ในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยทรงตราเป็นพระราชกำหนดเรียกว่า พระราชกำหนดการยิงสลุต ร.ศ. 131 (พ.ศ.2455) การยิงสลุตแบ่งเป็นของหลวง แบบธรรมดา ใช้ยิง 21 นัด แบบพิเศษใช้ยิง 101 นัดในพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งพระราชกำหนดนี้ใช้มาตลอดรัชกาลที่ 6 แต่ครั้นรัชกาลที่ 7 มิให้ใช้เพื่อความประหยัด
ปีพ.ศ.2483 จนถึงปัจจุบัน ไทยนำประเพณีการยิงสลุตมาใช้อีก เช่นเดียวกับที่ประเทศอื่นๆในโลกเขาใช้กัน โดยมีข้อบังคับที่เรียกว่า ข้อบังคับทหารว่าด้วยการยิงสลุต ซึ่งต่อมารัฐบาลมีกำหนดไว้ในราชกิจจานุเบกษา
ถ้าเป็นงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา งานพระราชพิธีฉัตรมงคล หรือวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมราชินีหรือสมเด็จพระยุพราช รวมถึงงานต้อนรับพระมหากษัตริย์ หรือประมุขแห่งรัฐ ยิงสลุตจำนวน 21 นัด
ถ้าเป็นระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(ที่เป็นทหาร) ผู้บัญชาการทหารเรือ จอมพลเรือ และเอกอัครราชทูต ยิงสลุต 19 นัด
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม(ที่เป็นพลเรือน) พลเรือเอก
และเอกอัครราชทูตพิเศษ ยิงสลุต 17 นัด
พลเรือโท และอัครราชทูต ยิงสลุต 15 นัด
พลเรือตรี และราชทูต ยิงสลุต 13 นัด
(สามเหล่าทัพยศเท่ากัน ยิงสลุตเท่ากัน)
อุปทูตยิงสลุต 11 นัด กงสุลใหญ่ ยิงสลุต 9 นัด เป็นต้น
อ้างอิงจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=yyswim&month=12-2005&date=06&group=6&gblog=2ขอบคุณครับ