พอเห็นภาพแล้วครับ ที่เรียนอยู่ผมไม่รู้ว่าระดับไหน แต่ดูแล้วท่าทางใช้งานประจำวันได้อยู่แล้วนะครับ
แปลข่าวก็ดีครับ ที่สำคัญคือหาคนตรวจ มีข้อสังเกตการแปลข่าวอาจช่วยในการเรียบเรียงภาษาไทยมากกว่าหัดอ่านภาษาอังกฤษเสียอีกเพราะเขาจะใช้ศัพท์สั้นเพื่อประหยัดพื้นที่แทนที่จะใช้ข้อความยาวแสดงความหมาย และเนื่องจากภาษา อ มีการใช่คำขยาย ประโยคขยายมาก ตามปรกติภาษาเขียน อ ทั่วไปสั้นกว่าภาษาไทยอยู่แล้ว เวลาแปลก็เลยพบว่าต้องใช้คำเชื่อมประโยคมาก และบ่อยครั้งต้องเรียบเรียงความหน้า-หลังใหม่เพราะรูปแบบการเขียนข่าวจะเป็น passive แต่ผมว่าบทความข่าวไม่เป็นตัวอย่างที่ดีในการเขียนเรียงความครับ เพราะข่าวทั่วไปมักนำเสนอประเด็นเด่นของวัน หรือ ความเห็นบางส่วน และมักจะนำความเดิมมาเขียนข้างหลัง ดังนั้นถ้าจะนำเสนอเรื่องอะไรที่เป็นทางการเขียนแบบข่าวจะไม่ต่อเนื่อง และส่งรับความกันไม่ดี
คุย MSN ช่วยในการใช้สื่อสารแต่ผมว่าเสี่ยงกับรูปแบบ ศัพท์ผิดๆ โดยเฉพาะคนที่เราคุยด้วยไม่ใช่คนรู้เรื่องดีมาก ที่พยายามใช้ภาษาให้ถูกต้อง เหมือนกับการดูหนังฟังเพลงท่านนิยาย ภาษาเขาสแลงมากและเฉพาะด้น บางทีก็เป็นภาษาเด็ก ไม่ใช่รูปประโยคที่นำไปใช้ในที่ทำงานได้ดี
การอ่าน ผมอยากแนะนำให้อ่านในหนังสืออ้างอิง หรือบทความยาวหน่อยอย่างใน The Economist หรือนิตยสารอื่นๆ
ในการพูด ไม่ต้องรีบพูดแต่ละคำ คิดให้ได้เต็มประโยคที่มีใจความก่อนแล้วค่อยพูด ถ้าขาดกลางประโยคจะฟังยากครับ
ประโยคคำถาม เสียงลงท้ายจะขึ้นสูงเฉพาะประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบลักษณะ Yes /No หรือการถามยืนยันความ เท่านั้น Do you really like it? ถ้าเป็นประโยคคำถามอื่นที่ต้องการคำตอบลักษณะอธิบายความลงเสียงต่ำครับ How much is the ticket?
เรียนเพิ่มที่ British Council ก็ดีครับ เขามีสอบจัดชั้นก่อน และเขาเน้นการพูดและเขียนด้วย
ขออนุญาตเห็นต่างกับคุณต๊อกนิดนึงครับ
จากที่อ่านบรรยากาศแวดล้อมในที่ทำงานของคุณ NU1 ผมอยากเสนอให้คุณ NU1 อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในไทย เช่น Bangkok Post หรือ The Nation ครับ
มันน่าจะหาง่ายกว่านิตยสารอย่าง The Economist
สำคัญคือถ้าหาอ่านได้จากห้องหัวหน้า (ผมเดาว่าหน่วยงานคุณ NU1 น่าจะบอกรับนะครับ) เช่นขอกลับบ้านตอนเย็นหลังจากที่หัวหน้าอ่านจบแล้ว เราไม่ต้องควักเงินซื้อไงครับ
Daily Express ก็ดีนะครับ เป็น Free copy ด้วย
อ่านหนังสือพิมพ์มันดีอีตรงที่ ศัพท์มันจะหลากหลาย รูปแบบการใช้ โครงสร้างประโยค ก็หลากหลายดี เพราะมีทั้งเนื้อข่าวและบทความ
บทความในหน้าการเมือง รูปแบบการใช้ภาษา ก็จะต่างกับ หน้าไลฟ์สไตล์หรือหน้ากีฬา เก็บไว้เป็นคลังในสมอง
เวลาจะเอามาใช้เขียนเมล์ หรือเขียนงานที่เป็นเรียงความ จะได้ไม่ซ้ำซาก
บางทีเรียนแกรมมาเยอะ แต่ไปติดขัดตรงศัพท์ หรือรูปแบบการใช้ ก็จะพาลเขียนไม่ออกเอาดื้อๆ
ถ้าอยากอ่านหนังสือเป็นเล่มๆ แล้วไม่อยากควักสตางค์ซื้อมากนัก แนะนำให้คุณ NU1 เช็คกลับไปที่สถาบันที่คุณ NU1 เรียนจบปริญญาโทมานั่นแหละครับว่า หอสมุด เขาเปิดให้ศิษย์เก่ายืมหนังสือได้หรือเปล่า
บางทีเสียค่าบำรุงปีละ 500 บาท แต่ยืมหนังสือได้คราวละ 5 เล่มครั้งละสองสัปดาห์ คุ้มแสนคุ้มนะครับ หนังสือในห้องสมุดอ่านจนแก่ตายก็อ่านไม่หมดครับ
ดิคที่คุณ Wilhelm Tell แนะนำ Collins COBUILD เป็นดิคที่ดีครับ มีตัวอย่างการใช้ประโยคเพื่อให้เห็นความหมายที่แตกต่างของคำคำเดียวกันให้ดูด้วย บอกด้วยว่ากริยาคำนี้ใช้กับบุพบทคำนี้ ช่วยงานได้เวลาต้องเขียนจริง
ผมก็ใช้อยู่ ของเขาดีจริงๆ
แนะนำให้ใช้ดิค อังกฤษเป็นอังกฤษ นะครับ
อย่าใช้ ดิคอังกฤษเป็นไทย ด้วยเหตุผลข้างต้น
แนะนำให้มีมากกว่า 1 เล่ม
มีบนโต๊ะทำงาน 1 เล่ม
มีบนหัวเตียง 1 เล่ม (ถ้าชอบอ่านหนังสือก่อนนอน)
มีตรงโต๊ะกาแฟหรือโต๊ะกินข้าว 1 เล่ม (ถ้าชอบอ่านหนังสือตอนกินกาแฟหรือกินข้าว)
มีตรงโต๊ะหน้าทีวี 1 เล่ม (ถ้าชอบอ่านหนังสือตอนดูทีวี อ้าวอ้าว อย่าหัวเราะ ผมชอบแบบนี้ เมียดูทีวี ผัวอ่านหนังสือ เมียบอกต้องนั่งด้วยกัน ไม่งั้นเหงา)
มีในห้องน้ำ 1 เล่ม (ถ้าชอบอ่านหนังสือในห้องน้ำ)
มีไว้เวลาติดขัดเปิดได้เลย ไม่เสียอารมณ์ ไม่ต้องลุกขึ้นเดิน
แรกๆเปิดบ่อยหน่อย นานๆไปจะเปิดน้อยลง เพราะเดาจากบริบทรอบข้างได้ง่ายขึ้นครับ