เรียน ท่าน tk_mpt
กรณีที่ท่านสอบถามมา นั้น เรียนตรง ๆ ครับ ว่า
หากจะให้มีการอธิบาย....กันโดนละเอียดแล้ว....
ผมเอง...ก็มิได้ศึกษาในเรื่องดังกล่าวนี้ มาโดยตรง ครับ
และ...ผมขอแจ้งไว้ก่อนว่า
ความเห็นของผมในที่นี้ เป็นความเห็นในลักษณะของเนื้อหา เท่านั้นนะครับ
ผมไม่ขอ ชี้นำการตัดสินใจและหรือเชื่อมโยงข้อความใด ๆ ของผม
ไปเกี่ยวหรือข้องแวะ กับการตัดสินใจใด ๆ ของสมาชิกทุกท่านนะครับ
ขอชี้แจงแบบ งู ๆ ปลา ๆ แล้วกันนะครับ
ก่อนอื่น เราต้องมาทำความรู้จักกับ "อาณาเขตทางทะเล" หรือ Maritime Boundaries กันก่อนครับ
"อาณาเขตทางทะเล" ตามกฎหมายทะเล ซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศแขนงหนึ่ง
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการกำหนดและแบ่งสถานภาพของส่วนต่างๆ ทางทะเล
รวมถึง การควบคุมอำนาจและสิทธิอธิปไตยของรัฐต่าง ๆ
ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีชายฝั่งทะเลในการเรียกร้องและขยายอาณาเขตในทะเล ก็ตาม
แบ่งได้ออกเป็น 6 ระดับ ดังนี้ ครับ
1) น่านน้ำภายใน (Internal Waters)
2) ทะเลอาณาเขต (Territorial Sea)
3) เขตต่อเนื่อง (Contiguous Zone)
4) เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone)
5) ไหล่ทวีป (Continental Shelf Zone)
6) ทะเลหลวง (High Sea)
ผมขออนุญาต post ถึง (5) ไหล่ทวีป (Continental shelf Zone) และ (6) ทะเลหลวง (High Sea)
เพียงสองประการนะครับ
(5) ไหล่ทวีป (Continental shelf Zone) เขตไหล่ทวีป
โดยทั่วไป จะมีความกว้างสูงสุดไม่เกิน 200 ไมล์ทะเล (1 ไมล์บก = 1.6 กม., 1 ไมล์ทะเล = 1.8 กม.)
เว้นแต่สภาพทางภูมิศาสตร์ในบางประเทศที่อาจขยายได้ถึง 350 ไมล์ทะเล
ในเขตไหล่ทวีปนี้ รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการสำรวจต่าง ๆ รวมถึงการสำรวจ ครับ
(6) ทะเลหลวง (High Sea)
ทะเลหลวง หมายถึง ส่วนของทะเลที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
ทะเลอาณาเขต หรือน่านน้ำภายในของรัฐชายฝั่ง หรือน่านน้ำหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ
โดยรัฐทุกรัฐ ไม่ว่าจะมีชายฝั่งทะเลหรือไม่
ก็มีเสรีในการใช้ท้องทะเลหลวงในการเดินเรือ การบิน การวางสายเคเบิ้ลใต้ทะเล การทำประมง
การสร้างเกาะเทียม และสิ่งติดตั้งอื่น ๆ ตลอดจนการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์
___________________________________________________________
_________
ตามหลักกฎหมาย ในการกำหนดเขตไหล่ทวีประหว่างรัฐ ที่มีชายฝั่งประชิดหรือตรงข้ามกัน นั้น
ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีป ค.ศ. 1958 ให้ใช้ความตกลงระหว่างกัน
หากไม่มีการตกลงกันและนอกจากว่าสภาวการณ์พิเศษ จะทำให้เป็นการสมควรที่จะใช้เส้นเขตแดนอื่น
เขตแดนนั้น จะกำหนดขึ้นโดยหลักระยะทางเท่ากัน
ต่อมาเมื่อมีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย กฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
ปรากฏว่า อนุสัญญาดังกล่าวในเรื่องเขตไหล่ทวีป หรือในเรื่องเขตเศรษฐกิจจำเพาะก็ดี
มีหลักเกณฑ์คือ ให้กระทำโดยความตกลงบนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้บรรลุผลที่เป็นธรรม
แต่อนุสัญญาฉบับนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องการแบ่งเขตทางทะเลทั้ง 2 เขตอยู่ดี ครับ
___________________________________________________________
_______
ที่นี่ เรากลับไปดูภาพกันครับ พื้นที่สีเขียว "พื้นที่แหล่งพลังงาน"
ซึ่งเป็นพื้นที่เหลื่อมล้ำกัน บริเวณไหล่ทวีปของสองประเทศ
ปัจจุบัน ยังไม่เคยมีการเปิดเผยรายละเอียดในข้อตกลงในเรื่องสัดส่วนการแบ่งผลประโยชน์ของทั้งสองชาติเลย
เส้นแบ่งเขตแดนในทะเลที่ฝรั่งเศสขีดเส้นเขตไหล่ทวีป (เส้นสีแดง ในภาพ)
ซึ่งเป็นเส้นแสดงความนัยยะ เป็นเจ้าของ มีสิทธิอธิปไตยในทรัพยากรใต้ท้องทะเล
เช่น ฟอสซิล ก๊าซและน้ำมัน
โดยเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา (เส้นสีแดง ในภาพ)
เริ่มจากหลักเขตแดนที่ 73 บริเวณบ้านหาดเล็ก จ.ตราด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านพื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะกูด
โดยต่างจากเส้นเขตไหล่ทวีปของไทย (เส้นสีเหลือง ในภาพ)
ซึ่งเริ่มจากหลักเขตแดนที่ 73 เหมือนกัน
แต่ไปในทางทิศใต้และไม่ผ่านพื้นที่เกาะกูด เพราะถือว่าเกาะกูดเป็นของไทยตั้งแต่แรก
เมื่อเส้นเขตไหล่ทวีปของทั้งสองประเทศไม่ตรงกัน
จึงเกิดพื้นที่เหลื่อมล้ำกันในไหล่ทวีปมากกว่า 20,000 ตร.กม. ครับ
และที่สำคัญ ในปี พ.ศ. 2550 กัมพูชาประกาศว่า
ได้ให้บริษัท Chevron Corp ของสหรัฐอเมริกา ขุดสำรวจ
และพบว่า เป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ขนาด 6,278 ตร.กม.
ประกอบกับผลการศึกษาของสหประชาชาติ ธนาคารโลกและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
คาดว่าแหล่งพลังงานดังกล่าวจะมีน้ำมันดิบประมาณ 2,000 ล้านบาร์เรล
และก๊าซธรรมชาติประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นรายได้มหาศาลสูงถึง 6,000 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2.1 แสนล้านบาท ต่อปี
นอกจากนี้กัมพูชาประกาศว่าจะนำมันดิบและแก๊สธรรมชาติขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ในปี พ.ศ.2551
จึงน่าสังเกตุว่าเหตุใดประเทศไทยจึงยอมให้กัมพูชาขุดเจาะน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลได้
และข้อความทั้งหมดนี้
เป็นข้อความในเชิงเนื้อหา.....ของพื้นที่เหลื่อมล้ำกันในเขตไหล่ทวีป...
ของทั้งสองประเทศ ในพื้นที่ทางทะเล ครับ
ขอขอบคุณข้อมูล จาก พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมย์ อดีตผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการลำน้ำโขง (นปข.)
และ วิทยาลัยการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น....