ปตท. มันก็เกินไป
>
>
> ผมได้มีการรวบรวมข้อมูลและประมวลสถานะการ์ณต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้
>
> เรื่องของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศไทย ไม่ว่าเป็น ดีเซล เบนซิน แก๊สโซฮอล
> NGV หรือ LPG ต่างก็ยังไม่ได้ลอยตัวครับ ถ้าให้ลอยตัวเหมือนกันหมดราคาเชื้อเพลิงที่
> กล่าวถึงก็คงจะขึ้นราคา แต่คงไม่เกิน 3 บาทต่อลิตรครับ แต่ที่ ปตท. ซึ่งไม่ใช่หน่วย
> งานของรัฐ เป็นบริษัทเอกชน เช่น เอสโซ เชลล์ มาออกข่าวว่าต้องขึ้นราคาแก๊ส LPG
> อีก 11 บาทนั้น เขาอ้างอิงจากราคาตลาดโลก แต่ประเทศไทยผลิตได้เองส่วนหนึ่งจาก
> แหล่งผลิตในประเทศ และจากการกลั่นน้ำมันดิบ
>
> ประเทศในยุโรป ไต้หวัน เกาหลี อินเดีย และอีกหลายประเทศ รัฐบาลเขามีนโยบาย
> สนันสนุนผู้ใช้แก๊ส ทั้ง NGV และ LPG ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ในครัวเรือน หรือ
> ในการขนส่ง ด้วยสาเหตุที่ว่า แก๊ส LPG และ NGV เป็นเชื้อเพลิงสะอาด (clean
> fuel) หรือพลังงานสะอาด (clean energy) ลดมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการใช้
> เชื้อเพลิงประเภทเบนซินหรือดีเซล ประโยชน์ที่ได้รับจากการสนับสนุนตรงนี้คุ้มกว่าผล
> เสียที่ก่อให้เกิดทางสังคม เช่นโรคทางเดินหายใจ หรือโรคอื่นๆ มาก หลายประเทศ
> รัฐบาลเขาออกมาประกันราคา NGV และ LPG ว่าจะไม่ขึ้นภายในเวลาหนึ่ง เพื่อส่ง
> เสริมให้ประชาชนเขาลงทุนติดตั้งระบบแก๊สในรถยนต์
>
> ในประเทศไทย การใช้แก๊ส LPG ในรถยนต์มีมามากกว่า 20 ปีเท่าทีผมจำความได้
> หรือมากกว่านั้น ถ้าจำไม่ผิดรัฐบาลเองในยุคก่อนมีนโยบายส่งเสริมการใช้ LPG เหมือน
> กับประเทศอื่นๆ ด้วยซ้ำ
>
> แต่มาในยุค ปตท. แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจที่เป็นสมบัติของคนทั้งประเทศ ไปเป็นบริษัท
> เอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ (ด้วยการขายหุ้นราคาถูกกว่าราคาจริงเบื้องต้น เปรียบ
> เสมือนเอาสมบัติของประเทศมาขายในราคาต่ำกว่าราคาจริง ให้กับพวกพ้องคนรวยไม่กี่
> ตระกูล) รัฐบาลกับมีนโยบายสนับสนุนการใช้ NGV ในรถยนต์ โดยให้คำมั่นว่าจะคง
> ราคา NGV ไว้ที่ กก. ละ 8.50 บาท ส่วน LPG ที่เคยส่งเสริมนั้นไม่พูดถึง แต่มา
> เร็วๆ นี้ ปตท. และ รัฐบาล ออกมาอ้างว่าต้องขึ้นราคา LPG เพราะอุ้มสุดตัว และบีบ
> ผ่านทาง ปตท. ไม่ให้เกิดปั้มแก๊ส LPG หรือด้วยวิธีการอื่นๆ และจะขึ้นราคา NGV อีก
>
> ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
> การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG มีดังนี้
>
> 1. ปตท. เป็นผู้ผูกขาดธุรกิจ NGV แต่ผู้เดียวในประเทศไทย ไม่มีการแข่งขัน
> 2. ปตท. รับซื้อแก๊สธรรมชาติ (natural gas) จากพม่าผ่านทางท่อส่งมายังราชบุรี
> ซึ่งการวางท่อส่งแก๊สนี้ทำให้เกิดปัญหากระทบกระเทือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการลงทุน
> ของคนไทยทั้งประเทศ ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ ปตท. ที่เรารู้กันอยู่ ปตท. จำเป็น
> ต้องขาย NGV ให้มากที่สุดเพื่อคุ้มกับเงินที่ต้องจ่ายให้พม่าเป็นค่าแก๊ส
> 3. ปตท. ต้องแสดงผลประกอบการเป็นกำไร เพื่อให้ผู้ถือหุ้น (ใหญ่) พอใจ เพื่อให้ผู้
> บริหาร ปตท. ได้อยู่ในตำแหน่ง ได้รับผลประโยชน์เป็นเงินเดือนค่าจ้าง สวัสดิการ ที่
> สูงลิ่ว
> 4. นักการเมืองที่ดูแลกระทรวงพลังงาน เป็นอดีตพนักงานระดับสูงของ ปตท.
> 5. ปตท. สนับสนุนการใช้ NGV ด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการสนับสนุนราคา
> ถังแก๊ส NGV จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ยอมลงทุนสร้างปั้มแก๊ส NGV ให้ทั่วประเทศ และระบบ
> ส่งแก๊ส NGV ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนจากเอกชนรายอื่นๆ ได้ เพราะเขารู้ว่าไม่คุ้มค่า
> ทางเศรษฐกิจ เป็นเหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของ ปตท. เอง (ขอย้ำว่า
> ไม่ใช่ผลประโยชน์ต่อสังคม) อีกทั้งข้อจำกัดทางเทคนิค ไม่เป็นที่นิยมของผู้ใช้รถยนต์เท่า
> LPG ปตท. จึงต้องหามาตรการอื่นมาบีบ
>
> การที่ ปตท. ทำอย่างนี้ เป็นเรื่องที่เข้าใจเพราะเป็นบริษัทเอกชน ย่อมหาหนทางใดๆ
> ก็ได้เพื่อให้ได้กำไรสูงสุดเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น (ขอย้ำอีกครั้งว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์
> ของสังคม) แต่การที่ภาครัฐผ่านทางกระทรวงพลังงานเลือกปฏิบัติโดยสนับสนุนการใช้
> NGV ในรถยนต์สุดตัว โดยไม่สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้ เช่น ระบบการส่งแก้ส NGV
> ปั้มแก๊ส NGV และบีบการใช้ LPG ในรถยนต์ ถือว่าไม่เหมาะสม รัฐบาลควรให้ข้อมูลกับ
> ประชาชนอย่างถูกต้องถึงผลได้ผลเสียต่อสังคมของการใช้พลังงานทางเลือก และควร
> กำกับดูแลไม่ให้บริษัทเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเอาเปรียบสังคม
>
> เรื่อง ปตท. บีบไม่ให้ตั้งปั้มแก๊ส LPG เป็นเรื่องจริงครับ เมื่อ 26 ธ.ค. 48 ผมคุยกับ
> เจ้าของกิจการโรงบรรจุแก๊สแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เขาบอกว่าค่าการตลาดจากการขาย
> แก๊ส LPG สูงคุ้มค่ากับการลงทุนเปิดปั้มแก๊สเติมรถยนต์มากกว่าการเปิดปั้มเบนซิน ดีเซล
> แต่ ปตท. บีบไม่ให้ตั้ง มิฉะนั้นจะไม่ส่งแก๊ส LPG ให้ และแก๊สที่มาส่งก็มาจากแหล่งผลิต
> ในประเทศที่ลานกระบือนี่เอง ส่วนการตั้งปั้มแก๊ส NGV เขาไม่กล้าลงทุน เพราะแพง
> มาก มีรถยนต์ใช้น้อยไม่คุ้ม และมีอุปสรรคเรื่องระบบขนส่งแก๊ส NGV
>
> ... ทีนี้มาตอบข้อสงสัยว่าทำไม ปตท. หรือรัฐบาล ผ่านกระทรวงพลังงาน สนับสนุน
> การใช้ NGV สุดตัว และพยายามบีบให้เลิกใช้ LPG
> LPG สามารถกลั่นจาก น้ำมัน(ซึ่งมีต้นทุนสูงนำเข้า) และก๊าซธรรมชาติ
> (ซึ่งมาจากอ่าวไทยของเราเอง)
> NGV (ก๊าซมีเทน)ได้จากการแยกก๊าซธรรมชาติซึ่งมีอยู่ประมาณ 66 mol% LPG
> (c3+c4) 6 mol% แล้วทำไมจะไม่ควรสนับสนุนการใช้ NGV จะซื้อน้ำมันต่างชาติมาก
> ลั่นทำไม
>
> อ้างอิงข้อมูลของกระทรวงพลังงานที่เป็นข้อมูลราชการ ที่
>
http://www.eppo.go.th/info/T25.html>
> เรานำเข้า natural gas ปี 2005 156,733 bbl/day จากปริมาณการใช้
> 568,742 bbl/day หรือ 27.55 % ของการใช้ในประเทศไทย ซึ่งก็คือนำเข้าจาก
> พม่า เสียเงินตราต่างประเทศให้พม่า
>
> ข้อมูลการส่งออก LPG ครับ จากกระทรวงพลังงาน ตาราง 34 ที่
>
http://www.eppo.go.th/info/T34.html> ไทยส่งออก LPG ปี 2005 เฉลี่ยเดือนละ 150 ล้านลิตร เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้น 8.5 %
> จากปี 2004 (นั่นคือส่งออก LPG มากขึ้น) ขณะที่ปริมาณแก้ส LPG ที่ใช้ในรถยนต์ของ
> ไทยประมาณปีละ 100 ล้านลิตร หรือแค่ 10% ของแก้ส LPG ที่ส่งออกทั้งปี ยังมีเหลือ
> อีกมากสำหรับสนองความต้องการในประเทศซึ่งส่วนใหญ่ใช้ในครัวเรือนและอุตสาหกรรม
>
>
> LPG ได้มาจากสามแหล่งครับ คือ หนึ่ง เป็นผลพลอยได้จากการกลั่นน้ำมันดิบทำเบนซิน
> ดีเซล ถ้าไม่ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สอง ปนมากับน้ำมันดิบที่ขุดได้จากบ่อน้ำมันหรือแก้ส ถ้าไม่
> ใช้ก็ต้องเผาทิ้ง สาม กลั่นจากแก้สธรรมชาติ (natural gas) ส่วน NGV ได้มาจาก
> การกลั่นจากแก้สธรรมชาติ
>
> NGV เหมาะสำหรับรถสาธารณะขนาดใหญ่เนื่องจากอุปกรณ์ยุ่งยากราคาสูงและต้องใช้ถัง
> แก้สความดันสูงจำนวนมาก
>
> จากการศึกษารายงานนโยบายการใช้พลังงานของ APEC ที่ไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในยี่สิบ
> เอ็ดประเทศ ไทยเป็นประเทศเดียวที่จำกัดการใช้ LPG และส่งเสริม NGV ในรถยนต์
> ทั้งๆ ที่ผลิต LPG ได้เกินความต้องการต้องส่งออกไปขาย และยังต้องสั่งแก้สธรรมชาติ
> จากพม่าเป็นปริมาณประมาณหนึ่งในสี่ของการใช้ในประเทศ
>
> ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ออสเตรเลีย ต่างส่งเสริมและสนับสนุนการใช้แก้ส
> LPG ในรถยนต์ ด้วยมาตรการทางภาษีและสนับสนุนราคา LPG ให้ต่ำกว่าเบนซิน ดีเซล
> ประมาณครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กล่าวมายกเว้นออสเตรเลียต่างต้องนำเข้า LPG ไม่มีแหล่ง
> เองเหมือนประเทศไทย
>
> ฮ่องกงเอง ได้เปลี่ยนให้รถแทกซี 90 เปอร์เซ็นต์มาใช้แก้ส LPG ด้วยการให้เงิน
> สนับสนุน และกำลังมีโปรแกรมใหม่ที่จะเปลี่ยนรถบัสเล็ก 5,000 คันมาใช้แก้ส LPG
> (ย้ำ LPG) ด้วยเงินสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมของรัฐบาล
>
> เราผลิต LPG ได้ปีละประมาณ 3,200 ล้านลิตร
> ส่งออกประมาณ 800 ล้าน (25%)
> ใช้กับยานยนต์ (แบบเว่อร์ๆ 2 เท่าเลย) 200 ล้านลิตร
>
>
> ที่เหลืออีก 2,200 ล้านลิตร หายไปไหนครับ???
>
> ไปอยู่ภาคครัวเรือน ให้ประชาชนใช้หุงต้ม 1,000 ล้าน
> อยู่ภาคอุตสาหกรรม ทำอาหาร ทำแก้ว หลอมโลหะ ฯลฯ อีก 1,200 ล้าน
>
> แล้วไอ้ที่มาโกหกปาวๆๆๆ ว่า รถยนต์ใช้แกส ทำให้โครงสร้างพลังงานเสียหาย เพราะ
> รัฐฯ ต้องชดเชยถึงกิโลละ 11 บาท .. หรือลิตรละ 6 บาท (มาได้งัยก็ไม่รู้) .. ชด
> เชยให้ใครกัน?
>
> ชดเชยให้คนใช้รถ .. 200x6 = 1,200 ล้าน
> ชดเชยให้คนทำกับข้าวกิน .. 1,000x6 = 6,000 ล้าน (สาธุ)
> ชดเชยให้พ่อค้านายทุน ผลิตสินค้า = 1,200x6 = 7,200 ล้าน (ก็ .. ยังดี .. ของ
> จะได้ไม่แพง)
> ชดเชย ((Embedded image moved to file: pic06840.gif)Huh!!!!?? ชด
> เชยทำไม) ให้กับการส่งออก 800x6 = 4,800 ล้าน!!!!!
>
> บ.น้ำมัน ไม่รวยพุงปลิ้นวันนี้ ก็ไม่รู้จะพูดงัยแล้ว...
>
> เบนซิน91 หรือเบนซิน95 ต้องนำเข้าน้ำมันดิบ 100 %
> แก๊สโซฮอล นำเข้าเป็นน้ำมันดิบเพื่อกลั่นเป็นเบนซิน 90 % และยังเป็นเอธานอลส่วน
> หนึ่งที่เราผลิตไม่พอ ดังนั้นเท่ากับนำเข้ามากกว่า 90 % แต่รัฐบาลโปรโมตสุดลิ่มทิ่ม
> กบาล
> LPG ไม่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบส่วนหนึ่ง กับแยกจากแก๊ส
> ธรรมชาติของไทยหรือพม่าอีกส่วนหนึ่ง มีเหลือขายต่างประเทศ
> ลองใช้หัวแม่เท้าคิดดูก็แล้วกันครับ
> ใช้เบนซิน 100 ล้านลิตร หรือแก๊สโซฮอล 90ล้านลิตร ก็ต้องนำเข้าน้ำมันดิบในจำนวนที่
> มากกว่า
> ใช้ LPG 100 ล้านลิตร ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพราะจากกระบวนการกลั่นเหลือ
> ใช้จนต้องขายต่างประเทศ
> การนำLPG 100 ล้านลิตรมาใช้แทนน้ำมัน เมื่อเทียบกับการใช้เบนซิน 90ล้านลิตร หรือ
> เบนซินในแก๊สโซฮอล 80กว่าลิตรแบบไหนจะเสียเงินตราของชาติมากกว่ากัน
> (ให้อัตราสิ้นเปลืองLPGมากกว่าประมาณ 10 %)แบบไหนประหยัดเงินตราของชาติ
> มากกว่ากัน ต่อให้คิดโดยเสมอภาคนั่นคือหากชดเชยก็ชดเชยเท่ากัน หรือไม่ชดเชยก็ต้อง
> ไม่ชดเชยเหมือนกัน ค่าการตลาดต่อลิตรเท่ากัน
> ***จุดที่จะประหยัดเงินตราต่างประเทศมากที่สุดคือ จุดที่มีจำนวนผู้ใช้ LPG มากขึ้นจน
> แทบไม่มีเหลือส่งออก เพราะเราก็ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าเดิม
> หากจำนวนคนที่ใช้ LPG เพิ่มขึ้นจากเดิมจนถึงจุดที่เราแทบไม่เหลือ LPG ส่งออกนอกนั้น
> ใช้เบนซินหรือโซล่า หรือแม้แต่แก๊สโซฮอลก็ตาม จะต้องนำเข้าน้ำมันดิบอีกเท่าไหร่
>
> อย่าเพิ่งไปกลัวเลยครับ ผมว่าที่ปตท ออกมาขู่เรื่องราคาแก๊ส lpg ว่าราคาจะลอยตัว
> ราคาที่แท้จริงต้องบวกเพิ่มอีก 9บาท ต่อลิตร ตกลิตรละ18บาท สงสัยจะเป็นอุบาย
> ของปตท ที่จะทำให้คนที่คิดจะติดlpg ลังเลใจแล้วมาติด ngvแทน เพราะปัจจุบัน ngv
> ขายไม่ออก ที่เขาบอกว่าlpg ราคาขึ้นเป็น600ดอลล่า/ตัน ถ้าวิเคราะห์ดูดีๆ ตันหนึ่งมี
> 1000 กก 1กกมี1.8ลิตร 1ตันเท่ากับ 1800ลิตร 600ดอลล่าเท่ากับ 24000บาท คิด
> แล้วลิตรหนึ่งตก 13บาทกว่าเท่านั้นเอง นี่ยังไม่รวมถึงแหล่งที่มาของราคาที่เขาใช้เป็น
> ราคากลางด้วยว่า600ดอลล่า/ตัน มาจากที่ไหน ที่อื่นที่ถูกกว่านี้ก็มี เช่นซื้อมะม่วงแถว
> ต่างจังหวัด ราคาย่อมถูกกว่าที่ไปซื้อที่สีลมอยู่ดี อีกอย่างlpg เราก็ผลิตได้เองบางส่วน
> จะมาอ้างราคาตลาดโลกได้อย่างไร ทำไมไม่ตั้งราคาขาย มะม่วงทุเรียน และผลผลิต
> ทางการเกษต ที่เราผลิตได้ในประเทศ ให้มีราคาสูงเหมือนที่ขายในญี่ปุน ในอเมริกาละ
> โดยอ้างราคาตลาดโลกบ้าง ขายทุเรียนลูกละซัก2000บาทไปเลยซิ คิดว่าประชาชนโง่
> เหมือนควายเหรอครับ รัฐบาลอย่ามาขูดรีดขูดเนื้อประชาชนเลยครับ
>
>
>
> นี้คือสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ขอให้ทุกท่านร่วมหาทางแก้ไขอีกทั้ง รัฐบาลเราคงหวัง
> เพิ่งพาอาศัยไม่ได้แล้ว