับคนซื้อ ต้องเอาคนขายมาเป็นพยาน คนขาย จะต้องมีความผิดด้วย   แล้วคนขายที่ไหน ละจะเป็นพยานให้

การครอบครอง เป็นสิทธิ ไม่จำต้องบอกก็ได้ว่า ได้มาอย่างไร หรือจะบอกว่า เพื่อนให้ แลกเปลี่ยน
เก็บได้ นี้ล้วนไม่ใช่การซื้อ

เมื่อพิจารณาจากการขออนุญาตซื้อ ต้องใช้เวลา และจำนวนจี๊ดเดีียว กับการเดินเข้าไปถือในมือ ห่อกระดาษ ๑ กล่อง
เดินออกมา ถ้าจะจับว่าซื้อโดยไม่อนุญาต ตำรวจ จะต้อง นำคนขายมายัน .. และก็จะเข้าครรลอง ที่ได้บอกมาข้างต้น

ท่านจะต้องไม่ใช้มุมมอง อย่างตำรวจ มามองอย่างเป็น การวินิจฉัย ผิด-ถูก

การวินิจฉัย ผิด-ถูก คือมุมมองของศาล อัยการ ทนายความ ที่มีตัวบทกฎหมาย มีกฎหมายวิธีพิจารณาความ
เป็นกรอบให้อย่างเคร่งครัด จะละเมิดไม่ได้  ครับ.





"มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่"...ขออนุญาตแย้งคุณ Ro@d...นิดนะครับ อย่างที่บอกว่ามาตรา 7 ข้างต้นไม่ได้เขียนเฉพาะคำว่าซื้อนะครับ อย่าตีความว่าซื้ออย่างเดียว มันมีคำอื่นอยู่ด้วยคือ ...ทำ..ซื้อ..มี..ใช้..สั่ง...นำเข้า เพราะฉะนั้นถ้ามี ป.4 แล้วมีลูกกระสุนได้เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่นนัด...ได้ถือว่าไม่ผิด ไม่น่าจะใช่นะครับ ผมว่าน่าจะดูเจตนารมณ์ของกฎหมายเขาให้มีปืนไว้สำหรับป้องกันตัวและทรัพย์สิน กีฬา รวมถึงไว้เก็บ เพราะฉะนั้น หากไม่เข้ากรณีเก็บ กับกีฬา เป็นกรณีมีไว้ใช้ป้องกันตัวและทรัพย์สิน ถ้ามีลูกกระสุนเยอะ ๆ จะบอกว่ามี ป.4(โดยมี ป.3 ไม่ระบุกระสุนกี่นัด) แล้วนะไม่ผิด... ไม่น่าจะถูกต้อง ซึ่งต้องดูเป็นกรณีไปตามข้อเท็จจริง...ซึ่งท้ายที่สุดแล้วขึ้นอยู่กับ "ใบอนุญาติ" ผมถึงบอกว่าต้องคำนึงถึงเรื่องใบอนุญาตให้ชัดเจน ซึ่งการมี ป.3 ใบอนุญาตให้ซื้อ 12 นัด จะรวมครอบคลุมถึงกรณีอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่นการทำ..ซื้อ..มี..ใช้..สั่ง...นำเข้า ในกรณีนี้สิ่งที่ท่านคิด คิดว่าน่าจะรวมกรณี "มี" "ใช้" ด้วย ซึ่งต้องตีความว่า มี ใช้ หมายถึงอะไร กรณี ป.3 ระบุไว้ว่าซื้อได้ไม่เกิน 12 นัด ในครั้งนั้น ๆ คุณดันไปซื้อ 13 นัดผิดหรือไม่ ถ้าซื้อเป็นกล่องผิดหรือไม่(ยังไม่รวมข้อกฎหมายของคนขายอีกนะครับว่าผิดหรือไม่) ผมถึงบอกว่าคนละที่ คนละเวลากันนะครับ ขณะซื้อ ขณะมี ขณะใช้...ซึ่งที่ท่านบอกว่ากฎหมายมีช่องโหว่...เราผู้อยู่ใต้กฎหมายก็ต้องพิจารณาด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ และผู้ใช้กฎหมายต้องอุดช่องโหว่ของกฎหมายด้วยนะครับ...ซึ่งในกรณีมีปืนที่มีใบอนุญาต และมีลูกกระสุนอยู่เป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น นัด อันไหนเหมาะสมหรื่อไม่ อย่างไร ...นั่นคืนการตีความที่จะต้องอุดช่องโหว่ของกฎหมายครับ ซึ่งถ้าตีความว่ามีใบ ป.4 แล้วมีลูกได้ไม่จำกัด หรือเป็นพัน เป็นหมื่นนัด อันนี้คุณว่าเหมาะสมหรือไม่...การวินิจฉัยเรื่องใด ๆ เขาถึงบอกว่าต้องพิจารณาด้วยความรอบคอบเป็นธรรมครับ ใช้บังคับกับทุกคนอย่างเสมอภาค เพราะฉะนั้น ผมถึงบอกว่าขึ้นอยู่กับผู้ใช้กฎหมายครับ ...แล้วสิ่งที่ท่านบอกว่าการวินิจฉัย ผิด-ถูก คือมุมมองของศาล อัยการ ทนายความ ที่มีตัวบทกฎหมาย มีกฎหมายวิธีพิจารณาความ
เป็นกรอบให้อย่างเคร่งครัด จะละเมิดไม่ได้...ซึ่งก็ถูกต้องอีกนะครับ ผมถึงบอกว่าจะมีกระบวนการของการพิจารณาผู้ที่เกี่ยวข้อง หากตำรวจ อัยการ ศาล หากได้ตัดสิน...ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ท่านคิด เราก็ต้องเคารพอยู่แล้วครับ...ขอบคุณอีกครั้งครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2009, 09:14:11 AM โดย harnwat » บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #299 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2009, 10:38:06 AM »

5 5 นักนิติศาสตร์ กับ นักกฎหมาย คุยกัน คิก คิก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 19 [20] 21 22 23 ... 37
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.126 วินาที กับ 22 คำสั่ง