สงสัยว่าทำไมต้องเรียก "ท่านรอง" ด้วยครับ??
ผมสงสัยจริงๆ เห็นใช้กันเกลื่อน พร่ำเพรื่อ เอะอะก็ท่านนั้น ท่านนี้ บ่อยครั้งที่ได้ยินแล้วเอียน หลายคนก็คงรู้สึกไม่ต่างจากผม
ผู้ใดมีข้อมูลที่อ้างอิงได้เำกี่ยวกับที่มาที่ไป ของการใช้คำเรียก "ท่าน..." ขออธิบายเป็นวิทยาทานด้วยครับ
หมายเหตุ: ถ้าเห็นว่าข้อความของผมไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่เหมาะสม จะลบก็ได้ครับ
คงมาจากเจ้าขุนมูลนาย ถูกใจทั้งคนเรียกและคนถูกเรียกครับ
ผมจะใช้เรียกคนที่รู้จักและเคารพ นอกนั้นใช้คุณครับ มองว่าทุกคนมีบทบาทหน้าที่ของตัวเอง มีคนกลุ่มเดียวสังคมอยู่ไม่ได้ เด็กเก็บจานในร้านอาหารก็มีความสำคัญในสังคม เคยเห็นนั่งร่วมโต๊ะกับผู้บริหารธนาคารทั้งชุดกันเปื้อน แต่ไม่ใช่เมืองไทยนะครับ ที่กล่าวกันไว้ว่า คนไทยนอบน้อมกับผู้มียศถาบรรดาศักดิ์และคนมีตังค์ ผมเห็นด้วยล้านเปอร์เซนต์ เราถึงได้มีนายทะเบียนที่มีอำนาจสุดๆ เกียวกันไม๊ครับ
ต้องแก้ค่านิยมตรงนี้กันครับ เพราะคงยังเป็นความเคยชินในสังคมบ้านเรา
เพื่อนผมเป็นคนเยอรมัน ได้รับงานมาเป็นผู้บริหารใหญ่ประจำประเทศไทย จริงๆแล้วอยู่ทีเยอรมันเขาก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรอยู่ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางๆเท่านั้น(ระดับหัวหน้าแผนก) พอมาอยู่สาขาที่เมืองไทยแถวปราจีนบุรี ใหญ่ซะเต็มประดาและสุขสบายซะจนเคยตัว สั่งคนไทยเป็นทาสเลย เพราะระบบพินอบพิเทาเกินเหตุของเราทำให้เพื่อนผมเคยตัว ทั้งรถประจำตำแหน่ง คนขับ เลขา อยากไปไหนไปทั้งงานและส่วนตัว เวลาประชุมก็ไม่มีใครกล้าหือกล้าทัดทาน จะเอาอะไรบอกเดี๋ยวมีคนจัดให้ กาแฟตอนเช้าไม่ถูกปากจะเอากาแฟจากบราซิล ก็ต้องวิ่งจัดหาจัดซื้อกันข้ามประเทศมาประเคน
วันย้ายไปประเทศอื่นหมอนั่นดิ้นรนสารพัดเพื่อให้ได้อยู่เมืองไทยต่อ แต่ไม่สำเร็จ วันจะย้ายไปพนักงานจัดเลี้ยงส่งที่ต่างจังหวัดกันใหญ่โตยังกับงานวัด ไม่ใช่เพราะรักอะไรหมอนี่หรอกแต่เป็นธรรมเนียมที่เขาทำกันมา เพราะหมอนี่พนักงานเกลียดมากกว่ารักครับ ลงไว้เป็นอุทธาหรณ์ ขนาดฝรั่งที่ไม่เคยมีอำนาจหรือเจ้ายศเจ้าอย่างมาก่อน พอมาถูกพินอบพอเทามากๆเข้าก็นิสัยเปลี่ยนไป ลุ่มหลงไปในทันที
ไม่อยากเจออย่าง
ท่านๆทั้งหลาย ก็ควรเลิกค่านิยมแบบนี้ เพราะเรื่องการเคารพให้เกียรติผู้ใหญ่ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีงามมันคนละเรื่องกับค่านิยมระบบเจ้าขุนมูลนายครับ