ระดับสัญญาณไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลจะทำงานอยู่ที่สองระดับซึ่งแทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้เพียงสองค่าเท่านั้น
ที่เราใช้กันคือแทน 1 และ 0 จึงเรียกแต่ละสัญญาณนี้ว่าบิท (Bit) ซึ่งการที่แต่ละหลัก (Digit) นี้มีค่าได้เพียงสองค่าจึงเรียกว่าเป็นเลขฐานสอง (Binary Number) ต่างจากเลขที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันที่เป็นเลขฐานสิบเพราะแต่ละหลักมีเลขต่างกันได้ 10 ค่าคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9
การที่แต่ละหลักของเลขฐานสองมีได้ 2 ค่าหากจะแทนค่าที่มากกว่านี้ก็ต้องเพิ่มหลักเข้าไปเช่น
หากมีเลขฐานสอง 2 บิทก็จะแสดงข้อมูลที่แตกต่างกันได้ 4 ค่าคือ 00 01 10 11
ดังนั้นหากมีข้อมูล 10 บิท ก็จะแสดงค่าแตกต่างกันได้ 1024 ค่า (2 ยกกำลัง 10 = 1024)
การใช้คำเติมหน้า (Prefix) หน่วยตามมาตรฐาน SI มีการกำหนดไว้แน่นอนเช่น k(กิโล) = 10 ยกกำลัง 3
k ต้องเป็นตัวพิมพ์เล็กด้วยเพราะถ้าเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ K จะหมายถึง เคลวิน (Kelvin) ซึ่งเป็นอุณหภูมิ
หรือ G(กิกะ) = 10 ยกกำลัง 9
เมื่อเอาไปเขียนนำหน้าหน่วยเช่นกิโลกรัมจึงหมายถึง 1000 กรัม
คำเติมหน้าเหล่านี้ใช้เฉพาะกับหน่วย SI ที่เป็นระบบเลขฐานสิบเท่านั้น ไม่สามารถเอาไปใช้กับระบบเลขฐานสอง
ดังนั้นหากพูดถึง kbit จึงยังหมายถึง 1000 บิท เช่นความเร็วโมเด็มเป็น 64 กิโลบิทต่อวินาทีก็หมายถึง 64000 บิทต่อวินาที
แต่เมื่อในระยะแรกยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานคำเติมหน้าของระบบเลขฐานสองมาใช้ จึงมักใช้คำเติมหน้าของ SI มาใช้ไปพลางเพื่อความสะดวก
เช่น 1024 บิทก็บอกว่าเป็น 1 กิโลบิทเพราะ 1024 เป็นเลขที่ใกล้เคียงกับ 1000 มากที่สุด
แต่ทั้งนี้ต้องเข้าใจกันทั้งผู้เขียนและผู้อ่านนะครับ เคยมีการเถียงกันเรื่อง Spec. มาแล้ว คนเขียนบอก 1 k หมายถึง 1000 อีกคนบอกหมายถึง
1024.....
