ที่จริงผมไม่อยากชี้โพรงให้กระรอก
แต่ความผิดตาม พ.ร.บ.ธง ฯ นั้น จะต้องเป็นการกระทำต่อธงตามความหมายของกฎหมายด้วย คือต้องเป็นธงตามกฎหมายจริง ๆ ซึ่งมีขนาดสัดส่วนตามที่กำหนดในกฎหมาย (ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง ๖ ส่วน ยาว ๙ ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น ๕ แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง ๒ ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ ๑ ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ ๑ ส่วน) คือเป็นแบบเดียวกับที่แขวนไว้ที่สนามฟุตบอล ส่วนที่เขียนไว้บนแก้ม หรือตามฉากประกอบต่าง ๆ ยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
ไม่เชียร์ใครแต่ดูทีู่เจตนาและสถานการณ์แวดล้อม
http://www.arc.dusit.ac.th/be/pdf/5/01.pdfความรู้เบื้องต้นและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติไทย
จากการที่พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้มีดำริในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2546 ให้มีการประดับธงชาติไทย ตามอาคารหน่วยราชการ สำนักงาน ภาคธุรกิจเอกชน อาคารที่พักอาศัย หรือกิจกรรมต่างๆในทุกระดับทั้งด้านการค้าและบริการให้มากขึ้น โดยให้ถือเป็นเรื่องปกติเพื่อแสดงความภาคภูมิใจ ในความเป็นชาติ และแสดงให้ชาวต่างชาติที่พบเห็นมีความรู้สึกยกย่อง ด้วยเหตุนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้พิจารณาพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายและความเหมาะสมในการใช้ธงชาติไทยในกิจกรรม หรือกิจการต่างๆ หรือใช้กับสินค้าเพื่อการโฆษณาประเทศโดยตรวจสอบวิธีปฏิบัติในต่างประเทศด้วย ซึ่งระเบียบปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธงของไทย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีมากมาย อนุสารอุดมศึกษาฉบับนี้จึงขอนำเสนอความรู้เบื้องต้น และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธงชาติไทย ซึ่งได้รับความเอื้อเฟื้อจากสำนักงานคณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อให้ท่านผู้อ่านและผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทุกระดับได้รับทราบ และนำไปใช้ค้นคว้า อ้างอิงหรือเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
ความหมายและประวัติของธงชาติไทย
ธงชาติ คือ ธงที่มีความหมายถึงประเทศและชาติใดชาติหนึ่ง ธงที่มีความหมายถึงประเทศไทยและชาติไทย มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบ ตลอดความยาวของผืนธงตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ ออกไปทั้ง 2 ข้าง เป็นแถบสีขาว กว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นสีแดง กว้างข้างละ 1 ส่วน ธงชาตินี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ธงไตรรงค์” ธงชาติไทยก่อนรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2352-2367) ประเทศไทยใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติ แต่จะมีกำเนิดและใช้มาอย่างไรไม่มีใครทราบแน่นอน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในเชิงอรรถแห่งหนึ่งของหนังสือพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 ว่า “ธงสำหรับชาติไทย ที่ใช้ในเรือแต่ก่อนจะใช้ธงอย่างไร ข้าพเจ้าได้ตรวจค้นในหนังสือที่ฝรั่งแต่งไม่พบ มาพบในหนังสือจดหมายเหตุทูตไทยไปลังกาทวีป เมื่อคราวพระอุบาลีออกไปให้อุปสมทบแก่ชาวสิงห์ ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมโกศ ว่าใช้ธงพื้นแดงสีแดง จึงเห็นว่าจะใช้ธงสีแดงเป็นธงชาติมาแต่โบราณ ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำริเห็นว่าเรือหลวงกับเรือราษฎรใช้ธงสีแดงเหมือนกัน จึงให้เพิ่มรูปจักรอันเป็นเครื่องหมายแห่งราชวงศ์จักรีลงบนธงสีแดงสำหรับปักเรือของหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยได้ช้างเผือก 3 เชือกมาประดับบารมีจึงเพิ่มรูปช้างสีขาวในรูปวงจักรสีขาว กลางธงสีแดง สำหรับเรือหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำริว่าจักรเป็นเครื่องหมายของราชวงศ์จักรี จึงโปรดให้เอารูปจักรออกจึงยังคงเหลือช้างขาวบนธงสีแดง พอถึง รศ. 129 มีพระราชบัญญัติธงขึ้น กำหนดให้ธงชาติเป็นพื้นสีแดง มีรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่นหันหน้าเข้าข้างเสาสำหรับเป็นธงราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงตราพระราชบัญญัติธงขึ้นใหม่ใน พ.ศ. 2460 เนื่องจากในสมัยนั้นไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับประเทศสัมพันธมิตร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสามสี ธงชาติไทยในสมัยนั้นจึงเป็นรูปสี่เหลี่ยม รี ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 3 ของขนาดกว้างแห่งธงอยู่กลาง มีแถบขาวกว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 6 ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่าแถบขาวประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ และเรียกชื่อธงนี้ว่า ธงไตรรงค์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 สมัยรัชกาลที่ 8 ได้ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้นใหม่เป็น”ธงชาติรูปสี่เหลี่ยมมีขนาดกว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้าง 2 ใน 6 ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ (สีน้ำเงินแก่) ต่อจากสีขาบออกไปทั้งสองข้างๆละ 1 ใน 6 ส่วนเป็นแถบสีขาวต่อสีขาวออกไปทั้งสองข้างเป็นสีแดง และนี่เป็นธงชาติไทยที่ใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ซึ่งยังคงเรียกว่า ธงไตรรงค์
ลักษณะของธงชาติไทยปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522 มาตรา 5 (1) ธงชาติ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบ ตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่ กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำแก่ออกไปทั้งสองข้างเป็นแถบสีขาว กว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้งสองข้าง เป็นแถบสีแดง กว้างข้างละ 1 ส่วน ระเบียบเกี่ยวกับธงชาติ แก้ไขปรับปรุงถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้ธงพื้นแดงนั้น ใช้ชักบนเรือสินค้าของราษฎรไทยทั่วไป ภายหลัง เมื่อประกาศใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ครั้งแรกในรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่มักชักในเรือที่เดินทางค้าขายกับต่างประเทศ นอกจากนี้ก็มีการชักขึ้นตามป้อม วังเจ้านาย บ้านเรือนข้าราชการและราษฏร ร้านค้า และสถานที่ราชการตลอดจนใช้ประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ ไม่มีกำหนดเกณฑ์ตายตัวแต่อย่างใด จนกระทั่งถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลจึงมีระเบียบเกี่ยวกับธงชาติออกประกาศใช้เป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2478 เรียกว่าระเบียบการชักธงชาติสยามในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479 มาตรา 17-20 บทบังคับทั่วไปได้กล่าวถึงระเบียบ การชักธงชาติและข้อควรปฏิบัติต่อธงชาติ และในบทกำหนดโทษท้ายพระราชบัญญัติในมาตรา 21-23 ก็ได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับมีทั้งปรับเป็นเงิน จำคุก หรือทั้งปรับ ทั้งจำ หนัก เบาแล้วแต่ความผิดที่ได้กระทำ
ต่อมาได้มีระเบียบการชักธงชาติออกบังคับใช้ตามลำดับ คือ
1.ระเบียบการชักธงชาติสยาม แก้ไขเพิ่มเติม (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ภาคที่ 1 วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 หน้า 838)
2. กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติธงพุทธศักราช 2479 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 หน้า1193-1194)
3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบการชักธงชาติสยาม ออกประกาศวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 ภาค 1 พ.ศ. 2480 วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 หน้า 667)
4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติและเพลงสรรเสริญพระบารมี ออกประกาศวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 ภาค 1 พ.ศ. 2482 วันที่ 9 กันยายน หน้า 1611) มีใจความโดยย่อว่า รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่าธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับความเชิดชูเคารพจากชาวไทย ฉะนั้น เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากยอดเสาตามสถานที่ราชการในเวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับ หรือให้อาณัติสัญญาการชักธงชาติขึ้นหรือลดลง ให้ทุกคนแสดงความเคารพตามระเบียบเครื่องแบบของตนหรือประเพณีนิยม เมื่อได้ยินเพลงชาติซึ่งราชการบรรเลงในราชการ หรือบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ให้ผู้ที่ร่วมงานหรืออยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณีนิยม
5. พระราชบัญญัติธง (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2483 ตรา ณ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2483 มาตรา 4 ว่าด้วยข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติต่อธงชาติ 6 ประการ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 พ.ศ. 2483 แผนกกฤษฎีกา ภาค 2 วันที่ 15 ตุลาคม หน้า 508-513)
6. ระเบียบการชักธงชาติ ออกประกาศวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2483 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 31 ธันวาคม ศกเดียวกันเป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 57 พ.ศ. 2483 ภาค 2 วันที่ 31 ธันวาคม หน้า 3222-3228)
7. พระราชบัญญัติธง (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2485 ตรา ณ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2485 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 พ.ศ. 2485 แผนกกฤษฎีกา ภาค 1 ตอนที่ 33 วันที่ 19 พฤษภาคมหน้า 1083-1085) มาตรา 3,4
8. กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 พ.ศ. 248 แผนกกฤษฎีกา ภาค 1 หน้า 1086-1088)
9. ประกาศสำนักนายกรัฐนมตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ พุทธศักราช 2488 ออกประกาศวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2487 มีผลบังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นต้นไป ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ ฉบับวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2483 และฉบับวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2486 กับบรรดาคำสั่งอื่นๆที่เกี่ยวกับการชักธงชาติและมีข้อความขัดกับประกาศฉบับนี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 61 พ.ศ. 2487 แผนกกฤษฎีกา ภาค 1-2ตอน 72 วันที่ 31 ธันวาคม หน้า 1290-1293)
10. คำแนะนำในการปฏิบัติเกี่ยวกับระเบียบการชักธงชาติ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 61 พ.ศ. 2487 แผนกกฤษฎีกา ตอนที่ 79 วันที่ 31 ธันวาคม หน้า 1294-1295)
11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491 ประกาศวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2491 ยกเลิกข้อความในข้อ 8 แห่งระเบียบการชักธงชาติพุทธศักราช 2488 และใช้ข้อความตามที่แก้ไขใหม่ (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 65 พ.ศ. 2491 แผนกกฤษฎีกา ตอนที่ 59 วันที่ 5 ตุลาคม หน้า 598-599)
12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2493 ออกประกาศวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2493 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 67 ภาค 4 พ.ศ. 2493 ตอนที่ 67วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493 หน้า 6373-6374) ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2491 ซึ่งแก้ไขข้อความในข้อ 8 แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ พ.ศ. 2488 และแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใหม่
13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2494 ออกประกาศวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2494 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ภาค 2 เล่ม 1 ตอนที่ 44 พ.ศ. 2494 วันที่ 10 กรกฎาคม หน้า 2809-2811) ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 8
ธันวาคม พ.ศ. 2493 ซึ่งแก้ไขความในข้อ 8 แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ พ.ศ. 2488 และแก้ไขข้อความใหม่
14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแก้ไขการชักและประดับธงชาติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2494 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 68 ภาค 2 เล่ม 3 ตอนที่ 76 วันที่ 18 ธันวาคม หน้า 5668)
15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2495 ออกประกาศวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2495 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 69 ตอนที่ 54 วันที่ 9 กันยายน หน้า 2917-2919) ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 4 ) แก้ไขข้อความใหม่
16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501 ออกประกาศวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 75 ภาค 2 เล่ม 1 ตอนที่ 57 วันที่ 29 กรกฎาคม หน้า 2129-2130) ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 5) และแก้ไขข้อความใหม่
17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2503 ลง วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2503 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 77 ตอนที่ 51 วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2503 หน้า 1566) ยกเลิกความในข้อ 8 ซ.
18. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่
พ.ศ. 2503 ลง วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2503 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 77 ตอนที่ 83 วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2503 หน้า 2140) แก้ไขข้อความในข้อ 5 ข. ของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธง
พ.ศ. 2488
19. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการชักธงชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 ลง วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2519 มีข้อความแก้ไขข้อความในข้อ 5 กำหนดเวลาชักธงชาติขึ้นลงแห่งระเบียบการชักธงชาติ พ.ศ. 2488 ทั้งนี้ เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยได้เสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ปรับปรุงแก้ไขกำหนดเวลาการชักธงชาติขึ้นลงและการเคารพชาติใหม่เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเกิดความผูกพันทางจิตใจ และมีความตื่นตัวเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของบ้านเมือง
ยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษากันแล้วลงมติเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม
พ.ศ. 2519 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีจึงดำเนินการแก้ไข และได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ออกบังคับใช้ดังกล่าวมาแล้ว
20. พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2522 ตรา ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2522
21. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2542) ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
22. กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
23. กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในมาตรา 4 และมาตรา 32 วรรคสี่แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
24. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2529
25. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2546 ซึ่งพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ลงนามประกาศ ณ วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
http://www.khunnamob.net/board/show.php?Category=khunnamob&No=659&forum=9&picfolder=mXT0HkNN&PHPSESSID=ec5473b32925d1deb79532a8c327fb25#top