กฎหมายไทยบอกว่าชายไทยมีหน้าที่เป็นทหาร
แต่กองทัพ ก็รับชายไทยไม่ได้ทุกคน จึงต้องมีการตรวจเลือก
ผู้ไม่ผ่านการตรวจเลือก เรียกว่าทหารกองเกิน มีใบ สด.43 เป็นหลักฐาน
ผู้ผ่านการตรวจเลือก จะเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการ เมื่อครบกำหนด จะปลดออกมาเป็นทหารกองหนุน มีบัตรประจำตัวทหารกองหนุน
ชายไทยที่เรียน รด. สำเร็จตามที่กฎหมายกำหนด ก็เป็นทหารกองหนุนเช่นกัน
รวมทั้งผู้ที่รับราชการเป็น "ข้าราชการทหาร" เมื่อลาออก ก็จะเป็นทหารกองหนุน
ระบบการตรวจเลือก จะเริ่มตั้งแต่ขึ้นทะเบียนกองประจำการ เมื่ออายุ 15 ปี ใครไม่ไปขึ้น มีความผิดเป็นโทษปรับ
คุณอภิสิทธิ์ เป็นนักเรียนไทย ที่อยู่ในความดูแลของ กพ. และอยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับยกเว้นการรับราชการทหาร ในระหว่างเรียนอยู่ในต่างประเทศ แต่ กพ.ละเลย ไม่ได้ดำเนินกรรมวิธีให้ถูกต้อง (เช่นเดียวกับนักเรียนไทยอีกหลายแสนคน) เพราะเห็นว่ามีความผิดเพียงโทษปรับ ซึ่งมีอายุความเพียง 1 ปี
เมื่อคุณอภิสิทธิ์ เดินทางกลับมาในประเทศไทย ในขณะที่อายุอยู่ในเกณฑ์ ที่ยังต้องเข้ารับราชการทหาร คุณอภิสิทธิ์ มีทางเลือก 2 ทาง คือไปรายงานตัวรับหมายเรียก เพื่อเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหารกองประจำการ หรือเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการทหาร (ถ้ามีตำแหน่งว่าง และกองทัพบรรจุให้) ปรากฏว่าคุณอภิสิทธิ์ เลือกที่จะเข้ารับราชการทหาร เป็นนายทหารสัญญาบัตร และเมื่อลาออกมาเป็นนักการเมือง ก็จะเป็นทหารกองหนุน ไปจนถึงอายุ 45 ปี แล้วถึงจะปลดออกเป็นนายทหารพ้นราชการ
ถ้าเป็นแบบนี้..
กรณี..คุณอภิสิทธิ์..
ก็ไม่ถือเป็นความผิด..จากตัวคุณอภิสิทธิ์..
แต่เกิดจาก..ความบกพร่องของเจ้าหน้าที่กพ.
แต่ในขณะเดียวกัน..
ทางคุณอภิสิทธิ์..ก็ได้..
ทำหน้าที่ของชายไทย..สัญชาติไทย..
จากข้อยกเว้นในสิทธิ์..
ที่ได้รับในฐานะ..นักเรียนไทยในความดูแลของกพ.
โดยหลังจากจบการศึกษาแล้ว..
ก็ได้เข้ามารับราชการในฐานะเป็นอาจารย์สอนพิเศษ..ในรร.นายร้อยจปร.
แทนการ..เข้ารับราชการในฐานะทหารเกณฑ์..
ไม่ทราบว่า..ผมเข้าใจแบบนี้..ถูกต้องมั๊ยครับ..