ผมขอถามพี่ๆ ....เกี่ยวกับทางด้านกฎหมายครับ
จากที่ไปอ่านเจอมา ......ตามนี้
ศาลผู้บริโภค หรือ ศาลแผนกคดีผู้บริโภค เป็นระบบวิธีพิจารณาคดีทางแพ่งรูปแบบใหม่ของศาลยุติธรรมไทย ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
เริ่มมีผลบังคับใช้ไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา
ผู้บริโภค หรือ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าอันตรายต่าง ๆ สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องต่อแผนกคดีผู้บริโภคที่มีประจำอยู่ในศาลแขวง ศาลจังหวัด และศาลแพ่งทุกแห่ง โดยการฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ
ก็ได้
โดยที่ผู้ยื่นฟ้องจะฟ้องด้วยตัวเอง หรือแต่งตั้งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องให้ก็ได้
การยื่นฟ้องต่อแผนกคดีผู้บริโภค ไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม แต่จะต้องไม่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ไม่เช่นนั้นศาลอาจมีคำสั่งให้ชำระค่าฤชาธรรมเนียมในภายหลังได้
เมื่อศาลสั่งรับคำฟ้อง จะมีการกำหนดวันพิจารณาโดยเร็ว และออกหมายเรียกจำเลยให้มาศาล เพื่อไกล่เกลี่ย ให้การสืบพยานในวันเดียวกัน โดยศาลจะส่งสำเนาคำฟ้อง หรือสำเนาบันทึกคำฟ้องให้จำเลย และสั่งให้โจทก์มาศาลในวันนัดพิจารณานั้นด้วย
ระบบการพิจารณาคดีของศาลผู้บริโภคเป็นระบบไต่สวน ศาลมีอำนาจในการเรียกพยานหลักฐานมาสืบได้ตามที่เห็นสมควร ภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ แตกต่างจากระบบการพิจารณาคดีศาลแพ่งแบบเดิม ที่ผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่พิสูจน์ให้สมฟ้อง
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดอีกอย่างก็คือ คำพิพากษาศาลผู้บริโภคถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น
ศาลคดีผู้บริโภคมีอำนาจคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และมีอำนาจสั่งผู้ประกอบการ เช่น เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม กรณีสินค้าอันตราย ให้ผู้ประกอบธุรกิจทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค และห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
นอกจากนี้ศาลคดีผู้บริโภคยังมีอำนาจพิพากษาเกินคำขอของผู้บริโภคได้ หากเห็นว่าเสียหายมากกว่าที่ขอไป สำหรับกรณีผู้ประกอบธุรกิจเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภค ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจ จ่ายค่าเสียหายเพิ่ม แต่ไม่เกิน 2 เท่าของค่าเสียหายแท้จริงที่ศาลกำหนด
หากมีการฟ้องผู้ประกอบธุรกิจรายเดิม และคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งให้ยุติ เช่นเดียวกับคดีก่อน และใช้ผลพิจารณาคดีเดิม เป็นฐานในการพิจารณาคดีที่ใกล้เคียงกัน
ผู้ที่ประเดิมฟ้องศาลคดีผู้บริโภคเป็นคนแรก ก็คือ ศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ ยื่นฟ้องสายการบินนกแอร์ ว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ยอมตรวจอาวุธผู้โดยสาร
สำหรับเหตุผลของการฟ้องร้องครั้งนี้ ศ.ดร.เจิมศักดิ์ กล่าวว่า “เหตุที่ฟ้องเพราะต้องการสร้างบรรทัดฐานให้เกิดขึ้นโดยฟ้องต่อศาลผู้บริโภค ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา จึงได้ไปฟ้องต่อศาลเมื่อวันจันทร์ที่ 25 ส.ค.”
การฟ้องร้องดังกล่าว ศ.ดร.เจิมศักดิ์ได้ขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทสายการบินนกแอร์ จำกัด จำเลยที่ 1 และกรมการขนส่งทางอากาศ จำเลยที่ 2 จัดให้มีการตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะกับผู้โดยสารทุกคนอย่างเคร่งครัดในทุก ๆ สนามบิน หากขาดเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะต้องยุติการให้บริการจนกว่ามาตรการความปลอดภัย และเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะทำงานอย่างครบถ้วน
ผลการพิจารณาคดี ศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 26 ส.ค. สั่งให้จำเลยทั้งสองจัดให้มีการตรวจวัตถุระเบิดและโลหะกับผู้โดยสารทุกคนที่สนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างเคร่งครัด หากขาดเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะต้องยุติการให้บริการจนกว่ามาตรฐานความปลอดภัยและเครื่องมือตรวจจับวัตถุระเบิดและโลหะจะทำงานอย่างครบถ้วนจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
การฟ้องร้องของ ศ.ดร.เจิมศักดิ์ ถือเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าระบบวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคแบบใหม่เอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภค ช่วยให้การฟ้องร้องเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว เที่ยงธรรม ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น...
ศศิมา ดำรงสุกิจ
ทีมเดลินิวส์ 38
article
.
.
.
.
.
ขอถามว่า .....สมมติในกรณีที่ซื้อปืนจากร้านต่างๆที่พี่ๆยกขึ้นมา และเมื่อรู้ว่าถูกหลอกขายแพงกว่าร้านอื่นมาก .... เข้าข่าย
1.จะนำคดีไปฟ้องศาลผู้บริโภค ได้หรือไม่ หรือถ้าได้
2. เราจะได้รับการเยียวยาอย่างไร
3. และร้านค้า จะได้รับโทษอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ
1.จะนำคดีไปฟ้องศาลผู้บริโภค ได้หรือไม่ หรือถ้าได้ ฟ้องได้ครับ เนื่องจากเป็นคดีแพ่ง ที่ผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจมีข้อพิพาทกันเนื่องจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ
ผู้บริโภค* หมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือ การชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
หาก ยื่นฟ้องในข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคที่ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจาก สินค้าที่ไม่ปลอดภัยอาจต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมเอง แต่หากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่ได้รับการรับรองฟ้องแทน จะได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมเว้นแต่เป็นการเรียกค่าเสียหายเกินควร ผู้ประกอบธุรกิจ*หมาย ถึง ผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
การยื่นฟ้องต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม2. เราจะได้รับการเยียวยาอย่างไร - เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
- จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
- จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
- ฯลฯ
3. และร้านค้า จะได้รับโทษอย่างไรครับ - ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
- ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้