ช่วงนี้ บางครั้งนอนไม่หลับ บางทีก็รู้สึกอ่อนเพลีย ข้าวปลากินได้บ้างไม่ได้บ้าง พาลหงุดหงิดง่าย ไปโน่น
เลยไม่แน่ใจตัวเองว่า วัยนี้ เข้าวัยทองหรือยัง
เสิร์ชเจอจากเวบเลยอ่านดู คาดว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเองและโมฯรัก - ยม
เลยเอามาฝาก
ในขณะที่เรามีการเจริญจากวัยเยาว์สู่วัยสูงอายุ ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญต่อร่างกายมากที่สุด
อย่างหนึ่งก็คือฮอร์โมนในร่างกาย ในขณะที่มีอายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนเพศในร่างกายจะลดลงเป็นเหตุผลที่ทำให้
อาจต้องมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อป้องกันและแก้ไขผลที่จะกระทบต่ออวัยวะและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
สำหรับคุณผู้หญิงการรักษากลุ่มอาการที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง โดยใช้ฮอร์โมนทดแทนในวัยหมดประจำเดือน
ดูจะเห็นเด่นชัด คุณสุภาพสตรีจะรู้สึกดีขึ้น มีพลังงานเพิ่มขึ้น มีอารมณ์ทางเพศดีขึ้น และป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรค
กระดูกพรุน (Osteoporosis) และโรคหัวใจ ส่วนคุณผู้ชายก็สามารถได้รับประโยชน์จากการรักษาโดยใช้ฮอร์โมนทดแทนได้
เช่นเดียวกัน ถ้ามีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน
ในผู้ชาย ( และผู้หญิงด้วย ) การควบคุมฮอร์โมนเพศ จะเกิดขึ้นที่สมอง โดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่า ต่อมไฮโปธารามัส (Hypothalamus) เมื่อต่อมดังกล่าวตรวจพบว่าระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) มีไม่เพียงพอ ต่อมไฮโปธารามัส
จะส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) โดยอาศัยฮอร์โมนอีกชนิดที่เรียกว่าฮอร์โมน Gonadotrophin-
releasing hormone (GnRH)
เมื่อต่อมใต้สมองรับข้อมูลว่ามีฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ต่ำจากระดับของฮอร์โมน GnRH ต่อมใต้สมองก็จะปล่อย
ฮอร์โมนเหนี่ยวนำการตกไข่ (Luteinizing hormone - - LH) และ ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก (Follicle stimulating hormone -
- FSH) ออกมาทุกๆ หนึ่งชั่วโมง ฮอร์โมนที่ทำให้ไข่ตก (FSH) จะกระตุ้น เซลที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ที่เรียกว่า Laydig cells
ในลูกอัณฑะเพื่อผลิต ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) เพิ่มขึ้น
เมื่อมีระดับของฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) เพียงพอแล้ว ต่อม Hypothalamus จะหยุดกระตุ้นการหลั่งของ
ฮอร์โมน GnRH ที่ไปยังต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) กระบวนการนี้เรียกว่าระบบส่งข้อมูลย้อนกลับ (Feedback system)
ระยะวัยทองของผู้ชายจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดเมื่อระดับของฮอร์โมนเพศชายลดลงซึ่งสภาพนี้เรียกว่า ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism)
การเกิดภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำ (Hypogonadism) มี 2 ระดับ คือระดับปฐมภูมิ (Primary) และระดับทุติยภูมิ (Secondary)
ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำระดับปฐมภูมิ เกิดเมื่อ Laydic cells ในอัณฑะมีการสูญเสียความสามารถของการหลั่งฮอร์โมนเพศชาย
ตั้งแต่ต้น หรือเมื่อยังเป็นหนุ่มสาว
ภาวะการมีฮอร์โมนเพศต่ำระดับทุติยภูมิ เกิดเมื่อข้อมูลจากสมองไปที่ต่อมใต้สมองไม่มากพอ หรือไม่มีความถี่เพียงพอที่จะกระตุ้น
Laydic cells ให้หลั่งฮอร์โมนเพศชาย
ถ้าระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติ และคุณสุภาพบุรุษประสบอาการของภาวะวัยทอง สาเหตุนั้นอาจเกิดปัญหาจากฮอร์โมน
เอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง
ทั้งผู้ชายและผู้หญิงต้องมีอัตราส่วนเฉพาะของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง ชายวัยหนุ่มอาจมีอัตราส่วนของฮอร์โมน
เพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง 50:1 อัตราส่วนดังกล่าวลดลงเป็น 20:1 หรือต่ำลงถึง 8:1 ตามปกติเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งหมายถึงว่า
ระดับของฮอร์โมนเพศหญิงในผู้ชายจะสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิงป้องกันผู้หญิงจากโรคหัวใจและโรคกระดูก
พรุน ผลดังกล่าวกลับตรงกันข้ามสำหรับเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีมากเกินไปดูเหมือนว่าจะเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรค
หัวใจในผู้ชาย
ฮอร์โมนเพศหญิงเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ชายได้อย่างไร
ในร่างกายมีเอ็นไซม์ที่ชื่อว่า Aromatase ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายจำนวนหนึ่งไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิง
เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายของผู้ชายจะสร้างจำนวน Aromatase มากขึ้น จำนวน Aromatase ที่มากขึ้นนี้หมายถึงการแปรสภาพ
ฮอร์โมนเพศชายไปเป็นฮอร์โมนเพศหญิงมากขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนอัตราส่วนของฮอร์โมนเพศชายต่อฮอร์โมนเพศหญิง
ผู้ชายอาจมีระดับของฮอร์โมนเพศชายปกติแต่การที่เพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเพศหญิงจะมีผลกระทบสัมพัทธ์ต่อระดับฮอร์โมน
เพศชายที่ปกติ
ฮอร์โมนเพศชายในร่างกายของคุณ ฮอร์โมนเพศชายสามารถอยู่อย่างอิสระ (Free) หรืออยู่รวมกัน (Bound) กับโปรตีนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศชายที่อยู่จับ
อยู่กับโปรตีนในร่างกายไม่สามารถนำมาใช้ได้ ฮอร์โมนที่ไม่ได้จับกับโปรตีนในร่างกายเรียกว่าฮอร์โมนอิสระหรือ
Bioavailable testosterone
ระดับปกติของฮอร์โมนเพศชายอยู่ระหว่าง 350-1000 ng/dl จากระดับปกติดังกล่าว ร้อยละ 97-98 จะอยู่ในรูปของ
ฮอร์โมนที่ไม่อิสระ จำนวนของโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามอายุ SHBG จะจับกับ testosterone ทำให้มัน
ไม่สามารถไปออกฤทธิ์ส่งต่อร่างกายได้ อย่างที่กล่าวแล้วว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยในเรื่องความคงทนของกล้ามเนื้อและ
รักษาสภาพหรือเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ อารมณ์ทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมนตัวนี้ยังทำให้คุณภาพของการ
นอนหลับดีขึ้น เพิ่มพลังงานของจิตใจและร่างกาย และยังสนับสนุนการพัฒนาทางอารมณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับ
คุณภาพชีวิตอีกด้วย
ฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ซึ่งมีผลกระทบมากมายต่อกิจกรรมในการผลิตพลังงานของร่างกาย
เช่น การผลิตเม็ดเลือดแดงในไขกระดูก การจัดรูปร่างของกระดูก การเผาผลาญของไขมันและแป้ง และการเจริญเติบโตของ
ต่อมลูกหมาก
อาการต่างๆ อาการซึมเศร้า การขาด Androgen สามารถกระทบต่อระบบความจำ (cognitive function) ผลก็คือการขาดพลังงานทางด้านจิตใจ
ลดความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และมีผลต่ออารมณ์ซึมเศร้า
อาการเหนื่อยง่าย การขาด Androgen เป็นสาเหตุของการสูญเสียการเพิ่มมวลของกล้ามเนื้อ ความหนาและความแข็งแรงของกระดูก
การสูญเสียเหล่านี้สามารถเกิดกับชายวัยทองทำให้รู้สึกว่าเหนื่อยง่าย
ความรำคาญ การขาด Androgen ยังสามารถทำให้หงุดหงิดง่าย ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการก้าวร้าว ความไม่เป็นมิตร
และความโมโห เหงื่อออกและหน้าแดง ในผู้ชายสามารถเกิดได้เช่นเดียวกับผู้หญิง
การลดลงของอารมณ์ทางเพศ การขาด Androgen สามารถลดอารมณ์ทางเพศ (ความต้องการทางเพศ) สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่
การเปลี่ยนแปลงทางเพศและการสูญเสียอารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย
การลดลงของสมรรถภาพทางเพศหรือ การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ การไม่มีประสิทธิภาพในการคงสภาพของการแข็งตัว
การแข็งตัวของอวัยวะเพศเสื่อมสภาพ รวมถึงระยะเวลาของการแข็งตัว ผู้ชายส่วนใหญ่เมื่อถึงวัยกลางคนอาจจะสิ่งต่างๆเหล่านี้
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งหมด ในระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงทางเพศจะเป็นสิ่งแรกที่มาก่อนหรือเป็นตัวเตือน
ให้ระวังว่าโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและเบาหวาน จะตามมาหรือไม่
ที่เหลือ อ่านต่อได้ที่
http://www.waithong.com/consumer/man/index.htmlคาดว่า คงเป็นประโยชน์แก่ท่านโมฯ รัก - ยม ทั้งสอง นะครับ