เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 13, 2024, 03:22:02 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เคยได้ยินว่า ปืนอลูมิเนียม หรือ โพลิเมอร์(พลาสติค) มีอายุใช้งานแค่ 10 กว่าปี ?  (อ่าน 11342 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 8 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nick357 "รักในหลวง"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 197
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1843


no!!! conflict.let'sit and talk!!!!


« ตอบ #45 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:38:38 AM »

if you don't know just  "shut up" like me  Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
nuy_rc 3D Extreme
คุดไห่เลิ้ก..ก๊นไห่เถิง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1325



« ตอบ #46 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:43:01 AM »

ขอยกอีกตัวอย่างที่ไม่ใช่ปืนครับ  อาร์นจักยาน BMX ของผมประกอบไว้ใช้เมื่อตอนผมอายุ 14  ผ่านมาแล้ว 22 ปี วัสดุเป็นพลาสติกโพลิเมอร์ราคาปัจจุบันไม่น่าเกิน 1,000 บาท  ตากแดดตากฝนมาไม่รู้เท่าไหร่ก่อนจะบูรณะให้หลานขี่เล่น  ตัวอาร์นทุกวันนี้ยังเหมือนเดิมไม่เป็นขุยมีแต่รอยขีดข่วนเอาฆ้อนฟาดเข้าไปที่ตัวอาร์นพลาสติกมีแรงดีดตัวกลับรู้สึกได้+ไม่แตก  ผมจึงมั่นใจที่จะใช้ปืนหลาสติกครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2008, 04:31:46 PM โดย nuy_rc 3D Extreme » บันทึกการเข้า
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3452


« ตอบ #47 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 01:15:37 PM »

ขอยกอีกตัวอย่างที่ไม่ใช่ปืนครับ  อาร์นจักยาน BMX ของผมประกอบไว้ใช้เมื่อตอนผมอายุ 14  ผ่านมาแล้ว 22 ปี วัสดุเป็นพลาสติกโพลิเมอร์ราคาปัจจุบันไม่น่าเกิน 1,000 บาท  ตากแดดตากฝนมาไม่รู้เท่าไหร่ก่อนจะบูรณะให้หลานขี่เล่น  ตัวอาร์นทุกวันนี้ยังเหมือนเดิมไม่เป็นขุยมีแต่รอยขีดข่วนเอาฆ้อนฟาดเข้าไปตัวอาร์นพลาสติกมีแรงดีดตัวกลับรู้สึกได้+ไม่แตก  ผมจึงมั่นใจที่จะใช้ปืนหลาสติกครับ
เห็นด้วย ผมก็เล่น บีเอ็มเอ็กซ์มาก่อนเหมือนกัน ... ชอบอาร์นของชิมาโน่ งอนๆ รับก้น มันไม่เปียกน้ำเหมือนเบาะแบบฟองน้ำ แต่เจ็บตูดนิดหน่อย
เรื่องอาร์นจักรยานนี้ ถือเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนเลยครับ....ท่านเจ้าของกระทู้จะได้มั่นใจเสียที
บันทึกการเข้า
nuy_rc 3D Extreme
คุดไห่เลิ้ก..ก๊นไห่เถิง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1325



« ตอบ #48 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 01:21:45 PM »

ขอยกอีกตัวอย่างที่ไม่ใช่ปืนครับ  อาร์นจักยาน BMX ของผมประกอบไว้ใช้เมื่อตอนผมอายุ 14  ผ่านมาแล้ว 22 ปี วัสดุเป็นพลาสติกโพลิเมอร์ราคาปัจจุบันไม่น่าเกิน 1,000 บาท  ตากแดดตากฝนมาไม่รู้เท่าไหร่ก่อนจะบูรณะให้หลานขี่เล่น  ตัวอาร์นทุกวันนี้ยังเหมือนเดิมไม่เป็นขุยมีแต่รอยขีดข่วนเอาฆ้อนฟาดเข้าไปตัวอาร์นพลาสติกมีแรงดีดตัวกลับรู้สึกได้+ไม่แตก  ผมจึงมั่นใจที่จะใช้ปืนหลาสติกครับ
เห็นด้วย ผมก็เล่น บีเอ็มเอ็กซ์มาก่อนเหมือนกัน ... ชอบอาร์นของชิมาโน่ งอนๆ รับก้น มันไม่เปียกน้ำเหมือนเบาะแบบฟองน้ำ แต่เจ็บตูดนิดหน่อย
เรื่องอาร์นจักรยานนี้ ถือเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนเลยครับ....ท่านเจ้าของกระทู้จะได้มั่นใจเสียที

  เพิ่งทราบว่าพี่เต๋า ก็คอ BMX เหมือนกัน  นึกถึงวันวานแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง(สาว ๆ สมัยนี้น่าตาน่ารักเยอะ อิ..อิ..)
บันทึกการเข้า
tao bangkhaen
Hero Member
*****

คะแนน 354
ออฟไลน์

กระทู้: 3452


« ตอบ #49 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 01:32:14 PM »

ขอยกอีกตัวอย่างที่ไม่ใช่ปืนครับ  อาร์นจักยาน BMX ของผมประกอบไว้ใช้เมื่อตอนผมอายุ 14  ผ่านมาแล้ว 22 ปี วัสดุเป็นพลาสติกโพลิเมอร์ราคาปัจจุบันไม่น่าเกิน 1,000 บาท  ตากแดดตากฝนมาไม่รู้เท่าไหร่ก่อนจะบูรณะให้หลานขี่เล่น  ตัวอาร์นทุกวันนี้ยังเหมือนเดิมไม่เป็นขุยมีแต่รอยขีดข่วนเอาฆ้อนฟาดเข้าไปตัวอาร์นพลาสติกมีแรงดีดตัวกลับรู้สึกได้+ไม่แตก  ผมจึงมั่นใจที่จะใช้ปืนหลาสติกครับ
เห็นด้วย ผมก็เล่น บีเอ็มเอ็กซ์มาก่อนเหมือนกัน ... ชอบอาร์นของชิมาโน่ งอนๆ รับก้น มันไม่เปียกน้ำเหมือนเบาะแบบฟองน้ำ แต่เจ็บตูดนิดหน่อย
เรื่องอาร์นจักรยานนี้ ถือเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่เห็นได้ชัดเจนเลยครับ....ท่านเจ้าของกระทู้จะได้มั่นใจเสียที

  เพิ่งทราบว่าพี่เต๋า ก็คอ BMX เหมือนกัน  นึกถึงวันวานแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง(สาว ๆ สมัยนี้น่าตาน่ารักเยอะ อิ..อิ..)
ก็มีพื้นฐานจากการเก็บเงินซื้ออุปกรณ์ทีละชิ้น ตั้งแต่ ตัวถัง วงล้อ ยาง อาร์น แฮนด์
ได้มาเดือนละ ชิ้น สองชิ้น เอามาประกอบเป็น ตัวรถ
ก็เลยเอาพื้นฐานการหัดประกอบรถ มาประกอบปืนเนี่ยะแหละครับ ยิ่ง เอ็ม 1911 ยิ่งเหมือนใหญ่เลย หามาทีละอย่าง ก็ประกอบเป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้
บันทึกการเข้า
Daimyo
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 924
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9042



« ตอบ #50 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 01:43:52 PM »

if you don't know just  "shut up" like me  Grin Grin Grin


 คิก คิก คิก คิก คิก คิก
บันทึกการเข้า

ดังสายลมที่พัดผ่านลานป่า..พาใบไม้พลัดถิ่น..ดั่งสายน้ำที่ไหลรินพัดพา..นำดวงใจฉันมาใกล้เธอ..
"ความหวังดีที่เธอให้สังคม ฉันชื่นชมเธอเสมอ"
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #51 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 02:34:54 PM »

พลาสติกนั้นมีสารเติมแต่งเข้าไปเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการเยอะแยะ..เช่น DOP
จะทนไม่ทนก็แล้วแต่สารพวกนี้ส่วนหนึ่ง...บางชนิดไม่ต้องถึง 4-5 ร้อยปีก็เริ่มเสื่อมเช่นตะกร้า ราว เก้าอี้ พลาสติก เมื่อโดนแดดเลียสีเรื่มซีด เนื้อพลาสติกเริ่มเป็นขุยผงๆ หรือฉนวนสายไฟเมือเจอ DOP จะพองบวมเหมือนยางวงแช่เบนซิน ผมเคยใส่รองเท้ารีบอคซื้อมาคู่โคตรแพง สี่พันกว่าใส่มาทำงานเดินเหยีบสาร DOP ที่หกตามพื้นโรงงานไม่ถึง 3 เดือนพื้นเป็นผงแป้งขุยๆพังหมด
  พลาสติกทำปืนไม่ทราบว่าเติมสารอะไรบ้างที่ให้ทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อน...หากไม่โดนอะไรผมว่าเลิกห่วงเรื่องปืนพังเถอะ
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #52 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 05:23:27 PM »

พลาสติกนั้นมีสารเติมแต่งเข้าไปเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการเยอะแยะ..เช่น DOP
จะทนไม่ทนก็แล้วแต่สารพวกนี้ส่วนหนึ่ง...บางชนิดไม่ต้องถึง 4-5 ร้อยปีก็เริ่มเสื่อมเช่นตะกร้า ราว เก้าอี้ พลาสติก เมื่อโดนแดดเลียสีเรื่มซีด เนื้อพลาสติกเริ่มเป็นขุยผงๆ หรือฉนวนสายไฟเมือเจอ DOP จะพองบวมเหมือนยางวงแช่เบนซิน ผมเคยใส่รองเท้ารีบอคซื้อมาคู่โคตรแพง สี่พันกว่าใส่มาทำงานเดินเหยีบสาร DOP ที่หกตามพื้นโรงงานไม่ถึง 3 เดือนพื้นเป็นผงแป้งขุยๆพังหมด
  พลาสติกทำปืนไม่ทราบว่าเติมสารอะไรบ้างที่ให้ทนทานต่อสารเคมีและการกัดกร่อน...หากไม่โดนอะไรผมว่าเลิกห่วงเรื่องปืนพังเถอะ

รบกวนนิดนึงครับ  DOP คืออะไรหรือครับ
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #53 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 08:57:22 PM »



รบกวนนิดนึงครับ  DOP คืออะไรหรือครับ
[/quote]

จัดห้ายยยยย....ครับ...สั้นๆคือสารตัวนี้ใส่มากจะทำให้พลาติกนิ่ม...ใส่น้อย จะทำให้พลาติกแข็ง....แต่   พลาติก  มีหลายชนิดมากๆๆๆๆๆๆๆ.....อย่าอ่านข้อมูลจนจบนะครับปวดหัวตาย.....
-----------------------------------------------
การวิเคราะห์ DOP ในแผ่นพลาสติกหุ้มห่ออาหาร
DOP มีชื่อทางเคมีว่า Dioctyl phthalate หรือ Di (2-ethylhexyl) phthalate เป็น
สารเติมแต่งสำหรับพลาสติกชนิดพีวีซี (Polyvinyl chloride) โดยทำหน้าที่เป็น plasticizer ทำ
ให้เนื้อพลาสติกมีลักษณะอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นได้ดี และเหนียวมากขึ้น อย่างไรก็ตามจากการศึกษา
ความเป็นพิษของ DOP ในห้องปฏิบัติการพบว่า เมื่อหนูได้รับสารดังกล่าวเป็น ระยะเวลานาน
จะทำให้เกิดเนื้องอกในตับได้ ทำให้หลายประเทศในยุโรปและอเมริการวม ทั้งประเทศไทยได้
ประกาศห้ามใช้สารนี้ ในแผ่นพลาสติกหุ้มห่ออาหารแล้ว เพราะว่าสารดังกล่าวอาจปนเปื้อนใน
อาหารได้
จากการวิเคราะห์ฟิล์มหุ้มห่ออาหารหลายยี่ห้อ โดยกลุ่มงานเคมีประยุกต์ ตามวิธีใน
มอก. 1136-2536 ด้วยเครื่อง Gas chromatography และเปรียบเทียบกับ สารมาตรฐาน
พบว่าแผ่นฟิล์มบางยี่ห้อมีส่วนประกอบของ DOP ที่ไม่เหมาะจะใช้ ในการหุ้มห่ออาหาร เพราะ
อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้
-------ข้อมูลอ้างอิงจาก ลิ้งค์ด้านล่างนี้-----
http://www.dss.go.th/dssweb/st-articles/files/cp_1_2543_dop.pdf

และ

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_2_001c.asp?info_id=146

 
   
พลาสติไซเซอร์
--------------------------------------------------------------------------------
 

 

พลาสติไซเซอร์
ที่มา : สุภาณี หิรัญธนกิจจากุล
     จากหนังสือความรู้เกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 10,
กลุ่มงานพิษวิทยาและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2538


--------------------------------------------------------------------------------

 ประวัติ
                พลาสติไซเซอร์ (plasticizers) เป็นสารที่ใส่ในโพลิเมอร์ (polymer) หรือผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่อลดจุดหลอมที่ทำให้เกิดการไหล (flexing temperature) ของพลาสติกทำให้เม็ดพลาสติกมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่มขึ้น  สะดวกต่อการดึง รีด ฉาบ หรือหล่อแบบ  และยังเป็นตัวรักษาความอ่อนนุ่มไม่ให้เสียไปโดยง่าย  อีกทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าทนต่อกรดด่าง น้ำมันและผงซักฟอก  โดยจะใส่ประมาณ 20-40% โดยน้ำหนัก  พลาสติไซเซอร์จึงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างยิ่ง  โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลาสติกโพลีไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride, PVC) ซึ่งเป็นพลาสติกที่นำไปทำประโยชน์ได้มากมาย  เช่น ภาชนะบรรจุอาหาร ฟิล์มห่ออาหาร เครื่องมือแพทย์  เช่น ถุงบรรจุเลือด น้ำเกลือ สายยางที่ต่อกับเครื่องมือแพทย์, รองเท้า, กระเป๋า, เสื้อผ้า, กระเบื้องยางปูพื้น, สายไฟ, เทปพันสายไฟ, ท่อน้ำ, แท็งก์เก็บสารเคมีและอื่น ๆ  โดยที่มีการใช้พลาสติไซเซอร์ในอุตสาหกรรมพลาสติก PVC ถึง 65% ของปริมาณการใช้พลาสติไซเซอร์ทั้งหมด  ผู้ที่เริ่มใช้พลาสติไซเซอร์ในทางอุตสาหกรรมคนแรก คือ Hyatt Brothers ในราว ค.ศ.1870  เมื่อเขาผสมแคมเฟอร์ (camphor) กับไนโตรเซลลูโลส (nitrocellulose) ต่อมาไตรครี-ซิลฟอสเฟต (tricresyl phosphate) ก็ถูกนำมาใช้เป็นพลาสติไซเซอร์ ตามด้วยพทาเลทเอสเทอร์(phthalate esters)

 

กลไกของพลาสติไซเซชั่น (mechanism of plasticization)
                พลาสติกประกอบด้วยโมเลกุลโพลีเมอร์ (polymer molecules) แต่ละโมเลกุลเชื่อมต่อกันด้วยแรง Vander Waal โดยที่พลาสติไซเซอร์ไม่ได้เกิดปฏิกิริยากับโพลีเมอร์  แต่จะแทรกตัวเองอยู่ระหว่างโมเลกุลโพลีเมอร์โดยไปทำให้แรง Vander Waall ลดลง

 

ชนิดของพลาสติไซเซอร์
                พลาสติไซเซอร์สามารถแบ่งเป็น

1. โมโนเมอริคพลาสติไซเซอร์ (monomeric plasticizers) มีอยู่หลายกลุ่ม  ได้แก่

          - กลุ่มพทาเลทเอสเทอร์  เป็นกลุ่มที่ใช้เป็นพลาสติไซเซอร์มากที่สุด  เป็นสารประกอบอะโรมาติกที่มีหมู่คาร์บอกซิเลท 2 หมู่  มีลักษณะเป็นของเหลว  มีจุดเดือดสูงและความดันไอต่ำ  เป็นสารที่เสถียรและละลายในไขมันได้ดี  พทาเลทเอสเทอร์ที่ผลิตในอุตสาหกรรมมาจากการทำปฏิกิริยาระหว่างพทาลิกแอนไฮไดร์ (phthalic anhydride) กับแอลกอฮอล์  โดยมีตัวเร่งปฏิกิริยา (catalyst) เช่น กรดซัลฟูริค หรือกรดพาราโทลูอีนซัลโฟนิค พทาเลทเอสเตอร์ที่ใช้เป็นพลาสติไซเซอร์ เช่น

· ไดเมทิลพทาเลท (dimethyl phthalate, DMP)

· ไดเอทิลพทาเลท (diethyl phthalate, DEP)

· ไดนอร์มัวลิวทิลพทาเลท (di-n bytyl phthalate, DBP)

· บิวทิลเบนซิลพทาเลท (butylbenzyl phthalate, BBP)

· ไดทูเอทิลเฮซิลพทาเลท (di-(2-ethylhexyl) phthalate, DOP(1))

· ไดนอร์มัลออกทิลพทาเลท (di-n-octyl phtghalate, DOP(2))

· ไดไอโซโนนิลพทาเลท (diisononyl phthalate, DINP)

- กลุ่มอดิเพท (adipates) และอซีเลท (azelates)  ผลิตจากกรดอดิพิค (adipic acid)หรือกรดอซีเลอิคกับแอลกอฮอล์  เช่น ไดทูเอทิลเฮซิลอดิเพท (di-2-ethylhexyl adipate, DOA), ไดไอโซเดซิลอดิเพท (diisodecyl adipate, DIDA), และไดนอร์มัลออกทิลเดซิลอดิเพท (di-n-octhldecyl adipate, DNODA) ตัวที่สำคัญที่สุด คือ DOA ซึ่งองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอาหาร

                      ส่วนกลุ่มอซีเลทนั้น  เช่น ไดทูเอทิลเฮซิลอซีเลท (di-2-ethylhexyl azelate, DOZ), ไดไอโซออกทิลอซีเลท (diisooctyl azelate, DIOZ) และไดเฮกซิลอซีเลท (dihexyl azelate, DHZ) ซึ่งเป็นตัวที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอาหารเช่นกัน (octyl diphenyl phosphate)

- กลุ่มฟอสเฟต  มีออกทิลไดเฟนิลฟอสเฟต (octyl diphenyl phosphate) ตัวเดียวเท่านั้นที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา  อนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอาหาร

 

2. โพลีเมอริคพลาสติไซเซอร์ (polymeric plasticizers)  ได้จากปฏิกิริยาระหว่างกรดไดเบซิค (dibasic acid)  เช่น กรดอดิพิค หรือ กรดอซีเลอิคกับไกคอล (glycol) เช่น โพรไพลีนไกคอล (propylene glycol) จะได้พลาสติไซเซอร์ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูงถึง 20 เท่าของชนิดโมโนเมอร์ริค  และจะมีโอกาสหลุดจากพลาสติกได้น้อยกว่าที่อุณหภูมิสูง ๆ และยังทนต่อการละลายของน้ำมันและตัวทำละลาย  ส่วนราคาของโพลีเมอริคพลาสติไซเซอร์นั้นจะสูงกว่าพวกพทาเลทเอสเตอร์ประมาณ 1.5-2 เท่า

 

ความเป็นพิษ
                เนื่องจากพลาสติไซเซอร์ที่นิยมใช้มากที่สุด คือ กลุ่มพทาเลทเอสเตอร์  ดังนั้นจึงมีผู้ศึกษาวิเคราะห์วิจัยและมีหลักฐานการตรวจพบในสิ่งแวดล้อมมากที่สุด  พลาสติไซเซอร์ที่นิยมใช้กันมากและอยู่ในรายการสารมลพิษ (priority pollutants) ขององค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา (US Environmental Protection Agency, USEPA) มีอยู่ด้วยกัน 6 ตัว คือ DMP, DEP, DBP, BBP, DOP(1) และ DOP(2) โดยเฉพาะ DOP(1) นิยมใช้กันมากที่สุดหรือที่รู้จักกันในชื่อ ไดขทู เอทิลเฮกซิลพทาเลทซึ่งเป็นคนละตัวกับไดนอร์มับออกทิลพทาเลท (DOP) สารมลพิษเหล่านี้ไม่ค่อยแสดงความเป็นพิษอย่างเฉียบพลัน แต่จะแสดงในลักษณะพิษเรื้อรังเป็นผลให้เกิดอาการตกเลือดในปอด (lung hemorrhage), ตับโต (hepatomegaly) เป็นพิษต่อเซลในร่างกาย (cytotoxicity) ทำให้เกิดมะเร็ง (carcinogenicity) เกิดการก่อกลายพันธุ์ (mutagenicity) และทารกในครรภ์มีรูปร่างผิดปกติ (teratogenicity)

                พลาสติไซเซอร์ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์พลาสติกจะไม่ได้เกิดพันธะเคมีกับโพลีเมอร์เพียงแต่จะแพร่แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างโมเลกุลดังกล่าวแล้วข้างต้น  ดังนั้นจึงเกิดการถ่ายเทสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย  ดังรายงานการตรวจพบสารเหล่านี้ในน้ำ อากาศ ดิน ปลา อาหาร เลือด และพลาสม่า

                Stalling, Mayer และผู้ร่วมงานแห่งห้องปฏิบัติการวิจัยสารฆ่าแมลงในปลา ในโคลัมเบีย รัฐมิสซูรี่ ได้ศึกษาความเป็นพิษของพทาเลทเอสเตอร์ในสิ่งมีชีวิตในน้ำ (aquatic organisms) ตรวจพบว่ามี DBP และ DOP(1) ในปลาและน้ำบริเวณอเมริกาเหนือ  นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตในน้ำยังสามารถสะสมพทาเลทเอสเตอร์โดยหลังจาก 7 วัน ความเข้มข้นของพทาเลทเอสเตอร์ในสิ่งมีชีวิตจะเปลี่ยนจาก 350 เป็น 3900 เท่าของที่พบในน้ำ  นั่นแสดงว่า DBP และ DOP(1) สามารถเข้าไปอยู่ในลูกโซ่อาหาร (food chain) ได้ด้วย  และยังพบว่าพทาเลทออสเตอร์จะรบกวนระบบนิเวศและเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ  เช่น daphnia ในระดับความเข้มข้นเป็นไมโครกรัมต่อลิตร (ppb) นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าสิ่งมีชีวิตในน้ำจะไวต่อความเป็นพิษมากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  และเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์ USEPA ได้กำหนดปริมาณพทาเลทเอสเตอร์ที่อนุญาตให้มีในน้ำดังนี้คือ DMP 313 มิลลิกรัม/ลิตร (ppm), DEP 350 มิลลิกรัม/ลิตร, DBP 34 มิลลิกรัม/ลิตร และ DOP(1) ในแม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำท่าจีนและอ่าวไทยตอนบน  ส่วนสุภาณีและวราภรณ์ได้ตรวจพบ DEP, DBP, BBP ในแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณคลอง สระน้ำต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร

ตารางที่ 1   คุณสมบัติทางกายภาพ เคมีและ LD50 พลาสติไซเซอร์บางชนิด

 

พลาสติไซเซอร์
 สูตรโมเลกุล
 น้ำหนักโมเลกุล
 จุดเดือด (°C)

ที่ 760 mm Hg
 การละลายในน้ำ

(กรัม/100 กรัมที่ 20°C)
 LD50 (oral)

(กรัม/กิโลกรัม)
 
DMP
 C2H4(COOCH3) 2
 194.18
 282
 0.5
 Rat 6.9
 
DEP
 C6H4(COOC2H5) 2
 222.23
 296.1
 0.1
 Rabbit 1.0
 
DBP
 C6H4(COOC4H9) 2
 278.34
 340
 0.45 กรัมที่ 25°C
 Rat 8.0
 
BBP
 C6H4(COOC4H9)

(COOCH2C6H5)
 312.37
 370
 ไม่ละลาย
 -
 
DOP(1)
 C6H4(COOCH2CH(C2H5)C4H9) 2
 391.0
 370
 0.01
 rat > 26
 
DOP(2)
 C8H4(COOC8H17) 2
 391.0
 220 ที่ 4 mmHg
 ไม่ละลาย
 mouse > 13
 
DNP
 C6H4(COOC9H19) 2
 419.0
 413
 ไม่ละลาย
 rat > 2
 

 

                LD50 (oral) หมายถึง ปริมาณสารพลาสติไซเซอร์ที่ให้สัตว์ทดลองกินเข้าไปแล้วสามารถทำให้สัตว์ทดลองตายร้อยละ 50  คำนวณในหน่วยกรัม/น้ำหนักตัวสัตว์ทดลองหนึ่งกิโลกรัม

 

อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติไซเซอร์ในประเทศไทย
                สารพลาสติไซเซอร์เริ่มมีการผลิตในประเทศไทยครั้งแรกในปี พ.ศ.2517  โดยบริษัทไทยเคมีภัณฑ์จำกัด  ผลิต DOP(1) ด้วยกำลังการผลิตเริ่มแรกเพียง 12,000 เมตริกตัน/ปี  ในปัจจุบันมีโรงงานผลิตสารพลาสติไซเซอร์รวม 5 แห่ง ดังรายละเอียดในตารางที่ 2

ตารางที่ 2   รายชื่อโรงงานผลิตสารพลาสติไซเซอร์ในประเทศไทยและปริมาณการผลิตต่อปี

 

โรงงานผลิต
 ชนิดของสารพลาสติไซเซอร์
 ปริมาณการผลิต (ตัน/ปี)
 
1.    บริษัทไทยเคมีภัณฑ์จำกัด
 DOP(1)
 15,000
 
2.    บริษัททีโอเอพลาสติไซเซอร์อินดัสตี้ จำกัด
 DOP(1)

DBP

DINP
 9,600
 
3.    บริษัทอีเทอร์นัลหิโตรเคมีคัล จำกัด
 DOP(1)
 18,000
 
4.     บริษัทอีเทอร์นัลเคมีคัสอินดัสตี้ จำกัด
 DOP(1)
 7,000
 
5.     บริษัทแซนด์-โพลีเคมีคอล จำกัด
 DOP(1)

DINP
 3,200
 

 

ข้อมูลจาก        (1) Thailand Investment 7th edition. 1994, A directory of Companies Promoted by the Board of Investment p.323-324

                         (2)  ฝ่ายทะเบียนและสถิติ กองควบคุมโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

 

เอกสารอ้างอิง
1.  Fishein, L.and Albro, P.W. 1972 Chromatographic and biological aspects, J.Chromatogr., 70 : 365-412

2.  Gene Wilde and David Press, 1968. Modem Plastics Encyclopedia, vol 45 : No. 14A, Publisher : Stuart S. Siegel p. 428-430.

3.  Cr.R. Martens, Technology of Paints, Varnishes and Lacquers.

4.  Sittig, M. 1985. Handbook of toxic and Hazardous Chemcials and Carcinogen, 2nd edition. Noyes Publication p.225-281, 659-661

5.  Ritsema, R., Cofino. W.P., Frintrop P.C.M. and Brinkman, U.A.Th. 1989. Trace-level analysis of phthalate esters in surface water and suspended particulate matter by means of capillary gas chromatography with electron-capture and mass selective detection. Chemoshere, 18 : 2161-2175.

6.  Thuren, A. and larsson, P. 1990. Phthalate esters in the Swedish atmoshpere. Environ. Sci. Technol., 24 : 554-559.

7.  Russell, D.J. and Mc Duffic, B. 1983. Analysis for phthalate esters in environmental samples : Separation from PCB’s and peticide using dual column liquid chromatography. Intern. J. Environ. Anal. Chem. 15 : 165-183.

8.  Mayer. F.L., Stalling, D.L., and Johnson, J.L. 1972. Phthalate esters as environmental contaminants.  Nature, 238 : 411-413.

9. Sjoberg, P. and Bondesson, U. 1985. Determination of di (2-ethyhexyl) phthalate and four of it’s a metabolites in blood plasma by gas chromatography mass spectrometry. J. Chromatogr., 344 : 167-175.

10.  Teirlynck, O.A. and Rosseel, M.T. 1985. Determination of di-and mono (2-ethylhexyl) phthalate in plasma by gas chromatography. J.Chromatogr. 342 : 399-405.

11.  Marx, J.L. 1972. Phthalate acid esters : biological impact uncertain Science., 178 : 46-47.

12.  Onodera, S., Chatkittikunrong, W. and Saito, K. 1987. Characterization and determination of lipophilic hydrocarbons in the Chao Phraya, Bang Pakong and Tha-Chin Rivers and the upper gulf of Thailand. J. Chromatogr. 392 : 295-308.

13.    สุภาณี หิรัญธนกิจจากุล และวราภรณ์ ลีพิพัฒน์ไพบูลย์. 2537. การวิเคราะห์พทาเลทเอสเทอร์บางชนิดในน้ำโดยการสกัดด้วยวัฎภาคของแข็ง วิทยานิพนธ์ ภาควิชาเคมี บัณฑิต วิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14.  ภาวะธุรกิจและอุตสาหกรรม. มิถุนายน 2532. อุตสาหกรรมผลิตพลาสติไซเซอร์ (Plasticizer) หน้า 62-68

 
 
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 18, 2008, 09:02:37 PM โดย Gunchon » บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
boub@GUN@STEYR M9A1
Hero Member
*****

คะแนน 31
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1185



« ตอบ #54 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 09:28:32 PM »

ปืนใช้งานจริงๆ ใช้แค่ 5 ปี เขาก็โละทิ้งแล้วครับ
ถ้าจะโล๊ะทิ้งเอามาขายต่อให้ผมราคาถูกก็แล้วกันครับ

ขายผมด้วยคนน่ะครับ
บันทึกการเข้า
Lifestealers
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 11


« ตอบ #55 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 09:48:50 PM »

ผมว่า โพลิเมอร์ น่าจะอยู่ได้นานกว่านั้นนะครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #56 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 10:55:58 PM »



รบกวนนิดนึงครับ  DOP คืออะไรหรือครับ

จัดห้ายยยยย....ครับ...สั้นๆคือสารตัวนี้ใส่มากจะทำให้พลาติกนิ่ม...ใส่น้อย จะทำให้พลาติกแข็ง....แต่   พลาติก  มีหลายชนิดมากๆๆๆๆๆๆๆ.....อย่าอ่านข้อมูลจนจบนะครับปวดหัวตาย.....

[/quote]

ขอบพระคุณครับ  ชัดเจนครับ  Grin
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
ปาล์มๆ...ซุ่มโป่ง
Hero Member
*****

คะแนน 57
ออฟไลน์

กระทู้: 1891


ทำความดีเพื่อชาติ


« ตอบ #57 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:16:41 PM »

ปืนมีอายุได้ 4 ปีแล้วครับ จะรอดูว่าจะเป็นยังไง
บันทึกการเข้า
ManStopper
Hero Member
*****

คะแนน 89
ออฟไลน์

กระทู้: 1316



« ตอบ #58 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:20:38 PM »

ไม่จิ้ง  ไม่จริงครับ  Grin Grin
บันทึกการเข้า
I Love My King (AkNaRiN~*)
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 129
ออฟไลน์

กระทู้: 1670



« ตอบ #59 เมื่อ: กันยายน 18, 2008, 11:45:56 PM »

  เพิ่งทราบว่าพี่เต๋า ก็คอ BMX เหมือนกัน  นึกถึงวันวานแล้วอยากกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง(สาว ๆ สมัยนี้น่าตาน่ารักเยอะ อิ..อิ..)

เรื่องในกระทู้...ไม่มีความรู้ครับ...

แต่เรื่องนี้...คิดเหมือนกันเลย... เยาะเย้ย

ถ้าเกิดช้ากว่านี้ซักสิบปี.... น้ำลายหก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.098 วินาที กับ 22 คำสั่ง