เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 12, 2024, 09:24:41 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 ... 8
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฐานรากของประชาธิปไตย หลักการที่พึงเคารพ  (อ่าน 9873 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
BIGFISH
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 94
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1174


กระบี่หวั่นไหว คนใช้ไร้คม


« เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 07:18:27 PM »

ออกก้าวเดินต่อไปในภายหน้า ต้องสร้างศรัทธาในประชาธิปไตย


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิทยาธร ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำว่า “ประชาธิปไตย” อาจจะแยกได้เป็น 2 คำ คือ “ประชา” ซึ่งหมายถึง “ประชาชน”
และคำว่า “อธิปไตย” ซึ่งแปลว่า “อำนาจสูงสุดของแผ่นดิน” เมื่อรวมกันจึงหมายถึง “การปก
ครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนหรือมาจากประชาชน”
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าประชาธิปไตย จึงเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ
เพื่อประชาชน ซึ่งประชาชนเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองตนเอง
หลักประชาธิปไตย
1. ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ
2. การปกครองแบบมีส่วนร่วม
3. ผลประโยชน์เป็นของประชาชน ความมุ่งหมายของการปกครองหรือรัฐบาล ซึ่งใช้อำนาจปกครองนั้นจะต้องถือเอาผล
ประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง พึงละเว้นประโยชน์ส่วนบุคคลหรือกลุ่ม
4. รับฟังความคิดเห็นและความต้องการ ความคิดเห็นและความต้องการของประชา
ชนนี้ หมายถึง ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ ซึ่งในทางแนวคิดของประเทศ
ตะวันตกถือว่าเป็นสิ่ง “ศักดิ์สิทธิ์” ซึ่งรัฐบาลจะต้องรับฟังด้วยดี และต้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้
บังเกิดผลตามความต้องการของประชาชน ดังที่เรียกกันว่า “เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์”
ความต้องการของประชาชนที่จะถือเป็นหลัก ก็คือ ความต้องการที่เป็นของประชาชนส่วนใหญ่
ในประเทศจริง ๆ ซึ่งหมายถึง การสนองความต้องการของประชาชน ความต้องการนั้นมีเหตุผล
และแสดงออกมาให้ปรากฏรู้เห็นได้
ทำไมจะทำประชามติไม่ได้
5. ยึดมั่นเสียงส่วนใหญ่ โดยคึงนึงถึงหลักการปกครองโดยเสียงข้างมากโดยไม่ละเมิด
สิทธิของฝ่ายข้างน้อย หมายความว่าการแก้ปัญหาก็ดี การหาข้อยุติก็ดี และการตัดสินใจก็ดี จะ
ต้องใช้หลักเสียงข้างมาก ดังนั้นในการปฏิบัติใด ๆ ก็ต้องดูว่าเป็นความต้องการของคนหมู่มาก
หรือไม่ การตัดสินปัญหาต่าง ๆ หรือการแสวงหาทางออกใด ๆ จะต้องใช้วิธีการแสวงหาความ
ต้องการของคนหมู่มากเป็นแนวทางสำคัญ เช่น การเลือกตั้งผู้แทนราษฎร หรือกฎเกณฑ์ทั้งปวง
ที่จะใช้บังคับในประเทศ ก็จะต้องพิจารณาจากเสียงข้างมาก
6. ความเห็นพ้องต้องกันหรือความยินยอม ระบอบประชาธิปไตยถือว่าความเห็น
พ้องหรือความยินยอมจำเป็นต่อการดำเนินงานของรัฐบาล ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการที่ประชาชนใช้หลักกฏ
หมายเป็นเครื่องกำหนดความสัมพันธ์ต่อกัน หลักกฎหมายจะเป็นกติกาที่กำหนดให้ความขัด
แย้งระหว่างกลุ่มของประชาชนอยู่ภายในวงกรอบที่เหมาะสม ไม่ให้มีการกระทำที่เกินเลย รัฐ
บาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐก็จะต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตจำกัดในการใช้อำนาจตามกฎหมายข้าราช
การพลเรือน ทหาร ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประเภทอื่นจะต้องปฏิบัติตามกระบวนกฎหมายที่
กำหนดขึ้นไว้อย่างชัดแจ้งไม่อาจที่จะปฏิบัติตามอำเภอใจได้ สำหรับประชาชนทั่วไปกฎหมายก็
มีส่วนจำกัดขอบเขตเสรีภาพของประชาชนโดยทั่วถึงและเท่าเทียมกัน รัฐบาลจะต้องถือเป็น
ภาระหน้าที่ที่จะไม่ละเมิดสิทธิประโยชน์ของประชาชนโดยทั่วไป
7. หลักการใช้เหตุและผล เชื่อกันว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีเหตุผล การใช้เหตุผลนั้น
นับเป็นความสามารถอันสูงยิ่งของมนุษย์ ซึ่งได้แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนจากความ
ก้าวหน้าด้านต่าง ๆ ซึ่งมนุษย์สามารถพัฒนาขึ้น ทั้งในด้านจิตใจและวัตถุ ประชาธิปไตย
ต้องการให้บุคคลใช้เหตุผลในการแสดงออกและในการดำเนินงานรวมตลอดถึงความสัมพันธ์
ต่อกัน การกำหนดนโยบาย การแสดงความคิดเห็น การแก้ปัญหา การพัฒนา การเปลี่ยนแปลง
และการปรับปรุง เชื่อกันว่าถ้าใช้หลักเหตุผลอย่างเต็มที่ก็จะช่วยให้เกิดความสงบเรียบร้อย
ความเจริญก้าวหน้า และความมีเสถียรภาพยั่งยืน
ต้องไม่ดูถูกเสียงประชาชน ว่าตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดๆง่ายๆ

8. มีความเสมอภาค ซึ่งหมายถึง ความเท่าเทียมกันในทางการเมือง กฎหมายและ
โอกาส ความเท่าเทียมในโอกาส ความคุ้มครองและการให้หลักประกันแก่พลเมืองของชาติจะ
ต้องเป็นไปในลักษณะที่มีความเสมอภาค
9. มีเสรีภาพ เสรีภาพ หมายถึง โอกาสที่บุคคลเลือกปฏิบัติได้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่
ตนมากที่สุด ระบอบประชาธิปไตยมีความมุ่งหมายที่จะให้ได้มาซึ่งเสรีภาพ และพร้อมกันนั้นก็
จะให้ความคุ้มครองเสรีภาพของบุคคลให้มีความมั่นคง เสรีภาพที่เป็นพื้นฐานนั้น ได้แก่ เสรี
ภาพที่เกี่ยวข้องกับบุคคล คือ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง ความก้าวหน้า และเสรีภาพใน
ทางการเมืองของบุคคล ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง
10. ยึดมั่นในกฎหมายหรือหลักนิติธรรม ซึ่งหมายถึง การยึดถือกฎหมายเป็นกฎ
เกณฑ์หรือกติกาการดำเนินการต่าง ๆ การถือกฎหมายเป็นหลักนี้ ถือกันว่าเป็นนโยบายและ
ความต้องการของประชาชน เพราะกฎหมายได้กำหนดขึ้นโดยผู้แทนของประชาชน จึงถือว่ามา
จากประชาชนนั่นเอง การที่รัฐบาลของประชาชนออกกฎหมายเพื่อปกครองประเทศ ต้องถือ
เสมือนว่าประชาชนเป็นผู้ออกกฎหมายเหล่านั้น เพราะประชาชนเป็นผู้ให้ความยินยอมในการ
จัดตั้งรัฐบาล หรือการปกครองของตนเองขึ้น
ไม่เคารพกฏหมาย แล้วจะสร้างสังคมใหม่หรือแก้ไขสังคมเดิมให้ถูกต้องได้อย่างไร
11. หลักความชอบธรรม ในระบบการเมืองประชาธิปไตย ผู้ปกครองประเทศจะต้องมี
ความชอบธรรมในการดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของระบบการปกครองและเพื่อ
สิทธิเสรีภาพของปวงชน ความชอบธรรมเกิดจากการยอมรับของประชาชนซึ่งจะช่วยให้เกิดดุลย
หลักประชาธิปไตยสำหรับผู้นำชุมชนและประชาชน
ภาพระหว่างความขัดแย้งและความเห็นพ้องต้องกัน คือ ทั้งสองส่วนจะต้องปรากฏแต่ไม่ทำให้
ระบบการเมืองต้องแตกสลาย ที่ใดที่มีความชอบธรรมประชาชนจะไม่ต่อต้านอำนาจที่ถูกต้อง
ของรัฐบาล ประชาชนมีความเชื่อมั่นในรัฐบาลและองค์การปกครอง แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่
จะวิพากษ์วิจารณ์การดำเนินงานของรัฐบาลอย่างมีเหตุผล พลเมืองดีมีความสามารถวิเคราะห์
ข่าวสารของรัฐบาลหรือราชการโดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่
โปรดพิจารณา
12. หลักการพัฒนาและปกครองตนเอง ระบอบประชาธิปไตยนั้นเชื่อว่า มนุษย์มี
ความสามารถในการปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าทั้งในด้านความคิด สติปัญญา และการกระทำ
ต่าง ๆ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะให้บุคคลได้กำหนดการปกครองที่ประชาชนสามารถแก้
ปัญหาของตนเองได้เพื่อความเจริญก้าวหน้า และเพื่อการปกครองตนเอง โดยเปิดโอกาสให้มี
การแสดงความคิดเห็นมีเสรีภาพในการเลือกองค์การ เพื่อทำหน้าที่ปกครองแทนประชาชน และ
วิธีการต่างๆ เพื่อให้ความต้องการของคนส่วนใหญ่สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองได้
จะร่วมกำหนดกันใหม่อย่างไรดี คงไม่ใช่แต่งตั้ง 70 เลือกตั้ง 30 ความเห็นผมถ้ากลุ่มพลังต่างๆเตามเกณฑ์จัดตั้งที่จะกำหนด ส่งตัวแทนเข้าสภาแล้วให้สมาชิกใช้สิทธิ์เลือกตั้งว่าจะผ่านพรรคการเมืองหรือใช้สิทธิ์ผ่านกลุ่มพลังของตนเอง เช่นสหภาพ สถาบันต่างๆ อย่างใดอย่างหนึ่งก้อคงดี เพราะตัวเลือกผ่านพรรคการเมืองผ่านการแบ่งเขต ไม่ใช่ผู้แทนที่อยากเลือก)
13. รัฐบาลมีอำนาจจำกัด ประชาธิปไตยไม่ต้องการให้รัฐบาลมีอำนาจล้นฟ้าอาจจะ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นมูลฐานของประชาชน จึงได้มีวิธีจำกัดอำนาจของรัฐบาลไว้ในกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ หรือให้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ สามารถที่จะถ่วงรั้งกันได้ตามควร ให้
ประชาชนมีเสรีภาพในการตั้งพรรคการเมือง หรือ กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อคอยติดตามงาน
ของรัฐบาล ใช้หลักการกระจายอำนาจ คือ การปกครองท้องถิ่น เพื่อไม่ให้มีการรวมอำนาจไว้ที่
รัฐบาลกลางมากจนเกินไป กำหนดให้มีการจำกัดระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งของฝ่ายนิติ
บัญญัติและฝ่ายบริหาร เหล่านี้ล้วนเป็นวิธีการที่จะบังคับให้รัฐบาลมีอำนาจในลักษณะและ
ปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น
บันทึกการเข้า

ดาบของชาติเล่มนี้   คือชีวิตเรา
ถึงจะคมอยู่ดี            ลับไว้
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #1 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 08:32:20 PM »

สรุปว่าอย่างไรหรือครับ... แล้วประเด็นว่าอะไรครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 08:52:59 PM »

อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 08:55:20 PM »

บอกก่อน... นายสมชายยังไม่มีรายได้ขนาดนั้นนะครับ...

แต่อยากให้ดูรายชื่อและอาชีพคนที่บาดเจ็บจากการปะทะครับ...
หากไม่ใช่คนอาชีพอย่างที่นายสมชายว่า... ก็มักเป็นเจ้าของกิจการ...

ลองดูคุณพ่อน้องโบว์ไงครับ... ตัวอย่างที่เห็นชัดเลย...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 09:46:10 PM »

มีอีกกลุ่มครับ... กลุ่มข้าราชการที่มีการศึกษา มีความรู้และได้รับการศึกษาดี...
กลุ่มนี้ทำหน้าที่ค้ำจุนโครงสร้างของประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่สมัยก่อนมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย...

ประเทศไทยมีประเทศอยู่ได้ด้วยสำนึกของข้าราชการกลุ่มนี้ครับ... กลุ่มที่อีกฝ่ายมักประชดว่า"อมาตยาธิปไตย"...
แต่ถ้าข้าราชการกลุ่มนี้ไม่ทำหน้าที่ดังข้างต้น... ประเทศไทยไม่เป็นประเทศไปแล้วครับ...

คำถามคือ พวกเขามีหนึ่งเสียงเท่ากับคนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... มันถูกต้องแล้วหรือครับ...
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 09:50:57 PM »

คนที่รู้จักประชาธิปไตยแค่ไม่กี่นาที... กาแล้วก็จบกัน...

จากนั้นตั้งหน้าตั้งตารอผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการกา ไม่ว่าประโยชน์โดยตรงจากขายเสียง ประโยชน์โดยอ้อมจากนโยบายประชานิยมที่มีผลกระทบด้านอื่น... และถูกปลุกปั่นจากนโยบายการตลาดตามเข้ามาอีก...

นี่ไม่นับการทุจริตเชิงนโยบายที่เข้าใจยากเกินสติปัญญาของพวกเขา... ที่ไม่เคยเจ็บปวดจากการเห็นคนกำลังโกง เพราะไม่เข้าใจเรื่องซับซ้อน...

แต่มีหนึ่งเสียงเท่ากันแหละครับ...

คำถามคือยุติธรรมหรือไม่...
บันทึกการเข้า
ธำรง
Hero Member
*****

คะแนน 1727
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8568


.....รักในหลวง.....


« ตอบ #6 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 09:55:58 PM »

 ไหว้ เยี่ยมครับท่านนายสมชาย(ฮา)  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
Ro@d - รักในหลวง
รักเธอ.. ประเทศไทย
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4088
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 20186


1 คัน 1 ชีวิตที่อิสระ มี G23 กาแฟอีก 1 เป็นเพื่อน


« ตอบ #7 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 10:00:45 PM »

จะเพียรกดแต้ม ให้นายสมชาย(ฮา) ๑๐ แต้ม..  เยี่ยม
บันทึกการเข้า

lek
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1594
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13942


การแบ่งปัน ทำให้เราและคนอื่นมีความสุข


« ตอบ #8 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 10:10:58 PM »

เอาภาษีที่เราจ่ายไปหาวิธีโกงอย่างหน้าด้านๆ   แค่เรื่องรถดับเพลิงเรื่องเดียวก็เสียความรู้สึกมากๆ
บันทึกการเข้า

มีความสุขแบบที่เรามีก็พอhttp://www.gunsandgames.com/smf/index.php?board=29.0  (รวมพลคนอีสาน)
Tiger wut
อาวุธประจำตัวคือ"ขวดนม"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 975
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 15042


พี่ครับ พี่ครับ เสือมา


« ตอบ #9 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 10:50:08 PM »

อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...


ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? Huh




บันทึกการเข้า

รักดีกินถั่ว   รักชั่วกินเหล้า  รักทั้งดี -ทั้งชั่ว กินถั่วแกล้มเหล้า
flyingkob-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 361
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2396


"สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ


« ตอบ #10 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:01:14 PM »

แล้ว ประชาธิปไตย คืออะไร
สังคมนิยม คืออะไร
คอมมิวนิสต์ คืออะไร

ทั้งหมดมันแตกต่างกันอย่างไร

แล้วเราเข้าใจได้แค่ไหน...ในระดับของคนที่รู้หนังสือ ......คนที่เขียนมานั้นมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของตำรา...ที่ไปลอกเขามา
ทำไมไม่พยายามเขียนที่มันอ่านแล้วเข้าใจง่ายๆ เหมือนกับ....ผมให้ป้าสองร้อย...ป้าอย่าลืมเลือกผมนะกาเบอร์........ ถ้าทำให้คนอย่างป้าเข้าใจได้อย่างนี้ วันนี้มันคงไม่เกิดเรื่องหรอกครับ

บ้านเมืองของเรามักชอบที่จะทำอะไรให้ยากไว้ก่อน ถ้าแก้ไขได้ก็คือคนเก่ง หรือทำออกมาให้คนมันงง....คือแทนที่จะคิดว่า 1+1 = 2 ดันต้องไปเอาสมการบ้าง สแควรูทบ้าง มาคิดคำนวน กว่าจะได้คำตอบมา...ก็สายไปแล้ว

อันที่จริง บ้านเมืองของเราปกครองแบบประชาธิปไตยมายาวนานแล้ว....ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ลองไปอ่านในหลักศิลาจารึกเอาดูครับ
พอเราติดต่อกับฝรั่ง.......ไปเรียนเมืองฝรั่ง....แต่งตัวแบบฝรั่ง...แล้วมาดูถูกคนไทยด้วยกันเอง...ต้องทำให้เหมือนฝรั่ง....ใครไม่ทำเป็นคนไม่ทันสมัย...ลบล้างความเป็นคนไทยไปเกือบหมดจนถึงทุกวันนี้.....ก็เพราะการยัดเยียดแบบ "เอ็งต้องทำ" แต่ไม่เคยทำความเข้าใจกับผู้รับว่ามีระดับการรับแค่ไหนอย่างไรกว่าจะเข้าใจ

บันทึกการเข้า

ตึกยาวหลังนี้ สอนให้เรารู้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน
Bird
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 600
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1743


Ordinary Man on Earth


« ตอบ #11 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:31:00 PM »



ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? Huh





ผมกลับเห็นด้วยกับพี่สมชาย(ฮา)ครับ

ประเด็นนี้เป็น ปัญหาเชิงฐานรากของประชาธิปไตยไทย

ดูจากข้อความ พี่สมชายไม่ได้บอกว่าคนจนไม่มีสิทธิ หรือมีสิทธิน้อยกว่านะครับ
แล้วก็ไม่ได้บอกด้วยว่า คนจนเป็นคนเลว

ประเด็นมันอยู่ตรงประโยคสุดท้ายที่ว่า... ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ ?



บันทึกการเข้า

สู้กับผู้อื่นให้น้อยลง ......สู้กับจิตตนให้มากขึ้น
สราโท
ไม่มีสิ่งใดที่แน่นอน
Full Member
***

คะแนน 28
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 282


ถิ่นภูเขาไฟ


« ตอบ #12 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:34:56 PM »

คนเรากำหนดกรอบขึ้นเพื่อปกครองและใช้สิทธิตามควร
บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #13 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:35:22 PM »

อ้อ...

ที่จริงมีอีกประเด็นครับ... เรื่องการเสียภาษี...

คือคนเงินเดือนตั้งแต่ 1 - 2 แสน ในประเทศไทยมีไม่น้อยนะครับ... เช่นหมอ, ทนายความ, สถาปนิก, เจ้าของกิจการขนาดเล็ก ฯลฯ...

ลองดูคนที่ผ่อนรถยนต์ราคาล้านกว่าๆ เช่น Honda Accord... ผ่อนเดือนละ 2 หมื่นกว่าบาท
พร้อมกับผ่อนบ้านเดี่ยว 100 ตรว. ราคา 10 ล้านกว่า... จะผ่อนเดือนละแสนนิดๆ...

คนกลุ่มนี้รายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 1 - 2 แสนครับ... เสียภาษีเดือนละ 3 - 4 หมื่นบาท ทุกเดือน...

ประเด็นที่อยากบอกคือคนกลุ่มนี้รู้สึกเจ็บปวดกับภาษีที่เสียไปทุกเดือนแล้วถูกนักการเมืองโกง...
ในขณะที่คนกลุ่มใหญ่ของประเทศไม่เคยเสียภาษี มีแต่รับอย่างเดียวจากรัฐบาล... จึงไม่เคยเจ็บปวดเมื่อมีใครโกงภาษี...

แล้วต่างก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน... โดยไม่มีใครทวงความยุติธรรมให้เมื่อเห็นคนโกงเงินภาษีเอาไปถลุงเล่นแจกแลกคะแนนเสียง...

คำถามคือหลักการประชาธิปไตยถูกหรือไม่ ว่าหนึ่งเสียงเท่ากัน...

หนึ่งคนเกิดมา... เริ่มจากจุดศูนย์เท่ากัน เรียนโรงเรียนวัดเหมือนคนอื่น สอบเข้าเรียนโรงเรียนมัธยมเหมือนคนอื่น ขยันและสู้ชีวิตเรียนมหาลัยเปิดเหมือนคนอื่น... หมั่นศึกษาหาความรู้ไต่จนมีรายได้เดือนละแสนกว่า เสียภาษีแยะ...

คนอื่นก็ทำได้ ทำไมไม่ทำบ้าง... หวังแต่เศษเงินกระเด็นจากการคอรัปชั่น หวังแบมือขอของฟรีจากนักการเมือง...

ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ...

ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ    

ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ

อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ

ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? Huh

มีสองเรื่องครับ...

เรื่องแรก เรื่องผิดประเด็นกระทู้...
หากจะตั้งกระทู้ใหม่เป็นประเด็นที่นายสมชายตอบ นายสมชายก็จะคัดลอกเอาไปไว้ที่กระทู้ใหม่ครับ...

เรื่องที่สองเรื่อง คนไม่ได้เสียภาษีแล้วไม่มีสิทธิไม่มีเสียงหรือไม่...
เรื่องนี้เป็นคำถามที่ดีครับ... ลองดูข้อความของนายสมชาย Post เอาไว้นะครับ...
นายสมชายถามว่าถูกหรือไม่ ว่ามีหนึ่งเสียงเท่ากันครับ ถ้าเห็นว่าถูกต้องดีแล้ว ก็ลองดูเรื่องเกี่ยวข้องครับ...

เรื่องเกี่ยวข้องคือว่า จะทำอย่างไรให้คนกลุ่มที่ไม่เคยเสียภาษี เกิดสำนึกในการปกป้องเงินหลวงที่มาจากการเสียภาษีของผู้อื่นครับ...
ดังนั้นประเด็นไม่ใช่การเอาเรื่อง "การเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทย"...
แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า... ทำอย่างไรให้"คนไทยมีความเสียดายที่เงินภาษีในคลังหลวงไม่ถูกโกง"ครับ...

รากของเรื่องทั้งหมดเกิดจากมีคนโกงครับ... แล้วประเด็นเกิดเพราะคนที่เลือกนักการเมืองเข้ามาบอกว่า"ไม่เห็นโกงสักหน่อย"...
กับบอกว่า"ถึงโกงมั่งก็ไม่เป็นไร"เพราะประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามาแล้ว... ประชาชนใหญ่สุด มีเสียงเลือกมากที่สุด...

ดังนั้น... แก้อย่างไรดีครับ...  

บันทึกการเข้า
naisomchai
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2008, 11:39:22 PM »



ผมไม่เห็นด้วยพี่สมชายเลยครับ    ยังไง คนจนรวยก็ ๑ เสียงเท่ากันครับ   


ผมว่าผิดประเด็น  ไม่เกียวกับกระทู้ที่เจ้าของกระทู้ตั้งเลยครับ


อย่าเอาเรื่องการเสียภาษีมากหรือน้อยมาวัดความเป็นประชาชนคนไทยเลยครับ


ทำไมครับ  ชาวนา  ชาวไร่  ไม่เสียภาษี แล้วไม่มีสิทธิ ไม่เสียงหรอครับ? Huh





ผมกลับเห็นด้วยกับพี่สมชาย(ฮา)ครับ

ประเด็นนี้เป็น ปัญหาเชิงฐานรากของประชาธิปไตยไทย

ดูจากข้อความ พี่สมชายไม่ได้บอกว่าคนจนไม่มีสิทธิ หรือมีสิทธิน้อยกว่านะครับ
แล้วก็ไม่ได้บอกด้วยว่า คนจนเป็นคนเลว

ประเด็นมันอยู่ตรงประโยคสุดท้ายที่ว่า... ตรงนี้จะแก้อย่างไรเล่าครับ ?





Post ชนกันครับ...
และคุณ Bird ขมวดปมข้อความของนายสมชายได้ตรงประเด็นครับ...

แก้อย่างไรดีครับ... แฮ่ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 ... 8
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.072 วินาที กับ 22 คำสั่ง