วิธีตามlinkนั้นเป็นการแต่งsear engageครับ ไม่ได้เปรียนสปริงไกปืน วิธีในrimfirecentralนั้นเราต้องติดแผ่นชิมด้วยกาวlogtite 401, 495 ประเภทกาวติดเหล็กนะครับ มิเช่นนั้นไม่อยู่ครับ ผมมีวิธีอื่นที่จะแนะนำครับ ขอเวลารวบรวมภาพสักหน่อยครับ วันนี้มาดูการแต่งsear engageด้วยสกรูกันดีกว่าครับ
4.2.2 วิธีการตั้งระยะขบของเซียร์กับไกด้วยสกรูปรับ
วิธีนี้เราไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ถ้าเราไม่มีแท่นเจาะ และดอก
ตร๊าฟเกลียวขนาดเล็ก (M3) ขั้นตอนการทำดังนี้ครับ
1) ทำตามขั้นตอน 4.2.1 ตั้งแต่ข้อ 1 ถึง 4 (ขั้นตอนถอดปืนิกจากพานท้าย ไม่มีอะไรครับ)
2) ตอกสลักไกตัวที่สองออก
3) ตอกสลักยึดเซียร์ออก ขั้นตอนนี้ระวังอย่าให้ลูกปืนและสปริงที่เซียร์หล่นหาย ปืนสมัยใหม่จะมีการย้ำล็อคลูกปืนและสปริงที่เซียร์ไว้แล้ว
4) นำลำกล้องปืนขึ้นแท่นเจาะ โดยหงายเสื้อลูกเลื่อนขึ้นดังภาพ วัดแนวระนาบของชิ้นงานด้วยระดับน้ำ
5) นำดอกสว่านขนาด2.5 มม.เจาะบริเวณท้องเสื้อลูกเลื่อน (สังเกตตำแหน่งเจาะในภาพให้ดีนะครับ ถ้าผิดตำแหน่งแทนที่จะลดการขบกัน ก็จะเป็นการเพิ่มการขบกันของsearครับ)
6) ยกลำกล้องมาจับกับปากกาจับชิ้นงาน เพื่อทำการตร๊าฟเกลียวขนาด M3 ควรทำตามวิธีการตร๊าฟเกลียวที่บอกไว้
7) ทำความสะอาดชิ้นงานให้เรียบร้อย ในที่นี้หมายถึง รูที่ตร๊าฟเกลียว และเศษเหล็กที่อยู่ในห้องเสื้อลูกเลื่อน
ประกอบชุดเซียร์กลับเข้าที่ให้เรียบร้อย
9) นำสกรูM3 มาขันใส่ในรูสกรูที่ทำไว้ คลายสกรูออกเพื่อมายันกับ ไกปืนตามภาพ ข้อแนะนำ ต้องไม่เลือกสกรูที่สั้นหรือยาวเกิน เพราะถ้าสั้นไป สกรูก็จะไม่ไปยันไกปืน หรือถ้ายาวไปสกรูก็จะทะลุเข้าไปในห้องลูกเลื่อน ทำให้ไม่สามารถประกอบลูกเลื่อนได้
10) ประกอบไกปืนกลับให้เรียบร้อย และลองลั่นไกดูว่าระยะลากของไกปืนยังมากอยู่หรือเปล่า ถ้ายังมากอยู่ก็ถอดสลักไกปืนตัวที่สองออก แล้วคลาย
สกรูออกมายันกับไกปืนให้เร็วขึ้น ประกอบไกปืนกลับ จนระยะลากไกเป็นที่พอใจ หลังจากนั้นหยอดกาวlogtite(สีฟ้า)ที่สกรูปรับกันการคลายตัวของสกรู ซึ่งlogtite เป็นชนิดที่ สามารถคลายสกรูออกได้ ไม่แน่นจนเกินไปนัก เท่านี้ก็เป็นอันว่า เราตั้งระยะขบเซียร์กับไกเรียบร้อยแล้ว
เรามาสรุปเรื่องข้อดีข้อเสียของการแต่งระยะขบระหว่างเซียร์กับไก ทั้งสองวิธีดูนะครับ เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหนถึงจะเหมาะสมกับเรา
วิธีการหนุนเซียร์
ข้อดี 1) วิธีการไม่ซับซ้อน สามารถทำได้เอง
2) ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษ และมีค่าใช้จ่ายต่ำ
3) ไม่ต้องเจาะห้องเสื้อลูกเลื่อน
4) ไม่ต้องถอดสลักไกทั้งสองตัว และไม่ต้องถอดเซียร์ออกจากตัวปืนด้วย
5) ใช้เวลาในการทำน้อย
ข้อเสีย 1) แผ่นอลูมิเนียมสึกหรอง่ายตามอายุการใช้งาน ความมั่นคงแข็งแรงน้อย
2) ความเรียบร้อยสวยงามด้อยกว่า
3) ไม่สามารถตั้งความละเอียดได้ ขึ้นกับความหนาของแผ่นอลูมิเนียม
วิธีการปรับด้วยสกรู
ข้อดี 1) มีความมั่นคงแข็งแรง
2) มีความสวยงามด้านการติดตั้ง
3) สามารถปรับคาวมละเอียดได้มากกว่า
ข้อเสีย 1) ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญทำ
2) ค่าใช้จ่ายสูง
3) มีการเจาะโครงสร้างของตัวปืน
4) วิธีการยุ่งยาก และเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายได้ง่าย
5) ใช้เวลานานในการทำ