ขออีกคำถามหนึ่งครับท่าน CT_Pro4 หรือท่านที่ยังอยู่วงในวงการรถยนตร์ว่าเมื่อใหร่ค่ายมิตซูบิชิจะปล่อยแลนเซอร์รุ่นใหม่หน้าฉลามลงตลาดเมืองไทยเสียทีไปเห็นที่สิงคโปร์มันสวยมากๆๆๆที่อื่นเขาขับกัน 2 ปีได้แล้วไม่มาสักทีดันทุรังขายตัวเก่าอยู่นั่นแหละ
มาจริงไม่รู้จะได้เครื่องใหม่ รหัส 4B11 2000 cc เกียร์ AMT (Automatic Manual Transmission)หรือเปล่า ผมใฝ่ฝันมากที่จะได้ใช้เกียร์ตัวนี้...อย่าให้คนไทยใช้แต่ของเก่าๆแพงอีกล่ะ
พยามยามตามข่าวอยู่เหมือนกันครับ แต่ทางมิตซูบ้านเรายังเงียบๆ ไม่มีข่าวว่าจะเอาเข้าเมื่อไหร่ ก็ยังขายตัวเก่าอยู่
...ถ้าประเมินจากความเห็นส่วนตัวนั้น ผมคิดว่าพื้นฐานน่าจะมาจาก stock ที่เหลืออยู่ครับรวมถึงการ write-off ของเงินลงทุนใน line การผลิตแล้วหรือยังครับ...
ขอบคุณครับผมเคยทำงานอยู่โรงงานผลิตรถแห่งหนึ่งแต่ไม่ใช่ฝ่ายผลิตโดยตรงแต่เป็นแผนกซ่อมบำรุงพวก ระบบออโตเมชั่น สายพานการผลิต หุ่นยนต์เชื่อมตัวถัง
แต่ออกมานานแล้วครับ
พวกระบบเกียร์เดี๋ยวนี้ทั้งรถยุโรป รถญี่ปุ่น นิยมใช้เกียร์ OEM จากบริษัทญี่ปุ่นยี่ห้อ AISIN กันเยอะมากๆ ที่แน่ๆ คือ เชฟโรเลต ซาฟิร่า วอลโว่
รวมถึงรถสปอร์ตจากเยอรมันอย่างปอร์เช่ 911 รถญี่ปุ่นก็แทบทั้งนั้นผมให้คะแนนเกียร์ AISIN น่าจะดีกว่าเจ้าแห่งเกียร์จากเยอรมันอย่าง ZF และหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นอย่างFANUC ก็ดีกว่า หุ่นยนต์ของเยอรมันอย่าง KUKA ผมยืนยันเพราะใช้มาแล้วเปรียบเทียบความสามารถกันแล้ว....แต่พอเป็นตัวรถทำไมสู้รถยุโรปไม่ได้สักทีอย่างว่าครับต่อให้เครื่องจักรดีกว่าแต่ช่วยไม่ได้หรอกหากดีไซของตัวรถ+ชิ้นส่วนมันด้อยคุณภาพกว่า
...ผมว่าไม่ว่าจะเป็นค่ายรถยนต์จากฝั่งญี่ปุ่น ยุโรป หรืออเมริกา ยกเว้นค่ายรถที่ exclusive หรือ niche มากจริงๆ นั้น ผมคิดว่าทุกค่ายในปัจจุบันในส่วน supply chain คงจะเป็นไปในลักษณะ global sourcing เกือบทุกค่ายครับ ขนาดรถเยอรมันยังใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตจากญี่ปุ่นก็หลายชิ้นอย่างที่ท่าน Gunchon ว่าไว้จริงๆ ครับ แต่อีกมุมนึงผู้ผลิต/ผู้ประกอบก็ต้องพยายามรักษามาตรฐานการผลิต/ประกอบของตนให้ได้ไม่ว่าชิ้นส่วนจะถูกผลิตขึ้นจากที่ไหนก็ตามครับ...
...ด้วยความเคารพ โดยส่วนตัวผมคิดว่าเรื่องหุ่นยนต์ที่ใช้ประกอบรถนั้น คงจะต้องพิจารณาทั้งระบบเช่นเดียวกันว่าระดับการใช้หุ่นยนต์เพื่อประกอบรถยนต์แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนั้นอยู่ในระดับใดด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์จากฝั่งยุโรปค่ายหนึ่ง มีสายการประกอบรถยนต์รุ่น X ที่สามารถ configure หรือ กำหนดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ประกอบรถแต่ละคันที่อยู่ในไลน์ได้แตกต่างกันทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นสีรถ (color), สีภายใน (trim color), พวงมาลัยซ้าย-ขวา, อุปกรณ์เพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐาน (Optional Equipment), ฯลฯ ในไลน์การผลิตเดียวกัน ขึ้นอยู่กับ process ของแต่ละค่ายจริงๆ ครับ
คันที่ 1 เป็นรถพวงมาลัยซ้าย สีภายนอกเป็นสีดำ สีภายในเป็นสีเทา ใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐานอีก 8 รายการ คันที่ 2 เป็นรถพวงมาลัยซ้าย สีภายนอกเป็นเทา สีภายในเป็นสีเทา ใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐานอีก 12 รายการ คันที่ 3 เป็นรถพวงมาลัยขวา สีภายนอกเป็นน้ำเงิน สีภายในเป็นสีคำ ใส่อุปกรณ์เพิ่มเติมจากอุปกรณ์มาตรฐาน 5 รายการ ฯลฯ โดยที่รถทุกคันอยู่ในไลน์การผลิตเดียวกัน ผ่านกระบวนการประกอบที่ใช้ทั้งหุ่นยนต์และคน และไม่ต้องหยุดชงักการประกอบในแต่ละขั้นตอนเลย ตัวอย่างที่ผมยกมานั้น อาจจะค่อนข้างต่างกับระบบการประกอบในบ้านเราพอสมควร เพราะระบบการประกอบในบ้านเราแม้จะมีการใช้หุ่นยนต์แต่ก็จะเป็นในลักษณะ batch หรือประกอบรถที่มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่เหมือนกันในลักษณะ mass ซะมากกว่าครับ...
...ส่วนเรื่องคุณภาพ ผมเชื่อว่าฝั่งค่ายรถญี่ปุ่นสามารถผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพที่ไม่ได้ด้อยไปกว่าทางฝั่งยุโรปเลยครับ เดี๋ยวนี้ความต่างในเรื่องของเทคโนโลยียานยนต์ค่อนข้างที่จะทันกัน องค์กรที่เข้ามามีบทบาทในเรื่องคุณภาพมากขึ้นก็คือ OEM supplier นั่นเองครับ...