สรุปว่า่ถ้าเรามีส่วนในความประมาทด้วยถ้าขึ้นศาลอาญาโอกาสแพ้สูงแน่ดังนั้นควรรีบจบเรื่องซะแต่เนิ่นๆ แล้วมันจะจบได้อย่างไรครับ
ในเมื่อป้าก็ไปเกิดใหม่ซะแล้ว ถ้าเราชดเชยให้ญาติจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจบจริงๆครับ แล้วการที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่เยียวยาแก่ผู้ตายจึงไม่รอลงอาญา เอ....ก็ในเมื่อต่างคนต่างผิดและยังสู้อยู่ในศาลแล้วมันจะไปเยียวยายังไงครับ หรือถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับเราควรทำไงครับ ถ้าสมมุติป้าแกตายคาที่แล้วญาติเรียก10ล้านคงตกลงกันไม่ได้ แล้วเราจะทำอย่างไรที่ทำให้ศาลท่านรู้สึกว่าเราได้เยียวยา จะไปงานศพหรือครับ
จริงๆแล้วถ้าพูดถึงแล้ว กรณีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มันเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ครับ..เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งอาจดูแล้ว ทุกคนไม่ว่าคนขับ บริษัทประกัน พนักงานสอบสวน หรือผมเองที่แนะนำแบบนี้ ถือว่าทำผิดกฎหมายกันเป็นแถวละครับ
แต่คดีประเภทนี้ หัวใจสำคัญ ก็คือการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายจนพอใจ และไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับเรา พนักงานสอบสวนก็อาจทำหน้าที่เป็นคนกลาง ให้คู่ความเจรจาตกลงกัน จนเป็นที่พอใจ (ซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่หน้าที่ของพนักงานสอบสวนเลย) พนักงานสอบสวนก็จะสรุปสำนวนสั่งฟ้องเรา
แต่ จะระบุในสำนานว่า ฝ่ายผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ เพื่อให้มีผลเวลาศาลพิจารณาลงโทษ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า ศาลจะรอการลงโทษ หรือที่เราเรียกว่ารอลงอาญานั้นเอง แต่ก็มีบางครั้ง ที่พนักงานสอบสวน เมื่อเห็นว่าคู่ความได้รับการชดใช้ความเสียหายเต็มที่ จะดำเนินคดีกับจำเลย ก็ไม่เป็นผลดี อาจจะไม่ทำสำนวนคดีไปซะเลย โดยถือว่าไม่มีเหตุเกิดขึ้น.....( แต่ผิดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรง) แต่น้อยมากครับ
ถ้าเราชดเชยให้ญาติจะแน่ใจได้อย่างไรว่าจบจริงๆครับ ในทางอาญาแม้ไม่จบเพราะยังไงก็ต้องถูกดำเนินคดีก็ตาม แต่ในทางแพ่ง ก็สามารถทำหนังสือประนีประนอมยอมความกับญาติผู้ตาย ซึ่งส่งผลให้สิทธิเรียกร้องทางแพ่งระงับทันที และส่งผลไปยังคดีอาญาซึ่งศาลจะลงโทษสถานเบาที่สุดตามไปด้วยครับ
แล้วการที่ศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่เยียวยาแก่ผู้ตายจึงไม่รอลงอาญา เอ....ก็ในเมื่อต่างคนต่างผิดและยังสู้อยู่ในศาลแล้วมันจะไปเยียวยายังไงครับ คือศาลเขาจะพิจารณาว่า คุณรู้ตัวและสำนึกว่าการกระทำของคุณนั้น คุณได้ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจริงหรือไม่
ถ้าคุณรู้ตัวว่าประมาทด้วยเช่น รถเครื่องตัดหน้าอย่างกระชั้นชิดบริเวณสี่แยก คุณเบรคไม่ทัน เพราะขับมา ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็ถือว่าคุณประมาทเพราะขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ไม่เกิน ๖๐ หรือ ๘๐ บริเวณเขตชุมชนหรือจุดตัดแยกของถนน ไม่แน่ใจครับ) แต่ถ้าคุณรู้ตัวแล้วว่ามีส่วนประมาท แต่ยังคงต่อสู้ว่าตนไม่ประมาท และไม่ยอมเยียวยา พอศาลชั้นต้นตัดสินให้จำคุก จึงมาให้เงิน ศาลอุทธรณ์ก็ไม่รอการลงโทษให้คุณหรอกครับ เพราะถือว่าคุณไม่ได้มีจิตสำนึกที่จะเยียวยาความเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้ตายมาตั้งแต่ต้น...
ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้กับเราควรทำไงครับ ถ้าสมมุติป้าแกตายคาที่แล้วญาติเรียก10ล้านคงตกลงกันไม่ได้คงมีแต่ไอ้พวกนักการเมืองเท่านั้นละครับ หมิ่นประมาทนิดหน่อยแต่กลับเรียกค่าเสียหายสิบล้าน
ค่าเสียหายมันแล้วแต่พฤติการณ์แต่ละคนว่า ผู้ตายมีรายได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งสามารถตกลงเจรจากันได้ และแม้ขึ้นศาลก็ตาม ศาลก็จะสั่งให้ตามพฤติการณ์และความเหมาะสมกับผู้ตาย มิใช่ต้องจ่ายค่าเสียหายตามจำนวนที่ญาติผู้ตายเรียกร้องครับ