นั่นแหละครับปัญหา
ตราบใดประชาชนโดยเฉพาะชนบทส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่มีจิตสำนึกในการเลือกตั้ง
ยังมองเห็นแต่ประโยชน์ที่จะได้รับจากนักการเมือง ยังมองเห็นเพียงประโยชน์ของเงินไม่กี่ร้อยบาท
ยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงหน้าที่ของ สส.ที่เลือกเข้าไป
ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งคืออิทธิพลท้องถิ่นของนักการเมืองที่มีต่อผู้นำชุมชนเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน
หากยังเป็นแบบนี้แม้จะเปลี่ยนรูปแบบการเลือกตั้งอย่างไรก็คงแก้ปัญหาไม่ได้
เพราะปัญหามันอยู่ที่ "คน" ทั้งตัวนักการเมืองและจิตสำนึกของประชาชน
ข้อสังเกตุจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา-
พื้นที่ที่ประชาชนมีจิตสำนึกที่ดี แต่มีคนมาใช้สิทธิ์น้อย
พื้นที่ที่นักการเมืองสั่งได้ มีประชาชนมาใช้สิทธิ์มาก(สถิติผู้มาใช้สิทธิ์เป็นที่น่าชื่นชม)
ผมเห็นมาตั้งแต่หนุ่มจนแก่บอกได้คำเดียวว่า ประชาธิปไตยแบบนี้ไม่เหมาะสมกับคนไทย
นักการเมืองเขาไม่ได้เข้าไปทำเพื่อเราครับ เขาทำเพื่อพวกเขาเอง เพราะฉะนั้นตราบใดที่เราไม่ได้คนที่มีความรู้สึกว่าคนที่เลือกเขาเข้าไปให้ทำหน้าที่แทนพวกเรา
ไม่ใช่เข้าไปรับคำสั่งหัวหน้าพรรคหรือ แกนนำของกลุ่มที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับคนในพรรค อันนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
ผมไม่โทษคนในชนบทที่ไม่รู้และก็ไม่เห็นความหวังว่าเขาจะรู้ได้ ถ้าคนอย่างผมๆท่านๆไม่ทำหน้าที่เพื่อพวกเขาครับ
เราอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเขาพวกที่รับ 500 บ 1 พันบาทต่อการเลือกตั้งและเราก็เข้าใจเงื่อนไข
เพราะฉะนั้นเราต้องทำมากกว่านี้ครับ และอาจจะต้องทำโดยไม่ได้ผลประโยชน์และอาจจะเสี่ยงต่อหน้าที่การงานและความปลอดภัยเมื่อเราไปขวางผลประโยชน์พวกเขาเหล่านี้
ในฐานะที่ผมเป็นคนหนึ่งในพธม. และเปิดเภยในเรื่องนี้ ผมเห็นว่าพธม. เปิดโอกาสให้เรามีพื้นที่ในการแสดงออกแล้ว และเราก็กล้าเสี่ยงออกมาสู้กันแล้ว ท่านๆทั้งหลายที่เห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขก่อนเราจะเกิดวิกฤตในประเทศเรามากกว่านี้ทั้งทางด้าน การเมือง การปกครองและเศรษฐกิจ เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเราเองไม่ไห้ทำสิ่งผิดๆกันก่อน
ถามตัวเราว่าเราเสียค่าเก๋าเจียะให้ลูกเราเข้าโรงเรียนดีๆหรือเปล่า เราเสียค่าปรับจากข้างถนนหรือที่โรงพัก ถ้าเราไม่สอนตัวเราและครอบครัวเรื่องคอร์รัปขั่น เราก็ยังไม่เข้าใจเงื่อนไขอันนี้อย่างแท้จริงครับ
โลกาภิวัฒน์สอนโอกาสให้คนที่รู้มากเอาเปรียบคนที่รู้น้อยโดยไม่ตั้งใจ โดยสอนให้เราทำโดยไม่เห็นว่าผิด เพราะมือใครยาว หรือ สายป่านยาวกว่าก็สาวไปเรื่อยๆครับผม
ด้วยความนับถือครับผม