เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 30, 2024, 08:22:34 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความอนุเคราะห์วิธีการแต่งไก CZ 452 ครับ  (อ่าน 15567 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Luther
Full Member
***

คะแนน 3
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 121


« ตอบ #15 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2008, 02:13:42 PM »

คุณ   plo   เช็ค  PM   ครับ
บันทึกการเข้า

ลูกพระบิดาตานี
tls4006
Newbie
*

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 6


« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 08:34:20 AM »

คุณ   plo   กรุณาเช็ค  PM  ครับ  Grin
บันทึกการเข้า
Wooddy
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

กระทู้: 936


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 08:54:25 AM »

ผมเคยเขียนสรุปไว้บ้างในบทความ เทคนิคการการแต่งปืนยาวCZ 452ไว้บ้างครับดังนี้
  4.  การแต่งไกปืน
           เทคนิคการแต่งไกปืน  อาจจะมีด้วยกันหลากหลายวิธี แต่วิธีที่ผมจะกล่าวในที่นี้เป็นวิธีที่คนส่วนใหญ่ทราบและใช่กันมาอยู่แล้ว ทั้งนี้ผมจะแยกออกเป็นสองหัวข้อย่อย โดยแบ่งเป็นการแต่งน้ำหนักไกปืน และ การแต่ง ระยะหยุดไกหลังจากลั่นไกแล้ว(Trigger Stop) ไกปืนCZสามารถ แต่งให้มีระยะลากหรือไม่มีระยะลากเลยก็ได้ ในที่นี้ผมจะแนะนำการแต่งไกปืนแบบไม่มีระยะลาก หรือมีก็น้อยมากหรือจะเรียกว่าเป็นแบบSingle stageก็ว่าได้
       4.1 วิธีการแต่งน้ำหนักของไกปืน(เปลี่ยนสปริงไกปืน)
             วิธีนี้ก็เหมือนๆกับที่ทุกคนทราบ หรือชาวบ้าน นักกีฬาทั่วไปเขาทำกัน ซึ่งผมจะอธิบายทบทวนดังนี้
           4.1.1   ถอดซองกระสุนและลูกเลื่อนออกจากตัวปืน
           4.1.2 ถอดลำกล้องออกจากพานท้ายปืน(Stock) โดยคลายสกรูยึดลำกล้องออก สองตัวตามภาพ
           4.1.3  ประกอบลูกเลื่อนเข้าในเสื้อลูกเลื่อนดังภาพ
           4.1.4  นำสลักตอกแกนไกปืนออกดังภาพ ระวังสปริงไกปืนดีดหล่นหาย นำสปริงไกปืน แหวนล็อคสกรูปรับน้ำหนักไกปืนออก
           4.1.5  คลายสกรูปรับน้ำหนักไกออกจนเกือบสุดเกลียว
           4.1.6  ประกอบแหวนล็อคสกรูปรับน้ำหนักไกปืนเข้าที่เดิม ระวังอย่าใส่ผิดด้าน เพราะจะทำให้แหวนล็อคไม่ทำงาน  พร้อมทั้งนำสปริงปากกา ที่รูในมีขนาดสวมเข้ากับแกนสปริงได้ ขอแนะนำให้ใช้สปริงstainless ของปากกาญี่ปุ่น เพราะจะไม่ค่อยล้า และค่านิจไม่น้อยจนเกินไป (ค่านิจ หมายถึง ค่าความแข็งของสปริง มีหน่วยเป็น kg/cm หรือ lb/in)


           4.1.7 ประกอบชุดลั่นไกกลับที่เดิม ตอกสลักยึดไกให้เรียบร้อย ทดลองลงกลอนลูกเลื่อน และลองลั่นไกดูว่า น้ำหนักไกที่เราเปลี่ยนสปริงแล้วเป็นที่พอใจหรือยัง
                 ถ้าหากว่าน้ำหนักไกยังเบาเกินไป  ก็ต้องกลับไปทำตามขั้นตอน 4.1.4 ถึง 4.1.6 แล้วเปลี่ยนสปริงตัวใหม่ที่มีค่านิจสูงขึ้น ในกรณีนี้ที่เราต้องเปลี่ยนสปริงตัวใหม่เพราะเราไม่สามารถปรับสกรูตั้งไกให้ไกแข็งกว่าเดิมได้อีก เพราะเราคลายสกรูปรับไว้สุดแล้ว  ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราเหนี่ยวไกแล้ว มีความรู้สึกว่าไกยังแข็งอยู่ เราก็สามารถขันสกรูปรับความแข็งของสปริงลงไปอีก เพื่อให้สปริงยืดตัวออก ทำให้การลั่นไกจะเบาขึ้น ถ้าขันสกรูปรับสปริงไปจนสุดแล้วยังรู้สึกว่าไกยังคงแข็งอยู่ก็ต้องเปลี่ยนสปริงตัวใหม่ครับ
        ข้อแนะนำ การแต่งน้ำหนักไกปืนโดยการเปลี่ยนสปริงนี้ ผู้ใช้งานควรกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ให้ชัดเจนว่า จะใช้ปืนสำหรับยิงภายในสนามเพียงอย่างเดียว หรือจะใช้ประเภทเอนกประสงค์ หมายถึงประเภทที่ใช้ในสนามก็ได้ในสวนก็ดี ถ้าจะใช้งานเอนกประสงค์ ผมมีเงื่อนไขการการตรวจสอบปืนมาแนะนำ นั่นคือเมื่อคุณแต่งไกปืนจนน้ำหนักไกเป็นที่พอใจแล้ว ให้คุณลองเข้าsafeปืน แล้วปลดsafeด้วยนิ้วเดียว ให้สังเกตดูว่าปืนลั่นหรือไม่ ถ้าปืนลั่นแสดงว่าคุณอาจเปลี่ยนสปริงอ่อนเกินไป ควรเปลี่ยนสปริงให้แข็งกว่าเดิม ตรวจสอบอีกครั้งโดยการขึ้นนกพร้อมยิง แล้วค่อยๆยกก้านขัดกลอนลูกเลื่อนขึ้น สังเกตว่าปืนลั่นหรือไม่ ถ้าไม่ลั่นให้ลงกลอนกลับลงไปใหม่แล้วดึงก้านขัดกลอนขึ้นลงให้รวดเร็วขึ้น สังเกตดูว่าปืนลั่นหรือไม่ สรุปว่าถ้าจะใช้ปืนแบบเอนกประสงค์ สปริงที่เราจะเปลี่ยนจะต้องมีค่าความแข็งมากพอที่เวลาปลดsafeและ rejectedกระสุนที่ยังไม่ได้ยิง ปืนจะต้องไม่ลั่น เพื่อความปลอดภัยครับผม  จากประสบการณ์ที่พบเจอกรณีที่ rejectedกระสุนออกแล้วปืนลั่น พบว่าเจ้าของปืนเปลี่ยนสปริงอ่อนเกินไปและมีการแต่งท้องเข็มแทงชนวนหรือมีการแต่งเซียร์ที่ผิดวิธีด้วย
บันทึกการเข้า
SSG 69 รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 104
ออฟไลน์

กระทู้: 624


« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 08:58:14 AM »

สุดยอดดดดดด..
บันทึกการเข้า
passado
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 15
ออฟไลน์

กระทู้: 265


« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 09:05:09 AM »

 เยี่ยมได้ความรู้อีกแล้ว
บันทึกการเข้า
sig 40
Newbie
*

คะแนน 5
ออฟไลน์

กระทู้: 19


« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 10:45:33 AM »

http://rimfirecentral.com/forums/showthread.php?t=197288
บันทึกการเข้า
Wooddy
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

กระทู้: 936


« ตอบ #21 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:12:58 AM »

วิธีตามlinkนั้นเป็นการแต่งsear engageครับ ไม่ได้เปรียนสปริงไกปืน วิธีในrimfirecentralนั้นเราต้องติดแผ่นชิมด้วยกาวlogtite 401, 495 ประเภทกาวติดเหล็กนะครับ มิเช่นนั้นไม่อยู่ครับ ผมมีวิธีอื่นที่จะแนะนำครับ ขอเวลารวบรวมภาพสักหน่อยครับ วันนี้มาดูการแต่งsear engageด้วยสกรูกันดีกว่าครับ
              4.2.2 วิธีการตั้งระยะขบของเซียร์กับไกด้วยสกรูปรับ
                      วิธีนี้เราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าเราไม่มีแท่นเจาะ และดอก
ตร๊าฟเกลียวขนาดเล็ก (M3) ขั้นตอนการทำดังนี้ครับ
                    1) ทำตามขั้นตอน 4.2.1 ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 4 (ขั้นตอนถอดปืนิกจากพานท้าย ไม่มีอะไรครับ)
                    2) ตอกสลักไกตัวที่สองออก
                    3) ตอกสลักยึดเซียร์ออก ขั้นตอนนี้ระวังอย่าให้ลูกปืนและสปริงที่เซียร์หล่นหาย ปืนสมัยใหม่จะมีการย้ำล็อคลูกปืนและสปริงที่เซียร์ไว้แล้ว
                    4) นำลำกล้องปืนขึ้นแท่นเจาะ โดยหงายเสื้อลูกเลื่อนขึ้นดังภาพ วัดแนวระนาบของชิ้นงานด้วยระดับน้ำ
                    5) นำดอกสว่านขนาด2.5 มม.เจาะบริเวณท้องเสื้อลูกเลื่อน (สังเกตตำแหน่งเจาะในภาพให้ดีนะครับ ถ้าผิดตำแหน่งแทนที่จะลดการขบกัน ก็จะเป็นการเพิ่มการขบกันของsearครับ)
                    6) ยกลำกล้องมาจับกับปากกาจับชิ้นงาน เพื่อทำการตร๊าฟเกลียวขนาด M3 ควรทำตามวิธีการตร๊าฟเกลียวที่บอกไว้
                    7) ทำความสะอาดชิ้นงานให้เรียบร้อย ในที่นี้หมายถึง รูที่ตร๊าฟเกลียว และเศษเหล็กที่อยู่ในห้องเสื้อลูกเลื่อน
                   Cool  ประกอบชุดเซียร์กลับเข้าที่ให้เรียบร้อย
                   9) นำสกรูM3 มาขันใส่ในรูสกรูที่ทำไว้ คลายสกรูออกเพื่อมายันกับ ไกปืนตามภาพ ข้อแนะนำ ต้องไม่เลือกสกรูที่สั้นหรือยาวเกิน เพราะถ้าสั้นไป สกรูก็จะไม่ไปยันไกปืน หรือถ้ายาวไปสกรูก็จะทะลุเข้าไปในห้องลูกเลื่อน ทำให้ไม่สามารถประกอบลูกเลื่อนได้
                   10) ประกอบไกปืนกลับให้เรียบร้อย และลองลั่นไกดูว่าระยะลากของไกปืนยังมากอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมากอยู่ก็ถอดสลักไกปืนตัวที่สองออก แล้วคลาย
สกรูออกมายันกับไกปืนให้เร็วขึ้น ประกอบไกปืนกลับ จนระยะลากไกเป็นที่พอใจ หลังจากนั้นหยอดกาวlogtite(สีฟ้า)ที่สกรูปรับกันการคลายตัวของสกรู ซึ่งlogtite  เป็นชนิดที่ สามารถคลายสกรูออกได้ ไม่แน่นจนเกินไปนัก เท่านี้ก็เป็นอันว่า เราตั้งระยะขบเซียร์กับไกเรียบร้อยแล้ว
            เรามาสรุปเรื่องข้อดีข้อเสียของการแต่งระยะขบระหว่างเซียร์กับไก ทั้งสองวิธีดูนะครับ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหนถึงจะเหมาะสมกับเรา
        วิธีการหนุนเซียร์
ข้อดี       1) วิธีการไม่ซับซ้อน สามารถทำได้เอง
              2) ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษ และมีค่าใช้จ่ายต่ำ
              3) ไม่ต้องเจาะห้องเสื้อลูกเลื่อน
              4) ไม่ต้องถอดสลักไกทั้งสองตัว และไม่ต้องถอดเซียร์ออกจากตัวปืนด้วย
              5) ใช้เวลาในการทำน้อย
ข้อเสีย   1) แผ่นอลูมิเนียมสึกหรอง่ายตามอายุการใช้งาน ความมั่นคงแข็งแรงน้อย
              2) ความเรียบร้อยสวยงามด้อยกว่า
              3) ไม่สามารถตั้งความละเอียดได้ ขึ้นกับความหนาของแผ่นอลูมิเนียม

       วิธีการปรับด้วยสกรู
ข้อดี       1) มีความมั่นคงแข็งแรง
              2) มีความสวยงามด้านการติดตั้ง
              3) สามารถปรับคาวมละเอียดได้มากกว่า
ข้อเสีย   1) ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญทำ
              2) ค่าใช้จ่ายสูง
              3) มีการเจาะโครงสร้างของตัวปืน
              4) วิธีการยุ่งยาก และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายได้ง่าย
              5) ใช้เวลานานในการทำ
บันทึกการเข้า
makarms
เมื่อเป้าเคลื่อนไหว สับไกทันที
Hero Member
*****

คะแนน 286
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4441


อัพเดททุกลมหายใจ


« ตอบ #22 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:31:50 AM »

ระวังเรื่องความปลอดภัยด้วยนะครับ ปลดเซฟแล้วลั่นเอง
บันทึกการเข้า

มิตรภาพนั้นเกิดขึ้นง่าย แต่การรักษาไว้กลับยากยิ่ง......
(จงอย่าแสวงหาความสุข บนความทุกข์ของผู้อื่น
จงเติมน้ำใจสักนิดเพื่อเป็นมิตรที่ถาวร..........)
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 22 คำสั่ง