เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 18, 2024, 02:44:26 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ร้านค้า ติดป้ายว่า ." งดรับธนบัตร 1,000 บาท " ผิดกฎหมายไหมครับ  (อ่าน 6833 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
โทน73 -รักในหลวง-
มือปืนกาวช้าง
Hero Member
*****

คะแนน 586
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8574


« ตอบ #45 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2008, 01:49:59 PM »

แค่อยากทราบว่า ถ้าเป็นกรณีของ จขกท. จะมีแนวทางการจัดการอย่างไรในขั้นตอนต่อๆไป ครับ

ไม่ได้จะเป็นผู้เสียหายเข้าแจ้งความหรอกครับ
ก็แค่ เป็นกระทู้ ตั้งข้อสังเกตุเอามาพูดคุย แสดงความเห็นกันเฉยๆ


ส่วนตัวแล้วผมก็มีความสงสัย  อยากทราบความเห็นขั้นต่อไปของเจ้าของกระทู้เหมือนกัน  ....  ซึ่งไม่ต่างจากที่เจ้าของกระทู้ ต้องการทราบความเห็นของผู้อื่น
จขกท.ถามผู้อื่นได้  ในทางกลับกันผู้อื่นก็อยากสอบถามตอบกลับเหมือนกันครับ 

บันทึกการเข้า

....ตามล่า...อีตอแหล
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #46 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2008, 02:26:54 PM »

          ตกลงผิดหรือไม่ผิดเนี้ย ดูข่าง ๗ ช่องไม่เหมือนกันเลย ผิดบ้าง ไม่ผิดบ้าง  Grin

          เอาเท่าที่รู้นะครับ ตอนนี้ไม่มีกฏหมายระบุไว้อย่างชัดเจนว่าการปฏิเสธไม่รับธนบัตรในการชำระหนี้ เป็นความผิดอาญาหรือไม่  Smiley ยกเว้นจะมีกฏกระทรวงหรือระเบียบอื่นออกมารองรับหรือเพิ่มเติม (แต่เท่าที่รู้ไม่มี)

          ตามพระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ ๒๕๐๑ บทลงโทษ จะมีสองมาตราเอง คือมาตรา ๓๕ และ ๓๖ และไม่มีบทลงโทษเกี่ยวกับการปฏิเสธการไม่รับเหรียญสตางค์ หรือธนบัตร ในการชำระหนี้

          ประมวลกฏหมายอาญา ภาคความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ก็บัญญัติเรื่องการปลอมเงินตรา ธนบัตร ใช้ธนบัตรปลอม และการทำให้เหรัยญกระษาปณ์มีน้ำหนักลดลง แต่ก็ไม่ได้บัญญัติว่า ผู้ใดปฏิเสธไม่รับธนบัตรในการชำระหนี้ เมีความผิดไว้เช่นกัน

         ดังนั้นในเรื่องที่เจ้าของร้านค้าและบริการ ปฏิเสธไม่รับธนบัตรในการชำระหนี้ เมื่อไม่มีกฏหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยชัดเจน ดังนั้นการปฏิเสธจึงไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด 

         ฉะนั้น มีอะไรเกี่ยวกับกฏหมายบ้างในเรื่องการปฏิเสธไม่รับธนบัตรแบงค์ ๑,๐๐๐ บาท Huh

         การที่เราไปสั่งสินค้าหรือใช้บริการ เรามีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการ เป็นการตอบแทน ดังนั้นเมื่อเรายื่นเงินให้แม่ค้าเพื่อชำระหนี้แล้วถือว่าเราปฏิบัติตามกฏหมายครบถ้วน การที่แม่ค้าไม่ยอมรับชำระหนี้ โดยอ้างว่ากลัวแบงค์ปลอม หรือไม่มีเงินทอน จะถือว่าแม่ค้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้ ไม่รับชำระหนี้โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างตามกฏหมายได้หรือไม่ ยังไม่พบคำวินิจฉัยในเรื่องนี้ (หาไม่เจอ)
       
          แต่หากถือว่าแม่ค้าซึ่งเป็นเจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างตามกฏหมายได้แล้ว ต้องถือว่าแม่ค้าตกเป็นผู้ผิดทันที เราสามารถนำเงินค่าสินค้าหรือบริการไปวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อให้แม่ค้าไปรับได้  โดยไม่ถือว่าเรามีความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอาญาใดๆ

         เพราะเรื่องการปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ด้วยแบงค์ ๑,๐๐๐ เป็นเรื่องในทางแพ่ง มิใช่ในทางอาญา

             เราไปกลัวเรื่องนี้ดีกว่า คือเผอิญเราโชคร้ายได้รับธนบัตรปลอมมาโดยบังเอิญ โดยที่เรารู้ว่าธนบัตรในกำมือเราเป็นของปลอม เลยคิดจะหาวิธีจำหน่ายออกไป เช่น ทำไม่รู้ไม่ชี้ไปซื้อของ มาตรา ๒๔๕ ประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติไว้ว่าใความว่า  "ผู้ใดได้มาซึ่งสิ่งใดๆโดยไม่รู้ว่าเป็นเงินตราปลอม ถ้าต่อมารู้ว่าเป็นของปลอม ยังขืนนำออกใช้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑๐ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
          ทีนี้แทนจะเป็นผู้เสียหาย กลับตกเป็นจำเลยซะเองครับ  คิก คิก
         
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #47 เมื่อ: ธันวาคม 25, 2008, 02:29:14 PM »

  เอามาฝากครับ   Grin Grin Grin


วิธีดูธนบัตรปลอม สังเกตธนบัตรปลอม ด้วยการสัมผัส - เพื่อสัมผัส ตรวจสอบคุณสมบัติของกระดาษและลวดลายเส้นนูน


กระดาษธนบัตร

ธนบัตร รัฐบาลทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป ธนบัตรปลอมทำจากกระดาษคุณภาพต่ำ เมื่อถูกใช้เปลี่ยนมือเพียงไม่กี่ครั้งเนื้อกระดาษก็จะนิ่มเป็นขุยและยุ่ย ง่าย

" border="0 " border="0 " border="0
ดอกฝ้าย : วัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตกระดาษธนบัตร

" border="0 " border="0
เมื่อจับสัมผัสจะรู้สึกถึงความแกร่งของเนื้อกระดาษ



 
ลวดลายเส้นนูน

 เกิดจากการพิมพ์เส้นนูนโดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึกและใช้แรงกดพิมพ์สูงหมึก พิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ อีกทั้งภาพและลายเส้นที่ได้จะมีรายละเอียดคมชัด เหมาะสำหรับการพิมพ์ภาพประธาน เช่น พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ หรือส่วนที่ต้องการเน้นให้เด่นชัด ลวดลายเส้นนูนสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ที่ตัวเลขแจ้งชนิดราคามุมขวาบน ตัวอักษรคำว่า รัฐบาลไทย ตัว อักษรและตัวเลขไทยแจ้งชนิดราคาด้านหน้าธนบัตร เมื่อใช้ปลายนิ้วมือลูบสัมผัสบริเวณดังกล่าว จะรู้สึกถึงการนูนของหมึกพิมพ์มากกว่าบริเวณอื่น
 
" border="0
พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ที่เกิดจากการพิมพ์เส้นนูน
จะมีลายเส้นละเอียดคมชัด

" border="0
ภาพขยายลวดลายเส้นนูน

" border="0
เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือจะรู้สึกถึงการนูนของหมึกพิมพ์

ที่มา: <a href="http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/1_method.aspx" target="_blank">ธนาคารแห่งประเทศไทย[/url]

วิธีดูธนบัตรปลอม สังเกตธนบัตรปลอม ด้วยการยกส่อง - เพื่อสังเกตสิ่งที่อยู่ในเนื้อกระดาษและลวดลายซ้อนทับ

ลายน้ำ
เมื่อ ยกธนบัตรรัฐบาลขึ้นส่องดูกับแสงสว่าง จะเห็นลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ภาพลายน้ำนี้เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิตกระดาษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนา แน่นไม่เท่ากัน จึงทำให้เห็นเป็นภาพที่มีการไล่ระดับของแสงเงาอ่อนแก่คล้ายภาพสามมิติ ไม่ใช่ภาพแบนราบเหมือนธนบัตรปลอมที่เลียนแบบด้วยการพิมพ์ภาพลงบนผิวกระดาษ นอกจากลายน้ำพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วยังมีลาย น้ำรูปลายไทยที่มีความโปร่งแสงเป็นพิเศษประดับควบคู่ไว้อีกด้วย

" border="0

" border="0
การยกธนบัตรส่องกับแสงสว่าง  และภาพที่ปรากฎเมื่อยกธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท ส่องกับแสงสว่าง


แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ
 ธนบัตรรัฐบาลทุกชนิดราคามีแถบสีโลหะฝัง ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งบนแถบมีตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิด ราคาธนบัตรสามารถมองเห็นและอ่านได้ทั้งสองด้านเมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสง สว่าง

" border="0

 สำหรับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมีบางส่วนของแถบสีโลหะปรากฎให้เห็นเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังของธนบัตร เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นเส้นต่อเนื่อง มีตัวเลขและอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรเช่นเดียวกัน

" border="0
ภาพขยายตัวเลขและอักษรโปร่งแสงบนแถบสีโลหะในเนื้อกระดาษธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท
 
ภาพซ้อนทับ
 เกิดจากการพิมพ์สีพื้น ด้วยเครื่องพิมพ์ที่สามารถพิมพ์ภาพได้ทั้งสองด้านในเวลาเดียวกัน ทำให้ส่วนของลวดลายที่ออกแบบไว้ในตำแหน่งตรงกันของด้านหน้าและด้านหลัง ธนบัตรทับกันสนิทหรือประกอบกันขึ้นเป็นลวดลายหรือภาพที่สมบูรณ์

" border="0
เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นเลข 100 ที่สมบูรณ์

" border="0
เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกพุดตานที่สมบูรณ์

" border="0
เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์

ที่มา: <a href="http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/2_method.aspx" target="_blank">ธนาคารแห่งประเทศไทย[/url]


                  
      วิธีดูธนบัตรปลอม สังเกตธนบัตรปลอม ด้วยการพลิกเอียง - พลิกเอียง เพื่อสังเกตการเปลี่ยงแปลงที่เกิดขึ้น

หมึกพิมพ์พิเศษสลับสี

" border="0

ที่ตัวเลขแจ้งราคามุมขวาบนของธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษ เมื่อพลิกธนบัตรไปมาสีของตัวเลข 500 จะเปลี่ยนสลับจากสีเขียวเป็นสีม่วง ส่วนสีของตัวเลข 1000 ด้านบนจะเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว

แถบฟอยล์สีเงิน

" border="0

ผนึกอยู่บนด้านหน้าเบื้องซ้ายของธนบัตรชนิดราคา ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมองเห็นเป็นหลายมิติแตกต่างกันตามชนิดราคา และจะเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมา
 
ตัวเลขแฝง

" border="0

 ซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์มุม ล่างซ้ายของธนบัตรทุกชนิดราคา เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่างและมองผ่านจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลาง ธนบัตรในมุมที่เหมาะสม จะเห็นตัวเลขอารบิกแจ้งชนิดราคาธนบัตรฉบับนั้น

ที่มา: <a href="http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/3_method.aspx" target="_blank">ธนาคารแห่งประเทศไทย[/url]
                              

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.08 วินาที กับ 22 คำสั่ง