เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 28, 2024, 08:21:47 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 9
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: +++อยากทราบว่า ตร.มีสิทธ์ค้นรถเราไหม+++  (อ่าน 14465 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ozero++รักในหลวงมากค่ะ++
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1287
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 25366


มารยาท...มีให้รักษา


« ตอบ #30 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 01:57:05 AM »

probable cause หากแปลตรงตัวมันคือสาเหตุที่น่าจะเป็นไปได้อ่ะค่ะ Wink
บันทึกการเข้า

เข้ามากด like กันได้นะคะ http://www.facebook.com/OAroi
และ https://www.facebook.com/SiaAke
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #31 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 02:00:48 AM »

probable cause มันจะเหมือนคำว่า "เหตุอันควร" หรือ "สมควรแก่เหตุ" เปล่าคะพี่ Cheesy
ไม่รู้เหมือนกัน  ถึงถามไง อิอิอิ  แต่น่าจะใกล้เคียงนะโอ
พี่เคยโดนตำรวจนอกเครื่องแบบค้น  ที่ป้ายรถเมล์หน้าตลาดคลองเตย  นานนนนนนนน มาแล้ว
ตำรวจท่านนั้นก็สุภาพดี  แต่ก็เริ่มมีน้ำโห  เพราะพี่มันงี่เง่าตามประสาวัยหนุ่ม   ตำรวจท่านนั้นก็ขออนุญาตค้นตัวพี่
หลังจากที่คุยกันนาน  คนมุงดูเยอะแกก็ขอค้นที่หมวกแก๊ปเท่านั้น

บันทึกการเข้า
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #32 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 02:01:59 AM »

คำนี้เป็นภาษากฏหมายโดยเฉพาะ
คืองี้  พี่อยากจะรู้ว่า  ภาษากฏหมายไทยมีคำนี้ไหม  หรือมีกฏหมายที่ใกล้เคียงไหม เรียกว่าอะไร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2008, 02:05:32 AM โดย XD40 » บันทึกการเข้า
ozero++รักในหลวงมากค่ะ++
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1287
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 25366


มารยาท...มีให้รักษา


« ตอบ #33 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 02:25:24 AM »

แหะๆ...งั้นคงต้องรอพี่ๆที่รู้กฎหมายแล้วหล่ะค่ะ Cheesy
บันทึกการเข้า

เข้ามากด like กันได้นะคะ http://www.facebook.com/OAroi
และ https://www.facebook.com/SiaAke
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #34 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 07:17:14 AM »


น่าจะตรงกับคำว่า "เหตุอันควรสงสัย" ครับ Cheesy
บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #35 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 07:28:47 AM »


น่าจะตรงกับคำว่า "เหตุอันควรสงสัย" ครับ Cheesy
ครับพี่   แล้วกฏหมายแบบนี้มีไหมครับ
บันทึกการเข้า
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #36 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 07:47:42 AM »


น่าจะตรงกับคำว่า "เหตุอันควรสงสัย" ครับ Cheesy
ครับพี่   แล้วกฏหมายแบบนี้มีไหมครับ

มีบัญญัติคำนี้ไว้ครับ.....

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 93 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำ การค้นบุคคลใดในสาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครอง   หรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"
บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #37 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 07:54:48 AM »


น่าจะตรงกับคำว่า "เหตุอันควรสงสัย" ครับ Cheesy
ครับพี่   แล้วกฏหมายแบบนี้มีไหมครับ

มีบัญญัติคำนี้ไว้ครับ.....

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 93 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำ การค้นบุคคลใดในสาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครอง   หรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"

มาตรานี้ตรงกับของกฏหมายเมกันที่เรียกว่า Search and Seizure ครับ    สามารถค้นได้ถ้ามี probable causes
บันทึกการเข้า
sira
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 3
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 122



« ตอบ #38 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 08:23:40 AM »

เคยโดนค้นครับ
ยิ้มอย่างเดียว สุภาพเข้่าไว้
แถมบอกมีปืนพร้อมกระสุนตั้งแต่แรก
ไม่เคยโดยยึดหรือจับแต่อย่างใดครับ
บันทึกการเข้า

คิดบวก ชีวิตบวก
นาจา™รักในหลวง
คุณธรรม...นำสู่ยุติธรรม
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 268
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 11147



เว็บไซต์
« ตอบ #39 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 08:44:35 AM »


น่าจะตรงกับคำว่า "เหตุอันควรสงสัย" ครับ Cheesy
ครับพี่   แล้วกฏหมายแบบนี้มีไหมครับ

มีบัญญัติคำนี้ไว้ครับ.....

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา 93 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำ การค้นบุคคลใดในสาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครอง   หรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"

มาตรานี้ตรงกับของกฏหมายเมกันที่เรียกว่า Search and Seizure ครับ    สามารถค้นได้ถ้ามี probable causes

ครับผม....ลองอ่านอันนี้ครับ เกี่ยวกับการค้น... Cheesy

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

...ค้น...

     ขณะนี้เรื่องค้นกำลังมีปัญหาถกเถียงกันมากในหมู่นักกฎหมายไทย ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญใหม่ คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
    ไทย  พุทธศักราช  2540  ได้บัญญัติเปลี่ยนแปลงหลักการเดิมของผู้มีอำนาจออกหมายค้น ซึ่งประมวลกฎหมายวิธพิจารณาอาญา มาตรา
    58 (3) บัญญัติ ให้เป็นอำนาจของศาลหรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ มาเป็นอำนาจของศาลแต่ผู้เดียว ตามรัฐธรรมนูญ
    ใหม่ มาตรา 238  

               แม้ในขณะที่เขียนบทความนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณามาตรา 58 (3)  ซึ่งบัญญัติให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
    ชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้มีอำนาจออกหมายค้นได้ด้วย ยังคงบัญญัติอยู่ แต่บทบัญญัตินี้คงใช้บังคับไม่ได้อีกต่อไป เพราะเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือ
    แย้งกับรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา  6 ซึ่งบัญญัติว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใด
    ของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้"

               เดิมที่กฎหมายให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ออกหมายค้นได้ด้วยนั้น การปฏิบัติงานในการจับกุมปราบ
    ปรามผู้กระทำความผิดกฎหมายของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจคงจะสะดวกและคล่องตัวกว่าในปัจจุบันอยู่พอสมควร เพราะการ
    ขอให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ออกหมายค้นให้ย่อมจะกระทำได้รวดเร็วกว่า  ทั้งถ้าหากพนักงานฝ่ายปกครอง   หรือ
    ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ไปทำการค้นด้วยตนเอง หากเป็นกรณีที่อาจออกหมายค้นได้ หรือค้นได้ตามประมวลกฎหมาย  วิธีพิจารณาความอาญา
    แล้ว  พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่นั้นก็สามารถทำการค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น  ตามประมวลกฎหมาย   วิธีพิจารณา
    ความอาญามาตรา 92 วรรคท้าย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญใหม่ต้องการจะคุ้มครองอย่างแท้
    จริงแล้ว หลักการที่ให้ศาลแต่ผู้เดียวเป็นผู้มีอำนาจออกหมายค้นนับว่าเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งยังสอดคล้องกับหลักการของนานาอารยประเทศ
    อีกด้วย

               ส่วนความไม่สะดวก  และความไม่คล่องตัวในทางปฏิบัตินั้นน่าจะแก้ไขได้โดยการประสานงานกันระหว่างผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
    ทุกฝ่าย
            
               วัตถุประสงค์ของการค้น การค้นมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ
              
               1. ค้นเพื่อหาคน  เช่น  ค้นหาคนร้ายเพื่อจับกุมหรือค้นหาคนที่ถูกกักขังไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเพื่อช่วยเหลือ
              
               2. ค้นเพื่อหาสิ่งของ ค้นหาสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด เช่น เฮโรอีน ยาบ้า วัตถุระเบิด หรือค้นหาสิ่งของที่ได้มาจากการกระ
    ทำความผิด เช่น ค้นหาเงินที่ได้มาจากการปล้นทรัพย์   ค้นหารถยนต์ที่ได้มาจากการลักทรัพย์  หรือค้นหาสิ่งของที่ได้ใช้ในการกระทำ
    ความผิด เช่น ค้นหาปืนที่ใช้ฆ่าคน หรือค้นหาสิ่งของที่มีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด เช่น ค้นหากุญแจผีที่เตรียมไว้ไขตู้เซฟเพื่อลัก
    ทรัพย์ในตู้เซฟนั้น หรือค้นเพื่อหาสิ่งของที่เป็นพยานหลักฐานในคดี
               การค้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นจึงอาจเป็นการค้นบุคคลหรือค้นสถานที่ก็ได้

               การค้นบุคคล รัฐธรรมนูญใหม่ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ในมาตรา  31 ว่า  "บุคคลย่อมมีสิทธิและ
    เสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
               การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตาม
    ที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้      
               การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้
    เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย"
         
    
    กฎหมายที่ให้อำนาจค้นบุคคลได้ในขณะนี้ก็คือ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ทำ
    การค้นบุคคลใดในสาธารณสถาน เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครอง   หรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของใน
    ความครอบครองเพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิด หรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด"

               พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้มีอำนาจค้นบุคคลในที่สาธารณสถานตามมาตรา 93  นี้   ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
    อาญา มาตรา 2 (16)  ให้หมายถึง  เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ให้รวมถึงพัสดี
    เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต  กรมศุลกากร  กรมเจ้าท่า  พนักงานตรวจคนเข้าเมือง  และเจ้าพนักงานอื่น ๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการ
    จับกุมหรือปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
               การค้นบุคคลในที่สาธารณสถานตามปกติจะทำไม่ได้เลย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในครอบครอง เพื่อใช้
    ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิดและผู้มีอำนาจค้นจะต้องเป็นพนักงานปกครองหรือ
    ตำรวจ  เช่น  ตำรวจติดตามคนร้ายปล้นทรัพย์ข้ามท้องที่มาเห็นจำเลยกับพวกยืนซุบซิบกันที่หลังสถานีรถไฟ  จึงร่วมกับตำรวจท้องที่ทำ
    การตรวจค้น  เพราะสงสัยว่าจะมีอาวุธปืนและของผิดกฎหมายย่อมค้นได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1082/2507)
               ถ้าหากไม่มีเหตุอันควรสงสัยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 93 กฎหมายห้ามเด็ดขาดไม่ให้ค้นบุคคลในที่สาธารณสถานจึงไม่มีกรณี
    ที่จะต้องออกหมายค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน ซึ่งต่างกับการค้นทีรโหฐานที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีหมายค้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น
               การค้นสถานที่ การค้นสถานที่อาจจะเป็นการค้นที่สาธารณสถานหรือที่รโหฐานก็ได้  การค้นที่สาธารณสถาน  กฎหมายไม่ได้
    บังคับให้ต้องมีหมายค้น พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจึงมีอำนาจค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น
               สถานที่บนขบวนรถไฟโดยสารไม่ใช่ที่รโหฐานแต่เป็นที่สาธารณสถาน  เจ้าพนักงานสรรพสามิตค้นจับฝิ่นในที่ดังกล่าวได้  โดย
    ไม่ต้องมีหมายค้น และไม่จำเป็นต้องค้นในเวลากลางวันหรือแสดงความบริสุทธิ์ก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ 2024/2497)
               การค้นที่รโหฐาน รัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 35 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง
    ในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุข การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการ
    ตรวจค้นเคหสถานจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย"


               และมาตรา 238 บัญญัติว่า "ในคดีอาญา การค้นในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือหมายของศาล  หรือมีเหตุให้
    ค้นได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ"
 

               รัฐธรรมนูญใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับการค้นนี้ไม่มีบทเฉพาะการ จึงมีผลใช้บังคับทันทีที่รัฐธรรมนูญใหม่มีผลบังคับใช้
               หลักในรัฐธรรมนูญใหม่เกี่ยวกับการค้นที่รโหฐานก็คือ  การค้นที่รโหฐานจะกระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งหรือหมายของศาล  เว้นแต่
    จะเข้าข้อยกเว้นตามที่กฎหมายบัญญัติ
                
                คำว่า "ที่รโหฐาน" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(13) หมายความถึงที่ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ที่สาธารณ
    สถานดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา
                
                ส่วนคำว่า "ที่สาธารณสถาน" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(3)  หมายความถึง  สถานที่ใด ๆ ที่ประชาชนมีความ
    ชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
                
                ที่รโหฐานจึงหมายความถึง สถานที่ใด ๆ ที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
                มีปัญหาว่า รถยนต์ที่แล่นหรือจอดอยู่ในที่สาธารณสถานเป็นที่รโหฐานหรือไม่

                ปัญหานี้นักกฎหมายบางท่านเห็นว่ารถยนต์ เป็นที่รโหฐาน การค้นรถยนต์จะต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ส่วนผู้เขียนเห็น
    ว่ารถยนต์ไม่ใช่ที่รโหฐาน   พนักงานฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจเมื่อมีเหตุสงสัยตามสมควรว่าในรถยนต์นั้น   มีสิ่งของผิดกฎหมายย่อมมี
    อำนาจค้นรถยนต์นั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 93 โดยถือว่าเป็นการค้นบุคคลที่ครอบครองรถยนต์นั้นใน
    ที่สาธารณสถาน

                การค้นรถยนต์ในที่สาธารณสถานคงไม่แตกต่างอะไรกับการค้นกระเป๋าใส่เอกสาร หรือกระเป๋าใส่เสื้อผ้า หากแปลว่ารถยนต์เป็น
    ที่รโหฐาน ต้องไปขอหมายค้นจากศาลมาก่อน   จึงจะค้นได้ คนร้ายก็คงจะเต็มบ้านเต็มเมือง   เพราะกว่าจะขอหมายค้นมาจากศาลได้
    รถยนต์คงแล่นไปไกลเกินกว่าจะตามไปตรวจค้นได้ทัน ครั้นจะกักรถยนต์ไว้รอหมายค้นของศาล ประชาชนผู้บริสุทธิ์ก็จะเดือดร้อน ถ้า
    แปลว่ารถยนต์ไม่ใช่ที่รโหฐาน พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีความสงสัยว่าจะมีของผิดกฎหมายอยู่ในรถยนต์ ก็ค้นได้ทันที ค้นไม่
    พบของผิดกฎหมาย รถยนต์นั้นก็สามารถแล่นไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องเสียเวลารอหมายค้นจากศาล
               การที่รัฐธรรมนูญใหม่ให้ศาลเป็นผู้ออกหมายค้นแต่ผู้เดียวเป็นเรื่องใหม่  วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอและออกหมายค้นอาจจะมีข้อ
    แตกต่างกันบ้าง แต่หลักใหญ่คงจะเหมือนกัน กล่าวคือ              
               1. สถานที่ที่จะค้นอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดจะต้องยื่นคำขอออกหมายศาลค้นต่อศาลนั้น เช่น สถานที่จะค้นอยู่ที่กรุงเทพมหา-
    นคร ฝั่งธนบุรี ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3  ปี หรือปรับไม่เกิน  60,000  บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาล
    แขวงธนบุรี ก็ต้องยื่นคำขอออกหมายค้นที่ศาลแขวงธนบุรีถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 3  ปี  หรือปรับเกินกว่า  60,000   บาท
    หรือทั้งจำทั้งปรับ  ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญาธนบุรี ก็ต้องยื่นต่อศาลอาญาธนบุรี  อย่างไรก็ดี เนื่องจากศาลอาญามีอำนาจนอกเขต
    ศาลอาญาตามปกติอยู่ด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 14 (5)  ฉะนั้นไม่ว่าสถานที่ที่จะค้นตั้งอยู่ที่ใด   หากผู้ขอหมายค้นมี
    ความจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจไปขอหมายค้นจากศาลที่มีเขตอำนาจได้ทัน ศาลอาญาก็มีอำนาจออกหมายค้นให้ได้
               2. การขอหมายค้นต้องยื่นเป็นคำร้องทำนองเดียวกับคำร้องขอฝากขัง โดยทางศาลได้วางระเบียบให้ผู้ยื่นต้องเป็นนายตำรวจชั้น
    สัญญาบัตรขึ้นไป หรือถ้าเป็นเจ้าพนักงานอื่นก็ต้องเป็นข้าราชการตั้งแต่ระดับ  3  ขึ้นไป  และต้องแต่งเครื่องแบบ โดยยื่นได้ตลอด   24
    ชั่วโมง ตามความจำเป็นและเมื่อมีเหตุออกหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 69
               3. หมายค้นเป็นหมายอาญาอย่างหนึ่ง การออกหมายค้นศาลต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 59
     โดยศาลต้องสอบให้ปรากฏเหตุผลสมควรที่จะออกหมายค้นเสียก่อนเหตุผลนี้จะได้มาจากคำแจ้งความโดยสาบานตัว หรือพฤติการณ์
    อย่างอื่นก็ได้ มาตรา 60 (4) (ค) ในหมายค้นต้องระบุสถานที่จะค้น กำหนดวันเวลาที่จะทำการค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงาน
    ผู้จะทำการค้นนั้น แล้วลงลายมือชื่อและประทับตราของศาลตามมาตรา 60 (6)  โดยผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งก็ออกหมายค้นได้ตาม
    พระธรรมนูญยุติธรรม มาตรา 21 (1)
               4. หมายค้นซึ่งออกเพื่อพบและจับบุคคล จะต้องมีหมายจับบุคคลนั้นด้วย เจ้าพนักงานซึ่งจะจัดการตามหมายค้นต้องมีทั้งหมาย
    ค้นและหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 70
               5. การค้นในที่รโหฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 96 ให้กระทำการค้นในเวลากลางวัน เว้นแต่                  
                   1. เมื่อลงมือค้นตั้งแต่เวลากลางวัน ถ้ายังค้นไม่เสร็จ จะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้                  
                   2. ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งหรือมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้                  
                   3. การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะกระทำในเวลากลางคืนได้            
               ฉะนั้นการขอให้ศาลออกหมายค้นตามปกติควรขอค้นในเวลากลางวัน เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 96(2)
    และ (3)  และเมื่อศาลออกหมายค้นให้ค้นได้ในเวลากลางคืนแล้ว  ผู้เขียนเห็นว่าผู้ทำการค้นไม่ต้องไปขออนุญาตพิเศษจากอธิบดี  กรม
    ตำรวจหรือผู้ว่าราชการจังหวัดตามมาตรา 96 (3) อีก
               6. เจ้าพนักงานผู้ค้นต้องบันทึกรายละเอียดแห่งการค้น และสิ่งของที่ค้นได้นั้นต้องมีบัญชีรายละเอียดไว้ แล้วส่งบันทึกการค้น
    และบัญชีสิ่งของนั้นไปยังศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 103  และ 104   เพื่อศาลจะได้รวมไว้ในสำนวน
    หมายค้นต่อไป
               ข้อยกเว้นให้ค้นที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ซึ่งรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 238 บัญญัติว่า มีเหตุให้ค้นได้
    โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัตินั้น แยกได้เป็น 2 กรณี คือ              
                   1. ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92              
                   2. ข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ
               1. ข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 ซึ่งบัญญัติว่า "ห้ามมิให้ค้นที่รโหฐาน โดย
    ไม่มีหมายค้น เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีต่อไปนี้                    
                   1. เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยจากข้างในที่รโหฐาน                    
                   2. เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน                    
                   3. เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้ซุกซ่อนตัวอยู่ในที่
    รโหฐานนั้น                    
                   4. เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำผิดได้ซ่อนอยู่ในนั้น   ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่า
    เนื่องจากการ เนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายเสียก่อน                    
                   5. เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้านและการจับนั้นมีหมายจับ หรือจับตามมาตรา 78
                    เมื่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ค้นด้วยตนเองไม่ต้องมีหมายค้นก็ได้ แต่ต้องเป็นกรณีที่อาจออกหมายค้นหรือ
    ค้นได้ตามประมวลกฎหมายนี้"
                    ข้อยกเว้นให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจค้นที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีคำสั่ง  หรือหมายของศาลตามประมวลกฎหมาย
    วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 นี้ ผู้เขียนเห็นว่าคงจะใช้ได้เฉพาะ (1) ถึง (5) เท่านั้น เพราะมีเหตุให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือ
    หมายของศาลตามรัฐธรรมนูญใหม่ มาตรา 238
                    ส่วนข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92 วรรคสอง ที่ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้
    ใหญ่ค้นด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายค้นนั้น น่าจะใช้ไม่ได้ เพราะที่วรรคสองของมาตรา 92 ให้อำนาจไว้ก็เพราะพนักงานฝ่ายปกครอง
    หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้มีอำนาจออกหมายค้นได้เอง  เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
    ออกหมายค้นได้เองอีกแล้ว อำนาจค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้นของพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามวรรคสอง ของมาตรา
    92 ก็ย่อมหมดไปด้วย
               2. ข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ กฎหมายอื่นที่บัญญัติยกเว้นให้เจ้าพนักงานอื่นค้นที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นมีอยู่มากมาย
    เช่น พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับ 12) พ.ศ. 2497   มาตรา 12  ซึ่งบัญญัติว่า  "เมื่อเห็นเป็นการสมควรกำหนดเขตท้องที่ใดเป็นเขต
    ควบคุมศุลกากรให้ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมศุลกากรภายในเขตควบคุมศุลกากรให้บรรดาโรงเรือน
    หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นตกอยู่ในอำนาจการตรวจค้นของพนักงานศุลกากรตลอดไปไม่ว่าในเวลากลางวันหรือกลางคืน โดยไม่ต้องมี
    หมายค้น แต่ในการใช้อำนาจดังกล่าวแต่ละคราว พนักงานศุลกากรต้องแสดงว่าตนมีเหตุอันสมควรที่จะใช้อำนาจนั้น และต้องแสดงบัตร
    ประจำตัวว่าเป็นพนักงานศุลกากรด้วย…"
               กล่าวโดยสรุปก็คือเมื่อมีกฎหมายอื่น ๆ ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานใดค้นที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีหมายค้น เจ้าพนักงานนั้น ย่อมมี
    อำนาจค้นในที่รโหฐานได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายค้นของศาล
               คำพิพากษาฎีกาที่ 825/2534 เจ้าพนักงานสรรพสามิตมีอำนาจเข้าไปตรวจค้นในสถานที่ของผู้ได้รับอนุญาตให้ขายสุราในเวลา
    ทำการได้ตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 มาตรา 28 โดยไม่ต้องมีหมายค้น
               เนื่องจากขณะนี้ยังมิได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องค้นให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญใหม่ บทบัญญัติของกฎหมาย
    ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องค้นที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มีอยู่แล้วทั้งสิ้น  เมื่อได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องค้นให้เป็นไป
    ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญใหม่เมื่อใดผู้เขียนเชื่อว่าวิธีปฏิบัติของศาลในการออกหมายค้นก็ดี  วิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานต่าง ๆ ใน
    การขอหมายค้นตลอดจนวิธีการค้นก็ดี คงจะคล่องตัวมากขึ้น และปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่คงจะหมดไปแน่นอน

ที่มา :  หนังสือ  รพี'41  สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 23, 2008, 08:51:36 AM โดย นาจา » บันทึกการเข้า

อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
USP40
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #40 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 09:22:36 AM »

ขอบคุณครับพี่  อ่านแล้วก็คล้ายกันมากๆครับ
บันทึกการเข้า
autommm
Jr. Member
**

คะแนน 2
ออฟไลน์

กระทู้: 50


« ตอบ #41 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 09:37:31 AM »

ความรู้ใหม่  ขอบคุณคับ
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #42 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 09:50:30 AM »


ขอบคุณท่านนาจาครับ ... ผมขอคัดลอกเก็บไว้เลย  Grin

มีคำถามตรงที่ว่าตอนนี้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับ ๒๕๕๐
ไม่ทราบว่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงต่อเนื้อหาสาระในบทความนั้นอย่างไรบ้างครับ  ไหว้





บันทึกการเข้า
PEE_PoL - รักในหลวง
Sr. Member
****

คะแนน 23
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 526

เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนยังมียอดคน จึงอย่าประมาท


« ตอบ #43 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 10:13:58 AM »

อ้างถึง
ไม่แม่นกฎหมายละครับ พยายามอ่านแล้วตีความ

ที่กลัวคือ ตร. ปฏิบัติจนเคยชิน จึงไม่รู้ว่าที่ทำมันผิดหรือถูก

ทั้งๆ ที่เรียน กฏหมายเล่มเดียวกัน

กรณี ขับรถต้องชิดซ้ายเหมือนกัน ออกขวาหน่อยเห็นรถอะไรก็จับไปหมด

ทั้งๆ ที่กฏหมายเขาบอกว่ารถ บรรทุก และ จักรยานยนต์ไม่ให้วิ่งขวา ยกเว้นแซง

แล้วจะทำถนน ให้มันมี ๒ เลนทำไม

อ้างถึง
werasak 

อ้อ...ตอบท่านTOSSAPORN ครับ ถนนที่ให้มี 2 เลน อีกเลนหนึ่งเขาเอาไว้ให้แซงครับ
แนะนำให้ศึกษา พ.ร.บ.จราจร เพิ่มอีกหน่อยครับ 

ใช่ละครับ  เลนขวาก็เอาไว้แซงเท่านั้น   ถ้า 3 เลน  ก็สามารถวิ่งได้ในทุกเลน ตามระดับความเร็ว ครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า


<img src="[url]http://www.kawna.com/members/images/banner-1.gif
" width=131 height=66 border=1 alt="ประกัน พ.ร.บ. ราคาพิเศษ">[/url]
PATRIOT.
Jr. Member
**

คะแนน 4
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 94



« ตอบ #44 เมื่อ: กันยายน 23, 2008, 10:32:50 AM »


ไม่แม่นกฎหมายละครับ พยายามอ่านแล้วตีความ

ที่กลัวคือ ตร. ปฏิบัติจนเคยชิน จึงไม่รู้ว่าที่ทำมันผิดหรือถูก

ทั้งๆ ที่เรียน กฏหมายเล่มเดียวกัน

กรณี ขับรถต้องชิดซ้ายเหมือนกัน ออกขวาหน่อยเห็นรถอะไรก็จับไปหมด

ทั้งๆ ที่กฏหมายเขาบอกว่ารถ บรรทุก และ จักรยานยนต์ไม่ให้วิ่งขวา ยกเว้นแซง

แล้วจะทำถนน ให้มันมี ๒ เลนทำไม
อ้อ...ตอบท่านTOSSAPORN ครับ ถนนที่ให้มี 2 เลน อีกเลนหนึ่งเขาเอาไว้ให้แซงครับ
แนะนำให้ศึกษา พ.ร.บ.จราจร เพิ่มอีกหน่อยครับ Grin


ผมว่า คุณ werasak เข้าใจผิดนิดนะครับ      ผมว่าความหมายของคุณ TOSSAPORN หมายความว่าทำจนชิน  จึงไม่รู้ว่าที่ทำมันผิดหรือถูก   

เช่น อาจมาแซง ต่อหน้า เลยจับ เพราะแซงขวามา (จับเพราะวิ่งขวา)  เพราะผมก็เคยโดน รถเมล์เข้าป้าย ผมแซงรถเมล์(จักรยานยต์)  จร.เรียกบอกวิ่งขวา    งง  งง   แล้วจะไปทางใหน
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.099 วินาที กับ 22 คำสั่ง