คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนส่งรายการการตรวจสอบสลายม็อบ 7 ตุลาฯให้ ป.ป.ช.ฟัน หลังสรุปผล "สมชาย วงศ์ สวัสดิ์-ชวลิต ยงใจยุทธ-ครม.ผบ.ตร.-นายพลสีกากีกว่า 20 นายผิดกราวรูด ตั้งข้อหาฆ่า พยายามฆ่าผู้อื่น หลักฐานชัดเห็นกลุ่มผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บ ล้มตายแต่ไม่สั่งห้าม
หมายเหตุ"มติชนออนไลน์" คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ที่ผ่าานมา ตามรายงานของคณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 กรณีการสลาบการชุมนุมวันที่ 7 ตุลาคม 2551ซึ่งมีผลสรุปว่า นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุม และ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกฯที่ได้รับมอบให้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิต่อมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย จนประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิต เข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 84
นอกจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งแต่พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.)จนถึงนายพลระดับรองผู้บัญชาการและ พ.ต.ท.กว่า 20 นาย อาจเข้าข่ายเป็นความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 157, 295, 288, 289, 83
ทั้งนี้ กสม.มีมติให้ส่งรายงานการตรวจสอบดังกล่าวต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ไต่สวนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุที่ กสม.ตรวจสอบเรื่องดังมามาจากการการหยิบยกเรื่องขึ้นมาพิจารณาเองของ กสม. จากการร้องเรียนของกลุ่มศิลปินที่บาดเจ็บจากเหตุการณ์แลพหนังสือร้อวงเรียน ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านโดยนายอภิสิทธิ์ขอให้ กสม.สอบสวนเบื้องหลังของเหตุการณ์เป็นการเร่งด่วนเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดต่อ ไป
ต่อไปนี้เป็นสรุปผลรายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน กสม.
-------------------------------------------------
คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 1 เห็นว่า ทั้ง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผบ.ตร..และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผยช.น. ต่างให้ถ้อยคำสอดคล้องต้องกันยืนยันว่า เป็น มติคณะรัฐมนตรีเมื่อคืนวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ว่า จะต้องประชุมรัฐสภาให้ได้ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยมอบหมายให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ
นอกจากนายกรัฐมนตรีจะได้สั่งการกับ พล.ต.อ.พัชรวาท โดยตรงแล้ว เมื่อ พล.อ.ชวลิต ไปเป็นประธานในการประชุมที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล พล.อ.ชวลิต ก็ได้สั่งการและแจ้งที่ประชุมด้วยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติว่า พรุ่งนี้จะต้องไปประชุมเพื่อแถลงนโยบายที่รัฐสภาให้ได้ กับสั่งการให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเวลา 05.00 นาฬิกา จึงเชื่อว่า นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ได้สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับผิดชอบดำเนินการผลักดันประชาชนผู้ ร่วมชุมนุมที่ปิดล้อมรัฐสภาออกไป เพื่อให้มีการประชุมแถลงนโยบายในวันที่ 7 ตุลาคม 2551
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.พัชรวาท ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี โดยมี พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ
เมื่อมีการปฏิบัติการสลายการชุมนุมโดยใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาจากประเทศจีน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมากในช่วงเช้า
ทั้งๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่าการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัส นายก รัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล แทนที่จะออกคำสั่งห้ามการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ ยังคงปล่อยให้มีการใช้กำลังและยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีก เพื่อเปิดทางให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภาและคณะรัฐมนตรีเดินทางออกจากรัฐสภาภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว
แม้การแถลงนโยบายฯ เสร็จสิ้นแล้ว ก็ยังคงปล่อย ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระดมยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนที่กำลัง จะเดินทางเข้าไปช่วยประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และเสียชีวิตด้วยที่บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลและลานพระบรมรูปทรงม้า
ที่นายสมชาย กล่าวอ้างว่า ได้เข้าไปรัฐสภาโดยใช้ประตูด้านข้างเมื่อเวลาประมาณ 09.30 นาฬิกา ขณะนั้นไม่มีเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด ในขณะที่แถลงนโยบาย ผู้ให้ถ้อยคำได้ยินสมาชิกวุฒิสภาพูดประท้วง แต่เป็นการตะโกนโดยไม่ได้ทำตามระเบียบของรัฐสภา จับความไม่ได้ว่าสมาชิกวุฒิสภา ผู้นั้นประท้วงเรื่องใดบ้าง ผู้ให้ถ้อยคำแถลงนโยบายเสร็จ เวลา 11.30 นาฬิกา ระหว่างนั้นไม่ได้ยินเสียงระเบิดแต่อย่างใด ก่อนการแถลงนโยบายในรัฐสภา นายสมชาย ยังไม่ได้รับรายงานในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อแถลงเสร็จแล้วจึงมีผู้มารายงานให้ทราบ นั้น
เห็นว่า ขณะที่นายสมชาย เดินทางเข้าไปในรัฐสภาแม้จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรงอย่างใดแล้วก็ตาม แต่หากสังเกตสภาพพื้นถนน ก็ย่อมจะพบร่องรอยของการสลายการชุมนุมที่พื้นถนนเต็มไปด้วยขวดน้ำตกเกลื่อน กลาดเต็มไปหมด และน่าจะทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หรือหากไม่ทราบ ก็สามารถสั่งการให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรายงาน
นอกจากนั้นในระหว่างการแถลงนโยบายของรัฐบาล นางสาวรสนา โตสิตระกูล และนายประสงค์ นุรักษ์ สมาชิกวุฒิสภา ลุกขึ้นประท้วง โดยนายประสงค์ แถลงว่าไม่เห็นด้วยที่นายกฯ แถลงว่า จะให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพราะข้างนอกรัฐสภามีประชาชนจำนวนมากได้รับบาดเจ็บจากการประท้วงและถูกปิด ไมค์ นางสาวรสนา จึงยกมือขออนุญาตประธานสภาแล้วแถลงว่า " ดิฉันคิดว่านายกรัฐมนตรีมาแถลงนโยบายในวันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะข้างนอกมีประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก นโยบายของท่านเป็นกระดาษแต่คนบาดเจ็บข้างนอกเป็นของจริง ท่านจะให้สภาเป็นตรายาง รับรองรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง" แล้วก็ถูกปิดไมค์เช่นกัน แต่นางสาวรสนา ยังคงพูดต่อไปแม้ถูกปิดไมค์
จากนั้น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครัฐบาลโห่แสดงความไม่พอใจ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนกรูเข้ามาแสดงความไม่พอใจ และชี้หน้าด่าว่า "คุณหยุดการทำชั่วเดี๋ยวนี้คุณมันเลว คุณมันหนักแผ่นดิน"
เชื่อว่า นายสมชาย จะต้องได้ยินการลุกขึ้นประท้วงของนายประสงค์ และนางสาวรสนา เพราะการโห่แสดงความไม่พอใจนั้นเกิดขึ้นภายหลังที่นายประสงค์และนางสาวรสนา ลุกขึ้นประท้วงแล้ว
อย่างไรก็ตามเมื่อนายสมชาย ให้ถ้อยคำว่า เมื่อแถลงเสร็จแล้วจึงมีผู้มารายงานให้ทราบ ก็อนุมานได้ว่า นาย สมชาย ทราบดีแล้วว่าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้นในช่วงเช้า ประกอบกับ พล.อ.ชวลิต ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุมในช่วง เช้าด้วยแล้ว เชื่อว่านายสมชาย ต้องทราบเหตุการณ์และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการสลายการชุมนุมในช่วงเช้า
ฉะนั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุม และ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบให้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มี การสลายการชุมนุม รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายการชุมนุม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิต่อมนุษยชนและละเมิดต่อกฎหมาย
เมื่อนายสมชาย นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบว่า ผลของการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าเป็นเช่นใดแล้วกลับปล่อยให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุมอีกในช่วงบ่าย ช่วงเย็น และช่วงกลางคืน จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วย โดยมิได้ห้ามปรามหรือมีมติหรือคำสั่งระงับยับยั้งการกระทำของเจ้าหน้าที่ ตำรวจที่ได้กระทำเกินกว่าความจำเป็น
การกระทำของนายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม เข้าข่ายเป็นการปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
เมื่อปรากฏว่ามีประชาชนได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัสเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตด้วยจากการกระทำที่เกินความจำเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจดัง กล่าว ซึ่งถือเป็นการละเมิดกฎหมายการกระทำของนายสมชาย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่อยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการสลายการชุมนุม เข้าข่ายเป็นความ ผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็น เหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส, ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157, 295, 297, 288, 289, 84
ปัญหาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้ปฏิบัติจะต้องรับผิดชอบหรือไม่เพียงใด พิจารณาแล้ว พล.ต.อ.พัชรวาท ให้ถ้อยคำว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษที่ทำเนียบรัฐบาล (ดอนเมือง) นายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต ได้สั่งการให้ พล.ต.อ.พัชรวาท ไปปฏิบัติการให้มีการประชุมรัฐสภาให้ได้วันรุ่งขึ้น วันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยมี พล.ต.อ.จงรักษ์ จุฑานนท์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ร่วมอยู่ด้วยในการสั่งการดังกล่าว
เมื่อ พล.ต.อ.พัชรวาท เดินทางออกจากสนามบินดอนเมือง กลับไปประชุมที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดย พล.อ.ชวลิต เดินทางมาเป็นประธานที่ประชุม โดยมี พล.ต.อ.บุญฤทธิ์ รัตนพร และ พล.ต.ต.สุรพงษ์ ศิริภักดี ติดตาม พล.อ.ชวลิต มาร่วมประชุมด้วย
นอกจากนั้นยังมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมประชุมอีกเป็นจำนวนมาก ในการปฏิบัติการตามแผนการสลายการชุมนุม พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติฝ่ายความมั่นคง เป็นผู้ดูแลการปฏิบัติตามแผนฯ กรกฏ/48
แต่ขั้นตอนการปฏิบัติจริงๆ แล้ว อยู่ที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ คือ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ส่วนการจัดกำลังปฏิบัติการสลายการชุมนุม พล.ต.ท.สุชาติฯ ผู้บัญชาการเหตุการณ์ สั่งจัดกำลัง 5 กองร้อย ดูแลพื้นที่แยกอู่ทองใน แยกการเรือน โดยจัดกำลังจากกองร้อยควบคุมฝูงชนจาก ภ.1 (ตำรวจภูธรภาค 1), ภ.2 (ตำรวจภูธรภาค 2), ภ.3 (ตำรวจภูธรภาค 3), กองบังคับการตำรวจปฏิบัติพิเศษ. และ น.8 พ.ต.ท.สำเริง ส่งเสียงเป็นผู้เจรจากับผู้ชุมนุม
พื้นที่นี้มี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เป็นผู้ควบคุมพื้นที่ พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผบก.ตปพ. เป็นผู้ช่วยผู้ควบคุมพื้นที่ โดยมี พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ เป็นผู้กำกับดูแล
มี พ.ต.อ.ลือชัย สุดยอด รอง ผบก.ตปพ. เป็นผู้ช่วยกำกับดูแล ส่วนที่แยก ขัตติยานี-อู่ทองใน มีกำลังจาก น.1, น.7, ตชด., ภ.6, ภ.7 เข้ามาดูแล โดยมี พ.ต.อ.วิชาญ บริรักษ์กุล รอง ผบก.น.1 เป็นผู้ช่วยกำกับดูแล
นอกจากนั้น พล.ต.ต.อนันต์ ศรีหิรัญ ได้ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เวลา 06.15 เริ่มมีการยิงแก๊สน้ำตาที่แยกการเรือน โดยมี พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บัญชาการที่แยกนี้
พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล / รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาลผู้ควบคุมกำลังของ ตชด. เป็นผู้สั่งยิงแก๊สน้ำตา เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีแก๊สน้ำตาติดตัวมา จะมีเฉพาะตชด. และ ตปพ. เท่านั้น หน่วยอื่นไม่มี ซึ่งเจือสมกับภาพที่ได้รับจากสื่อมวลชนทุกแขนง และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ได้บันทึกไว้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่า ในการจัดกำลังเข้าสลายการชุมนุม จะใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่แต่งเครื่องแบบสีกากี (น่าจะเป็นกำลังจากตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร) ถือโล่ จัดเรียงเป็นแถวหน้ากระดาษอยู่ด้านหน้า และมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด. อีกประมาณ 1-2 แถว อยู่ด้านหลัง ได้ใช้ปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตาจากแถวด้านหลังเข้าใส่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุม
เมื่อ ตชด.แถวแรกยิงระเบิดแก๊สน้ำตาแล้ว จะต้องบรรจุกระสุนใหม่ ตชด.ที่อยู่แถวที่ 2 จะสลับขึ้นมายิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนผู้ร่วมชุมนุม แล้วไปบรรจุกระสุนใหม่ ทำสลับกันอยู่เช่นนี้ตลอดเวลาที่มีการยิงระเบิดแก๊สน้ำตา กับมีภาพที่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการตำรวจปฏิบัติพิเศษ ที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบชุดฝึกสีน้ำเงิน พร้อมอุปกรณ์ในการปราบจลาจลครบครัน เป็นอีกหน่วยหนึ่งที่มีปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำตา
นอกจากนั้นยังมีอาวุธปืนลูกซอง รวมทั้งอาวุธสงคราม เอ็ม.พี.5 (MP5) และอาวุธปืนพกสั้นติดตัวเข้าไปในพื้นที่สลายการชุมนุม ซึ่ง เป็นการปฏิบัติที่ขัดต่อคำสั่งของ พล.ต.ท.สุชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/ผบ.เหตุการณ์ ตามวิทยุในราชการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล ด่วนที่สุด ที่ 0016. (ศปก.น.)/13927 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2551
ในส่วนของการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาชนิดขว้าง ที่มีอานุภาพร้ายแรงเช่นเดียวกับระเบิดแก๊สน้ำตาชนิดยิงนั้น ปรากฏว่ามีภาพของ พ.ต.อ.ลือชัย สุดยอด รอง ผบก.ตปพ. และเป็นผู้ช่วยของ พล.ต.ต.ลิขิต รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ ที่กำกับดูแลการปฏิบัติการในพื้นที่แยกการเรือน ซึ่ง พ. ต.อ.ลือชัย นับเป็นบุคคลที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมฝูงชนเป็นอย่างดี กับเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ด้านการควบคุมฝูงชนแก่ส่วนราชการต่างๆ
แต่จากภาพที่คณะอนุกรรมการฯ ได้รับจากสื่อมวลชนและผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่บันทึกไว้จำนวนมาก จะเห็น พ. ต.อ.ลือชัย แทรกแถวเจ้าหน้าที่ตำรวจแถวหน้าออกมาขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนผู้ ร่วมชุมนุม เมื่อขว้างเสร็จก็กลบกลับเข้าไปในแถว
สักครู่ก็แทรกตัวออกมาขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนอีก ขว้างแล้วขว้างอีก ขว้างแล้วขว้างอีก ทำเช่นนี้อยู่เป็นเวลานาน
นอกจากการขว้างระเบิดของ พ.ต.อ.ลือชัย แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตปพ. อื่นๆ ที่ใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาขว้างเข้าใส่ประชาชนอีกด้วย
ความรุนแรงของระเบิดแก๊สน้ำตาที่เห็นจากภาพเคลื่อนไหวจะเห็นได้จากการ กระเด็นกระดอนของยางรถยนต์ที่อยู่ด้วนหน้าแนวแผงเหล็กนั้น กิ่งไม้ที่หักขาดสะบั้นจากต้นไม้ และบาดแผลที่ประชาชนจำนวนมากได้รับซึ่งมีทั้งแขนขาด ขาขาด นิ้วเท้าขาด และเนื้อขาดหาย รวมทั้งบาดแผลตามใบหน้า แขน ขา และตามร่างกายส่วนอื่นๆ
อนึ่ง ทั้งๆ ที่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ระเบิดแก๊สน้ำตามีอานุภาพรุนแรงเพียงใดจากการสลายการชุมนุมในช่วงเช้าซึ่ง เชื่อว่าผู้ควบคุมพื้นที่และผู้บัญชาการเหตุการณ์ได้มีการรายงานผลการ ปฏิบัติสลายการชุมนุม และการสูญเสียที่เกิดขึ้นให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นทราบจึงถึงผู้ บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
แต่ปรากฏว่ายังมีการปฏิบัติการยิงและขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการ ชุมนุมอีกในหลายช่วงเวลา โดยเฉพาะช่วงเย็นและตั้งแต่ช่วงพลบค่ำเป็นต้นไปทั้งที่บริเวณรัฐสภา ลานพระบรมรูปทรงม้า และด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล จนเป็นเหตุให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ และบาดเจ็บสาหัส จำนวน 471 ราย และเสียชีวิต 2 ราย รวม 423 รายจำนวนผู้บาดเจ็บที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล ประชาชน 72 ราย เจ้าหน้าที่ตำรวจ 14 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2551 เวลา 12.00 นาฬิกา) แต่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากนายแพทย์ใหญ่ โรงพยาบาลตำรวจ ว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น จำนวน 44 ราย
นอกจากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ยังมีการระดมยิงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รวมทั้งรถพยาบาลอีกด้วย
เห็นว่า การใช้กำลังและอาวุธระเบิดแก๊สน้ำตา ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงระดมยิงและขว้างใส่ประชาชนที่ปราศจากอาวุธร้ายแรงโดย ตรง อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ โดยมิได้ ปฏิบัติตามหลักสากลในการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตา รวมทั้งการลอบยิงระเบิดแก๊สน้ำตาออกมาจากด้านในของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เล็งเป้าหมายไปยังกลุ่มประชาชนที่เดินผ่านถนนศรีอยุธยาบริเวณด้านหน้า กองบัญชาการตำรวจนครบาล แยกพระบรมรูปทรงม้า และที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมากและมีผู้เสียชีวิตด้วย
นอกจากนั้นยังได้ระดมยิงรถพยาบาลและเจ้าหน้าที่ ทางการแพทย์ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้บาดเจ็บอีกด้วย นับเป็นการปฏิบัติการที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นการใช้ความรุนแรงต่อเพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และขัดต่อหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials (CCLEO, 1979)
ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้ปฏิบัติการดังต่อไปนี้
1) พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
2) พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลด้านการปฏิบัติการ
3) พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบตามแผนกรกฎ/48
4) พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่อยู่ด้วยในการประชุมวางแผนทั้งที่ทำเนียบ รัฐบาล (ดอนเมือง) และกองบัญชาการตำรวจนครบาล
5) พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/ผู้บัญชาการเหตุการณ์
6) พล.ต.ต.วิบูลย์ วังท่าไม้ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ระหว่างเวลา 08.01-20.00 นาฬิกา แต่ได้รับคำสั่งให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
6) พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2551 ระหว่างเวลา 20.00-08.00 นาฬิกา และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติตามภารกิจในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 เวลา 06.15 นาฬิกา
7) พล.ต.ต.เอกรัฐ มีปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ระหว่างเวลา 08.00-20.00 นาฬิกา และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติภารกิจ โดยเริ่มปฏิบัติการในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 15.00 นาฬิกา เป็นต้น ไปจนกว่าจะเสร็จภารกิจ
พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/รองผู้บัญชาการเหตุการณ์ ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ระหว่างเวลา 20.00-08.00 นาฬิกา ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยผู้ควบคุมการปฏิบัติการตามภารกิจของ พล.ต.ต.เอกรัฐฯ ด้วย
9) พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ผู้บังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยผู้ควบคุมพื้นที่ฯ
10) พ.ต.อ.ลือชัย สุดยอด ผู้บังคัยการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับดูแลฯ ซึ่งเป็นผู้ขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมฝูงชนและการใช้ระเบิดแก๊ส น้ำตาเป็นอย่างดี
11) พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อาทิเช่น ผู้ชุมนุมที่ขาขาด เป็นระเบิดปิงปองของตัวเอง หรือพวกตัวเอง เพราะไม่เห็นกับตาบ้าง หรือเป็นเพราะเดินสะดุดรั้วลวดหนามบ้าง แต่ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ไม่มีอาวุธดังกล่าวแน่นอน เพราะผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และผู้ชัญชาการตำรวจแห่งชาติ กำชับชัดเจนให้ใช้เพียง โล่ และกระบองเสริมเท่านั้น ซึ่งจากภาพที่ปรากฏตามสื่อมวลชนหาใช่ตามที่พล.ต.ต.อำนวยฯ แถลงแต่ประการใดไม่ เพราะมีทั้งระเบิดแก๊สน้ำตาชนิดยิงและชนิดขว้าง ปืนลูกซอง ปืนพกสั้น และอาวุธปืน MP5 ที่ใช้ในราชการสงคราม
การให้ข้อมูลต่อสาธารณชนในลักษณะบิดเบือนข้อเท็จจริงเช่นนี้ ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดในหมู่สาธารณชน อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ กระทำด้วยประการใดๆ เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษทางอาญา และเพื่อเป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดให้ได้รับโทษทางอาญา
12) ผู้ควบคุมกำลังหน่วยที่มีระเบิดแก๊สน้ำตา ได้แก่หน่วยกองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ (บก.ตปพ.) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) และกองบังคับการปราบปราม (บก.ป.)
วันที่ 6 ตุลาคม 2551 (20.00-08.00 นาฬิกา)
บก.ตปพ. ได้แก่ พ.ต.ท.มนตรี ศรีทอง และ พ.ต.ท.วิวัฒน์ บุญชัยศรี
บช.ตชด. ได้แก่ พ.ต.ท.ฉัตรมงคล พ้นภัย และ ร.ต.อ.เกษม เวียงนาค
บก.ป. ได้แก่ พ.ต.ท.สุริยา อยู่แพทย์
วันที่ 7 ตุลาคม 2551 (08.00-20.00 นาฬิกา)
บก.ตปพ. ได้แก่ พ.ต.อ.สมชาย ภัทรอินโต, พ.ต.ท.ชัยพร บุญชม, พ.ต.ท.สมชาย สวนฐิตะปัญญา และ พ.ต.ต.เอกชัย ยืนยาว
บช.ตชด. ได้แก่ พ.ต.อ.ณัฐ สิงห์อุดม (อยู่ภายในรัฐสภา)
วันที่ 7 ตุลาคม 2551 (20.00-08.00 นาฬิกา)
บก.ตปพ. ได้แก่ พ.ต.ท.มนตรี ศรีทอง และ พ.ต.ท.วิวัฒน์ บุญชัยศรี
บช.ตชด. ได้แก่ พ.ต.ท.เชน ทรงเดช และ ร.ต.อ.พิษณุวัชร์ ใจการ
ภ.7 (ตำรวจภูธรภาค 7) พ.ต.อ.ศิรเมศร พันธมณี และ พ.ต.ต.ชินโชต โชติศิริ ที่ได้รับมอบหมายภารกิจดูแลแนวรั้วภายใน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งผู้ให้ถ้อยคำทั้งประชาชนและสื่อมวลชนหลายคนยืนยันว่า มีการลอบยิง/ซุ่มยิงออกมาจากรั้วภายในกองบัญชาการตำรวจนครบาล
เจ้าหน้าที่ตำรวจดังกล่าวต้องรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว รวมทั้งการละเมิดต่อกฎหมายที่อาจ เข้าข่ายเป็นความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตร 157, 295, 288, 289, 83
แหล่งข่าว ไม่แน่ใจความถูกต้องเหมือนนะครับ เพราะไมใช่สำนักข่าว
ก๊อปมาจาก mthai