ผมว่า การที่ ป.4 มีการปั้มตัวแดง ว่า
โอนได้ภายในกี่ปี หรือ ห้ามโอนตลอดชีพ นั้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะขายและผู้ที่จะซื้อ เพราะมันจะได้ชัดเจนกันไปเลย ไม่ต่อมาสงสัยหรือไต่ถามกันให้วุ่นวาย ว่า โอนได้ไหม?
รายละเอียดที่ผมเคยทราบมีดังนี้ครับ
1.
ข้าราชการกระทรวงกลาโหมและกองทัพบก ใช้ระเบียบคำสั่ง ปี 2538 ประกาศในวันที่ 24 กค. 2538 ในข้อที่ 10. เขียนไว้ว่า ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน ห้ามมิให้ผู้ซื้อทำการโอนกรรมสิทธิ์ปืนพกให้แก่บุคคลอื่นโดยเด็ดขาด เว้นแต่การตกทอดทางมรดก
2. กองทัพเรือ ใช้ระเบียบคำสั่ง ปี 2536 ประกาศในวันที่ 31 สค. 2536 ในคำสั่งมีทั้งหมด 15 ข้อ ไม่มีข้อใดที่ระบุว่า ห้ามโอน หรือ ว่าโอนได้ภายในระยะเวลากี่ปี (มีหน่วยงานเดียวที่ไม่ได้ระบุไว้)
3.
กองทัพอากาศ ใช้ระเบียบคำสั่ง ปี 2516 ประกาศในวันที่ 18 พค. 2516 ในข้อ 6.2 ระบุว่า ต้องไม่จำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้อื่น ก่อนกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับปืน เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากผู้บัญชาการกองทัพอากาศเป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อจำหน่ายจ่ายโอนกรรมสิทธแล้วต้องแจ้งกรมสรรพาวุธทหารอากาศทราบ
4.
ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 2 ระบุในข้อ 5. เงื่อนไขและมาตรการควบคุม (3) อาวุธปืนตามโครงการนี้ ผู้ซื้อจะไม่ทำการจำหน่ายได้ หรือโอนให้แก่บุคคลอื่นได้ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี เว้นแต่การโอนให้แก่ทายาดตามกฏหมาย
ในเมื่อรู้คำสั่งและระเบียนปฏิบัติ เช่นนี้แล้ว จะได้ทราบว่าปืนสวัสดิการที่เราพกอยู่นี่ มันพอที่จะแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้แล้วหรืองยัง และผู้ที่คิดจะขายก็สมควรที่จะต้องหาคำสั่งระเบียบปฏิบัติ แนบไประหว่าง การขอตัดโอนให้แก่ผู้ที่คิดจะซื้อ และนายทะเบียนกับเจ้าหน้าที่ ก็จะไม่เคอะเขน ที่จะดำเนินการตัดโอนให้แก่ผู้ขอรับโอน เพราะได้ทำตามระเบียบปฏิบัติแล้ว ตัดปัญหาเรื่องโอนได้หรือไม่ได้ หรือ ค่าน้ำร้อนน้ำชาพิเศษแต่อย่างใด.....