เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 07, 2024, 08:02:11 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ติดยาบ้า ทำไงถึงจะเลิกได้ครับ แนะนำด้วย  (อ่าน 24976 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 9 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
MP 436
Hero Member
*****

คะแนน 186
ออฟไลน์

กระทู้: 1766



« ตอบ #30 เมื่อ: สิงหาคม 02, 2008, 11:54:44 PM »

ทุกข้อความ ทุกความเห็น มีคุณค่าและประโยชน์ต่อครอบครัวของพี่ชายผมอย่างมาก
จะนำเสนอบอกผ่านไปถึงครับ เยี่ยม

ได้เห็นน้ำใจงามๆของเพื่อนร่วมเวปนี้แล้ว  น่าชื่นใจจริงๆครับ ทำให้มองโลกในแง่ดีๆมากขึ้นเลยครับ
เวปนี้อบอุ่นจริงๆ    ขอบคุณอีกครั้งครับ  ไหว้ ไหว้ ไหว้
บันทึกการเข้า
hodesud
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 12:50:43 AM »

ผมเคยกินเหล้า - สูบบุหรี่มาเกือบ 10 ปี และช่วงนั้นก็มีเสพกัญชาและยาเสพติดชนิดอื่นๆเป็นบางคราวเมื่ออยู่ร่วมก๊วนเสพ
แต่ไม่ได้เสพจนถึงขนาดติดต้องมีเสพตลอด ผมแค่เสพเป็นครั้งคราวตามเพื่อนหรืออยากเมาให้ถึงเท่านั้นเอง
แต่ปัจจุบันผมเลิกยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิดมาได้ 9 ปีแล้ว เว้นแต่บุหรี่ เพิ่งหยุดได้มา 5 ปี
ผมเข้าใจสภาพคนเสพดี เพราะผมเองพยายามเลิกบุหรี่มา 100 กว่าครั้ง แต่เลิกไม่ได้ซักที
จนถึงวันหนึ่งมันหมดอยากเอง ใจมันไม่ต้องการเลย เลยหยุดไปดื้อๆแล้วก็ไม่กลับไปตอดเล็กตอดน้อยอีกเลย
จุดนี้เป็นจุดสำคัญ บางคนหยุดได้พักนึงแล้ว เกิดนึกสนุกหรืออยากขึ้นมาก็ เอ๊ย..เอาหน่อยเว๊ย!
นั่นแหล่ะ...ร้อยทั้งร้อยกลับไปเสพทุกราย เพราะใจมันไปแล้ว แม้จะไม่รู้ตัวก็เหอะ
แต่ในกรณีที่เป็นยาเสพติดชนิดรุนแรงผมยอมรับว่าอาการลงแดงมันมีจริงและทรมานมาก ไม่ใช่แค่ใจอย่างเดียว

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้คนคนนึงถอนตัวออกจากยาเสพติดทุกชนิดได้ ผมขอยืนยันจากประสบการณ์ว่า
อยู่ที่ตัวคนนั้นเองว่าไม่ต้องการแล้วจริงๆ ต้องการออกจากสภาพนี้จริงๆ แล้วอะไรๆมันจะง่ายขึ้นเยอะ
แต่ถ้ายังอยากอยู่ก็ยากครับที่จะตัดใจ เพื่อนผมบางคนหยุดแล้วกลับมาเสพใหม่ วนอยู่อย่างนี้จนตายก็มี

รองลงมาคือสภาพแวดล้อมครับ ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะคำพูดคนทุกคนที่ผ่านเข้าหู!

ยังไงก็ขอให้พยายามเข้านะครับสำหรับผู้ที่คิดจะเลิกทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ - สุรา - ยาเสพติดใดๆก็ตาม

ปล. ส่วนเลิกกับเมียผมไม่สนับสนุนนะครับ เพราะผมเองก็ยังหาไม่ได้ เดี๋ยวกรรมมันจะตามสนองผม
บันทึกการเข้า
KTTA-50-L
1450 HP (x2)
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 103
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1193


Parabellum Card


เว็บไซต์
« ตอบ #32 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 01:03:23 AM »

ถ้าใกล้บ้านผมมากที่สุด ก็ต้องที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกครับ
บันทึกการเข้า

วาว วาว เสียงรถไฟแล่นไปฤทัยครื้นเครง

SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #33 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 01:32:57 AM »

คำเดียวครับ "ใจ" ของตัวเขาเองครับ  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
สามก๊ง รักในหลวง
อย่าดึงฟ้าต่ำ อย่าทำหินแตก อย่าแบ่งแยกแผ่นดิน
Sr. Member
****

คะแนน 39
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 527


NO TECHNIC PICK ONLY


« ตอบ #34 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 11:43:39 AM »

ตัวเด็กอยากเลิกหรือเปล่าครับ
ถ้าไม่ก็ยากอยู่ แต่ถ้าอยากก็พอมีหวัง
ยังไงก็เป็นกำลังใจให้ครับ
บันทึกการเข้า

จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง
จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
foxbat.....รักในหลวง
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 81
ออฟไลน์

กระทู้: 725


« ตอบ #35 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 11:57:43 AM »

เรื่องยาบ้านี่ ผมว่ามันอยู่ที่ใจครับ เคยเห็นสีโป๊วรถยนต์มั้ยครับ ผมเคยเอามาปั้นทำเรียนแบบยาบ้าให้ลูกน้อง เสพเพราะหมั่นใส้มันถ้าไม่มียามันไม่มีสมาธิที่จะทำงานให้เราเล้ย ผมจึงแกล้งทำทีว่าไปหาซื้อให้  พอได้ไปซักเม็ดสองเม็ดเท่านั้นแหล่ะกระฉับกระเฉงขึ้นมาทันที  แต่ได้ยินมันบ่นแว่วๆมาตามลมให้ได้ยิน  ว่าไม่รู้เฮียเขาไปเอาของคอกใหนมาขึ้นเร็วลงเร็วฉิบ  ก็คอกตรากัปตันนี่แหล่ะโว้ยผมตอบมันในใจ  มันโดนของปลอมไปบ่อยๆเข้าเดี๋ยวนี้มันเลยเลิกไปโดยปริยาย(ถ้ากลัวลูกหลานเป็นอันตรายใช้พวกแป้งใส่สีขนมก็ได้ครับ)
บันทึกการเข้า
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #36 เมื่อ: สิงหาคม 03, 2008, 12:26:44 PM »


    ก่อนอื่นผู้ปกครองต้องยอมรับในความบกพร่องของตนเอง และ ผู้ติดยา ก่อน

    ส่วนใหญ่มักโทษว่าตามเพื่อน ..... ทั้งที่ตัวเองดูแลไม่ดี หรือ ผู้เสพย์ใจไม่เข้มแข็งพอ

    จากนั้นค่อยเอาไปบำบัด หากยังไม่ยอมรับว่าตัวเองเลวละก็ กลับออกมาก็เหมือนท่านสุพินท์กล่าวไว้

บันทึกการเข้า

                
soveat ชุมไพร
มือสังหารคันคากหมุ่น พรานปลาวัด พราน28k สมช. เลขที่ 1475
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3429
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 30132


เลือดกรุ๊ป โอละนออออออออออออ


เว็บไซต์
« ตอบ #37 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 12:24:22 PM »

  สถานที่บำบัดก็แล้วแต่ภูมิภาคครับ

ผมจำชื่อสถาบันไม่ได้ รู้แต่จังหวัด

อีสานก็ที่ขอนแก่น

เหนือก็ที่เชียงใหม่หรือเชียงรายนี่แหละ อันนี้ผมไม่แน่ใจครับ

กลางก็ แถวๆรังสิตนี่แหละครับ

ต้องขออภัยจริงๆที่จำชื่อสถานที่ไม่ได้ครับ

รู้สึกว่าจะเป็นสถานฟื้นฟูและบำบัดผู้ติดยาเสพติดครับ

  ปล.ไม่แนะนำให้ไปถ้ำกระบอก
บันทึกการเข้า

จะปิดทอง หลังองค์ พระปฏิมา
lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #38 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 12:40:30 PM »

สถานบำบัดทั่วประเทศตามนี้เลยครับ http://www1.oncb.go.th/document/p1-hospital.htm
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #39 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 02:49:05 PM »

จากประสบการณ์ส่วนตัว(ผมเป็น อ.โรงเรียนอาชีวะ) ถ้าในกรณียาบ้าหายากมากๆหรือถึงพอจะหาได้ก็มีราคาแพงมากๆ กรณีนี้ผู้เสพก็จะลดลงไปเอง (อย่างว่าล่ะครับยุคนี้ยาบ้ากลับมาอีกแล้ว)
ในกรณี วัยรุ่นเสพยาบ้า ส่วนใหญ่มีสาเหตุข้อเดียวครับ กระแดะ(ขออภัยครับ)ตามเพื่อนที่จัญไ --- (คนที่ดีๆมีไม่ทำตาม) ผมก็เห็นๆอยู่เสพแล้วมันก็ไม่เห็นมันจะทำอะไร(โคตะระขี้เกียจ)งานการก็ไม่ทำ  เฮ้อ!  อ๋อย 
กรณีส่งเข้าสถานบำบัด ผมเคยดูรายการโทรทัศน์ สัมภาษณ์ผู้เข้ารับการบำบัด เค้าบอกว่าในนั้น ยาเสพติดแพร่กระจายมากกว่าข้างนอกเสียอีก (ขออภัยครับถ้าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงผมเพียงแต่เอาคำพูด "ที่เคยได้รับฟังมา" มาพูดให้ฟังเท่านั้น) ถ้าอยู่ข้างนอกยังเลิกไม่ได้ อยู่ข้างในก็คิดเอาเองนะครับ
จะทำอะไรก็รีบทำครับก่อนที่จะสายเกินไป หลาน จขกท. เพิ่งอายุ 16 ยังมีโอกาสแก้ตัวถ้าถลำลึกกว่านี้(ส่วนใหญ่ผู้เสพที่เลิกไม่ได้มักจะลงลึกกลายเป็นผู้ขาย จากสภาพที่อยากเสพแต่ไม่มีตังค์)
-ฝากไว้ให้คิดนะครับ เวลามีปัญหายาเสพติดขึ้นมา  พ่อแม่คนแถว ตจว. มักจะพูดว่า โรงเรียนไม่ดู  บู่  โธ่ เด็กมาอยู่กับเราแค่วันละ 7-8 ชม. เป็นเวลาแค่ 1- 3 ปี แถมมีจำนวนเด็กราวๆ 30 คน / อาจารย์ 1 คน (ในระดับอาชีวะ) ถ้าเทียบกับเวลาที่เด็กเกิดจนโตมาจนเสพยาบ้าได้ ประมาณ 15 ปี  แถมอยู่กับพ่อแม่มาวันละไม่น้อยกว่า 10 ชม. และพ่อแม่มักจะมีลูกแค่ 1-2 คนต่อพ่อแม่ 1 คู่(2คน).....พ่อแม่ที่ให้ตังค์แถมเลี้ยงมาพูดยังไม่ฟัง นับประสาอะไรกับ ครู-อาจารย์(ใครล้มเหลวกว่ากัน)
ก่อนจะนอกเรื่องไปไกล ความเห็นผมนะครับ(ถ้าไม่เข้าหูก็ขออภัยครับ)
1.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น(ถ้าพ่อแม่ควบคุมลูกไม่ได้ก็ไม่มีใครคุมได้แล้วล่ะครับ)
2.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น และ
3.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น
ใช้ไม้นวมไม่ได้ก็ลองใช้ไม้แข็งครับ(วัยรุ่นยุคก่อนที่พ่อแม่เข้มงวดแล้วส่วนมากจะได้ดีครับ อย่ายึดติดกับละครมากที่ว่าพ่อแม่เข้มงวดแล้วลูกจะใจแตก  อาจจะมีบ้างแต่ผมเชื่อว่าเป็นส่วนน้อย)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2008, 08:54:03 AM โดย mrt » บันทึกการเข้า
STeelShoTS
Mossy Oak Duck Blind
Hero Member
*****

คะแนน 534
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6303


If you heard my shot. You were not the target.


« ตอบ #40 เมื่อ: สิงหาคม 05, 2008, 03:38:01 PM »

 
จากประสพการณ์ส่วนตัว(ผมเป็น อ.โรงเรียนอาชีวะ) ถ้าในกรณียาบ้าหายากมากๆหรือถึงพอจะหาได้ก็มีราคาแพงมากๆ กรณีนี้ผู้เสพก็จะลดลงไปเอง (อย่างว่าล่ะครับยุคนี้ยาบ้ากลับมาอีกแล้ว)
ในกรณี วัยรุ่นเสพยาบ้า ส่วนใหญ่มีสาเหตุข้อเดียวครับ กระแดะ(ขออภัยครับ)ตามเพื่อนที่จัญไ --- (คนที่ดีๆมีไม่ทำตาม) ผมก็เห็นๆอยู่เสพแล้วมันก็ไม่เห็นมันจะทำอะไร(โคตะระขี้เกียจ)งานการก็ไม่ทำ  เฮ้อ!  อ๋อย 
กรณีส่งเข้าสถานบำบัด ผมเคยดูรายการโทรทัศน์ สัมภาษณ์ผู้เข้ารับการบำบัด เค้าบอกว่าในนั้น ยาเสพติดแพร่กระจายมากกว่าข้างนอกเสียอีก (ขออภัยครับถ้าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริงผมเพียงแต่เอาคำพูด "ที่เคยได้รับฟังมา" มาพูดให้ฟังเท่านั้น) ถ้าอยู่ข้างนอกยังเลิกไม่ได้ อยู่ข้างในก็คิดเอาเองนะครับ
จะทำอะไรก็รีบทำครับก่อนที่จะสายเกินไป หลาน จขกท. เพิ่งอายุ 16 ยังมีโอกาศแก้ตัวถ้าถลำลึกกว่านี้(ส่วนใหญ่ผู้เสพที่เลิกไม่ได้มักจะลงลึกกลายเป็นผู้ขาย จากสภาพที่อยากเสพแต่ไม่มีตังค์)
-ฝากไว้ให้คิดนะครับ เวลามีปัญหายาเสพติดขึ้นมา  พ่อแม่คนแถว ตจว. มักจะพูดว่า โรงเรียนไม่ดู  บู่  โธ่ เด็กมาอยู่กับเราแค่วันละ 7-8 ชม. เป็นเวลาแค่ 1- 3 ปี แถมมีจำนวนเด็กราวๆ 30 คน / อาจารย์ 1 คน (ในระดับอาชีวะ) ถ้าเทียบกับเวลาที่เด็กเกิดจนโตมาจนเสพยาบ้าได้ ประมาณ 15 ปี  แถมอยู่กับพ่อแม่มาวันละไม่น้อยกว่า 10 ชม. และพ่อแม่มักจะมีลูกแค่ 1-2 คนต่อพ่อแม่ 1 คู่(2คน).....พ่อแม่ที่ให้ตังค์แถมเลี้ยงมาพูดยังไม่ฟัง นับประสาอะไรกับ ครู-อาจารย์(ใครล้มเหลวกว่ากัน)
ก่อนจะนอกเรื่องไปไกล ความเห็นผมนะครับ(ถ้าไม่เข้าหูก็ขออภัยครับ)
1.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น(ถ้าพ่อแม่ควบคุมลูกไม่ได้ก็ไม่มีใครคุมได้แล้วล่ะครับ)
2.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น และ
3.เข้มงวดกับลูกให้มากขึ้น
ใช้ไม้นวมไม่ได้ก็ลองใช้ไม้แข็งครับ(วัยรุ่นยุคก่อนที่พ่อแม่เข้มงวดแล้วส่วนมากจะได้ดีครับ อย่ายึดติดกับละครมากที่ว่าพ่อแม่เข้มงวดแล้วลูกจะใจแตก  อาจจะมีบ้างแต่ผมเชื่อว่าเป็นส่วนน้อย)

แฮะ ๆ..... ขออนุญาตแย้งท่าน ผอ. อาจารย์  ในฐานะผมเป็นเด็กอาชีวะ.............   Grin
   ประสพการณ์ = ประสบการณ์
   โอกาศ         = โอกาส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 05, 2008, 03:40:29 PM โดย STeelShoTS » บันทึกการเข้า

Natural resources is sufficient for human's need,but not for human's greed
CT_Pro4
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 537
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4869



« ตอบ #41 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2008, 04:43:09 AM »

...ด้วยความเคารพ ผมเข้าใจดีครับ ครอบครัวไหนที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้เหมือนกับตกนรกทั้งเป็นจริงๆ...

...ที่หนักที่สุด ก็คือเมื่อไหร่ที่สมองถูกทำลายแล้วกลายมาเป็นปัญหาทางจิตเวช น่ากลัวที่สุดครับ...



...ขออนุญาตคัดลอกบทความของแพทย์หญิงมธุรดา   สุวรรณโพธิ์ ครับ...

   
          โรคทางจิตเวชเปรียบกับโรคทางกายก็เป็นโรคเรื้อรังทางสมองโรคหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยเช่นกันกับผู้ป่วยเรื้อรังทั่วๆไป   มีผู้ป่วยจิตเวชมากกว่าครึ่งหันไปใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการเครียด   แต่การที่ผู้ป่วยเหล่านี้ใช้สารเสพติดนานๆก็มีผลทำให้สมองมีการเปลี่ยนแปลงการทำงานและเกิดอาการทางจิตเวชมากขึ้น  หรือเปลี่ยนเป็นรุนแรงขึ้นไปอีก       ปัจจุบันเราจะพบว่าผู้ป่วยโรคจิตเวชใช้สารเสพติดร่วมมากขึ้น  ทั้งที่บางคนอาการทางจิตเวชดีขึ้นแล้วกลับมีปัญหาเรื่องสารเสพติดตามมา   หรือผู้ป่วยบางคนติดสารเสพติดมาก่อนและดำเนินโรคทางจิตเวชตามมาทั้งๆที่เลิกเสพยาแล้วก็ตาม   

          ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าหันไปดื่มเหล้า  หรือผู้ป่วยไบโพล่าร์ดื่มเหล้าช่วงอาการแมเนีย   หรือผู้ป่วยจิตเภทใช้สารกระตุ้นตั้งแต่ยาชูกำลังในท้องตลาด  จนถึงสารเสพติดพวกยาบ้า  เพื่อออกฤทธิ์ต้านกับผลข้างเคียงของยาต้านโรคจิตที่แพทย์ให้หรืออาการด้านลบของผู้ป่วยจิตเภทเอง (เช่น อารมณ์เศร้า  พฤติกรรมแยกตัว)   หรือคนที่ใช้ยาบ้าแล้วมีอาการทางจิตเป็นพักๆ และมีอาการหงุดหงิดถึงซึมเศร้าเมื่อถอนฤทธิ์ยาบ้า     และอาจพบคนติดเหล้าเรื้อรังแล้วมีอาการแสดงทางจิตเวชเหมือนผู้ป่วยโรคจิตเภท

          การวินิจฉัยโรคร่วมโรคทางจิตเวชที่สัมพันธ์กับสารเสพติดพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์อื่นๆ     ภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์วินาศภัย (PTSD : Posttraumatic stress disorder)   โรคสมาธิสั้น (ADHD : Attention deficit hyperactivity disorder)  และโรคจิตเภท               ผู้ป่วยเหล่านี้เมื่อใช้สารเสพติดแล้วมักมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง(violence)  มีปัญหาไม่ร่วมมือในการรักษา (noncompliance)  และบางคนเกิดติดเชื้อHIV

          การพบโรคร่วมทางจิตเวชและสารเสพติดทำให้เกิดความยุ่งยากในการรักษา   ทั้งด้านการวินิจฉัย  ความร่วมมือรักษา  และการปรับใช้ยาที่ต้องมียาควบคุมทั้งอาการทางจิตเวชและอาการแทรกซ้อนจากสารเสพติด  และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของการใช้ยาเสพติด   ผู้ป่วยบางคนต้องทนกับผลข้างเคียงของการใช้ยาทางจิตเวชหลายกลุ่ม      การดูแลรักษาผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้สารเสพติดร่วมแบ่งการรักษาเป็น 2 ระยะ  คือ
          - ระยะแสดงอาการและระยะควบคุมอาการ        (acute treatment  and stabilization phase)
          - ระยะอาการทางจิตสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพ     (maintenance and rehabilitation  phase)

          การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้สารเสพติดร่วมในระยะแสดงอาการและระยะควบคุมอาการ  สิ่งที่จิตแพทย์ต้องทำเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยที่มีทั้งโรคทางจิตเวชและการใช้สารเสพติด  คือ  การประเมินความเป็นไปได้ที่จะวินิจฉัยโรคสองโรคในผู้ป่วยคนเดียว  จิตแพทย์ต้องแน่ใจว่าอาการทางจิตเวชที่เกิดขึ้นต้องไม่เกิดจากการใช้สารเสพติดทั้งช่วงออกฤทธิ์ของสารเสพติดและช่วงถอนฤทธิ์ของสารเสพติด  (Intoxication  and withdrawal)     ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการดีท็อกสารเสพติดนั้น ๆแล้ว  อาการทางจิตสงบและผู้ป่วยไม่เคยป่วยทางจิตเวชมาก่อน   แสดงว่าผู้ป่วยมีวินิจฉัยเดียว  คือ  อาการทางจิตเวชจากการใช้สารเสพติด(substance induce psychiatric disorder)    แต่ถ้าอาการทางจิตไม่สงบหลังการดีท็อกสารเสพติด    และผู้ป่วยเคยป่วยทางจิตเวชมาก่อน  สิ่งที่น่าเป็นไปได้คือผู้ป่วยน่าจะได้รับการวินิจฉัยทั้งสองโรค  ซึ่งจิตแพทย์ต้องให้การรักษาทั้งสองโรคร่วม  การรักษาเริ่มด้วยการสังเกตอาการ   จัดการช่วงออกฤทธิ์ของสารเสพติด(intoxication)และช่วงถอนฤทธิ์ของสารเสพติด(withdrawal)    แล้วจัดการอาการทางจิตเวชที่เกิดในระยะเฉียบพลันและคงสภาพผู้ป่วยใกล้เคียงเดิมมากที่สุดด้วยการรักษาด้วยยาและจิตบำบัด 

           การดูแลผู้ป่วยช่วงอาการทางจิตสงบและฟื้นฟูศักยภาพผู้ป่วย  มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดอาการซ้ำ  ด้วยการให้ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่องและการทำจิตบำบัดที่คลอบคลุมทั้งอาการทางจิตเวชและปัญหาการใช้สารเสพติด  รูปแบบการบำบัดมีหลากหลายยกตัวอย่างเช่น  การให้ยาทางจิตเวช  การทำจิตบำบัด  การทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน (self-help)  และการฟื้นฟูสมรรถภาพ     การบำบัดแตกต่างกันตามสมมุติฐานของการเกิดโรคว่าเกิดจากโรคทางจิตเวชหรือจากสารเสพติด  อันไหนเกิดก่อนหลัง  เพราะการทำกลุ่มจิตบำบัดสำหรับผู้ติดสารเสพติดย่อมไม่เหมาะแน่กับผู้ป่วยจิตเภทที่มีความบกพร่องด้านความคิดการตัดสินใจ   การดูแลผู้ป่วยช่วงอาการทางจิตสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพจึงขึ้นกับสมมุติฐานการเกิดโรคร่วมทางคลินิกโดยแบ่ง 4 สมมุติฐาน  ดังนี้
          - ผู้ป่วยโรคจิตเวชอยู่ก่อนและมีปัญหาการใช้สารเสพติดภายหลัง
          - ผู้ป่วยใช้สารเสพติด และเกิดอาการทางจิตเวชภายหลัง
          - โรคร่วมทางจิตเวชและสารเสพติดตั้งแต่เริ่มป่วย (dual primary diagnosis)
          - Common etiology

          ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มแรกที่ป่วยด้วยโรคทางจิตเวชอยู่เดิมแล้วใช้สารเสพติด    มีเหตุผลที่พบบ่อยคือการเยียวยาตนเอง(self –medication)  ส่วนการใช้สารเสพติดจากการตัดสินใจที่บกพร่องของผู้ป่วยจิตเวช  หรือทำตามกระแสสังคมพบเป็นสาเหตุรองลงมา   ผู้ป่วยจิตเวชไม่ทุกรายที่ต้องหันไปพึ่งสารเสพติด    ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะอารมณ์เศร้า  ผู้ป่วยที่มีการตัดสินใจบกพร่อง  หรือขาดความมั่นใจในตนเอง    หรือขาดความยับยั้งชั่งใจและมองตนเองไร้ค่า   หรือผู้ป่วยที่มีความบกพร่องในทักษะการเข้าสังคม   และมีการจัดการกับปัญหาแบบไม่ยืดหยุ่น  ผู้ป่วยที่ไม่มีที่พึ่งและขาดอาชีพ   ผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการหันไปพึ่งสารเสพติด   
          สำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่มีความทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยแล้วใช้สารเสพติดเยียวยาตนเองพบว่ามีการใช้สารเสพติดแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มโรคที่เจ็บป่วย กลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเภทมักใช้สารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้น พบการดื่มเหล้า  หรือยาระงับประสาทเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคอารมณ์    แม้ว่าจะใช้สารเสพติดตัวเดียวกันในกลุ่มโรคเดียวกันการตอบสนองต่อสารเสพติดก็แตกต่างกัน  ผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีอาการด้านลบจะอาการดีขึ้นเมื่อใช้สารเสพติดกลุ่มกระตุ้น  เช่น  ยาบ้า   แต่ในผู้ป่วยจิตเภทที่อยู่ระยะแสดงอาการจะยิ่งมีอาการทางจิตกำเริบเมื่อใช้ยาบ้า  การดูแลช่วงอาการทางจิตสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพ  เน้นที่การบรรเทาอาการทางจิตเวชที่เป็นแต่แรกอันจะเป็นการป้องกันการเยียวยาตนเองของผู้ป่วยด้วยสารเสพติด

          ผู้ป่วยใช้สารเสพติดและเกิดอาการทางจิตเวชภายหลัง  อาการทางจิตเวชเป็นผลจากสารเสพติดโดยตรง  ที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เกิดอาการซึมเศร้าหลังการใช้โคเคนหรือยาบ้าจากภาวะ rebound depression   หรือในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางความคิดและการตัดสินใจขณะดื่มเหล้า     หรือผู้ป่วยที่เกิดอาการทางจิตหลังการใช้ยาบ้า    กรณีนี้เกิดอาการทางจิตเวชในช่วงใช้สารหรือช่วงถอนสารเสพติด   ทางจิตเวชไม่นับเป็นการวินิจฉัยร่วมจะจัดว่าเป็นอาการทางจิตเวชจากสารเสพติดโดยตรง    การดูแลช่วงอาการทางจิตสงบ และการฟื้นฟูสมรรถภาพ  เน้นโปรแกรมการป้องกันการกลับเสพสารเสพติดซ้ำ

          กลุ่มที่วินิจฉัยสองโรค(dual diagnosis)เป็นกลุ่มที่ดูแลยากที่สุดเนื่องจากการใช้สารเสพติดเองทำให้อาการทางจิตเวชเปลี่ยนแปลงและอาการทางจิตเวชเองก็มีผลต่อการใช้สารเสพติด   ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องการการดูแลทั้งทางจิตเวชและสารเสพติดควบคู่กันในช่วงอาการทางจิตสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพ

          พบสาเหตุการเกิดโรคใกล้เคียงกันในผู้ที่ติดเหล้าเรื้อรังกับโรคซึมเศร้าที่มีกรรมพันธุ์เป็นสาเหตุ   เรามักพบว่าครอบครัวที่มีนักดื่มลูกๆมักดื่มเช่นกัน  เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้ามักมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้เช่นกัน เป็นที่มาของสมมุติฐาน  common etiology ที่ปัญหาทางจิตเวชและการใช้สารเสพติดอาจมีสาเหตุทางสมองเดียวกัน   อีกตัวอย่างหนึ่งที่พบในผู้ป่วยจิตเภทอันมีความบกพร่องการทำงานของสารโดปามีนในสมอง  ผู้ป่วยจิตเภทมีแนวโน้มใช้สารเสพติดที่ออกฤทธิ์ให้สารโดปามีน  เช่น  ยาบ้า    นอกจากสาเหตุทางชีวภาพที่เหมือนกันแล้วผู้ป่วยจิตเวชและผู้ที่มีปัญหาการใช้สารเสพติดอาจมีสาเหตุทางจิตสังคมคล้ายคลึงกัน   เราจะพบผู้ป่วยเร่ร่อนมีความเสี่ยงการติดเหล้าและโรคซึมเศร้า  การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ในช่วงอาการทางจิตสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพก็คือ  การมุ่งเน้นแก้ที่สาเหตุไม่ว่าสาเหตุทางชีวภาพ  หรือทางจิตสังคม(biopsychosocial etiology)  เพื่อเป็นการแก้ทั้งสองโรคในคราวเดียวกันไปเลย

          ผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้สารเสพติดร่วมด้วยไม่ได้มีความต้องการเพียงแค่หายจากอาการทางจิตเวช  หรือเลิกใช้สารเสพติดได้เท่านั้น     ผู้ป่วยทางจิตเวชทุกคนมีความต้องการที่จะเรียนจบ  อยากมีงานทำ  มีฐานะมั่นคง  มีบ้านปลอดภัย  มีเพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงาน  มีญาติมิตรและอยากเป็นส่วนหนึ่งในสังคม   การดูแลผู้ป่วยในระยะอาการทางจิตเวชสงบและการฟื้นฟูสมรรถภาพจึงเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในสังคมด้วยตนเองได้   และเป็นช่วงสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีโรคร่วม
บันทึกการเข้า

Every problem contains the seeds of its own solution.- Stanley Arnold
วีระศักดิ์ รักในหลวงครับ
Website Sponsor
Full Member
****

คะแนน 43
ออฟไลน์

กระทู้: 221



« ตอบ #42 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2008, 09:40:37 AM »

เคยทราบมาว่ามีผู้ปกครองบางรายนำเรื่องที่ลูกตัวเองติดยาแล้วเลิกไม่ได้นี่แหละครับ  ไปปรึกษาตำรวจ   เค้าก็ไม่ได้ดำเนินคดีอะไรประสานกับทางโรงพยาบาลนำเข้าบำบัด ที่ทราบมาเพราะว่าเด็กพวกนี้เคยมาดูงานในหน่วยงานผมแล้วหมอกับตำรวจที่ดูแลมาเขาเล่าให้ฟังน่ะครับ  ทำให้รู้สึกประทับใจตำรวจเหมือนกันที่ไม่ใชหลักนิติศาสตร์เพียงอย่างเดียว เด็กพวกที่มาดูงานก็ ราว 14 - 17 ปีแหละครับ  ผมว่าดีนะ ให้โอกาสกลับตัวกลับใจลูกหลานเราทั้งนั้น  แต่จะแนะนำให้เจ้าของกระทู้ไปปรึกษาตำรวจเกรงว่าผลอาจจะไม่ออกมาอย่างนี้ ซิครับ
บันทึกการเข้า
ใหญ่_ขอนแก่น
Full Member
***

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 316


คุณธรรม นำ ประชาธิปไตย


« ตอบ #43 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2008, 09:52:47 AM »

ว่าจะไม่เขียนครับ เพราะคำตอบชัดแล้ว

แต่ประเด็น พาไปหา "ตำรวจ" กับพาไปหา "หมอ" นี่  ขอโทษครับ ต่างกันสุดๆครับ

กรณีเราจะบำบัดรักษา ต้องพาลูกหลานเราไปหาหมอครับ ซึ่งเฮีย Lex ท่านได้ให้
รายละเอียดสถานที่ไว้แล้ว ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดที่ใกล้บ้านท่านนั่นหละครับ
ตรงจุดที่สุดแล้ว

ส่วนเรื่องตำรวจนั้น เขามีหน้าที่จับกุมครับ กรณีเราได้เบาะแส การค้า ยานะครับ
กรุณาอย่าพาเด็กไปหาตำรวจเลยครับ  เพราะมันไม่แน่นอนตามที่ คุณ rasak ท่านว่าไว้นั่นหละครับ
บางท่านงานยุ่ง อาจจับกุมไว้ก่อน สอบถามทีหลัง คราวนี้เด็กรับเคราะห์ซ้ำซ้อนครับ

สวัสดีครับ
บันทึกการเข้า
ozero++รักในหลวงมากค่ะ++
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1287
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 25366


มารยาท...มีให้รักษา


« ตอบ #44 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2008, 12:19:42 PM »

เรื่องทำนองนี้โอไม่ทราบเลยอ่ะค่ะ แต่สมัยเป็นวัยรุ่น เพื่อนในกลุ่มแทบทุกคนสูบบุหรี่ บางคนในก็มีสูบกัญชา บางคนเลยเถิดไปเล่นอีก็มี แต่โอไม่ยุ่งเลยซักอย่าง ขนาดลองยังไม่เคย แต่เคยลองบุหรี่ โดยที่บ้านให้ลอง...รู้สึกว่าสูบทำไมเหม็นจะตาย คิดว่ามันไม่ใช่ของจำเป็นสำหรับชีวิตเราอ่ะค่ะ อย่างไรก็ตาม ขอเป็นกำลังใจให้หลานคุณ๑๑มม.นะคะ ไหว้
บันทึกการเข้า

เข้ามากด like กันได้นะคะ http://www.facebook.com/OAroi
และ https://www.facebook.com/SiaAke
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.092 วินาที กับ 22 คำสั่ง