เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 25, 2024, 09:31:13 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ไดเมทิลอีเทอร์ ความหวังของใช้เครื่องยนต์ดีเซล  (อ่าน 3560 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 10:51:33 AM »

เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ผศ.ดร.คณิต วัฒนวิเชียร หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า หลังจากที่ทีมวิจัยของคณะ ได้นำเอาองค์ความรู้ทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อคิดค้นพลังงานใหม่ๆ โดยเฉพาะเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ล่าสุดสามารถพัฒนา “ไดเมทิลอีเทอร์” หรือ “ดีเอ็มอี” ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถผลิตได้จากชีวมวล ที่อยู่ในสถานะ เป็นแก๊ส คล้ายก๊าชหุงต้ม มีคุณสมบัติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถนำไปใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ใช้ใน เกษตรกรรม โดยปราศจากควันดำอีกด้วย

ผศ.ดร.คณิตกล่าวว่า จุดประสงค์ที่ทำโครงการนี้ขึ้นมาเพราะต้องการจุดประกายให้เห็นว่า นอกจากไบโอดีเซล และแก๊สแอลพีจีแล้ว เรายังมีพลังงานทางเลือกอื่นอีกมาก หนึ่งในนั้นคือ เชื้อเพลิงชีวมวล ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ในอนาคตหากภาครัฐสนับสนุนพลังงานตัวนี้ จะทำให้ประเทศของเรา ลดการพึ่งพาน้ำมันได้อย่างมาก สำหรับคุณสมบัติของดีเอ็มอี ที่สำคัญคือ จุดติดไฟง่าย สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดเขม่า ปล่อยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจน ต่ำกว่าเชื้อเพลิงทั่วไป รวมทั้งไม่มีส่วนประกอบของกำมะถัน จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงการวิจัยดังกล่าว เป็นการเริ่มต้น กำลังอยู่ในขั้นตอนของการสาธิต แต่นับว่าเป็นการทดลองใช้เชื้อเพลิงดีเอ็มอี กับเครื่องยนต์เกษตร เป็นครั้งแรกในภูมิภาคอาเซียน

ผู้สื่อข่าวถามถึงความคุ้มค่าของการลงทุน ผศ.ดร. คณิตกล่าวว่า หากเปรียบเทียบตามหลักเศรษฐศาสตร์ระหว่างการใช้ดีเอ็มอีและน้ำมันดีเซล พบว่า ดีเอ็มอียังมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนแก๊สสังเคราะห์สูง ขึ้นอยู่กับต้นทุนวัตถุดิบ หากใช้วัตถุดิบราคาถูก และพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ด้วยการสนับสนุนให้มีการใช้มากขึ้น จะทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าน้ำมันดีเซลได้ นอกจากนี้ ในเชิงคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การใช้ดีเอ็มอีน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าดีเซล เพราะไม่มีมลพิษทางสิ่งแวดล้อม

ผศ.ดร.คณิตยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีหลายประเทศ ให้ความสนใจพลังงานชนิดนี้อย่างมาก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน เป็นต้น คาดว่าในอนาคตหากผู้ ประกอบการด้านเครื่องยนต์และยานพาหนะต่างๆ จะผลิตเทคโนโลยีที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้โดยเฉพาะ เชื่อว่าดีเอ็มอี จะเป็นทางเลือกที่สำคัญอันดับต้นๆ ที่จะมาทดแทนน้ำมันดีเซลในอนาคต เพราะเรื่องพลังงานทดแทน ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับคนไทย และน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับภาวะราคาน้ำมันแพงในปัจจุบัน ผู้สนใจพลังงานทดแทน ดีเอ็มอี สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทร. 0-2218-6337 หรือที่ 08-5239 - 8400, 08-6334-1894

 Smiley ที่มา : ปีที่ 59 ฉบับที่ 18314 วันพฤหัสบดี ที่ 13 มีนาคม 2551 โดย ไทยรัฐออนไลน์
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 10:53:54 AM »

เฉพาะการเกษตรอย่างเดียวหรือครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า

วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 11:05:48 AM »

 Smiley ไดเมทิลอีเทอร์ หรือดีเอ็มอี มีสูตรเคมีคือ CH3OCH3 มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น สามารถทำให้เป็นของเหลวได้เมื่อถูกอัดภายใต้ความดัน ดังแสดงในรูป



- ปกติถูกใช้เป็นสารขับเคลื่อนในกระป๋องสเปรและสารทำความเย็นทดแทนการใช้สารฟรีออนหรือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ดีเอ็มอีสามารถจุดติดไฟได้ จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ทดแทนแก๊สปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากมีสมบัติทางกายภาพคล้ายแก๊สปิโตรเลียมเหลว ดังแสดงในรูป



และยังสามารถนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในเครื่องกังหันแก๊ส นอกจากนั้นยังมีค่าซีเทนสูง ประมาณ 55 เมื่อเผาไหม้จะสามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่เกิดเขม่า ปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนต่ำกว่าเชื้อเพลิงทั่วไปและไม่มีส่วนประกอบของกำทะถันจึงไม่ก่อให้เกิดแก๊สซัวเฟอร์ไดออกไซด์ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ดีเซลในรถบรรทุกได้ ดังแสดงในรูป



ยังมีการคาดการณ์ว่าจะสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในเซลล์เชื้อเพลิงได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์และสลายตัวได้เองในบรรยากาศ ดังนั้นดีเอ็มอีจึงได้รับการยอมรับว่าเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกแห่งศตวรรษที่ 21 เลยทีเดียว สมบัติต่างๆของดีเอ็มอีเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆแสดงในตาราง



กระบวนการผลิตดีเอ็มอีแบบดั้งเดิมจะใช้เมทานอลเป็นวัตถุดิบในการผลิตโดยทำปฏิกิริยาดึงน้ำออก หรือปฏิกิริยาดีไฮเดรชัน บนตัวเร่งปฏิกิริยาที่เป็นกรด เช่น แกมมาอลูมินา ซีโอไลท์ ในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง ที่อุณหภูมิ 280 องศาเซลเซียสโดยประมาณและความดันบรรยากาศ เป็นต้น อย่างไรก็ตามค่าการเปลี่ยนและค่าการเลือกเกิดอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งต้นทุนยังขึ้นกับราคาของเมทานอลอีกด้วย



กระบวนการที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ การผลิตดีเอ็มอีโดยตรงจากแก๊สสังเคราะห์ (CO:H2 = 1:1) ผ่านกระบวนการความร้อนเคมี ในเครื่องปฏิกรณ์ slurry บนตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ของทองแดง สังกะสี และอลูมิเนียม ที่อุณหภูมิ 260 องศาเซลเซียส และความดัน 30 บรรยากาศ มีค่าการเปลี่ยนของปก๊สสังเคราะห์สูงถึงร้อยละ 40 และค่าการเลือกเกิดดีเอ็มอีร้อยละ 90



เมื่อเปรียบเทียบในเศรษฐศาสตร์ระหว่างการใช้ดีเอ็มอี และน้ำมันดีเซล พบว่าดีเอ็มอียังคงมีต้นทุนที่สูงกว่าน้ำมันดีเซลอยู่มากเนื่องจากความซับซ้อนในการผลิตและต้นทุนของแก๊สสังเคราะห์ อย่างไรก็ตามหากเราพิจรณาในเชิงคุณภาพชีวิต หรือสิ่งแวดล้อมนั้นจะเห็นว่าการใช้ดีเอ็มอีน่าจะมีราคาที่ถูกกว่าการใช้น้ำมันเซล ซึ่งในขณะนี้มีหลายประเทศกำลังให้ความสนใจอย่างมาก เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เป็นต้น


โรงงานต้นแบบที่มีกำลังผลิต 100 ตันต่อวัน ของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศต่างๆ เหล่านี้กำลังพัฒนากระบวนการผลิตและจัดสร้างโรงงานผลิต เพื่อลดต้นทุนของดีเอ็มอี ในประเทศไทยชื่อของดีเอ็มอียังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนัก มีเพียงนักวิจัยบางกลุ่มในสถาบันอุดมศึกษาเท่านั้นที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตดีเอ็มอีและการทดสอบการใช้ดีเอ็มอีเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ดีเซล ยังไม่มีหน่วยงานรัฐ หรือเอกชนให้ความสนใจมากนัก

บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 11:14:32 AM »

เฉพาะการเกษตรอย่างเดียวหรือครับ หัวเราะร่าน้ำตาริน

 Smiley ต่างประเทศเริ่มมีการทดลองให้ใช้กับรถยนต์แล้วครับ เมืองไทยเรายังอยู่ในห้องวิจัย รอรัฐบาลชำเรืองตามาดู คงต้องเรื่องรัฐธรรมนูญเสร็จก่อนมั๊งครับ  บู่
บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
BADBOY
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2008, 11:22:47 AM »

ถ้าใช้ได้กับรถยนต์ที่เราใช้กันได้อยู่ทุกวันนี้ก็ดีสิครับ.... เยี่ยม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 21 คำสั่ง