รูปปืน CZ 200T ขณะรอบรรจุอากาศ ตอนนี้อากาศในถังลดลงเหลือราว 120 BAR ผมสงสัยว่า มันคงรั่วซึมได้นะถังดำน้ำเนี้ยะ
ผมลองคาลมไว้ที่หลอดอากาศของปืน ทิ้งไว้สองวัน ก็ปรากฎว่า ความดันมันลดลง ไม่รู้อุปทานหรือปล่าว
ไม่ทราบว่า เราต้องปล่อยลมที่เหลือเหลือในหลอดออกให้หมดทุกครั้งหลังเลิกยิง หรือไม่ เพราะตอนปล่อยลมออก หลอดลมจะเย็นมาก ผมกลัวว่าจะเกิดหยดน้ำในหลอด
เห็นทีเรื่องนี้ต้องเก็บไว้ถามอาจารย์ผณิศวร
สวัสดีครับ พื่จะเด็ด
ผมเพิ่งอ่านเจอกระทู้วันนี้ แอบอ่านเวปมาเกืิอบปี ผมเป็นผู้จัดการร้านที่พี่เข้าไปซื้อ tank ครับ ก่อนอื่ีนต้องขอโทษพื่จะเด็ดแทนพนังงานที่ร้านด้วยครับ
ผมเองบอกพนักงานไว้ให้ระมัดระวังเรื่องการขาย Tank และ valve อย่างมากครับ เพราะเคยเกิดเหตุ Tank แตก เนื่องจากการใช้ Tank ผิดประเภท และผิดวิธีดูแลรักษาอยู่บ่อยครั้งครับ ซึ่งค่อนข้างอันตรายมากครับ เพียงแต่เราไม่เห็นในข่าวนะครับ (กรณีของ NGV ก็แรงอัดระดับใกล้เคียงกันครับ 200-300bar)
- ขอตอบเรื่องการรั่วซึมของ Tank ไม่น่าใช้นะครับ น่าจะเป็นเพราะ อากาศเย็นตัวลง แรงดันในถังจะลดลงครับ (ถ้าจำไม่ผิด 1ºc ต่อ .6 BAR หรือ .6 kg/cm หรือ 8.7 psi ครับ)
- โอกาสที่จะเกิดหยอดนำ้ในถังอากาศน่าจะเกิดขึ้นน้อยครับ ถ้าอากาศไม่ปนเปื้อน Compressor สำหรับอัดอากาศในการดำนำ้จะต้องผ่านการกรองมาตราฐาน DIN EN 12021 และ CGA Grade D+E, Navy Standard Federal Spec. Grade A+B
ซึ่งติดมากับทุกเครื่องอัดอากาศครับ ความช้ืนโดยเฉลี่ย อยู่ที่ 0.001% และความบริสุทธิ์ของอากาศในชั้นหายใจได้ครับ และเป็นผลดีกับถังอากาศทั้งชนิดเหล็ก และอลูมิเนียมด้วยครับ(ไม่เป็นสนิมหรือกัดกร่อนเนื่ีองจากนำ้)
ในบางกรณีที่ร้านท่ีให้บริการเติมอากาศเปล่ียนกรองช้ากว่าที่กำหนด ก็อาจทำให้ค่าความช้ืนอยู่ประมาณ 0.010-0.020% ได้แต่ไม่น่าจะทำให้เกิดการควบแน่นได้ครับ
โดยส่วนใหญ่นักดำน้ำจะรู้สึิกคอแห้งมากระหว่างดำนำ้ เนื่องจากคุณภาพการกรองข้างต้นครับ
ขออนุญาตให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานนะครับ
ถังอากาศมีหลายประเภทตามการใช้งานที่มักพบเห็นกันทั่วไป ขึ้นอยู่กันแรงดัน แบ่งคราวๆ ตัวเลขโดยประมาณ นะครับ ซึ่งสามารถตรวจดู มาตราฐานการใช้งาน วันเดือนปีที่ และ ผู้ผลิตได้ที่คอถัง ครับ
- ถังที่ใช้ใส่ oxygen ในงานเชื่อม จะเป็นถังเหล็ก มี working pressure W.P. ที่ 150 bar Bursting pressure (Max) 250 bar (อัตรา 3:5)ตามCGA standard ครับ
- ถังที่ใช้ใส่ Co2 สำหรับน้ำอัดลม จะเป็น อลุมีเนียม มี WP ที่ 125bar Max 207bar
- ถังที่ใช้ใส่ แก๊สหุงต้ม จะเป็นเหล็กซะส่วนใหญ่ มี WP ที่ 17bar โดยประมาณ ครับ
- ถังที่ใช้ใส่ อากาศหายใจในการผจญเพลิง มี WP ท่ี 300 bar ทำมาจาก Carbon Fiber
- ถังที่ใช้ใส่ NGV ในรถยนต์ จะมี WP ท่ี 200bar ทำมาจากหลายวัสดุ ตามราคาและ นำ้หนัก ส่วนมาก เหล็ก หรือ Aluminium และ Aluminium เสริมแรงด้วย Fiber
- ถังที่ใช้ใน การดำนำ้ ส่วนใหญ่จะเป็น อลูมิเนียม จะมี WP ท่ี 200bar ถ้าเป็นเหล็ก WP จะอยู่ที่ 300bar
มีหลายขนาดให้เลือกใช้ ขนาดปกติที่เห็นในการดำนำ้คือ 80cuft หรือ 12 ลิตร ครับ (ของพื่จะเด็ดคือขนาด 63cuft หรือ 9ลิตร)
ถังอลูมิเนียมส่วนใหญ่(99%ในไทย) จะผลิตโดย 2 บริษัท Luxfer และ Catalina จาก USA (ไม่ว่าจะใช้ยี้ห้อ Scubapro หรือ Mares)
แต่ถ้าเป็นถังเหล็ก ส่วนใหญ่ ก็ Faber จาก Italy
ถังดำนำ้จะต้องทำการทดสอบ Hydrostatic test ทุก5ปีนับจากวันที่ทดสอบครับแรก(วันที่ผลิต) สามารถดูวันที่ผลิตได้ที่คอถังครับ
(วันหลังจะลงรูปให้ดูนะครับว่าดูตรงไหน)
วาล์ว (Valve)ส่วนใหญ่ สำหรับใช้ในถังดำนำ้จะมี fitting 2 ลักษณะครับ
-Yoke หรือ A valve หรือ Int (international) นิยมใช้ทั่วโลก ยกเว้นบางประเทศในยุโรป 99%ในไทย ทนแรงได้ที่ 200 bar มี safety burst ที่ 344bar
- DIN standard ขนาด G 5/8 แบบที่ใช้ในยุโรปและที่พี่จะเด็ดใช้กับปืนลมมี 2 ขนาดแรงดันให้เลือกใช้ 200bar และ 300bar
ทั้ง 2 ขนาดจะ มีความลึกของเกลียวไม่เท่ากัน ป้องกันการใส่ผิดขนาดครับ
วันน้ีแค่นี้ก่อนนะครับผมพิมพ์ไทย จิ้มดีดครับ
แล้วจะเอารูป Tank และ Valve มาลงวันหลังนะครับ