stereogram ภาพสามิติ
ดังนั้นภาพสามมิติแบบ stereogram จึงมี 2 แบบ คือแบบขนาน และแบบไขว้
- แบบขนาน ให้ใช้ตาขวามองตำแหน่งขวา ตาซ้ายมองตำแหน่งซ้าย
- แบบไขว้ ก็สลับกันเพราะฉะนั้นถ้ามองผิดวิธีแล้ว ภาพที่ได้จะมีมิติตรงข้ามกับที่เขาออกแบบมา
- ในสมัยโบราณ จะเป็นภาพเดียวกัน แต่ถ่ายจากกล้อง 2 ตัว วางห่างกันให้ใกล้เคียงกับระยะห่างของตามนุษย์แล้วถ่ายพร้อมกัน เมื่อเอาทั้ง 2 ภาพมาวางเรียงกันตามแนวนอนแล้วใช้อุปกรณ์พิเศษ (ซึ่งถ้าดูจนชำนาญแล้วไม่ต้องใช้ก็ได้) ลักษณะเป็นท่อ 2 ท่อคู่กัน แล้วมองตามท่อลงไป (ระยะเท่าระยะห่างของ 2 ภาพ) ก็จะเห็นภาพนั้นมีมิติขึ้นมาได้แต่ถ้าจะมองแบบไขว้ ก็ให้สลับข้างรูปทั้งสองใบก่อน แล้วค่อยมองแบบไขว้ได้ครับ ไม่งั้นมิติของภาพจะสลับกัน
- หลักการก็คือ ปกติตาซ้าย และขวา จะมองภาพถูกต้องตามระยะ เมื่อเห็นภาพจากตาทั้งสองทับกันพอดี ซึ่งถ้าไม่พอดีในลักษณะไขว้ คือภาพจากตาขวา อยู่ถัดไปทางซ้ายสมองจะตีความว่าวัตถุนั้นอยู่ไกลกว่าระยะที่มองอยู่ แต่ถ้าเป็นลักษณะขนาน คือภาพจากตาขวา อยู่ถัดไปทางขวาแบบนี้สมองจะสรุปว่าวัตถุนั้น อยู่ไกล้กว่าระยะที่มองอยู่
- หลักการสร้าง ทำได้โดยกำหนดระยะที่เหมาะสมก่อน แล้ววางภาพที่ต้องการให้อยู่ในระดับนั้นเป็น layer นึง layer อื่นๆ
ต้องวางให้เหลื่อมเป็นระยะที่เหมาะสม จะทำให้มองเห็น layer นั้นอยู่ในระยะต่างกันออกไป ซึ่งนำมาใช้ในการอ่านภาพถ่ายทางอากาศจากเครื่องบินที่ระยะสูงมากจะแยกแยะวัตถุได้ยาก จึงได้นำหลักการนี้มาใช้โดยจะใช้แว่นที่มีเลนส์ eye piece สองตัวส่องดูภาพ จะเห็นมิตินูนของวัตถุในภาพ
มาลองดูแบบเคลื่อนไหวกันบ้าง
- ภาพ stereogram เคลื่อนไหวมีหลักการเช่นเดียวกับ การแสดงภาพเคลื่อนไหว หรือ ภาพยนตร์ คือ แสดงชุดของภาพสเตอริโอแกรมทีละภาพอย่างต่อเนื่อง วิธีการค้นหาภาพที่ซ่อนอยู่นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ การมองให้เบลอหรือสูญเสียโฟกัส โดยจ้องไปที่จอ screen ราวกับว่ากำลังจ้องผ่านจอมอนิเตอร์ไปยังภาพแบคกราวด์ที่ไกลออกไป และภาพที่ซ่อนอยู่ก็จะค่อยๆ โผล่ขอบลางของภาพ 3D ออกมา