เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 13, 2024, 03:17:22 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลังงานเชื้อเพลิงในไทย(ข้อมูลผู้ถือหุ้นในธุรกิจพลังงาน)  (อ่าน 6576 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 10:20:08 PM »

ข้อมูลเก่าหน่อยนะครับ เเต่ผมเห็นว่ามันเชื่อมโยงกับสภาวะปัจจุบัน 

ลองดูชื่อบริษัทผู้ถือหุ้นดูครับ Tongue

อยากให้ดูชื่อไหนล่ะครับ ... มากจนตาลาย Grin Grin

เรื่องตัวเลขผมไม่แน่ใจนักนะครับ ว่ามีการคิดซ้ำซ้อนจริงหรือเปล่า
   แต่ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากได้คืนมาเป็นของประชาชนครับ
   ถ้าใครตั้งชมรมทวงคืน ปตท.เนี่ย ขอสมัครด้วยนะครับ

คิดซ้ำซ้อนครับ โดยตัวเลขที่กล่าวอ้างเป็นการนำตัวเลขกำไรของบริษัทแม่ และบริษัทลูก รวมกัน

แต่

๑. บริษัทแม่ ไม่ได้ถือหุ้นบริษัทลูกทั้ง ๑๐๐% ครับ .... บางบริษัทถือเพียงบางส่วน ดังนั้นจึงควรมีสิทธิ์เพียงบางส่วน
๒. ในการแสดงตัวเลขกำไรของบริษัทแม่ ... บริษัทแม่ต้องคิดกำไรรวมส่วนของบริษัทลูกด้วยตามสิทธิ์ของหุ้นที่มีอยู่ ...
๓. นั่นคือผลกำไรที่บริษัทแม่แสดง ได้รวมส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทลูกมาแล้ว

ดังนั้นการนำตัวเลขที่บริษัทแม่ บวกกับบริษัทลูก จึงเป็นการคิดซ้ำซ้อนครับ


 
ตัวอย่าง 4 ใน 6 รายชื่อผู้ถือหุ้น ปตท มากสุดซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับพรรคไทยรักไทยทั้งสิ้น

1. นายทวีฉัตร จุฬารกูร – หลานของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (เลขาธิการพรรคไทยรักไทย) 2.2ล้านหุ้น

2. นายประยุทธ มหากิจศิริ – กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 2ล้านหุ้น

3. นายดิษฐพล ดำรงรัตน์ – ญาติ นพ. พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 1.7ล้านหุ้น

4. นายสุธี มีนชัยนันท์ – ญาตินายวิชาญ มีนชัยนันท์สส. กทม. พรรคไทยรักไทย 3แสนหุ้น

จริงๆแล้ว 6 อันดับแรกนั้นได้หุ้นทั้งหมด 16 ล้านหุ้น มูลค่าขณะนั้นมีมูลค่าเพียง 385 ล้านบาท แต่2ปีถัดมามีมูลค่าถึง 1,377 ล้านบาทแล้ว ดูแค่นี้ก็น่าจะรู้แล้วว่าทำไม ทรท ถึงอยากนำ กฟผ. เข้าตลาดหุ้นนัก แล้วนี่ก็คือเหตุผลที่นายยกไม่กล้าเผชิญหน้ากับกลุ่มประท้วง แบบนี้ไม่เรียกว่าขายชาติแล้วจะขายอะไรครับ

FYI ...ปตท. มีจำนวนหุ้นที่จดทะเบียน 2,818,878,325 หุ้น .... จำได้ว่าเข้าตลาดสามสิบกว่าบาท .... อยู่หลายปี ....

การที่ ปตท. สามารถสร้างผลกำไรได้ดี จนมีคนสนใจซื้อหุ้นมาก จนราคาปัจจุบันราวสามร้อยกว่าบาท (จาก ๓๘ ไปเป็น ๓๓๐) คงไม่ใช่เพราะมันเคยเป็นรัฐวิสาหกิจหรอกครับ ....

ดังนั้นการนำ กฟผ. กปน. กสท. ทศท. หรือต่อให้ ขสมก. .. ก็ใช่ว่าราคาหุ้นจะพุ่งได้เป็นร้อยเท่าแบบนี้ ....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2008, 10:37:03 PM โดย jakrit » บันทึกการเข้า

ต้นหนาว
CE KKU
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1397
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9433



« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 12, 2008, 10:32:03 PM »

ขอบคุณครับ...สำหรับความรู้
บันทึกการเข้า

  
ARMSCOR
Sr. Member
****

คะแนน 10
ออฟไลน์

กระทู้: 590


« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2008, 12:25:34 AM »

พอ เเปรสภาพ ผลกำไรบางส่วน ตกอยู่เพียงกลุ่มคนบางกลุ่ม
ผมอยากให้ ผลกำไรส่วนนั้น อย่างน้อยได้กับมาทำประโยชน์
ต่อประชาชนผู้ที่เสียภาษี
รวมทั้งกลุ่มที่ไม่เสียภาษี เเต่มีสิทธเลือกตั้ง(รวมไปถึงหลบหลีก)  หัวเราะร่าน้ำตาริน




   วิธีการที่ถูกต้องที่สุดถ้าหากว่าเห็นว่าภาคเอกชนได้กำไรมากเกินไปก็คือการเรียกร้องให้ภาคเอกชนจ่ายภาษีให้รัฐเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่เรียกร้องให้ลดราคา  เพราะการลดราคาน้ำมันจะทำให้คนใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น   เศรษฐศาสตร์โดยรวมของประเทศไทยจะเสียไป  และถ้ามองอย่างตรงไปตรงมาแล้วเราจะเห็นว่าหุ้นปตท.ไม่ได้ขึ้นทันทีหลังจากขายหุ้น  ในช่วงปีแรกหุ้นยังไม่ขึ้น แต่หุ้นมาขึ้นในช่วงน้ำมันแพง ซึ่งธุรกิจน้ำมันทั่วโลกก็ได้กำไรมากทั้งนั้น  ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเป็นเหมือนช่วงก่อนปี2540 ปตท.ก็จะมีกำไรไม่มาก  คนที่ซื้อหุ้นปตท.ไปจะถือว่าโชคดีก็ได้เพราะช่วงที่ขายหุ้นใหม่ๆก็ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นธุรกิจที่ได้กำไรมากขนาดนี้
บันทึกการเข้า
ก็อต
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

กระทู้: 35



« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2008, 08:09:59 AM »

ใช่ครับการเรียกร้องให้ลดราคาโดยไม่มีเหตุผลไม่ควรครับ เดี๋ยวจะเคยตัว เเต่อยากให้เสียภาษีเพิ่มขึ้นครับ อย่างที่พี่ARMSCOR  ว่าละครับ
ภาษีที่ได้จะได้นำไปกระจายในส่วนต่างๆ ทั่วไป  เเต่รัฐต้องเลือกให้ดีว่าควรใช้ส่วนไหน ไม่ใช่เอาใจเเค่บางกลุ่มที่เป็นฐานเสียง

ส่วนตอน ปตท ขายหุ้นตอนเเรก   หลายคน(รวมถึงผม)คงพอจะคาดเดาได้ละครับว่าอนาคตจะสดใส เเต่คงไม่นึกว่าจะขึ้นมามากขนาดนี้

เพราะถ้าไม่คาดเดากันว่าอนาคตจะดี  คงไม่ขายหมด ในไม่กี่วินาที
อย่างผม จองไม่ทันหรอกครับ


ที่ให้ดูรายชื่อบริษัทผู้ถือหุ้นคือ
ที่เคยจะแปรรูป กฟผ
เพราะ เป็นผู้ถือหุ้นด้านพลังงาน
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกยังไง ชี้เเจงได้นะครับ ไหว้




บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2008, 08:35:44 AM »

เรื่องการแปรรูปต่าง ๆ ก็คงมีที่มาที่ไปอยู่ครับ และการจะแปรรูปก็คงไม่ได้คิดวันนี้ อีกเดือนเดียวเสร็จเช่นกัน

เวลากระจายหุ้น มันไม่มีกำหนดวิธีการกระจายครับ บริษัทที่เข้าตลาดสามารถเอาหุ้นไปให้ใครก็ได้ ในรูปแบบที่เรียกว่า "สำหรับผู้มีอุปการะคุณ" ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิด ตอน ปตท. กระจายหุ้นก็มีพวกเหล่านี้ .... อีกทั้งยังมีหุ้นของพนักงานอีก ที่บริษัทให้เป็นรางวัล หรือให้เป็นวัญและกำลังใจ (จะได้ร่วมหัวจมท้ายกันต่อไป)

ตอน ปตท. กระจายหุ้น ก็เชื่อได้ว่ามีพวกขาใหญ่ หรือคนที่สนิทกับโบรกเกอร์ แอบเข้าไปคีย์จองก่อนเวลาครับ เพราะเปิดแค่วิเดียว หุ้นหมด .....

ตอนจะกระจายหุ้น กฟผ. ในตลาด ผมจำได้ว่า รัฐบาลนาย ๒๓ ก็ได้กำหนดห้าม หุ้นของผู้มีอุปการะคุณไว้ และกำหนดการจองหุ้นแบบเป็ฯขั้นบันได เพื่อเน้นการกระจายหุ้นให้ถึงรายย่อยมากที่สุด .... ซึ่งดูแล้วก็เป็นธรรมดี

แค่สะดุดเรื่องการแปรรูปเสียก่อน .... คนเดือดร้อนที่สุดคือพนักงานเอง ที่ไปกู้เงินมาจองหุ้นไว้ ....

เรื่องการจองหุ้นที่เข้าตลาดครั้งแรก (IPO) ... ช่วงที่ผมเข้ามาศึกษาเรื่องหุ้นใหม่ ๆ ช่วงนั้นหุ้นอะไรที่ IPO ในการซื้อขายวันแรก ราคาจะขึ้นไปได้น้ำได้เนื้อพอสมควร ... ยามนั้นบางคนที่เคยคุยด้วยบอกว่า เขาหาแต่หุ้น IPO จองได้ปุ๊บ เปิดให้ซื้อขายเมื่อไรก็กำไรแล้ว (ขายวันแรกเลย) ..... ลักษณะนี้เป็นนักเก็งกำไร คงไม่ถือหุ้นนานเป็นปีหรอกครับ

ยุคนี้เศรษฐกิจฝืด ๆ อืด ๆ อย่างไรไม่ทราบ หุ้น IPO เดี๋ยวนี้ไม่มีคนสนใจเหมือนช่วงนั้น เพราะบางครั้งเข้าไปวันแรก ราคาปิดต่ำลงก็มี ....
บันทึกการเข้า

Chayanin-We love the king
ฟ้าสว่างสดใสไร้มลทิน เพียงเมฆินบังเบียดเสนียดฟ้า แกว่งยางยูงปัดป้องท้องนภา ผู้แก่กล้าโปรดอย่าว่าตัวข้าเลย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 62
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2610



« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2008, 09:24:08 AM »

เรื่องการแปรรูปต่าง ๆ ก็คงมีที่มาที่ไปอยู่ครับ และการจะแปรรูปก็คงไม่ได้คิดวันนี้ อีกเดือนเดียวเสร็จเช่นกัน

เวลากระจายหุ้น มันไม่มีกำหนดวิธีการกระจายครับ บริษัทที่เข้าตลาดสามารถเอาหุ้นไปให้ใครก็ได้ ในรูปแบบที่เรียกว่า "สำหรับผู้มีอุปการะคุณ" ซึ่งถ้าผมจำไม่ผิด ตอน ปตท. กระจายหุ้นก็มีพวกเหล่านี้ .... อีกทั้งยังมีหุ้นของพนักงานอีก ที่บริษัทให้เป็นรางวัล หรือให้เป็นวัญและกำลังใจ (จะได้ร่วมหัวจมท้ายกันต่อไป)

ตอน ปตท. กระจายหุ้น ก็เชื่อได้ว่ามีพวกขาใหญ่ หรือคนที่สนิทกับโบรกเกอร์ แอบเข้าไปคีย์จองก่อนเวลาครับ เพราะเปิดแค่วิเดียว หุ้นหมด .....

ตอนจะกระจายหุ้น กฟผ. ในตลาด ผมจำได้ว่า รัฐบาลนาย ๒๓ ก็ได้กำหนดห้าม หุ้นของผู้มีอุปการะคุณไว้ และกำหนดการจองหุ้นแบบเป็ฯขั้นบันได เพื่อเน้นการกระจายหุ้นให้ถึงรายย่อยมากที่สุด .... ซึ่งดูแล้วก็เป็นธรรมดี

แค่สะดุดเรื่องการแปรรูปเสียก่อน .... คนเดือดร้อนที่สุดคือพนักงานเอง ที่ไปกู้เงินมาจองหุ้นไว้ ....

เรื่องการจองหุ้นที่เข้าตลาดครั้งแรก (IPO) ... ช่วงที่ผมเข้ามาศึกษาเรื่องหุ้นใหม่ ๆ ช่วงนั้นหุ้นอะไรที่ IPO ในการซื้อขายวันแรก ราคาจะขึ้นไปได้น้ำได้เนื้อพอสมควร ... ยามนั้นบางคนที่เคยคุยด้วยบอกว่า เขาหาแต่หุ้น IPO จองได้ปุ๊บ เปิดให้ซื้อขายเมื่อไรก็กำไรแล้ว (ขายวันแรกเลย) ..... ลักษณะนี้เป็นนักเก็งกำไร คงไม่ถือหุ้นนานเป็นปีหรอกครับ

ยุคนี้เศรษฐกิจฝืด ๆ อืด ๆ อย่างไรไม่ทราบ หุ้น IPO เดี๋ยวนี้ไม่มีคนสนใจเหมือนช่วงนั้น เพราะบางครั้งเข้าไปวันแรก ราคาปิดต่ำลงก็มี ....


******
เรื่องรัฐวิสาหกิจแปรรูป  ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ต้องแปรเพราะคนไทยแต่ละคนถือหุ้น 1หุ้น ผ่านรัฐบาลอยู่แล้ว   แต่ถ้ายังจำเป็นต้องกระจายก็ต้องไม่มีส่วนแบ่งของ  สถาบัน  ของรายย่อย  จริงๆน่าจะจัดสรรให้คนไทยทั้ง 70 ล้านคน  ทุกคนได้เท่าๆกันนั่นแหละ  ถ้าเหลือค่อยให้ต่างชาติ   เดี๋ยวนี้อะไรก็ต่างชาติ  กลัวต่างชาติไม่เข้ามาลงทุน    ผมเศร้าใจจริงที่รัฐต้องการให้ประชาชนเป็นทาส เป็นลูกจ้าง  มากกว่าเป็นนักลงทุน  เมื่อไหร่เราจะอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัย  พ่อทูนหัวต่างชาติ  สักที
อันนี้เป็นรายชื่อผู้ถือหุ้น  ปตท. อัพเดทล่าสุด  21/3/2008
Rank Major Shareholders Type # Shares (Shares) % Shares
1 กระทรวงการคลัง Local Juristic Person 1,459,885,575                                                                                51.80
2 กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) Local Juristic Person 217,900,000                    7.73
3 กองทุนรวม วายุภักษ์ หนึ่ง โดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย Local Juristic Person 217,900,000           7.73
4 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD Foreign Juristic Person 59,117,288                                             2.10
5 CHASE NOMINEES LIMITED 42 Foreign Juristic Person 46,347,400                                                            1.64
6 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด Local Juristic Person 44,627,201                                                                      1.58
7 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY Foreign Juristic Person 42,649,005                                        1.51
8 NORTRUST NOMINEES LTD. Foreign Juristic Person 40,729,686                                                                1.45
9 MELLON BANK,N.A. Foreign Juristic Person 29,622,665                                                                                1.05
10 THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED Foreign Juristic Person 26,954,391                                        0.96
11 HSBC BANK PLC-CLIENTS GENERAL A/C Foreign Juristic Person 21,251,600                                             0.75
12 สำนักงานประกันสังคม Local Juristic Person 20,755,100                                                                            0.74
13 กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ Local Juristic Person 18,313,100                                                              0.65
14 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON Foreign Juristic Person 16,189,825                    0.57
15 GOVERNMENT OF SINGAPORE INVESTMENT CORPORATION C Foreign Juristic Person 15,305,300            0.54
16 INVESTORS BANK & TRUST COMPANY Foreign Juristic Person 15,173,425                                                 0.54
17 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA Foreign Juristic Person 14,154,335              0.50
รวมผุ้ถือหุ้นรายใหญ่ที่โชว์ไว้   81.84%


บันทึกการเข้า

ไม่อยากเป็นมะเร็ง   ก็ใช่ว่าต้องเป็นโรคหัวใจ
สุขภาพดีเป็นเรื่องไม่ยาก
สุขภาพที่ดีของประเทศไทย   อยู่ที่สภาวะปราศจากโรคร้าย
ไม่ใช่อยู่ที่ต้องเลือกระหว่าง  มะเร็ง  กับ โรคหัวใจ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 22 คำสั่ง