เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 11:45:48 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่าน นายกฯ ท่านที่ 27  (อ่าน 8454 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ART
ชีวิตคิดบวก แล้วจะ Happy
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 552
ออฟไลน์

กระทู้: 10809



« เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:03:39 AM »

 ยิ้มีเลศนัยคุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชนะ 235 ต่อ 198 ครับ ยินดีด้วยครับ ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 15, 2008, 12:18:57 PM โดย ART » บันทึกการเข้า

วัฒน์
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 4114
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17223


เนรเทศยกโคตรดีกว่านิรโทษยกเข่ง


เว็บไซต์
« ตอบ #1 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:04:49 AM »



ประวัติ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ บุตรชายคนเดียว ในจำนวนบุตร 3 คน ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กับ ศ.พญ.สดใส เวชชาชีวะ มีพี่สาว คือ ศ.พญ.อลิสา วัชรสินธุ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและ น.ส.งามพรรณ เวชชาชีวะ เจ้าของงานเขียน "ความสุขของกะทิ" รางวัลซีไรท์ ประจำปี พ.ศ. 2549

เมื่อ ด.ช.อภิสิทธิ์ มีอายุไม่ถึงหนึ่งปี ครอบครัวเวชชาชีวะได้เดินทางกลับประเทศไทย ด.ช.อภิสิทธิ์ ได้เข้าเรียนระดับอนุบาลที่ โรงเรียนอนุบาลยุคลธรระดับประถมที่ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นได้ย้ายกลับประเทศอังกฤษเพื่อเข้าเรียนที่ โรงเรียนสเกทคลิฟ และเรียนต่อที่ โรงเรียนมัธยมอีตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำเอกชน ระดับเตรียมอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของ กรุงลอนดอน ได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ (Philosophy, Politics and Economics, P.P.E.) ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 3 ปี โดยได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

หลังสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นายอภิสิทธิ์ได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเขาชะโงก จังหวัดนครนายก เป็นเวลาเกือบ 2 ปี ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี ก่อนจะลาออกจากราชการกลับไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดอีกครั้ง เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว ได้กลับมาเป็นอาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจนสำเร็จปริญญาตรีนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีกด้วย

ต้นปี พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ได้รับปริญญา นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมายปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐมนตรี และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร สื่อมวลชนจึงเรียกนายอภิสิทธิ์ว่า "ดร.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ในบางครั้ง

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สมรสกับ ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ อาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คนคือ น.ส.ปราง เวชชาชีวะ (มะปราง) และ ด.ช.ปัณณสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปัณ)

ตระกูลเวชชาชีวะ
ตระกูล "เวชชาชีวะ" มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน เดินทางโดยเรือมาขึ้นฝั่งที่ จ.จันทบุรี ต่อมาในรุ่นคุณปู่ได้เข้ามาอาศัยในกรุงเทพฯ คือ "คุณปู่ใหญ่" พระบำราศนราดูร (หลง เวชชาชีวะ) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข2 สมัย ใน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29(10 ก.พ. 2502-8 ธ.ค. 2506) และ คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30(11 ธ.ค. 2506- 11 มี.ค. 2512) และเป็นผู้ก่อตั้งโรงพยาบาลบำราศนราดูร จ.นนทบุรี เมื่อ ปี พ.ศ. 2492

สกุล "เวชชาชีวะ" หรือ "Vejjajiva" เป็นนามสกุลพระราชทานสมัย รัชกาลที่ 6 ลำดับที่ 4,881 จากนามสกุลพระราชทานสมัย ร.6 ที่พระราชทาน รวมทั้งสิ้น 6,423 นามสกุล โดยพระราชทานให้กับรองอำมาตย์ตรีหลง (หลง เวชชาชีวะ) แพทย์ประจำจังหวัดลพบุรี กับ นายจิ๊นแสง (บิดา) นายเป๋ง (ปู่) และนายก่อ (ปู่ทวด) เนื่องจากเป็นต้นตระกูลเป็นแพทย์จึงมีคำว่า "เวช" อยู่ในนามสกุลด้วย

นายอภิสิทธิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายสุรนันท์เป็นบุตรของ นายนิสสัย เวชชาชีวะ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นพี่ชายแท้ๆ ของ ศ.นพ.อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ บิดาของนายอภิสิทธิ์

การรับราชการทหาร
ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทย เปิดเผยว่านายอภิสิทธิ์ไม่เข้ารับการตรวจเลือกการเกณฑ์ทหาร พร้อมทั้งแจกจ่ายจดหมายเปิดผนึกให้กับพรรคประชาธิปัตย์และสื่อมวลชน เรื่องดังกล่าวมีการเปิดเผยต่อสาธารณะมาก่อนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ในช่วงรัฐบาลนายชวน หลีกภัย 1 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โดยนายอภิสิทธิ์ได้เคยแถลงว่า ตนเคยรับราชการทหาร เป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร ได้รับพระราชทานยศร้อยตรี โดยการเป็นอาจารย์ที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า คำแถลงของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยืนยันจากกองทัพในขณะนั้นว่าเป็นความจริง แต่เนื่องจากการเข้ารับราชการ ต้องแสดงเอกสารเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร  จึงเกิดข้อกังขาว่า หากนายอภิสิทธิ์ไม่ผ่านการเกณฑ์ทหาร เหตุใดจึงสามารถสมัครเข้าเป็นอาจารย์ ในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้

เรื่องดังกล่าว นายอภิสิทธิ์เคยแถลงเพียงว่า เป็นอำนาจวินิจฉัย และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานในขณะนั้น ในอีกทางหนึ่งเรื่องนี้เคยมีความเห็นจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อปี พ.ศ. 2542 ว่าในครั้งนั้น นายอภิสิทธิ์ สมัครเข้ารับราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม โดยขาดส่งหลักฐานทางทหาร ซึ่งมีฐานความผิดเพียงโทษปรับ และมีความเห็นว่านายอภิสิทธิ์ ได้เข้ารับราชการทหารแล้ว

ช่วงเวลาเดียวกันมีความเห็น จากแหล่งข่าวในกองทัพ ว่ากองทัพบกมีเอกสารต้นขั้ว สด.๙ ที่ออกให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อบรรจุเป็นทหารกองเกิน เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 จริง และมีเอกสาร สด.๑ ของสัสดีที่ยืนยันการรับ สด.๙ ด้วย อย่างไรก็ดี แม้นายอภิสิทธิ์ไม่มารับการตรวจเลือกและไม่ได้รับ สด.๔๓ แต่เมื่อไปรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงกลาโหมในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ก็ถือว่ามีฐานะเป็นทหารแล้ว เพียงแต่ไม่ไปแจ้งให้พ้นบัญชีคนขาดเท่านั้น

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงานทางการเมือง
 
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
การดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้

พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาธร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดน ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)

ผลงานทางการเมือง
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 นายอภิสิทธิ์เป็นหนึ่งในบุคคลที่ร่วมปราศรัยและคัดค้านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ที่ สนามหลวง และลานพระบรมรูปทรงม้า ในฐานะนักวิชาการ และตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งในครั้งนั้นประกาศไม่เข้าร่วมรัฐบาลของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีผลงานทางการเมืองที่สำคัญคือการจัดทำ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[15] ซึ่งเป็น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับแรกของไทย ที่ดำเนินการจัดทำจนสำเร็จในช่วงเวลาที่นายอภิสิทธิ์ดำรงตำแหน่ง เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[16] ที่กำกับดูแล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ เพื่อมอบสิทธิแก่เยาวชนไทย ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 43 โดยนายอภิสิทธิ์มีบทบาทดูแล ทั้งด้านนโยบาย หลักการและรายละเอียด รวมทั้งผลักดัน ให้ผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เป็นประธานกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษา ของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดจนได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษา และได้ดูแลจนกระทั่ง พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรอง และประเมินคุณภาพการศึกษา ประกาศใช้

ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตกรรมการการศึกษาแห่งชาติผู้ทรงคุณวุฒิ และ ประธานกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เคยให้ความเห็นไว้ว่า นายอภิสิทธิ์เป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของ พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และการปฏิรูปการศึกษาของไทยอย่างทะลุปรุโปร่ง

นอกจากนี้ นายอภิสิทธิ์ยังมีผลงานผลักดันกฎหมายและแนวคิดต่างๆ จำนวนมาก[6] อาทิเช่น กฎหมายข้อมูลข่าวสาร กฎหมายกระจายอำนาจแก่ท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครองเสรีภาพสื่อมวลชน การผลักดันให้มี วิทยุชุมชนในท้องถิ่น การผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบ เช่น ปปช. , ศาลปกครอง และ กกต. การเสนอมาตรการคุ้มครองผู้ให้ข้อมูลการทุจริตของ หน่วยงานรัฐ หรือนักการเมือง การเสนอกฎหมายให้การฮั้วประมูลเป็นความผิดทางอาญา การเสนอกฎหมายองค์การมหาชน เพื่อให้การให้บริการของรัฐ มีความสะดวกคล่องตัว และการผลักดันแนวคิดเรื่องการสรรหาผู้บริหารระดับสูงในองค์กรภาครัฐ ด้วยระบบสัญญาจ้าง เพื่อให้สามารถสรรหาผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณภาพ ทำงานอย่างอิสระ โดยได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม

จากผลงานการใช้ความรู้ความสามารถด้านกฎหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมืองดังกล่าว ทำให้นายอภิสิทธิ์ได้รับ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.ศ. 2549


บทบาทในช่วงวิกฤตการทางการเมือง
ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้เสนอแนะให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่รักษาการนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น นำคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ และให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กราบบังคมทูลขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน โดยอาศัยความตามมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อรักษาการชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเมือง สืบเนื่องจาก นักวิชาการ นักการเมือง และประชาชน ที่มีความเคลื่อนไหวเกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ร่วมกันลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่ผู้ร่วมลงนามในฎีกาดังกล่าวตามหลักฐานรายชื่อในฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน

ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์มีความแตกต่างจากเนื้อหาในฎีกา เนื่องจากเสนอให้รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีลาออกทั้งคณะ ก่อนที่จะขอ นายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทำให้เกิดเงื่อนไขสมบูรณ์ตามรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เนื้อหาในฎีกา เป็นการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ทั้งที่ยังมี รักษาการนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่ง จึงเป็นการขอที่ไม่สามารถทำได้ตามกฎหมาย ต่อมาพรรคประชาธิปัตย์ได้มีแถลงการณ์ว่า ข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ ได้รับการยอมรับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ว่าสามารถปฏิบัติได้จริงตามรัฐธรรมนูญทุกประการ

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้มีกระแสพระราชดำรัสต่อคณะผู้พิพากษา ว่าการขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตย หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ที่มีชื่อเล่นว่า "มาร์ค" ถูกกลุ่มการเมืองฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งฉายาให้ว่า "มาร์ค ม.7"

ในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 นายอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ประกาศ จับมือทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านเดิม คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และ พรรคมหาชน ปฏิเสธการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจัดเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้อง ตามหลักการที่ควร เป็นผลให้ พรรคไทยรักไทยต้องส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพียงพรรคเดียวในหลายเขตเลือกตั้ง ในที่สุดนำมาซึ่งการฟ้องร้องดำเนินคดีข้อหาทุจริตในการเลือกตั้ง และต่อมามีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อ "คดียุบพรรค" และศาลก็ได้มีมติให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทั้ง 3 คนต้องโทษจำคุก ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยด้วย


ผลงานหนังสือ
มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9
การเมืองไทยหลังรัฐประหาร. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-88195-1-8
เขียนรัฐธรรมนูญอย่างไรไม่ถูกฉีก. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-7310-66-5
ร้อยฝันวันฟ้าใหม่. พ.ศ. 2550, ISBN 978-974-8494-81-4

เกียรติยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2536 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2538 : ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2540 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2541 : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2542 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

การได้รับการจัดอันดับในระดับนานาชาติ
พ.ศ. 2535 : 1 ใน 100 ผู้นำสำหรับโลกวันพรุ่งนี้, โดย World Economic Forum (องค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการเมืองของโลก)
พ.ศ. 2540 : 1 ใน 6 นักการเมืองที่เป็นความหวังของเอเซีย, โดย นิตยสารไทม์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2540, “เสียงใหม่ๆ เพื่อเอเซียใหม่”
พ.ศ. 2542 : 1 ใน 20 ผู้นำสำหรับสหัสวรรษ ด้านการเมือง, โดย นิตยสารเอเซียวีค 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

บันทึกการเข้า

ฟ้าและดินไม่เห็นไม่เป็นไร ไม่ได้หวังให้ใครจดจำ
แม้ยากเย็นแค่ไหน ไม่เคยบ่นสักคำ ไม่มีใครจดจำ แต่เราก็ยังภูมิใจ

จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา จะยอมรับโชคชะตาไม่ว่าดีร้าย
ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า ถึงเวลาก็ต้องไป เหลือไว้แต่คุณงามความดี
ลูกหมุน-รักในหลวง
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 22
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 365



« ตอบ #2 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:05:06 AM »

 จูบบบบ จูบบบบ จูบบบบ
บันทึกการเข้า
Pter
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 42
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 463


ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺจาริํ


« ตอบ #3 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:05:31 AM »

ออนซอน นำเด้อ   Grin Grin Grin
บันทึกการเข้า
C.J. - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 314
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5383


ขอ...นัดเดียว


เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:07:33 AM »



 ขำก๊าก ขำก๊าก ขำก๊าก...
บันทึกการเข้า

ธรรมของสัตบุรุษ

๑. ธัมมัญญุตา - รู้จักเหตุ ๒. อัตตัญญุตา - รู้จักผล ๓. อัตตัญญุตา - รู้จักตน ๔. มัตตัญญุตา - รู้ประมาณ ๕. กาลัญญุตา - รู้จักกาล ๖. ปริสัญญญุตา - รู้จักประชุมชน ๗. ปุคคลปโรปรัญญุตา - รู้จักเลือกบุคคล

http://www.dopaservice.com/eservice/content.do?ctm_id=gun&function=document&gro
terry
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 66
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 769



« ตอบ #5 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:07:39 AM »

ยินดี กับคุณ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ด้วยครับ
บันทึกการเข้า

Glock36
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #6 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:09:44 AM »

โอบามาร์ค สู้สู้  เยี่ยม
บันทึกการเข้า
NISA-SA
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 37


NISA-SA


« ตอบ #7 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:10:28 AM »

ยินดีด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
Joey_ba-รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 7
ออฟไลน์

กระทู้: 96



« ตอบ #8 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:13:23 AM »

 เยี่ยม เยี่ยม เยี่ยม
บันทึกการเข้า
สหายอ๋อง เซียนปลาซิว
จริงใจ บริสุทธ์ใจ แล้วจะแคล้วคลาด จากภัยทั้งปวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 657
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9377


คบหมาเป็นเพื่อน ดีกว่าคบเพื่อนหมาๆ


« ตอบ #9 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:14:01 AM »

อ้าว ใอ้ ตู่ อยู่ใหน  เห็นว่าถ้า  คุณอภิสิทธ์  ได้เป็นนายก  จะยอมกราเท้า เขาไม่ใช่ เหรอ
บันทึกการเข้า
อนธการ
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #10 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:14:24 AM »

 เย้ๆๆๆๆๆๆๆ กิ๊วก๊าว Cheesy Cheesy Grin กิ๊วก๊าว
บันทึกการเข้า
JUNG KO
ชาว อวป.
Full Member
****

คะแนน 29
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 274



« ตอบ #11 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:14:32 AM »

 ไหว้
บันทึกการเข้า


ลิงกัง...จังโก้
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 987
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16169


,=,"--- X Santiago... !!


เว็บไซต์
« ตอบ #12 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:15:08 AM »

 เยี่ยม


บันทึกการเข้า

Thou shalt have guns.
Thou shalt have tons of ammo.
Thou shalt shoot well.
Thou shalt not rely on help from the stranger.
สุกรจากโลกันต์
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 68
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 583



« ตอบ #13 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:16:22 AM »

วิบากกรรม พี่มาร์คเพิ่งเริ่มครับ
ต่อจากนี้ไปจะเป็นการสนามรบของจริง
บันทึกการเข้า

สีใหนก็ช่าง ถึงยังไงก็เป็นคนไทย อยู่ใต้เบื้องพระยุคลบาท
ถือเป็นมงคลแห่งชีวิต
ยังรักสาวขเมร จะเจ็บอีกกี่ทีก็ยอม
pranyai
Full Member
***

คะแนน 19
ออฟไลน์

กระทู้: 131


« ตอบ #14 เมื่อ: ธันวาคม 15, 2008, 11:17:23 AM »

ต้องยอมรับว่ามารค์ได้เป็นนายกเพราะเนวินแท้ๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 22 คำสั่ง