เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 27, 2024, 06:10:53 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 14 15 16 [17] 18 19 20 21
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ศัพท์...กล้อง...ถ่าย  (อ่าน 131501 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #240 เมื่อ: มกราคม 23, 2009, 06:58:44 PM »




ภาพ หุ่นขี้ผึ้ง หลวงปู่แหวน ที่วัดแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

ถ่ายด้วย กล้อง Canon 40D เลนส์ 17-85 IS F 4.5 ซูมที่ 50 มม. ตั้ง P เปิดแฟรช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 23, 2009, 10:54:19 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #241 เมื่อ: มกราคม 23, 2009, 08:36:05 PM »

รูรับแสง นอกจากจะมีผลต่อ ระยะเวลา ในการเปิดชัตเตอร์ แล้ว ยังมีผลต่อ ระยะชัดลึก หรือ depth of field อีกด้วย








ช่วงชัดลึก มีส่วนประกอบด้วย 3 ปัจจัย ครับ คือ

1. ระยะห่างระหว่าง วัตถุ กับ กล้อง

2. ทางยาว โฟกัส ของ เลนส์

3. รูรับแสง

1. ระยะ ห่าง ระหว่าง วัตถุ กับ กล้อง ยิ่ง วัตถุ ใกล้ กับ กล้อง มากเท่าไหร่ ในเลนส์ และ รูรับแสง เท่ากัน จะทำให้ DOF ของ ภาพ ต่ำลง อย่างเช่น เลนส์ 50 มม. หากวัตถุ หากจากตัวกล้อง 5 เมตร เปิดรูรับแสงที่ F 5.6 จะได้ DOF มีช่วงลึกของ ความชัด อยู่ที่ประมาณ 4 เมตร หาก ถ่ายภาพ วัตถุเดียวกัน แสงตั้งอย่างเดียวกัน แต่ เลื่อนระยะ มาที่ 50 เซ็นติเมตร ช่วงชัดลึก จะอยู่ที่ประมาณ 4-5 เซ็นติเมตร

2. ทางยาว โฟกัส ของ เลนส์ เลนส์ ที่มีทางยาว โฟกัส สูง ๆ ก็เช่นกัน เลนส์ ที่มีทางยาวโฟกัส สูง ๆ จะมี DOF ต่ำ ยิ่ง ทางยาวโฟกัส สูง เท่าไหร่ DOF ก็ยิงสั้นเท่านั้น

3. รูรับแสง จะมีผลต่อ ช่วงชัดลึก โดย รูรับแสง แคบ หรือ ตัวเลข F stop สูง จะได้ช่วงชัดลึก ที่ กว้าง ส่วน รูรับแสง กว้าง หรือ เลข F number ต่ำ จะได้ช่วงชัดลึก ที่ แคบ

หวังว่า คงไม่งง กับการเขียนของผม   โดนชก
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #242 เมื่อ: มกราคม 24, 2009, 09:03:37 PM »

ศัพท์ กล้อง วันนี้ เสนอ

   ชัตเตอร์ สปีด (Shutter speed)    

ชัตเตอร์สปีด คือ ระยะ เวลาในการเปิดม่าน ชัตเตอร์ หรือ เวลาที่ฉายแสง ( Exposure time ) นั่นเอง แต่ ตัวเลขที่ปรากฎ บนตัวกล้อง จะเป็นตัวเลข เศษส่วนของ วินาที โดยตัวเลข ยิ่งมาก แสดงว่า ระยะเวลาในการเปิดม่านชัตเตอร์ ยิ่งน้อย

เช่น 1 = 1 วินาที, 2 = 1/2 วินาที, .....30 = 1/32วินาที, 60 = 1/64 วินาที, 500 = 1/512 วินาที เป็นต้น แต่ตัวเลขที่แสดงบนตัวกล้อง จะปัดเศษให้เป็น ตัวเลข เต็ม ๆ เช่น 30, 60, 125, 250, 500 เป็นต้น

 การตั้งความเร็วชัตเตอร์ จะต้องตั้งให้พอดีกับตัวเลขที่กำหนดความเร็วชัตเตอร์ การเพิ่มหรือลดความเร็วชัตเตอร์ของตัวเลขที่อยู่ใกล้กันจะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเร็วของชัตเตอร์เป็น 2 เท่าของกันและกัน เช่นจากความเร็วชัตเตอร์ 1/30 เป็น 1/15 ก็จะช้าลงเป็น 2 เท่าตัว และปริมาณแสงที่ผ่านเลนส์ไปตกบนฟิล์มก็จะมีปรืมาณเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือจากความเร็วชัตเตอร์   1/30 เป็น 1/60 ก็จะเร็วขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ปริมาณแสงจะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียวของความเร็วชัตเตอร์เดิมคือ 1/30





ในกล้อง DSLR จะมี กระจก สะท้อนภาพ อยู่หน้า เซ็นเซอร์ โดยเมื่อ ผู้ถ่าย กดปุ่ม ชัตเตอร์ กระจกสะท้อนภาพ จะกระดก พับขึ้นมา เปิดทางให้ แสงผ่านไปยัง ชัตเตอร์ แล้วตัว ชัตเตอร์ จะกำหนดเวลาในการเปิดแสงให้เข้าไปกระทบ เซ็นเซอร์ สกรีน ตามแต่ ผู้ถ่าย กำหนด หรือ กล้อง จะกำหนดตามแสงที่วัดได้ในขณะ นั้น ๆ






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2009, 09:09:16 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
Udomkd
รักษ์ธรรมชาติ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3700
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41046



« ตอบ #243 เมื่อ: มกราคม 24, 2009, 09:36:29 PM »

 ไหว้
บันทึกการเข้า

รักมิตร รักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีด้ามขวาน
   รักมิตรรักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีคมขวาน
   รักมิตร รักเพื่อน
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #244 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2009, 01:14:33 PM »

ศัพท์...กล้อง...ถ่าย  วันนี้เสนอคำว่า

EV ย่อมาจาก Exposure Value แปลว่า ค่าของแสงหรือค่าความสว่างที่เปิดให้แสงเข้ามาสู่สื่อรับภาพไม่ว่าจะเป็น film หรือ sensor รับภาพในกล้อง digital ได้มาจากการคำนวนความเร็วชัตเตอร์และช่องรับแสงในระบบ Log ตามสูตร


EV = 3.322 log ( ตัวเลขช่องรับแสงยกกำลัง 2 / ตัวเลขความเร็วชัตเตอร์)



ตัวเลขช่องรับแสงคือ ค่า F-Number เช่น f/11 ใช้ค่า 11 ส่วนความเร็วชัตเตอร์ เช่น 1/125 วินาที ใช้ 125 แต่ถ้าเป็น 4 วินาที ใช้ ¼ หรือ 0.25 เป็นต้น

ค่า EV จึงเป็นผลรวมการจับคู่ระหว่างความเร็วชัตเตอร์และขนาดช่องรับแสง 1EV มีค่าเท่ากับ 1 stop สามารถแปรค่าเป็นความสว่างของแสงในหน่วยต่าง ๆ ได้ดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2009, 03:32:46 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #245 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2009, 01:25:04 PM »

ค่า EV จะบอกมาคู่กับค่า ISO เสมอ ถึงจะแปลงเป็นค่ารูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์ได้ ในการวัดแสง หากเครื่องวัดแสงบอกเป็น EV ได้จะมีประโยชน์ในแง่ที่ว่า การใช้ระบบโซนในการวัดแสง หรือ การหัดเดาค่าแสงคุณไม่จำเป็นต้องจำค่ารูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งต้องจำถึง 2 ค่า หากจำเป็น EV จะจำค่าเดียว



ประโยชน์ของค่า EV ในปัจจุบันอาจจะไม่มีมากนักในการใช้งานกับกล้องขนาด 35มม. เพราะการวัดแสงจะบอกออกมาในรูปแบบของความเร็วชัตเตอร์หรือขนาดช่องรับแสง และผู้ใช้คุ้นเคยกับการใช้งานในระบบ Stop มากกว่า แต่ EV ยังมีการใช้งานในกล้องบางตัว เช่น Hasselbald รุ่นเก่า ๆ หรือเลนส์สำหรับกล้องวิว เราสามารถวัดแสงเป็น EV แล้วตั้งค่า EV ที่ต้องการ ล็อคเอาไว้ จากนั้นเราสามารถปรับช่องรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ไปที่ค่าใดก็ได้ โดยค่าที่เหลือจะปรับตาม เช่น เราปรับช่องรับแสง ความเร็วชัตเตอร์จะปรับตามเพื่อให้ EV คงเดิม สะดวกในการใช้งานมาก
สำหรับการใช้งานของมือสมัครเล่นกับกล้องขนาด 35มม. ค่า EVมีประโยชน์ในการดูความสามารถในการวัดแสงและปรับความชัดของกล้อง



บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #246 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 02:46:33 PM »

 ศัพท์...กล้อง วันนี้ เสนอ การ   กินแสง   ของ เลนส์

คนที่เล่นกล้อง SLR หรือ DSLR คงเห็น เลนส์ แบบต่าง ๆ ที่มีขนาด ต่าง ๆ กัน แต่ เคยสงสัยหรือไม่ครับว่า ทำไม เลนส์ ที่มีทางยาวโฟกัสเท่ากัน แต่ตัวใหญ่กว่า หน้าเลนส์ ก็ใหญ่กว่า แต่ ตัวเลขที่แสดงค่ารูรับแสง อาจเท่า หรือ เล็กกว่าเลนส์ที่ตัวเล็กกว่า โดยเฉพาะ เลนส์ ซูม  เยาะเย้ย เยาะเย้ย เยาะเย้ย

อย่างเลนส์ Tamron 17-50 F2.8 ที่มีขนาดไม่ใหญ่ นัก แต่กลับมีหน้ากล้องกว้างถึง 2.8



แต่ เลนส์ 17-40 F4L IS USM ที่มีขนาด ใหญ่กว่าเล็กน้อย แถมช่วงซูมก็สั้นกว่า  แต่กลับมีรูรับแสงที่แคบกว่า คือ F4 (เลนส์ 18-55 F3.8-5.6  เอามาเทียบไม่ได้ เพราะ รูรับแสง ไม่เท่ากันระหว่าซูมเข้าออก)



แต่ถ้าต้องการให้เลนส์ แคนนอน มีขนาดรูรับแสงขนาด 2.8 เท่ากันเลนส์ แทมรอน ก็ต้องใช้รุ่น EF-S 17-55 F2.8 IS USM



ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหนักกว่า แทมรอน 17-50 มาก (ขนาดเท่ากับ EFS 17-85  F4-5.6 IS USM เลยทีเดียว)



ดังนั้น ขนาดของเลนส์ ไม่จำเป็นเสมอไปที่จะบอกขนาดรูรับแสงได้ เพราะ ยังมี องค์ประกอบอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ปริมาณแสงผ่าน เลนส์ เข้าไปยัง เซ็นเซอร์ (รวมทั้ง CMOS และ CCD) โดยเฉพาะ การออกแบบ เลนส์ นั้น ไห้มี ชิ้นเลนส์ น้อยชิ้นที่สุด กับ ออกแบบ โครงสร้างกระบอกเลนส์ ให้กระชับที่สุด โดย ให้มีขนาด รูรับแสงกว้างที่สุด เพราะ เลนส์ หลาย ๆ รุ่น จะมี มอเตอร์ ปรับโฟกัส ฝังอยู่ในกระบอกเลนส์ ด้วย



ในเลนส์ ซูม ที่มีช่วงซูม สูง ๆ จะมีอีกสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับปริมาณแสงที่ผ่าน เลนส์ คือ การ กินแสง ของ เลนส์ นั้น ๆ



เลนส์ แต่ละตัว กินแสง ไม่เท่ากัน เวลาถ่ายภาพ แล้วใช้เลนส์ต่างขนาดกัน การปรับตั้ง จะต่างกันด้วย
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #247 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 04:41:36 PM »

การถ่ายภาพด้วย กล้อง ดิจิตอล จะมีการซูม หรือ การขยายส่วนกลางภาพ 2 วิธี (ส่วนกล้อง ฟิล์ม ซูมได้วิธีเดียว)

1. ออพติคอลซูม (Optical Zoom) คือการซูมโดยการเคลื่อนกลุ่มชิ้นเลนส์ในตัวกล้อง เพื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัส (หรือขนาดของวัตถุในภาพ) โดยที่ตัวผู้ถ่ายภาพอยู่กับที่ หรือ การปรับซูม ที่ เลนส์ ให้ซูมเข้าหรือ ออก

2. ดิจิตอลซูม (Digital Zoom) นั้น จะเป็นการตัดส่วนของภาพที่ได้จากเซลรับภาพของกล้อง แล้วมาคำนวนเพิ่มพิกเซลเอาหรือที่เรียกกันง่ายๆว่า Interpolate ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ในอดีต แต่ ในกล้อง Compact หรือ กล้อง DSLR - like บางรุ่นในสมัยนี้ยังคงมี ฟังชั่น นี้อยู่ แต่ส่วนใหญ่ ตัด ฟังชั่นนี้ออกไปแล้ว

บันทึกการเข้า
Udomkd
รักษ์ธรรมชาติ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3700
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41046



« ตอบ #248 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2009, 07:46:44 PM »

เกียร์ 1 ไปเลยพี่เจน


ปล.จะได้ตามทัน อิๆ

อยากบอก อยากพูดอะไร ก็ใส่โลด หากจะยกตัวอย่างได้ ชัดๆ ช่วยยกด้วยน๊ะครับพี่

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

รักมิตร รักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีด้ามขวาน
   รักมิตรรักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีคมขวาน
   รักมิตร รักเพื่อน
Udomkd
รักษ์ธรรมชาติ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3700
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41046



« ตอบ #249 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2009, 11:38:23 AM »

พี่ๆครับ ไม่ทราบว่าที่ผ่านมา มันมีแล้วยังคำถามนี้ บางทีผมอาจมึน หรือตกหล่นไปบ้าง ขออภัย น๊ะครับ

ผมยังมึนๆ อยู่ระหว่าง

รูรับแสงของเลนส์ กับของตัวกล้อง มันมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอยู่อย่างไรบ้างครับ แล้วมันมีความสัมพันธ์ ในการใช้งานที่เกี่ยวข้องกันแบบใหนครับ ?
บันทึกการเข้า

รักมิตร รักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีด้ามขวาน
   รักมิตรรักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีคมขวาน
   รักมิตร รักเพื่อน
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #250 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2009, 04:22:39 PM »

พี่ๆครับ ไม่ทราบว่าที่ผ่านมา มันมีแล้วยังคำถามนี้ บางทีผมอาจมึน หรือตกหล่นไปบ้าง ขออภัย น๊ะครับ

ผมยังมึนๆ อยู่ระหว่าง

รูรับแสงของเลนส์ กับของตัวกล้อง มันมีความเหมือน หรือแตกต่างกันอยู่อย่างไรบ้างครับ แล้วมันมีความสัมพันธ์ ในการใช้งานที่เกี่ยวข้องกันแบบใหนครับ ?

รูรับแสง Lens Aperture - รูรับแสงของเลนส์

ส่วนประกอบที่สำคัญของเลนส์ที่ควรทำความเข้าใจคือ รูรับแสงของเลนส์ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปสู่ตัวรับภาพหรือฟิล์ม   ขนาดของรูรับแสงมีผลต่อภาพที่บันทึกได้  รวมไปถึงมีผลกับสภาพแสงที่ใช้ในการบันทึกภาพด้วย 


ขนาดของรูรับแสงจะแสดงเป็นตัวเลขไว้ที่ขอบเลนส์ด้านหน้าที่เดียวกับตัวเลขที่แสดงค่าทางยาวโฟกัสของเลนส์   เช่น 35mm. 1:2.8    หมายถึงว่าเลนส์ตัวนี้มีขนาดของรูรับแสงกว้างสุดเท่ากับ f/2.8  เลนส์แต่ละตัวจะมีรูรับแสงกว้างสุดไม่เท่ากัน   เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างจะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงเริ่มต้นแคบกว่า    ประโยชน์หลักๆ ของขนาดรูรับแสงที่กว้างคือ  การใช้งานในสภาพแสงน้อยๆ ที่ดีกว่า เพิ่มโอกาสในการบันทึกภาพให้มากขึ้น ปรับโฟกัสได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญทำให้ฉากหลังเบลอได้ง่ายขึ้นด้วย   

         รูรับแสงของเลนส์โดยทั่วๆ ไปหากเป็นเลนส์ฟิกซ์ในตัวกล้องจะมีขอบเขตที่จำกัด  โดยกล้องจะระบุอยู่ในสเปค หรือในคู่มือของกล้อง  ในขณะที่เลนส์ที่ใช้ในกล้อง SLR จะมีค่าเริ่มต้นตั้งแต่ f/1.4 - f/4.5  และจะไล่ลำดับกันออกไปจนถึง f/22   โดยปกติแล้วในกล้องคอมแพคจะเลือกขนาดรูรับแสงให้อัตโนมัติ  สำหรับกล้องที่ให้ผู้ใช้เลือกปรับขนาดของรูรับแสงได้จะมีฟังชั่นการบันทึกภาพให้เลือกใช้คือระบบบันทึกภาพแบบ Aperture Priority

          ดังเห็นได้จากภาพว่าตัวเลขยิ่งสูง ขนาดของรูรับแสงจะยิ่งแคบลง  ซึ่งหมายความว่าปริมาณของแสงที่จะผ่านเลนส์เข้าไปยิ่งน้อยมากขึ้น   การเลือกใช้งานจึงขึ้นอยู่กับสภาพแสงและลักษณะของภาพที่ต้องการบันทึกเป็นหลักใหญ่   เนื่องจากขนาดของรูรับแสงมีผลต่อลักษณะของภาพที่บันทึกได้   




รูรับแสง ที่เลนส์ มีครับ แต่ รูรับแสงที่ กล้อง ไม่มีครับ (หรือ ผม ไม่เคยได้ยิน ก็ไม่รู้)
บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #251 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2009, 04:46:32 PM »

ศัพท์...กล้อง...วันนี้เสนอคำว่า   ASA/ISO/DIN    

เมื่อวาน ผม อ่านกระทู้ ที่ อาจารย์ ผณิศวร ตอบเรื่อง กล้อง AE-1 มีปัญหาเรื่อง ระบบตั้งค่า ASA ทำให้นึกขึ้นมาได้ว่า คำ ๆ นี้ เลิกใช้ไปนานมากแล้ว รวมถึงคำว่า DIN ด้วย



       ฟิล์ม (Film) เป็นวัสดุใสฉาบด้วยสารเคมีประเภทเกลือเงิน มีคุณสมบัติไวต่อแสง ซึ่งเรียกว่า "เยื่อไวแสง" เมื่อให้ฟิล์ม ถูกแสงจะทำปฏิกิริยาเกิดเงาสีดำที่มองไม่เห็นเรียกว่า "ภาพแฝง" ต้องนำฟิล์มที่ถูกแสงแล้วนี้ไปล้างน้ำยาเคมีตาม กระบวนการ จะได้ภาพปรากฏเห็นเป็นสีดำ ส่วนของเยื่อไวแสงที่ไม่ถูกแสง จะถูกละลายในน้ำยาเคมี เรียกฟิล์มที่ล้าง แล้วนี้ว่า "เนกาตีฟ"

ส่วนความไวแสงของ ฟิล์ม จะถูกกำหนดโดยแหล่งกำเนิดของ ฟิล์มเอง

1. ASA (American Standard Association) เป็นระบบอเมริกาที่ใช้แพร่หลายทั่วไป

2. ISO (International Standard Organization) เป็นระบบสากลใหม่ ซึ่งมีค่าตัวเลขเท่ากับระบบ ASA และเทียบเท่าตัวเลขระบบ DIN เช่น ISO 200/24 หมายความว่า มีค่าความไวแสง ASA 200 และ DIN 24 เป็นต้น

3. DIN (Deutsche Industrie Norm) เป็นระบบเยอรมันส่วนใหญ่ใช้ในยุโรปซึ่งมีอัตราตัวเลขเพิ่มช่วงละ 3 เช่น 13 16 18 21 24 27 30 33 เป็นต้น




โดยปัจจุบันเราจะไม่ค่อยได้เห็นระบบ DIN กับ ASA สักเท่าไหร่ เพราะ กล้อง ดิจิตอล จะใช้เพียงค่า ISO

ความไวแสงของฟิล์มแบบออกเป็น 4 ระดับ

1. ฟิล์มความไวแสงต่ำ (Low Speed Film) เช่น ฟิล์ม 25 ASA - 50 ASA เหมาะถ่ายภาพทิวทัศน์ /ชายทะเล/หิมะขาวโพลนในแดดจ้า เหมาะกับภาพต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้ามาก ๆ หรือเพื่อให้ได้ภาพที่มีการ เคลื่อนไหวลักษณะพร่ามัว โดยแสงไม่มากเกินไป

2. ฟิล์มไวแสงปานกลาง (Medium Speed Film) ไวแสงปานกลาง คือระหว่าง 64 ASA-160 ASA ใช้ถ่ายภาพแสงสว่างธรรมดา (มีขายตามท้องตลาด ทั่วไป) และถ่ายภาพวัตถุที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนไหวช้า ๆ ใช้ถ่ายภาพ ทั่วไป (รู้จักกันทั่วไปคือ 100 ASA)

3. ฟิล์มความไวแสงสูง (High or Fast Speed Film) เป็นฟิล์มถ่ายภาพแสงน้อย เหมาะถ่ายภาพ ในอาคารและนอกอาคาร สามารถเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ๆ ถ่ายภาพเคลื่อนไหวให้นิ่งสนิทได้ เช่น ภาพกีฬา จะอยู่ระหว่าง 160 ASA-400 ASA (ตามท้องตลาดจะมี 200 ASA) นอกจากนี้ ยังสามารถหรี่รูรับแสงให้แคบ ๆ เพื่อช่วยให้ภาพถ่ายมีช่วงระยะความคมชัดลึกมากขึ้น (depth of field)

4. ฟิล์มความไวแสงสูงพิเศษ (Ultra Fast Speed Film) เหมาะกับภาพที่แสงน้อย ๆ ถ่ายภาพในเวลา กลางคืนไม่ใช้แฟลช ต้องการแสดงรายละเอียดของวัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว ๆ ให้หยุดนิ่ง โดยการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงมาก ๆ หรือถ่ายภาพแสงเทียนในงานวันเกิด ฟิล์มมีความไวแสงระหว่าง 1000 ASA ถึง 2000 ASA หรือมากกว่าเป็นต้น
        บนกล่องฟิล์ม จะพิมพ์ตัวเลขกำหนดค่าความไวแสงไว้หลายระบบควบคู่กัน เพื่อให้เลือกใช้ระบบใดระบบหนึ่ง เช่น ฟิล์ม ISO 100/21 คือ ASA 100 DIN 21





เมื่อก่อน ถ้าถ่ายภาพทั่วไป ผมจะใช้ ฟิล์ม โกดัก เพราะ ให้แสงสีแดง สวย ส่วนภาพ ทิวทัศน์ จะใช้ ฟิล์ม ฟูจิ เพราะให้แสงสี เขียว สวยกว่า

บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #252 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2009, 04:09:49 PM »

ศัพท์...กล้อง วันนี้เสนอคำว่า แฟลร์ โกสท์ ฮัซ และ แกลร์ (Flare, Ghost, Haze, Glare)

เวลาถ่ายภาพย้อนแสง เรามักจะเจอกับสิ่งที่ปรากฏบนภาพ โดยที่เรามองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่พอมองผ่านกล้อง ภาพที่เห็น กลับ ไม่ชัด หรือ มีภาพผิดไปจากที่ตาเปล่า มอง โดยอาจมี เส้นแสง ดวงแสง หรือ ภาพเบลอ บางส่วนของภาพ


flare  คือการเกิดแสงในภาพจากแหล่งกำเนิดแสงที่แรงพอสมควร(มักเป็นดวงอาทิตย์) โดยการสะท้อนแสงในชิ้นเลนส์ ภายในกล้อง
flareจะไม่เป็นขอบเขตรูปร่าง

ghostจะเป็นรูปร่างเป็นดวงๆหรือเหลี่ยมๆ

Haze เป็นความฟุ้งของแสง เหมือนกับที่เราเห็นภาพหมอกมัวๆฟุ้งๆ

glare เป็นรัศมีที่ออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง อาจเป็นแฉกหรือฟุ้งก็ได้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2009, 10:31:41 PM โดย 686 » บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #253 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2009, 06:23:38 PM »

Flare  





แฟลร์ Flare เป็นความบกพร่องของ เลนส์ เมื่อถ่ายย้อนแสงจะเกิดการสะท้อนแสงในระหว่างชิ้นเลนส์ ทำให้เกิดจุดสว่างของแสง เป้นสี บนภาพ ในเลนส์ คุณภาพสูงที่มีการเคลือบผิวเลนส์อย่างดี ปริมาณ แฟลร์ จะน้อยลง แฟลร์ สามารถควบคุมได้บ้างโดยการใช้ฮูดบังแสง หรือใช้ รูรับแสง ที่แคบลง

บันทึกการเข้า
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #254 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2009, 10:39:13 PM »

Ghost   หรือภาพหลอน นั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในภาพ มักจะเกิดจากแสงสะท้อนในเลนส์เหมือนกับแฟลร์
แต่ต่างกันที่ว่า สิ่งแปลกปลอมที่เกิดจะเป็นภาพ เช่นในภาพนี้ เป็นแสงสะท้อนของรูรับแสง (รูปหกเหลี่ยมที่เปิด) ครับ
และจะเห็นเป็นแนวเส้นตรง ดวงแสงจะไล่จากสว่างและเล็กที่สุดไปมืดและขนาดใหญ่สุดครับ





ภาพนี้ มาทั้ง แฟลร์ และ Ghost
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 16 [17] 18 19 20 21
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 23 คำสั่ง