เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 13, 2024, 05:24:34 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลังงานเชื้อเพลิงในไทย(ข้อมูลผู้ถือหุ้นในธุรกิจพลังงาน)  (อ่าน 6590 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 02:58:42 PM »

 อ้างอิงมาจาก http://www.gasthai.com/boardgas/html/39346.html

เอามาฝากให้อ่านครับ   พออ่านจบ เเล้วจะรู้สึกเศร้าใจ

จากรายการตาสว่าง มีการพูดถึงราคาน้ำมันจากผู้ที่เคยทำงานเกี่ยวกับพลังงาน มีข้อความหนึ่งพูดว่า ที่ราคาน้ำมันแพงเป็นเพราะ ไม่มีคนเข้าไปดูแล เนื่องจากมีผลประโยชน์ทับซ้อน

ปตท ให้ข่าวว่า น้ำมันแพงขึ้น โปรดช่วยเสนอ ข้อเท็จจริงเพื่อมิให้ประชาชนถูกหมกเม็ด ตบตา หรือ โกงราคาน้ำมัน ปี พศ 2549 บริษัทไทยออยล์ ซื้อน้ำมัน ดิบ จากตะวันนอกกลาง เช่น ดูไบ หรือโอมานส่วนใหญ่ หนึ่งในสี่ ของน้ำมันดิบ ขุดจากประเทศไทย ไม่ได้ซื้อจากเวสต์เท็กซัส แต่ชอบอ้างราคาที่เวสต์เท็กซัส เพราะราคาสูง อ้างเพื่อความชอบธรรมในการโกหกประชาชนเพื่อขึ้นราคา โกยกำไร ให้นายทุนเอกชน อีก สามสิบถึงสี่สิบ% ที่ถือหุ้นปตท.ไม่ใช่เข้าหลวง หมดทุกบาททุกสตางค์

โดย คิดที่ หนึ่งดอลลาร์ สหรัฐ มีค่า เท่ากับ 34.34 บาท และ หนึ่งบาเรลล์ เท่ากับ 160 ลิตร
ราคาน้ำมันขึ้น หนึ่งดอลล่าร์ จะเท่ากับเงินไทย 21 สตางค์ ต่อลิตร โดย คิดที่ 34.34 บาทต่อดอลล่าร์

เราจะเห็น ว่า ราคาน้ำมันดิบ ดูไบ โอมาน ที่ประเทสไทยซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่นี่ อยู่ที่ 16-17 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิล สำเร็จรูปที่ สิงคโปร์ 20 บาท ต่อลิตร ถูกกว่าเมืองไทย สิบบาท ปตท ร่วมกับรัฐบาลก่อน ๆ ออกกฎหมาย และระเบียบให้ตนเอง ตั้งราคาได้ตามใจฉัน โดยอ้างราคากลไกตลาด แต่ตัวเองโกยกำไรเข้ากระเป๋า ปีละเกือบแสนล้าน ที่มีเอกชนถือหุ้นเกือบ 40 %

เงินเหล่านี้ ขูดรีดมาจากประชาชน และสื่อมวลชน ที่ตามไม่ค่อยจะทันเกมส์ เพราะมัว แต่รายงานราคาน้ำมันจาก ที่แพงๆ แต่ไม่เคยรายงานว่า โรงกลั่นกอบโกยกำไรค่าการกลั่นแต่ ละลิตรเท่าไร กำไรไปเท่าไร ซึ่งเท่ากับร่วมตบตาประชาชน เท่ากับสมรู้ร่วมคิดขูดรีดประชาชน ซึ่ง สื่อมวลชนก็ควรจะตามให้ทันเกมส์ และ อย่าร่วมกันซ้ำเติมความทุกข์ยากของประชาชน และความเดือดร้อนของประชาชาติ โปรดพิจารณา เวลาออกข่าวสู่ สาธารณะ ช่วยกันรักษาชาติบ้านเมือง และ บรรเทาความเดือดร้อนคนในชาติ ด้วยกัน

ให้ทุกท่านสังเกต ทำไมถึงไม่รายงาน เป็นบาทต่อลิตร และ ทำไมถึง ไม่รายงาน ค่าการกลั่นว่าโรงกลั่น กำไรเท่าไร แต่บอกเพียงว่า ค่าการตลาด คือราคา หน้า ปัมพ์น้ำมัน กำไร 40 สตางค์ ต่อลิตร เท่ากับการหมกเม็ดประชาชน เพื่อมิให้ประชาชนลุกขึ้น มาต่อต้าน การขึ้นราคาน้ำมัน และน้ำมันดิบหนึ่งลิตร สามารถ ผลิต (กลั่น ) ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงอื่นๆได้กว่าสิบชนิด เช่นเบนซิน ดีเซลล์ น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน ยางมะตอย ก๊าซ ฯลฯ แต่ละตัวก็คิดค่าการผลิต หรือค่าการกลั่นทุกตัว ทั้งๆที่มาจาก กระบวนการกลั่น หรือผลิต ทีเดียว

ขอเรียกร้องสื่อมวลชน แสดงความมีจริยะธรรม ความรู้ทันเกมส์ และความกล้าหาญ อย่ามัวแต่โทษนักการเมือง หรือคนนั้นคนนี้ พวกเราทุกฝ่ายต้องหันมาดูตนเองว่าได้ร่วมทำร้ายประเทศชาติไหม จะด้วยความตามไม่ทันเกมส์ หรือ สมรู้ร่วมคิดไม่อาจจะทราบได้ ที่เขียนมานี้อยากให้ท่านสื่อมวลชนบางสื่อรู้ตัวด้วยค่ะ โดยเฉพาะ ช่องเก้า

(พูดตรงๆ อย่าโกรธกัน เพราะเห็นชอบรายงานราคาน้ำมันที่เวสต์เท็กซัส ทั้งๆที่ เราไม่ได้ซื้อจากที่นั่น และราคาน้ำมันวันนี้จะมาถึงเมืองไทยก็ อีก 45 วัน เพราะต้องใช้เวลาขนส่ง เพรา ฉะนั้นราคาน้ำมันวันนี้ คือต้นทุนเมื่อ 45 วันก่อน ขอความกรุณาเสนอข้อเท็จจริงสู่ ประชาชน เพื่อช่วยกันบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน เพราะน้ำมันมีผลต่อสินค้า และบริการ ทุกตัว ความเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า)
ตัวอย่าง 4 ใน 6 รายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท มากสุดซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น

1. นายทวีฉัตร จุฬารกูร – หลานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เลขาธิการพรรคไทยรักไทย) 2.2ล้านหุ้น

2. นายประยุทธ มหากิจศิริ – กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 2ล้านหุ้น

3. นายดิษฐพล ดำรงรัตน์ – ญาติ นพ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 1.7ล้านหุ้น

4. นายสุธี มีนชัยนันท์ – ญาตินายวิชาญ มีนชัยนันท์สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 3แสนหุ้น

จริงๆแล้ว 6 อันดับแรกนั้นได้หุ้นทั้งหมด 16 ล้านหุ้น มูลค่าขณะนั้นมีมูลค่าเพียง 385 ล้านบาท แต่2ปีถัดมามีมูลค่าถึง 1,377 ล้านบาทแล้ว ดูแค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่าทำไม ทรท ถึงอยากนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้นนัก แล้วนี่ก็คือเหตุผลที่นายยกไม่กล้าเผชิญหน้ากับกลุ่มประท้วง แบบนี้ไม่เรียกว่าขายชาติแล้วจะขายอะไรครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2008, 07:21:16 PM โดย ก็อต » บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 03:01:51 PM »

ผมไม่ได้ต้องการโจมตีใครนะครับ ถ้าไม่สมควรอย่างไร ลบกระทู้นี้ได้ทันที
ครับ

บันทึกการเข้า
๏แก้วเดียวจุก๏รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 381
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2086



« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 03:35:04 PM »

เรื่องตัวเลขผมไม่แน่ใจนักนะครับ ว่ามีการคิดซ้ำซ้อนจริงหรือเปล่า
   แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากได้คืนมาเป็นของประชาชนครับ
   ถ้าใครตั้งชมรมทวงคืน ปตท.เนี่ย ขอสมัครด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า



สิ้นสุดด้วยความเจ็บปวด ดีกว่าเจ็บปวดไม่สิ้นสุด
Chayanin-We love the king
ฟ้าสว่างสดใสไร้มลทิน เพียงเมฆินบังเบียดเสนียดฟ้า แกว่งยางยูงปัดป้องท้องนภา ผู้แก่กล้าโปรดอย่าว่าตัวข้าเลย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2610



« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 03:47:32 PM »

Audited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3)                                 
               (Audited Yearly F/S and Consolidated F/S (F45-3))               
        Reports: Audited yearly and consolidated statements as follows.         
                        Name PTT PUBLIC COMPANY LIMITED                         
                                                                               
                                             Audited                           
                                           (In thousands)                       
                                   Ending   31 December                         
  The Consolidated Financial Statement                                         
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)            97,803,594      95,582,192                 
        EPS (baht)                        34.82           34.14                 
                                                                               
                                                                               
  The Company Financial Statement                                               
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)            63,226,200      64,875,597                 
        EPS (baht)                        22.51           23.17                 
                                                                               
     Auditors Opinion:                                                         
        Unqualified Opinion with an emphasis of matters                         
                                                                               
                                                                               
   Comment: 1. Please see details in financial statements, auditor's report     
            and remarks from SET SMART                                         
                                                                               
      "The company hereby certifies that the information above is correct       
       and complete. In addition, the company has already reported and         
       disseminated its financial statements in full via the SET Electronic     
       Listed Company Information Disclosure (ELCID), and has also submitted   
       the original report to the Securities and Exchange Commission."         
                                                                               
                         Signature ___________________________                 
                                      ( Prasert Bunsumpun )                     
                         Position Chief Executive Officer & President           
                                                                               
                         Authorized to sign on behalf of the company       
บันทึกการเข้า

ไม่อยากเป็นมะเร็ง   ก็ใช่ว่าต้องเป็นโรคหัวใจ
สุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ยาก
สุขภาพที่ดีของประเทศไทย   อยู่ที่สภาวะปราศจากโรคร้าย
ไม่ใช่อยู่ที่ต้องเลือกระหว่าง  มะเร็ง  กับ โรคหัวใจ
Chayanin-We love the king
ฟ้าสว่างสดใสไร้มลทิน เพียงเมฆินบังเบียดเสนียดฟ้า แกว่งยางยูงปัดป้องท้องนภา ผู้แก่กล้าโปรดอย่าว่าตัวข้าเลย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2610



« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 03:52:15 PM »

ไทยออยล์ Grin
Audited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3)                                 
               (Audited Yearly F/S and Consolidated F/S (F45-3))               
        Reports: Audited yearly and consolidated statements as follows.         
                        Name THAI OIL PUBLIC COMPANY LIMITED                   
                                                                               
                                             Audited                           
                                           (In thousands)                       
                                   Ending   31 December                         
  The Consolidated Financial Statement                                         
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                19,175,629     17,659,029             
        EPS (baht)                       9.40           8.66                   
                                                                               
                                                                               
  The Company Financial Statement                                               
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                17,864,193     10,144,980             
        EPS (baht)                       8.76           4.97                   
                                                                               
     Auditors Opinion:                                                         
        Unqualified Opinion with an emphasis of matters                         
                                                                               
                                                                               
   Comment: 1. Please see details in financial statements, auditor's report     
            and remarks from SET SMART                                         
                                                                               
      "The company hereby certifies that the information above is correct       
       and complete. In addition, the company has already reported and         
       disseminated its financial statements in full via the SET Electronic     
       Listed Company Information Disclosure (ELCID), and has also submitted   
       the original report to the Securities and Exchange Commission."         
                                                                               
                           Signature ___________________________               
                                    ( Viroj Mavichak )                         
                           Position   Managing Director                         
                         Authorized to sign on behalf of the company         
*******
pttar Wink
Unaudited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3)                               
             (Unaudited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3))               
   Reports: Unaudited yearly and consolidated statements as follows.           
   Name: PTT AROMATICS AND REFINING PUBLIC COMPANY LIMITED                     
                                                                               
                  Pro Forma Consolidated Financial Information                 
                                                                               
                                                            Unaudited           
                                                          (In thousands)       
                                                       Ending 31 December       
                                                                               
The Consolidated Financial Statement                                           
                                       For year               For year         
        Year                            2007                   2006             
                                                                               
   Net profit (loss)               18,018,422               13,248,450         
   EPS (baht)                            6.08                     4.68         
                                                                               
                                                                               
                                                                               
Comment: Please see details in financial statements from SET SMART             
                                                                               
"The company hereby certifies that the information above is correct and         
complete."                                                                     
                                                                               
                                                                               
                                                                               
               Signature ___________________________                           
                         (Mrs. Nitima Thepvanangkul)                           
    Position Executive Vice President - Corporate Finance and Accounting       
                                                                               
               Authorized to sign on behalf of the company                     
                                                                               
*******
Audited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3)                                 
               (Audited Yearly F/S and Consolidated F/S (F45-3))               
        Reports: Audited yearly and consolidated statements as follows.         
                        Name PTT CHEMICAL PUBLIC COMPANY LIMITED               
                                                                               
                                             Audited                           
                                           (In thousands)                       
                                   Ending   31 December                         
  The Consolidated Financial Statement                                         
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                19,167,219     18,282,193             
        EPS (baht)                       12.85             15.75               
                                                                               
                                                                               
  The Company Financial Statement                                               
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                14,736,151     16,920,587             
        EPS (baht)                       9.88             14.58                 
                                                                               
     Auditors Opinion:                                                         
        Unqualified Opinion                                                     
                                                                               
                                                                               
   Comment: 1. Please see details in financial statements, auditor's report     
            and remarks from SET SMART                                         
                                                                               
      "The company hereby certifies that the information above is correct       
       and complete. In addition, the company has already reported and         
       disseminated its financial statements in full via the SET Electronic     
       Listed Company Information Disclosure (ELCID), and has also submitted   
       the original report to the Securities and Exchange Commission."         
                                                                               
                           Signature ___________________________               
                                       ( Ms. Panada Kanokwat )                 
                           Position Senior Executive Vice President - Finance   
& Accounting                                                                   
                                                                               
                         Authorized to sign on behalf of the company       
**********
pttep Shocked
Audited Yearly F/S And Consolidated F/S (F45-3)                                 
               (Audited Yearly F/S and Consolidated F/S (F45-3))               
        Reports: Audited yearly and consolidated statements as follows.         
                        Name PTT EXPLORATION AND PRODUCTION PUBLIC COMPANY     
LIMITED                                                                         
                                                                               
                                             Audited                           
                                           (In thousands)                       
                                   Ending   31 December                         
  The Consolidated Financial Statement                                         
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                28,455,390     28,047,271             
        EPS (baht)                         8.65           8.55                 
                                                                               
                                                                               
  The Company Financial Statement                                               
                                             For year                           
                Year                       2007            2006                 
                                                                               
        Net profit (loss)                19,754,970     20,620,463             
        EPS (baht)                         6.00            6.29                 
                                                                               
     Auditors Opinion:                                                         
        Unqualified Opinion with an emphasis of matters                         
                                                                               
                                                                               
   Comment: 1. Please see details in financial statements, auditor's report     
            and remarks from SET SMART                                         
                                                                               
      "The company hereby certifies that the information above is correct       
       and complete. In addition, the company has already reported and         
       disseminated its financial statements in full via the SET Electronic     
       Listed Company Information Disclosure (ELCID), and has also submitted   
       the original report to the Securities and Exchange Commission."         
                                                                               
                                                                               
                                                                               
                           Signature ___Maroot Mrigadat________________________
                                                                               
                                      ( Maroot Mrigadat )                       
                                 Position President                             
                                                                               
                         Authorized to sign on behalf of the company           
                                                                               
เอาเท่านี้ก่อนเป็นตัวอย่าง Wink

บันทึกการเข้า

ไม่อยากเป็นมะเร็ง   ก็ใช่ว่าต้องเป็นโรคหัวใจ
สุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ยาก
สุขภาพที่ดีของประเทศไทย   อยู่ที่สภาวะปราศจากโรคร้าย
ไม่ใช่อยู่ที่ต้องเลือกระหว่าง  มะเร็ง  กับ โรคหัวใจ
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 04:25:39 PM »

ขอบคุณครับChayanin ในข้อมูล
บันทึกการเข้า
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 04:51:15 PM »

เรื่องตัวเลขผมไม่แน่ใจนักนะครับ ว่ามีการคิดซ้ำซ้อนจริงหรือเปล่า
   แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากได้คืนมาเป็นของประชาชนครับ
   ถ้าใครตั้งชมรมทวงคืน ปตท.เนี่ย ขอสมัครด้วยนะครับ
ด้วยคน
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
ARMSCOR
Sr. Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 590


« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 05:20:10 PM »

   ราคาน้ำมันในประเทศไทยถูกที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับประเทศที่ไม่ได้มีแหล่งน้ำมันเป็นของตนเอง  ไม่มีประเทศไหนในโลกที่พยายามทำให้ราคาน้ำมันในประเทศของตนราคาถูกผิดปกติ  รัฐบาลไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพยายามทำให้ราคาน้ำมันในประเทศถูกผิดปกติ ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันเยอะมากโดยไม่จำเป็น เราต้องขายสินค้าเกษตรจำนวนมหาศาลเพื่อไปแลกกับน้ำมัน คนไทยใช้น้ำมันเยอะมากเมื่อเทียบกับเศษฐกิจของประเทศไทย  ถ้าสงสัยว่าราคาน้ำมันในประเทศไทยถูกหรือแพงเกินไปต้องลองไปคุยกับนักเศรษฐศาสตร์มหภาคดู 
บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 05:39:21 PM »

พอ เเปรสภาพ ผลกำไรบางส่วน ตกอยู่เพียงกลุ่มคนบางกลุ่ม
ผมอยากให้ ผลกำไรส่วนนั้น อย่างน้อยได้กับมาทำประโยชน์
ต่อประชาชนผู้ที่เสียภาษี
รวมทั้งกลุ่มที่ไม่เสียภาษี เเต่มีสิทธเลือกตั้ง(รวมไปถึงหลบหลีก)  หัวเราะร่าน้ำตาริน



บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:28:10 PM »

เอามาให้อ่านครับ อ้างอิงจาก  http://www.thaingo.org/webboard/view.php?id=591

ทำไมเราไม่ร่วมกันคัดค้านการนำรัฐวิสาหกิจของประชาชน ไปขายให้นักลงทุนเพียงไม่กี่พัน
ผู้บริหารระดับสูงของประเทศ ไม่ว่า นักการเมืองข้าราชการประจำทุกฝ่าย พนักงานรัฐวิสาหกิจ ล้วนแต่เป็นกุญแจสำคัญในการบริหาร และพัฒนาชาติบ้านเมือง ท่านเหล่านั้นจำต้องเข้าใจการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน ประพฤติปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมืองและประชาชน ในทางตรงกันข้าม หากผู้บริหารระดับสูง รู้จักการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินน้อย กระทำในสิ่งที่ไม่ดีอยู่เสมอๆ จะเป็นผลกระทบกับการเมือง การเศรษฐกิจ สังคม และความมั่งคงของชาติที่จะลดน้อยถอยลงตามไปด้วย อันจะนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมและการบั่นทอนพลังของชาติในที่สุด ปัจจุบันนี้ ก็พอมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่

\\\"ASK NOT WHAT YOUR COUNTRY CAN DO FOR YOU.
ASK WHAT YOU CAN DO FOR YOUR COUNTRY\\\"

แปลเป็นไทยว่า \\\"อย่าถามว่าประเทศจะทำอะไรให้แก่ท่าน จงถามว่า ท่านจะทำอะไรให้แก่ประเทศได้บ้าง \\\"
เป็นสุนทรพจน์ที่ไพเราะจับใจ สั้นแต่มีความหมายลึกซึ้งกว้างไกล ทำให้ผมรู้สึกว่าคนอเมริกันเขาก็เข้าใจและรู้จักตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเหมือนกันมีประโยคภาษาอังกฤษอีกประโยคหนึ่ง ผมขอยกมาให้ฟัง เพื่อประเทืองปัญญา โดยมิได้เจตนาจะตำหนิเข้าพูดว่า

\\\" A STATESMAN THINKS HE BELONGS TO THE NATION,

BUT A POLITICIAN THINKS THE NATION BELONGS TO HIM\\\"

ประโยคนี้ข้อเว้นไม่แปล ผมมั่นใจว่า คนไทยทุกคนเข้าใจคำว่า บุญคุณ และประสงค์จะตอบแทนบุญคุณแผ่นดินด้วยกันทุกคน แต่ทำในระดับต่างกัน ขนาดต่างกัน ด้วยความแน่วแน่ต่างกันฉะนั้น บางคนก็เป็นคนดีมาก บางคนก็เป็นคนดีน้อย บางคนก็เป็นคนไม่ดี เรื่องของการทำความดีเพื่อตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน มีคำที่พวกเราทั้งหลาย น่าจะให้ความสนใจอยู่ 2 คำ \\\"แรงจูงใจ กับ แรงบันดาลใจ\\\" อธิบายสั้นๆ ได้ดังนี้ แรงจูงใจ คือการให้สิ่งล่อใจเพื่อให้เกิดสนใจที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การลดหรืองดภาษีอากรนำเข้า ส่งออกของผลิตภัณฑ์เช่นนี้ขณะนี้ คณะกรรมส่งเสริมการลงทุนปฏิบัติอยู่เพื่อจูงใจให้คนมาลงทุน เป็นต้น แต่แรงบันดาลใจคือ สิ่งซึ่งเกิดขึ้นเองในใจของเรา ด้วยความสำนึกของตนเองหรือเห็นการปฏิบัติที่เป็นตัวอย่างที่ดีของผู้อื่น แล้วเกิดความประทับใจ เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำตามโดยไม่ต้องมิสิ่งล่อใจ สิ่งจูงใจ ถ้าพวกเราท่านใด ยังไม่มีแรงบันดาลใจ หรือมีแต่น้อย ผมขอเชิญชวน ให้ดูตัวอย่างจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ทรงคิด ทรงแนะนำ ทรงทำทุกอย่างเพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ และยกระดับความอยู่ดีกินดีของราษฎร เป็นเวลาต่อเนื่องกันนานกว่า 50 ปีมาแล้ว โดยไม่เคยทรงบ่นว่า เหน็ดเหนื่อย ลำบาก ข้อความ \\\"เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน\\\" ผมคิดขึ้นได้ ก็เพราะได้รับแรงบันดาลใจ จากล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ผมจึงไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ไม่รู้สึกว่ายากลำบาก ในการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินแม้แต่น้อย

จึงขอเชิญชวนให้พวกเรา ได้ช่วยกันทำประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่างอย่างเต็มกำลัง และสม่ำเสมอผมขอตั้งความหวังไว้ว่า คนไทยจะเข้าใจสนใจ และทำตามเพื่อชาติบ้านเมืองของเรา ชาติบ้านเมืองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ใครก็ตาม แม้เพียงจะคิดจะยึดถือเป็นของตนเองหรือของพรรคพวกของตนเอง เพื่อประโยชน์อันไม่ชอบธรรมต่อตนเองหรือต่อพรรคพวกของตนเอง จะพบกับความหายนะในที่สุด ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ดี ต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนต้องรู้จักการปิดทองหลังพระ ต้องรู้ว่า ประโยชน์ชองชาติบ้านเมือง คือสิ่งที่คนในชาติต้องการ ต้องรู้จักการตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน พระสยามเทวาธิราช จะปกป้องคุ้มครองคนดีของชาติบ้านเมืองเสมอและสาปแช่งคนไม่ดีให้มีอันตกทุกข์ได้ยากแสนสาหัสตลอดชีวิต

บทความทั้งหมดนี้ สรุปได้ว่า

ขอให้คนไทยทุกคนตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยการประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีเป็นตัวอย่างที่ดี มุ่งกระทำแต่ความดี เพื่อประโยชน์ของแผ่นดิน หวังว่าพวกเราทุกคน คนไทยทุกคน จะพร้อมเพรียงกันตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน

**************************************************************************************

คำปราศัยของ นายกฯ เกี่ยวกับการยกเลิก พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ และออกกฎหมายใหม่ว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ ครับ

\"หนึ่งคือกฎหมายรัฐวิสาหกิจครับ เมื่อก่อนนี้เราต้องขายรัฐวิสาหกิจเอาเงินมาใช้หนี้ วันนี้ ไม่ใช่ครับ เราจะกระจายหุ้นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายการลงทุน เพื่อให้เกิดการบริหารงานอย่างมืออาชีพ เพื่อเกิดการตรวจสอบได้ทุกระบบ ซึ่งตรวจสอบจากระบบของตลาดทุน และตรวจสอบด้วยระบบของราชการเอง นะครับ ตรวจสอบด้วยระบบของผู้ถือหุ้นเอง เพราะฉะนั้น รัฐวิสาหกิจไทยเราจะเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลนี้ ได้ใช้มาตรการนี้บางส่วนแล้ว และก็ใช้เรื่องของการรายงานระบบการตรวจสอบมากขึ้นแล้ว ทำให้รายได้ของรัฐวิสาหกิจ เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่มาเป็นรัฐบาล นะครับ ถ้าหากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดต้องไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจเหล่านี้จะบริหารแบบมืออาชีพและจะเข้มแข็งและแข็งแรงมากขึ้น ไม่ ได้ เป็น การ ไป ขาย เพื่อไปใช้หนี้ เพราะ ว่า เรา ไม่ จำ เป็น อีกแล้ว ที่จะต้องขายเพื่อใช้หนี้ เพราะวันนี้เราหมดพันธะกรณีตรงนี้ เราจึงจะมีการแก้กฎหมาย เอ่อ ทุนรัฐวิสาหกิจ โดยยกเลิกและจะทำกฎหมายฉบับใหม่คือ กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงและพัฒนารัฐวิสาหกิจแห่งชาติ เพื่อการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการ หรือส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการของรัฐครับ...\"


*****************************************************

............ฟังดูดีนะครับ น่าเชื่อถือมากครับ........
1.เพื่อปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรธุรกิจ
2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริหารจัดการ
3.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ

............ยอมรับ กับเหตุผลข้อ 1 และ 2 นะครับ ว่ารัฐวิสาหกิจอ่อนแอตรง 2 จุดนี้จริงๆ ...แต่ผมเชื่อว่าเราสามารถแก้ไขได้ ด้วยการปรับปรุงภายในองค์กรอย่างจริงจัง เอาคนของรัฐบาลเข้ามาเป็นกรรมการในการควบคุมตรวจสอบอย่างเคร่ง จัดโครงสร้างกันใหม่ ใครไม่ดี ไม่ทำงาน เบี้ยวงาน เอาออก ซึ่งน่าจะยอมรับกันได้ เพราะเมื่อไม่ทำงาน ก็ไม่ควรเอาไว้ ใครที่ไม่มีงานเพราะระบบ ก็แก้ระบบ โอนย้ายไปทำงานในที่ๆ ขาด ...งานไม่พอ ก็เพิ่มงานจากผลผลิตพลอยได้ที่เกิดจากการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ หรือเพิ่มงานจากลู่ทางและศักยภาพของระบบของรัฐวิสาหกิจ...ใครไม่พร้อมจะปรับ ไม่พร้อมจะพัฒนาตัวเอง ไม่พร้อมจะมาตรงเวลา กลับตรงเวลา ใช้ระบบคีย์การ์ดฺควบคุม บันทึกการเข้าออก เหมือนใน ปตท. ใช้ระบบประเมินผลงานอย่างเคร่งครัด....ใครไม่ดีเพราะตัวเองเอาออก..ไม่ดีเพราะระบบ ก็แก้ที่ระบบ ...จัดทำระบบการซื้อ จ้าง จัดหา พัสดุ กันใหม่ อย่าให้เกิดการทุจริตจากการบริหาร และการใช้พัสดุอย่างไม่มีประสิทธิภาพ...ทำกันอย่างจริงจัง มีคณะกรรมการตรวจสอบ ปรับปรุง...จัดโครงสร้างและการบริหารทุกอย่าง รวมทั้งระเบียบปฏิบัติ บทลงโทษ และการเอาจริงเอาจังกับการลงโทษ อย่างเป็นธรรม....แล้วส่งรายงานให้รัฐบาลทุก 3 - 6 เดือน..........ยอมรับกันได้ไหมครับ......

สำหรับข้อ 3. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ อยากทราบว่ามีประชาชน ตาสี ตาสา กี่คนครับที่มีโอกาสไปซื้อหุ้น...แค่ประชาชนที่ไม่ได้ทำงานในรัฐวิสาหกิจ ก็แทบจะไม่มีสิทธิแล้วครับ อย่าว่าถึงกับตาสีตาสาเลยครับ ...ลองมาดูข้อมูลการถือหุ้น ปตท. เมื่อเข้าตลาดกันอีกครั้งนะครับ อยากให้ลองดูข้อมูลการถือหุ้นรัฐวิสาหกิจ ปตท. ต่อไปนี้สักนิดครับ ว่า เพื่อประชาชนคนใด กลุ่มใด

ตลาดหลักทรัพย์ฯ-ก๊วนนักการเมือง-เครือญาติ เริงร่า ตลาดหุ้นไทยเข้าสู่สภาวะ\\\"กระทิง\\\" ดันหุ้นปตท.พุ่ง 66 บาทฟันกำไรเละผลพวงจากปตท.เปิดจองซื้อหุ้นปลายปี44 แบบมีเงื่อนงำ เพียง 77 วินาทีขายเกลี่ยง
\\\"ทวีฉัตร จุฬางกูร\\\"หลานชายแท้ๆ\\\"สุริยะ รุ่งเรืองกิจ\\\" ได้หุ้นไป 2.1 ล้านหุ้นถึงวันนี้รับทรัพย์แล้ว 95 ล้านบาท
ในขณะที่\\\"ประยุทธมหากิจสิริ\\\"และเครือญาติได้หุ้นไป 5.1 ล้านหุ้น นั่งตีขิมรับเงิน 158 ล้าน
ส่วนคนตระกูลดังชักแถวรวยทั่วหน้าอานิสงส์ส่งหุ้นตระกลู\\\"ชินวัตร\\\" ทำกำไร 3 หมื่นล้าน จับตารัฐบาลปัดฝุ่นแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่งตัวเข้าตลาดฯ ช่วงขาขึ้น กฟผ.เสือปืนไวขยับหาบริษัทที่ปรึกษาทั้งไทย-เทศรุมตอมตรึม นักวิเคราะห์ หวั่นย้ำรอยจัดสรรหุ้นปตท.

จากการที่หุ้นไทยก้าวสู่สภาวะ\\\"กระทิง\\\" ส่งผลให้บรรยากาศการซื้อ-ขายในตลาดหุ้นมีความคึกคักเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มพลังงาน ที่มีหุ้นของปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นตัวชูโรง โดยราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างร้อนแรงจาก 47 บาท เมื่อต้นเดือนพ.ค. มายืนอยู่ที่ 66 บาท (เมื่อวันที่18มิ.ย.46) เพิ่มขึ้น 19 บาท และหากพิจารณานับตั้งแต่หุ้นปตท.มีการซื้อ-ขายด้วยราคาจองซื้อที่ 35 บาท และมาปิดซื้อขายที่ระดับ 66 บาท เพิ่มขึ้น 31 บาท นับว่าเป็นระดับ
สูงสุด นับตั้งแต่เข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ และยังมีแนวโน้มที่ราคาหุ้นจะทยานขึ้นไปอีก

หุ้นปตท.\\\"นักการเมือง-เครือญาติ\\\"กวาดเรียบ
อย่างไรก็ตามอาการลิงโลดของหุ้นปตท.ในครั้งนี้ หากย้อนหลังกลับไปดูข้อมูลในอดีต เมื่อครั้งที่หุ้นตัวนี้เข้าสู่ตลาด ซึ่ง\\\"สยามธุรกิจ\\\"ได้เสนอข่าวไป เมื่อฉบับที่ 376 ระหว่างวันที่ 24 ก.พ.- 2 มีนาคม 2545 พบว่ามีรายชื่อนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ตลอดจนเครือญาติได้รับการจัดสรรหุ้นกันทั่วหน้า และยิ่งกว่านั้นได้สร้างความอัศจรรย์ใจให้กับวงการตลาดหุ้นเมืองไทยเป็นอย่างมาก เมื่อหุ้นตัวนี้สามารถปิดการขายด้วยเวลาเพียง 77 วินาทีเท่านั้น

สำหรับรายชื่อนักลงทุนรายย่อยที่คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นำมาเปิดเผยล้วนแล้วแต่เป็นรายชื่อผู้ใกล้ชิดนักการเมืองซีกรัฐบาลได้รับการจัดสรรหุ้นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น นายทวีฉัตร จุฬางกูร หลานชายนายสุริยะ รุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้กำกับดูแลปตท.(ในขณะนั้น) ได้หุ้นไปถึง 2.1 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 35 บาท คิดเป็นเงินลงทุน 7.3 ล้านบาท และหากยังคงถือหุ้นจำนวนดังกล่าวไว้จนถึงวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้น
มายืนอยู่ที่ 66 บาท เมื่อหักลบต้นทุนในช่วงที่ซื้อครั้งแรกจะมีกำไรถึง 95 ล้านบาทเลยทีเดียว

เช่นเดียวกับกรณีของนายประยุทธ มหากิจสิริ รองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย(ในขณะนั้น)และเครือญาติ ที่ได้หุ้นปตท.รวมกันถึง 5.1 ล้านหุ้น และหากถือไว้จนถึงวันที่18 มิ.ย.ที่ผ่านมา เมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรถึง 158 ล้านบาท

คนตระกูลดังรับอานิสงส์ทั่วหน้า นอกจากนี้หากพิจารณารายชื่อนักลงทุนรายย่อยที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.กว่า 1 หมื่นคนในขณะนั้นจะพบว่ามีกลุ่มบุคคลที่มีนามสกุลเดียวกันได้รับการจัดสรรหุ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มบุคคลที่
มีชื่อเสียงและตระกูลดังทั้งสิ้น เช่น
\\"จิราธิวัตน์\\\" ได้หุ้นรวมกัน 9 แสนหุ้น เมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรถึง 27.9 ล้านบาท,
\\\"ตรีทอง\\\" ได้หุ้นรวมกัน 3 แสนหุ้น และเมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรถึง 9.3 ล้านบาท ,
\\\"นำศิริกุล\\\" ได้หุ้นรวมกัน 5 แสนหุ้น เมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรถึง 15.5 ล้านบาท ,
\\"ลีนะบรรจง\\\" ได้หุ้นรวมกัน 4 แสนหุ้น และเมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรถึง 12.4 ล้านบาท

ไม่เพียงเท่านั้นยังมีนักการเมืองและบุคคลใกล้ชิดนักการเมืองทั้งซีกรัฐบาลและฝ่ายค้านอีกหลายสิบคนที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้นอย่างทั่วถึง เช่น นายบุญชู ตรีทอง,นางนกน้อย นิมมานเหมินท์,นายเกษมรุ่งธนะเกียรติ , นายนิสสัย เวชชาชีวะ,นายกันตธีร์ ศุภมงคล,นายอานันท์ ปันยารชุน และนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น

กังขาเพียง 77 วินาทีขายเกลี่ยง

ทั้งนี้บุคคลในรัฐบาลที่รับผิดชอบการกระจายหุ้นปตท. (ในขณะนั้น) ไม่ว่าจะเป็น นายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง , นายสุริยะรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของปตท.ต่างออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหุ้นที่นำออกมาขายนั้นมีความโปร่งใส เพราะใช้วิธี\\\"แรนดอม\\\"หรือสุ่มจับใบจองด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อให้หุ้นกระจายสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยประชาชนหนึ่งคนสามารถจองซื้อได้มากกว่า1ใบจองใบจองละไม่เกิน 1 แสนหุ้น ซึ่งความต้องการหุ้นของประชาชนมีอย่างล้นหลาม โดยในวันเปิดจองซื้อหุ้นปตท.ใช้เวลาเพียง 77 วินาที ก็สามารถขายหุ้นได้หมด ซึ่งคำอธิบายของบุคคลเหล่านี้เป็นที่กังขาและคาใจประชาชน ตลอดจนคนในวงการตลาดหุ้นมาจนถึงทุกวันนี้

\\\"กระทิงดุ\\\"ส่งหุ้นตระกลู\\\"ชินวัตร\\\"รวย3หมื่นล.

อย่างไรก็ตามการที่ตลาดหุ้นเข้าสู่สภาวะ\\\"กระทิง\\\"เช่นนี้ ส่งผลทำให้หุ้นที่มีนักการเมืองและเครือญาติมีความเคลื่อนไหวกันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เดือนพ.ค.-18 มิ.ย.46 ไม่ว่าจะเป็น หุ้นแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ปรับตัวเพิ่มขึ้น จาก 45.25 บาท มาอยู่ที่ 54.50 บาท เพิ่มขึ้น 9.25 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง บริษัทชินวัตรคอร์ปอเรชั่นที่ถือหุ้นอยู่43.06% หรือ 1,263.71 ล้านหุ้น ฟันกำไรทันที 11,689.31 ล้านบาท , หุ้นไอทีวี ปรับตัวจาก 5.55 บาท และเคยขึ้นไปสูงสุดที่ 7.40 บาท ก่อนที่จะมาปิดที่ 8.20 บาท เพิ่มขึ้น 2.65 บาท ทำให้ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างชินวัตรคอร์ปอเรชั่น ที่ถือหุ้นอยู่ 55.53% หรือ 638.60 ล้านหุ้น กำไร 1,692.29 ล้านบาท

หุ้นชินวัตรแซทเทิลไลท์ ปรับตัวจาก 12.10 บาท มาปิดที่ 17.10 บาท เพิ่มขึ้น 5 บาท ทำให้ชินวัตรคอร์ปอเรชั่น ผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 37.09% หรือ 162.27 ล้านหุ้น มีกำไร 811.35 ล้านบาท, หุ้นชินวัตร คอร์ปอเรชั่น ที่ตระกูลชินวัตรถือหุ้นใหญ่ 39.44% หรือ 1,157 ล้านหุ้นราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14.50 บาท เป็น 18.60 บาท เพิ่มขึ้น 4.10 บาท กำไรทันที
4,743.70 ล้านบาท

ส่วนหุ้นธนาคารทหารไทยที่นายพานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถือหุ้นอยู่ 14.98% หรือ 301.23 ล้านหุ้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 3.86 บาท เป็น 5.20 บาท เพิ่มขึ้น 1.34 บาท ทำกำไร 403.64 ล้านบาท , หุ้นบีอีซี เวิลด์ หรือหุ้นช่อง 3 ของตระกูลมาลีนนท์ ที่ถือหุ้นใหญ่อยู่ 56.58% หรือ 107 ล้านหุ้นนั้น ราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 204 บาท เป็น 228 บาท เพิ่มขึ้น 24 บาท ทำให้ได้กำไรไปเนื้อๆ 2,568 ล้านบาท

ปลุกกระแสหุ้นปตท.ไต่ระดับ 90 บาท

แหล่งข่าวจากวงการวิเคราะห์หลักทรัพย์รายหนึ่งเปิดเผย\\\"สยามธุรกิจ\\\"ว่าก่อนหน้าที่ตลาดหุ้นไทยจะเข้าสู่สภาวะ\\\"กระทิง\\\"เพียง 1 สัปดาห์ ได้มีการกระแสข่าวเกี่ยวกับการฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทย โดยจุดพลุไปที่หุ้นกลุ่มพลังงานว่ามีทิศทางเติบโตและจะเป็นหุ้นที่มีกำลังซื้อจากนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเข้ามาเป็นจำนวนมากจนส่งผลให้หุ้นกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะหุ้นปตท.ดีดราคาขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และในช่วงที่หุ้นปทต.ไต่ระดับราคาขึ้นมานั้น ปรากฎว่ามีผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายรายในกลุ่มนักการเมืองและเครือญาติ ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้นทยอยเทขายออกมาเพื่อทำกำไรเป็นบางส่วน โดยเชื่อว่าราคาหุ้นของปตท.น่าจะทยานขึ้นไปยืนอยู่ที่ 80-90 บาทในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้นมีกำไรมหาศาลเพียงชั่วระยะเวลาปีเศษเท่านั้น

\\\"สาเหตุที่นักการเมืองและเครือญาติ ตลอดจนคนใกล้ชิดผู้มีอำนาจในการจัดสรรหุ้นปตท.ในครั้งนั้น ส่วนใหญ่ยังคงถือหุ้นไว้เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน เพราะได้หุ้นมาในราคา 10 บาท (ราคาพาร์) ไม่ใช้ราคาจองซื้อ 35 บาท ตามที่เข้าใจกัน จึงไม่กระตือรือล้นที่จะเทขายหุ้นเหล่านี้ออกมา เพราะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าชาวบ้าน ที่ต้องจ่ายเงินในราคาจองซื้อที่หุ้นละ 35 บาท ดังนั้นเมื่อมีต้นทุนหุ้นละ 10 บาท ในขณะที่หุ้นปตท.พุ่งมาอยู่ที่ 66 บาท จึงไม่ต้องบอกนะว่ากลุ่มคน
เหล่านี้จะมีกำไรมหาศาลเพียงใด\\\"


 
บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:29:29 PM »

จับตารัฐเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดฯ

อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าจับตามองว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นไทยมีความคึกคักเช่นนี้ อาจทำให้รัฐบาลหันมาปัดฝุ่นแผนงานแปรรูปรัฐวิสาหกิจและนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเดิมทีมีแผนทยอยนำรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างปี 2544-2546 ไม่ว่าจะเป็นบริษัทรวมทุนโทรคมนาคม , บริษัทโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) , บริษัทการสื่อสารโทรคมนาคม (กสท.) , โรงงานยาสูบ , การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (รวมบริษัทท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งใหม่) , ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำกัด , การท่าเรือแห่งประเทศไทย , ธนาคารออมสิน จำกัด , การประปานครหลวง , การประปาส่วนภูมิภาค ,การไฟฟ้านครหลวง , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นในช่วงปี 44 และ 45 ไม่เอื้ออำนวยทำให้แผนงานดังกล่าวต้องหยุดชะงักไปและเริ่มมีความเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงนี้เนื่องจากตลาดหุ้นไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะ\\\"กระทิง\\\" โดยเห็นได้จากการออกมาเปิดเผยของ นายสิทธิพร รัตโนภาส ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เกี่ยวกับความคืบหน้าในการเลือกที่ปรึกษาแปรรูปกฟผ.ว่าขณะนี้มีผู้ยื่นเสนอเข้ามาเป็นที่ปรึกษาแปรรูป กฟผ. จำนวน 16 ราย เป็นบริษัทใน
ประเทศ 6 รายและต่างประเทศ 10 ราย โดยคาดว่าจะเลือกบริษัทที่ปรึกษาของไทย 2 รายและต่างชาติ 2 ราย ส่วนขอบเขตการทำงานของที่ปรึกษาการเงินจะต้องศึกษาทั้งระบบ ตั้งแต่สัดส่วนการกระจายหุ้น ว่าควรจะเป็นเท่าใดเพื่อให้เหมาะสมกับตลาดหุ้นไทย เนื่องจากกฟผ.มีมาร์เกตแคปใหญ่ที่สุดถึง 3 แสนล้านบาท นอกจากนี้ที่ปรึกษายังต้องศึกษาโครงสร้างธุรกิจไฟฟ้าทั้งปัจจุบันและอนาคต ว่าควรจะดำเนินการอย่างไร ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ราคาหุ้นของกฟผ.เป็นที่สนใจของนักลงทุนอีกด้วย เพราะ กิจการของ กฟผ. ในปัจจุบันยังไม่น่าสนใจเท่ากับ บริษัทผลิตไฟฟ้า และโรงไฟฟ้าราชบุรี ดังนั้น ทางที่เป็นไปได้ที่สุดก็คือ บริษัท กฟผ. จะเข้าไปไล่ซื้อหุ้น EGCOMP และราชบุรี กลับมาให้มากที่สุดและเก็บไว้ เมื่อนักลงทุนซื้อไม่ได้ ก็หันมาซื้อ หุ้น กฟผ. แทน......

ดังนั้นใครที่ได้ประโยชน์ครับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ๆ ทั้งหลายนั่นเองครับ ที่จะได้เค้กชิ้นโต จากราคาหุ้นที่สูงขึ้นและเงินปันผลที่จะได้รับ นั่นเอง

เอาอย่างนี้ไหมครับ ออกกฎหมายห้ามนักการเมืองและเครือญาติ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด ห้ามถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ในช่วง 1 ปีแรก และใครจะซื้อหุ้น ไปซื้อได้ที่อำเภอ/เขตที่ตนอาศัยอยู่ ทุกคนห้ามถือหุ้นเกินคนละ 1,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท ห้ามขายรอรับปันผลอย่างเดียว หกหมื่นล้านบาท เท่ากับ กระจายให้ประชาชนครบทุกคนทั่วประเทศครับ ......อยากรู้จังว่า ถ้าใช้วิธีนี้ ใครอยากจะให้ กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์อีกบ้างครับ


ภายหลังประเทศไทยประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อประมาณกลางปี 2540 งบประมาณแผ่นดินและเงินทุนสำรองของประเทศได้หร่อยหรอลงไปเป็นอย่างมาก สถาบันการเงินและบริษัทเอกชนหลายแห่งต้องปิดตัวไปและในส่วนที่ยังเหลืออยู่ ก็ต้องอยู่ในสภาพที่รอแร่ รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกิจการของรัฐก็ตกอยู่ ในสภาพที่ไม่ต่างจากในส่วนของบริษัทเอกชนเท่าใดนัก เป็นเหตุให้รัฐบาล ต้องหาหนทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภาวะเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น และหนึ่งใน ยุทธศาสตร์แก้ปัญหาของรัฐบาลคือการจะนำรัฐวิสาหกิจของรัฐไปแปรรูป ซึ่งแนวคิดนี้มีทั้งในส่วนของเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านอย่างอื้ออึง

ทั้งนี้ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ?ประชาชนได้อะไรจากการแปรรูป รัฐวิสาหกิจ? ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ วุฒิสภา เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา นายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบันสหวรรษ ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการของภาคเอกชนที่ ไม่แสวงหาผลกำไรและไม่ผูกพันกับการเมือง มองว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ รัฐกำลังดำเนินการอยู่ เป็นการร่วมสมคบกันปล้นชาติของผู้มีอำนาจ 3 กลุ่ม หลัก คือ นักการเมือง ,ข้าราชการระดับสูงและนายทุนใหญ่ หรือเรียกว่ากลุ่ม สามเหลี่ยมทรราช ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างมหันต์ และยาวนาน เนื่องจากเป็นการเดินยุทธศาสตร์อย่างผิดพลาด ด้วยการนำกิจการ สาธารณูปโภค สาธารณูปการและธุรกิจผูกขาดที่เป็นหัวใจและเส้นเลือดใหญ่ ของระบบเศรษฐกิจและการเมืองของชาติไปขาย
นายวุฒิพงษ์กล่าวว่า ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลมีการผลักดัน ที่ผิดพลาดอย่างสุดขีด จนเกิดแรงต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งพอมาถึง รัฐบาลพรรคไทยรักไทยมีการคาดว่าจะผ่อนคลาย แต่กลับต้องมาสลดใจเพราะแทนที่ จะชลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลับมีการเร่งรีบผลักดันนโยบายอย่างรวดเร็ว ซึ่งต่อไปรัฐบาลพรรคไทยรักไทยจะทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่สำคัญของประเทศ ทั้ง 18 แห่ง ทั้งในส่วนของการไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทย , การไฟฟ้านครหลวง , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค , การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ฯลฯ ทั้งนี้ตนจึง กล่าวได้เลยว่าการขายรัฐวิสาหกิจคือการขายอธิปไตยของชาติ
ทั้งนี้ในเอกสาร ?ซื้อรัฐวิสาหกิจ แถมประเทศไทย? ซึ่งเขียนโดยนายวุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการสถาบัน สหัสวรรษ ระบุไว้ว่า ?นโยบายแปรรูป (ขาย) รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลดำเนินการ อยู่ จะไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนดังที่กล่าวอ้าง แต่กลับจะสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างใหญ่หลวงทั้งระยะสั้นและ ระยะยาว เนื่องจากผิดพลาดใน 6 ประการสำคัญด้วยกัน ได้แก่ (1) ผิดทิศทาง , (2) ผิดหลักการ , (3) ผิดขั้นตอน , (4) ผิดจังหวะ , (5) ผิดกระบวนการ , และ (6) ผิดศีลธรรม
1.ผิดทิศทาง
สิ่งที่รัฐบาลกำลังจะกระทำ คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้ เป็นความผิดพลาดในระดับยุทธศาสตร์ และสวนทาง กับยุทธศาสตร์พึ่งพาตนเองตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังจะเห็นตัวอย่างอันเลวร้ายจากการที่ทุนข้ามชาติเข้าครอบงำระบบเศรษฐกิจ นั้น มีให้เห็นอยู่อย่างดาษดื่นจากหลายประเทศในลาตินอเมริกา อาทิ ที่ ประเทศอาร์เจนตินา บราซิลและอุรุกวัย หากแต่รัฐบาลกลับเอาหูทวนลม มิใส่ใจกับคำตักเตือนท้วงติงจากผู้หลักผู้ใหญ่และนักคิดของประเทศเลย และยังเดินหน้าต่ออย่างมั่นใจและเด็ดเดี่ยว แถมยังมองผู้ตักเตือน ท้วงติงว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามที่ประสงค์ร้ายและเป็นอุปสรรคขัดขวางการดำเนินการ ของตน ที่จำต้องขจัดออกนอกทางหรือล้อมกรอบและปิดสื่อเพื่อให้ฝ่อหรือเฉาตาย ไปในที่สุด
สถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นสถานการณ์คอขาดบาดตาย ที่มีชะตากรรมของประเทศชาติเป็นเดิมพัน ถือได้ว่ามีความรุนแรงและแหลมคมเฉก เช่นเหตุการณ์เมื่อ รศ.112 ในรัชสมัยของสมเด็จพระปิยมหาราช แต่ในครานั้น ผู้นำของประเทศได้ทรงใช้พระปรีชาสามารถและความเสียสละส่วนพระองค์ประคับ ประคองประเทศชาติ จนพ้นปากเหยี่ยวปากกาของระบอบจักรวรรดินิยมจากตะวันตกมาได้ แต่ถึงกระนั้นสยามประเทศก็ยังบอบช้ำและเสียหายอย่างใหญ่หลวง
ทว่ามหันตภัยทางเศรษฐกิจและการเมืองในวันนี้มาในรูปแบบที่แนบเนียนกว่า จนทำให้ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ไม่ตระหนักจึงยังชะล่าใจอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลในฐานะผู้นำประเทศจะต้องหาทางหลีกเลี่ยงที่จะนำสยามประเทศเข้าไป ผนวกเป็นอาณานิคมของมหาอาณาจักรเศรษฐกิจตะวันตกภายใต้ระบอบจักรวรรดินิยม ใหม่ เพราะนั่นคงไม่ใช่พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อย่างแน่นอน
2.ผิดหลักการ
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องนโยบายสาธารณะที่สำคัญ เพราะจะกระทบ ต่อโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและสังคมในลักษณะซึมลึกและยาวนาน แต่ทว่าเหตุผลที่รัฐบาลใช้อ้างในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจล้วนแต่เป็นเรื่อง การเงินการคลังทั้งสิ้น อาทิ เพื่อชดเชยความเสียหายให้กับกองทุนฟื้นฟู ระบบสถาบันการเงินหรือเพื่อลดยอดหนี้สาธารณะ หรือเพื่อกระตุ้นและพัฒนาตลาด หลักทรัพย์ เป็นต้น การนำเอาเรื่องการเงินการคลังมานำหน้านโยบายสาธารณะนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องในเชิงหลักการ
แม้จะอ้างว่าต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งฟัง ขึ้นกว่าเหตุผลทางการเงินล้วน ๆ แต่ก็แปลกที่รัฐบาลเร่งรัดที่จะแปรรูป เฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เป็นธุรกิจที่ผูกขาดและมีกำไรมหาศาลทั้งสิ้น เช่น ปตท. , ทศท., กสท. , กฟผ. และการบินไทย เป็นต้น ในทางตรงกันข้ามรัฐวิสาหกิจที่ ขาดทุนอย่างคงเส้นคงวาและมักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้อยประสิทธิภาพ เช่น ขสมก. หรือ รสพ. รัฐบาลกลับไม่สนใจที่จะแปรรูปเสียที จนต้องสงสัยว่าเหตุผล ที่แท้จริงในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลนั้นคืออะไรกันแน่
เมื่อจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก่อนอื่นจะต้องคำนึงถึงการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะรัฐวิสาหกิจที่กล่าวถึงไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า , ประปา , โทรคมนาคม ,ท่าเรือหรือสนามบิน ล้วนเป็นกิจการสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่ มีอำนาจผูกขาดมหาศาล อำนาจนี้อาจนำไปใช้เพื่อเอาเปรียบหรือขูดรีดผู้บริโภค ที่มีจำนวนมหาศาลแต่ไร้พลังต่อรองได้ นี่แหละคือที่มาและเหตุผลของการจัด ตั้งรัฐวิสาหกิจเหล่านี้ในอดีต เมื่อไม่สามารถวางใจมอบอำนาจดังกล่าวให้ใคร ได้ รัฐบาลในอดีตจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรวบอำนาจดังกล่าวมาเป็นของรัฐ เสียเอง
ทว่าแนวทางการแปรรูปของรัฐบาลในปัจจุบัน กลับเป็นเพียงการ ถ่ายโอนอำนาจผูกขาดตลาดดังกล่าว จากมือของรัฐไปสู่อุ้งมือของกลุ่มธุรกิจ เอกชนเท่านั้นเอง มิได้มีเจตนาที่จะควบคุมหรือสลายอำนาจดังกล่าวเลยแม้แต่ น้อย หากรัฐบาลต้องการคุ้มครองผู้บริโภคจริง วิธีที่ดีที่สุดก็คือมอบ อำนาจนี้คืนให้ผู้บริโภคเป็นเจ้าของเสียเอง ซึ่งในทางปฏิบัติก็สามารถทำได้ อย่างง่ายดายและตรงไปตรงมาดังนี้
สมมุติว่ารัฐบาลต้องการขายการประปานครหลวง (กปน.) รัฐบาลก็สามารถนำเอา รายชื่อผู้ใช้น้ำของ กปน. มาพิมพ์ใบจองหุ้นของ กปน.ได้โดยตรงเลย โดยอาจจัด สรรจำนวนหุ้นที่สามารถจองได้ตามปริมาณการใช้น้ำก็ได้ เพียงเท่านี้อำนาจผูก ขาดของกิจการประปาก็จะถูกส่งมอบไปให้ผู้บริโภคโดยสมบูรณ์
อย่างไรก็ตาม บางท่านอาจยังกังวลว่านายทุนใหญ่ยังสามารถไปรวบรวมซื้อ หุ้นเหล่านี้ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อกลับมาผูกขาดกิจการประปาได้อยู่ดี ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการกำหนดให้สิทธิ์ในการออกเสียง (voting right) ของหุ้นนั้นสิ้นสุดเมื่อมีการซื้อขาย ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ซื้อหุ้นต่อจาก ผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำ แม้จะมีสิทธิ์ในการรับเงินปันผลอย่างเต็ม เปี่ยม แต่จะไม่ได้รับสิทธิ์ในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นในการลงมติใด ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้มาซื้อหุ้นต่อไม่สามารถเข้ามาครอบงำการบริหารธุรกิจประปาได้
นอกจากนั้น ควรกำหนดให้การเพิ่มทุนในอนาคต กปน. จะต้องใช้วิธีพิมพ์ใบจอง หุ้นจากรายชื่อของผู้ที่ใช้น้ำประปาอยู่ในขณะนั้นทุกคราวไป แทนที่จะ เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมเหมือนกับหุ้นของบริษัททั่วไปที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์
3.ผิดขั้นตอน
กระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ นั้นมีขั้นตอนหลัก 3 ขั้นตอน ทั้งตามลำดับก่อนหลังและความสำคัญดังต่อ ไปนี้ (1) จัดโครงสร้างตลาด , (2) สร้างกลไกกำกับดูแล และ (3) แปลงสภาพและขาย ทั้งที่สองขั้นตอนแรกคือหัวใจของการคุ้มครองผู้บริโภค แต่พอเวลาต้องการจะแปรรูปรัฐวิสาหกิจขึ้นมาทีใด รัฐบาลมักจะกระโดดข้าม สองขั้นตอนแรกและตรงไปยังขั้นตอนที่ 3 เสมอตัวอย่างเช่น
ในกิจการโทรคมนาคม รัฐบาลได้แปลงสภาพ ทศท.ให้กลายเป็นบริษัทเอกชน ไปแล้วเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2545 และพร้อมที่จะนำหุ้นออกขายในเดือน ตุลาคม ในขณะเดียวกันการแปลงสภาพและขาย กสท.ก็กำลังเดินคู่ขนานอยู่ อย่างรวดเร็ว แต่ทว่าขณะนี้กลับยังไม่มีความชัดเจนเลยว่าโครงสร้างตลาด ของกิจการคมนาคมจะเป็นเช่นไร
ยังมีคำถามสำคัญที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างตลาดอีกมากมายที่ยังไม่ มีคำตอบชัดเจน อาทิ ใครจะเป็นเจ้าของโครงข่ายโทรคมนาคม ? , จะจัดการ ประสานและเชื่อมโยงโครงข่ายเหล่านั้นอย่างไร ? , เจ้าของโครงข่ายจะ สามารถทำธุรกิจให้บริการได้ด้วยหรือไม่ ? , จะจัดการให้เกิดความเที่ยง ธรรมระหว่างผู้รับสัมปทานเดิมและผู้ประกอบการรายใหม่ได้อย่างไร?
ส่วนทางด้านการสร้างกลไกกำกับดูแลธุรกิจโทรคมนาคมนั้น ขณะนี้การ จัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม (กทช.) ก็ยังไม่เสร็จ เรียบร้อย หรือแม้ต่อให้จัดตั้ง กทช. เสร็จแล้วก็ตามที ก็ยังไม่วายต้องมีข้อสงสัยเรื่องความบริสุทธิ์ยุติธรรมของ กทช. ต่อไปอีก เพราะผู้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นส่วนใหญ่ล้วนถูกกล่าวหา เป็นร่างทรงของทุนโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่เกือบทั้งสิ้น ทำไมรัฐบาลถึงรีบ เดินหน้าแปลงสภาพและขายทั้ง ทศท. และ กสท. ทั้งที่รัฐบาลควรจัดการขั้น ตอนที่ 1 และ 2 ให้เรียบร้อยเสียก่อน ? ทำไมรัฐบาลถึงไม่รออีกสัก 3-4 ปี จนให้แน่ใจว่ากลไกตลาดและการกำกับดูแลเข้าที่เสียก่อน แล้วจึง ค่อยขาย ทศท. และ กสท. ?
4.ผิดจังหวะ
นอกจากเป็นการข้ามขั้นตอนที่ถูกต้องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ดังกล่าวแล้ว การเร่งรีบขายรัฐวิสาหกิจในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจซบเซา เช่นนี้ ยังจะทำให้ประชาชนต้องเสียหายจากการขายรัฐวิสาหกิจในราคาที่ ต่ำเกินเหตุ
นอกจากนั้น การขายรัฐวิสาหกิจออกไปสู่ท้องตลาดในช่วง นี้ จะส่งผลให้ปริมาณเงินตราในตลาดหรือสภาพคล่องของระบบเศรษฐกิจลดลง ซึ่งน่าจะสวนทางกับนโยบายเสริมสภาคล่องเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจของ รัฐบาล ความจริงแล้วในช่วงเวลาเช่นนี้รัฐบาลน่าจะเป็นฝ่ายซื้อ สินทรัพย์จากประชาชน มากกว่าที่จะขายสินทรัพย์ให้ประชาชนอย่างที่กำลัง กระทำอยู่
5.ผิดกระบวนการ
การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมาของรัฐบาลเป็นกระบวนการที่ปิด แคบ ไม่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนหรือแม้แต่พนักงานรัฐวิสาหกิจ เอง จึงรังแต่จะสร้างความระแวงสงสัยและก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างไม่รู้ จบสิ้น
แม้แต่การแต่งตั้งองค์กรสูงสุดของกระบวนการนี้ ที่เรียกว่า คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ หรือ กนร. ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของ สังคมด้วยสาเหตุเดียวกัน เพราะแทนที่จะเปิดกว้างรับเอาบุคคลที่สังคมยอมรับ นับถือ กลับกลายเป็นที่ชุมนุมของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงเป็นหลัก จึงมักจะถูกมองว่าเป็นที่ซ่องสุมของนักธุรกิจการเมืองเพื่อจัดสรรแบ่งปัน ทรัพย์สมบัติที่ปล้นชาติมาได้
นอกจากนั้น การตัดสินใจที่สำคัญที่ มีผลกระทบต่อชีวิตและการงานของคนนับหมื่นนับแสน และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ ของประเทศนับแสนล้าน มักจะกระทำกันอย่างมิดชิดและเงียบเชียบ แทนจะเปิดกว้าง เพื่อรับฟังความเห็นข้อท้วงติงและข้อเสนอแนะจากสาธารณชน
แม้เวลาจะทำประชาพิจารณ์ก็ทำแบบเสียมิได้เพราะถูกกฎหมายบังคับ การประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาจึงเป็นเพียง ?ประชาสัมพันธ์จำแลง? ด้วยการเข้าไป จัดการควบคุมกระบวนการต่าง ๆ อย่างครบถ้วน ตั้งแต่กำหนดการ ,สถานที่, วิทยากรผู้ดำเนินการอภิปราย ,หัวข้ออภิปราย, เวลาในการอภิปราย, แนวคำถาม , ผู้มีสิทธิ์ถาม ตลอดจนการสรุปผลการประชุม เพื่อให้แน่ใจว่าผลของการ ประชาพิจารณ์จะเป็นอย่างที่ตนได้กะเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าอย่างไม่ผิดเพี้ยน การ ประชาพิจารณ์ที่ผ่านมาจึงเป็นการเสียทั้งเวลาและเงินทองของทั้งฝ่ายรัฐบาล และประชาชน โดยหาสาระประโยชน์มิได้เลย
นอกจากจะสร้างความขัดแย้งและก่อความระแวงสับสนในหมู่ประชาชนและพนักงาน รัฐวิสาหกิจแล้ว กระบวนการที่ปิดแคบนี้ยังทำให้แนวทางการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หลงทิศหลงทางอยู่เสมอ เนื่องจากไม่มีบุคลากรของตนเอง กนร. จึงต้องพึ่ง ข้อมูลและความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลังเป็น หลัก ซึ่งมักวนเวียนอยู่กับเรื่องบัญชีและการเงินการคลัง จนลืมมองภาพ กว้างในเชิงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และนโยบายสาธารณะ ทำให้เป็นแนวทางการ ตัดสินใจของรัฐบาลในเรื่องนี้มักคับแคบและผิดพลาดมาโดยตลอด
5.ผิดศีลธรรม
ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลทั้ง 5 ประการที่กล่าวมาข้างต้น แท้จริงแล้วมิได้เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ถูกขับเคลื่อนโดยผลประโยชน์ทางธุรกิจการเมือง อันผูกโยงเกี่ยวข้องกับ การขายทรัยพ์สินของชาติมูลค่านับล้านบาทของรัฐวิสาหกิจไทย กล่าวคือในกระบวน การขายรัฐวิสาหกิจจะต้องมีการว่าจ้างที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งปกติมักจะ คิดค่าที่ปรึกษา (advisory fee) ประมาณ 1% ของมูลค่าทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจ ที่จะขาย และอีก 3% เป็นค่าประกันการขายหุ้น (underwriting fee) ทั้งนี้ สมมุติว่ารัฐบาลขายรัฐวิสาหกิจออกไปสักครึ่งหนึ่งของทั้งระบบรัฐวิสาหกิจ ซึ่งขณะนี้มีมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านล้านบาท ก็จะเป็นสินทรัพย์มูลค่าถึง 5 แสนล้านบาท ค่าที่ปรึกษาและประกันการขายหุ้นรวม 4% ของทรัพย์สินดังกล่าว (1%+3% = 4%) จะมีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท
ขณะนี้มีการกล่าวขวัญกันหนาหูในแวดวงธุรกิจการเงินว่า บริษัทที่ปรึกษา ทางการเงินหลายแห่งได้รับการติดต่อในทางลับจากตัวแทนของนักการเมืองและ ข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้อง โดยเสนอข่าวพร้อมจะหยิบยื่นงานที่ ปรึกษาการแปรรูปรัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้ เพื่อแลกกับส่วนแบ่ง 40% ของยอดราย รับของที่ปรึกษา หากข้อมูลและตัวเลขดังกล่าวเป็นจริง เมื่อนำมาคำนวณกับ ตัวเลขประมาณการข้างต้นแล้ว ส่วนแบ่งนี้จะมีมูลค่าถึง 8,000 ล้านบาท (40% x 20,000 ล้านบาท) ทีเดียว
แม้จะเป็นเงินจำนวนมากมาย แต่แท้จริงแล้วเป็นเพียงผลประโยชน์ส่วนน้อย เท่านั้น ผลประโยชน์อีกมหาศาลจะอยู่ในรูปของหุ้นจองมูลค่าหลายแสนล้านบาท ในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงสามารถนำมา จัดสรรให้กับญาติสนิทมิตรสหายและผู้มีอุปการคุณของตนได้อย่างเหลือเฟือและ สำราญใจ
นี่แหละคือเหตุผลและแรงขับเคลื่อนที่แท้จริงของการแปรรูป รัฐวิสาหกิจที่ผ่านมา มิใช่เหตุผลต่าง ๆ นานาที่รัฐบาลพากเพียรพร่ำบอก ประชาชนมาโดยตลอด และยังเป็นเหตุผลที่ทำให้รัฐบาลต้องต่อต้านแนวทางการขาย หุ้นรัฐวิสาหกิจให้กับผู้บริโภคโดยตรงตามที่เสนออย่างสุดฤทธิ์ เพราะจะเป็นการปิดช่องทางในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ดังกล่าวแทบจะโดยสิ้นเชิง
กล่าวโดยสรุป การแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่กำลังดำเนินอยู่นี้เป็นอีก ตัวอย่างหนึ่งของการร่วมสมคบกันปล้นชาติของผู้มีอำนาจ 3 กลุ่มหลักคือ นักการเมือง ข้าราชการระดับสูง และนายทุนใหญ่ (ทั้งไทยและข้ามชาติ) ซึ่งมักเรียกกันจนติดปากว่า ?สามเหลี่ยมทรราช? ซึ่งกำลังพยายามเดินเกมขับ เคลื่อนกระบวนการดังกล่าวอย่างสุดความสามารถ เพื่อหลบหลีกแรงเสียดทานและ อุปสรรคนานาอันอาจเกิดจากการต่อต้านจากประชาชนที่รู้ทัน?


บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:31:30 PM »

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ บ.ผลิตไฟฟ้า EGCOMP
1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 133,773,662 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.41
2 CLP POWER PROJECTS (THAILAND) LIMITED 118,023,606 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 22.42
3 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 57,918,120 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 11.00
4 HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 12,914,029 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.45
5 บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 12,238,980 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.32
6 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 10,018,490 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.90
7 THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 8,460,300 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.61
8 LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 9 6,108,747 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.16
9 กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 5,382,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.02
10 CHASE NOMINEES LIMITED 1 5,085,400 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.97
11 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY, FOR 4,947,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.94
12 ธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) 4,922,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.93
13 DEUTSCHE BANK AG (GLOBAL CUSTODY SERVICE 4,302,700 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.82
14 บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด 4,185,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.79
15 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 3,621,378 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.69
16 LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 5 3,480,100 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.66
17 NORDEA BANK DANMARK A/S 3,039,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.58

รายชื่อผ๔เถือหุ้นใหญ่ โรงไฟฟ้า ราชบุรี RATCH
1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 652,500,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 45.00
2 บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด 107,100,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 7.39
3 BANPU POWER INTERNATIONAL LIMITED 106,508,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 7.35
4 ธนาคารออมสิน 38,000,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.62
5 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 25,526,400 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.76
6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 25,110,096 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.73
7 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 14,001,365 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.97
8 กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 12,009,700 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.83
9 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 10,616,583 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.73
10 AMERICAN INTERNATIONAL ASSURANCE COMPANY 7,646,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.53

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ปตท. (PTT)
กระทรวงการคลัง 1,937,793,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 69.28
MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL LIMIT 71,669,675 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.56
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 56,127,687 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.01
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 51,848,800 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.85
กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 23,369,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.84
HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 19,448,400 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.70
สำนักงานประกันสังคม 17,140,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.61
NORTRUST NOMINEES LTD. 17,097,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.61
THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 15,976,452 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.57
CHASE NOMINEES LIMITED 1 15,755,395 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.56
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY, FOR 14,750,903 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.53

รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ปตท. สผ. (PTTEP)
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 411,839,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 63.17
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 15,600,634 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.39
THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED 13,944,027 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.14
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY 13,427,225 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.06
LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 5 12,813,400 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.97
LITTLEDOWN NOMINEES LIMITED 9 12,540,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.92
BOSTON SAFE DEPOSIT AND TRUST COMPANY 9,304,378 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.43
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY, FOR 8,590,121 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.32
DEUTSCHE BANK TRUST COMPANY AMERICAS. 7,806,710 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.20
CHASE NOMINEES LIMITED 1 7,639,077 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 1.17
กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ 5,220,500 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.80
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 4,969,280 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.76
HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C 4,432,600 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.68
CHASE NOMINEES LIMITED 4,224,723 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.65
MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL LIMIT 3,853,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.59
CHASE NOMINEES LIMITED 30 3,531,900 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.54
CHASE NOMINEES LIMITED 46 3,405,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 0.52

รายชื่อบริษัทประมูลเป็นที่ปรึกษาในการแปรรูป กฟผ. ครับ
สำหรับบริษัทที่ยื่นซองแข่งขันเพื่อเป็นบริษัทที่ปรึกษาการแปรรูป กฟผ.นั้น
แบ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในประเทศ 6 ราย ประกอบด้วย
บล.ทิสโก้
บล.เมอร์ลิน ลินช์ ภัทร
บล.ไทยพาณิชย์
บล.ฟินันซ่า
บล.บัวหลวง
และบล.ธนชาติ
ส่วนที่เหลืออีก 10 บริษัทเป็นที่ปรึกษาต่างชาติ ประกอบด้วย
บริษัท โกลด์แมน แซคส์ ,
ซิตี้ กรุ๊ป ,
ซีเอสเฟิร์สต์ บอสตัน ,
เครดิตลียองเนส์ ,
ยูบีเอส วอร์เบิร์ก,
เมอร์ริล ลินช์
มอร์แกน สแตนเลย์ ,
เลห์แมน บราเธอร์ส ,
เจพี มอร์แกน และ
ฮ่องกง แอนด์ เซี่ยงไฮ้ แบงก์คอร์ปอเรชั่น

ชื่อคุ้นๆ ไหมครับ บริษัทเหล่านี้ บางบริษัทถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ในหุ้นหลักๆทั้งนั้นครับ (ข้อมูลเยอะครับ แจงไม่หมด ว่ามีใครถืออะไรบ้าง เอาแค่ 4 ตัวบนไปก่อนนะครับ) เช่น โรงไฟฟ้า ปตท. ปตท.สผ. ชินคอร์ป แอดวานซ์ ชินแซนเทิล ฯลฯ แล้วท่านคิดว่า กำลังซื้อมหาศาลอย่างทุนต่างชาติโดยเฉพาะแบงค์ต่างชาติทั้งหลายที่เข้ามาแสวงหากำไรในหุ้นไทย ไม่ให้คำปรึกษาที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกตนเองหรือครับ

วันนี้ อาจแปรรูปแค่ 70 - 30
แต่วันข้างหน้าใครจะรับรองได้คัรบว่า ไม่ 51-49 และท้ายที่สุดไม่เปิดเสรีครับ สุดท้าน รัฐวิสาหกิจทั้งหมด ก็ตกไปอยู่ในมือต่างชาติ เข้าครอบครองกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด กำไรเอกชนกี่เปอร์เซ็นต์ครับ ราคาสาธารณูปโภคจะเป็นเท่าไหร่ ทรัพยากรจะเป็นอย่างไร...อำนาจต่อรองของรัฐมีแค่ไหน ถึงเวลานั้น รัฐบาลไม่กล้าตอแยบริษัทต่างชาตินะคัรบ เพราะกลัวกระทบต่อการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐบีบบริษัทต่างชาติไม่ได้ครับ ดูตัวอย่าง โลตัส บิ๊กซี คาร์ฟูล แอมเวย์ (เน็ตเวอร์ 21) เจริญก้าวหน้าขนาดไหน สร้างรายได้ให้กับกลุ่มทุนนี้ขนาดไหน กับโชร์ห่วยไทยซีครับ วันข้างหน้าคนไทยจะเป็นอย่างไร ...ถ้าเราๆยอมในวันนี้..สงสารประเทศไทยครับ สงสารลูกหลานของเราครับ
บริษัทต่างชาติทั้งนั้นครับ ที่ได้ส่วนต่างราคาหุ้นไป เทขาย ให้หุ้นตก แล้วช้อนซื้อกลับมาใหม่ ราคาหุ้นที่ได้กำไรไปไปไหนครับ และเงินปันผลที่ควรเป็นของคนไทย เพื่อพัฒนาประเทศไทย ไปอยู่ที่ไหนครับ

ป้ายโฆษณาหน้าโรงรับจำนำแห่งหนึ่ง มีข้อความว่า ?ที่นี่ รับจำนำให้ราคาสูง? ถัดลงมาอีกบรรทัด ก็มีข้อความว่า ?มีของขาดจำนำขายราคาถูก? ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นี่เป็นโฆษณาที่มีเจตนาให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ในทำนองเดียวกันนี้ สิ่งที่เรียกขานกันว่า ?การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ? ได้ถูกโฆษณาสรรพคุณดุจเป็นแก้วสารพัดนึก สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ นานาให้กับสังคม ตั้งแต่เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับรัฐ พัฒนาประสิทธิภาพของภาครัฐ แก้ไขความยากจน อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปราบคอร์รัปชั่น ฯลฯ ทว่าข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นทั่วโลกกลับบ่งบอกว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ผลตรงกันข้ามกับคำโฆษณาทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรกันแน่คือเป้าหมายที่แท้จริงของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

กำเนิดของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แปลมาจากคำในภาษอังกฤษที่แปลตรงตัวว่า การทำให้เป็นเอกชน คำนี้ได้ถูกบัญญัติขึ้นเพียงเมื่อ 10 กว่าปีมานี้เอง ทั่วไปหมายถึงการขายทรัพย์สินที่รัฐเป็นเจ้าของให้นักลงทุนและบริษัทเอกชน เพื่อเป้าหมาย 2 ประการคือ
1) เพื่อแบ่งเบาภาระภาษีอากรของประชาชน
2) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของหน่วยงานเหล่านี้ โดยอาศัยศักยภาพของธุรกิจเอกชน เช่น เงินทุน เทคโนโลยี การบริหารจัดการ เป็นต้น

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจถือเป็นหนึ่งในนโยบายการค้าเสรีโลกาภิวัตน์ที่ประเทศกลุ่มผู้นำทุนนิยม(โออีซีดี) และองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ช่วยกันผลักดันตลอดมา ปัจจุบันมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจในแทบทุกประเทศในโลก

โฆษณาที่ 1 : การแบ่งเบาภาระภาษีอากร

เป็นที่ทราบกันดีว่าการขายรัฐวิสาหกิจเป็นทางเลือกสุดท้ายของรัฐในการเพิ่มรายได้ เนื่องจากไม่สามารถเพิ่มอัตราภาษีหรือกู้ยืมเงินเพิ่มเติม ทั้งหมดนี้จึงทำให้นักลงทุนเป็นผู้ได้เปรียบรัฐในทุกแง่มุม และเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขการแปรรูป ปกติการซื้อขายกิจการ เมื่อผู้ซื้อเมื่อซื้อไปแล้ว จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ รวมถึงความผันผวนของรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจมิได้มีลักษณะเช่นนี้ หากมีลักษณะเป็นสัญญาเงินกู้โดยจำนองทรัพย์สินไว้กับนักลงทุนผู้ทำหน้าที่กู้แทนรัฐ ในสัญญาเงินกู้นี้ สูตรการคำนวณผลตอบแทนขั้นต่ำสุด คือการคำนวณอัตราค่าธรรมเนียมการกู้แทน ทั้งนี้อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับเครดิตของประเทศผู้กู้ ยิ่งถ้าเป็นประเทศที่ประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ถือว่า เป็นลูกหนี้ชั้นเลวแล้ว อัตราค่าธรรมเนียมนี้ก็จะสูงอย่างเหลือเชื่อ ซ้ำร้ายกว่านี้เมื่อรัฐวิสาหกิจนั้นตกเป็นของเอกชนแล้ว บริษัทเอกชนเหล่านี้ก็ใช้ฐานะการผูกขาดระบบสาธารณูปโภคที่จำเป็นสำหรับประชาชน ขูดรีดเอากับประชาชนโดยการขึ้นค่าบริการตามอำเภอใจ หากรายได้ที่ได้เป็นที่ไม่เป็นที่พอใจ ก็บังคับเอากับรัฐที่ปราศจากอำนาจการต่อรอง ดังนั้นการแปรรูปจึงมิได้แบ่งเบาภาระภาษีอากรแต่อย่างใด เพราะเงินที่รัฐได้มาจากการแปรรูป ไม่ใช่รายได้ แต่เป็นเงินกู้ดอกเบี้ยสูงบวกค่าธรรมเนียมแพง บวกงบช่วยเหลือนักลงทุนฯลฯซึ่งต้องมาจากภาษีอากรของประชาชนทั้งสิ้น

ประเทศอังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เมื่อนำรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ของประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2527-2534 มารวมกันและหักด้วยต้นทุนต่างๆ เช่น การยกเลิกหนี้ที่รัฐมีต่อรัฐวิสาหกิจก่อนการขาย การรับภาระค่าใช้จ่ายการดำเนินการ การประกันรายได้ การประกันเงินกู้ การประกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกแลกเปลี่ยน ฯลฯ รัฐมีกำไรเหลือเพียง 6 หมื่นล้านปอนด์ เท่ากับการขาดดุลงบประมาณของรัฐเพียงปีเดียวเท่านั้น (ปี พ.ศ. 2536 อังกฤษขาดดุล 5 หมื่นล้านปอนด์) ในขณะที่พันธะค่าใช้จ่ายซึ่งรัฐบาลอังกฤษตกลงไว้กับนักลงทุนที่ซื้อรัฐวิสาหกิจก็ยังคงมีต่อไปจนกว่าจะครบอายุสัญญา ซ้ำร้ายยังเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เช่น หลังการแปรรูปรถไฟอังกฤษ รัฐบาลยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ได้เพิ่มงบประมาณช่วยเหลือการรถไฟเอกชนไปมากกว่า 2 เท่าของงบประมาณที่เคยช่วยเหลือก่อนการแปรรูป(2) งบช่วยเหลือเหล่านี้ล้วนแต่เป็นภาระภาษีอากรที่ยังไม่จบสิ้น

โฆษณาที่ 2 : การพัฒนาประสิทธิภาพด้วยเอกชน

?เอกชนดี รัฐบาลไม่ดี? เป็นทฤษฎีพื้นฐานของผู้เห็นด้วยกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ประสิทธิภาพที่หมายถึงคือ การให้บริการที่ดีที่สุด ในค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด จะเกิดขึ้นได้เฉพาะในธุรกิจที่มีการแข่งขันเสรี แต่กิจการของรัฐวิสาหกิจล้วนแล้วแต่มีสภาพเกือบผูกขาดหรือผูกขาดโดยสมบูรณ์ และเมื่อมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปแล้วก็ยังคงสภาพผูกขาดเช่นเดิม ดังนั้นทฤษฎีดังกล่าวจึงใช้กับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไม่ได้ และจากการศึกษาเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตไฟฟ้าใน 14 ประเทศ ก็พบว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงไฟฟ้าของรัฐกับของเอกชน (Pollitt พ.ศ. 2538)(3)

?รัฐผูกขาดไม่ดี เอกชนผูกขาดยิ่งแย่? น่าจะเป็นทฤษฎีที่เหมาะสมกว่า สำหรับการอธิบายผลจากการแปรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นกับประชาชน พ.ศ.2539เป็นปีเริ่มต้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ระบบตลาดค้าไฟฟ้ากลาง (พาวเวอร์พูล) กลุ่มที่สนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจประกาศว่า ราคาไฟฟ้าจะลดลงอย่างต่ำ 20 %(4) แต่หลังจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ค่าไฟฟ้าในมลรัฐกลับเพิ่มขึ้นจาก 3 เซนต์ต่อหน่วย เป็น 1.03 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 34 เท่า พร้อมๆ กับการเกิดไฟฟ้าดับเรื้อรัง ทั้งที่กำลังการผลิตไฟฟ้าในมลรัฐมีสภาพล้นเกินความต้องการ(5)

สำหรับประเทศไทย ได้มีการแปรรูปการประปาภาคตะวันออก โดยให้บริษัทอีสต์วอเตอร์เป็นผู้รับสัมประทานในปี พ.ศ. 2535 ราคาน้ำเพิ่มขึ้นจาก 50 สตางค์ต่อคิว เป็น 5-11 บาทต่อคิว ทันทีหลังจากจากที่บริษัทเริ่มดำเนินการ

บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:35:35 PM »

เบื้องหลังการแปรูปรัฐวิสาหกิจ : การช่วยเหลือทุนกาสิโน

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คือการสร้างกำไรใหม่ให้กับกลุ่มทุนกาสิโนเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วเพื่อแสวงหากำไรที่สูงขึ้น ระบบทุนนิยมโลกจำเป็นต้องวิวัฒนาการจากการผูกขาดภาคผลิตโลกมาสู่การเก็งกำไรในภาคการเงิน เนื่องจากความสำเร็จจากการผูกขาดภาคผลิตโลกได้ยังผลให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นกับทุนผูกขาด คือ 1) ทำให้เกิดรายได้สะสมจำนวนมหาศาลที่อยู่ในภาคการเงิน 2) ทำให้โลกเกิดสภาพผลผลิตล้นเกินและผลตอบแทนจากการลงทุนในภาคผลิตชลอตัว เมื่อบวกรวมสองปัญหานี้เข้าด้วยกัน จึงกลายเป็นวิกฤตเงินทุนล้นเกิน จำนวนเงินมหาศาลนี้ต้องการผลตอบแทนที่สูงและเติบโตขึ้นทุกปี ซึ่งการลงทุนในภาคผลิตจริงไม่สามารถให้ได้ เพื่อผ่อนคลายวิกฤตนี้ รัฐกลุ่มประเทศผู้นำทุนนิยม (โออีซีดี) ได้เริ่มนโยบายลดภาษีนิติบุคคล พร้อมกับการกู้ยืมเงินจากเอกชนเอง ในอีกด้านหนึ่งก็เริ่มผลักดันการเปิดเสรีทางการเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้เงินทุนล้นเกินเหล่านี้สามารถเข้าเก็งกำไรในทรัพย์สินได้ทั่วโลก เพื่อหาทรัพย์สินใหม่ๆ ที่มีมูลค่าซ่อนเร้นสูง กลุ่มรัฐทุนนิยมโลกจึงเริ่มหันเหความสนใจสู่ทรัพย์สินในภาครัฐ กิจการของรัฐที่มีสภาพผูกขาด แท้จริงมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนสูง แต่ด้วยวัตถุประสงค์ของรัฐที่ไม่ได้ประกอบกิจการเพื่อเก็งกำไร แต่เพื่อบริการสังคม ทรัพย์สินเหล่านี้จึงให้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก หากเพียงธุรกิจได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้ในมูลค่าต่ำ ทันทีที่โยนภาระค่าใช้จ่ายให้กับสังคมโดยอาศัยสภาพผูกขาดที่มีอยู่ ผลกำไรและมูลค่าของทรัพย์สินก็จะเพิ่มขึ้นมหาศาลทันที ด้วยเหตุนี้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจึงถูกบรรจุเป็นยุทธศาสตร์หลักของกลุ่มทุนนิยมโลกาวิวัตน์ โดยใช้นโยบายต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลุ่มทุนผูกขาดจึงสามารถแก้ไขปัญหาเงินทุนล้นเกินได้สำเร็จพร้อมๆ กับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศโลกผู้นำทุนนิยมเติบโตช้าลงถึง 39% จากช่วงปีพ.ศ.2523-2533 เปรียบเทียบกับช่วงปีพ.ศ.2533-2539 กลุ่มรัฐทุนผูกขาดโลกกลับสามารถสร้างกำไรในอัตราเพิ่มขึ้นถึง12% ในช่วงเวลาเดียวกัน

เกมเศรษฐี

? ในหลายประเทศการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นการขายเลหลังกิจการของรัฐให้กับบุคคลและกลุ่มต่างๆในเครือข่ายอุปถัมภ์ มากกว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนที่แท้จริง? นี่คือข้อสรุปในรายงานการพัฒนาโลกประจำปีพ.ศ.2536 ของโครงการพัฒนาสหประชาชาติ ( UNDP)6 แม้กระทั่งองค์กรสหประชาชาติก็ยังแสดงความยอมรับว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่นของกลุ่มธุรกิจการเมืองทั้งในนระดับชาติและระดับโลก และไม่ใช่ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้มีส่วนสำคัญในการสร้างมหาเศรษฐีระดับโลกขึ้นมากมายในประเทศโลกที่สาม ในประเทศเม็กซิโก ขณะที่จำนวนประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจนเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านคนในพ.ศ.2536 เป็น 24 ล้านคนในเวลาเพียง 4 ปี นิตยสารฟอร์บส์ นิตยสารธุรกิจชื่อดังก้องโลกได้รายงานว่าเม็กซิโกมีมหาเศรษฐีระดับโลกที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐ (42,000 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นในปีเดียวถึง 11 คน (พ.ศ.2536 มี13 คน พ.ศ.2537 มี 24 คน) ก่อนหน้าในปีพ.ศ. 2530 เม็กซิโกมีมหาเศรษฐีระดับโลกเพียงคนเดียว แน่นอนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำอย่างสายฟ้าแลบ (จำนวนหน่วยงานลดลงจาก 1155 หน่วยเหลือเพียง 200หน่วย) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งให้พวกเขาเหล่านี้7

ในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กลุ่มเศรษฐกิจการเมืองทั้งระดับประเทศและระดับโลกสามารถปล้นกำไรขนาดอภิมหาศาลได้อย่างง่ายดายจากรัฐ กรณีประเทศรัสเซียเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงขนาดของผลประโยชน์ที่เกิดจากการคอรัปชั่นในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพียงตั้งราคาหุ้นรัฐวิสาหกิจในราคาต่ำและจัดสรรหุ้นแทบทั้งหมดให้กับเครือข่ายอุปถัมภ์ไปขายต่อในตลาดหลักทรัพย์ พวกเขาก็กลายเป็นอภิมหาเศรษฐีระดับโลกในทันที

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่ารัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร กำลังเร่งรีบในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ตามที่ได้สัญญากับต่างประเทศ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจนี้ มีความสำคัญต่อกลุ่มธุรกิจการเมืองโลกที่กำลังประสบปัญหาเงินลงทุนล้นเกิน ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2543 และทวีความเลวร้ายขึ้นตลอดมา ในขณะเดียวกันก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลุ่มธุรกิจการเมืองในประเทศ ที่ต้องการตักตวงผลประโยชน์จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อใช้ฟื้นฟูธุรกิจของตนที่ทรุดลงจากวิกฤตเศรษฐกิจปี พ.ศ. 2540 การแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มอำนาจทั้งสองจึงเป็นสิ่งที่จะดำเนินต่อไป ทั้งนี้โดยทิ้งให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการแบกรับความทุกข์ที่พอกพูนขึ้น เช่นเดิม


แปรรูปรัฐวิสาหกิจฯ : ทางรอดหรือ ทางหายนะ

ลางหายนะ
หนึ่งใน พ.ร.บ. 11 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ร่างขึ้นตามการบงการขององค์การเงินโลก (IMF)กำหนดเป็นเงื่อนไขในการให้ประเทศไทยกู้เงินเพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโดยการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเขียนเป็นจดหมายแสดงเจตจำนงเพื่อยอมรับการผูกมัดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านั้น ในสมัยรัฐบาล ชวน -ธารินทร์

แต่เมื่อผลัดเปลี่ยนรัฐบาลแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็ยังเดินหน้าในเรื่องการเร่งแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มพิกัด ทั้ง การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย(ทอท.) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย(ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) การรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) การบินไทย โรงงานยาสูบ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยธนาคาร ฯลฯ ทำให้คิดถึงความหายนะของประเทศต่างๆในลาตินอเมริกาที่ดำเนินนโยบบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าด้วยวิธีการนี้
ประเทศบราซิล ประเทศเวเนซูเอลลา ประเทศเมกซิโก ประเทศอาเจนตินา แม้แต่ประเทศรัสเซีย และอังกฤษก็ยังจมปลักอยู่ในหุบเหวของความหายนะทางเศรษฐกิจ

ข้ออ้างล่าสุดของ ร.ม.ต. กระทรวงการคลัง คือ เพื่อพัฒนาตลาดทุนไทย โดยดึงนักลงทุน(พนัน)จากต่างประเทศเข้ามาเล่นหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไทย

วิกฤติเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 กำลังจะถูกลืมกันอย่างง่ายๆแบบไทยๆหรือ ครับว่า สาเหตุหนึ่ง คือ \\\\\\\\\\\\\\\"เงินร้อน\\\\\\\\\\\\\\\" ( Foreign portfolio investment) จากต่างประเทศซึ่งมีสัดส่วน 3 เท่า ของ \\\\\\\\\\\\\\\"เงินเย็น\\\\\\\\\\\\\\\" (Foreign direct investment) ที่ถอนออกไปอย่างรวดเร็ว ที่ทำให้เศรษฐกิจทั้งระบบพังครืนเป็นแบบเกมส์โดมิโน

ทุกวันนี้เศรษฐกิจพื้นฐานเกือบทุกภาค เช่น ภาคการเงิน ภาคค้าปลีก ภาคโรงแรม และภาคอิเลกโทรนิกส์ก็ถูกทุนต่างชาติเข้ามายึดครองเกือบครึ่งค่อนแล้ว ยังคิดจะเอาทรัพย์สินของประชาชน(ชาติ)ที่เหลือเป็นมรดกจากบรรพบุรุษไปประเคนให้หมดสิ้นอย่างสิ้นเชิงหรือ
นายกรัฐมนตรี มหาเธร์ โมฮัมมัด แห่งมาเลเซียร์ เพิ่งแถลงในที่ประชุม ยูเนียน เน็ตเวิร์ก อินเอตอร์เนเชิ่นแนล-เอเชีย แอนด์ แปซิฟิก ริเยียนนัล ออร์แกนไนเซชั่น ที่กัวลาลัมเปอร์ เมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน นี้ ว่า \\\\\\\\\\\\\\\"ขณะที่การไหลเวียนอย่างเสรีหมายถึงการไหลเข้าของเงินทุนสู่ประเทศที่ขัดสนเงินทุน แต่ขณะเดียวกัน มันยังหมายถึงการไหลออกของเงินทุนด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์อันเจ็บปวด\\\\\\\\\\\\\\\" มหาเธร์ แถลงต่อ ว่า \\\\\\\\\\\\\\\" ถ้าการไหลเวียนของแรงงานในโลกไร้พรมแดนจำเป็นต้องมีกฎระเบียบควบคุม แล้วทำไมการเคลื่อนไหวของเงินทุนถึงไม่ควรมีกฎเกณฑ์ควบคุมเล่า ระหว่างวิกฤติเศรษฐกิจการเงินเอเซียในปี 1997-1998 มาเลเซียลำบากแสนสาหัสเมื่อนักลงทุนต่างชาติถอนเงินทุนออกจากประเทศ \\\\\\\\\\\\\\\"

ครับ มหาเธร์รู้จักสรุปบทเรียน เขาจึง สำทับว่า \\\\\\\\\\\\\\\" เราจำเป็นต้องวางกฎระเบียบควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินตรา \\\\\\\\\\\\\\\"แทนการเปิดเสรีอย่างประเทศไทย เพราะถ้าเงินทุนไหลออกประเทศที่เคยเติบโตกลับไม่สามารถแม้แต่จะฟื้นตัว
มหาเธร์คาดหมายว่า เศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวในอัตราเกิน ร้อยละ 4 ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าอาจจะขยายตัวถึงร้อยละ 6 โดยไม่ต้องขาย(สมบัติ)ชาติ
การขายทรัพย์สินก้อนสุดท้ายของชาติ จึงไม่น่าจะเป็นทางเลือกทางเดียวที่เหลืออยู่เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการแก้ปัญหาของมาเลเซีย

การขายทรัพย์สินของชาติไม่มีหลักประกันว่าการบริหารจัดการจะดีขึ้น หรือ องค์กรจะเข้มแข็งขึ้น
ประเทศอังกฤษเมื่อแปรรูปการรถไฟแล้ว รถไฟชนกันเละ รวมทั้งเดินไม่ตรงเวลาเวลาเหมือนเดิม จนกระทั่งประชาชนต้องเรียกร้องให้รัฐซื้อหุ้นคืนในราคาที่สูงกว่าเมื่อตอนขาย
ประเทศอาเจนตินาล่มจมเพราะรัฐขายทรัพย์สินของชาติให้ทุนต่างชาติไปจนหมดจึงไม่มีทุนเหลือมาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนี้
คิดใหม่ ทำใหม่ อย่าคิดทำบาปให้ลูกหลานสาปแช่งโดยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นมรดกของพวกเขาเลยครับ
บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #13 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:36:50 PM »

ทรัพย์สินของรัฐวิสาหกิจไทย
รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน
รัฐวิสาหกิจที่มีทรัพย์สินมากที่สุดใน 10 อันดับแรกในปี 2540 ได้แก่

สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง หน่วย : ล้านบาท

ประเภทรัฐวิสาหกิจ ทรัพย์สิน เงินทุน รายได้ / กำไร / % รายได้นำส่งคลัง
1.ธนาคารแห่งประเทศไทย 813,943 33,834 36,533 /11,049 / 30% 14,531 (130%)
2.ธนาคารกรุงไทย 781,348 62,294 78,154/6,088/ 7.5% 1,200 (20%)
3.การไฟฟ้าฝ่ายผลิต 316,060 101,042 127,135 / 12,827/10 % 8,449 ( 65%)
4.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 294,960 15,917 48,433 / 6,586 / 13% 1,272 ( 15%)
5. ธนาคารออมสิน 278,654 26,913 23,924 / 4,916/ 20% 0
6.องค์การโทรศัพท์ 260,444 192,530 45,561 / 22,553 / 50% 10,523 ( 46%)
7. ธ.ก.ส. 229,773 6,317 16,968 / 640 / 4% 0
8. ป.ต.ท. 140,810 33,983 239,166 / 2,289/5% 3,500 (150%)
9. การไฟฟ้าภูมิภาค 138,318 56,045 93,810/9,066 / 10% 3,610 ( 40%)
10.การบินไทย 136,312 1,572 87,576 / 4,004 / 5% 1,950 ( 48%)
11. การทางพิเศษ 127,223 36,227 3,007 /601/19% 430 ( 71%)

รวม 3,517,845 566,674 722,113 /74,531/10% 45,465

รายชื่อรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนสูงสุด 10 แห่ง

รายชื่อรัฐวิสาหกิจ ทรัพย์สิน เงินทุน รายได้ ขาดทุน
1.ข.ส.ม.ก. 9,686 (9,447) 6,681 (2,474)
2.การปิโตรเลียม บางจาก 23,172 6,890 27,966 (2,191)
3.การรถไฟ 44,700 17,417 8,465 (1,643)
4.การท่องเที่ยว,ททท 2,164 1,287 2,524 (345.80)
5.องค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น 266 (1,342) 72 (158)
6.องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 389 373.5 2.9 (126.30)
7.องค์การส่งเสริมสินค้าและพัศดุพันภัณฑ์ 502 (605) 1,866 (125)
8. องค์การทอผ้า 503 92 475 (85.90)
9.โรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม 649 383 808 (37.90)
10. องค์การส่งเสริมโคนม 942 443 1,686 (36)
รวม 7,222

การแปรรูปฯตามยาสั่งจากไอเอ็มเอฟ

นโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเร่งด่วนเป็น \\\\\\\\\\\\\\\"ยาสั่ง\\\\\\\\\\\\\\\" (กินแล้วตาย) จากไอเอ็มเอฟ (จดหมายแสดงเจตจำนงค์ ฉบับที่ 3-5) หรือ letter of intent) ซึ่งได้มีการทำตามโดยการแก้ไข พ.ร.บ. (เพื่อขายชาติ)ต่างๆถึง 11 ฉบับ มาตั้งแต่รัฐบาลชวน-ธารินทร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออก พ.ร.บ. ทุนรัฐวิสาหกิจ

จากตัวเลขข้างต้นจะเห็นได้ว่า รัฐวิสาหกิจไทยมีทั้งสิ้น 72 แห่ง ตามตัวเลขของ สำนักรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ กรมบัญชีกลาง มีทรัพย์สินทั้งสิ้นในปี พ.ศ. 2540 มีมูลค่า 4 ล้านล้าน 7 หมื่น 2 พัน 6 ร้อย 19 บาท เท่ากับงบประมาณแผ่นดิน 4 ปี หรือ รายได้จากการส่งออกประมาณ 3 ปี และน้อยกว่า จีดีพี เพียง 1 ล้านล้านบาท
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้ มีเงินทุนทั้งสิ้น 8 แสน 2 หมื่น 5 พัน 9 ร้อย 56 บาท หรือ เกือบเท่างบประมาณแผ่นดินใน 1 ปี
รัฐวิสาหกิจทั้งหมดนี้นำรายได้ส่งเข้ากระทรวงการคลัง ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 เป็นเงิน 6 หมื่น 7 พัน 5 ร้อย 69 ล้านบาท หรือ ประมาณ ร้อยละ 8 ของงบประมาณแผ่นดิน และว่าจ้างงานถึง 3 แสน 5 พัน 8 ร้อย 93 คน
นี่คือ ชิ้นปลามัน ที่ไอเอ็มเอฟ ผู้เป็นหัวหน้ากองหมู่ทลวงฟันของบริษัททุนข้ามชาติ มองเห็น และบีบให้แปรรูปเพื่อจะได้เขมือบชิ้นปลามันนี้

อันที่จริง การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจในทุกประเทศขึ้นมาเพราะถือว่าเป็นหน้าที่หรือ พันธกิจอย่างหนึ่งในหลายๆอย่างของรัฐ ในการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยเฉพาะในกิจการบริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน อันเนื่องจากเป็นการลงทุนสูง ซึ่งเอกชนจะทำได้ยาก หรือ ทำแล้วก็ต้องคิดราคาค่าบริการแพง เพื่อเอาทุนกลับคืนมา
การที่รัฐนำเงินภาษีอากรของประชาชนมาลงทุน หรือ การเข้าค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ(การไฟฟ้าฝ่ายผลิต) จึงสามารถกู้เงินก้อนโตมาได้ เช่น กรณีการสร้างเขื่อน หรือ การวางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ การสร้างระบบขนส่งมวลชน การสร้างทาง การสร้างสนามบิน และสาธารณูปโภคอื่นๆ จึงถือว่าเป็นการปฎิบัติตาม \\\\\\\\\\\\\\\"สัญญาประชาคม\\\\\\\\\\\\\\\"
ดังนั้นจึงเป็นการชอบธรรมอย่างยิ่งที่จะต้องคิดค่าบริการประชาชนในราคาถูก แม้ว่าจะขาดทุนก็ตาม เพราะ เงินที่ขาดทุนก็มาจากภาษีของประชาชน เงินลงทุนก็มาจากภาษีอากรของประชาชน รัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ เป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดการ หรือ ตัวกลาง ถ้าหากรัฐไม่ทำหน้าที่นี้ ประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องมีรัฐ และถ้ารัฐคิดจะเอาอัฐยายมาหากำไรจากยาย เราก็ไม่มีความจำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐ แต่มาจ่ายให้กับเอกชนแทน ถึงกระนั้น รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่แม้ว่าจะมีการคอรัปชั่นและบริหารงานอย่างไม่โปร่งใส ก็ยังทำกำไร และนำเงินส่งเข้าคลังทุกปี ตามตารางข้างต้น

รัฐวิสาหกิจที่ขาดทุนนั้นมีเพียงไม่กี่แห่ง แต่เมื่อเฉลี่ยแล้ว รัฐวิสาหกิจยังเป็นแหล่งรายได้อันมหาศาลของรัฐ คือ เป็นผู้นำรายได้ส่งคลังคิดเป็นร้อยละ 8 ของเงินงบประมาณแผ่นดินทีเดียว

ด้วยหลักรัฐศาสตร์สากล และเหตุผลข้างต้น ถ้ารัฐบาลจะใช้รัฐวิสาหกิจมาค้าหากำไรจากการให้บริการกับประชาชน ดังนั้นประชาชนก็ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีให้รัฐบาล และไม่จำเป็นต้องมีรัฐบาลอีกต่อไป
ในมุมกลับ อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทุนต่างชาติ หรือ ทุนยักษ์เข้ามาเป็นเจ้าของ โดยมีเป้าหมายเพื่อค้ากำไรสูงสุด
ดังนั้น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เอกชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มทุนข้ามชาติ หรือ กลุ่มทุนยักษ์ ซื้อไปค้าหากำไรจากกิจการพื้นฐานที่ทุกคนจำเป็นต้องใช้บริการ โดยเป็นกิจการผูกขาดไร้คู่แข่งด้วย จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องตามหลักของรัฐศาสตร์ อย่างไม่มีข้อสงสัย

หากหันมามองในมุมมองของความมั่นคงของชาติ การบริการของรัฐวิสาหกิจในด้านการสื่อสาร และพลังงานการบิน ธนาคาร นั้นเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติโดยตรงในยุคนี้ เป็นการสมควรหรือที่จะให้เอกชน หรือ ต่างชาติมาถือครอง หรือ บริหาร
ลองหลับตานึกดูว่า ถ้าหากมีความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น และกิจการที่เกี่ยวกับความมั่นคงไม่ยอมให้รัฐเข้าไปใช้ เช่นสนามบิน หรือ ให้ใช้แต่คิดค่าเสียโอกาสเป็นรายวัน เท่านี้ก็ตายอย่างเขียดแล้ว

ถ้ารัฐใช้อำนาจรัฐเข้าบีบบังคับ ก็จะเป็นการเปิดช่องให้ต่างชาติถือเป็นข้ออ้างในการส่งกองทัพบุกเข้ามายึดคืน หรือ ส่งเครื่องบินมาบอมบ์เราได้อย่างชอบธรรม และถูกกฏหมายระหว่างประเทศ โดยอ้างว่าเพื่อคุ้มครองคนหรือ ทรัพย์สินของเขา ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ และเป็นประเด็นที่ต้องพึงสังวรณ์อย่างชนิดประมาทไม่ได้อย่างเด็ดขาด

ทุกวันนี้ธนาคารต่างชาติก็ไม่ยอมฟังคำสั่งของธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องนโยบายดอกเบี้ยแล้ว บริษัทน้ำมันต่างชาติก็คิดค่าการตลาดมหาโหด บริษัททางด่วนก็คิดค่าทางด่วนแพงที่สุดในโลก
ถ้าแปรรูปทุกอย่างตามแผน \\\\\\\\\\\\\\\"ยาสั่ง\\\\\\\\\\\\\\\" แล้ว ประชาชนจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรครับ โจรมิเต็มบ้านหรอกหรือ

ทำไมองค์กรโลกบาลและบริษัทข้ามชาติต้องการให้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ
เหตุผล คือ
- มีลูกค้าทั่วประเทศ ไม่ต้องลงทุนด้านการตลาด
- เป็นกิจการผูกขาด ไม่มีคู่แข่ง
- เป็นกิจการขายบริการที่เป็นความจำเป็นของชีวิตประจำวัน
( ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ไปรษณีย์ พลังงาน ธนาคาร สนามบิน การ ศึกษา การรักษาพยาบาล)
- ได้อภิสิทธิ์ของรัฐ และการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานฟรี

การแปรรูปการประปา
นิตยสารฟอร์จูน ได้รายงานว่า ผลกำไรของอุตสาหกรรมน้ำ คิดเป็นร้อยละ 40 ของอุตสาหกรรมน้ำมัน และล้ำหน้าอุตสาหกรรมยาไปแล้ว คือมีกำไรปีละ 1 ล้านล้านเหรียญอเมริกัน เจ้าพ่ออุตสาหกรรมน้ำที่ใหญ่ที่สุด 2 ราย เป็นของฝรั่งเศส คือ Vivendi Universal และ Suez โดยมีลูกค้าที่รับบริการถึง 200 ล้านคน ใน 150 ประเทศ บริษัทที่รองลงมา ได้แก่ Bouygues Saur, RWE-Thames Water และ Bechtel-United Utilities. ( The Nation, September 2/9, 2002) ดังนั้น การเสนอให้แปรรูปการประปา และเก็บค่าบริการการใช้น้ำจึงเป็นหัวข้อใหญ่ขององค์กรโลกบาลที่บีบให้ประเทสกำลังพัฒนาให้แปรรูปการประปา และให้มีการเก็บค่าน้ำ ทั้งๆที่น้ำเป็นสินทรัพย์ธรรมชาติแท้ๆ

แผนบิดเบือนให้ประชาชนหลงผิดในเรื่องการแปรรูปฯ
มีความเชื่อจนกลายเป็นความหลงผิดและยกมาเป็นข้ออ้างว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และลดภาระทางการเงินของรัฐในการอุดหนุนรัฐวิสาหกิจนั้นๆซึ่งมักจะดำเนินการขาดทุน
ที่แปลกยิ่งไปกว่านั้น คือ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในประเทศไทยนั้นเลือกแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่ทำกำไรและส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังทุกปี เช่น โรงงานยาสูบ การสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท) การท่าอากาศยาน(สนามบินดอนเมือง) ป.ต.ท. และ ก.ฟ.ผ.รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิด้วยฯลฯ
นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจซึ่งเริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล ชวน ธารินทร์ โดยการบีบบังคับของไอเอ็มเอฟตามที่ระบุในจดหมายแสดงเจตฯจำนงค์นั้น ประเทศอาเจนตินาได้ดำเนินการมาก่อนแล้วในสมัยประธานาธิบดี เมเนมในระหว่างปี ค.ศ. 1990-1994
คุณอัมรินทร์ คอมันต์ คุณ ณรงค์ โชควัฒนา และคุณ นิติภูมิ เนาวรัตน์ ซึ่งได้เดินทางไปสังเกตการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในประเทศอาเจนตินาเมื่อเร็วนี้ ได้เล่าความจริงให้ผู้สนใจฟังที่ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมาว่า ก่อนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลังเคยมีรายได้ 4-5 หมื่นล้านเหรียญต่อปี แต่ภายหลังแปรรูปแล้วเงินได้ไหลออกไปนอกประเทศเหมือนเลือดที่ไหลออกไปจากร่างกาย ค่าไฟฟ้า น้ำประปาแพงหมดจนมีคนอดน้ำตายข้างถนน ประชาชนต้องจ่ายแม้แต่ค่าใช้ถนนหลวงในแต่ละสาย ที่มิใช่ทางด่วน เพราะสมบัติของชาติถูกแปรรูปให้ต่างชาติหมด ความวิบัติ หายนะจึงเกิดขึ้นในวันนี้

ประเทศเมกซิโกก็ดำเนินการมาก่อนเช่นเดียวกัน แล้ววันนี้ก็ประสบหายนะที่ไม่แตกต่างกัน

ลองหันมาดูตัวอย่างรูปธรรม ในกรณีการแปรรูปการรถไฟของประเทศอังกฤษ อีกสักกรณีหนึ่ง สิ่งแรกที่เกิดขึ้น คือ การฉ้อโกงทรัพย์สินของประชาชนอย่างถูกกฎหมายเพื่อให้พรรคพวกได้ร่ำรวย โดยการขายในราคาถูกๆ เช่น เส้นทาง Porterbrook ROSCO ได้ถูกขายสัมปทานไปในราคา 527 ล้านปอนด์ ในเดือนมกราคม 1966 แล้วถูกขายต่อ ในเวลา 7 เดือนต่อมาในราคา 825 ล้านปอนด์
สัมปทานอีกเส้นหนึ่ง คือ Eversholt ROSCO ถูกขายสัมปทานไปในราคาเพียง 580 ล้านปอนด์ แต่ถูกขายต่อในเวลา 1 ปีต่อมาในราคา 726 ล้านปอนด์ คนใกล้ชิดของพรรคอนุรักษ์นิยม ของนางแทชเชอร์ รับเงินกันไปบานตะไท
เรื่องไม่จบเพียงแค่นั้น หลังจากแปรรูปรัฐวิสาหกิจแล้ว คนงานที่มีอยู่ จำนวน 159.000 คน ได้ถูกปลดออกเหลือเพียง 92000 คน คนงานดูแลรักษารางจำนวน 31000 คนก็ถูกปลดลดเหลือ 15000 คน อุบัติเหตุจึงเกิดขึ้นเป็นประจำ และร้อยละ 40ของตารางรถไฟที่เคยวิ่งอย่างตรงเวลาเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กลับวิ่งไม่ตรงเวลา และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึงวันละ 250000 ปอนด์ โดยที่ราคาค่าโดยสารเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 100 เปอร์เซนต์
เมื่อปัญหาเกิดขึ้นบริษัทที่ซื้อสัมปทานก็ไม่ยอมปรับปรุง โดยอ้างว่าขาดทุนและเรียกร้องให้รัฐช่วย เป็นเงินถึง 5 หมื่นล้านปอนด์ เพื่อการปรับปรุง ซึ่งไม่แตกต่างจากกรณีของไทยที่รัฐต้องลงทุนสร้างโครงสร้างส่วนขยายของรถไฟฟ้า เพื่อให้มีคนใช้มากขึ้นและเป็นการแก้ปัญหาการจราจร โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขในการลดราคาให้ผู้โดยสาร
เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวอังกฤษถึงร้อยละ 77 ต่างเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษซื้อกิจการคืนกลับมาเป็นของรัฐ และรัฐบาลของนายโทนี่ แบร์ก็กำลังดำเนินการอยู่ แต่ราคาซื้อคืนนั้นไม่ใช้ราคาเดิมเสียแล้ว
เมื่อปีที่แล้ว บริษัทที่ซื้อสัมปทานรถไฟไปได้รายงานตัวเลขขาดทุนถึง 300 ล้านปอนด์ แต่กลับจ่ายเงินปันผลถึง 100 ล้านปอนด์ให้กลับผู้ถือหุ้น

ครับ นี่ คือ ความโปร่งใสของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศที่เป็นแบบอย่างของระบอบประชาธิปไตย และประเทศที่ตรงกันข้ามอย่างอาเจนตินา ซึ่งล้วนมีกระบวนการและผลลัพท์ที่ไม่แตกต่างกัน
นั่น คือ กรรมและภาระจะต้องตกอยู่กับประชาชนตาดำๆอย่างแน่นอน
อีกกรณีศึกษาอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ประเทศอาเยนตินาที่ได้เริ่มดำเนินนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างจริงๆจังๆในปี 1991 หลังจากที่ได้รับเลือกตั้งมาเป็นเวลา 2 ปี

ภายในเวลาเพียง 2 ปี รัฐบาลของประธานาธิบดี มีเนมและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โดมิงโก คาวาโย ได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจและขายสัมปทานของรัฐออกไปถึง 250 แห่ง โดยได้รับเงินสดจากการขายกิจการของรัฐเป็นเงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ
พนักงานรัฐวิสาหกิจถูกปลดจากจำนวน 5 แสน 9 หมื่น คน เหลือ 2 แสน 6 หมื่น คน
หลังจากการแปรรูป 10 ปี เงิน 3 หมื่นล้านเหรียญหายวับไปกับตา ประเทศอาเยนตินาประสบวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุด และกลายเป็นประเทศล้มละลายในปี 2002 นายโดมิงโก คาวาโยหลบหนี ข้อหาฉ้อโกงและรับสินบน 13 คดี คิดเป็นเงินหลายร้อยล้านเหรียญหนีไปอยู่อเมริกา
ประธานาธิบดีมีเนมและญาติพี่น้องต่างก็เจอข้อหาทำนองเดียวกันและคดียังอยู่ในศาลนับจำนวนไม่ถ้วน
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม คือ การขายสายการบิน Aerolineas Argentinas ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของอาเยนตินา นายแอนโทนี ฟายย่า ได้เขียนรายงานไว้ในหนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสท์ ฉบับประจำวันที่ 6 สิงหาคม 2001 ว่า
สายการบินแห่งชาติอาเยนตินามีเครื่องบิน 28 ลำมีศูนย์ฝึกนักบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา มีสำนักงานหรูอยู่ที่ ร๊อกกี้เฟลเลอร์ เซนเตอร์ ในเมืองนิวยอร์ก และ โรม เป็นเจ้าของสิทธิเส้นทางบินคิดเป็นมูลค่าตลาด 636 ล้านเหรียญ มีกำไรจากการประกอบการร้อยละ 5.6 ต่อปี
ประธานาธิบดีมีเนมได้ขายไปให้แก่สายการบิน ไอบีเรียของรัฐบาลสเปน เป็นเงินแค่ 260 ล้านเหรียญ โดยสามารถใช้เครื่องบินทั้งหมดมาค้ำประกันเงินกู้เพื่อนำมาจ่าย แล้วโอนให้เป็นหนี้ของบริษัท
สายการบินอาเยนตินาที่เคยเป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา ซึ่งมีเส้นทางบินไปทั้ง อเมริกา ยุโรปและออสเตรเลีย ถูกลดเที่ยวบินให้เหลือบินเฉพาะภายในทวีปลาตินอเมริกา และส่งผู้โดยสารต่อให้สายการบินไอบีเรียผู้เป็นบริษัทแม่ รวมทั้งการถอนทุนโดยการขายสำนักงานหรูที่มีอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก

ปัจจุบันสายการบินอาเยนตินาอยู่ในสภาพกึ่งล้มละลาย

ต่อไปสายการบินไทยก็คงจะถูกกระทำเช่นเดียวกันแบบกรณีข้างต้นโดยสายการบินสิงค์โปร์ซึ่งจ้องจะซื้อสายการบินไทยอย่างตาเป็นมัน
ข้างต้นนี้คือตัวอย่างรูปธรรมที่เกิดขึ้นมาแล้ว และน่าจะเป็นกรณีศึกษาที่เป็นอุทธาหรณ์

ไม่ว่ารัฐบาลจะเสียงแข็งและปฏิเสธอย่างไรก็ตามว่าไม่ต้องการแปรรูป(ขาย)รัฐวิสาหกิจ แต่ต้องการแปลงทุนเป็นหุ้น และ แปลงรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัด เท่านั้น และก็เป็นนโยบายของรัฐบาลมานมนานแล้ว แต่จดหมายแสดงเจตจำนงฉบับที่ 5 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2541 (LOI 5) ในช่องตาราง F ซึ่งเขียนขึ้นตามเงื่อนไขของเงินกู้และคำบัญชาของ IMF นั้น ชี้ชัดว่ารัฐบาลไม่ได้พูดความจริงกับประชาชน
ส่วนในหัวข้อที่ 5 ว่าด้วยการแปรรูป(ขาย)รัฐวิสาหกิจรายแห่ง ในจดหมายแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 5 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนดังนี้
สาขาพลังงาน
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ขายหุ้นบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด
2. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยให้ขายหุ้น บริษัท ปตท, สำรวจและผลิต ปิโตรเลียม จำกัด
3. ให้รัฐบาลออกเอกสารเสนอประมูลขายหุ้นของรัฐบาลในบริษัทเอสโซ่ ประเทศไทย(ซึ่งมีกำไรทุกปี)
4. บริษัท บางจาก จำกัด ให้ออกเอกสารเสนอขายหุ้นที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
5. ให้ขายโรงไฟฟ้า (Power gen 2) ที่ราชบุรี
6. แปลงการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นบริษัทจำกัดเพื่อเตรียมการแปรรูป(ขาย)

สาขาโทรคมนาคม
1. องต์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย ให้แปลงเป็นบริษัทจำกัด และปรับโครงสร้างองค์กร
2. ออกเอกสารเสนอขายหุ้นส่วนใหญ่ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ

สาขาขนส่ง
1. บริษัท การบินไทย จำกัด ให้ออกเอกสารเสนอขายหุ้นที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ
2. แปลงการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยเป็นบริษัทจำกัด
3. เริ่มกระบวนการแปรรูป(ขาย) บริษัท การท่าอากาศยานภูมิภาค จำกัด

จากเอกสารแสดงเจตจำนงฉบับที่ 5 นี้ ได้แสดงให้เห็นถึงการที่ต่างชาติได้เข้ามาก้าวก่ายในกิจการภายในของชาติอย่างเต็มตัว ทั้งด้านการบีบบังคับในการดำเนินนโยบาย และ การบังคับให้ออกกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อทุนต่างชาติ
เมื่อมองให้ลึกๆแล้ว จะเห็นว่าภาวะเช่นนี้ร้ายแรงยิ่งกว่ายุคล่าอาณานิคม ที่ประเทศเจ้าอาณานิคมมีสิทะสภาพนอกอาณาเขต ซึ่งหมายความว่า กฎหมายเป็นของชาติ และคนไทยเป็นผู้บัญญัติ แต่ ต่างชาติขออยู่นอกบังคับของกฎหมายของเรา
แต่ยุคนี้ เขามาจับมือเราเขียนกฎหมายเอาเลย

ประเด็นที่น่าจะนำมาพิจารณา ที่ทั้งภาครัฐ และประชาชนจะทำเมินเฉย แล้วมาโวยวายทีหลังไม่ได้ เพราะ หมายถึง .สิ้น(อิสระ)ชาติ. ไป แล้ว นั่น คือ
1. กิจการทั้งหลายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นล้วนเป็นกิจการผูกขาด ที่กำหนดความเป็นความตาย และ ความมั่นคงของชาติและประชาชน โดยเกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของประชาชนโดยตรง เช่น ด้านพลังงาน ด้านขนส่ง ด้านคมนาคม ซึ่งถ้าบ้านเมืองเกิดภาวะสงครามขึ้นมา แม้ว่าจะเป็นสงครามในระดับภูมิภาคก็ตาม แล้วรัฐบาลไม่สามารถควบคุมราคา หรือ ปริมาณการใช้และ การสำรอง น้ำมัน หรือ การควบคุมการสื่อสาร และ การให้ข่าวสาร ซึ่งในยุคไฮเทคนี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งใน
บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #14 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 06:45:23 PM »

ข้อมูลเก่าหน่อยนะครับ เเต่ผมเห็นว่ามันเชื่อมโยงกับสภาวะปัจจุบัน 

ลองดูชื่อบริษัทผู้ถือหุ้นดูครับ Tongue
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.34 วินาที กับ 22 คำสั่ง