นาฟิกาที่พูดถึงนี้ก็คือ " OMEGA SPEEDMASTER 999 "
- ชายชาวญี่ปุ่น คนนี้ชื่อ Matsumoto Reiji (ชื่อจริงๆคือMatsumoto Akira)
เกิดที่ FUKUOKA เมื่อ 25/1/1938 ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ญี่ปุ่นก็จะรู้จักเค้าครับ คนไทยก็คงจะรู้จักเหมือนกันครับ
เพราะเค้าเป็นคนที่เขียนการ์ตูนเรื่องดังๆขึ้นมาหลายต่อหลายเรื่องคับ อย่าเช่น เรื่อง Captain Harlock, Space Battleship
Yamato, Galaxy Express 999
- มาดูรูปคุณ Matsumoto ขวัญใจคอการ์ตูนกัน
- เพราะว่า Matsumoto เป็นคนที่สนใจเกี่ยวกับอวกาศ เกี่ยวกับกาแล็กซี่ แถมผลงานการ์ตูนของเค้าก็ออกมาเกี่ยวกับแนวนี้ซะเยอะมาก และ คุณ.Matsumoto นี่ก็ชอบนาฟิกาโอเมก้าแล้วก็สะสมโอเมก้าเหมือนกัน
- จนมีวันหนึ่งทางประธานสำนักงานใหญ่ของโอเมก้าญี่ปุ่นได้ติดต่อเค้ามาโดยตรงว่า อยากให้ออกแบบฝาหลังของโอเมก้าให้หน่อย
โดยใช้การ์ตูนเป็นสื่อในการแสดงความหมายของนาฟิกาที่สามารถใช้ในอวกาศได้ ซึ่งทาง คุณ.Matsumoto ก็ยินดีคับ เลยเป็นที่มาของเจ้าโอเมก้าตัวแรกที่ออกแบบโดยนักเขียนการตูนชาวญี่ปุ่น
นาฟิกาที่พูดถึงนี้ก็คือ " OMEGA SPEEDMASTER 999 "
- ด้านหน้า, เครื่อง หรือขนาดตัวเรือนก็จะเหมือน Omega Speedmaster ทั่วๆไปที่ใช้ เครื่อง Cal.1861กับขนาด 42 mm. แต่จะต่างกันที่ ด้านหลังคับแทนที่จะเขียนว่า FIRST WATCH WORN ON THE MOON กลับ screen เป็นหน้าตัวเอกสุดสวยของหนังการตูนชื่อดังแทน
- ทำออกมาเป็น Japan Limited แค่ 1999 เรือนครับ แล้วก็วางขายเฉพาะที่ญี่ปุ่นในปี 2000
เอาวิธีการไขลานนาฬิกา ที่ถูกต้องมาฝากครับ
การไขลานนาฬิกา ของ Mechanical manual winding หรือ Manually wound ที่น่าจะ ถูกต้อง นั้นคือ
1 ไม่ไขลานนาฬิกา ขณะที่นาฬิกาอยู่ บนข้อมือ เนื่องจากจะมีแรงดันกระทำที่แกนไข จะทำให้มีการสึกหรอของแกน เม็ดมะยม
และกลไกภายในได้
2 ใช้นิ้วสองนิ้ว ออกแรงหมุนเม็ดมะยม (ไม่กดหรือดันไปด้านใดด้านนึง) อาจเป็น นิ้วโป้ง กับ นิ้วชี้ หรือ นิ้วกลาง ก็แล้วแต่ถนัด
แต่ไม่ใช่ ใช้นิ้วเดียว ไถเม็ดมะยม โดยออกแรงดันจากด้านเดียว (ด้วยเหตุผลเดียวกับข้อ 1)
3 ถ้า นาฬิกา เรือนนั้นมีระบบบอกพลังงานสำรอง ให้ใช้สเกลบอกพลังงานเป็นตัวชี้นำ ปริมาณการไขลาน
4 นาฬิกา ที่ไม่มีระบบบอกพลังงานสำรอง ให้ค่อยๆ หมุนเม็ดมะยม ไปเรื่องๆ จนรู้สึกตึงมือ (ลานเต็ม)
โดยออกแรงจับที่เม็ดมะยม แต่เพียงเบาๆ กะว่า เมื่อไขลานสุด จะทำให้นิ้วมือ หลุดออกจาก เม็ดมะยมก่อนที่ จะออกแรงหมุนต่อจนลานขาด เนื่องจาก นากา ไขลาน เกือบทั้งหมด จะไม่มีระบบป้องกัน การขึ้นลานเกิน ยกเว้น บางเรือน ที่มีการสำรองพลังงานสูงๆ เช่น JLC master minute repeater ที่จะมี สปริงป้องกัน การขึ้นลานเกิน คล้ายกับใน นาฬิกาออโต
5 เมื่อไขลาน เสร็จแล้วให้หมุนเม็ดมะยม ย้อนกลับ อย่างน้อยครึ่งรอบ เพื่อให้กระปุกลาน เป็นอิสระจากกลไกการไขลาน และให้สปริงลาน ทำงาน ได้เต็มประสิทธิภาพ
6 เมื่อใช้งาน ควรไขลานนาฬิกาทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกัน (หรือ ทุก 2-3 วัน แล้ว แต่ว่านาฬิกา ท่านสำรองพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน) เพื่อให้ พลังงานจากลานคงที่ ส่งผลให้การเดินของเข็ม สม่ำเสมอ และบอกเวลาได้แม่นยำ