การปฏิบัติตนให้ อินทรี ๕ เสมอกันมี ความสำคัญอย่างไร และ ความหมายนัยยอันแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร
- อินทรีย์ ๕ ประกอบด้วย ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา
ให้ปรับศรัทธา กับ ปัญญา ให้สมดุลกัน
และปรับสมาธิ กับ วิริยะ ให้สมดุลกัน ... ส่วนสติเป็นตัวกลาง
- เพราะบางคนมีแต่ศรัทธา ไม่มีปัญญา เป็นเหตุให้งมงาย เชื่อคนง่าย ทำให้จิตเดินทางไม่ถูก
- ถ้ามีแต่ปัญญาอย่างเดียว ขาดศรัทธา จะทำให้คนนั้นมักคิดฟุ้งซ่าน
ไม่ยอมเชื่อถืออะไรง่ายๆ ทำให้จิตไม่สงบ เนื่องจากมัวแต่คิดฟุ้งซ่านอยู่ด้วยอำนาจที่มีปัญญามากเกินไป
- ความเพียร (วิริยะ) ถ้าน้อยไปก็ไม่ได้ผล
ถ้ามากไป ก็จะทำให้ร่างกายปวดเมื่อยและจิตกระสับกระส่าย
- ส่วนสมาธินั้น.. ถ้าทำน้อยไปจิตก็จะไม่สงบ ทำน้อยไปก็เกิดง่วงได้ง่าย
หรือเมื่อวิตกยกจิตขึ้น แล้วก็มักจะตกไปง่าย เพราะมีสมาธิมาก แต่ความเพียรมีน้อยไป
- สติ เป็นธรรมตัวกลาง ซึ่งต้องใช้ช่วยเหลือในการทำทุกอย่างให้สมดุลกัน
สติมากก็ยิ่งดี ถ้ามีน้อยไม่ดี คือ เมื่อปรับ ๒ คู่ให้เสมอกันแล้ว สติที่เป็นตัวกลาง
ที่คอยควบคุมก็จะคอยช่วยเหลืออยู่ทุกขณะ ตัวสตินี้เปรียบเหมือนพลังหรือถ่านไฟ
ถ้ามีพลังน้อยเครื่องรับวิทยุก็ไม่อาจจะดังหรือดังไม่ชัด
ถ้าไฟมีพลังมากเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น ฉะนั้นต้องฝึกบ่อยๆ ให้มีกำลังอยู่เสมอ
ที่มา : หนังสือ "การพัฒนาจิต" ผู้แต่ง พระเทพวิสุทธิกวี (ป.ธ.๙, ศนบ. (เกียรตินิยม), M.A.)