ความสำคัญของหมู่โลหิต Rh
เนื่องจากปัญหาในการถ่ายโลหิตจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งไปยังผู้ป่วย บางกรณีผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น แต่บางรายเป็นผลเสียถึงชีวิต
ดังนั้นการพบหมู่โลหิตเอบีโอ ทำให้การถ่ายโลหิต มีความปลอดภัยและ ผู้รับโลหิต ได้รับ ประโยชน์จากการรับโลหิตเป็นอย่างดี และมีการถ่ายโลหิตให้ผู้ป่วยมากขึ้น
จนกระทั่ง ได้มีีรายงานว่า มีผู้รับโลหิตบางราย มีอาการแทรกซ้อนจากการรับโลหิตในขณะเดียวกัน มีรายงาน ความ ผิดปกติของทารก แรกเกิดมีอาการซีดเหลือง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากแอนติบอร์ดีตัวอื่นในโลหิตของแม่ผ่านทารก มาทำลาย เม็ดโลหิตแดงของลูก ปัญหาเหล่านี้หาคำอธิบายไม่ได้
จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.2482 (คศ.1939) มีรายงานการค้นพบหมู่โลหิต ระบบใหม่ คือ หมู่โลหิตระบบอาร์เอช (Rh)การค้นพบครั้งนี้ได้นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ ของปรากฎการณ์ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เนื่องจากความไม่เข้ากันระหว่างโลหิตแม่และลูก
หมู่โลหิตระบบอาร์เอช แบ่งออกเป็นอาร์เอชบวก (Rh-positive) และอาร์เอชลบ (Rh-negative)
หมู่โลหิตอาร์เอชบวก หมายถึงโลหิตที่สารโรตีนดี ฉาบอยู่ที่ผิว ของเม็ดโลหิตแดง ในคนไทยประมาณ 99.7 เปอร์เซ็นต์ มีที่หมู่โลหิตอาร์เอชบวก
(Rh-positive) หรือเรียกว่า หมู่โลหิตลบ หมายถึง หมู่โลหิตที่ไม่มีสารดีฉาบอยู่ที่ผิวของเม็ดโลหิต ในคนไทยพบว่า มีหมู่โลหิต เพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1,000 คนจะพบเพียง 3 คนเท่านั้น มักจะเรียกกันว่าหมู่โลหิตพิเศษ
ติดตามต่อได้ในเวบนี้ค่ะ
http://medinfo.psu.ac.th/departments/pathology/Education/BloodBank/Rh.htm