เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 26, 2024, 06:38:28 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 ... 19
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ผมรู้สึกซาบซึ้งในความกรุณาของ ปตท. เป็นอย่างยิ่ง ช่างประเสริฐอะไรเช่นนี้.......  (อ่าน 44807 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 84 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
rockguns
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #60 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 01:21:01 PM »

             จุดประสงค์ของกระทรวงพลังงาน น่าจะจัดการ การบริโภคเชื้อเพลิงเพื่อประโชน์ของประชาชนมากกว่าผลกำไร ครับ

เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยควรต้องมาก่อน เชื้อเพลิงชนิดไหนก็ได้หรือทุกชนิดที่สามารถสร้างประโยชน์สุขของประชาชน

แล้วค่อยนำพาเศรษฐกิจไทยไปสู่สนามโลกกว้าง ปัจจุบันศึกภายในประชาชนกำลังหมดแรง แต่ผู้ถือหุ้นปตท.ทั้งหลายปรีเปรม

 ห้วย ยี๊ ยี๊ ยี๊ ยี๊
บันทึกการเข้า
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #61 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 05:25:24 PM »


*******
1.รัฐมีหน้าที่ต่อรัฐวิสาหกิจอย่างไรก็ควรทำหน้าที่ให้ดี  เดี๋ยวนี้  ให้ออกไปหากินเอง  ใช้คำนี้เป็นข้ออ้าง  สิ่งที่เปลี่ยนคือเจ้าขององค์กร   วัตถุประสงค์ขององค์กร และวิธีการบริหารงานเมื่อเปลี่ยนรูปแบบองค์กร
2. อันดับเครดิต  ถูกต้องครับ  ต้องมีสถาบันจัดอันดับ เช่น ทริสเรตติ้ง  ถ้า ปตท.จัดเองก็คงเหมือน ปปช.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง  AAAAAA*****++  ผมประชดครับ  จริงๆมันไม่ยาวขนาดนั้น  แต่รัฐนั้นความน่าเชื่อถือต้องมากกว่าของเอกชนอยู่แล้ว
3. พนง. ปตท. ขี้เกียจเล่น  ...ไทย  อันนี้ก็น่าภูมิใจแทนครับ

แล้วตัวเลขทางการเงินที่ดีขึ้นคืออะไรครับ   เหมือนปัจจุบันนี้ใช่ไหมครับ

ผมจำไม่ได้จริง ๆ ว่าเป็นตัวเลขอะไร ... แต่คงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมดของการแปรรูป ....

ช่วงนั้นเป็นช่วง IMF ครับ ถ้าจำไม่ผิด ...

เรื่องเครดิต ผมก็ทราบครับว่าประชด  ขำก๊าก

เรื่อง พนง. อันนี้ผมถามเจ้าตัวครับ .... มันบอกว่าบอกแล้วไม่เชื่อ ก็ไม่รู้จะบอกทำไม ....  อ๋อย ... ก็ดูเอาครับ ว่าที่เขาออกโฆษณามา ท่าน ๆ เชื่อหรือเปล่า ...

เรื่องจุดประสงค์ ผมไม่กล้าเถียงแทน ปตท. แต่ในฐานะของกองเชียร์ข้างสนาม ผมเห็นว่า ปตท. ทำตามนโยบายของรัฐบาลมากกว่าบริษัทน้ำมันอื่น ๆ ครับ

ว่าแล้วขอตัวไปหาข้อมูลมายันกับพี่ชัชก่อน  ยิ้มีเลศนัย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2008, 06:04:28 PM โดย jakrit » บันทึกการเข้า

Iron
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #62 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 05:34:57 PM »


ว่าแล้วขอตัวไปหาข้อมูลมายันกับพี่ชัชก่อน  ยิ้มีเลศนัย

 คิก คิก  คิก คิก
บันทึกการเข้า
นายขม รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 99
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1377


ที่ว่างปลายปากกระบอกปืน


« ตอบ #63 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 05:52:01 PM »

เข้ามาแก้ตัว เอ๊ยไม่ใช่สิ แก้ต่าง เรื่องพนักงานขี้เกียจเล่นเพราะเป็น ภาษา(ผมเดาเอา) ไทยนะครับ   Grin ผมเองก็อดีตพนักงานครับแล้วก็เคยอยู่ชมรมยิงปืนด้วยครับ มีหลายคนที่เข้ามาอ่านครับ
 แต่ไม่เคยตอบกระทู้ หรือตอบแค่คำสองคำ  เพราะพิมพ์ภาษาไทยไม่ได้ครับ ต้องใช้วิชาจิ้มดีด จิ้มไปจิ้มมาดันจิ้มผิด แล้วเผลอไปจิ้ม ESC เข้า จบ หมดกัน สองบรรทัดกับเวลากว่าครึ่งชั่วโมง  อ๋อย  เลิก ไม่ตอบแล้ว อ่านอย่างเดียว

อีกนิดเรื่องพี่สมพงษ์ ไม่รู้แกเกษียนที่แท่นไหน แต่ไม่ใช่แท่นดอกบัวแน่นอน เพราะผมไม่เคนเห็นแกเลย  คิก คิก คิก คิก

บันทึกการเข้า

ผมจ่ายภาษีให้มาดูแลรักษาบ้านเมือง ไม่ใช่ให้มายืนดูคนเผาบ้านเผาเมือง
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #64 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 06:03:44 PM »

ผิดครับ  อ่านที่คุณjakrit โพสท์แล้วเชื่อว่าคงเคยอ่านกราฟปริมาณการใช้ LPG มาจากเว็บบอร์ดรัชดา ในพันทิพย์มาแล้วเช่นกัน

ปตท. หมกเม็ด ตรงคำว่า feedstock ครับ  ส่วนนี้ซึ่งปริมาณการใช้สูงมากคือ

วัตถุดิบที่จะเอาไปใช้ทำเม็ดพลาสติกและวัตุดิบด้านปิโตรเคมิคอล ที่กำไรมหาศาลไงครับ

ดังนั้น feedstock ก็คือการนำไปใช้ในด้านอุตสาหกรรม ต้องบวกเข้าไปด้วย ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว จะเป็นปริมาณมหาศาล


จากที่นี่ครับ http://www.eppo.go.th/info/2petroleum_stat.htm

ผมไม่เถียงเรื่องปริมาณ แต่ถ้าดูอัตราการเติบโต มันก็คงทำให้ทันได้ไม่ยาก ... ที่ผ่านมาการใ้ช้ยานพาหนะติดแกส ก็มี CNG เป็นตัวเลือก และในปีนี้ ยิ่งมีการกึ่งบังคับให้ Taxi และ รถโดยสารติด NGV แทน LPG .... ก็คงช่วยให้อัตราการเพิ่มนี้ลดลง

ทำไมต้องให้ลดลง ... พี่ชัชเห็นว่าเป็นการที่ ปตท. feed วัตถุดิบให้โรงงานในเครือ เพื่อเพิ่มผลผลิต ... ผมก็ไม่ได้คิดคัดค้านอะไร ... แต่ที่ผมเห็นว่า การณ์มันต้องเป็นแบบนี้ ... เพราะผมว่าถ้าปริมาณการใช้ LPG มันเกินกำลังการผลิตไปมาก ๆ มันจะเกิดปัญหาหลายอย่าง

๑. สังคมวุ่นวาย ... แค่ LPG ไม่มีเติมรถไม่กี่วัน หลายฝ่ายก็แทบจะออกมาประท้วงรัฐบาลแล้ว ... ปตท. ผู้นำเข้าอธิบายว่า การขนส่งสะดุด ผมก็ไม่ค่อยเห็นมีใครเชื่อกัน ... รังแต่คิดว่าเขาจะรอขายราคาใหม่ ... (ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้อง เข้าหลักของมัวร์เรื่อยเลย)

๒. กองทุนน้ำมัน ... ที่ช่วยกันชดเชยอยู่ ผลการดำเนินงานคงติดลบ "เร็ว" มากกว่าที่นาย ๒๓ เคยให้อุ้มดีเซลไว้

๓. นำเข้ามาก ๆ ก็ขาดดุลครับ .... เหมือน ๆ กับน้ำมันทุกหยดที่เราใช้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า

๔. สูตรคิดราคา LPG ที่กึ่งลอยตัวอยู่ ก็จะวิ่งเข้าไปหาอัตราส่วนราคานอกประเทศมากขึ้น เร็วขึ้น .... ชาวบ้านก็เดือดร้อนอีก

เหล่านี้ผมไม่คิดว่ามันเป็นการช่วยชาติของ ปตท. หรอกครับ แต่เป็นสิ่งที่ภาครัฐฯได้พยายามวางนโยบายไว้ก่อนแล้ว .. แต่ราคาน้ำมันดันพุ่งพรวดพราดเร็วกว่าที่คิด .. ทำให้โครงการต่าง ๆ ที่วาง ๆ ไว้ เสมือนว่าออกมาช้ากว่าที่ควร ...

พอปัญหาเร่งตัวมาก ๆ เข้า ก็มีการลนลาน ... ขนาดน้ำมัน E85 ก็ยังประกาศออกมา ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเดินหน้าใช้ E20 ไป .. คนก็เพิ่งซื้อรถ ... น้ำมัน E20 ยังหาเติมยาก

ที่ผมมองว่าปีนี้ ปริมาณการใช้ LPG ในภาคขนส่งอาจจะทะลุเดือดได้ ก็เพราะดูจากเวปบอร์ดรถยนต์ต่าง ๆ ... มีการถามถึงพลังงานทางเลือกมากขึ้น ... ถึงขนาดตั้งเป็นห้องใหม่กันเลย ... คนซื้อรถใหม่บางคน ตั้งใจไว้ตั้งแต่จองรถแล้วว่า ได้รถปุ๊มจะติดแกสปั๊บ และจะติด LPG ด้วย เพราะเห็นว่าดีกว่าด้วยประการทั้งปวง ... แม้แต่ในบอร์ดคนที่ใช้รถราคาแพง ก็ยังเข้ามาถามกันให้ควั่กว่า จะติด LPG ที่ไหนดี (บอร์ดนี้เขาไม่สน NGV กันเลย)

นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์ติด LPG ขาดแคลน แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้ LPG เพื่อเติมรถ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แม้แต่ตัวผมเอง ก็ยังไปทำระบบน้ำมันของรถให้สมบูรณ์ เพื่อรอดูว่าจะติด LPG ร้านไหนดีเหมือนกัน .....  ยิ้มีเลศนัย

อีกนิดเรื่องพี่สมพงษ์ ไม่รู้แกเกษียนที่แท่นไหน แต่ไม่ใช่แท่นดอกบัวแน่นอน เพราะผมไม่เคนเห็นแกเลย  คิก คิก คิก คิก
จำโฆษณา ปตท. สผ. ได้ไหมครับ ที่เป็นคนไทย ไปทำงานกลางทะเลทรายกับแขก แล้วบอกประมาณว่า เรากำลังหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ เพื่อคนไทย ...

น้องผมบอกว่า ทุกคนในโฆษณานั้นเป็นตัวจริงของ ปตท. สผ. ทั้งหมด .... ยกเว้นคนไทยที่เป็นตัวเอก  ขำก๊าก ขำก๊าก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 18, 2008, 06:06:23 PM โดย jakrit » บันทึกการเข้า

Iron
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #65 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2008, 07:00:33 PM »



ผมไม่เถียงเรื่องปริมาณ แต่ถ้าดูอัตราการเติบโต มันก็คงทำให้ทันได้ไม่ยาก ... ที่ผ่านมาการใ้ช้ยานพาหนะติดแกส ก็มี CNG เป็นตัวเลือก และในปีนี้ ยิ่งมีการกึ่งบังคับให้ Taxi และ รถโดยสารติด NGV แทน LPG .... ก็คงช่วยให้อัตราการเพิ่มนี้ลดลง

ทำไมต้องให้ลดลง ... พี่ชัชเห็นว่าเป็นการที่ ปตท. feed วัตถุดิบให้โรงงานในเครือ เพื่อเพิ่มผลผลิต ... ผมก็ไม่ได้คิดคัดค้านอะไร ... แต่ที่ผมเห็นว่า การณ์มันต้องเป็นแบบนี้ ... เพราะผมว่าถ้าปริมาณการใช้ LPG มันเกินกำลังการผลิตไปมาก ๆ มันจะเกิดปัญหาหลายอย่าง

๑. สังคมวุ่นวาย ... แค่ LPG ไม่มีเติมรถไม่กี่วัน หลายฝ่ายก็แทบจะออกมาประท้วงรัฐบาลแล้ว ... ปตท. ผู้นำเข้าอธิบายว่า การขนส่งสะดุด ผมก็ไม่ค่อยเห็นมีใครเชื่อกัน ... รังแต่คิดว่าเขาจะรอขายราคาใหม่ ... (ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้อง เข้าหลักของมัวร์เรื่อยเลย)

๒. กองทุนน้ำมัน ... ที่ช่วยกันชดเชยอยู่ ผลการดำเนินงานคงติดลบ "เร็ว" มากกว่าที่นาย ๒๓ เคยให้อุ้มดีเซลไว้

๓. นำเข้ามาก ๆ ก็ขาดดุลครับ .... เหมือน ๆ กับน้ำมันทุกหยดที่เราใช้ ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้า

๔. สูตรคิดราคา LPG ที่กึ่งลอยตัวอยู่ ก็จะวิ่งเข้าไปหาอัตราส่วนราคานอกประเทศมากขึ้น เร็วขึ้น .... ชาวบ้านก็เดือดร้อนอีก

เหล่านี้ผมไม่คิดว่ามันเป็นการช่วยชาติของ ปตท. หรอกครับ แต่เป็นสิ่งที่ภาครัฐฯได้พยายามวางนโยบายไว้ก่อนแล้ว .. แต่ราคาน้ำมันดันพุ่งพรวดพราดเร็วกว่าที่คิด .. ทำให้โครงการต่าง ๆ ที่วาง ๆ ไว้ เสมือนว่าออกมาช้ากว่าที่ควร ...

พอปัญหาเร่งตัวมาก ๆ เข้า ก็มีการลนลาน ... ขนาดน้ำมัน E85 ก็ยังประกาศออกมา ทั้ง ๆ ที่เพิ่งเดินหน้าใช้ E20 ไป .. คนก็เพิ่งซื้อรถ ... น้ำมัน E20 ยังหาเติมยาก

ที่ผมมองว่าปีนี้ ปริมาณการใช้ LPG ในภาคขนส่งอาจจะทะลุเดือดได้ ก็เพราะดูจากเวปบอร์ดรถยนต์ต่าง ๆ ... มีการถามถึงพลังงานทางเลือกมากขึ้น ... ถึงขนาดตั้งเป็นห้องใหม่กันเลย ... คนซื้อรถใหม่บางคน ตั้งใจไว้ตั้งแต่จองรถแล้วว่า ได้รถปุ๊มจะติดแกสปั๊บ และจะติด LPG ด้วย เพราะเห็นว่าดีกว่าด้วยประการทั้งปวง ... แม้แต่ในบอร์ดคนที่ใช้รถราคาแพง ก็ยังเข้ามาถามกันให้ควั่กว่า จะติด LPG ที่ไหนดี (บอร์ดนี้เขาไม่สน NGV กันเลย)

นอกจากนี้ การที่อุปกรณ์ติด LPG ขาดแคลน แสดงให้เห็นถึงความต้องการใช้ LPG เพื่อเติมรถ กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

แม้แต่ตัวผมเอง ก็ยังไปทำระบบน้ำมันของรถให้สมบูรณ์ เพื่อรอดูว่าจะติด LPG ร้านไหนดีเหมือนกัน .....  ยิ้มีเลศนัย



มองภาพโดยรวมนะครับ

-รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน

ทั้ง LPG  NGV  รัฐควรต้องส่งเสริมให้คนไทยใช้มากขึ้น  เพราะต้นทุนถูกกว่าน้ำมัน

ถึงแม้บางส่วนจะต้องนำเข้าบ้างแต่เงินก็ไหลออกนอกประเทศน้อยกว่า

ผมเองก็กำลังรอดูรถติด NGV ที่ออกมาจากโรงงานเพิ่มอีกคัน เพราะเสียค่าน้ำมันดีเซลวันละขั้นต่ำก็ 400 บาท

บางวันก็เจอเข้าไปเป็นพัน เพราะลักษณะงานที่ทำมันบังคับ และผมเองก็อยู่ใกล้ทั้งปั๊ม  LPG  NGV 

และรัฐก็ต้อง พัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งแกสโซฮอร์ และ E20  E85  E100 เพื่อลดหรือทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ


-รถที่ใช้น้ำมันดีเซล ก็ต้องหาหนทางแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้า

   ถ้าเป็นรถดีเซลรุ่นเก่า อาจใช้น้ำมันปาล์ม 100%  หรือ ปาล์ม95% น้ำมันก๊าด 5%(ช่วยลดค่าความหนืดและช่วยให้เผาใหม้ได้ดีขึ้น)

หรือ ปาล์ม 50% ดีเซล 50%  หรือไปโอดีเซล หรือแม้แต่ดีโซฮอร์ ก็ต้องพยายามทำให้ออกมาได้จริง

    พูดไปแล้วผมยังเสียดาย รถคันเก่า ไม่น่ารีบขายเลย เพราะรุ่นนั้นไม่ใช่เครื่องคอมมอลเรล ใช้น้ำมันปาล์มปาล์ม95% น้ำมันก๊าด 5% สบายๆ

แต่ที่ขายไปเพราะเครื่องรุ่นเก่ามันกินน้ำมันมากกว่าเครื่องคอมมอลเรล  และใช้มาเกินสองแสน กม. ไม่อยากซ่อมบ่อย

   ส่วนถ้าเป็นดีเซลรุ่นใหม่เครื่องคอมมอลเรล  เท่าที่ผมลองมา ถ้าใช้ B5 ของ ปตท. กินน้ำมันสุดๆและเร่งไม่ขึ้นครับ 

แต่ใช้ B5 ของบางจาก ใช้ได้ดีครับ  เครื่องรุ่นใหม่พวกนี้มีปัญหาการเลือกใช้น้ำมันมากครับ

หลายคนเลยเอาเครื่องเบนซินมาแทนแล้วใช้แก๊ซซึ่งก็ลดค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันได้เยอะมาก
บันทึกการเข้า
muk
Hero Member
*****

คะแนน 182
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1265



« ตอบ #66 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2008, 12:50:57 PM »

ขอบคุณครับพี่ชัช... ไหว้
บันทึกการเข้า

ผู้ใช้ปืนเป็นผู้รับผิดชอบการกระทำทุกอย่างของตน มิใช่อุปกรณ์รับผิดชอบการกระทำของมนุษย์
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #67 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2008, 01:18:27 PM »

จับเท็จ ปตท. กรณี “นำเข้าก๊าซหุงต้ม”
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000084819

บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
Iron
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #68 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2008, 01:29:51 PM »

ขอบคุณครับพี่ชัช... ไหว้

ยินดีครับ คนใช้รถกระบะตกที่นั่งลำบากครับ ถ้าเป็นเครื่องยนต์รุ่นเก่า ยังมีทางเลือกหลายทางที่พอจะลดความเดือดร้อนลงได้

แต่ก็ยังถือว่าค่าใช้จ่ายต่อ กม. ยังประหยัดสู้เบนซินไม่ได้  สำหรับคนที่ใช้รถเยอะคงต้องหันไปหาเครื่องยนต์เบนซินติดแก๊ซครับ
บันทึกการเข้า
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #69 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2008, 02:56:05 PM »

ผมว่าเรือ... ลำบาก.. มากๆครับ
บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #70 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 01:34:19 PM »

  ไม่รู้ว่าจริงหรือปล่าว เพราะมีแต่คนจ้องคอยทำลายชื่อเสียง ปตท.  แหม...องค์การพลังงานของชาติ จะเป็นเช่นนั้นฤา ?



คนไทยทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง”

น้ำมันแพงทำให้คนไทยน้ำตาเล็ด เพราะข้าวของแพง แต่กลุ่มคนเครือข่ายทักษิณ ตั้งแต่เพื่อนต่างชาติอย่าง `โมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด` เจ้าของห้างสรรพสินค้า แฮร์รอดส์ เพื่อนสนิททักษิณ กุนซือ และลิ่วล้อในคราบของผู้บริหารกิจการด้านพลังงาน และธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. กลับเริงร่ากับเม็ดเงินกำไร รายได้ เงินเดือน หุ้นและโบนัส และยิ่งคนไทยเสี่ยงต้องเสียดินแดนในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา หลังจากปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแล้ว เครือข่ายของทักษิณยิ่งมีโอกาสร่ำรวยมากขึ้นจากบ่อน้ำมันและก๊าซในกัมพูชา

เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างทับซ้อน ลึกซึ้ง และเนิ่นนาน ด้วยผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว

น้ำมัน-ก๊าซล้นกัมพูชา

นิตยสาร Positioning ฉบับเดือนกรกฎาคม 2008 รายงานไว้ว่า แหล่งน้ำมันและก๊าซของประเทศกัมพูชายังมีอีกจำนวนมาก ตามรายงานที่เปิดแผยโดย TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 2 ปีก่อนระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ปรากฏแผนที่ประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงาน พบแหล่งก๊าซ และน้ำมันทั้งบริเวณนอกชายฝั่งและชายฝั่งของประเทศ รวมทั้งทะเลสาบโตนเลสาบ ใจกลางประเทศกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมากัมพูชาได้เปิดให้ต่างชาติเข้าไปสำรวจขุดเจาะพื้นที่นอกชายฝั่งในอ่าวไทยแล้วบางส่วน เช่น เชฟรอน และไทยโดย ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท. โดยมีข้อตกลงที่ลงตัว แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่

นอกจากนี้ ยังปรากฏชัดว่ามีแหล่งน้ำมันบริเวณชายฝั่ง จังหวัดเกาะกง พื้นที่เป้าหมายที่ทักษิณจะไปลงทุนพร้อมกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อย่างที่ พลเอกเตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า ทักษิณจะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา หลังจากที่ได้หารือกับ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนต่อจากที่ไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ในการสร้างถนนหมายเลข 48 ที่เชื่อมต่อการเดินทางจากชายแดนไทย เกาะกง ไปยังพนมเปญให้สะดวกขึ้น ซึ่งการเปิดถนนยังมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะน้องเขยของทักษิณ ร่วมพิธิเปิดอีกด้วย

และที่เกาะกงนี้ ยังมีแหล่งพักผ่อน รีสอร์ตดังอย่าง สีหนุวิลล์ เป็นจุดขาย อีกในปัจจุบัน

ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.สผ.

ทักษิณและกัมพูชากำลังพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ด้านพลังงาน นับเป็นการขึ้นมายืนอยู่หน้าฉากอย่างชัดเจนของทักษิณ หลังถูกรัฐประหารออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ทักษิณไม่ได้เริ่มธุรกิจพลังงานนี้จากศูนย์อย่างแน่นอน เพราะความร่วมมือกับอัลฟาเยดอย่างที่บิ๊กกัมพูชาให้สัมภาษณ์นั้น คงไม่จบที่การพัฒนาเกาะกงให้เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เท่านั้น เพราะอัลฟาเยดหากินกับอ่าวไทยและคนไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท.

ย้อนหลังเมื่อธันวาคม 2542 สื่อต่างชาติอย่างน้อย 2 แห่ง ที่ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเครือข่ายออนไลน์ คือ Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกัน ว่า

"หลังจากโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยดจัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32 ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ”

นิตยสาร Positioning ยังรายงานด้วยว่า แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี เปลี่ยนชื่อเป็นเพิร์ลออยล์ในเวลาต่อมา มีบริษัทในไทยรวม 8 บริษัท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทที่จดทะเบียนในบริติชเวอร์จิ้น

การเข้ามาของอัลฟาเยด อาจไม่ง่าย หากไม่มีเทคโนแครต เสนาบดีของไทยกรุยทาง นี่คือผลพวงที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงองค์กรที่กลวง จนทำให้กลุ่มคนที่ต้องการหาประโยชน์เข้ามาได้อย่างง่ายดาย และเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ ปตท. หน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน

ไม่ผิดหาก ปตท. จะกำไร และมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอของ ปตท. ตั้งเป้าหมายให้ ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำ ติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท. อยู่ในอันดับ 207

บิ๊ก ปตท. รวยล้น

เมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกัน รายงานประจำปีของ ปตท. ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ด ปตท. ได้รับ และผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น

เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คน ได้เบี้ยประชุม โบนัส เฉพาะที่ทำงานให้ ปตท. เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (ทักษิณ) ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เงินเดือน โบนัส รวมประมาณ 74 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือ จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาท เฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้ว แต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้น

นี่คือความร่ำรวยของ ปตท. ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมาย มาจากความลำบากของประชาชนคนไทย เพราะการผูกขาด และการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม

น้ำมันแพงตามสูตรสิงคโปร์

ปตท. ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นทั้งหมด 5 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 7 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องซื้อจากโรงกลั่นในเครือของ ปตท. โรงกลั่นที่ต้องการกำไรทำให้ ปตท. อ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เป็นแหล่งซื้อขายและปั่นราคาน้ำมันที่คิดล่วงหน้า 1-2 เดือน ทั้งที่โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางและบางส่วนจากในประเทศไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่ ปตท. ก็พยายามชี้แจงว่าจำเป็นเพราะเป็นไปตามการคิดราคาในกลไกของตลาดโลก แม้จะฟังไม่ขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังคงเดินหน้าคิดราคาน้ำมันที่ยึดราคาสูงเป็นที่ตั้ง นอกเหนือจากภาษีต่างๆ และค่าขนส่งหลายส่วนมาประกอบกันจนแพงอย่างที่ต้องจ่ายกัน

ราคาหน้าโรงกลั่น=ราคานำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Import parity Price) ที่มาจากราคาน้ำมันจรในตลาดจรที่สิงคโปร์ (FOB)+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าจัดเก็บน้ำมัน+ภาษีศุลกากรนำเข้า

ค่าการตลาด=ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ+ค่าขนส่ง+ค่าส่งเสริมการตลาด+ค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพง ไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะ ปตท. ต้องกำไรและ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

“อยู่ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ ปตท. เป็นยังไง และวันนี้ ปตท. ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ปตท. ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกัน ถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้า ประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัด เราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้ว เราต้องอุดหนุน สุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหน ปตท. ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอา ปตท. เป็นหน่วยอุดหนุน ปตท. ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ ปตท. เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอา ปตท. ออกจากตลาดฯ ปตท. ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐวิสาหกิจ”

ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัดขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นก๊าซ แอลพีจี เอ็นจีวี และแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ตั้งทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการผูกขาดโดย ปตท.

กลุ่มทุนฮุบ E85-LPG-NGV

ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกขึ้น เพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซิน ซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง

โรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจน และยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจน ทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงินให้ทักษิณ 73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป

เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับ ปตท. และเครือข่ายทักษิณที่แนบเนียน เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซ LPG ที่รับช่วงจาก ปตท. ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน

สยามแก๊ส หรือ สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววัน ก็พบชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลูกพี่ลูกน้องของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นประธานกรรมการ ส่วน เวิลด์แก๊ส นั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดย ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น ที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซ และถังก๊าซ จนเข้าตลาดหุ้นได้ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนใน ตระกูลลาภวิสุทธิสิน อดีตนายทุนของพรรคไทยรักไทย

นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัว เพราะก่อนแปรรูป ปตท. รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ขายถังละ 160 บาท หลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาท

จึงไม่แปลกหาก ปตท. จะเดินหน้าแยก LPG เป็น 2 ราคา เพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้น ปตท. ว่า ราคาต่ำของ LPG เป็นปัจจัยกดดัน ปตท. ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขาย LPG ในประเทศ 315 เหรียญต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปตท. มียอดส่งออก LPG 8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นี่จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคา LPG ในประเทศให้สูง โดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไป ขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะ ช่วยลด Demand ของ LPG ในตลาดรถ เพื่อให้ปริมาณ LPG เหลือมากพอให้ ปตท. ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมัน และยังเป็นเครื่องมือช่วย ปตท. ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต่างจากการ“ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ตราบเท่าที่ ปตท. ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ ปีหนึ่งหลักพันล้านบาท ผนวกเข้ากับเชื้อทักษิณและการผูกขาดของ ปตท. และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน

******************

LPG หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจาก 2 แหล่ง คือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ จึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆ โดยมีต้นทางมาจาก ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทย และบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา แก่บริษัท เชฟรอน สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ. อีกด้วย โดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ ปตท. ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี

ดังนั้น เมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะที่ ปตท. ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดย ปตท. ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนที่เป็นก๊าซเหลว LPG นั้น นอกจาก ปตท. จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซ โดยมีสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจาก ปตท. ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #71 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 01:39:14 PM »

คนไทยได้เฮ.....ราคาน้ำมันลดลง  เป็นเพราะบุญคุณของ ปตท.  นะเนี่ย... จำกันเอาไว้  แลบลิ้น ขำก๊าก


พรุ่งนี้โซฮอล์ลง4.70บาท ไบโอดีเซลลง3.50บาท/ลิตร

วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 เวลา 10:47:02 น.

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.เปิดเผยว่า ปตท.จะปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศทุกผลิตภัณฑ์ลงอีก 80 สตางค์/ลิตร มีผลตั้งแต่เวลา 05.00 น.ของวันพรุ่งนี้( 25 ก.ค.)เป็นต้นไป เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง ประกอบกับการที่รัฐบาลประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตในส่วนของน้ำมันแก๊สโซฮอล์และดีเซลส่งผลให้วันพรุ่งนี้ราคาขายปลีกลดลงราว 3.50-4.70 บาท/ลิตร

ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ของ ปตท.วันพรุ่งนี้เป็นดังนี้ เบนซิน ออกเทน 91 อยู่ที่ลิตรละ 38.59 บาท, แก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ลิตรละ 31.09 บาท, แก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ลิตรละ 30.29 บาท และดีเซลอยู่ที่ลิตรละ 38.79 บาท ซึ่งล้วนเป็นราคาที่ต่ำกว่า 40 บาท/ลิตร และในปลายสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มว่าราคาน้ำมันตามกลไกลตลาดยังมีโอกาสลดลงได้อีก
บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
xiehua dun
เรารักในหลวง
Hero Member
*****

คะแนน 134
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6209


ปัจจุบันวัดความดีของคนที่ กม.


« ตอบ #72 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 01:45:27 PM »

ปตถั่วทำลดหลอกเด็กได้อีก
บันทึกการเข้า


เพราะฉันจะไป ด้วยหัวใจดวงนี้ สองขาที่มีจะปีนสู่ภูผา
เพราะฉันจะไป ให้เห็นความสุขแท้มันด้วยตา
เมื่อได้มองลงมาเห็นโลกในมุมอีกมุม     มันคงช่างงดงาม
๏แก้วเดียวจุก๏รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 381
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2086



« ตอบ #73 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 02:24:16 PM »

จับเท็จ ปตท.ซ้ำสอง เรื่อง “คำชี้แจงกรณีนำเข้าก๊าซหุงต้ม”
 
โดย ประสาท มีแต้ม 22 กรกฎาคม 2551 18:33 น.
 
 
       1. ความเดิม
       
       จากปัญหาที่ผู้บริหารทั้งระดับผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และผู้จัดการใหญ่ของ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) “อ้าง” หลายครั้งหลายวาระด้วยกันว่า ก๊าซหุงต้มในประเทศไทยขาดแคลน ทาง บริษัท ปตท. จึงได้ออกมาบอกกับสาธารณะในสามประเด็นหลัก คือ
       
       (1) เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคาหรือลอยตัวราคาก๊าซหุงต้มให้เท่ากับราคาตลาดโลก
       
       (2) ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาทาง ปตท. ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีแล้วจำนวน
       2 หมื่นตัน ขณะเดียวกันผู้บริหารระดับสูงสุดอ้างว่าในปีนี้จะมีการนำก๊าซถึง 4 แสนตัน
       
       (3) ราคาก๊าซหุงต้มในตลาดโลกตันละเกือบพันเหรียญสหรัฐ แต่ราคาก๊าซในประเทศอยู่ที่ตันละประมาณ 300 เหรียญ ทำให้รัฐต้องเสียเงินชดเชยราคาเป็นจำนวนมาก
       
       ผมเกิดความสงสัยในข้อมูลดังกล่าว จึงได้ทำการสืบค้นทั้งจากกรมศุลกากรซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการเก็บภาษีนำเข้า-ส่งออกและจากกระทรวงพลังงานที่ดูแลข้อมูลนี้โดยตรง ก็ไม่พบว่าได้มีการนำเข้าก๊าซหุงต้มทั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2551 แต่อย่างใด
       
       นอกจากจะไม่ได้มีการนำเข้าแล้ว ยังมีการส่งออกอีกต่างหาก ข้อมูลของทั้งสองหน่วยงานดังกล่าวก็ช่างตรงกันพอดี ผมจึงสรุปว่า
       
       คำกล่าวข้อที่ (2) ของ ปตท. เป็นเท็จ
       
       สำหรับข้อที่ (3) ผมวิจารณ์ว่าเป็นการให้ข้อมูลเพียงครึ่งเดียว ความจริงแล้วราคาก๊าซในประเทศที่มีอากาศหนาวราคาก๊าซจะต่างกันเกือบครึ่งต่อครึ่งในแต่ละปี
       
       สำหรับข้อ (1) ที่ ปตท. เสนอแนะให้รัฐบาลขึ้นราคา ผมไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ ครับ แต่ผมพอจะจำความได้ว่า เดิมทีเดียวนั้น บริษัท ปตท. มาจาก “น้ำมันสามทหาร” ที่มีปรัชญาหลักว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานของทหารและชาติ”
       
       ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาของบทความที่ชื่อว่า “จับเท็จ ปตท. กรณี “นำเข้าก๊าซหุงต้ม”
       
       2. คำชี้แจงของบริษัท ปตท.
       
       ต่อมาผมได้รับทราบจากข้อมูลในเว็บบอร์ดของบริษัทผู้จัดการ จำกัด ว่ามีคำชี้แจงมาจากบริษัท ปตท. แต่ผมไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ชี้แจง
       
       ต่อมาอีกไม่นาน ผมทราบว่า มีการพูดถึงบทความที่ผมเขียนในรายการ “เรื่องเล่าเช้านี้” ทางโทรทัศน์ช่อง 3 วันที่ 21 กรกฎาคม เวลาประมาณ 8 โมงเศษ พอสรุปได้ว่า
       
       “นักข่าวได้ไปสอบถามทาง ปตท. ทางบริษัท ปตท.จำกัดได้ชี้แจงดังนี้ คือ ไม่ได้นำเข้าก๊าซหุงต้มโดยตรง เพราะการนำเข้าแอลพีจีโดยตรงนั้นทำได้ลำบาก ต้องใช้เรือเฉพาะ แต่ได้นำก๊าซชนิดอื่นที่เรียกว่า บิวเทน (butane) และ โปรเพน(propane) เพื่อมาผสมกับก๊าซชนิดอื่นแล้วใช้แทนก๊าซหุงต้ม (หรือแอลพีจี)”
       
       ผู้ดำเนินรายการยังได้สรุปว่า “เรื่องนี้เป็นปัญหาทางเทคนิค ถ้าใครสงสัยก็ให้ไปสอบถามที่ ปตท.ได้”
       
       
       3. จับเท็จซ้ำสอง
       
       ผมมีประเด็นที่จะขอตั้งข้อสังเกตและได้สืบค้นหาความจริงดังต่อไปนี้
       
       (1) คำถามง่ายๆ ครับ ถ้านำเข้าก๊าซแอลพีจีเป็น “เทคนิคที่ลำบาก” แล้วทำไมการส่งออกก๊าซแอลพีจีชนิดเดียวกันจึงเป็น “เทคนิคที่ทำได้” ก๊าซชนิดเดียวกันเวลาส่งออกใช้เทคนิคหนึ่ง เวลานำเข้าต้องใช้อีกเทคนิคหนึ่ง มันสองมาตรฐานชอบกลนะ
       
       แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้สำคัญอะไรมากมายเท่ากับเรื่องต่อไปนี้ครับ คือ
       
       (2) ผมได้สืบค้นข้อมูลอีกทั้งจากสองแหล่งเดิม เอากรณีของกรมศุลกากรก่อนนะครับ คราวนี้ผมขออนุญาตนำที่อยู่ของเว็บไซต์ของกรมศุลกากรมาแสดงด้วย เข้ายากไม่ใช้น้อยนะครับ คือเข้าไปที่ http://www.customs.go.th/Statistic/StatisticIndex.jsp ก่อน แล้วค่อยไปบอกรหัส (HD-Code) ตามที่ระบุ (แต่ไม่มีจุด เช่น 2711120006 สำหรับ Propane 27111900001 สำหรับแอลพีจี และ 2711130007 สำหรับ Butane- เข้ายากมากครับสำหรับคนที่ไม่ค่อยทีทักษะคอมพิวเตอร์)
       
       ผลปรากฏว่า ไม่พบการนำเข้าของก๊าซทั้งสองรายการตามที่ทางบริษัท ปตท. ชี้แจงมาแต่อย่างใด ผมแนบผลการตรวจค้นมาด้วยครับ

 
                    
 
 
       ต่อมาผมก็สืบค้นที่กระทรวงพลังงาน ก็ไม่พบการนำเข้าก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มเช่นเคย ผมตั้งใจจะแสดงผลการตรวจค้นทั้งหมด เนื่องจากตารางมันใหญ่โตเกินไป ผมจึงเลือกตัดเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับแอลพีจี (LPG) เท่านั้น ซึ่งตรงกับสดมภ์ G และบรรทัดที่ 27 ข้อมูลในตำแหน่งที่กล่าวแล้ว คือข้อมูลการนำเข้าในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2008
       
       ผลคือไม่พบข้อมูลการนำเข้าก๊าซแอลพีจีแต่อย่างใด (ในวงรีสีส้ม)

 
                      
 
 
       นอกจากนี้ ทางกระทรวงพลังงานได้กำหนดนิยามของ LPG (ในบรรทัดที่ 30) ว่าให้นับรวมก๊าซชนิดที่เรียกว่า Propane และ Butane ด้วย ก๊าซสองชนิดนี้แหละที่ทาง ปตท. อ้างว่าได้นำเข้ามาแทนแอลพีจี เพราะเทคนิคการนำเข้าง่ายกว่า
       
       ดังนั้นสำหรับข้อมูลของกระทรวงพลังงานแล้ว ชัดเจนดีโดยไม่ต้องค้นหาอะไรเพิ่มเติม แต่เฉพาะในเรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องข้อมูลอื่นยังมีปัญหาที่ทำให้ผู้รับข้อมูลเข้าใจได้ยากมากหรือไม่สามารถเข้าใจได้เลย หากมีเวลาผมจะเขียนมาเล่าให้ฟังครับ
       
       3. สรุป
       
       เรื่องราวที่ทางบริษัท ปตท. จำกัด “อ้างถึง” และ “ชี้แจงมา” ก็มีเท่านี้แหละครับ ผมไม่อยากแสดงความเห็นใดที่มากกว่านี้ ขอให้เป็นดุลยพินิจของท่านผู้อ่านและผู้บริโภคพลังงานก็แล้วกันครับ
       
       ศาสตราจารย์ นอม ชอมสกี นักวิชาการนามก้องโลกจากเอ็มไอทีได้แสดงความเห็นสั้นๆ ว่า “นักวิชาการมีหน้าที่สองอย่าง คือพูดความจริงและชี้ให้เห็นการโกหก”
       
       ถ้าจะมีหน้าที่ที่สามก็ขอเพิ่มโดยอิงกับคำพูดของพลตรีจำลอง ศรีเมืองที่ว่า “มาทำบุญ” เข้าไปอีกสักข้อก็แล้วกัน
       
       ผมมีแค่นี้เองครับ
 
อ้างอิงจาก http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000086306  ครับผม
บันทึกการเข้า



สิ้นสุดด้วยความเจ็บปวด ดีกว่าเจ็บปวดไม่สิ้นสุด
คมขวาน รักในหลวง
"จากดินแดนที่ราบสูงแห่งใบขวาน ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล(ถ้านั่งเครื่อง) ข้ามภูเขา สู่ดินแดนแห่งด้ามขวาน "
Hero Member
*****

คะแนน 1830
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 19896


ดนตรี คืออาภรณ์ของปราชญ์


เว็บไซต์
« ตอบ #74 เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2008, 03:45:54 PM »

        ขอบคุณครับ  คุณ ๏แก้วเดียวจุก๏ 
ตั้งแต่จะเอารถไปติดแก๊ส ยิ่งค้นคว้าข้อมูลก็ยิ่งตาสว่าง
ซาบซึ้งปตท.เป็นอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า

คลิ๊ก ทริปจักรยาน   "บินเดี่ยว ทางไกล ตามใจฝัน"     ลูกอิสาน พลัดถิ่น  จากแดนดิน  "ไหปลาแดก"  เร่ร่อน รอนแรม เดินทางดั้นด้น  มาสู่  "โคนต้นสะตอ"
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 ... 19
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.123 วินาที กับ 21 คำสั่ง